วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

คู่มือมาถูกทางแล้ว

คู่มือแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง..ในสามจังหวัด

             
  
จนท.ทหารกับเด็กๆในสามจังหวัด
               ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๕ มกราคม ๒๕๒๕ ศอ.บต.ได้เชิญจุฬาราชมนตรีนายสวาสดิ์ สุมาลยศักด์ และนายวินัย สะมะอุน ร่วมคณะอยู่ด้วย มาพบปะเยี่ยมเยียนพี่น้องมุสลิมจังหวัดชายแดนใต้ ก็ได้มีการตอบปัญหาข้อขัดแย้งที่คณะกรรมการรวบรวมปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน ๓๕ ปัญหา แบ่งเป็นเกี่ยวกับการปฏิบัติของทางราชการ ๒๓ ปัญหา และไม่เกี่ยวข้อง ๑๒ ปัญหา ดังนั้นข้าราชการที่ทำงานในพื้นที่ หรือใคร ที่คิดว่าว่าต้องมาทำงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต
 บทความทั้งหมด เป็นการคัดลอกคำตอบและข้อเสนอแนะของอดีตจุฬาราชมนตรี  เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม จากหนังสือ คู่มือข้าราชการในจังหวัดชายแดนใต้ โดย ศูนย์ประสานงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต. ๒๕๔๕ ที่ศอ.บต.พิมพ์แจกจ่ายจำนวนมาก แต่มักไม่ค่อยจะอ่านกัน จึงไม่เกิดผลประโยชน์ในทางปฏิบัติอันใด ผู้เขียนจึงใคร่นำเสนอ เพื่อไว้เป็นที่ค้นคว้า และอ่านกันในโลกออนไลน์ กันต่อไป 
 ปัญหาที่ ๑ ในพิธีการต่างๆ ซึ่งประธานจะต้องจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมจะต้องลุกขึ้นยืนตรงในขณะที่ประธานลุกขึ้นไปจุดธูปเทียนนั้น ชาวพุทธจะต้องประนมมือ ส่วนมุสลิมจะต้องยืนตรง การยืนตรงเช่นนั้นจะขัดกับหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่
 คำตอบของจุฬาราชมนตรี การยืนขึ้นขณะประธานกำลังทำพิธีดังกล่าว ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม
 ข้อเสนอแนะของจุฬาราชมนตรี : ควรให้มุสลิมนั่งอยู่กับที่ตามเดิม และถ้ายืนก็ควรยืนต้อนรับและให้เกียรติประธานเฉพาะขณะประฝานเดินเข้าสู่ห้องประชุมเท่านั้น
 แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม :
          ๑.ให้พิธีกรแจ้งหรือชี้แจงให้ที่ประชุมทราบขั้นตอนการปฏิบัติของผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้
                    ๑.๑ ทุกคนต้อนรับให้เกียรติประธานในพิธี
                    ๑.๒ ผู้ให้การต้อนรับ เชิญประธานในพิธีนั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้
                    ๑.๓ ทุกคนนั่ง
                    ๑.๔ ประธานในพิธีจุดเทียนบูชารัตนตรัย
                    ๑.๕ ผู้นับถือพุทธประนมมือ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในท่าปกติ เมื่อประธานกราบพระพุทธรูป
        ๒.ให้ทุกคนปฏิบัติตามคำชี้แจงของพิธีกร
ปัญหาที่ ๒ การที่นักเรียนนักศึกษามุสลิมรำไหว้ครูโดยการกราบวิชามวยไทย กระบี่กระบอง นาฏศิลป์ เป็นต้น ผิดหลักการศาสนาอิสลามหรือไม่ จะทำได้ในลักษณะใดบ้าง 
คำตอบของจุฬาราชมนตรี   การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลเลาะห์ (ซ.บ.) จะกราบในวาระใดหรือเจตนาใดก็ตามถือเป็นความผิดต่อบทบัญญัติศาสนาอิสลามทั้งสิ้น 
ข้อเสนอแนะของจุฬาราชมนตรี   สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เป็นมุสลิมควรสอนเฉพาะเนื้อหาวิชาล้วนๆ การกราบในพิธีดังกล่าวให้งดเว้นโดยเด็ดขาด และหากจะจัดพิธีไหว้ครู ก็ให้ดูในข้อ ๓  
คำตอบของจุฬาราชมนตรี  
             - การนำดอกไม้มอบแก่ครู ถ้าเพื่อนำดอกไม้นั้นไปกราบไหว้บูชา ก็ผิดบัญญัติศาสนาอิสลาม แต่ถ้าเป็นเจตนาอื่นนอกจากนั้นก็ไม่เป็นไร
             - การไหว้ทำความเคารพครูในห้องเรียนไม่ผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
             - การกราบผิดบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
             - การมอบธูปเทียน ถ้าประโยชน์ของธูปเทียนที่ครูรับไว้นั้นนำไปเพื่อใช้งานอันไม่เกี่ยวกับการกราบไหว้บูชา หรือเกี่ยวกับพิธีศาสนาอื่นก็อนุโลมให้มอบได้ แต่ไม่บังควรนัก เพราะโดยทั่วไปธูปเทียนถูกใช้ในเรื่องกราบไหว้บูชามากกว่าอย่างอื่น 
ข้อเสนอแนะของจุฬาราชมนตรี   การจัดพิธีไหว้ครู มิใช่พิธีการของศาสนาอิสลาม นักเรียนมุสลิมต้องเว้นอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเปลี่ยนรูปแบบพิธีศาสนาพราหมณ์-พุทธ มาเป็นแบบศาสนาอิสลาม และการมอบของที่ระลึกแก่ครูก็ควรเหลือเพียงดอกไม้ ส่วนธูปเทียนตัดออกเสียในวันไหว้ครู นักเรียนมุสลิมควรจัดกิจกรรมดังนี้
             -  เชิญอิหม่ามและกรรมการมัสยิด และหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นผู้นำในการขอพร
             -  ครูให้โอวาท
             -  ถ้าบุคคลในข้อ ๑ มีความรู้พอ ก็ให้เป็นคนให้โอวาทในทางศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการเคารพครูบาอาจารย์  

อดีตจุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์

ประวัติ
  นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เกิดเมื่่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๕๙ สมรสกับนางชื่่อ สุมาลยศักดิ์ (ถึงแก่กรรม)
การศึกษา
• มัธยมศึกษาปีที่สาม (เทียบเท่า ม.๓) โรงเรียนราษฎร์ดรุณศึกษาปี พ.ศ.๒๔๗๔
• โรงเรียนมาอัลลุดดีนยามีอุลอูลูมซาลาฟันวาคอลาฟันลิลมุสลิมีน(สายศาสนา) บางอ้อ ธนบุรี โดยอาจารย์อับดุลเลาะห์สอน มูฮำหมัดฮูเซ็น
• ศึกษาด้านศาสนาภาคพิเศษกับอาจารย์ต่วน สุวรรณศาสน์ อดีตจุฬาราชมนตรี ณ ตรอกโรงภาษีเก่า ยานนาวา กรุงเทพมหานคร
• ศึกษาด้านศาสนาต่อในต่างประเทศ ณ นครมักกะห์ ราชอาณาจักซาอุดิอาระเบีย ในภาควิชาตัฟซีร (การอธิบายความหมายของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน) วิชานาฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) และวิชาฟิกฮ์ (ศาสนบัญญัติ) โดยบรรดาคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ อาทิ อาจารย์อาลาวี บินมูฮำหมัดฮูเซ็น อัลมาลีกี อาจารย์อับดุลกอเด็ร อัลมันดีล และอาจารย์มูฮำหมัดนอร์ ซึ่งต่อมาท่านผู้นี้ได้ดำรงตำแหน่งมุฟตี (ผู้ชี้ขาดปัญหาศาสนา) แห่งรัฐกาลันตัน ประเทศมาเลเซีย
• ได้ศึกษาตำรา ญัมอุลญาวาเมียะอ์ กับ อาจารย์ประดอแอ
• ได้ศึกษาวิชาการศาสนากับอาจารย์มุสตอฟาการีมี บิดาของนายแช่ม พรมยงค์ อดีตจุฬาราชมนตรี รวมเวลาที่ได้ใช้ศึกษาศาสนาทั้งในประเทศไทยและนครมักกะห์ ทั้งสิ้นประมาณ ๑๗ ปี
   ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จำนวน ๒๙ จังหวัด และได้รับ พระบรมโองการแต่งตั้งเมื่่อวันที ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม