สภาซูรอ เรื่องด่วนของชาติ อย่านิ่งนอนใจ | |
ผ่านร่าง พรบ.อิสลาม........... ผ่านการแบ่งแยกการปกครอง เรื่องเดิม นายนิเดร์ วาบา นายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม / ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ ได้อาศัยความเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความเชื่อถือจาก นายกรัฐมนตรี เสนอการแก้ไข พรบ.บริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.๒๕๔๐ โดยอ้างเหตุผลในการขอแก้ไขดังนี้ ๑. พรบ. ปี.๒๕๔๐ ได้ก่อให้เกิดการแตกแยก และสร้างปัญหาให้กับสังคมมุสลิมเป็นอย่างมาก การเลือกตั้งทุกระดับทำให้เกิดการแตกแยกอย่างยากที่จะประสานได้ โดยเนื้อหาสำคัญของ พรบ.ใหม่ คือ ใช้การสรรหาแทนการเลือกตั้ง และการตั้งสภาซูรอ ขึ้นมาเพื่อกำกับการดูแล กิจกรรมทั้งปวง เกี่ยวกับศาสนาอิสลามและองค์กรอิสลามทุกองค์กรแทนกรมการศาสนา ๒. “หาก พรบ.นี้ผ่าน สังคมมุสลิมเราจะไปสู่ระบบที่โปร่งใส... จะไม่มีใครบีบบังคับเหมือนเมื่อก่อน... จะได้คนที่มีคุณภาพมากขึ้น มีความคิดความอ่านในการปกครองตนเอง... เราขออำนาจการปกครองตนเอง ภายใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ ของบ้านเมือง ให้พี่น้องมุสลิมแก้ไขปัญหากันเอง...” ซึ่งสามารถสรุปนัยของการแก้ไข พรบ.อิสลาม ๒๕๔๐ ได้ว่า มีเจตนา แยกคนที่นับถือศาสนาอิสลามออกจากกฎหมายไทย / ออกจากการปกครองของรัฐไทย ดังนั้น การผ่านร่าง พรบ.อิสลาม ก็คือการยอมรับการแบ่งแยกการปกครอง โดยปริยายนั่นเอง โดยคนไทยพุทธก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายไทยและคนที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะอยู่ภายใต้กฎหมายอิสลาม ซึ่งปัญหาที่จะตามมาอีกมาก อาทิ เมื่อเกิดความขัดแย้งหรือคดีความระหว่างคนต่างศาสนาและต่างเชื้อชาติ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในประเทศไทยแล้ว จะหาข้อยุติไม่ได้ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจากต่างประเทศ ที่เดินทางเข้าประเทศไทยจะอยู่ภายใต้กฎหมายใด เป็นแรงกระตุ้นให้คนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องขอการปกครองด้วยขนบธรรมเนียมและประเพณีตนเอง วาระซ่อนเร้นของร่าง พรบ.การจัดตั้งสภาซูรอ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของพรบ.การจัดตั้ง สภาซูรอ ซึ่งร่างขึ้นโดย คณะกรรมการศาสนา ที่เป็นอิสลาม ๘ คน (รายชื่อดูผนวก) แล้วยิ่งจะพบความไม่ชอบมาพากลหลายๆ ประการ ในมาตรา ๘ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๒๙ ซึ่งส่อนัย ถึงการให้อำนาจแก่ผู้นำของศาสนาอิสลามในการเข้ามาแทรกแซง / ควบคุมการบริหารราชการของไทย การขยายการศึกษาไปในทิศทางที่รัฐบาลไทยไม่สามารถควบคุมได้ และการดูดซับทรัพยากรของคนทั้งประเทศไปสู่กลุ่มอิสลาม ซึ่งบางส่วนก็ถูกนำไปใช้เพื่อทำลายความเป็นไทยพุทธดังนี้.- ๑. มาตรา ๘ บัญญัติว่า จุฬาราชมนตรี มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม และได้เพิ่มข้อความในวรรคท้ายว่า “คำปรึกษาความเห็นและข้อวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีตามความในวรรค ๑ ให้เป็นที่สุด ส่วนราชการและมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตาม” ** แสดงให้เห็นว่าคำปรึกษาหรือความเห็น ของจุฬาราชมนตรีคือคำประกาศิต เป็นที่สุด ใครจะโต้แย้งใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น และบังคับให้ส่วนราชการไทย คือ ทั้ง ศาล(อำนาจตุลาการ), อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ จะต้องปฏิบัติตามอย่างไม่มีข้อแม้ ดังนั้น จุฬาราชมนตรี ก็จะกลายเป็นเจ้าชีวิตของมุสลิมทุกคน และสามารถบังคับข้าราชการไทย ให้ต้องปฏิบัติตามคำปะกาศิตของจุฬาราชมนตรี ในทุกเรื่อง / ๒. มาตรา ๑๓ ....... ๒. มาตรา ๑๓ บัญญัติว่า เมื่อเห็นสมควร กระทรวงศึกษาธิการอาจจัดตั้งอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และอิสลามวิทยาลัยประจำจังหวัดขึ้น เพื่อให้การศึกษาและอบรมทางวิชาการศาสนา วิชาการทั่วไปและวิชาชีพได้ **เพียงแค่โรงเรียนปอเนาะ ตาดีกา ที่เป็นแหล่งเพาะผู้ก่อการร้ายในปัจจุบัน รัฐบาลก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นหากปล่อยให้ขยายขึ้นมาถึงระดับเป็นอิสลามวิทยาลัย และจัดตั้งทุกจังหวัด โดยทั้งผู้เรียน ทั้งครูเป็นมุสลิมทั้งหมดด้วยแล้ว จะยิ่งไม่มีใครกล้าเข้าไปตรวจสอบการเรียนการสอน การอบรม ในอิสลามวิทยาลัยเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้โอกาสที่อิสลามวิทยาลัยเหล่านี้ จะกลายเป็นสถาบันบ่มเพาะมุสลิมหัวรุนแรง ระดับปริญญาตรี โท เอก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยดูดเอาทรัพยากร จากภาษีอากรของชาวพุทธไปหล่อเลี้ยง จึงมีความเป็นไปได้สูง ๓. มาตรา ๒๙ บัญญัติว่า “ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอความเห็นเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการภายในจังหวัด ” **นี้แสดงให้เห็นว่ากรรมการอิสลามประจำจังหวัดสามารถเข้าไปแทรกแซง สั่งการการทำงานของทุกส่วนราชการในจังหวัด ทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยราชการต่างๆ ได้ทั้งหมด ถ้าสั่งแล้วใครไม่เชื่อ ไม่ปฏิบัติตาม ก็สามารถรายงานไปยัง จุฬาราชมนตรี ประกาศิตลงมาบังคับได้ทันที ดังเช่นที่ทำสำเร็จมาแล้วอาทิ ๓.๑ ให้สตรีมุสลิมที่เป็นข้าราชการ ไม่ต้องแต่งเครื่องแบบ และสามารถแต่งกายโดยใช้ผ้าคลุมหน้าแบบมุสลิม มาปฏิบัติราชการได้ ๓.๒ ให้มีวันหยุดเพิ่มขึ้นคือวันศุกร์สำหรับข้าราชการที่เป็นชาวมุสลิม แสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิม มาทำงานสัปดาห์ละเพียง ๔ วัน และมีวันหยุด ๓ วัน มากกว่าคนไทยพุทธ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ๓.๓ มีการเสนอให้ใช้ภาษายาวี เป็นภาษาราชการ และข้าราชการชายนุ่งโสร่ง สวมหมวกปากีเยาะ ไปทำงานได้ เป็นต้น การดูดซับทรัพยากรจากรัฐบาลไทย การบัญญัติให้จังหวัดที่มีการจัดสร้างมัสยิดตั้งแต่ ๓ มัสยิดขึ้นไป ต้องจัดตั้งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอย่างน้อย ๙ คนและอย่างมากไม่เกิน ๓๐ คน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเตรียมการขยายการจัดตั้งมัสยิด ไปตามจังหวัดต่างๆ อย่างมากมายเช่น จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, หนองบัวลำภู, ขอนแก่น, ชัยภูมิ และจังหวัดสกลนคร โดยเริ่มแรกจะจัดตั้งเป็นบาลาเซาะคือมัสยิดเล็กๆ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล แล้วหลอกให้เด็กตามหมู่บ้านที่ยากจนมาเข้ารับการอบรม ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เพื่อปูพื้นฐานก่อนจะส่งเด็กเหล่านี้ ไปเข้าเรียนต่อในโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนปอเนาะ และโรงเรียน สอนศาสนาเอกชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะต้องให้เงินอุดหนุน ตามกฎกระทรวง มาตรา ๑๕(๒) สำหรับเด็กนักเรียนในระดับชั้นประถม หัวละ ๘,๐๐๐ บาท ระดับมัธยม หัวละ ๑๐,๐๐๐ บาทซึ่งเงินเหล่านี้ก็คือภาษีอากรของคนไทย ที่นับถือศาสนาพุทธ ๙๔ % เป็นส่วนใหญ่ ต้องแบกภาระภาษีไปหล่อเลี้ยงเด็กนักเรียนมุสลิม ซึ่งนักเรียนที่เข้ารับการเรียนด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่ จะกลายมาเป็นแนวร่วมที่กลับมาทำร้ายคนไทยพุทธ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ ตำรวจ/ทหาร และชาวบ้านธรรมดา เพื่อกดดันให้ออกจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน กลุ่มก่อเหตุยังมีวิธีการดึงดูดงบประมาณ ของคนทั้งประเทศโดยการ เผาโรงเรียนสามัญของทางราชการโดยอ้างว่าโรงเรียนคนไทย สอนให้นับถือวัตถุเป็นศาสดา นับถือเงินตราเป็นพระเจ้า ต้องเผาให้หมดสิ้น แต่เบื้องหลัง ก็คือต้องการให้เด็กไม่มีที่เรียน แล้วหันไปเข้าโรงเรียนปอเนาะ และโรงเรียนสอนศาสนาเอกชน เพื่อให้ได้เงินชดเชย ๘,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อคน นั้นเอง ทั้งนี้ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ที่สามารถหาเด็กมาเข้าเรียนได้ จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท ต่อนักเรียน ๑ คน นอกจากนั้นในโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนหลายแห่งที่มีแต่รายชื่อนักเรียน แต่ไม่มีนักเรียนจริง ดังเช่นที่โรงเรียนในเขตอำเภอสายบุรี ๑๐ กว่าแห่ง มีรายชื่อขอเบิกเงินแต่ไม่มีนักเรียน โรงเรียนดารุสลามในอำเภอระแงะ มีนักเรียน ๔,๐๐๐ กว่าคน ที่มีชื่อเบิกเงิน แต่มีนักเรียนจริงไม่ครบจำนวน โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา มียอดนักเรียน ๖,๐๐๐ กว่าคน แต่มีนักเรียนจริง....... คน อีกทั้งยังเป็นแหล่งบ่มเพาะผู้ก่อการร้ายอีกด้วย ซึ่งด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้เจ้าของสถานศึกษาเหล่านี้มีเงินไปสนับสนุน ขบวนการก่อการร้ายเพิ่มขึ้น ------------------------ ผนวก. พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาซูรอ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งโดย คมช. และได้รับคัดเลือกให้เป็น คณะกรรมาธิการศาสนา จำนวน ๑๑ คน ดังนี้.- ๑. นายกีรติ บุญเจือ คริสต์ ๒. นายวรเดช อมรวรพิพัฒน์ พุทธ ๓. นายเสถียรพงษ์ วรรณปก พุทธ ๔. นายวินัย สะมะอุน อิสลาม ๕. นายแว ดือ รมแม มะมิงจิ อิสลาม ๖. นายดำรง สุมาลยศักดิ์ อิสลาม ๗. นายแวมาฮาดี แวดาโอะ อิสลาม ๘. นายอับดุลเราะแม เจะแซ อิสลาม ๙. นายอับดุล รอซัค อาลี อิสลาม ๑๐. นายอิสมาแอล อาลี อิสลาม ๑๑. นายอิสมา ลลุตปี จะปากียา อิสลาม คณะกรรมการที่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้ง ๘ คน ได้เตรียมจัดร่างพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาซูรอ สำหรับใช้บริหารองค์กรอิสลาม และเตรียมเสนอเข้าพิจารณาในสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ และจะออกมามีผลบังคับใช้ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ------------------------------ | |
ผู้ตั้งกระทู้ หนุมาณ :: วันที่ลงประกาศ 2007-06-20 10:47:00 |
หน้าเว็บ
▼
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น