วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประหาร หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ บทลงโทษจากอัลเลาะห์

ประหาร หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ บทลงโทษจากอัลเลาะห์

ประหาร หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ บทลงโทษจากอัลเลาะห์



         หลังคำตัดสินของศาลฏีกาซึ่งพิพากษาให้ประหารชีวิตนายหะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ หัวหน้ากลุ่มพูโล นายหะยี บือโต เบตง ประธานพูโลใหม่ และนายหะยี สะเมแอ ท่าน้ำ ส่วนนายอับดุล เราะห์มาน บิน อับดุลการเดร์ รองประธานพูโล พิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 50 ปี อิสรภาพและความหวังที่จะได้รับการปล่อยตัวโดยหวังความเมตตาจากศาลของพวกเขาก็จบลงทันที

         ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ อดีตหัวหน้ากลุ่มพูโลแกนนำในการก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสมาชิกผู้ที่มีแนวคิดฝักใฝ่ความรุนแรงจำนวนหนึ่ง ได้สมคบกันก่อตั้งองค์กรทางการเมืองชื่อ "องค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานีหรือขบวนการแบ่งแยกดินแดนพูโล" เพื่อแบ่งแยกดินแดนจังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย จ.ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และสงขลาบางส่วน เพื่อสถาปนาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย และยังชักชวนให้สมาชิกนำญาติมิตรเข้าร่วมขบวนการ จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ ฝึกการสู้รบแบบกองโจร และก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ โรงแรม เผาอาคารสถานที่สำคัญ และโรงเรียน หลังจากก่อกรรมทำเข็ญกับชาวบ้านเสร็จก็หนีทางการไทยไปซุกใต้ปีกมาเลเซีย โดยวนเวียนเปลี่ยนที่อยู่ไปมาเพื่อหลบหนีการจับกุมอยู่แถวรัฐกลันตัน

         หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ และพวกที่รวมตัวกันเป็นพูโลในสมัยนั้นไม่ต่างอะไรกับโจรห้าร้อยที่บังอาจแอบอ้างองค์อัลเลาะห์ผู้ประเสริฐ แอบอ้างอุดมการณ์กอบกู้เอกราชปาตานี สร้างอิทธิพลด้วยกระสุนปืนและระเบิด ไล่ฆ่าข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความกลัว แล้วส่งจดหมายข่มขู่กรรโชกทรัพย์เรียกค่าคุ้มครองจากพ่อค้า นักธุรกิจ ซึ่งพฤติกรรมเลวทรามทั้งหมดนั้น นอกจากจะได้เงินจากการข่มขู่ไว้เสวยสุขกันในขบวนการแล้วยังได้รับการสนับสนุนทั้งเงินและความช่วยเหลืออื่นๆ อย่างต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามที่หลงเชื่อว่าพี่น้องมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยถูกกดขี่ข่มแหง กลั่นแกล้ง และไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่อยู่ติดกับภาคใต้ของไทย

          ว่ากันว่าเงินจำนวนนี้มากมายมหาศาลจนหัวหน้าขบวนการสามารถสร้างคฤหาสถ์หลังงามในสวิตเซอร์แลนด์และสวีเดน เสวยสุขอยู่บนกองเงินกองทอง ในขณะที่พี่น้องมุสลิมที่ถูกพวกเขานำไปแอบอ้างส่วนใหญ่ยังยากจนและมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำมาก และด้วยกระบวนการสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำที่ได้ผลนี่เอง ที่ทำให้ขบวนการพูโล และขบวนการบีอาร์เอ็นโคออดิเนตซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีอุดมการณ์ไล่ฆ่าคนไม่เลือกหน้าแม้แต่พี่น้องมุสลิมด้วยกันและมีผลประโยชน์ร่วมกันกับพูโล ยังคงมีความเคลื่อนไหว สร้างผลงานให้องค์กรมุสลิมระดับนานาชาติเห็นโดยการก่อความไม่สงบ สร้างความแตกแยกของคนสองศาสนาในพื้นที่ และเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างไม่เลือกหน้า โดยไม่คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดีต่อไป เพื่อให้การสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรเหล่านั้นยังคงอยู่ ซึ่งนานาประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำในลักษณะนี้ต่างรับรู้วิธีการหาเงินอย่างไร้ยางอายของขบวนการเหล่านี้เป็นอย่างดี ซึ่งก็น่าแปลกที่ว่าองค์กรมุสลิมที่อุตส่าห์บริจาคเงินสนับสนุนด้วยใจบริสุทธิ์เพราะต้องการช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ช่างไม่รู้เลยหรือว่ากำลังถูกขบวนการชั่วเหล่านี้แหกตาอยู่

         การตัดสินให้ประหารชีวิต หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ และพวก ซึ่งศาลฏีกาเมตตาลดโทษจากประหารชีวิตให้เหลือจำคุกตลอดชีวิตในครั้งนี้ ตามหลักสังคมถือว่าเป็นการลงโทษตามมูลเหตุแห่งการกระทำผิด ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาเป็นขั้นเป็นตอน

         แต่อย่างไรก็ดีดูว่ายังไม่สาสมกับสิ่งที่ได้ทำกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ต้องบาดเจ็บล้มตายลงเป็นจำนวนมาก เวลาตลอดชีวิตในคุกจะช่วยให้เขาและพวกได้ทบทวนความชั่วช้าที่เคยก่อขึ้นอย่างสุดทรมานแบบไม่เห็นเดือนเห็นตะวันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต พูดง่ายๆ คือ “ตายคาคุก”

       แม้ว่าตัวบ่งการสร้างสถานการณ์เข่นฆ่าประชาชนเพื่อหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองในปัจจุบันยังไม่ถูกจับ กุมมารับกรรมในวันนี้ แต่สุดท้ายเชื่อได้เลยว่าการที่เขาเหล่านั้นกล่าวอ้างองค์อัลเลาะห์ผู้ประเสริฐ กล่าวอ้างศาสนาซึ่งเป็นสถาบันสูงส่งที่สอนให้ศาสนิกเป็นคนดี และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพี่น้องมุสลิมอย่างเหนียวแน่น แล้วมากระทำในสิ่งที่ผิดวิถีอิสลามอย่างร้ายแรงด้วยการทำลายชีวิตคนเหมือนผักปลาเช่นทุกวันนี้


          ท้ายที่สุดก็คงไม่อาจหนีพ้นบ่วงกรรมที่กระทำไว้ได้อย่างแน่นอน เฉกเช่นเดียวกับชะตากรรมที่หะยีดาโอ๊ะฯ และพวกต้องประสบในวันนี้ ซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของอัลเลาะห์ที่ลงโทษผู้ที่บังอาจก้าวล่วงให้ต้องรับกรรมด้วยการตกนรกทั้งเป็น

ตกนรกทั้งเป็นชาตินี้
แล้วก็ไม่ต้องฝันว่าจะได้เข้าสวรรค์ในชาติหน้า



***********************************************

The Appeals Court on Wednesday sentenced a member of the Patani United Liberation Organisation (Pulo), a separatist movement, to life in prison, reversing the Criminal Court’s decision to drop all charges against him.


Prosecutors indicted Koseng, or Useng, Cheloh, a Pulo member, on charges of rebellion and illegal assembly of weapons and men to conduct terrorist activities with the aim being to separate five southern border provinces from the kingdom.

The court was told that between 1968 and Feb 10, 1998 Koseng and other Pulo members had recruited Muslim people into the separatist movement, extorted protection money from businessmen in the five southern border provinces and used the money to set up armed units to

conduct terrorist activities, including attacks on government installations, destroying rail tracks with bombs and burning down bridges and schools, causing extensive damage and a large number of casualties.

The Criminal Court on Dec 1, 2008 dismissed the case against Koseng on the grounds that evidence against him was doubtful. The state appealed.

The Appeals Court today reversed the Criminal Court’s decision and sentenced Koseng to death.

The death sentence was commuted to life on the grounds that his testimony was useful.

On Tuesday morning, eight military rangers and six civilians were wounded by a bomb blast on a road in Narathiwat’s Tak Bai district. An assistant village headman was also shot dead in an ambush at Ban Luemu in Yala’s Krong Pinang district.

On Monday night, three men were shot dead in Pattani’s Kapho district by a group of men weating in military-style camouflage uniforms.

More than 5,000 people have been killed and over 8,400 injured in the three southernmost provinces and four districts of Songkhla since violence erupted in January 2004, according to Deep South Watch, an agency that monitors the conflict in the southern border provinces.

……………………………………

อุทธรณ์ประหาร”หัวหน้าพลูโลใหม่”แบ่งแยกดินแดน

          เมื่อเวลา 09.40 น.วันที่ 27 มิ.ย.55 ที่ห้องพิจารณาคดี 814 ศาลอาญา รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.4748/2549 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายกอเซ็ง หรืออูเซ็ง หรือมะนาเซ หรือชาการิม หรือ ซาการิม เจะเลาะ หรือเจ๊ะเลาะ หรือเจ๊ะเล๊าะ หัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการในเมือง ” ขบวนการพูโลใหม่” เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร สะสมกำลังพลและอาวุธ สมคบกันเพื่อเป็นกบฏ และสมคบกันเป็นซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 , 114 ,210 ประกอบ มาตรา 83 , 32 , 33

           ทั้งนี้ โดยโจทก์ ยื่นฟ้อง ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อปี พ.ศ. 2511 – 10 ก.พ.41 จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการในเมือง ” ขบวนการพูโลใหม่ ” ได้ร่วมกับ นายหะยี ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ ,นายหะยี ฮาเซ็ม อับดุลเลาะห์มาน ,นายอับดุล รอมาน และนายสะมะแอ ท่าน้ำ จและนายยามี มะเซ๊ะ หรือนายยามิง หรือยามี มะเสะ จำเลยที่ 1-5 ในคดีหมายเลขแดง 3666/2545 และ3667/2545 ของศาลอาญา และกับพวกอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง สมคบกันเป็นตัวการ แบ่งแยกหน้าที่กันกระทำการเป็นกบฏ สะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร ก่อตั้งองค์การทางการเมืองที่ชื่อว่า ” องค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานี” หรือ “องค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานี” หรือ ” องค์การปลดปล่อยสหปัตตานี” หรือ ” PATANI UNITEDLIBERATION ORGANISATION” ใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า ” P.U.L.O.” ซึ่งรู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า ” ขบวนการพูโล” โดยการก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์แบ่งแยกดินแดน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้แก่ จ.ยะลา , ปัตตานี , นราธิวาส , สตูล และบางส่วนของ จ.สงขลา ใน อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา เพื่อสถาปนาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเองในชื่อว่า “สาธารณรัฐอิสลามปัตตานี” หรือ “ประเทศอิสลามมลายูปัตตานี” หรือ ” ประเทศมลายูอิสลามปัตตานี”

         ซึ่งองค์กรนั้น ได้มีปฏิบัติการข่มขู่กรรโชกทรัพย์เรียกเงินค่าคุ้มครองจากพ่อค้า นักธุรกิจ ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำเงินจัดซื้ออาวุธปืน ทำการลอบยิงตำรวจ ทหาร ลอบวางระเบิดทางรถไฟ ซุ่มยิงขบวนรถไฟ เผาสะพาน เผาโรงเรียนและจับคนเรียกค่าไถ่ รวมถึงวางระเบิดสถานที่ราชการสำคัญ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ วางระเบิดโรงแรม และโรงเรียน เหตุเกิดที่ทุกตำบล ทุกอำเภอของ จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และจ.สตูล และที่อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และประเทศมาเลเซีย เกี่ยวพันกัน ซึ่งขอให้ศาลนับโทษจำเลยคดีนี้ กับโทษคดีอาญาหมายเลขดำที่ 216/2549 , 285/2549 , และ 907/2549 ของศาลจังหวัดปัตตานีด้วย จำเลยให้การปฏิเสธ


        คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.51 ให้ยกฟ้องจำเลย แต่ให้ขังจำเลยไว้ในระหว่างอุทธรณ์ และริบของกลาง โดยโจทก์ยื่นอุทธรณ์

         ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว ข้อเท็จจริงที่สองฝ่ายไม่ได้โต้แย้งกัน รับฟังได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกการปกครองรัฐปัตตานี โดยเปลี่ยนเป็นการปกครองแบผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้ผู้มีอำนาจเก่าในปัตตานีรวมตัวเป็นองค์กรใต้ดินเพื่อก่อความไม่สงบ ซึ่งมีขบวนต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มพูโล , บีอาร์เอ็น , มูจาฮีดิน ที่รวมกันเป็น ” ขบวนการเบอร์ซาตู ” เพื่อร่วมปลดแอก รัฐปัตตานี และแบ่งแยก 5 จังหวัดภาคใต้เป็นสหพันธรัฐปัตตานี โดยมีการลอบยิงเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ยอมรับการปกครองของไทย ซึ่งมีเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ แต่ต่อมากลุ่มพูโล เกิดความขัดแย้งภายใน จึงแยกตัวออกมาเป็นพูโลใหม่แต่มีแนวทางเดียวกัน กระทั่งปี 2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายหะยี ดาโอ๊ะ หัวหน้ากลุ่มพูโลใหม่ ในความผิดฐานเป็นกบฏ ซึ่งนายหะยี ได้ซัดทอดว่า นายซาการิม เป็น หัวหน้ากลุ่มในเมือง ของกลุ่มพูโลใหม่ ต่อมาวันที่ 7 ธ.ค.48 จำเลยถูกจับ ตามหมายจับคดีฆ่าผู้อื่น ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นนายซาการิม โดยจำเลยให้การปฏิเสธ

        คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ พนักงานสอบสวน พยานโจทก์ เบิกความรับฟังได้ว่า ชื่อ ” ซาการิม” เป็นนามแฝงของกลุ่มพูโลใหม่ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีการกำหนดยุทธวิธี ปลุกระดมชาวมุสลิมลอบวางระเบิด เผาสถานที่ราชการ ฆ่าเจ้าหน้าที่ รัฐ จึงทำให้ต้องปกปิดชื่อจริง และทำให้พยานบุคคลไม่กล้าชี้ตัวเพราะเกรงจะถูกทำร้าย
          นอกจากนี้โจทก์ ยัง
มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับหน่วยงานข่าวกรองที่มีข้อมูลทางราชการว่า ข้อมูลและหลักฐานภาพถ่ายของนายซาการิม นายกอเซ็ง และจำเลย ที่มีชื่อจริงว่า ” มะนาเซ เจ๊ะเลาะ” มีบทบาทสำคัญในการฝึกและวางแผนก่อการร้าย ซึ่งภาพถ่ายดังกล่าวเป็นบัตรประชาชน ที่มีเลขรหัสตรงกันภาพตามหมายจับ ที่แม้ส่วนสูงของบุคคลในภาพจะต่างกัน แต่อาจเป็นเพราะเกิดจากช่วงวัยที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ โดยวันที่จำเลยถูกจับกุมขณะกำลังออกนอกประเทศจำเลยก็ยอมรับว่าเป็นบุคคลตาม หมายจับ เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อหา จึงเห็นว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการจับกุมตามหน้าที่ โดยไม่มีเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ประกอบกับเมื่อถูกจับกุมจำเลยได้ลงลายมือชื่อ ทั้งในชื่อ ” มะนาเซ , ซาการิม และกอเซ็ง ” โดยจำเลยรับว่าเป็นผู้ยิงและได้หลบหนีจริง ส่วนที่อ้างว่าถูกบังคับให้ลงชื่อเห็นว่า หากจำเลยรู้ว่าไม่ใช่บุคคลในภาพ ก็ไม่สมควรลงลายมือชื่อ


        นอกจากนี้ ทางนำสืบ ที่จำเลยว่าได้ศึกษาต่อ ที่ประเทศซีเลีย และลิเบีย โดยใช้ชีวิตประเทศมาเลเซียนานถึง 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้นำพยานมาเบิกความถึงการดำเนินชีวิตของจำเลยว่าเป็นไปอย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับกลุ่มพวก เป็นพวกหัวรุนแรงทางการเมือง มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศไทย จึงทำให้จำเลยไม่สามารถนำพยานมาสืบสนับสนุนได้ ข้อต้อสู้จำเลยไม่อาจหักล้างโจทก์ได้ อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย

        ศาลพิพากษาแก้ เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม มาตรา 210 , 114 และ 113 ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุก 5 ปี ฐานสมคบกันเป็นซ่องโจร และให้ประหารชีวิต ฐานกระทำการเป็นกบฏ คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกฐานซ่องโจร เป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน และฐานเป็นกบฏ ให้จำคุกตลอดชีวิต และเมื่อรวมโทษจำคุกแล้วให้จำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิต โดยให้นับโทษ 216/2549 , 285/2549 , 245/2549 และ 907/2549 ของศาลจังหวัดปัตตานีด้วย

        ภายหลังฟังคำพิพากษา บุตรสาวและญาติของนายกอเซ็ง ถึงกับร่ำไห้ เสียใจ ขณะที่นายกอเซ็ง ได้พยายามพูดปลอบใจบุตรสาว


************************************

ศาลฎีกา พิพากษายืนจำคุกตลอดชีวิต 'หะยี ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ' อดีตหัวหน้า 'พูโล' กับพวกรวม 3 คน ส่วน'อับดุล เราะห์มาน'สมาชิกร่วมขบวนการ โดนจำคุก 50 ปี ฐานกบฏแบ่งแยกดินแดน
              เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณา 914 ศาลอาญา ศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีกบฏแบ่งแยกดินแดน หมายเลขดำที่ ด.2722/2541 ที่อัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายหะยี ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ หรือดาโอ๊ะ มะเซ็ง หรือดาโอะ มะเซ็ง อดีตหัวหน้าขบวนการ พูโล อายุ 54 ปี จำเลยที่ 1 นายหะยี บือโด เบตง หรือนายบาบอแม เบตง หรือนายหะยี อาเซ็ม ประธานขบวนการพูโล อายุ 74 ปี จำเลยที่ 2 , นายอับดุล เราะห์มาน บิน อับดุลกาเดร์ หรือนายหะยี สมาชิกขบวนการพูโล อายุ 63 ปี จำเลยที่ 3 , นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ หรือนายสะมะแอ สะอะ หรือหะยี อิสมาแอล กัดดาฟี หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธขบวนการพูโล อายุ 60 ปี จำเลยที่ 4 และนายยามี มะเซะ สมาชิกขบวนการพูโล อายุ 61 ปี จำเลยที่ 5 ในความผิดร่วมกันเป็นกบฏแบ่งแยกราชอาณาจักร สะสมกำลังพลและอาวุธ สมคบกันเป็นซ่องโจร

            ทั้งนี้ อัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 16 เม.ย.41 ระบุความผิดสรุปว่า ระหว่างปี 2511-2541 มีกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม สมคบกันก่อตั้งองค์กรทางการเมืองชื่อ องค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานี หรือขบวนการแบ่งแยกดินแดนพูโล เพื่อแบ่งแยกดินแดน 5 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และสงขลา บางส่วน สถาปนาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย ทั้งชักชวนให้สมาชิกนำญาติมิตรเข้าร่วมขบวนการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ ฝึกวิชาทหาร และการสู้รบแบบกองโจร ก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการต่างๆ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ โรงแรม เผาอาคารสถานที่สำคัญ เช่น โรงเรียน เป็นต้น รวมทั้งใช้อาวุธยิงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน

          นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศนับถือศาสนาอิสลาม ตลอดจนมีการข่มขู่กรรโชกทรัพย์เรียกค่าคุ้มครองจากพ่อค้า นักธุรกิจ เจ้าของสวนยางพารา และบริษัทรับเหมาก่อสร้างอื่นๆ ทำให้ขบวนการพูโล มีเงินทุนซื้ออาวุธ เพื่อก่อความวุ่นวายดังกล่าว ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1-4 ให้การรับสารภาพ แต่กลับมาให้การปฏิเสธชั้นพิจารณาของศาล

           คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ต.ค.45 ให้ประหารชีวิตจำเลยที่ 1,2 และ 4 แต่คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกตลอดชีวิตจำเลยที่ 1,2 และ 4 ส่วนจำเลยที่ 3 และ 5 ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าร่วมกระทำผิดให้ยกฟ้อง

           ต่อมา วันที่ 15 พ.ย.48 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนของจำเลยที่ 1, 2 และ 4 ให้จำคุกตลอดชีวิต ศาลอุทธรณ์แก้โทษที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง เป็นให้ประหารชีวิต แต่คำให้การจำเลยที่ 3 มีประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีอยู่บ้าง จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกเป็นเวลา 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 5 อัยการไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุด ขณะที่จำเลยที่ 1,2,3,4 ยื่นฎีกา ยื่นฎีกาต่อ

           ศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่า คดีนี้โจทก์มีพยาน ซึ่งเป็นน้องชายของพี่สะใภ้ของจำเลยที่ 2 รวมทั้งพยานอีกหลายปาก ซึ่งร่วมกันเป็นสมาชิกของขบวนการเบิกความว่า ก่อนที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มจำเลยได้ถูกชักชวนให้ร่วมเป็นสมาชิก และเคยเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มสมาชิกเคยเห็นกลุ่มวัยรุ่นประมาณ 20 คนร่วมอยู่ด้วย โดยระบุว่าหากเป็นสมาชิกจะได้สิทธิพิเศษในประเทศมาเลเซีย และได้รางวัลตอบแทนเมื่อจำเลยที่ 1 และ 2 ได้สั่งให้ทำการก่อความวุ่นวาย ซึ่งพวกจำเลยจะทำจดหมายข่มขู่เรียกค่าคุ้มครองและแบ่งแยกดินแดนไปวางไว้ตามสถานที่ต่างๆ

          ขณะที่ พยานโจทก์ยังระบุว่าเมื่อร่วมเป็นสมาชิกแล้วระยะหนึ่ง ต่อมามีคนในขบวนการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม จึงรู้สึกว่าขาดความน่าเชื่อถือ ทำให้สมาชิกบางส่วนเข้ามอบตัวผ่านทาง พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ขณะที่ ข้อเท็จจริงที่ได้จากคำให้การรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้เริ่มขบวนการมาตั้งแต่ปี 2529 และได้เป็นหัวหน้าขบวนการที่ติดอาวุธอยู่ในป่า จ.ยะลา ซึ่งภายหลังได้มีการแต่งตั้งสมาชิกคนอื่นให้เป็นหัวหน้าควบคุมแทน โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าขบวนการพูโลใหม่ และภายหลังจากที่กลุ่มขบวนการพูโลไม่สามารถต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ได้ จึงเดินทางไปกลับมาเลเซีย ซึ่งมีพยานโจทก์เดินทางไปรับจ้างกรีดยางที่มาเลเซียได้เบิกความถึงเหตุการณ์ในขณะนั้นและการถูกชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิก

             แม้ว่า คำให้การในชั้นสอบสวนของโจทก์บางปากจะเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่เมื่อรับฟังร่วมกับพยานแวดล้อมต่างๆ มีรายละเอียดเชื่อมโยงสอดคล้อง จึงสามารถรับฟังได้ ประกอบกับพยานโจทก์ซึ่งร่วมขบวนการก็ได้เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ก่อนที่จำเลยที่ 1-4 จะถูกจับกุมในคดีนี้ เป็นเวลานานหลายปี พยานโจทก์จึงไม่มีเหตุให้ต้องระแวงสงสัย

           ส่วนที่จำเลยที่ 1-4 ฎีกา อ้างว่าคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนไม่ได้ทำด้วยความสมัครใจ แต่ถูกกดดัน ขู่เข็ญจากเจ้าพนักงาน เห็นว่า ในชั้นสอบสวนได้มีการบันทึกวีดีทัศน์จำเลยที่ 1 ขณะแสดงวิธีการประกอบระเบิดที่ไม่แสดงท่าทีถูกกดดัน ขณะที่คำให้การของพยานนำมาประกอบรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปศึกษาที่ประเทศซีเรียและได้รับการสอนวิธีการทำระเบิด ประกอบกับการออกคำแถลงของพวกจำเลยภายหลังถูกจับกุมมีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น และรองอธิบดีกรมตำรวจ รวมทั้งพนักงานสอบสวนร่วมอยู่ด้วย จึงไม่น่าเชื่อว่าตำรวจชั้นผู้ใหญ่จะกลั่นแกล้ง ขณะที่การสอบสวนดำเนินการเป็นคณะ จึงยากที่จะปรุงแต่งรายละเอียด ฎีกาของจำเลยที่ 1-4 ฟังไม่ขึ้น

            อีกทั้ง ส่วนที่จำเลยที่ 1-4 ฎีกาขอให้ศาลพิพากษาลงโทษสถานเบา เห็นว่า คดีนี้เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1-4 ได้ดำเนินการเป็นขบวนการก่อความไม่สงบ วางระเบิดสถานที่ต่างๆ และยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปีเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้ว่าพวกจำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่ให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา จึงเห็นได้ว่าพวกจำเลยไม่สำนึกในการกะทำผิด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโทษนั้นเหมาะสมแล้ว พิพากษายืน

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการอ่านคำพิพากษาในวันนี้ เป็นการอ่านให้ นายอับดุล เราะห์มาน บิน อับดุลกาเดร์ จำเลยที่ 3 ฟัง ส่วนนายหะยี ดาโอ๊ะท่าน้ำ จำเลยที่ 1 นายหะยี บือโด เบตง จำเลยที่ 2 และนายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ จำเลยที่ 4 ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำ จ.สงขลา ได้อ่านคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 21 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ศาลจังหวัดสงขลาแล้ว
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม