วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ดับไฟใต้..ด้วยแนวทาง‘สันติวิธี’





             ความไม่สงบในภาคใต้นั้นมีรากเหง้าความเป็นมาจากอดีตที่สั่งสมสืบทอดกันมานับศตวรรษ แต่นั่นก็ ไม่สำคัญเท่ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งสร้างความทุกข์ยากและความอึดอัดคับข้องใจด้วยสาเหตุทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา อำนาจรัฐที่รวมศูนย์และไม่สามารถให้ความยุติธรรมตลอดจนสวัสดิภาพ แก่ประชาชนก็ดี วัฒนธรรมจากส่วนกลางที่นิยามความเป็นไทยอย่างคับแคบจนปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็ดี กลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพลที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐในการแย่งชิงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐสูญเสียความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็ขยายแนวร่วมให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น พร้อมกันนั้นอำนาจรัฐที่ถดถอยก็เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลสามารถเคลื่อนไหวและสร้างสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
         การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีหมายถึงการสลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ และดียิ่งกว่านั้นก็คือ ดึงประชาชนเหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมของรัฐแทน จะทำเช่นนั้นได้การทำงานกับมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการฝึกฝนให้พูดภาษามลายูท้องถิ่น เข้าใจพื้นฐานของศาสนาอิสลามและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ โดยเฉพาะในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน อาทิ จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนามาร่วมเป็นกรรมการ ทั้งในระดับจังหวัดลงไปถึงระดับตำบล โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ อบต. หรือคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ซึ่งทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน สร้างความสมานฉันท์ในชุมชน รวมทั้งดูแลรักษา ความปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านหรือตำบลไปจนถึงระดับจังหวัด
         ขณะเดียวกัน การให้หลักประกันทางด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนก็จะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่กระทำด้วยการออกคำสั่งหรือเอ่ยปาก “กำชับ” เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น มาตรการที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม คณะกรรมการติดตามการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่มีเงื่อนงำ คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิประชาชน ศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้สูญหายหรือถูกสันนิษฐานว่าถูกอุ้มฆ่า ทั้งนี้โดยประกอบด้วยบุคคลในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ในความซื่อสัตย์สุจริต มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
          สันติวิธีจะได้ผลต้องอาศัยความอดทนเพราะมักไม่ให้ผลทันทีทันใด เนื่องจากไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ให้ผลในระยะยาวและยั่งยืนกว่า ในขณะที่วิธีรุนแรงนั้นดูเหมือนให้ผลทันใจ เพราะเห็น “ผู้ร้าย” ตายไปต่อหน้าต่อตา แต่ปัญหาหาได้หมดไปไม่ ความรุนแรงยังคงอยู่ต่อไปและ “ผู้ร้าย” ก็ยังเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะรากเหง้ายังคงอยู่ วิธีรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ปัญหาสงบลงอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามมักสงบลงช้ากว่าการแก้ด้วยสันติวิธีเสียอีก และในที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาขึ้นโต๊ะเจรจาแทน เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนไม่น้อยมีความอดทนอย่างยิ่ง และพร้อมใช้สันติวิธีเพื่อเอาชนะใจประชาชน นี้คือต้นทุนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะใช้สันติวิธีเพียงใด และกล้าคิดนอกกรอบหรือไม่ ถ้าหากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นและกล้าคิดกล้าทำนอกกรอบ ขณะเดียวกันประชาชนทั่ว ทั้งประเทศก็สนับสนุน การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีย่อมเป็นอันหวังได้อย่างแน่นอน
          ความไม่สงบในภาคใต้นั้นมีรากเหง้าความเป็นมาจากอดีตที่สั่งสมสืบทอดกันมานับศตวรรษ แต่นั่นก็ ไม่สำคัญเท่ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งสร้างความทุกข์ยากและความอึดอัดคับข้องใจด้วยสาเหตุทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา อำนาจรัฐที่รวมศูนย์และไม่สามารถให้ความยุติธรรมตลอดจนสวัสดิภาพ แก่ประชาชนก็ดี วัฒนธรรมจากส่วนกลางที่นิยามความเป็นไทยอย่างคับแคบจนปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็ดี กลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพลที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐในการแย่งชิงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐสูญเสียความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็ขยายแนวร่วมให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น พร้อมกันนั้นอำนาจรัฐที่ถดถอยก็เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลสามารถเคลื่อนไหวและสร้างสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
          การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีหมายถึงการสลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ และดียิ่งกว่านั้นก็คือ ดึงประชาชนเหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมของรัฐแทน จะทำเช่นนั้นได้การทำงานกับมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการฝึกฝนให้พูดภาษามลายูท้องถิ่น เข้าใจพื้นฐานของศาสนาอิสลามและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ โดยเฉพาะในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน อาทิ จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนามาร่วมเป็นกรรมการ ทั้งในระดับจังหวัดลงไปถึงระดับตำบล โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ อบต. หรือคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ซึ่งทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน สร้างความสมานฉันท์ในชุมชน รวมทั้งดูแลรักษา ความปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านหรือตำบลไปจนถึงระดับจังหวัด
           ขณะเดียวกัน การให้หลักประกันทางด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนก็จะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่กระทำด้วยการออกคำสั่งหรือเอ่ยปาก “กำชับ” เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น มาตรการที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม คณะกรรมการติดตามการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่มีเงื่อนงำ คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิประชาชน ศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้สูญหายหรือถูกสันนิษฐานว่าถูกอุ้มฆ่า ทั้งนี้โดยประกอบด้วยบุคคลในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ในความซื่อสัตย์สุจริต มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น สันติวิธีจะได้ผลต้องอาศัยความอดทนเพราะมักไม่ให้ผลทันทีทันใด เนื่องจากไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ให้ผลในระยะยาวและยั่งยืนกว่า ในขณะที่วิธีรุนแรงนั้นดูเหมือนให้ผลทันใจ เพราะเห็น “ผู้ร้าย” ตายไปต่อหน้าต่อตา แต่ปัญหาหาได้หมดไปไม่ ความรุนแรงยังคงอยู่ต่อไปและ “ผู้ร้าย” ก็ยังเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะรากเหง้ายังคงอยู่ วิธีรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ปัญหาสงบลงอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามมักสงบลงช้ากว่าการแก้ด้วยสันติวิธีเสียอีก
        และในที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาขึ้นโต๊ะเจรจาแทน เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนไม่น้อยมีความอดทนอย่างยิ่ง และพร้อมใช้สันติวิธีเพื่อเอาชนะใจประชาชน นี้คือต้นทุนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะใช้สันติวิธีเพียงใด และกล้าคิดนอกกรอบหรือไม่ ถ้าหากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นและกล้าคิดกล้าทำนอกกรอบ ขณะเดียวกันประชาชนทั่ว ทั้งประเทศก็สนับสนุน การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีย่อมเป็นความหวังได้อย่างแน่นอน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม