วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

มั่วกันไปมั่วกันมา

เรื่องของเรื่อง คือ ผมคุยกับมุสลิม 10 กว่าคน ที่พูดถึงเรื่องความรุนแรง
การก่อการร้ายภาคใต้ คนพวกนี้ พูดไม่เคยเหมือนกัน ดูเหมือนว่า
กะล่อนไป กะล่อนมา

และนี่คืออีกเรื่อง ให้ท่านศึกษา วิธีกะล่อนของเขา

ความรุนแรงและความสุดโต่ง คือปรากฏการณ์ของอิสลาม ?
http://blufiles.storage.live.com/y1pj58v46w2Ztqp1hO4qza_hHWZVB5ZVmRkr1cCIyXlTthXfRUYqZv8LheTyXFv__sH7Sz5beiPaWo

โดย ชัยค์ ดร ยุซุฟ อัล เกาะเราะฎอวีย์
ญิฮาด ภาลาวัน แปล
คำถาม: ความรุนแรงและความสุดโต่งคือปรากฏการณ์ของอิสลามใช่หรือไม่ ? จะอธิบายปรากฏการณ์ความรุนแรงโดยทั่วไปอย่างไร ?

คำตอบ: ไม่อาจกล่าวได้ว่าความรุนแรงคือปรากฏการณ์ของอิสลาม “ ความรุนแรงไม่มีศาสนาหรือสัญชาติ ” หากกลุ่มอิสลาม บาง

กลุ่ม ถูกข้องเกี่ยวกับความรุนแรง และถูกพิจารณาว่าเป็นพวกหัวรุนแรง จะต้องมีกลุ่มหรือแม้แต่ชนชาติอื่นๆเช่นเดียวกัน ซึ่งรู้จักกันในเรื่องของการกระทำโหดร้าย ดังเช่นอิสราเอล หรือ กลุ่มฮินดูต่างๆในอินเดีย

ความรุนแรงไม่มีสัญชาติ อาจมีอยู่ในกลุ่มประเทศอาหรับ แต่ก็มีให้เห็นในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ อัฟกานิสถาน ราวันดา บุรันติ และจริงๆแล้วยังมีรายชื่ออีกมากมาย

มีรายชื่อของบุคคล กลุ่ม หรือแม้แต่ประเทศต่างๆอีกมากมาย ที่ใช้ความรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง ประวัติศาสตร์บันทึกว่าอิสราเอลได้ใช้ความรุนแรงกระทำทารุณอย่างเลวร้ายที่ สุดต่อชาวปาเลสไตน์และชาวเลบานอนอีกด้วย

ไม่ต้องสงสัยเลยการอธิบาย เช่นนี้นั้น ทำให้ความรุนแรงสามารถกระทำได้ทั้งกลุ่มอิสลามต่างๆหรือผู้มีอำนาจที่ต่อสู้ กับพวกเขาบางกลุ่มโดยเฉพาะมาร์กซิสและคอมมิวนิสต์ พยายามจะอธิบายปรากฏการณ์ของความรุนแรงว่าเป็นผลจากความไม่เท่าเทียมกันของ ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธความจริงในการอธิบายนี้ได้ เพราะอัลกุรอานไม่ได้ละเลย ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ในการอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างเช่น การคร่าชีวิตเด็ก ที่เกิดจากความแร้นแค้นหรือกลัวความยากจน

บางคนอธิบายความรุนแรงที่ ใช้การวางแผนร้ายว่าเป็นแผนการการสมคบคิด หมายความว่า เบื้องหลังความรุนแรงต่างๆนั้นเป็นการสร้างขึ้นของปิศาจร้าย นี่เป็นการอธิบายที่นิยมกันอย่างมาก ซึ่งการอธิบายแบบนี้เป็นการปัดความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง และในเวลาเดียวกันมันทำให้เราเสียเปรียบในการเผชิญหน้ากับการกดขี่ทางการ เมือง

เรากำลังเผชิญหน้าในด้านศาสนา ด้านสังคม และการกดขี่ของการปกครอง เนื่องจากมนุษย์มีอิสรภาพ ดังนั้น ก็ไม่ควรยอมรับการอธิบายแบบนี้ หากว่ามีคนบางคนที่กำลังสมคบคิดร้ายต่อพวกเรา นี่เป็นข้อแก้ตัวกระนั้นหรือ ? ทำไมเราจึงไม่วางแผนของพวกเราเองขึ้นมาบาง ? เราจะตกเป็นเหยื่อเสมอหรือ ?

คำตอบเพียงด้านเดียวต่อปรากฏการณ์ความรุนแรงไม่สามารถยอมรับได้ เพราะเรื่องนี้มีหลายมิติ และเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน เหตุผลบางอย่างอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ ซึ่งอาจมาจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก หรือมาจากปัจจัยทางจิตวิทยา บางสิ่งอาจมาจากปัจจัยทางด้านความคิด และอาจมาจากปัจจัยอื่นๆ ทางสังคมหรือเศรษฐกิจ บางคนอาจสนใจเฉพาะปัจจัยภายนอกอย่างเดียว ซึ่งคำตอบด้านเดียวไม่เป็นทั้งการคิดที่เป็นจริงและการคิดที่เป็นระบบ ดังนั้นเราจึงต้องเชื่อมโยงระหว่างทุกปัจจัยเข้าด้วยกัน


ปัจจัยต่างๆของปรากฏการณ์ความรุนแรง

1. การขาดแนวคิดสายกลาง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้แนวคิดอิสลามสายกลางเป็นที่แพร่หลายในหมู่คนหนุ่ม สาว เพื่อที่พวกเขาจะพบวิถีทางที่ถูกต้อง แทนที่พวกเขาจะทำตัวไม่เปิดเผย ซึ่งการขาดแนวคิดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้แนวคิดสุดโต่งและปรัชญาแทรกเข้ามา

2. การขาดอุละมาอฺที่แท้จริง ซึ่งสามารถให้ความเชื่อมั่น(ต่อแนวทางสายกลาง)ด้วยหลักฐานที่มาจากอัลกุรอาน และซุนนะฮฺ พวกเขาได้หายไปจากสนามแห่งนี้ จึงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ที่ถูกเรียกว่าอุลามาอฺที่ทำงานเพื่อผู้ที่มีอำนาจ ดังนั้นคนหนุ่มสาวจึงสูญเสียเชื่อมั่นไป และได้ตั้งตัวพวกเขากันเองให้เป็นเชค(คือเป็นโต๊ะครูหรืออาเหล่ม) ในการฟัตวาประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนเช่นนี้

3. การกดขี่ประชาชนและขาดความเป็นประชาธิปไตยนำผู้คนไปสู่การกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวของพวกเขาเอง การกดขี่ก่อให้เกิดความรุนแรง ความรุนแรงก่อให้เกิดความรุนแรงยิ่งขึ้นอีก

4. การไม่นำชารีอะฮฺอิสลามมาใช้กลายเป็นปัจจัยหลักของความรุนแรงอย่างหนึ่ง เนื่องจากหลายๆประเทศได้ประกาศให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ(ได้แก่ประเทศ มุสลิมแทบทั้งหมด – ผู้แปล) หรืออาจประกาศให้อิสลามเป็นแหล่งกำเนิดของกฎหมายต่างๆ(เช่น อิยิปต์ - ผู้แปล) แต่หลังจากนั้นประชาชนกลับเห็นการออกกฎหมายที่ขัดแย้งกับกับชาริอะฮฺ แน่นอนกฏหมายเช่นนี้ได้ปลุกปั่นให้คนหนุ่มสาวมุสลิมไปสู่กระทำที่รุนแรง

5.การแพร่กระจายของความชั่วร้ายและเพิ่มขึ้นของการกดขี่ในสังคมเป็นเหตุผลที่สร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรง


อัลลอฮุ อะอฺลัม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม