วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

Thailand’s Southern Violence

Updated Statistics : Thailand’s Southern Violence from January 2004 through March 2009

DeepSouthWatch's picture

Srisompob Jitpiromsri
Deep South Watch
Center for the Study of Conflict and Cultural Diversity, PSU, Pattani Campus
From January 2004 through March 2009, there have been some 8,810 violent incidents in the provinces of Pattani, Yala, and Narathiwat, and 4 districts in Songkhla province. Violence has decreased since June 2007, when the army began large-scale operations by sending more than 60,000 troops to round up suspected insurgents, and by spending approximately 109 billion baht on security and development matters.
It appears that this effort to marginalize the insurgent movement has been relatively successful. Since June 2007, violent incidents have dropped from 200 per month to just slightly more than 100 per month.
By November 2007, incidents had dropped to fewer than 100 per month, a trend that continued until early 2009.
In 2009, the number of incidents has gradually increased. Through March, incidents have risen to more than 100 per month, suggesting the persistence of sustained violence in Thailand’s southern provinces.
During the period from January 2004 through March 2009, there have been 3,418 deaths and 5,624 injuries resulting from violent incidents. Of those killed, 54.69 percent have been Muslims, while 41.87 percent have been Buddhists.
Civilians have been the primary people killed (1,564 cases), followed by soldiers (215 cases), policemen (200 cases), village headmen and assistants (189 cases), and village defense volunteers (170 cases).
The primary method of attacks continues to be drive-by shootings on roads and highways, followed by bombings.
The violence in the region will no doubt persist through 2009. Insurgents have shown no effort to reduce violent attacks. Meanwhile, the continued political turmoil in Bangkok shows no sign of being resolved anytime soon. As long as Thai governments are preoccupied with maintaining political office, they will be distracted from putting forth a genuine effort to improving the situation in the southern border provinces.


สถานการณ์ใหม่ชายแดนใต้ : ความเสี่ยงในการถูกรุกกลับทางการทหารและตรึงกำลังในทางการเมือง

DeepSouthWatch's picture

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นับตั้งแต่มกราคม 2547 ถึงเดือนมีนาคม 2552 ของปีนี้ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 8,810 เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส รวมทั้งบางส่วนของจังหวัดสงขลา ความรุนแรงลดลงในกลางปี 2550 เมื่อกองทัพเริ่มมาตรการระดมกำลังขนานใหญ่ส่งกำลังเข้ามาในพื้นที่มากกว่า 60,000 นาย มีการปิดล้อมตรวจค้นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และรัฐใช้จ่ายเงินงบประมาณไปมากกว่า 109,000 ล้านบาทเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อดูจากสถิติเหตุการณ์ความรุนแรง เห็นได้อย่างชัดเจนว่าความพยายามในการรุกไล่ทางการเมืองและการทหารต่อขบวนการก่อความไม่สงบค่อนข้างประสบผลสำเร็จ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากประมาณ 200 ครั้งต่อเดือนไปเป็น 100 กว่าครั้งหลังจากนั้น จากนั้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เหตุการณ์ความไม่สงบลดลงน้อยกว่า 100 ครั้งต่อเดือน นี่เป็นแนวโน้มคงที่ความต่อเนื่องจนกระทั่งมีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจนน่าสังเกตในตอนต้นปี 2552 นี้
ในช่วงต้นปี 2552 จำนวนของเหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มไต่ระดับสูงขึ้นอีก จนกระทั่งเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่สงบไต่ระดับสูงขึ้นมากกว่า 100 ครั้งต่อเดือนอีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคมของปี 2550 ชี้ให้เห็นภาพของความคงที่ต่อเนื่องและการลุกลามขยายตัวอย่างไม่จบสิ้นของเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระหว่างเดือนมกราคม 2547 จนถึงเดือนมีนาคม 2552 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบไปแล้วถึง 3,418 ราย และผู้บาดเจ็บ 5,624 ราย ในกลุ่มผู้ถูกสังหารนี้ ร้อยละ 54.69 เป็นคนมุสลิมและร้อยละ 41.87 เป็นคนพุทธ
เป้าหมายสำคัญของเหยื่อความรุนแรงคือพลเรือน ดังจะเห็นได้จากสถิติผู้สูญเสียทั้งหมด แยกเป็นพลเรือนหรือราษฎรโดยทั่วไปเป็นเป้าหมายหลักของการสังหาร (ประมาณ 1,564 คน) ตามมาด้วยฝ่ายทหาร (ประมาณ 215 คน) บุคลากรฝ่ายตำรวจ (ประมาณ 200คน) กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (ประมาณ 189 คน) และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) (ประมาณ 170 คน) ยุทธวิธีสำคัญในการก่อเหตุก็ยังคงเป็นการยิงสังหารบนถนนสายย่อยหรือถนนหลวง ตามมาด้วยการใช้ระเบิดและการวางเพลิง แบบแผนลักษณะการโจมตีเพื่อก่อเหตุเป็นเช่นนี้ตลอดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป ความรุนแรงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงปีปัจจุบันฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบยังคงแสดงให้เห็นว่ายังไม่ลดละความพยายามที่จะก่อสถานการณ์ความรุนแรงให้มีผลกระทบในทางการเมืองและส่งสัญลักษณ์การต่อสู้ให้เห็นในพื้นที่สาธารณะ ในขณะที่ความวุ่นวายสับสนในทางการเมืองที่เกิดในกรุงเทพมหานครและที่อื่นๆ ของประเทศยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้ได้ตกในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ตราบใดที่รัฐบาลยังคงวุ่นวายอยู่กับการอยู่รอดทางการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐก็จะถูกเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการแก้ปัญหาทางการเมืองและในทางยุทธศาสตร์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริงเพื่อรุกทั้งทางการทหารและทางการเมือง
สิ่งที่ควรระวังก็คือการรุกทางการทหารที่เคยกระทำได้ผลสำเร็จในระยะเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นการถูกรุกบ้าง ในขณะที่การเมืองยังไม่สามารถชนะได้ในระยะยาว การปรับตัวทางยุทธศาสตร์โดยเฉพาะในทางการเมืองและการทหารอาจจะต้องมีการพิจารณาอย่างเร่งด่วนหากแนวโน้มดังกล่าวยังเป็นอยู่เช่นนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม