วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

“ความเกี่ยวพันของโรงเรียนปอเนาะกับขบวนการโจรก่อการร้าย" แนบแน่นเหมือนเนื้อเดียวกันโดยแยกกันไม่ออก


แบมะ ฟาตอนี

          จากเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน “ปอเนาะ” มักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน มีคำว่าปอเนาะเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการสั่งปิดโรงเรียนญิฮาดวิทยา หรือปอเนาะญิฮาด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และ “ปอเนาะสะปอม” หรือ “โรงเรียนอิสลามบูรพา” หมู่ที่ 5 ตำบล กะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2550

           โรงเรียนญิฮาดวิทยา โดนซัดทอดจากการซักถามผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งซ่องสุมการฝึกฝนการต่อสู้เมื่อปี พ.ศ.2546 ก่อนที่จะเข้าทำการปล้นอาวุธปืนที่ค่ายปิเหล็ง กองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส ส่วนโรงเรียนอิสลามบูรพา บุคลากรทางการศึกษาอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงการก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


           คนนอกพื้นที่อาจจะไม่รู้จักและคุ้นเคยกับคำว่า “ปอเนาะ” คืออะไร? 

“ปอเนาะ” รากศัพท์มาจากภาษาอาหรับว่าPONDOK อ่านว่าปนโด๊ะบ้าง พอนดอกบ้าง ซึ่งแปลว่า กระท่อม ที่พัก ซึ่งความหมายในปัจจุบันคือ สำนักศึกษาเล่าเรียนวิชาการศาสนาอิสลาม ซึ่งหมายถึงทั้งที่พัก และที่เรียน สาเหตุที่ “ปอเนาะ” เปรียบเสมือนโรงเรียนกินนอนนี่เอง จึงเป็นโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดต่างจากรัฐ ชักจูง ชักชวนให้นักเรียนเข้าร่วมกับขบวนการ จากการอยู่ร่วมกันจำนวนมาก จึงง่ายในการปลูกฝังแนวความคิด อุดมการณ์ รวมทั้งการบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนาอิสลามของครู อุสตาซ ที่ทำการสอน หลอกให้เด็กนักเรียนแนวร่วมเหล่านี้หลงผิดทำการก่อเหตุ อีกทั้งจากการก่อเหตุเมื่อมีการตรวจสอบวัตถุพยานแวดล้อมสืบสวนสอบสวนนำไปสู่การจับกุมตัวผู้ทำการก่อเหตุ กลับกลายเป็นนักเรียน บุคลากร ครู อุสตาซโรงเรียนปอเนาะ เมื่อทำการตรวจค้นโรงเรียนปอเนาะยังพบวัตถุพยานเพิ่มไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืน เครื่องกระสุน สารประกอบวัตถุระเบิด ตำราการสู้รบ แผนบันไดเจ็ดขั้นของการต่อสู้ของกลุ่มขบวนการ BRN

 

           โรงเรียนปอเนาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หากนับจำนวนทั้งที่จดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนจะมีหลายพันโรง และเป็นอุปสรรคและปัญหาในการควบคุมเป็นสิ่งที่ยากต่อการตรวจสอบและเข้าถึงของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการไม่มีมาตรฐานและศักยภาพพอที่จะดำเนินการควบคุมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้กลายเป็นช่องทางให้กลุ่มขบวนการ BRN ใช้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลัง วางแผน สั่งการ ฝึกฝนการต่อสู้ เป็นแหล่งผลิตวัตถุระเบิดเพื่อทำการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

จุดเริ่มต้นปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 คือเหตุสั่งปิดโรงเรียนญิฮาดวิทยา
         โรงเรียนญิฮาดวิทยา ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ไฟใต้ จากการซักถามผู้ต้องสงสัยที่ถูกควบคุมตัวซึ่งหนึ่งในนั้นให้การยอมรับว่ามีการฝึกฝนการต่อสู้ในพื้นที่นี้จริงเมื่อปีพ.ศ.2546ก่อนที่จะเข้าทำการปล้นอาวุธปืนกองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2547 โดยใช้เทคนิคการฝึกแบบเข้มข้น ระยะเวลาในการฝึกเพียงแค่26 วันเท่านั้น แต่สามารถเทียบหลักสูตรการใช้อาวุธการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจถึง 6 เดือน


            สำหรับผู้ต้องสงสัยจำนวน 4 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเหตุปล้นอาวุธปืนกองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส ที่ถูกเชิญตัวไปซักถามที่ค่ายอิงคยุทธบริหารอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี คือ 
  • นายอาดือนัน เจะอาแซ ลูกโต๊ะครูเก่า อยู่บ้านเลขที่ 16 หมู่ 3 ตำบลตะโละกาโปร์ 
  • นายมาซือลัม ดาแม อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 6 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 
  • นายอับดุลเลาะ กะเจ อยู่บ้านเลขที่ 187 หมู่8 ตำบลตะโละกาโปร์ และ
  • นายแวฮาฟิซ แกตอง อยู่บ้านเลขที่126 หมู่ 8 ตำบลบางปอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 
           ซึ่งทั้งหมดเป็นนักศึกษาโรงเรียนปอเนาะญิฮาดวิทยาการ เมื่อมีการตรวจสอบหลักฐานพยาน วัตถุต่างๆ ที่ได้จากการตรวจค้นโรงเรียน นำมาซึ่งการสั่งปิดปอเนาะญิฮาด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549


ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยเจออุปกรณ์ประกอบระเบิด ชุดวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เอกสารเชื่อมโยงการก่อเหตุ สั่งปิดโรงเรียนอิสลาม บูรพา ทันทีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2550
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555 ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำพิพากษาคดีสำคัญคดีหนึ่ง นั่นคือคดีที่ศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย 5 คนจาก 7 คนที่ถูกจับกุมพร้อมยึดอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมากได้ภายในโรงเรียนอิสลาม บูรพา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาชื่อดัง ตั้งอยู่ที่ ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส


            ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายมะนาเซ ยา, นายมามะคอยรี สือแม, นายแวอัสมิง แวมะ, นายโมหะหมัดซอฮีมี ยา, นายมะฟารีส บือราเฮง, นายรุสลี ดอเลาะ และนายฮารง หรือ อารง บาเกาะ เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร ความผิดต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อาวุธปืนฯ และความผิดต่อพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม

           คำฟ้องสรุปว่า จำเลยทั้ง 7 และ นายตอริก พีรีซี ซึ่งเป็นเยาวชนและได้แยกดำเนินคดีต่างหากแล้ว กับพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรม กล่าวคือประมาณต้นปี 2547 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2550 จำเลยทั้ง 7 กับพวกร่วมกันเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลชื่อ "ขบวนการกู้ชาติรัฐปัตตานี" หรือ "ขบวนการบีอาร์เอ็น" ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อเป็นกบฏแบ่งแยกราชอาณาจักรและยึดอำนาจการปกครองใน จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส และ จ.สงขลา บางอำเภอ แล้วจัดตั้งเป็นรัฐขึ้นใหม่ โดยสะสมกำลังพลและอาวุธ ให้และรับการฝึกการก่อการร้าย ยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนร่วม และก่อเหตุรุนแรงต่างๆ

             สืบเนื่องมาจากวันที่ 2 ก.ค.2550 เกิดระเบิดที่สวนยางพาราของ นายสุข คงจันทร์ บริเวณบ้านเขานาคา หมู่ 5 ต.กะลุวอ อ.เมืองนราธิวาส เจ้าหน้าที่เข้าตรวจที่เกิดเหตุ พบหลุมระเบิดและหยดเลือด จึงสันนิษฐานว่าคนร้ายจะวางกับระเบิด แต่เกิดระเบิดขึ้นก่อนจนตัวเองได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เจ้าหน้าที่พบรอยเลือดเป็นทางยาวจากหลุมระเบิดประมาณ 30เมตร หายเข้าไปในสวนยางพาราหลังโรงเรียนอิสลามบูรพา ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ หมู่ 5 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองนราธิวาส จึงเข้าทำการปิดล้อมตรวจค้น พบเชื้อปะทุไฟฟ้า 24 ดอก เชื้อปะทุชนวน 8 ดอก ซึ่งเป็นวัตถุระเบิด เมื่อนำมาประกอบรวมกับปุ๋ยยูเรีย น้ำมันเบนซิน แอมโมเนียมไนเตรท นาฬิกาข้อมือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ชุดวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และตะปูคอนกรีต จะเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่ทำอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย

           โรงเรียนอิสลามบูรพาเป็นโรงเรียนประจำ มีครูเวรสลับกันทำหน้าที่ตรวจตราตั้งแต่เช้าถึง 23.00 น.ของทุกวัน มีการจัดระบบดูแลรักษาความปลอดภัยภายในโรงเรียน บุคคลภายนอกเข้าไปอาศัยอยู่ได้ย่อมต้องได้รับความช่วยเหลือหรือยินยอมจากผู้ ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น จึงเชื่อว่าอุสตาซของโรงเรียน รู้เห็นเป็นใจให้ผู้ก่อเหตุรุนแรง เข้าไปพักอาศัยที่ถูกตรวจค้นจับกุม

             นี่คือผลผลิตของโรงเรียนปอเนาะที่ได้ปลุกฝังแนวความคิดที่ผิดแก่นักเรียน แต่ไม่ได้หมายความว่าเหมารวมโรงเรียนปอเนาะทั้งหมด โรงเรียนที่ดีๆ ก็มีอยู่เยอะ ซึ่งถ้าหากฝ่ายผู้บริหาร ครู และอุสตาสของโรงเรียนปอเนาะฉาวดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการโจรก่อการร้ายแล้ว โรงเรียนก็คงไม่โดนสั่งปิด ซึ่งตัวอย่างที่ได้จากการตรวจค้น อย่างเช่น


           เอกสารขั้นตอนสู่ความสำเร็จ เป็นแผนผังลักษณะขั้นบันได 7 ขั้น ที่ตรวจพบในโรงเรียนปอเนาะญิฮาดวิทยา ซึ่งมีเนื้อหาเป็นแผนงานต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน (มีลักษณะเป็นข้อความเขียนด้วยลายมือเป็นภาษามลายู อักษรยาวี และนำมาโรเนียวเพื่อทำสำเนาเอกสารสำหรับแจกจ่าย) และมีบันทึกเพิ่มเติมเขียนด้วยลายมือ คล้ายกับเป็นการอธิบายขยายความ




               ประวัติศาสตร์ และการต่อสู้ของรัฐปัตตานีภาษามลายู เขียนโดย อายะ บางนรา และ อับดุล ดาวูด หนังสือ เจมาห์ อิสลามิยา/แผ่นบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การฝึกของกลุ่มก่อการร้าย อัลไคด้า และตะปูเรือใบ ตรวจพบในโรงเรียนปอเนาะญิฮาดวิทยา เมื่อ 18 พ.ค.48



           อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (ที่เชื่อว่านำไปประกอบระเบิด) ที่ตรวจพบภายในโรงเรียนปอเนาะอิสลาม บูรพา บรรจุอยู่ในถุงพลาสติกของร้านอีซีทีอิเล็กทรอนิกส์ สอบถามเจ้าของร้านได้รับการยืนยันว่าบุคคลที่โดนจับกุม มาซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากร้านอยู่บ่อยครั้ง

          การโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกระดมบิดเบือนประวัติศาสตร์ และ ปลุกกระแสความรักชาติปาตานีรวมทั้งการสอนประวัติศาสตร์ปาตานีในลักษณะบิดเบือนภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม หรือโรงเรียนปอเนาะ เพื่อให้เยาวชนมุสลิมมีความเกลียดชังชาวไทยพุทธ ยังคงดำเนินต่อไปควบคู่กับการจัดเวทีเสวนาของกลุ่ม PerMAS การสร้างกระแสทางสื่อ Social Media การใช้สื่อสังคมออนไลน์ทำการขยายผล การดำเนินการทางทหารสั่งการ RKK ทำการเผาโรงเรียนของรัฐบาล ความมุ่งหมายเพื่อไม่ต้องการให้เยาวชนมุสลิมเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าว แต่มีเป้าหมายให้เข้าเรียนในโรงเรียนปอเนาะแทน สร้างความหวาดกลัวด้วยการฆ่าครูชาวไทยพุทธ สุดท้ายไม่กล้าอยู่ย้ายหนีออกนอกพื้นที่ เพื่อต้องการให้ครูมุสลิมฝ่ายขบวนการเข้าสอนแทน นี่คือแผนชั่วร้ายของขบวนการ BRN ชี้ให้เห็นว่า “ความเกี่ยวพันของโรงเรียนปอเนาะกับขบวนการโจรก่อการร้าย" แนบแน่นเหมือนเนื้อเดียวกันโดยแยกกันไม่ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม