หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“มูลนิธิเอเชีย” แหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่ม PerMAS


แบมะ ฟาตอนี

          กลุ่มสหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS) ขอรับเงินสนับสนุนทุนจากมูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) จำนวน 1.8 ล้านบาท สร้างมวลชนกลุ่มเป้าหมาย 900 คน ครอบคลุม 30 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมจัดตั้งหมู่บ้านปกครองตนเอง โดยมี นายบูคอรี ลาเตะ รองประธาน PerMASเป็นประธานภายใต้ชื่อ“โครงการเพิ่มศักยภาพแกนนำองค์กรเยาวชนเพื่อสันติภาพ”




          กลุ่ม PerMAS มีความพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อที่จะขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพฉบับประชาชน โดยมีเป้าหมายให้มีการลงประชามติ กำหนดใจตนเอง เพื่อต้องการแบ่งแยกดินแดนนำไปสู่เอกราชเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกับขบวนการ BRN ในขณะที่กระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับ BRN ไม่มีความคืบหน้าก่อนหน้านี้ในการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับ BRN ที่มีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก กลุ่ม PerMAS ยังแสดงท่าทีเคลือบแคลงสงสัยมาโดยตลอดและพยายามแสดงจุดยืนของตัวเอง มีการปลุกกระแส SATU PATANI พร้อมๆ กับการโฆษณาชวนเชื่อทุกรูปแบบเพื่อให้ประชาชนเห็นด้วยกับแนวทางที่กลุ่ม PerMAS ปูทางไว้ มีการปลุกกระแสชาตินิยมฟาตอนี




            BRN ยืมมือกลุ่ม NGOs แนวร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านมวลชน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้กองกำลังทางทหารในการก่อเหตุกลุ่มPerMAS คือกลุ่มที่เคลื่อนไหวสนับสนุน BRN อย่างชัดเจน บางฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงจึงสรุปฟันธงว่ากลุ่มนักศึกษาเคลื่อนไหวสอดรับกับแนวทางของขบวนการแบ่งแยกดินแดน สื่อบางแขนงก็หยิบไปนำเสนอข่าวทำนองว่าขบวนการนักศึกษาเป็นปีกหนึ่งของ“บีอาร์เอ็น” แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามกับข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของนักศึกษาชายแดนใต้ก็ยังคาใจฝ่ายความมั่นคงกับผู้คนในสังคมจำนวนไม่น้อยอยู่เหมือนเดิม และคงไม่มีใครไขข้อข้องใจทั้งหมดนี้ได้

          กลุ่มนักศึกษาที่เป็นร่มขององค์กรต่างๆในขณะนี้คือ PerMAS หมายถึง สหพันธ์นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเยาวชนปาตานีองค์กรนี้แปลงมาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) เดิม ซึ่งสนน.จชต.เป็นการรวมตัวของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแต่ละจังหวัดของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งปัจจุบันยุบไปหมดแล้ว เหลือ PerMAS องค์กรเดียว รวมทั้ง PNYs (กลุ่มนักศึกษาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมตัวแทนนักศึกษาปาตานีทั้งในประเทศและต่างประเทศมีนโยบายสำคัญคือ “SATU PATANI” หรือ “หนึ่งปาตานี” (นัยยะหมายถึงปาตานีเป็นหนึ่งเดียว) องค์กรฐานของ PerMAS มี ๓๐-๓๗ องค์กร ทั้งองค์กรที่เป็นอิสระและองค์กรที่เป็นสโมสรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ ไม่เกี่ยงว่าต้องเป็นมุสลิมเท่านั้น แต่ต้องเป็นปาตานี



ประเด็นหลักในการเคลื่อนไหวของกลุ่ม Permas

           ปลุกกระแสความเป็นชาตินิยม มลายูปาตานี และให้ประชาชนออกมากำหนดชะตากรรมของตัวเอง รณรงค์ให้ใช้คำทักทาย SatuPatani (สาลามปาตานีหนึ่งเดียว) อ้างว่า การพูดคุยสันติภาพไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ บิดเบือนการดำเนินนโยบายของรัฐว่า ไม่เป็นธรรมต่อประชาชนใน ๓ จชต. จากนโยบายการพัฒนา การใช้กฎหมายพิเศษใน จชต. บิดเบือนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน อาทิ กรณีควบคุมครูตาดีกา กรณีศาลฎีกาตัดสินจำคุก นายมูฮำหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ“อันวาร์”



องค์กร LEMPAR เป็นที่ปรึกษา กลุ่ม PerMAS

           สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา หรือ LEMPAR สมาชิกส่วนใหญ่เป็นอดีตแกนนำของ PNYS, PerMAS, สนมท.ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่PerMAS และผู้บรรยายในเวที Bicara Patani สมาชิก LEMPAR อาทิ นายอาเต็ฟ โซ๊ะโก นายตูแวดานียา ตูแวแมแง นายมูฮำมัดอาลาดี เด็งนิ และนายอัซฮาร์สารีมะเจ๊ะ กลุ่ม PerMAS เคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับการลงนามพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนรัฐไทยกับกลุ่ม BRN เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2556 และมีการกล่าวอ้างว่าประชาชนเริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต้องการรับรู้การเมืองในปัจจุบัน และอ้างความต้องการของประชาชนในการออกมากำหนดชะตากรรมของตัวเอง - จะจัดควบคู่กับกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น งานตาดีกาสัมพันธ์ งานเด็กกำพร้า งานรับบริจาคสมทบทุนสร้างห้องสมุดจะเลือกหมู่บ้านที่รัฐอ้างว่าเป็นพื้นที่สีแดงก่อน หมู่บ้านที่นักศึกษาเคยไปทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งในต่างประเทศที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปอาศัยอยู่ในการประกอบอาชีพและไปศึกษาต่อ



          จากบทบาทของกลุ่ม PerMAS ที่ได้ทำการเคลื่อนไหวงานด้านการเมืองควบคู่งานด้านการทหารของกลุ่ม BRN ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ การกำหนดใจตนเองเพื่อมุ่งไปสู่การลงประชามติก้าวไปสู่เอกราชปลดแอกจากการปกครองของรัฐไทย โดยการเรียกร้อง “สิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดน” ซึ่งจากพฤติกรรมของกลุ่มองค์กรดังกล่าว การได้มาซึ่งแหล่งเงินทุนสนับสนุนในการเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งได้มาจากเงินของพ่อค้ายาเสพติดน้ำมันเถื่อน และสินค้าหนีภาษี โดยผ่านนายอาเต็ฟ โซ๊ะโก ฝ่ายต่างประเทศสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LAMPAR) ซึ่งเป็นที่ปรึกษากลุ่ม PerMAS

           เมื่อวันที่ 16 – 18 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาโครงการ “การใช้ทฤษฎีแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่โรงแรมตันหยง ถ.โสภาพิสัย อ.เมือง จ.นราธิวาส ผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคมที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิเอเชีย ซึ่งองค์กรที่เคลื่อนไหวเป็นแนวร่วมฝ่าย BRN เข้ารับการอบรมอาทิเช่น สถานีวิทยุมีเดียสลาตัน กลุ่ม PerMASสำนักสื่อ Wartani สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ (Wepeace) มูลนิธิทนายความมุสลิม กิจกรรมประกอบด้วย การอธิบายหนังสือสัญญาเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ และการจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการและรายงานด้านการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคมใน จชต. ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชีย ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

        แต่เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งที่มีองค์กรระหว่างประเทศบางองค์กร ทั้งที่ทราบดีว่าบทบาทของกลุ่ม PerMAS ที่ทำการเคลื่อนไหวต่อสู้มุ่งไปสู่เอกราชแยกตัวเป็นอิสระ และเป็นปีกหนึ่งของขบวนการ BRN แต่กลับแกล้งโง่หลับหูหลับตา เอาหูไปนาเอาตาไปไร่สร้างความปั่นป่วนด้วยการสนับสนุนเงินทุนในการจัดกิจกรรมนำไปสู่การสร้างความแตกแยก โดยเฉพาะล่าสุดมูลนิธิเอเชียเตรียมสนับสนุนเงินทุน 1.8 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่ม PerMAS นำไปสร้างมวลชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 900 คน ครอบคลุม 30 หมู่บ้าน เพื่อเตรียมจัดตั้งหมู่บ้านปกครองตนเองในนามส่วนตัวผู้เขียนเองไม่เห็นด้วยกับมูลนิธิเอเชียที่พยายามสุมปัญหาไฟใต้เพิ่มปัญหาที่ไม่มีวันจบ แทนที่จะสนับสนุนขบวนการพูดคุยสันติภาพบนโต๊ะเจรจาที่มีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ไม่เฉพาะมูลนิธิเอเชียเพียงเท่านั้นยังมีองค์กรระหว่างประเทศอีกหลายองค์กรที่ทำตัวเป็นอีแอบสนับสนุนทุนให้กับกลุ่ม NGOsเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อสู้รัฐไทย




วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาภายใน PerMAS ระส่ำ สุไฮมี ดูละสะ เตรียมลาออก


แบมะ ฟาตอนี


PerMAS แตกร้าว นายสุไฮมี ดูละสะ ประธานคนปัจจุบันเตรียมไขก๊อกลาออก
         เนื่องจากประสบปัญหาการบริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งโดนตำหนิจากการออกแถลงการณ์ การเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ และบุตรชาย เมื่อ 19 เม.ย.57

            การปฏิบัติหน้าที่ของ นายสุไฮมี ดูละสะ ในฐานะประธาน PerMAS ที่ผ่านมาได้วางแผนการปฏิบัติงานที่มีความแตกต่างจากการทำหน้าที่ของนายฮาเต๊ฟ โซ๊ะโก ประธาน PerMAS คนก่อนอย่างสิ้นเชิง นำองค์กรและบรรดาสมาชิกเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกรณีการเสียชีวิตของพี่น้องปาตานีหลายต่อหลายเหตุการณ์ด้วยกัน การตัดสินใจที่ผิดพลาดนำมาซึ่งได้รับคำตำหนิจากที่ปรึกษาองค์กร อย่างกรณีล่าสุดการออกแถลงการณ์การเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ และบุตรชาย



นายสุไฮมี ดุลละสะ คือ นอมินี นายฮาเต๊ฟ โซ๊ะโก

          จากการตั้งข้อสังเกตในการบริหารงานภายในองค์กรของกลุ่ม PerMAS เริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ นายสุไฮมี ดูละสะ เข้ารับตำแหน่งประธาน อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ได้อยู่ที่ตัวนายสุไฮมี ตัวจริงเสียงจริงที่คอยขับเคลื่อนกลุ่ม PerMAS คือ นายฮาเต๊ฟ โซ๊ะโก ต่างหาก และเป็นผู้ที่ดึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่ม PerMAS มาจากเงินรายได้ในการค้ายาเสพติด ซึ่งมีพ่อตาและญาติภรรยาดำเนินการอยู่ นายสุไฮมี เป็นแค่หุ่นเชิดที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาด เมื่อความอัดอั้นตันใจไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ จึงมีการดื้อเพ่งแหกกฎกระทำการบางอย่างลงไปโดยไม่ผ่านคณะที่ปรึกษา นำมาซึ่งการโดนตำหนิถึงความผิดพลาดในการตัดสินใจแถลงการณ์อื้อฉาว ความร้าวฉานจึงเกิดขึ้นภายในองค์กร รอวันแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ทางใครทางมัน



BRN เดินเกม ใช้ PerMAS เป็นเครื่องมือ


           การรุกทางทหารของ BRN และใช้กลุ่ม PerMAS ในการปลุกระดมมวลชน ทำการโฆษณาชวนเชื่อทุกรูปแบบ ซึ่งระยะหลังมานี้รูปแบบการเคลื่อนไหวของ PerMAS เหมือนได้รับใบสั่งมาจาก BRN ที่ทำงานสอดคล้องกันในทุกมิติ นายสุไฮมี ประธาน PerMAS เหมือนโดนกดดันในการทำหน้าที่ เดินทางลงพื้นที่ความขัดแย้งที่มีการสูญเสียทำการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติทางทหารของ BRN จากการสร้างข้อมูลเท็จขึ้นมาจนนำไปสู่ความเกลียดชังของผู้ที่รู้เท่าทัน อีกทั้งถูกจับตามองจากหน่วยงานภาครัฐที่มีการล้ำเส้นสร้างความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน ประจานการทำงานในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง



        แถลงการณ์ PerMAS : กรณีคนร้ายกราดยิงที่บันนังสตา คือต้นเหตุความขัดแย้ง
แถลงการณ์สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานีเรื่องกรณีคนร้ายกราดยิง ด.ช.ลุกมาน อภิบาลแบ อายุ 6 ปี 2 เดือนและบิดา นายมุกตาร์ อาลีมาม ะซึ่งในแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของการตำหนิ นายสุไฮมี ดูละสะ จากกลุ่มที่ปรึกษา PerMAS มาดูกันว่าการเรียกร้อง 3 ข้อ มีเนื้อหาสาระอะไรบ้าง



  • ข้อที่ 1 รัฐไทยควรยอมรับว่าที่นี้คือสงครามที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนและควรเปิดพื้นที่ให้องค์กรสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนที่ประชาชนไว้ใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่ละเมิดหลักมนุษยธรรม
  • ข้อที่ 2 รัฐไทยควรเอาจริงเอาจังกับยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการสร้างสันติภาพแก่ประชาชนที่แท้จริง
  • ข้อที่ 3 รัฐไทยควรถอดถอนทหารออกจากพื้นที่ให้หมดเพราะพิสูจน์แล้วว่าตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีมีทหารเต็มพื้นที่ก็ไม่สามารถรักษาความสงบสุขแก่ประชาชนได้รังแต่สร้างความคลางแคลงสงสัยตลอดจนสร้างเงื่อนไขใหม่เพิ่มเติมตลอดเวลา
           การออกมาแถลงการณ์ของกลุ่มและองค์กรต่างๆ ในระยะหลังมานี้ส่วนใหญ่มุ่งเป้ามาที่หน่วยงานความมั่นคง ทั้งที่จริงแล้วบางเหตุการณ์เป็นเรื่องของความขัดแย้งส่วนตัว อย่างเช่นกรณีการเสียชีวิตของนายมุกตาร์ อาลีมามะ และบุตรชาย ประเด็นแรก อาจมาจากสาเหตุการหักหลังกันเองในกลุ่ม RKK ประเด็นที่สอง อาจจะเกิดจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่มค้าไม้เถื่อน เป็นชนวนนำไปสู่ความตายเนื่องจากขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ไม่ลงตัว ซึ่งหากดูท่าทีที่ปรึกษาของ PerMAS ที่ไม่พอใจต่อการออกแถลงการณ์ของ นายสุไฮมี ดูละสะ ประธาน PerMAS เบื้องลึกจริง ๆ น่าจะเกิดจากปัญหาความขัดแย้งของแกนนำ RKK ในพื้นที่เอง



           ปัญหาภายในของกลุ่ม PerMAS มาจากส่วนตัวของ นายสุไฮมี ดูละสะ ประธาน PerMAS เอง ที่เกิดความเบื่อหน่วย โดนสังคมในสื่อสังคมออนไลน์โจมตีอย่างหนัก บวกกับโดนตำหนิจาการออกแถลงการณ์บิดเบือนความจริง การไม่มีเอกภาพและไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กร นำมาซึ่งความล้มเหลวในด้านต่าง ๆ  และที่สำคัญ นายสุไฮมี มีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไปเข้ารับการศึกษาต่อในต่างประเทศ อาจเป็นประเด็นนำไปสู่การคิดวางมือจากการเป็นประธานกลุ่ม PerMAS ต้องจับตามองกันต่อไปว่าบทบาท PerMAS ซึ่งเป็นปีกของขบวนการ BRN จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นภายในองค์กร ที่แน่ๆ

          ณ วันนี้ความขัดแย้งได้ก่อตัวขึ้นเงียบๆ ภายใน PerMAS เปรียบเสมือนแก้วที่มีรอยร้าวยากที่จะประสานรอวันแตกสลาย ไม่มีใครคิดทำลายองค์กร PerMAS ได้แต่คนภายในองค์กรเองกลับทำลายกันเอง

ระเบิดป่วนเมือง สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส



            เมื่อเวลา 19.30 น.วันที่ 11 พ.ค. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิด จำนวน 3 จุด ภายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

  • จุดแรกข้างร้านอาหารจันตุหลี ถนนลูกเสืออนุสรณ์ ซอย 7 พบเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นคลิก ทะเบียน ขขฉ 9 นราธิวาส ตกกระจายเกลื่อนพื้นถนน ส่วนร้านอาหารจันตุหลี ถูกแรงอัดของระเบิดเสียหายยับเยิน และนอกจากนี้ ยังมีบ้านเรือนของชาวบ้านได้รับความเสียหายอีกจำนวนหนึ่ง 
  • จุดที่ 2 บริเวณข้างร้านโชว์รูมจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ของบริษัทพิธานพาณิชย์ จำกัด ถนนบุษยพันธ์ พบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่กล่องเหล็กไปวางไว้หน้าประตูทางเข้าโชว์รูม ทำให้ได้รับความเสียหายเล็กน้อย 
  • จุดที่ 3 หน้าโชว์รูมจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า และรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ของบริษัทพิธาน พาณิชย์ จำกัด เช่นกัน ถนนประชาวิวัฒน์ พบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อยามาฮา รุ่นสปาร์ค ทะเบียน ขขฉ 44 นราธิวาส โดยบนถนนพบศพ นางสาลิกา มามะ นอนจมกองเลือดเสียชีวิตอยู่บนถนน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 1 ราย ถูกนำตัวส่งรักษา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก อีกประมาณ 15-30 นาที ต่อมา ได้เกิดเหตุระเบิดตามขึ้นมาอีก จำนวน 3 จุด 
  • จุดที่ 4 บริเวณหน้าโชว์รูมจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อซูซูกิ ถนนเจริญเขต เป็นระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในกล่องเหล็กหนักประมาณ 5 กก. 
  • จุดที่ 5 บริเวณคูระบายน้ำริมถนนเอเชีย 18 ข้างวงเวียนนกสันติภาพ พบเป็นระเบิดแสวงเครื่องหนัก 5 กก. ที่คนร้ายซุกไว้ในคูระบายน้ำริมถนน 
  • จุดที่ 6 บริเวณโคนเสาไฟฟ้าริมถนนทรายทอง ตรงข้ามสวนสาธารณะสิรินธร พบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องหนัก 5 กก. ซึ่งทั้ง 6 จุดมี ผู้ได้รับบาดเจ็บรวมทั้งสิ้น 9 ราย ประกอบด้วย 

  • 1.น.ส.ซูไฮดา บินตาเละ 
  • 2.นายไกรสร แสงจันทร์ 
  • 3.นายซุลกิฟลี แวมะมิง 
  • 4.นายพงษ์ศักดิ์ แก้วกาญจนา 
  • 5.น.ส.นูรซาดา สามะแอ 
  • 6.นายรอซาลี สาและ 
  • 7.น.ส.อัมพร แซ่เลง 
  • 8.นางลีเมาะ มามะนอ 
ทั้งหมดถูกนำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

          ต่อมาเวลา 03.00 น. วันที่ 12 พ.ค.
  •  จุดที่เจ็ด เกิดเหตุระเบิดบริเวณร้านซุปเปอร์เซ็นเตอร์ ถ.วงศ์ประดิษฐ์ เขตเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก และเวลา 04.00 น. 
  • จุดที่แปด เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้างซุปเปอร์ซีดี ถ.สฤษดิ์วงศ์ โดยทั้ง 2 ร้าน คนร้ายวางระเบิดไว้ด้านใน ทำให้ร้านเสียหายบางส่วน ขณะที่พื้นที่ อ.สุไหงปาดี ในเวลาไล่เลี่ยกัน เกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิง จำนวน 7 จุด ในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู อ.สุไหงปาดี 
  • จุดแรก เวลา 20.00 น. คนร้ายซุ่มโจมตีฐานปฏิบัติการตลาดล่าง ต.ปะลุรู มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย 
  • จุดสอง เวลา 20.30 น.ที่โรงเรียนบ้านโคกตา ม.1 ต.ปะลุรู พบเพลิงกำลังลุกไหม้อาคารเรียนไม้ขนาด 2 ชั้น จนวอดไปทั้งหลัง 
  • จุดที่สาม เวลา 20.30 น.โรงเรียนอิสลามบำรุง เขตเทศบาลปะลุรู พบเพลิงลุกไหม้อาคารเรียนไม้ขนาด 1 ชั้น จนวอดไปทั้งหลังเช่นกัน 
  • จุดที่สี่ ที่บ้านพักห้องแถวของชาวบ้านริมถนจารุเสถียร พบเพลิงกำลังลุกไหม้บ้านพักไม้ 2 ชั้นจอดวอดไปรวม 5 คูหา และนอกจากนี้ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ อส.อ.สุไหงปาดี กำลังเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุได้ถูกคนร้ายดักซุ่มยิงได้รับบาดเจ็บ จำนวน 1 นาย ทราบชื่อคือ อส.สะมะแอ เจ๊ะดอเลาะ ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณลำตัวถูกนำตัวส่งรักษาโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก 
  • จุดที่ห้า เวลา 20.30 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณตลาดล่าง เขตเทศบาลปะลุรู 
  • จุดที่หก เวลา 20.30 น. เพลิงไหม้ร้านปะยางรถยนต์ เขตเทศบาลปะลุรู 
  • จุดที่เจ็ด เวลา 20.30 น. เพลิงไหม้ร้านขายข้าวไทยพุทธ เขตเทศบาลปะลุรู มีเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 1 นาย ส.ต.ต.วัชรินทร์ ขันติพันธ์ 
          พื้นที่ อ.ตากใบ เกิดเหตุป่วนขึ้น 7 จุด โดยเกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันตั้งแต่ 20.15 น. แยกเป็นเหตุระเบิด 4 จุด
  • จุดแรกเกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิด 2 ลูกใส่ด่านปราบปรามทางทะเล ตาบา ของ ตำรวจน้ำ ระเบิดทำงาน 1 ลูก และไม่ทำงานอีก 1 ลูก 
  • จุดที่สองเกิดเหตุระเบิดบริเวณด่านปราบปรามทางทะเล ข้างถังขยะ คนร้ายบรรจุระเบิดในรถไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 
  • จุดที่สาม บริเวณรอยต่อศรีพะงัน บ.สันติสุข และ
  • จุดที่สี่ ข้าง อบต.เกาะสะท้อน วัตถุต้องสงสัย 1 จุด โรยตะปูเรือใบและใบปลิว ในพื้นที่เกาะสะท้อน และ ต.เจ๊ะเห ในพื้นที่ตากใบมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากแรงระเบิด รวม 5 ราย ส่วนใหญ่หูอื้อ 
































             จังหวัดยะลา เมื่อเวลา 19.30 น. ของวันที่ 11 พค.57 ที่ อ.ยะหา เกิดเหตุ ระเบิดเสาไฟฟ้าริมถนนสายบาโงยซิแน - ยะหา หมู่ 1 บ้านเจาะปูแน ต.บาโงยซิแน อ.ยะหา จ.ยะลา เสาไฟฟ้าได้รับความเสียหาย หัก จำนวน 3 ต้น พบเศษกล่องเหล็ก เศษยางในรถจักรยาน เศษโทรศัพท์มือถือซัมซุงฮีโร่ เศษแผงวงจร เป็นระเบิดแสวงเครื่องน้ำหนักประมาณ 3-5 กก. บรรจุในกล่องเหล็กที่คนร้ายนำมาผูกไว้ที่โคนเสาไฟฟ้า ทั้ง 3 ต้น จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ที่บ้านกาโต๊ะ หมู่ 7 ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา คนร้ายได้ลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้เสาไฟฟ้าโค่นหักขวางถนน จำนวน 10 ต้น พื้นที่ อ.เมือง

          เมื่อเวลา 19.30 น. เกิดเหตุระเบิดเสาไฟฟ้า ริมถนนสาย 410 บ้านกูแบปุโรง หมู่ที่ 5 ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา เสาไฟฟ้าได้รับความเสียหาย จํานวน 3 ต้น ที่ อ.บันนังสตา เกิดเหตุคนร้ายลอบวางเพลิง อบต.บันนังสตา ได้รับความเสียหาย จากนั้นคนร้ายได้ใช้อาวุธปืนยิงรบกวนฐานทหาร ฉก.ยะลา 16 ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ระเบิดเสาไฟฟ้าที่ ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา เสียหาย 1 ต้น มีราษฎรบาดเจ็บเล็กน้อย 1 ราย เผารถดับเพลิงเทศบาลบันนังสตา เสียหาย จํานวน 1 คัน เกิดเหตุระเบิดเสาไฟฟ้า บ้านบาเจาะ หมู่ที่ 4 ต.บาเจาะ และเผายางรถยนต์ที่บ้านป่าหวัง หมู่ที่ 11 ต.บันนังสตา ที่ อ.ธารโต เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้า หน้าโรงพยาบาลธารโต ได้รับความเสียหาย จำนวน 2 ต้น และเผายางรถยนต์บนถนนสาบ 410 ที่บ้านแหร จํานวน 1 จุด และ ที่ อ.กรงปินัง เกิดเหตุคนร้ายเผายางรถยนต์บริเวณหน้าปั๊มน้ํามัน ปตท. อ.กรงปินัง และคนร้ายเผายางรถยนต์ บนถนนสาย 410 บ้านกีเยาะ หมู่ที่ 4 ต.กรงปินัง อ.กรงปินัง จ.ยะลา