วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การก่อความไม่สงบ

การก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย


การก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทย
กล่าวนำ -  ความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรมในรูปขององค์กรเพื่อแบ่ง แยกดินแดน  หรือเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  มิได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา แต่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตโดยเฉพาะหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  ที่ประเทศเจ้าอาณานิคมได้มอบคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประเทศต่างๆ ที่เจ้าอาณานิคมยึดครองไว้  ความเคลื่อนไหวแบ่งแยกอินแดนที่เห็นได้ชัดในช่วงนั้น  เช่น  ความเคลื่อไหวของชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน  กระหรี่ยง และโรฮิงยา  ในพม่า ตลอดจนความเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ของไทย
ในกรณีของไทยหน่วยงานด้านความมั่นคงส่วนใหญ่มักจะถือเอาช่วงเวลาการเกิดกบฎดุซงญอ  (Dusun Nyor Rebellion) เมื่อวันที่ 26-28 เมษายน พ.ศ.2491 เป็นจุดเริ่มต้นของการถือกำเนิดกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  กลุ่มแรกของขบวนการเหล่านี้ใช้ชื่อว่า The  Brrisan  National Pember-Basan  Pattani เมื่อปี พ.ศ.2502
ภายหลังการเกิดกลุ่มดังกล่าวเป็นต้นมากลุ่มได้กลายเป็นต้นแบบทำให้เกิดกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามมาอีกหลายกลุ่ม  ซึ่งกลุ่มเหล่านี้บางกลุ่มมีการยุบรวมตัวกัน บางกลุ่มเกิดความแตกแยกแล้วมีการแยกตัวไปตั้งกลุ่มใหม่ แต่ยังดำรงความเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนต่อมา  ตลอดช่วงศริสตศตวรรษที่ 20 จนถึง คริสตศวรรษที่ 21 กลุ่มที่นับว่ามีบทบาทสำคัญได้แก่  กลุ่ม The  Barisan Nasional  Pemberbasan Pattani (BNPP), กลุ่ม  The Barisan Revolusi Nasional (BRN), กลุ่ม The Pattani United Liberation Organization (PULO),  The New Pattani United Liberation Organization (New PULO) ,  กลุ่ม The Gerakan Mujahideen Islam  Pattani  (GMIP) และ กลุ่ม The United Front  For the Independence  of Pattani (Bersatu) ซึ่งการปฏิบัติการของกลุ่มเหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพและความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และบั่นทอนภาพลักษณ์ของไทยในประชาคมระหว่างประเทศมาโดยตลอด
ในการกำหนดแนวทางต่อสู้กับกลุ่มก่อความไม่สงบดังกล่าว  จึงจำเป็นต้องศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจรัฐ  การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และความมั่นคงที่เอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ  ความล้มเหลวหรือการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของรัฐบาลที่เป็นเสมือนเชื้อไฟที่ทำให้ความไม่สงบยังดำรงอยู่หรือขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งจะต้องศึกษาการก่อกำเนิดและความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบแต่ละกลุ่ม  ตั้งแต่มีการก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน  ตลอดจนการทำความเข้าใจเพื่อแสวงหาแนวทาง และมาตรการในการต่อสู้กับความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยรัฐจะต้องมีเป้าหมายในบั้นปลายที่จะเอาชนะกลุ่มก่อความไม่สงบให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์
ชาวมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
พื้นที่บริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ เคยเป็นอาณาจักรเก่าแก่มาก่อน มีความผูกพันธ์กับความเจริญและความเสื่อมของรัฐต่างๆในแหลมมลายูและหมู่เกาะชวามาอย่างต่อเนื่อง การที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่เชื่อมต่อลงไปถึงแหลมมลายูทำให้มีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์  ทั้งในด้านเป็นเส้นทางเชื่อมการค้าระหว่างภูมิภาคตะวันตกกับตะวันออก และเป็นศูนย์กลางการค้าและการเดินเรือระหว่างมหาสุมทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก  ความสำคัญในแง่ที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้ดินแดนแห่งนี้รับเอาอิทธิพลทั้งทางศาสนาและวัฒนธรรม จากชนชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย  ทำให้ชนชาติมลายูในแถบนี้ซึ่งเคยนับถือภูติผีและวิญญาณมาก่อนเริ่มเปลี่ยนมายอมรับนับถือ ศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ
อาณาจักรลังกาสุกะ  ซึ่งเป็นอาณาจักรแห่งแรกในแหลมมลายูที่ก่อตัวขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 11  ก็ได้รับอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรมของฮินดู-พุทธหรือฮินดู-ชวาเช่นกัน  โดยศูนย์กลางของอาณาจรกลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ปัตตานี  อย่างไรก็ตาม ต่อมาอาณาจักรลังกาสุกะถูกอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังและมีอิทธิพลอยู่ในแถบภูมิภาคมะละกา  ขยายอำนาจเข้าครอบครองในช่วงคริสศตรวรรษที่ 8 – 11 จนกระทั่งอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมลงในช่วงประมาณคริสตศวรรษที่ 12 อาณาจักรลังกาสุกะจึงได้รับอิสระอีกครั้ง  สำหรับ อาณาจักรปัตตานี นั้น ถือกำเนิดขึ้นภายหลังอาณาจักรลังกาสุกะล่มสลายลงแล้ว ในช่วงกลางคริสตศวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่อาณาจักรสุโขทัยกำลังเรืองอำนาจอยู่ทางภาคเหนือ
ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจนั้น เป็นช่วงเดียวกับที่พ่อค้าอิสลามต่างภูมิภาคเดินทางเข้ามาทำการค้าในภูมิภาค  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก  โดยเฉพาะในแถบรัฐมลายู  ซึ่งความมั่นคั่งทางการค้าของพ่อค้าอิสลามดังกล่าวนี่เอง  นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นอิสลามหรือกระบวนการทำให้เป็น อิสลาม (Islsmization) ขึ้นเป็นครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้ ขณะที่ในด้านของกรุงศรีอยุธยา ได้รับอิทธิพลทางการเมืองและความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธมาจากอาณาจักรขอมโบราณ อย่างไรก็ตาม กรุงศรีอยุธยาก้ไม่ปฏิเสธบุคคลที่นับถือศาสนาอื่น เห็นได้จากในสมัยนั้นมีข้าราชการในสำนักที่มีบทบาทสำคัญหลายคนที่เป็นชาวต่างชาติทั้ง มาเลย์ เปอร์เซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และโปรตุเกส ซึ่งการยอมรับความหลากหลายทางการเมืองและเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เองทำให้กรุงศรีอยุธยาสามารถติดต่อเชื่อโยงกับประเทศต่างๆได้โดยสะดวก
ในช่วงเวลาเดียวกัน มะละกากลับเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการถูกโปรตุเกสเข้ามายึดครองเมื่อปี ค.ศ.1511 จนทำให้ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสูญสิ้นไปและมีสถานะเป็นเพียงที่ตั้งทางทหารของโปรตุเกส  แต่ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลับเป็นผลดีต่อกรุงศรีอยุธยา  ที่กลายมาเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาคแทน  ขณะที่ปัตตานีซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาแล้ว  ก็ได้รับผลดีโดยกลายมาเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญด้วยเช่นกัน  และผลจากความเจริญมั่งคั่งมากขึ้นดังกล่าว  ได้มีส่วนทำให้ปัตตานีพยายามแยกตัวจากการเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา  และมีการทำสงครามกันหลายครั้งระหว่างกลางคริสตศวรรษที่ 16 – ต้นศริสศตวรรษที่ 17 แต่ในที่สุดปัตตานียังคงสถานะเป็นประเทศราชต่อไป  อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตุเกี่ยวกับสภาพความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับกรุงศรีอยุธยาในช่วงนี้คือ  ทั้งสองฝ่ายไม่เคยมีความขัดแย้งกันทางศาสนา และยังคงมีความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาไม่ห้ามหรือแทรกแซงการปฏิบัติทางศาสนาของปัตตานี  ขณะเดียวกัน  กรุงศรีอยุธยาก็ยินยอมให้ปัตตานีคงวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบของตนเองต่อไป
อาณาจักรปัตตานีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามหรือประเทสไทย ในปัจจุบันในสมัยราชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อปี พ.ศ.2329  ซึ่งแม้จะเกิดการต่อต้านการปกครองจากบรรดาเจ้าเมืองที่มีเชื้อสายมลายูเป็นระยะๆ  แต่ห้วงเวลาที่ดูจะมีความรุนแรงมากที่สุดคือ  ช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยประกาศใช้ “กฏข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง ร.ศ.120”  เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ.2444  ทำให้บรรดาเจ้าเมืองในหัวเมืองมลายูสญเสียอำนาจที่มีมาแต่เดิมจนเกิดการต่อต้านเป็นระยะๆ และในปีพ.ศ. 2452  ได้มีการจัดทำสนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ  กำหนดเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับบริติชมาลายา(ในปัจจุบันคือประเทศมาเลเซีย) โดยมีการกำหนดให้ปัตตานีอยู่ในเขตของสยาม ส่วนกลันตัน เปรัคเคดาห์ และเปอร์ลิสอยู่ในเขตของบริติชมาลายา  ต่อมาประเทศสยามได้แบ่งปัตตานีออกเป็น 3 จังหวัดได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ถึงแม้ว่าสยามเผชิญการต่อต้านจากบรรดาเจ้าเมืองมลายูในปัตตานีมาเป็นระยะๆ แต่ในช่วงนั้นยังไม่มีการเคลื่อนไหวในรูปขบวนการ   จนกระทั่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 ไปแล้ว จึงเกิดการรวมตัวต่อต้านอำนาจรัฐเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 26-28 เมษายน พ.ศ.2491 ที่รู้จักกันในชื่อกฏบดุซงญอ (Dusun  Nyur   Rebellion) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่ หะยีสุหลง (Haji Sulong หรือ Sulong bin Abdul Kadir Mohammad el Patani) ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี ในขณะนั้น  ได้ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาชนปัตตานี (The Patani People’s Movement) ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2490 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของปัตตานี จนกระทั่งถูกจับกุมและเกิดการประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรงจากประชาชน  ทำให้ทางการส่งกำลังเข้าปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ถึง 400 คน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญทำให้มีการก่อตั้งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบ อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2502 ในชื่อขบวนการแนวร่วมแห่งชาติปลดปล่อยปัตตานี หรือกลุ่ม The Barisan Nasional Perberbasan Pattani (BNPP) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยทายาทเชื้อสายเจ้าเมืองในหัวเมืองมลายูเดิม และตามมาด้วยการก่อตั้งขบวนการในลักษณะนี้อีกหลายขบวนการในเวลาต่อมา
สภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรท้องถิ่น
สภาพทางสังคม วิถีชีวิต  เชื้อชาติ เศรษฐกิจ และศาสนาของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นอกเหนือจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์เรื่องอาณาจักรปัตตานีเดิม) นับว่ามีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกระหว่างไทยมุสลิมในพื้นที่กับประชากร ในส่วนอื่นๆของประเทศ  กล่าวคือในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี  ยะลา และนราธิวาสนั้น  ถึงแม้จะมีพื้นที่รวมกันถึง 6.79 ล้านไร่ หรือ 10,936 ตารางกิโลเมตรซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีประชากรรวมกันประมาณ 1.78 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 79 นับถือศาสนาอิสลาม แตะกลับมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี พ.ศ. 2544 เพียงจำนวน 69,606 ล้านบาท  และรายได้ต่อหัวเพียง 40,468 บาท/คน/ปี   ซึ่งต่ำกว่าในระดับประเทศ ซึ่งมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 81,435 บาท/คน/ปี ถึงครึ่งหนึ่ง  ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกก็มีน้อยมาก
ในด้านสังคมชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ยังยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม ซึ่งมีสาเหตุจากกฏเกณฑ์ทางศาสนาและการดำรงชีวิตตามวิถีมุสลิม  ทำให้ประชาชนยังคงอัตลักษณ์ของตนอย่างเหนียวแน่นและแตกต่างจากภาคอื่นของประเทศ  ขณะที่ภาษามลายู (ภาษายาวี) ที่ประชาชนใช้กันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้มีความหมายเพียงเพื่อการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  แต่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของชาวมลายูทั้งมวล (รวมถึงชาวมาลายูในมาเลเซียด้วย) ทั้งนี้ยังสามารถสร้างความขัดแย้งให้กับรัฐไทย ที่ต้องการให้ประชาชนในพื้นที่ใช้ภาษาไทย จนถูกตีความว่ารัฐไทยพยายามที่จะใช้นโยบายผสมกลมกลืน ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันมีชาวมาเลย์มุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สามารถใช้ภาษาไทยได้  แต่ก็เป็นเพียงการใช้เพื่อติดต่อสื่อสารกับทางราชการ  ยังไม่มีอิทธิพลมากพอที่จะแทนที่ภาษายาวีที่มีนัยสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่  ในทางกลับกันผู้สามารถพูดยาวีได้แม้ไม่ใช่คนมาเลย์มุสลิม เช่น ชาวไทยเชื้อสายจีน  กลับสามารถเข้ากันได้ดีกับคนมาเลย์มุสลิมซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภาษาสามารถจะเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในสังคมแห่งนี้ได้
การศึกษานับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการกำหนดวิถีชีวิตและความเชื่อ ของประชาชนในพื้นที่เนื่องจากในอดีตอาณาจักรปัตตานีเคยเป็นศูนย์กลางการศึกษามายาวนานจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 ในช่วงนั้นมีนักศึกษามุสลิมจากภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนมากเดินทางมาศึกษาใน ปอเนาะในปัตตานีก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ  และยอมรับกันว่าปอเนาะในปัตตานียึดมั่นในหลักการของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ซึ่งแม้กระทั่งในปัจจุบันการศึกษาในปอเนาะก็ยังเป็นที่นิยมและเป็นที่ยอมรับและเป็นสัญญลักษณ์สำคัญทางวัฒนธรรมของชาวมาเลย์มุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  อย่างไรก็ตาม การที่ปอเนาะจำนวนมากไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง (มีถึง 200 แห่งจากประมาณ 500 แห่ง ที่ไม่ได้จดทะเบียน) และการสอนก็ขึ้นอยู่กับครูที่สอนเป็นหลักโดยไม่มีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานทำให้ครูเป็นผู้มี อิทธิพลในการปลูกฝังทางความคิดต่อนักเรียนที่เข้าศึกษา จนสามารถจะชี้นำแนวความคิดหรือพฤติกรรมที่ผิดได้
หากพิจารณามาตรฐานการศึกษาของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวม ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นของประเทศ  ซึ่งตามรายงานของโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชติ (United Nations Development  Programe/UNDP) เมื่อค.ศ.2003 ระบุว่า คะแนนเฉลี่ยคุณภาพทางการศึกษาในระดับมัธยมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 43.1 ประชากรที่จบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีถึงร้อยละ 44.85  และมีผู้ที่สำเร็จระดับปริญาตรีขึ้นไปมีเพียงร้อยละ 3.58 นอกจากนี้ เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ยังบั่นทอนคุณภาพการศึกษาของพื้นที่นี้อย่างมาก  จากการที่โรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะๆ ครูขอย้ายออกนอกพื้นที่ ลาออก หรือถูกลอบสังหาร และบุคลากรครูที่มีคุณภาพในพื้นที่อื่นไม่กล้าเข้าไปทำงานในพื้นที่  เป็นต้น
ในด้านการเมืองในอดีตการถูกส่งไปปฏิบัติราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเสมือนการลงโทษ อีกทั้งรัฐบาลก็ไม่ค่อยให้ความสนใจกับประชาชนในพื้นที่ที่เป็นชาวมุสลิม นอกจากนี้ ยังมีมุสลิมมลายูในพื้นที่ในจำนวนที่น้อยมากที่มีโอกาสเข้าไปเป็นราชการหรือมี บทบาททางการเมือง  แต่สาเหตุประการสำคัญคือตลอดระยะเลาหลายปีที่ผ่านมา ยังมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบางคนใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องต่อประชาชนในพื้นที่  ปัจจัยเหล่านี้เองจึงทำให้ประชาชนในพื้นที่มีอคติและมักหลีกเลี่ยงที่จะพบปะกับข้าราชการ  และหลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงก็มักจะปักใจเชื่อว่าฝ่ายรัฐเป็นผู้กระทำ  ทั้งๆที่โดยข้อเท็จจริงแล้วมีเหตุการณ์ร้ายเป็นจำนวนมากที่เป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบ  ฉะนั้นความรู้สึกด้านลบของประชาชนต่อฝ่ายรัฐดังกล่าวจึงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินนโยบายเพื่อเอาชนะการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น
ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา  และความเชื่อหรืออัตลักษณ์นับเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแปลกแยกโดยพื้นฐานไปจากประชาชนในส่วนอื่นๆของประเทศ แต่ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้พื้นที่แถบนี้ไม่มีความสงบมาโดยตลอดเกิดจากกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันต่อต้านอำนาจรัฐในรูปองค์การกู้ชาติปัตตานี โดยกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
1. กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปัตตานี
( The Barisan  Nasional Pemberbasan Pattani/ BNPP หรือ Patani National Liberation Front)
 ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2502 โดย Tengu Abdul Jalal หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี วัตถุประสงค์ของกลุ่มต้องการได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากประเทศไทย ไม่ยอมรับการปกครองตนเองหรือการเข้าไปรวมกับประเทศมาเลเซีย  ขณะที่ยุทธศาสตร์ของกลุ่มเน้นการรบแบบกองโจร แต่ในปี พ.ศ. 2533 กลุ่มได้ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์หันไปสนับสนุน การต่อสู้ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั่วโลก พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น Barisan Islam Perberbasan Pattani (BIPP) อย่างไรก็ตาม เมื่อปีพ.ศ.2532 กลุ่มได้ยุติความเคลื่อนไหวในประเทศไทยไปในระยะหนึ่งแล้วกลับมาเคลื่อนไหวใหม่เมื่อปี พ.ศ.2545 ภายหลังมีการประชุมแกนนำของกลุ่ม ที่บริเวณภาคเหนือของมาเลเซีย ทั้งนี้นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงเชื่อว่า BIPP มีส่วนร่วมในการโจมตีหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2545 แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่ามีส่วนร่วมในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2547หรือไม่
2.กลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมาลายู   (The Barisan Revolusi Nasional / BRN หรือ National Revolutionary Front)
ก่อตั้งเมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2503 ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการมีจำนวนมากที่สำคัญได้แก่นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา,  เตงกูยาลาล์  นาเซร์/อดุลย์ ณ สายบุรี อุสตาซการิม/หะยีการิม ฮาซัน อดีตโต๊ะครูปอเนาะในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และนายอับดุลกายม ผู้บุกเบิกก่อตั้งกลุ่มดาวะห์ในประเทศไทย  และได้ก่อตั้งหน่วนทหารขึ้นเมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยใช้ชื่อว่า  กองกำลังติดอาวุธปลดแอกปัตตานี  หรือ Angkatan  Bersenjata Revolusi Patani :ABRIP (เลียนแบบชื่อย่อของกองทัพ อินโดนีเซีย ซึ่งใช้คำว่า ABRI : Angkatan Bersenjata Republik Indonesia) อุดมการณ์เริ่มแรกของ BRN ยึดแนวความคิดในการปกครองแบบสังคมนิยม แต่ต่อมาหันมาชูอุดมการณ์ด้านศาสนา
อย่างไรก็ตามได้เกิดความแตกแยกภายในขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ปีพ.ศ.2521 จนแตกเป็น 3 กลุ่มคือ BRN  Congress ( สายกองกำลังติดอาวุธ) BRN ULAMA (สายศาสนา) และ BRN Coordinate (สายการเมืองและศาสนา) แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงขบวนการเดียวและมีบทบาทมากที่สุดคือขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งหลักการสำคัญของกลุ่มนี้คือ การยึดมั่นแนวคิดแบ่งแยกดินแดนไม่เจรจากับฝ่ายรัฐ และใช้วิธีการรุนแรงในการปฏิบัติการโดยไม่เลือกว่าเป็นไทยพุทธหรือไทยมุสลิมที่ให้ความร่วมมือกับรัฐ
3.องค์กรปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือองค์การสหปัตตานีเสรี
(Pesatuan Pembebasan Patani Bersatu / PPPB หรือ Patani United Liberation Organization / PULO )
 ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ.2511 เป็นองค์กรจัดตั้งที่มีรูปแบบสมบูรณ์ที่สุด  ผู้ริเริ่มก่อตั้งคือ ตนกูบีรอ กอตอนีรอ  และนายกาบีร์ อับดุลเราะห์มาน ทั้งนี้แม้ว่าได้เกิดความแตกแยกภายในหลายครั้งภายในกลุ่ม PULO ตั้งแต่ปีพ.ศ.2528 จนเกิดการแยกตัวออกเป็น PULO เก่า และ PULO ใหม่ แต่ล่าสุดมีรายงานยืนยันว่า ขบวนการดังกล่าวได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้วเมื่อมิถุนายน 2548 และปัจจุบัน PULO ได้เข้ารวมเป็นพันธมิตรกับแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานีหรือเบอร์ซาตู (BERSATU)แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ของ PULO ในปัจจุบันเน้นงานด้านการเมืองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนกองกำลังของกลุ่มใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีน้อยมาก  และแทบไม่พบความเคลื่อนไหวในด้านการใช้กำลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 อย่างไรก็ตามหน่วยงานด้านความยังคงจับตากลุ่ม PULO อย่างใกล้ชิด เนื่องจากในกลางปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมาเริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวของกองกำลัง PULO อีกครั้งอย่างผิดสังเกต
4. ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี  (Therakan Mujahideen Islam Pattani/GMIP)
มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม เริ่มจากการก่อตั้งแน่วร่วมมูจาฮีดีนปัตตานี หรือ BBMP (Barisan Bersatu Mujahidin Patani ) ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2528 โดยมีแนวคิดที่จะรวบรวมขบวนการต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้มีเอกภาพและความเข้มแข็งในการต่อสู้  และอยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันคือการปลดแอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ร่วมก่อตั้งมีนายหะยีอามีน โต๊ะมีนา แกนนำของ BRN Coordinate หะยีอับดุลเราะห์มาน/โต๊ะครูพ่อมิ่ง   (นักวิชาการทางศาสนา) ตนกูบีรอ กอตอนีรอ แกนนำ PULO นายแวหามะ แวยูโซ๊ะ แกนนำ BNPP/BIPP อุสตาซการิม  บินฮาซัน แกนนำ BRN ULAMA และนายบือราเฮง กูทาย/บือราเฮงขนส่ง แกนนำ BNPP/BIPP
แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ2529 เริ่มปรากฎการเคลื่อนไหวของอีกขบวนการหนึ่งชื่อ “ขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานี” GMP (Gerakan Mujahideen  Pattani) ซึ่งเชื่อว่าแยกตัวจากขบวนการ BIPP และ BBMP โดยมีแกนนำคนสำคัญประกอบด้วยนายวันอาหมัด วันยูซุฤ/แวหามะ แวยูโซ๊ะ อดีตสมาชิก BNPP/BIPP นายอาวัง/อาแว บินอับดุลเลาะห์ กาบีร์/อาแวยะบะ  นายมูฮัมหมัด/มะ  โดล์/อุสตาซมะ โดล์  นายแจ๊ะกูแม กู/อับบัส  บินอาหมัด ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้เน้นงานด้านการเมืองอยู่ในมาเลเซีย บทบาทสำคัญของ GMP คือเป็นหนึ่งในแกนนำที่รวบรวมขบวนการต่างๆ ก่อตั้งเป็นขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานีหรือเบอร์ซาตู (BERSATU) เมื่อปี พ.ศ.2532 (ยกเว้น BRN Coordinate ที่ไม่ได้เข้าร่วมขบวนการ แต่ก็อยู่ในฐานะที่เป็นพันธมิตร)
5. กลุ่มแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี ( The United Front for the Independence of Pattani / BERSATU)
 ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 โดยความเห็นชอบร่วมกันของแกนนำกลุ่ม BIPP  BRN  GMP และ PULO  โดยมีจุดมุ่งหมายจะรวมขบวนการต่อสู้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในระยะเริ่มต้น แกนนำของทั้ง 4 กลุ่ม ตกลงให้จัดตั้ง “องค์การร่วม” หรือ “องค์การปายง” หรือ Umbrella  Organization ขึ้นเพื่อความเป็นเอกภาพและให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันต่อสู้เพื่อปลดแอกปัตตานี ใช้หลักการต่อสู้เพื่อศาสนา (ญีฮาด) ด้วยกำลังติดอาวุธ ต่อต้านหลักการและนโยบายต่างๆของรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ประเทศอิสลามทั้งหลายสนับสนุนการต่อสู้  แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี” หรือ BERSATU โดยปัจจุบันมี ดร.วัน กาเดร์ เจ๊ะมาน เป็นประธาน อย่างไรก็ตาม ตามข้อเท็จจริงที่หน่วยงานด้านความมั่นคงรบทราบ  BERSATU ไม่มีอำนาจสั่งการกลุ่มต่างๆที่เป็นสมาชิกเพียงแต่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายหรือแนวทางการปฏิบัติกว้างๆเพื่อให้การดำเนินงานของแต่ละกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกลุ่มสมาชิกยังคงมีการเคลื่อนไหวเป็นเอกเทศแต่มีการประสานความร่วมมือกันมากขึ้นเท่านั้น
6. กลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานี ( Pemuda  Merdeka Pattani/PMP )
 ก่อตั้งโดยขบวนการ BRN Coordinate ซึ่งสมาชิกระดับแกนนำส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวิฒิทางศาสนา (Ulama) และได้พัฒนาการต่อสู้ในมิติใหม่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2535โดยการฝึกอบรมเยาวชนทหารตามโครงการและจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธทั้งภายในและภาย นอกโรงเรียน ด้วยการปลุกกระแสการต่อสู้ในแนวทางญีฮาด (Jihad) หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเตรียมการทำสงครามประชาชนกรือการรบแบบกองโจรการดำเนินงานจะแฝงกิจกรรมอยู่ในตาดีกาและในปอเนาะ  ตลอดจนในสถาบันการศึกษษของรัฐบาลบางแห่ง รวมทั้งบริเวณมัสยิดประจำหมู่บ้าน โดยได้ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญหลายครั้งในลักษณะการปล้นอาวุธ ลอบยิง/สังหารเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 และเชื่อว่ากลุ่มดังกล่าว มีการเชื่อมโยงและแสวงหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น PULO BRN Congress และ GMIP เป็นต้น
7. สภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม (Ulama Patani Daruslam)
 เป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาหรือปราชญ์มุสลิม (อูลามาอ์) ถือเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่จบการศึกษาด้านการศาสนาในระดับสูงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและอินโดนีเซีย  แล้วกลับมาทำงานเป็นครูสอนศาสนา โต๊ะครู อิหม่าม และเจ้าของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะ แต่ละคนมีลูกศิษย์มากมาย และเป็นที่ศรัทธาเคารพของประชาชนมุสลิม จึงเป็นตัวแปรหลักของสถานการณ์ในพื้นที่อย่างแท้จริง เพราะเป็นผู้ชี้นำและกำหนดทิศทางการต่อสู้ของมุสลิมได้โดยตรง  ผู้ที่เป็นแกนหลักสำคัญในการจัดตั้งกลุ่ม Ulama คนแรกก็คือ หะยีสุหลง อัล-ฟาตอนี หรือนายสุหลง บิน  อับดุลกอเดร์ ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาด้านการศาสนาที่เมืองเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย นานถึง 20 ปี ภายหลังเดินทางกลับปัตตานี เมื่อปีพ.ศ.2470ได้นำแนวความคิดมาวางรากฐานในการเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาจากระบบปอเนาะมาเป็น ระบบโรงเรียน โดยในปี พ.ศ.2476 ได้เปิดอาคารเรียนชื่อ “Madrasah Al Maarif Al Wataniah Fatani” ซึ่งปัจจุบันคือโรงเรียนมาหะอัดดารุลมาฮาเรฟ อยู่ที่เดียวกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และนับเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรกในปัตตานีและในประเทศไทย

ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมากลุ่ม Ulama มีบทบาทในทางเปิดลดลงไปมากจนกระทั่งเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2545 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกันก่อตั้งสภาอูลามาปัตตานีดารุสลาม  ตั้งอยู่ที่โรงเรียนมูลนิธิสมบูรณ์ศาสน์ดาลอ หรือปอเนาะดาลอ  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี สมาชิกประกอบด้วยผู้นำศาสนา โต๊ะครู นักวิชาการอิสลามในพื้นที่จำนวน 29 คน  โดยคัดเลือกจากผู้นำศาสนา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อิหม่าม โต๊ะครู  โต๊ะบิหลั่น หรือผู้จบด้านการศาสนาชั้นสูง) และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
8. สมาคมนิสิตนักศึกษาชาวไทยมุสลิมในอินโดนีเซีย ( Persatuan Mahasiswa Papani [Selatan Thailand] Indonesia/PMIPTL)
 ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ 2511 โดยกลุ่มนิสิตนักศึกษาใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำเร็จการศึกษาด้านการศาสนาจากประเทศอินโดนีเซีย เพื่อประสานงานด้านการศึกษาและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ภายหลังแกนนำของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยเฉพาะ BRN ได้แทรกซึมเข้าไปและบิดเบือนเป้าหมายขององค์กรให้หันมาดำเนินกิจกรรมการปลุกระดม  การฝึกอบรมด้านการทหาร และเชื่อมโยงกับองค์กรต่อสู้ทางศาสนาในต่างประเทศหลายองค์กร เพื่อความมุ่งหมายในการต่อสู้แบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันสมาคมดังกล่าวมีสมาชิกไม่ต่ำว่า 3,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโต๊ะครู อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ครูสอนศาสนา (อุสตาซ) กรรมการอิสลามระดับจังหวัดรวมทั้งบางส่วนเป็นสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบด้วย หรือเป็นทายาทของสมาชิกหรือแนวร่วมกลุ่มก่อวามไม่สงบที่บาดเจ็บหรือสูญเสียจากการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่  และเนื่องจากประเทศอินโดนีเซียการต่อสู้ของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เช่น ขบวนการเจมาอะห์อิสลามมิยะห์ (JI) และขบวนการอาเจะห์เสรี (GAM) จึงเอื้ออำนวยให้สมาคมดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องตลอดมาในลักษณะการฝึกร่วม หรือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน PMIPTI ในปัจจุบันจึงมีสถานะเป็นหนี่งในองค์กรแนวร่วมขององค์กรกู้ชาติปัตตานี
9. ขบวนการเยาวชนแห่งชาติปัตตานี (Patani National Youth Movement/PANYOM หรือ Gerakan Pemuda Kebangsaan  Patani)
 เป็นกลุ่มที่หน่วยงานด้านความมั่นคงเชื่อว่าก่อตั้งมานานแล้ว เพียงไม่ได้ดำเนินงานอย่างเปิดเผยหรือมีชื่อเสียงมากนัก  จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.2540 เริ่มปรากฏการเคลื่อไหวครั้งแรก โดยการทิ้งจดหมายข่มขู่กรรโชกทรัพย์ที่จังหวัดปัตตานี และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ.2541 ได้ปรากฏการเคลื่อนไหวอีกครั้ง ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาปลุกระดมมวลชนโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้ประเด็นด้านศาสนา เชื้อชาติ ประเพณี  วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ปัตตานี ในอดีตมาเป็นสิ่งปลุกเร้าให้ชาวไทยมุสลิมลุกขึ้นมาต่อสู้รัฐบาลไทยรวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารการต่อสู้ของกลุ่มก่อ การร้ายขบวนการต่างๆซึ่งนับเป็นการพัฒนาบทบาทของกลุ่มไปสู่การต่อสู้ทางการเมืองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
10. สภาองค์กรนำ (Dewan Pimpinan Parti/DPP)
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และตัดสินใจ รวมทั้งเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์/แผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน หรืออาจกล่าวให้ชัด DPP มีสถานภาพเสมือนส่วนมันสมองหรือรัฐบาลของกลุ่มก่อความไม่สงบนั่นเอง โดยโครงสร้างการจัดองค์กรมีลดหลั่นกันลงไป   ตั้งแต่ระดับเขต/จังหวัดถึงระดับหมู่บ้าน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก/แนวร่วม การปฏิบัติทางยุทธวิธีของสมาชิก/แนวร่วม อีกทั้งมีการจัดแบ่งหน้าที่ในองค์กรย่อยอย่างชัดเจน ทั้งในด้านการปฏิบัติการจิตวิทยา/โฆษณาชวนเชื่อ ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ และด้านการทหาร (การใช้กำลังปฏิบัติการในรูปแบบต่างๆ) โดยมีเป้าหมายสูงสุดเมื่อการปฏิวัติตามขั้นตอนดังกล่าวสำเร็จจะสถาปนารัฐปัตตานีขึ้นใหม่ โดยมีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบางส่วนของจังหวัดสงขลา และสตูล โดยมีการจัดโครงสร้างดังต่อไปนี้

10.1 โครงสร้างของรัฐปัตตานีที่จะสถาปนาขึ้นใหม่
 จากข้อมูลจะพบว่าองค์กรมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขตได้แก่
1) เขตปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนราธิวาสและบาง่สวนของจังหวัดปัตตานี โดยใช้แม่น้ำสายบุรีเป็นเส้นแบ่งเขต ตั้งแต่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ไปถึงอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
2)           เขตปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) ประกอบด้วย  พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา   และบางส่วนของจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลา ตามแนวภูมิประเทศตั้งแต่ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาไปถึงอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) ประกอบด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย  อำเภอนาทวี อำเภอสะเดา อำเภอควนโดนและอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
10.2 โครงสร้างระดับบริหาร (ส่วนกลาง)
 มีประธานและรองประธาน DPP เป็นผู้นำ และมีฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องหลักๆอีก 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายทหาร (งานด้านกำลังรบ) ฝ่ายเยาวชน (งานด้านกำลังพล)  ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา/ฝ่ายประชาสัมพันธ์  ฝ่ายศาสนา (อูลามา) ฝ่ายเศรษฐกิจ   และฝ่ายเขต/พื้นที่ (ดูแลงานด้านการปกครองท้องที่) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงานปกครองของกระทรวงมหาดไทย

10.3โครงสร้างในระดับเขต/จังหวัดไปจนถึงระดับกลุ่ม/หมู่บ้าน
 (การปกครองส่วนท้องถิ่น)
มีการจัดโครงสร้างเลียนแบบระดับบริหาร  โดยระดับเขตประกอบด้วย
1. ฝ่ายปฏิบัติการจิตวิทยา  ทำหน้าที่ปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบต่างๆผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นอุสตาซ (ครูสอนศาสนา) ที่สอนอยู่ตามสถานการศึกษา/ปอเนาะ/ตาดีกา
2.  ฝ่านศาสนา  ทำหน้าที่สร้างความเชื่อถือและศรัทธา โดยนำหลักการทางศาสนาอิสลามมาบิดเบือนรวมถึงการสร้างความเชื่อทางไสยศาสตร์ และการสาบานตน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นผู้นำศาสนา
3. ฝ่านเหรัญญิก  ทำหน้าที่ด้านการเงิน ทั้งการหารายได้ และจัดทำรายการรายรับและรายจ่าย โดยมีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิก/แนวร่วม  เป็นรายวันหรือรายเดือนบ้างและจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือสหกรณ์ของกลุ่มเพื่อบังหน้า
4. ฝ่ายเลขานุการ  ทำหน้าที่ด้านงานธุรการ  การจัดหาสมาชิก/แนวร่วม  และประสานงานด้านการปลุกระดม การฝึก ในฝ่ายนี้ยังมีผู้มีความรู้หรือผู้อาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพยำเกรงมาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้มีอิทธิพลจากธุรกิจผิดกฏหมาย
10.4 ที่ตั้งและพื้นที่อิทธิพลหรือพื้นที่เคลื่อนไหวของก่อความไม่สงบ
  จากการวิเคราะห์เอกสารที่ทางการได้มานั้น พอจะพิสูจน์ทราบที่ตั้งและพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ดังนี้
10.4.1 ระดับบริหาร (โครงสร้างส่วนบทของ DPP) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พื้นที่หนึ่ง ระหว่างเมือง อำเภอยะหริ่ง หรืออำเภอหนองจิก
10.4.2 ระดับเขตหรือจังหวัด คาดว่า
1)ปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่างอำเภอเมือง อำเภอเจาะไอร้อง หรืออำเภอระแงะ 
2)ปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งระหว่างอำเภอยะรัง หรืออำเภอมายอ
3) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่างอำเภอเมือง อำเภอบันนังสะตา หรืออำเภอยะหา
แผนบันได 7 ขั้น
ตรวจพบครั้งแรกเมื่อ 1 พฤษภาคม 2546  หลังเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นบ้านพักนายมะแซอุเซ็ง  อาจารย์สอนศาสนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม “สัมพันธ์วิทยา” บ้านเจาะเกาะ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดเอกสาร “แผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน” ได้อีกหลายครั้ง ล่าสุดยึดได้จากโรงเรียน “ปอเนาะญีฮาด” หรือ โรงเรียนญีฮาดวิทยา บ้านท่าด่าน ตำบลตะโล๊ะกาโปร์  อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่  20 พฤษภาคม 2548 กลุ่มก่อความไม่สงบ
โดยเฉพาะ BRN Coordinate ซึ่งสมาชิกระดับแกนนำส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบุคคลที่มีสถานภาพเป็นผู้นำศาสนาในทุกระดับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการทางลับโดยการใช้แผนสู่ความสำเร็จ (บันได 7 ขั้น) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยการชักชวนเยาวชนทั้งในและนอกโรงเรียนเข้าร่วมงานได้เป็นจำนวนมาก และเรียกตัวเองว่า “Pejuang” (เปอยูแว/ยูแว) แปลว่า “นักต่อสู้ของกลุ่มเยาวชนกู้ชาติปัตตานี” (Pemuda Merdeka Patani) ขององค์กรกู้ชาติปัตตานี  (Pejuangan Merdeka Patani)
กลุ่มนักสู้เหล่านี้เป้นนักต่อสู้รุ่นใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรมบ่มเพาะ สร้างจิตสำนึกให้เคียดแค้นชิงชังคนต่างศาสนา  มีอดุมการณ์การต่อสู้เพื่อชาติ ศาสนา มาตุภูมิ  เคร่งครัดศาสนา เป็นที่ยอมรับของสังคม และมีความกระหายที่จะต่อสู้ตามแนวทางศาสนา (ญีฮาด) และอิสรภาพอันชอบธรรมเพื่อรัฐปัตตานี ทั้งนี้องค์กรกู้ชาติปัตตานีได้ขับเคลื่อนตามแผนการปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (บันได 7 ขั้น) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการเตรียมคน จังตั้งองค์กรควบคุม ขยายเครือข่ายและสมาชิก พร้อมทั้งได้กำหนดห้วงปีที่จะปฏิบัติอย่างชัดเจน

ความหมายของแผนปฏิวัติ  7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น)
ผลการแปลเอกสารภาษามาลายู และอาหรับโดยผู้รู้เกี่ยวกับภาษาระบุว่าแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอนถูกกำหนดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) โดยมุ่งใช้เยาวชนเป็นกลุ่มปฏิบัติการทั้งทางทหาร  ประชาสัมพันธ์ และโฆษณาชวนเชื่อ โดยแผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
 ส่วนที่ 1 ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 เป็นห้วงของการจัดตั้งและดำเนินงาน เพื่อสร้างความพร้อมของคน องค์กร และอุดมการณ์
 ส่วนที่ 2 ขั้นที่ 6 ถึงขั้นที่ 7 เป็นขั้นการปฏิวัติ เพื่อความสำเร็จของการกู้ชาติปัตตานี
 ขั้นที่  1 การสร้างจิตสำนึกมวลชน
เป็นการปลุกระดมมวลชนให้สำนึกถึงความเป็นชาวมลายู  ความยึดมั่นในศาสนาอิสลาม และเน้นความเป็นชาติ/รัฐปัตตานีในอดีตที่จะต้องต่อสู้เอาดินแดนคืนโดยมักจะยกเป็นประ เด็นการกวาดต้อนชาวมลายูไปยังกรุงเทพ และบังคับให้ใช้มือเปล่าขุดคลองแสนแสบ รวมทั้งอ้างคำสอนในคัมภัร์อัลกุรอ่านมาประกอบ
 ขั้นที่ 2 การจัดตั้งมวลชน
เป็นการจัดตั้งแนวร่วม ซึ่งมักดำเนินการระหว่างสอนศาสนาต่อเยาวชน เยาวชนในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีอายุในระหว่าง 18-35 ปี และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงการอ่าน “คุปตะเบาะห์” ในวันศุกร์ หรือ “ละหมาดใหญ่” ตามมัสยิด ส่วนในโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียน/อนุบาล ปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะมอบให้ครูสอนศาสนาที่ผ่านการบ่มเพาะมาในระดับหนึ่งแล้วเป็นผู้ดำเนินการ จากนั้นจะพัฒนาให้นักเรียน/นักศึกษาเหล่านี้ผู้ปฏิบัติ โดยอาจให้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศ (ที่ปรากฎหลักฐานคือการไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในเมือง บันดุง เมดาน ยอร์คจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้นอกจากจบการศึกษาทางวิชาการแล้วยังได้ผ่านการฝึกหลักสูตรด้านการทหารมาอีกด้วย   จากนั้นจะส่งมวลชนจัดตั้งเข้าเป็นคณะกรรมการต่างๆเช่น คณะกรมมการอิสลามประจำจังหวัด  คณะกรรมการมัสยิด  คณะกรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล    รวมทั้งเข้าครอบงำสหกรณ์ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนได้รวมกลุ่มดำเนินกิจการเพื่อพึ่ง ตนเอง  เช่น สหกรณ์หมู่บ้าน ซึ่งจะมีการเก็บเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้าขบวนการอันเป็นการสร้างเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ควบคู่กันไป ส่วนสมาคมหรือชมรม (รวมถึงด้านกีฬา) ก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ต้องการเข้าครอบงำด้วย
ขั้นที่ 3 การจัดตั้งองค์กร
 เป็นการจัดตั้งองค์กรอำพรางในการปฏิบัติ ทั้งเพื่อการควบคุมมวลชนและแหล่งเงินทุน เช่น การจัดตั้งชมรมตาดีกา โดยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสใช้ชื่อว่า “PUSAKA” (Pusat Kebajkan Tadika) พื้นที่จังหวัดปัตตานีใช้ชื่อว่า “PUSTAKA”   พื้นที่จังหวัดยะลาใช้ชื่อว่า “PERTIWI” พื้นที่จังหวัดสงขลาใช้ชื่อว่า “PUTRA” และพื้นที่จังหวัดสตูล ใช้ชื่อว่า “PANTAS” เพื่อควบคุมโรงเรียนตาดีการที่ยินยอมเข้ามาอยู่ในองค์กรซึ่งการควบคุมองค์กรเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ทางการเมืองต่อระดับแกนนำในพื้นที่เหล่านั้นด้วย  นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งองค์กรบังหน้าอื่นๆอีกหลายรูปแบบ เช่น จัดตั้งสหกรณ์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน เป็นต้น
 ขั้นที่ 4 การจัดตั้งกองกำลัง

 ในขั้นนี้มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเยาวชน  เป็นกองกำลังที่อยู่ประจำหมู่บ้านตามภูมิลำเนาโดยเฉพาะในหมู่บ้านสีแดง (ประมาณ 257 หมู่บ้าน) โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวให้ได้ 30,000 คน ระดับเยาวชนคอมมานโดเป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกจากลุ่มเยาวชนทหารนำไปฝึกยุทธวิธีหน่วย ทหารขนาดเล็ก (Runda Kumpulan Kecil/RKK) และยุทธวิธีด้านอื่นๆเพิ่มเติม สมาชิกระดับคอมมานโดจะได้รับมอบภารกิจด้านการก่อเหตุร้าย ซึ่งทั้งการลอบยิง  ลอบวางระเบิด และลอบโจมตี โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้ได้ 3,000 คน กระจายอยู่ในเขตปกครองใหม่ 3 เขต  (เขตการปกครองขององค์กรกู้ชาติปัตตานี) เขตงานละ 1,000 คน และ ระดับกองกำลังระดับผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ควบคุมและครูฝึกกองกำลังคอมมานโด กลุ่มเหล่านี้บางคนผ่านการฝึกมาจากต่างประเทศ มีขีดความสามารถค่อนข้างสูง เคยผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้วและมีจิตใจต่อสู่เพื่อองค์กรที่แน่วแน่  โดยมีเป้าหมายกำหนดไว้ 300 คน  คัดเลือกจากเยาวชนคอมมานโดและผู้ที่ผ่านการฝึกจากต่างประเทศแล้ว
 ขั้นที่ 5 การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยม
 การปฏิบัติขั้นนี้ มุ่งเน้นการสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน (ความเป็นมาลายู)ที่จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้รัฐปัตตานีคืนมาโดยการผนึกกำลังของชนชาติพันธุ์มาลายูที่เป็นชาวไทยมุสลิมทุกสถานะ/อาชีพ ซึ่งรวมถึงข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหารที่เป็นมุสลิม และชาวมาเลเซีย ที่สำคัญผู้ที่ได้รับการปลุกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมแล้วจะต้องเคยผ่านการปฏิบัติจริง (การก่อเหตุร้ายไม่ว่าในลักษณะใดตามเงื่อนไขและระดับความรับผิดชอบ)
 ขั้นที่  6 การเตรียมพร้อมปฏิวัติ
 เป็นขั้นตอนการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เหมือนการแตกกระจายของดอกไม้ไฟ หรือเรียกว่า “การจุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” เพื่อการเคลื่อนไหวใหญ่
 ขั้นที่ 7 การจัดตั้งการปฏิวัติ หรือ การก่อการปฏิวัติ

 เป็นการต่อสู้ขั้นสุดท้ายและใช้การโจมตีประกอบด้วยกองกำลังต่อกลไลรัฐเต็มพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งขณะโจมตีจะติดตั้งธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สื่อมวลชนแพร่กระจายไปทั่วโลก และหวังผลให้ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะองค์การสหประชาติหรือองค์กรมุสลิม ในระดับโลกเข้ามาแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าว จนนำไปสู่การลงประชามติของประชาชนเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและจัดตั้งรัฐปัตตานีขึ้นในที่สุด   ซึ่งตามแผนการเดิมขั้นตอนนี้กำหนดจะกระทำในปี พ.ศ.2548 แต่ด้วยความไม่พร้อมของจำนวนกองกำลังแนวร่วมและอาวุธยุทโธปกรณ์  จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน และต้องขยายแผนนี้ออกไปอีกระยะหนึ่ง

 เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการพิจารณาบุคลิกภาพของผู้ที่จะเป็นสมาชิกใหม่โดยสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบที่ได้รับมอบ หมายให้ทำหน้าที่เก็งตัว  จะเข้าไปพูดจาทักทายและสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ที่ได้เก็งตัวไว้ประมาณ 2-3 ครั้งในการพูดจาดังกล่าวจะมีการอ้างอิงประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีและหลักการฮีญาดของศาสนาอิสลามตามหลักการกว้างๆโดยขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน

จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆทำให้พอจะสรุปวิธีการจัดตั้งกองกำลังของขบวนการก่อความไม่สงบ ว่ามีอยู่ 11 ขั้นตอน ได้แก่
ซึ่งสาระสำคัญในการพูดจาชักชวนมักเน้นเรื่อง “ในอดีตรัฐปัตตานีปกครองโดยคนมลายูมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์  ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก  ต่อมารัฐบาลสยามยกกำลังมารุกรานยึดเมืองปัตตานี กวาดต้อนชาวมลายูด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวายใส่โซ่ล่ามตรวน  เดินทางไปขุดคลองแสนแสบ  ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเราได้รับความทุกช์ทรมานมาก  ดังนั้นพวกเราอนุชนคนรุ่นใหม่ต้องสืบทอดเจตนารมณ์กอบกู้เอกราชรัฐปัตตานีกลับคืนมา ด้วยวิธีการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ (ญีฮาด)”
2)การชักชวน
 เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจากขั้นตอนแรก โดยใช้ระยะเวลาติดตามผลประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน ระหว่างนี้ก็มีการพูดเน้นย้ำชักชวนเหมือนขั้นตอนแรกจนกระทั่งผู้ได้รับการชักชวนยินยอมตกลงเข้าร่วมกิจกรรม

 3) การทำพิธีสาบานตน/ปฏิญาณตน/ปิดปาก (ซูเป๊าะ)
 กระทำหลายรูปแบบ ได้แก่ ใช้มือขวา จับมือกันและพูดตามเป็นภาษาอาหรับจำนวน 2-3 เที่ยว แปลใจความภาษาไทยว่า “เราขอสาบานและปฏิญาณว่า จะร่วมกิจกรรมเพื่อองค์กรและรักษาความลับตลอดไป” หรือใช้คัมภีร์อัลกุร-อานวางบนหมอนและผู้ร่วมทำพิธีนั่งล้อมรอบใช้มือแตะที่คัมภีร์อันกุร-อาน (ภายหลังอาบน้ำละหมาดแล้ว) และจะพูดตามเป็นภาษาอาหรับจำนวน 3 เที่ยว ใจความเดียวกับวิธีแรก หรือกล่าวคำสาบานตนจำนวน 3 เที่ยว ใจความเดียวกับวิธีแรกภายหลังละหมาดประจำวัน ระยะเวลาทำพิธี 5- 10 นาที หลังจากนั้นจะมีการเน้นย้ำให้รักษาความลับของกลุ่มเมื่อบุคคลเป้าหมายตอบตกลงสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว จะมีการนัดหมายทำพิธีดังกล่าวโดยใช้สถานที่ที่สะดวก ปิดลับ ปลอดภัย เช่น บ้านสมาชิกแน่วร่วม มัสยิด  โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา/ปอเนาะ  ศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด (ตาดีกา) สุสาน  (กูโบร์) ขั้นตอนดังกล่าวสมาชิกทุกคนต้องเริ่มบริจาคเงินเป็นรายเดือนรายปี คนละ 1บาท/วัน และปีละ 360 บาท/ครั้ง

 4) การตรวจสอบ/บ่มเพาะ ปลูกจิตสำนึก
 หลังจากขั้นตอนที่3ทั้งสองฝ่ายจะไม่มีการติดต่อกันระยะหนึ่ง เพื่อที่กลุ่มก่อความไม่สงบจะตรวจสอบพฤติกรรมสมาชิกใหม่ว่าจะแจ้งข้อมูลหรือเป็นสายข่าวให้ กับทางราชการหรือไม่หากผลการตรวจสอบปรากฏว่าผ่านจะนัดหมายสมาชิกรับฟังการบรรยาย ประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีและหลักการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ จำนวน6-8 ครั้ง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งวิทยากรผู้บรรยายจะมีการสับเปลี่ยนตลอดเวลา โดยทราบเฉพาะชื่อจัดตั้งเท่านั้นเพื่อตัดตอนไม่ให้สมาชิกใหม่ทราบชื่อ สกุล ภูมิลำเนาจริง เนื้อหาสาระในการบรรยายปลุกระดมจะมีความสมบูรณ์มากกว่าขั้นตอนที่ผ่านมาผสมผสาน กับหลักการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์โดยเน้นในเรื่องผลบุญของการทำสงครามดังกล่าว ดังคำกล่าวที่ว่า “หากพวกเราเสียชีวิตในสงครามก็จะได้ขึ้นสู่สรวงสวรรค์ไปอยู่กับศาสดาและผู้เผยแพร่  โดยไม่ต้องพิจารณาชำระบาปที่ได้ก่อไว้ขณะยังมีชีวิตอยู่และส่งผลต่อบิดามารดา บุตร ภรรยาไม่ต้องถูกพิจารณาชำระบาปด้วย หากบาดเจ็บในสงครามศักดิ์สิทธิ์ก็จะได้ รับการลงโทษกึ่งหนึ่ง”
 นอกจากนี้ ยังบรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบัญญัติและกฏวินัยของกลุ่ม ตลอดจนบรรยายเป้าหมายของการปฏิวัติรัฐปัตตานีและมีการทดสอบด้วยปากเปล่าโดยไม่อนุญาต ให้มีการบันทึกในเอกสารหรือสมุดบันทึก ขั้นตอนดังกล่าวใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ในระหว่างนี้จะมีการรวบรวมสมาชิกในกลุ่มและแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มย่อยไปในคราวเดียวกัน  ตลอดจนวางระบบเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร  ประสานงานหลายวิธี เช่นทางโทรศัพท์  พลนำเอกสาร หรือบอกกล่าวด้วยวาจาแบบตัวต่อตัว
 5) การทดสอบจิตใจและความกล้าหาญ
 เมื่อผ่านขั้นตอนการบ่มเพาะจนแน่ใจว่าเป็นสมาชิกที่ไว้วางใจได้ หัวหน้ากลุ่มจะได้เริ่มรับมอบภารกิจจากผู้สั่งการเพื่อแจ้งให้สมาชิกในกลุ่มนำไปปฏิบัติ  ด้วยวิธีการต่างๆ ในลักษณะที่ไม่รุนแรงมากนักเพื่อทดสอบจิตใจ เช่น การชักชวนหาสมาชิกแนวร่วมใหม่,  การทิ้งใบปลิว,  การพ่นป้ายผ้า, การวางเพลิงเผาตู้โทรศัพท์สาธารณะ, ขนำของราษฎร, ลักขโมยถังดับเพลิง, ลักขโมยโทรศัพท์มือถือ, ขว้างระเบิดเพลิงใส่ยานพาหนะ  บ้านเรือนของราษฎร,  ทำลายพืชสวนไร่นา และโรยตะปูเรือใบ ในการปฏิบัติดังกล่าวจะใช้การทดสอบจำนวน 3-5 ครั้ง/คน/กลุ่ม รวมระยะเวลา 3-6 เดือน
 6) การฝึกฝนร่างกายระดับพื้นฐาน
อันได้แก่ ฝึกท่าการเรียก-เลิกแถว การจัดระเบียบแถว ฝึกท่าวันทยาหัตถ์ใช้ 4 นิ้วครึ่ง (หมายถึงจังหวัดปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส,สตูล,สงขลาบางส่วน) ฝึกท่าสร้างความแข็งแรงของร่างกาย เช่น วิ่งระยะ2-3 กม. ภายในเวลาไม่เกิน 12 นาที ดันพื้นด้วยฝ่ามือแบบราบ  กระโดตบมือกลางอากาศ  ลุกนั่ง  ซิตอัพแบบธรรมดา วิ่งอยู่กับที่ เป็นต้น สำหรับท่าเลิกแถว ใช้การชูมือขวาลักษณะกำปั้นและยื่นเท้าขวาไปข้างหน้า ร้องตะโกนคำว่า Patani Merdeka หรือท่องเพิ่มเติมคำว่า ชาติ ศาสนา มาตุภูมิ เน้นการเตรียมร่างกายให้แข็งแรงเพื่อรับการฝึกระดับยุทธวิธี หรือ CD (Commando / Commandota ในภาษาอินโดนีเซีย)ต่อไป โดยใช้ระยะเวลาการฝึกเพียงสั้นๆ คราวระ 1-2 วันเท่านั้น เน้นฝึกในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะอยู่ในระหว่างเวลา 21.00-24.00 น. นัดหมายสถานที่ปิดลับและเป็นเกราะกำบังต่อการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ เช่น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา/ปอเนาะ, ศุนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด (ตาดีกา),  สวนผลไม้ สวนยางพาราของผู้นำศาสนาหรือผู้นำท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกแนวร่วม การแต่งกายในการฝึก จะสวมเสื้อกีฬา กางเกงวอร์มสีทึบ  รองเท้าผ้าใบ ทำการฝึกประมาณ 3-4 ครั้งขึ้นไป ระยะห่างแต่ละครั้งประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งระหว่างรอรับการนัดหมายครั้งต่อไป ผู้รับการฝึกจะต้องฝึกฝนร่างกายด้วยตนเองตลอดเวลา ส่วนใหญ่ใช้วิธีเล่นฟุตบอล ขั้นตอนดังกล่าวใช้ระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี ในขั้นตอนนี้ครูฝึกแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มผู้รับการฝึกและเฟ้นหาสมาชิกที่มีลักษณะดีเด่นเพื่อส่งไปรับการฝึกระดับยุทธวิธี (หลักสูตร RKK หรือ Runda  Kumpulan Kecil)
 7) การฝึกหลักสูตร RKK สำหรับสมาชิกระดับ Commando�
เป็นการฝึกตามหลักสูตรทางทหารที่เป็นระบบ ใช้เวลา 28 วันติดต่อกัน  หลักสูตร RKK เป็นหลักสูตรหน่วยจรยุทธขนาดเล็ก สมาชิกในกลุ่มมีจำนวน 6 คน ประกอบด้วย ตำแหน่งที่ 1 ดูต้นทาง ตำแหน่งที่ 2 หัวหน้าชุด ตำแหน่งที่ 3 สื่อสาร/พยาบาล  ตำแหน่งที่ 4 และ 5 ปฏิบัติการ และตำแหน่งที่ 6 รองหัวหน้าชุด   รายละเอียดการฝึกแบ่งเป็นวิชา เรียงลำดับจากพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง เป็นการฝึกในเวลากลางคืนเป็นหลัก ส่วนเวลากลางวันรับฟังการบรรยายประวัคิศาสตร์รัฐปัตตานีและทฤษฎีการรบแบบต่างๆตลอดจนการฝึกสาธิตการต่อวงจรระเบิด สูตรผสมระเบิดเพลิง การถอด/ประกอบอาวุธปืน การต่อสู้ป้องกันตัว  การฝึกอาวุธโดยใช้ไม้แทนปืน เป็นต้น การฝึกจะมีสมาชิกจากต่างพื้นที่มาร่วมฝึกด้วย แต่การประกอบกำลังยังคงใช้สมาชิกในกลุ่มเดิม และมีการแต่งตั้งหัวหน้าชุดปฏิบัติการทุกชุด ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดที่จะสั่งการประสานงาน ควบคุมสมาชิกในกลุ่มลงมือก่อเหตุระดับรุนแรงเมื่อจบหลักสูตรดังกล่าวต่อไป
 8)การเลือกฝ่ายหรือหน้าที่
 เมื่อสมาชิกจบหลักสูตร RKK แล้ว หัวหน้าชุดปฏิบัติการจะเรียกสมาชิกในกลุ่มไปเลือกหน้าที่ โดยมีสมาชิกระดับควบคุมเป็นผู้ชี้แจง ซึ่งสมาชิกทุกคนจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกหน้าที่ด้วยตนเอง ประกอบด้วย ฝ่ายปฏิบัติการ/ทหาร ฝ่ายบรรยายปลุกระดม  ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายจัดหาสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกที่ผ่านขั้นตอนที่ 7 จะเลือกฝ่ายปฏิบัติการ/ฝ่ายทหาร เนื่องจากเป็นสายงานที่สำคัญที่สุดต่อการต่อสู้ขององค์กร และได้รับการยอกย่องจากสมาชิกฝ่ายอื่นๆ และใช้ระยะเวลาดำเนินการเพียงวันเดียว

 9) การเพิ่มศรัทธาและฝึกทบทวน
  หลังจากการเลือกฝ่ายแล้ว  สมาชิกทุกคนจะทราบภารกิจของตนและเริ่มก่อเหตุด้วยระดับที่ไม่รุนแรง (ใกล้เคียงกับขั้นตอนทดสอบความกล้าหาญ/จิตใจ) เพื่อเพิ่มศรัทธา  แรงจูงใจ และความเชื่อมั่นต่อองค์กรสมาชิกระดับควบคุมจะเรียกสมาชิกมารับฟังหลักการเกี่ยวกับหัวข้อการสร้างศรัทธาต่อหลักการญีฮาด และการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเครงครัด เช่น ละหมาดครบ 5 เวลา ถือศีลอดประจำสัปดาห์และประจำปี เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์หากมีโอกาส  โดยจะไม่มีการบรรยายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีอีก แต่สมาชิกทุกคนต้องไปปฏิบัติตามหัวข้อการสร้างศรัทธาด้วยตนเองเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันขึ้นไป เมื่อครบกำหนดแล้วจะมีการฝึกทบทวนอีกครั้งหนึ่งประมาณ 1 สัปดาห์ จนสมาชิกและครูฝึกมั่นใจในศักยภาพแล้วจึงจะเตรียมร่วมลงมือก่อเหตุระดับรุนแรง
 10) การฝึกการปฏิบัติในสถานการณ์จริง
 ขั้นตอนนี้สมาชิกใหม่จะร่วมกับสมาชิก Commando รุ่นพี่ลงมือก่อเหตุร้ายในระดับที่รุนแรงแล้วเช่น รอบยิง ขว้าง/วางระเบิด วางเพลิงสถานที่สำคัญ แต่จะได้รับมอบให้ทำหน้าที่ดูต้นทาง ขับรถจักรยานยนต์ ชี้หรือส่งสัญญาณเป้าหมาย ฯลฯ โดยจะลงมือฝึกปฏิบัติการจริงประมาณ 3-4 วันขึ้นไป สมาชิกที่ผ่านเกณฑ์จะได้เลื่อนขั้นขึ้นเป็นรองหัวหน้าชุดปฏิบัติการ  ใช้ระยะเวลาขั้นตอนดังกล่าวประมาณ 3-6 เดือน นอกจากนี้สมาชิก Commando  ใหม่ยังได้รับแรงจูงใจว่า หากการปฏิวัติรัฐปัตตานีสำเร็จจะได้รับการแต่งตั้งเป็นทหารประจำรัฐปัตตานี โดยได้รับเงินเดือนประมาณ 10,000 บาท/เดือน
 11) การปฏิบัติการจริง
 เป็นขั้นตอนสุดท้ายภายหลังสมาชิกใหม่ผ่านการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริงแล้ว โดยสมาชิกใหม่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรงด้วยตนเอง ตั้งแต่ขั้นตอนการหาเป้าหมาย  การประชุมวางแผน  จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ มอบหมายหน้าที่แหล่งหลบซ่อนตัวและซ่อนอาวุธหลังก่อเหตุ  ซึ่งหากสมาชิกเหล่านี้มีประสบการณ์การปฏิบัติก่อเหตุที่รุนแรงพอสมควรแล้ว จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูฝึกระดับพื้นฐานให้กับสมาชิกใหม่ (สมาชิกระดับ PEMUDA BRN) เป้าหมายหลังจากเป็นครูฝึกแล้ว  จะควบคุมสั่งการชี้นำสมาชิกใหม่ตามระบบขั้นตอนต่อไป  โดยอาศัยความเป็นอาจารย์และลูกศิษย์เป็นตัวยึดโยงความสัมพันธ์ต่อกัน

 1)การเก็งตัว/แนวโน้ม
 เป็นขั้นตอนเบื้องต้นในการพิจารณาบุคลิกภาพของผู้ที่จะเป็นสมาชิกใหม่โดยสมาชิกกลุ่มก่อความไม่สงบที่ได้รับมอบ หมายให้ทำหน้าที่เก็งตัว  จะเข้าไปพูดจาทักทายและสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ที่ได้เก็งตัวไว้ประมาณ 2-3 ครั้งในการพูดจาดังกล่าวจะมีการอ้างอิงประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีและหลักการฮีญาดของศาสนาอิสลามตามหลักการกว้างๆโดยขั้นตอนนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน
ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของขบวนการก่อความไม่สงบ
เมื่อพิจารณาจากการจัดตั้งกลุ่ม/ขบวนการของกลุ่มก่อความไม่สงบทุกกลุ่มรวมทั้งการจัดตั้งกองกำลังดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจบ่งชี้ให้เห็นได้ว่า ในด้านยุทธศาสตร์กลุ่มก่อความไม่สงบได้วางจุดมุ่งหมายไว้อย่างชัดเจนที่จะรื้อฟื้นความเป็นชาติขึ้นมาใหม่ โดยใช้ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย คือ ความเป็นชาติมาลายู ศาสนา (อิสลาม) มาตุภูมิ (รัฐปัตตานี) และสิทธิของชาวมลายูปัตตานีเป็นหลักในการทำให้ประชาชนมาเลย์มุสลิมในพื้นที่เกิดความรู้สึก  หรือมีอุดมการณ์ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันและปฎิเสธการปกครองของรัฐบาลไทย
ขณะที่ด้านยุทธวิธีการต่อสู้ได้ใช้รูปแบบการทำสงครามประชาชนในการแย่งยึดประชาชนออกจากฝ่ายรัฐ และใช้การรบแบบกองโจรในเมืองเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งที่เป็นกำลังทหาร ตำรวจและข้าราชการฝ่ายปกครองรวมทั้งการทำสงครามทางการฑูตเพื่อแสวงกาหารสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติและกลุ่มประเทศมุสลิมทั่วโลกโดยมีเป้าหมายจะผลักดันให้ประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาเป็นคนยกลางไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดดารเจรจาจนนำไปสู่การลงประชามติแยกตัวเป็นรัฐเอกราช เช่น นกรณีของติมอร์ตะวันออก
แนวทางการต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบ
 การต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสถานการณ์  และสร้างความได้เปรียบในการต่อสู้ด้วยการใช้จุดแข็งในความเป็นมลายูปัตตานี หลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งการแสวงประโยชฯจากจุดอ่อนของฝ่ายรัฐ  ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
1. สร้างเอกภาพและความเป็นหนึ่งเดียว
การจัดตั้งกองกำลัง  การดำเนินการ การปฏิบัติการในลักษณะต่างกลุ่มต่างทำในระยะที่ผ่านมา  ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบขาดความเป็นเอกภาพ  ทั้งการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและการติดต่อขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ  ด้วยเหตุนี้เมื่อ 31 สิงหาคม 2532 แกนนำกลุ่ม BIPP  BRN  GMP และ PULO จึงตกลงจัดตั้ง “องค์การรวม” หรือ Umbrella Organization ขึ้น เพื่อความเป็นเอกภาพและให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  วึ่งต่อมาเมื่อปี 2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี” (BERSATU)
 2. กำหนดหลักนิยมการต่อสู้ใหม่
 ความล้มเหลาในการต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบในอดีตที่ใช้หลักนิยมจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ  และการประกาศความรับผิดชอบในการปฏิบัติการก่อเหตุ  อาทิ การทิ้งแผ่นปลิวในที่เกิดเหตุ  เป็นจุดอ่อนสำคัญทำให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี  จนสามารถจับกุมแกนนำของกลุ่มได้หลายคนทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบเปลี่ยนหลักนิยมในการต่อสู้หรือยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ใหม่ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
 2.1 ) ใช้ศาสนานำในการต่อสู้
 เพื่อหวังผลทางด้านจิตวิทยาและสอดคล้องกับกระแสเคลื่อนไหวของการต่อสู้เพื่ออิสลามทั่วโลก  เห็นได้จากที่กลุ่ม BNPP  (Barisan Nasional  PeMbebasan Patani)  เปลี่ยนชื่อเป็น BIPP (Barisan Islam Pembebasan Patani) โดยเพิ่มคำว่าอิสลาม เข้ามาด้วย ขณะที่กลุ่ม BRN โดยเฉพาะ BRN Ulammah (รวมกลุ่มผู้รู้ทางศาสนา) ก็สะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญกับสาสนาอย่างชัดเจน  การที่กลุ่มฯ หันมาใช้ศาสนานำในการต่อสู้ ทำให้มีการแสวงประโยชน์จากสถาบันทางการศึกษาด้านศาสนาทั้งศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด/ตาดีกา  และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม/ปอเนาะอย่างกว้างขวาง โดยแฝงตัวอยู่ในคราบของครูตาดีกา โต๊ะครู และอสุตาซ  ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถเข้าไปสอดส่องดูแลหรือควบคุมการดำเนินกิจกรรมในสถาบันการศึกษาทางศาสนาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรม  เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของประชาชนมาก
2.2) ใช้ประวัติศาสนาความเป็นมาของรัฐปัตตานีเป็นปัจจัยในการปลูกความคิด
กลุ่มก่อความไม่สงบใช้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เป็นปัจจัยชี้นำให้เกิดแนวความคิดแบ่งแยกดินแดนมาตั้งแต่ระยะแรก  และปัจจุบันการใช้ปัจจัยดังกล่าวมีความแพร่หลายมากขึ้นจากความทันสมัยของสื่อต่างๆ ทั้งสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ และเครือข่ายสารสรเทศ  ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีประเทศอิสลามเกิดใหม่เป็นจำนวนมากหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก็กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกต้องการแบ่งแยกดินแดนมีมากขึ้น
2.3) สร้างกองกำลังแฝงตัวอยู่ในหมู่บ้าน ชุมชฃน และเขตเมือง
 จากความล้มเหลวและความพ่ายแพ้ในการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้โดยตรงกับอำนาจรัฐในอดีต  ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบเปลี่ยนหลักนิยมหันมาใช้การสร้างกองกำลังแฝงตัวอยู่ในหมู่บ้าน  ชุมชน และเขตเมือง เพื่อชักชวนเยาวชนและชาวบ้านเข้ารับการฝึกร่างกายทดสอบร่างกาย ฝึกอาวุธเบื้องต้น  ฝึกการศึกษาการประกอบระเบิดแสวงเครื่อง และฝึกอาวุธ/ยุทธวิธีขั้นสูง จัดตั้งเป็นกองกำลังและแนวร่วมแฝงอยู่กับชาวบ้านทั่วไปและเมื่อสบโอกาสก็จะออกปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรง  ทำให้เจ้าหน้าที่ประสบความยากลำบากในการป้องกันปราบปราม ค้นหา และจับกุม
2.4) การไม่ประกาศความรับผิดชอบ
 จากบทเรียนที่ผ่านมากลุ่มก่อความไม่สงบมักจะประกาศความรับผิดชอบในการก่อเหตุรุนแรงโดยการทิ้งแผ่นปลิวไว้ในที่เกิดเหตุ  จนทำให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี หรือใช้เป็นหลักฐานในการขอความร่วมมือจากประเทศมาเลเซียในการติดตามจับกุมแกนนำที่หลบหนีอยู่ในมาเลเซีย กลุ่มก่อความไม่สงบจึงเปลี่ยนแนวทางใหม่เป็นการไม่ประกาศความรับผิดชอบในการกระทำ  ในขณะเดียวกันเมื่อก่อเหตุรุนแรงขึ้นแล้วยังสร้างข่าว/ปล่อยข่าวโดยโยนความผิดว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐจนสร้างความสับสนระหว่างเจ้าหน้าที่ และสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนในพื้นที่  มีผลให้เจ้าหน้าที่ได้รับความเกลียดชังเพิ่มขึ้น  และไม่ได้รับความร่วมมือหรือความเชื่อถือจากประชาชน
2.5)การใช้ความรุนแรง
ขบวนการมุ่งกระทำกับประชาชนที่ให้ความร่วมมือกับรัฐ  การกดดันราษฎรไทยพุทธออกนอกพื้นที่และชาวไทยมุสลืมที่ติดต่อกับไทยพุทธ  และการทำร้ายครูไทยพุทธหรือครูจากต่างพื้นที่  เป็นวิธีการใหม่ที่กลุ่มก่อความไม่สงบนำมาใช้มากขึ้นในระยะหลัง  เพื่อหวังผลทางจิตวิทยาไม่ให้ประชาชนกล้าที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐ แลพเอทำให้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เหลืออยู่เฉพาะชาวมาเลย์มุสลิม สำหรับการทำร้ายครูไทยพุทธหรือครูต่างพื้นที่ที่ยังเป็นการเกิดช่องทางในกลุ่มก่อความไม่สงบสามารถส่งแนวร่วมในฝ่ายตนเองเข้าครอบงำความคิดของเยาวชนรุ่นใหม่  วึ่งจะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นสมาชิกของกลุ่มได้ต่อไป
2.6 ) ความร่วมมือกับกลุ่มอิทธิพล
เช่น กลุ่มที่ทำธุรกิจผิดกฏหมาย/กลุ่มค้ายาเสพติด/ค้าอาวุธ  ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับรัฐโดยตรงอยู่แล้ว  ความร่วมมือดังกล่าวจะเอื้ออำนวยแก่ทั้งสองฝ่ายให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรีในพื้นที่อิทธิพลที่ฝ่ายรัฐเข้าไปไม่ถึง  ซึ่งในส่วนของกลุ่มก่อความไม่สงบเองก็ได้รับประโยชน์จากการจัดหาอาวุธ  มือปืน และรายได้ การจัดหาเงินทุนของกลุ่มก่อความไม่สงบ มีทั้งวิธีการผิดกฏหมาย กึ่งผิดกฏหมาย  การบริจาคของสมาชิกและการสนับสนุนจากต่างประเทศ
- วิธีการผิดกฏหมาย
ใช้การข่มขู่กรรโชกทรัพย์และเรียกค่าคุ้มครองจากเจ้าของกิจการต่างๆ โดยทำงานร่วมกับกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่แล้วมีการแบ่งปันผลประโยชน์กัน
- วิธีการกึ่งผิดกฏหมาย
เป็นการนำเงินที่ได้มาโดยถูกกฏหมาย  แต่นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ถูกต้องตามกฏหมาย เช่น การนำเงินสนับสนุนของรัฐบาลที่ให้แก่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม องค์การบริหารส่วนตำบล สหกรณ์และมูลนิธิ  ไปสนับสนุนกลุ่มก่อความมาสงบหรือตั้งสหกรณ์และธุรกิจบังหน้าเพื่อรวบรวมเงินทุน เป็นต้น หรือการเสียสละโดยตรงของสมาชิก  โดยเยาวชนหรือบุคคลใดที่ยอมรับเข้าเป็นสมาชิกและมีการสาบานตน (ซูเปาะ) แล้ว จะต้องบริจาคเงินเข้ากองทุนของกลุ่มวันละ 1 บาท หรือ เดือนละ  30 บาท เงินส่วนนี้จะได้รับมาตามจำนวนสมาชิก
2.7) การขอรับบริจาคหรือขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ทั้งจากองค์กรของรัฐและองค์กรของเอกชน เท่าที่ปรากฏในรายงาน มีประเทศต่างๆถึง 15 ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มต่างๆในภาคใต้  ได้แก่ซีเรีย ลิเบีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย นอกจากนนี้ยังตรวจพบว่า ในประเทศเพื่อบ้านบางประเทศมีการเก็บเงินค่าบำรุงหรือเรี่ยไรเงินจากสมาชิกที่ประกอบอาชีพและพักอาศัพอยู่ในประเทศนั้น  ซึ่งเป็นแหล่งทุนหลักที่นำมาใช้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ด้วย
สถานการณ์ในปัจจุบัน
 นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายบุกปล้นอาวุธยุทโธปกรณ์กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  บ้านปิเหล็ง  ตำำบลมะรือโบออก  อำเภอเจาะไอร้อง  จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 นั้น  จนถึงปัจจุบันสถานการณ์การก่อเหตุร้ายในพื้นที่ยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณ  โดยเกิดเหตุร้ายถี่จนเป็นการก่อเหตุร้ายรายวัน  และในเชิงคุณภาพ  ความรุนแรงก็ได้มีพัฒนาการของเหตุการณ์ร้ายทั้งในเรื่องรูปแบบ/วิธีการ ทั้งการลอบยิง, ลอบวางระเบิด, การประทุษร้ายด้วยของมีคม,   ทำลายพืชสวน  การพลีชีพในเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 และการทิ้งแผ่นปลิวไว้ในที่เกิดเหตุบ่งบอกถึงเหตุของการกระทำ  โดยมีเป้าหมายสถานที่ราชการ ที่ตั้ง/ชุดหน่วยกำลังของทหาร/ตำรวจ โรงเรียน ขณะที่กลุ่มเป้าหมายขยายไปถึงไทยมุสลิมที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ  และราษฎรไทยพุทธที่ไม่เกี่ยวข้อง
ลักษณะการก่อเหตุ หลังการก่อเหตุปล้นอาวุธยุทโธปกรณ์จากค่ายกองพันพัฒนาที่ 4 มีการก่อเหตุของกลุ่มคนร้ายอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการก่อเหตุร้ายประกอบด้วย
1) การประทุษร้ายต่อชีวิตของข้าราชการ  พนักงานของรัฐ/เอกชน และราษฎร ด้วยอาวุธและของมีคม�
2) การลอบขว้างและวางระเบิด มีเป้าหมายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการ รวมทั้งสถานที่บริการของเอกชน�
3)การลอบวางเพลิงทรัพย์สินของทางราชการ/เอกชน/ราษฎร/สถานที่สาธารณะ
4)การทำลายพืชสวนของราษฏร
5)การก่อกวนด้วยการลอบราดน้ำมัน/วางเรือใบบนเส้นทางคมนาคม
6) การลอบโจมตีเจ้าหน้าที่ขณะลาดตระเวน  หรือขณะกำลังเดินทางไปยังที่เกิดเหตุด้วยระเบิดแสวงเครื่องนำแล้วตามด้วย การยิงด้วยอาวุธปืน
วัตถุประสงค์ในการก่อเหตุ  เพื่อสร้างสถานการณ์ลดความน่าเชื่อของอำนาจรัฐ สร้างความกดดันเจ้าหน้าที่  สร้างความหวาดกลัวต่อประชาชน  กดดันให้ไทยพุทธอพยพออกจากพื้นที่  สร้างความแตกแยกระหว่างไทยพุทธและมุสลิม  รวมทั้งอ้างว่าเป็นการตอบโต้ต่อการที่เจ้าหน้าที่จับกุมชาวมุสลิมผู้บริสุทธิ์  ขณะที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลลงมือก่อเหตุ  ประมวลจากการรวบรวมข่าวสารที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ มกราคม 2547 เป็นต้นมา รวมทั้งจากฐานการฝึกเยาวชนซึ่งมีหลายระดับ
บุคคล/กลุ่มบุคคลที่ลงมือก่อเหตุรุนแรง น่าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
การลอบวางเพลิง ลอบขว้างระเบิดเพลิง  การประทุษร้ายด้วยของมีคม การทำลายพืชสวน โปรยเรือใบ  พ่นสี ทำลายป้าย ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของสมาชิกระดับเยาวชน ทหาร และแน่วร่วมของกลุ่มก่อความไม่สงบ
 ส่วนการยิง/ลอบยิง และการวางระเบิด รวมทั้งการปล้นอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองพันพัฒนาที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นการกระทำของสมาชิกที่ผ่านการฝึกคอมมานโดมาแล้ว
ทั้งนี้ หากจะประเมินความสำเร็จของกลุ่มก่อความไม่สงบ โดยใช้แผนปฏิวัติ  7 ขั้นตอน (บันใด 7 ขั้น) 
มาเป็นหลักในการเปรียบเทียบอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินการของกลุ่มก่อความไม่สงบได้ก้าวมาถึงแผนการขั้นสุดท้ายหรือ แผนขั้นที่ 6 ต่อเนื่องกับแผนขั้นที่ 7 หรือขั้นตอนการเตรียมปฏิวัติ (การจุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ) และขั้นของการจัดตั้งการปฏิวัติ เห็นได้จากในระยะตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมา  ได้ปรากฏการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งเกิดการต่อสู้ด้วยการโจมตีด้วยกองกำลังต่อกลไกรัฐเต็มพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
การโจมตีในบางพื้นที่เริ่มมีการใช้กองกำลังสวมเครื่องแบบกองทัพกู้ชาติ ปัตตานีและแสดงธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย   ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชนเพื่อให้กระจายข่าวไปทั่วโลก (ผ่านเวปไซด์ของพูโล)  รวมทั้งการเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะองค์การสหประชาชาติหรือองค์กรมุสลิมในระดับโลกเข้ามาแสดง บทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะนำไปสู่การลงประชามติ ของประชาชนเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและจัดตั้งรัฐปัตตานีขึ้นในที่สุด
 แนวทางการแก้ปัญหา
 ในช่วงปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา แนวทางการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มก่อความไม่สงบค่อนข้างมาก  ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการยกเลิกศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) เมื่อเมษายน พ.ศ.2545 รวมทั้งมอบโอนภารกิจด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จากเดิมที่เป็นความรับผิดชอบของทหาร (กองกำลังเฉพาะกิจ พลเรือน ตำรวจ ทหาร/ พตท.43)ไปให้ตำรวจรับผิดชอบแทนความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้กลไก การประสานงานด้านบริหารในพื้นที่เกิดช่องว่างขึ้นโดยทันที เพราะศอบต. ก่อนถูกยุบทำหน้าที่เป้นกลไกการประสานระหวั่งหน่วยงานราชการและผู้นำชุมชนหรือผู้นำทางศาสนาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเป็นเครื่องมือ ในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนเพื่อสกัดกั้นความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบและกลุ่มอาชญากรรมในพื้นที่ ขณะที่ พตท.43ก็เป็นกองกำลังที่มีการบูรณาการกันเป็นเอกภาพมีการแลกเปลี่ยนด้าน การข่าว และประสานการปฏิบัติเป็นอย่างดี
 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาด้วยความเป็นกลางแม้ความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าว อาจจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้นแต่คงต้องยอม รับว่าปัญหาที่แท้จริงเกิดจากการที่กลุ่มก่อความไม่สงบได้ดำเนินการเคลื่อน ไหวอย่างเงียบๆตามแผนบันใด 7 ขั้นมาโดยตลอด แม้กระทั้งในช่วงที่ยังมีศอบต. และ พตท.43 อยู่ โดยอาศัยสถานการณ์ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการสร้างหรือขยายกลุ่มสามชิก ซึ่งเมื่อพิจารณาจากยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของกลุ่มก่อความไม่สงบดังกล่าว ได้มีการแยกดำเนินการเป็น 3 ด้าน คือ
1) การทำสงครามช่วงชิงประชาชนหรือแย่งยึดมวลชนไปจากรัฐ �
2) การทำสงครามกองโจรเพื่อต่อสู้ยืดเยื้อกับกองกำลังทหารของฝ่ายรัฐ
3) การรุกทางการเมืองและการฑูตเพื่อแสวงหาแนวร่วมและความเห็นอกเห็นใจ  ซึ่งรวมถึงการเป็นแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะนำมาใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มด้วย
 ในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือแนวทางการต่อสู้กับกลุ่มก่อความไม่สงบ จึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้ง 3 แนวทาง โดยเน้นไปที่การตัดแผนบันใด 7 ขั้น เป็นสำคัญ  ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
1) แผนบันใด 7 ขั้น นั้นไม่ได้มุ่งไปที่การใช้กำลังเพื่อยึดครองหรือแย่งยึดดินแดนคืน  แต่มุ่งไปที่การแย่งยึดประชาชนให้ไปอยู่กับฝ่ายของตนเป็นหลัก แม้กลุ่มก่อความไม่สงบพยายามใช้จุดแข็งของสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมาเลย์มุสลิมการอ้างอิงประวัติศาสตร์รัฐปัตตานี และการบิดเบือนหลักการทางศาสนาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อน ไหวแต่ขณะเดียวกันกลุ่มก่อความไม่สงบก็ใช้วิธีการรุนแรงโหดเหี้ยมต่อประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่มีทางต่อสู้และใช้วิธีการคุกคามข่มขู่ชาวบ้านมุสลิม พวกเดียวกันเองเพื่อบีบบังคับไม่ให้ร่วมมือกับรัฐ  ซึ่งการกระทำเหล่านี้นับเป็นจุดอ่อนสำคัญที่สุดของกลุ่ม  และเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐสามารถนำไปใช้แสวงประโยชน์เพื่อบ่อนทำลายความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในพื้นที่ต่อกลุ่มก่อความไม่สงบได้
2) ในสถานการณ์ในปัจจุบันกล่าวได้ว่ากลุ่มก่อความไม่สงบสามารถจัดวางกำลังครอบคลุมไว้ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้มีการปฏิบัติการโจมตีหรือก่อกวนพร้อมกันครอบคลุมพื้นที่แล้วหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติการตามแผนบันได 7 ขั้น ในขณะนี้ได้ก้าวหน้ามาสู่บันใดขั้นที่ 6 ต่อเนื่องกับบันใดขั้นที่ 7 แล้วการกำหนดแผนยุทธการในการสกัดกั้นแผนบันใด 7 ขั้น จึงไม่สามารถไปเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นที่ 1 ได้ แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสกัดกั้นแผนขั้นที่ 6 และ 7 เป็นลำดับแรก หรือกล่าวให้ชัดเจนคือ จะต้องหาทางดำเนินมาตรเชิงรุกเช่น การจัดวางกำลังขนาดใหญ่ในพื้นที่อิทธิพลของกลุ่มฯ ซึ่งที่ตั้งของการวางกำลังที่เหมาะสมที่สุดน่าจะได้แก่ อาณาเขตตามโครงสร้างรัฐปัตตานีใหม่ รวมทั้งการปฏิบัติการเชิงรุกในพื้นที่สีแดงซึ่งเป็นพื้นที่อิทธิพลของกลุ่ม ก่อความไม่สงบเป็นหลัก  สำหรับการจัดการบริหารหรือรัฐบาลกลางของกลุ่มก่อความไม่สงบน่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่างอำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง หรืออำเภอหนองจิก ส่วนระดับเขตหรือจังหวัด
ก) เขตปัตตานีอูตารา (ปัตตานีตะวันออก) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  ระหว่างอำเภอเมือง อำเภอเจาะไอร้อง หรือ อำเภอระแง
ข )เขตปัตตานีตือเงาะ (ปัตตานีกลาง) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่างอำเภอยะรังหรืออำเภอมายอ และ
ค) เขตปัตตานียาโต๊ะ (ปัตตานีตะวันตก) น่าจะอยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ระหว่างอำเภอเมือง อำเภอบันนังสตา หรือ อำเภอยะหา
3) ถึงแม้ว่ากลุ่มก่อความไม่สงบมีแผนจัดตั้งกองกำลังระดับเยาวชนทหารหรือกองกำลังประจำหมู่บ้านให้ได้ 30,000 คน ระดับเยาวชนคอมมานโด หรือผู้ที่ผ่านการฝึกยุทธวิธีหน่วยทหารขนาดเล็ก (Runda Kumpulan Kecil/RKK) ประมาณ 3,000 คน กระจายอยู่ในเขตปกครองใหม่ 3 เขต (เขตการปกครองขององค์กรกู้ชาติปัตตานี) เขตงานละ 1,000 คน และระดับกองกำลังระดับเชี่ยวชาญ หรือผู้ควบคุมและครูฝึกกองกำลังคอมมานโดอีกประมาณ 300 คน แต่กองกำลังดังกล่าวคิดเป้นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีประมาณ 1.78 ล้านคน ซึ่งวิธีการหลักที่กลุ่มฯ สามารถครอบงำประชากรเหล่านี้ไว้ได้  ก็โดยการใช้ความรุนแรงหรือข่มขู่  ขระที่การก่อเหตุร้ายรายวันที่เกิดขึ้นก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่มากเช่นเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้ หากรัฐสามารถสถาปนาพื้นที่ปลอดภัยขึ้นให้ได้โดยเริ่มจากเขตเมืองหรือพื้นที่สีเขียวแล้วขยายวงไปยังพื้นที่สีเหลืองและสีแดงตามลำดับน่าจะทำให้ ประชาชนกล้าที่จะให้ความร่วมมือหรือหันมายืนอยู่กับฝ่ายรัฐมากขึ้น
4) การจัดตั้งกองกำลังทหารพรานในพื้นที่ โดยคัดเลือกจากประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน น่าจะเป็นหนทางดีที่สุดในการสกัดกั้นความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่ สงบแต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบประวัติอย่างรอบครอบเพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกของกลุ่มก่อความไม่สงบแฝงตัวเข้ามา  รวมทั้งต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดกับชุดคุ้มครองหมู่บ้านหรือชุดอาสาสมัครอื่นๆ ที่มีการจัดตั้งในพื้นที่ และประการสำคัญ จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้นำท้องถิ่นหรือผุ้นำชุมชนให้ตระหนัดถึงความจำเป็นและประโยชน์ของการมีกองกำลังทหารพรานในพื้นที่
5) ในด้านงานมวลชน  จำเป็นต้องลดเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยต่อการที่กลุ่มก่อความไม่สงบจะนำไปใช้ แสวงประโยชน์ โดยจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และศาสนา ให้เอื้ออำนวยหรือสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนใน 3 จังหวัดภาคใต้อย่างแท้จริง และจะต้องพิจารณาสร้างให้เกิดความยุติธรรมเพื่อใช้เป้นแนวทางปฏิบัติอย่าง เร่งด่วนเนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสกัดกั้นแผนบันไดขั้นที่ 6 และขั้นที่ 7 ของกลุ่มก่อความไม่สงบเป็นลำดับแรก
6) หัวใจสำคัญของการดำเนินงานด้านมวลชนนอกจากมุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรมเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่กับรัฐบาลเกิดความเข้าใจและยอม รับซึ่งกันและกันมากขั้นแล้ว การปรับปรุงระบบการศึกษาและการสร้างความเข้าใจด้านประวัติศาตร์ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้มีการอยู่รวมกันอย่าง สันติระหว่างประชาชนใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้กับประชาชนส่วนอื่นๆของประเทศภายใต้รัฐเดียวกัน  โดยในส่วนของการศึกษานั้น รัฐจะต้องธำรงระบบการศึกษาดั้งเดิมหรือโรงเรียนปอเนาะเอาไว้  แต่อาจต้องมีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระบบสากล (ของประเทศมุสลิม) ซึ่งต้นแบบของระบบการศึกษาอาจใช้แนวทางของประเทศมาเลเซีย หรือประเทศในตะวันออกกลางที่ยึดหลักมุสลิมสายกลางเป็นตัวอย่างด้วย
ส่วนในด้านประวัติศาสตร์นั้นจำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจว่า การศึกษาประวัติศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของ บรรพบุรุษและเห็นถึงวิวัฒนาการของรัฐแต่ละรัฐว่าล้วนผ่านยุคแห่งความรุ่ง เรืองและความเสื่อมตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก  แม้กระทั้งดินแดนใน 3 จังหวัดภาคใต้ก่อนเกิดรัฐปัตตานีก็เคยเป็นรัฐอื่นมาก่อน  และในช่วงที่รัฐปัตตานีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยามแล้ว ก็มีช่วงเวลายาวนานที่มีความสงบ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมิได้มีความรุนแรงเช่นปัจจุบัน
7) การเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น บทบาทของสื่อมวลชนนับว่ามีส่วนอย่างสำคัญ แต่ในระยะที่ผ่านมาการารประสานความร่วมมือระหว่างรัฐกับสื่อมวลชนยังมีค่อนข้างน้อย  และบางครั้งมักจะมีการนำเสนอข่าวไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกัน  ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะหน่วยงานภาครัฐบางหน่วยจำเป็นต้องปกปิดข้อมูลด้านการปฏิบัติงาน หรือต้องการใช้สื่อมวลชนในด้านการปฏิบัติการทางจิตวิทยาเท่านั้น  ขระที่สื่อมวลชนเมื่อไม่ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานรัฐจึงมีการนำเสนอข้อมูลที่ ได้จากในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งบ่อยครั้งอาจได้รับรายงานที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง การประสานความร่วมมือระหว่างรัฐกับสื่อมวลชนจึงเป็นประเด็นที่มี ความสำคัญมาก  หากผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ กับตัวแทนระดับบริหารของสื่อมวลชนได้มีการพบหารือและมีการเปิดเผยสถานการณ์ที่เป็นจริงให้รับทราบสื่อมวลชนก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ให้ผ่อนคลายลง
8) ในการปฏิบัติการตอบโต้กับกลุ่มก่อความไม่สงบที่ในระยะหลัง ได้ใช้ความรุนแรงทั้งการทำร้ายผู้บริสุทธิ์  การเผาทำลายหรือการก่อวินาศกรรมต่อทรัพย์สินของทางราชการและภาคเอก ชนมากยิ่งขึ้นนั้น น่าจะเข้าข่ายการก่อการร้ายแล้ว หน่วยงานภาครัฐจึงน่าจะทบทวนกรอบความคิดเดิมที่พยายามจำกัดสถานะของกลุ่มไว้เพียงกลุ่มก่อความไม่สงบแบบเดิม ด้วยเหตุผลเพราะไม่ต้องการยกระดับของปัญหาให้เป็นที่สนใจของประชาคมโลกด้วยเกรงว่าจะมีชาติมหาอำนาจเข้าแทรกแซง ทั้งนี้หากเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่ด้วย การยกสถานะของกลุ่มดังกล่าวเพียงบางกลุ่ม เช่น BRN Coordinate ขึ้นเป็นกลุ่มก่อการร้าย (เพื่อให้ประชาคมโลกขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้าย) ไทยอาจได้รับประโยชน์จากความร่วมมือของประชาคมโลกในการช่วยสกัดกั้นแหล่งทุน  การดำเนินกิจกรรม และการสนับสนุนของต่างประเทศต่อกลุ่มดังกล่าว  ขณะที่ไทยก็ยังสามารถป้องกันไม่ให้ประเทศมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงได้ โดยยืนยันว่าศักยภาพของไทยที่จะดำเนินการต่อสู้กับกลุ่มดังกล่าวภายในประ เทศได้  ดังเช่นที่จีน, รัสเซีย, อังกฤษ, ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเช่นนี้จะต้องระมัดระวังที่จะไม่กลายเป็นช่องทางให้มหาอำนาจ แทรกแซงในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงของไทยในภาคใต้ในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม