http://otvety.google.ru/otvety/thread?tid=02bb83d3daf15f68
ด้วยจิตน้อมระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
ซึ่งท่านได้กล่าวถึง " เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย"
ไว้อย่างน่าฟัง และเป็นประโยชน์ในการน้อมรับมาพิจารณาอย่างยิ่ง
อนึ่ง หากมีความผิดพลาดประการใด
ผู้คัดลอก ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
*******************
****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****
" ข้อที่ควรจะกล่าวในที่นี้สักหน่อย เป็นคติในทางธรรม ก็คือ เรื่องพระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย
ควรกล่าวถึงเหตุทั้งหลายที่ให้พุทธศาสนาต้องสูญสิ้นไปจากประเทศอินเดียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชัดเจน เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐
๑. เหตุอันแรกที่เราเห็นได้ พูดง่าย ๆ ว่าชาวพุทธเราใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย
นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้น
ก็สอนแต่เพียงหลักธรรมเป็นกลาง ๆให้คนประพฤติดี ทำความดี จะนับถือหรือไม่นับถือก็ไม่ได้ว่าอะไร
ถ้าเป็นคนดีแล้วก็ไปสู่คติที่ดีหมด ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวพุทธจึงจะไปสวรรค์ได้ หรือว่า ชาวพุทธที่มานับถือแล้วทำตัวไม่ดีก็ไปนรกเหมือนกัน อะไรทำนองนี้
เมื่อชาวพุทธได้เป็นใหญ่ เช่น อย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ครองแผ่นดินก็อุปถัมภ์ ทุกศาสนาเหมือนกันหมด แต่ผู้ที่ได้รับอุปถัมภ์เขาไม่ได้ใจกว้างตามด้วย เพราะฉะนั้น พวกอำมาตย์พราหมณ์ของราชวงศ์อโศกเอง ก็เป็นผู้กำจัดราชวงศ์อโศก จะเห็นว่าอำมาตย์ที่ชื่อ "ปุษยมิตร" ก็ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหลานของพระเจ้าอโศก แล้วตั้งชื่อราชวงศ์ใหม่ที่กำจัดชาวพุทธ อย่างที่เล่าเมื่อกี้
แต่ก็กำจัดไม่เสร็จสิ้น มีมาเรื่อย จนกระทั่งถึง "พระเจ้าหรรษวรรธนะ" ครองราชย์
อำมาตย์ที่เป็นฮินดูก็กำจัดพระองค์เสียอีก ก็เป็นมาอย่างนี้ จนในที่สุด มุสลิมก็เข้ามาบุกกำจัดเรียบไปเลย
เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐ นี้ ก็เป็นเหตุอันหนึ่งที่เห็นได้ง่าย
ยังมีเหตุอื่นอีก ชาวพุทธเองก็เป็นเหตุด้วย อย่าไปว่าแต่คนอื่นเขา
**ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน**
ในด้านหนึ่ง ความใจกว้างของชาวพุทธนั้น
บางทีก็กว้างเลยเถิดไป จนกลายเป็นใจกว้างลืมหลัก
หรือใจกว้างอย่างไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้
กว้างไปกว้างมาเลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขา
จนศาสนาของตัวเองหายไปเลย
ที่หายไปให้เห็นอย่างชัดเจน ก็คือ
ไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู ตอนที่มุสลิมยังไม่เข้ามา
ศาสนาพุทธเราก็อ่อนมากแล้ว
เพราะไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดูมาก
ปล่อยให้ความเชื่อถือของฮินดูเข้ามาปะปน
อย่างในถ้ำอชันตานั้น เป็นที่แสดงประวัติพุทธศาสนา
ได้อย่างดี
จะเห็นได้ตั้งแต่เจริญจนถึงเสื่อม
ตอนต้นจะเห็นว่าเดิมก็บริสุทธิ์ดี เป็นพุทธศาสนาเถรวาท
ต่อมาก็กลายเป็นมหายาน มีคติความเชื่อของทางฮินดูเข้ามา
ปะปนมากขึ้น ผลที่สุดพุทธหมด จะเห็นได้ที่เอลโลร่า
ผลที่สุดเหลือแต่ถ้ำฮินดู ถ้ำพุทธถูกกลืนหมด
เพราะฉะนั้น ก็เป็นคติสอนใจอันหนึ่งที่ว่าใจกว้างจนลืมหลัก
ไม่ยืนรักษาหลักของตัวเองไว้ กลมกลืนจนกระทั่งตัวเองสูญหายไป
ในความใจกว้างและกลมกลืนนั้น
มีเรื่องหนึ่งที่น่าจะกล่าวไว้ คือ
ลักษณะการกลมกลืนกับศาสนาฮินดู
ศาสนาฮินดูนั้น มีลักษณะสำคัญ คือ
การเชื่อเรื่องฤทธิ์ เรื่องปาฏิหาริย์
เรื่องการดลบันดาลของเทพเจ้า
ตอนที่คณะเดินทาง โยมจะได้ยินท่านพระครูทวี
เล่าถึงนิทานของฮินดูมากมาย
มีแต่เรื่องเทพเจ้าองค์นั้นมีฤทธิ์อย่างนั้น
ดลบันดาลอย่างนั้น สาปกันอย่างนั้น
เอาฤทธิ์มาใช้ทำลายกันต่าง ๆ
โดยมากเป็นเรื่องของโลภะ โทสะ โมหะ
พุทธศาสนาในยุคหลังก็ทำให้คนไปหวังพึ่งเรื่องฤทธิ์
เรื่องเทพเจ้าอะไรต่ออะไรมากขึ้น จนลืมหลักของตัวเอง
๒. ในทางพุทธศาสนานั้นจะเห็นว่า
พระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ แต่ต้องยืนหลักไว้เสมอว่า
ปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุด คือ อนุศาสนีปาฏิหาริย์*
ปาฏิหาริย์ที่เป็นหลักคำสอน
ไม่ใช่ ปาฏิหาริย์ที่เป็นการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
ในทางพุทธศาสนาให้ถือการกระทำของเราเป็นหลัก
ส่วนฤทธิ์ หรือ เทพเจ้านั้น จะมาเป็นตัวประกอบ
หรือช่วยเสริมการกระทำของเรา
จะต้องเอาการกระทำของตัวเองเป็นหลักเสียก่อน
ถ้าหากว่าเราไม่เอาการกระทำ หรือ กรรมเป็นหลัก
เราก็จะไปหวังพึ่งการดลบันดาลของเทพเจ้า
หวังพึ่งฤทธิ์ของผู้อื่น มาทำให้ ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ควมเสื่อมไป
จุดที่เสื่อม ก็คือ ตอนที่ชาวพุทธลืมหลักธรรม
ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก
ไปหวังพึ่งเทพเจ้า ไปหวังพึ่งฤทธิ์ พึ่งปาฏิหาริย์
ตราบใดที่เรายืนหลักได้ คือ
เอากรรม เอาการกระทำ เป็นหลักแล้ว
ถ้าจะไปนับถือฤทธิ์ปาฏิหาริย์บ้าง
ฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้น ก็มาประกอบมาเสริมการกระทำ
ก็ยังพอยอม
แต่ถ้าใครใจแข็งพอก็ไม่ต้องพึ่งฤทธิ์ ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์
อะไรทั้งสิ้น เพราะพุทธศาสนานั้น
ถ้าเราเอากรรม หรือ การกระทำเป็นหลักแล้ว
ก็จะยืนหยัดอยู่ได้เสมอ..
**เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น**
๓. อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวัง คือ
พอมีภัย หรือ เรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม
ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย
ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป
เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว
มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี
ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี
ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส
อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว
และจะกลายเป็นเหยื่อเขา
ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่
กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม
แต่ การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส
คือ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้ว
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล..
กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่
นี้ เป็นคติทางพุทธศาสนา
แต่ในบางยุค บางสมัยเราไปถือว่าไม่เอาธุระ
จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน
มีภัยเกิดกับส่วนรวมก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่างๆ
แล้วเห็นเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี
อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพระพุทธศาสนา
คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า
พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น
เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว
หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว
จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่
**************
**โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร**
๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ การฝากศาสนาไว้กับพระ
ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนา
ไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"
ทีนี้ พวกเรามักจะมองว่า พระศาสนาเป็นเรื่องของพระ
บางทีเมื่อมีพระประพฤติไม่ดี ชาวบ้านบางคนบอกว่า
ไม่อยากนับถือแล้วพุทธศาสนา อย่างนี้ก็มี
แทนที่จะเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของเรา
พระองค์นี้ประพฤติไม่ดี เราต้องช่วยกันแก้
ต้องเอาออกไป แทนที่จะคิดอย่างนั้น
กลับกลายเป็นว่าเรายกศาสนาให้พระองค์นั้น
เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา
แทนที่จะรักษาทรัพย์สมบัติของเรา
กลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย
พระ องค์ที่ไม่ดีก็เลยดีใจ กลายเป็นเจ้าของศาสนา
เรายกให้แล้ว บอกไม่เอาแล้วศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ก็มี
นี่เป็นทัศนคติที่ผิด
ชาวพุทธเราทั่วไปไม่น้อย มีความคิดแบบนี้
ทำเหมือนกับว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระ
เราก็ไม่ต้องรู้ด้วย
ข้างต้น..ลอกมาล้วนๆครับลิฟท์
_/l\_ ครับ
****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****
1.ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน
2.คลาดหลักธรรม ไปคลำหาฤทธิ์
สรุป
อย่าเสียแนวหลักธรรม อย่ามัวคลำหาฤทธิ์
*******************************
ความเห็นของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ
เหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมไปหมด เพราะ
1. ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด แม้ในสมัยพุทธกาลเองประชาชนชาวอินเดียก็นับถือ ศาสนาพราหมณ์มั่นคงอยู่ ศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เสื่อมไป
2. ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีกษัตริย์ที่เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าอโศกมหาราช แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียนศาสนาอื่น ๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการล้มล้างศาสนาพราหมณ์ หรือการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อฝังรากศาสนาลงในใจของประชาชนทั้งหมด
แตกต่างจากศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม แผ่ไปถึงไหนก็ใช้อำนาจครอบงำบังคับให้วัฒนธรรมเดิมถูกถอนรากถอนโคนออก แล้วบังคับให้นับถือศาสนาของตนแทน
ส่วนพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปถึงไหน ก็อะลุ้มอะล่วยปรองดองกับศาสนาถิ่นเดิม เกลือกกลั้วผสมผสานกันได้
3. หลักการในพระพุทธศาสนาให้เสรีภาพแก่บุคคล มิได้มีการเรียกร้องความภักดีพลีชีวิตเพื่อศาสนา
ของตน ดังเช่นศาสนาอื่น ๆ ความรู้สึกของชาวพุทธในเรื่องการป้องกันรักษาพระศาสนาของตน จึงมิได้รุนแรง ไม่มากพอเหมือนศาสนาที่รบเร้าเรื่องความภักดีเป็นใหญ่
4. ความเสื่อมภายในคณะสงฆ์เอง มีการแตกแยกออก เป็นหลายหมู่หลายเหล่า ต่างถือพวกถือหมู่วิวาทกัน
5. พระสัทธรรมดั้งเดิมได้ถูกบรรดาคณาจารย์ของนิกายต่าง ๆ ทั้งมหายาน และหินยาน
อรรถาธิบายทำให้เป็นของยากขึ้น ทำให้เป็นอภิปรัชญามากขึ้น สำหรับการโต้เถียงประเทืองปัญญาตีโวหารกัน มากกว่าใช้สำหรับปฏิบัติกันจริง ๆ ในชีวิต
พุทธศาสนาจึงกลายเป็นของยากสำหรับสามัญชนไป กลายเป็นสมบัติของนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งในกำแพงวัดเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้ว่าพุทธศาสนาคืออะไร?
วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา มีอยู่เฉพาะแต่ภายในวัดทั้งหลายเท่านั้น ไม่ได้มีปฏิบัติการเกี่ยวกับฆราวาสเลย และเมื่อวัดเหล่านี้ถูกรุกรานทำลาย หรือขาดราชูปถัมภ์ ก็ถูกทอดทิ้งให้เสื่อมโทรมไป แล้วพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปด้วย
6. ในสมัยราชวงศ์คุปตะ พวกพราหมณ์เห็นว่าจะเอาชนะพวกพุทธโดยตรงไม่ได้ ก็ใช้วิธีกลืนพุทธอย่างสุขุม โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตาร ผู้นับถือพุทธก็คือนับถือฮินดูนั่นเอง ส่วนผู้ที่นับถือฮินดูอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ ทำให้ฮินดูมีมากขึ้นในขณะที่พุทธมีน้อยลง
7. ชาวพุทธเองกลับยอมลดคุณภาพของตน โดยไปเอาลัทธิฮินดูเข้ามาปฏิบัติ เกิดเป็นลัทธิมนตรยาน เป็นต้น เท่ากับเป็นการยอมแพ้อย่างสิ้นเชิง
8. เมื่อพ้นสมัยคุปตะแล้ว ฝ่ายฮินดูมีนักปราชญ์เก่ง ๆ เกิดขึ้นหลายคนฝ่ายพุทธไม่สามารถโต้วาทีชนะได้ ฐานะของพุทธจึงตกต่ำลงมาก
9. ครั้นเมื่อศาสนาอิสลามรุกราน ได้ทำลายล้างทั้งชีวิต และทรัพย์สินอย่างบ้าเลือดป่าเถื่อน จนไม่มีใครต้านทานได้ ต้องหลบหนีออกจากอินเดียไปจนหมด
10. พวกพราหมณ์มีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เป็นผู้รับถ่ายทอดความรู้ทางพระเวท จึงสามารถสืบต่อกันไปได้นาน ส่วนพระพุทธศาสนาความรู้ทั้งหมดไปอยู่กับพระภิกษุเท่านั้น เมื่อสถาบันสงฆ์ถูกทำลาย เช่น ถูกห้ามไม่ให้บวช ถูกฆ่าตาย ความรู้ในทางศาสนาจึงไม่มีผู้สืบต่อ และหมดสิ้นลงในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วคน
เหตุผลทั้งหมดนี้จึงทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย
พุทธบริษัททั้งหลายคงจะต้องหาทางป้องกันพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมสูญไปจากประเทศต่าง ๆ และต้องสืบต่อพระสัจธรรมที่แท้จริง โดยเพียรพยายามทำตนให้ได้รับคุณวิเศษบรรลุมรรคผลนิพพาน ตามครรลองแห่งพระสัทธรรมที่แท้จริงที่สามารถดับทุกข์ได้จริง ตามกฏแห่งอริยสัจสี่ ไม่ต้องเป็นทาสของกิเลส ไม่ต้องเป็นทาสของปัญญาจากผู้ใด เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีวันเสื่อมสูญไป จากโลกนี้โดยเด็ดขาด
ด้วยจิตน้อมระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียน โดย ท่านพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
ซึ่งท่านได้กล่าวถึง " เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย"
ไว้อย่างน่าฟัง และเป็นประโยชน์ในการน้อมรับมาพิจารณาอย่างยิ่ง
อนึ่ง หากมีความผิดพลาดประการใด
ผู้คัดลอก ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
*******************
****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****
" ข้อที่ควรจะกล่าวในที่นี้สักหน่อย เป็นคติในทางธรรม ก็คือ เรื่องพระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย
ควรกล่าวถึงเหตุทั้งหลายที่ให้พุทธศาสนาต้องสูญสิ้นไปจากประเทศอินเดียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ชัดเจน เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐
๑. เหตุอันแรกที่เราเห็นได้ พูดง่าย ๆ ว่าชาวพุทธเราใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย
นี่ก็เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้น
ก็สอนแต่เพียงหลักธรรมเป็นกลาง ๆให้คนประพฤติดี ทำความดี จะนับถือหรือไม่นับถือก็ไม่ได้ว่าอะไร
ถ้าเป็นคนดีแล้วก็ไปสู่คติที่ดีหมด ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวพุทธจึงจะไปสวรรค์ได้ หรือว่า ชาวพุทธที่มานับถือแล้วทำตัวไม่ดีก็ไปนรกเหมือนกัน อะไรทำนองนี้
เมื่อชาวพุทธได้เป็นใหญ่ เช่น อย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ครองแผ่นดินก็อุปถัมภ์ ทุกศาสนาเหมือนกันหมด แต่ผู้ที่ได้รับอุปถัมภ์เขาไม่ได้ใจกว้างตามด้วย เพราะฉะนั้น พวกอำมาตย์พราหมณ์ของราชวงศ์อโศกเอง ก็เป็นผู้กำจัดราชวงศ์อโศก จะเห็นว่าอำมาตย์ที่ชื่อ "ปุษยมิตร" ก็ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหลานของพระเจ้าอโศก แล้วตั้งชื่อราชวงศ์ใหม่ที่กำจัดชาวพุทธ อย่างที่เล่าเมื่อกี้
แต่ก็กำจัดไม่เสร็จสิ้น มีมาเรื่อย จนกระทั่งถึง "พระเจ้าหรรษวรรธนะ" ครองราชย์
อำมาตย์ที่เป็นฮินดูก็กำจัดพระองค์เสียอีก ก็เป็นมาอย่างนี้ จนในที่สุด มุสลิมก็เข้ามาบุกกำจัดเรียบไปเลย
เมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐ นี้ ก็เป็นเหตุอันหนึ่งที่เห็นได้ง่าย
ยังมีเหตุอื่นอีก ชาวพุทธเองก็เป็นเหตุด้วย อย่าไปว่าแต่คนอื่นเขา
**ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน**
ในด้านหนึ่ง ความใจกว้างของชาวพุทธนั้น
บางทีก็กว้างเลยเถิดไป จนกลายเป็นใจกว้างลืมหลัก
หรือใจกว้างอย่างไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้
กว้างไปกว้างมาเลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขา
จนศาสนาของตัวเองหายไปเลย
ที่หายไปให้เห็นอย่างชัดเจน ก็คือ
ไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู ตอนที่มุสลิมยังไม่เข้ามา
ศาสนาพุทธเราก็อ่อนมากแล้ว
เพราะไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดูมาก
ปล่อยให้ความเชื่อถือของฮินดูเข้ามาปะปน
อย่างในถ้ำอชันตานั้น เป็นที่แสดงประวัติพุทธศาสนา
ได้อย่างดี
จะเห็นได้ตั้งแต่เจริญจนถึงเสื่อม
ตอนต้นจะเห็นว่าเดิมก็บริสุทธิ์ดี เป็นพุทธศาสนาเถรวาท
ต่อมาก็กลายเป็นมหายาน มีคติความเชื่อของทางฮินดูเข้ามา
ปะปนมากขึ้น ผลที่สุดพุทธหมด จะเห็นได้ที่เอลโลร่า
ผลที่สุดเหลือแต่ถ้ำฮินดู ถ้ำพุทธถูกกลืนหมด
เพราะฉะนั้น ก็เป็นคติสอนใจอันหนึ่งที่ว่าใจกว้างจนลืมหลัก
ไม่ยืนรักษาหลักของตัวเองไว้ กลมกลืนจนกระทั่งตัวเองสูญหายไป
ในความใจกว้างและกลมกลืนนั้น
มีเรื่องหนึ่งที่น่าจะกล่าวไว้ คือ
ลักษณะการกลมกลืนกับศาสนาฮินดู
ศาสนาฮินดูนั้น มีลักษณะสำคัญ คือ
การเชื่อเรื่องฤทธิ์ เรื่องปาฏิหาริย์
เรื่องการดลบันดาลของเทพเจ้า
ตอนที่คณะเดินทาง โยมจะได้ยินท่านพระครูทวี
เล่าถึงนิทานของฮินดูมากมาย
มีแต่เรื่องเทพเจ้าองค์นั้นมีฤทธิ์อย่างนั้น
ดลบันดาลอย่างนั้น สาปกันอย่างนั้น
เอาฤทธิ์มาใช้ทำลายกันต่าง ๆ
โดยมากเป็นเรื่องของโลภะ โทสะ โมหะ
พุทธศาสนาในยุคหลังก็ทำให้คนไปหวังพึ่งเรื่องฤทธิ์
เรื่องเทพเจ้าอะไรต่ออะไรมากขึ้น จนลืมหลักของตัวเอง
๒. ในทางพุทธศาสนานั้นจะเห็นว่า
พระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง
ในบรรดาปาฏิหาริย์ ๓ แต่ต้องยืนหลักไว้เสมอว่า
ปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุด คือ อนุศาสนีปาฏิหาริย์*
ปาฏิหาริย์ที่เป็นหลักคำสอน
ไม่ใช่ ปาฏิหาริย์ที่เป็นการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ
ในทางพุทธศาสนาให้ถือการกระทำของเราเป็นหลัก
ส่วนฤทธิ์ หรือ เทพเจ้านั้น จะมาเป็นตัวประกอบ
หรือช่วยเสริมการกระทำของเรา
จะต้องเอาการกระทำของตัวเองเป็นหลักเสียก่อน
ถ้าหากว่าเราไม่เอาการกระทำ หรือ กรรมเป็นหลัก
เราก็จะไปหวังพึ่งการดลบันดาลของเทพเจ้า
หวังพึ่งฤทธิ์ของผู้อื่น มาทำให้ ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ควมเสื่อมไป
จุดที่เสื่อม ก็คือ ตอนที่ชาวพุทธลืมหลักธรรม
ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก
ไปหวังพึ่งเทพเจ้า ไปหวังพึ่งฤทธิ์ พึ่งปาฏิหาริย์
ตราบใดที่เรายืนหลักได้ คือ
เอากรรม เอาการกระทำ เป็นหลักแล้ว
ถ้าจะไปนับถือฤทธิ์ปาฏิหาริย์บ้าง
ฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้น ก็มาประกอบมาเสริมการกระทำ
ก็ยังพอยอม
แต่ถ้าใครใจแข็งพอก็ไม่ต้องพึ่งฤทธิ์ ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์
อะไรทั้งสิ้น เพราะพุทธศาสนานั้น
ถ้าเราเอากรรม หรือ การกระทำเป็นหลักแล้ว
ก็จะยืนหยัดอยู่ได้เสมอ..
**เฉยมิใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น**
๓. อีกอย่างหนึ่งที่ควรระวัง คือ
พอมีภัย หรือ เรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม
ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย
ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป
เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว
มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี
ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี
ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส
อันนี้ อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว
และจะกลายเป็นเหยื่อเขา
ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่
กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม
แต่ การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส
คือ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้ว
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล..
กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่
นี้ เป็นคติทางพุทธศาสนา
แต่ในบางยุค บางสมัยเราไปถือว่าไม่เอาธุระ
จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน
มีภัยเกิดกับส่วนรวมก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่างๆ
แล้วเห็นเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี
อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพระพุทธศาสนา
คติที่ถูกต้องนั้น สอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า
พระอรหันต์ หรือ ท่านผู้หมดกิเลสนั้น
เป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว
หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองแล้ว
จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น
ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่
**************
**โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร**
๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ การฝากศาสนาไว้กับพระ
ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียว ชอบฝากศาสนา
ไว้กับ พระ อย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัททั้ง ๔ คือ
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน"
ทีนี้ พวกเรามักจะมองว่า พระศาสนาเป็นเรื่องของพระ
บางทีเมื่อมีพระประพฤติไม่ดี ชาวบ้านบางคนบอกว่า
ไม่อยากนับถือแล้วพุทธศาสนา อย่างนี้ก็มี
แทนที่จะเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของเรา
พระองค์นี้ประพฤติไม่ดี เราต้องช่วยกันแก้
ต้องเอาออกไป แทนที่จะคิดอย่างนั้น
กลับกลายเป็นว่าเรายกศาสนาให้พระองค์นั้น
เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา
แทนที่จะรักษาทรัพย์สมบัติของเรา
กลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย
พระ องค์ที่ไม่ดีก็เลยดีใจ กลายเป็นเจ้าของศาสนา
เรายกให้แล้ว บอกไม่เอาแล้วศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ก็มี
นี่เป็นทัศนคติที่ผิด
ชาวพุทธเราทั่วไปไม่น้อย มีความคิดแบบนี้
ทำเหมือนกับว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระ
เราก็ไม่ต้องรู้ด้วย
ข้างต้น..ลอกมาล้วนๆครับลิฟท์
_/l\_ ครับ
****เหตุให้พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดีย****
1.ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน
2.คลาดหลักธรรม ไปคลำหาฤทธิ์
สรุป
อย่าเสียแนวหลักธรรม อย่ามัวคลำหาฤทธิ์
*******************************
ความเห็นของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ
เหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมไปหมด เพราะ
1. ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสูงสุด แม้ในสมัยพุทธกาลเองประชาชนชาวอินเดียก็นับถือ ศาสนาพราหมณ์มั่นคงอยู่ ศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เสื่อมไป
2. ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีกษัตริย์ที่เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าอโศกมหาราช แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียนศาสนาอื่น ๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการล้มล้างศาสนาพราหมณ์ หรือการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อฝังรากศาสนาลงในใจของประชาชนทั้งหมด
แตกต่างจากศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม แผ่ไปถึงไหนก็ใช้อำนาจครอบงำบังคับให้วัฒนธรรมเดิมถูกถอนรากถอนโคนออก แล้วบังคับให้นับถือศาสนาของตนแทน
ส่วนพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปถึงไหน ก็อะลุ้มอะล่วยปรองดองกับศาสนาถิ่นเดิม เกลือกกลั้วผสมผสานกันได้
3. หลักการในพระพุทธศาสนาให้เสรีภาพแก่บุคคล มิได้มีการเรียกร้องความภักดีพลีชีวิตเพื่อศาสนา
ของตน ดังเช่นศาสนาอื่น ๆ ความรู้สึกของชาวพุทธในเรื่องการป้องกันรักษาพระศาสนาของตน จึงมิได้รุนแรง ไม่มากพอเหมือนศาสนาที่รบเร้าเรื่องความภักดีเป็นใหญ่
4. ความเสื่อมภายในคณะสงฆ์เอง มีการแตกแยกออก เป็นหลายหมู่หลายเหล่า ต่างถือพวกถือหมู่วิวาทกัน
5. พระสัทธรรมดั้งเดิมได้ถูกบรรดาคณาจารย์ของนิกายต่าง ๆ ทั้งมหายาน และหินยาน
อรรถาธิบายทำให้เป็นของยากขึ้น ทำให้เป็นอภิปรัชญามากขึ้น สำหรับการโต้เถียงประเทืองปัญญาตีโวหารกัน มากกว่าใช้สำหรับปฏิบัติกันจริง ๆ ในชีวิต
พุทธศาสนาจึงกลายเป็นของยากสำหรับสามัญชนไป กลายเป็นสมบัติของนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งในกำแพงวัดเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปไม่รู้ว่าพุทธศาสนาคืออะไร?
วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา มีอยู่เฉพาะแต่ภายในวัดทั้งหลายเท่านั้น ไม่ได้มีปฏิบัติการเกี่ยวกับฆราวาสเลย และเมื่อวัดเหล่านี้ถูกรุกรานทำลาย หรือขาดราชูปถัมภ์ ก็ถูกทอดทิ้งให้เสื่อมโทรมไป แล้วพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปด้วย
6. ในสมัยราชวงศ์คุปตะ พวกพราหมณ์เห็นว่าจะเอาชนะพวกพุทธโดยตรงไม่ได้ ก็ใช้วิธีกลืนพุทธอย่างสุขุม โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตาร ผู้นับถือพุทธก็คือนับถือฮินดูนั่นเอง ส่วนผู้ที่นับถือฮินดูอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ ทำให้ฮินดูมีมากขึ้นในขณะที่พุทธมีน้อยลง
7. ชาวพุทธเองกลับยอมลดคุณภาพของตน โดยไปเอาลัทธิฮินดูเข้ามาปฏิบัติ เกิดเป็นลัทธิมนตรยาน เป็นต้น เท่ากับเป็นการยอมแพ้อย่างสิ้นเชิง
8. เมื่อพ้นสมัยคุปตะแล้ว ฝ่ายฮินดูมีนักปราชญ์เก่ง ๆ เกิดขึ้นหลายคนฝ่ายพุทธไม่สามารถโต้วาทีชนะได้ ฐานะของพุทธจึงตกต่ำลงมาก
9. ครั้นเมื่อศาสนาอิสลามรุกราน ได้ทำลายล้างทั้งชีวิต และทรัพย์สินอย่างบ้าเลือดป่าเถื่อน จนไม่มีใครต้านทานได้ ต้องหลบหนีออกจากอินเดียไปจนหมด
10. พวกพราหมณ์มีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เป็นผู้รับถ่ายทอดความรู้ทางพระเวท จึงสามารถสืบต่อกันไปได้นาน ส่วนพระพุทธศาสนาความรู้ทั้งหมดไปอยู่กับพระภิกษุเท่านั้น เมื่อสถาบันสงฆ์ถูกทำลาย เช่น ถูกห้ามไม่ให้บวช ถูกฆ่าตาย ความรู้ในทางศาสนาจึงไม่มีผู้สืบต่อ และหมดสิ้นลงในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วคน
เหตุผลทั้งหมดนี้จึงทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย
พุทธบริษัททั้งหลายคงจะต้องหาทางป้องกันพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมสูญไปจากประเทศต่าง ๆ และต้องสืบต่อพระสัจธรรมที่แท้จริง โดยเพียรพยายามทำตนให้ได้รับคุณวิเศษบรรลุมรรคผลนิพพาน ตามครรลองแห่งพระสัทธรรมที่แท้จริงที่สามารถดับทุกข์ได้จริง ตามกฏแห่งอริยสัจสี่ ไม่ต้องเป็นทาสของกิเลส ไม่ต้องเป็นทาสของปัญญาจากผู้ใด เมื่อนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีวันเสื่อมสูญไป จากโลกนี้โดยเด็ดขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น