หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ฮิญาบ ไม่ใช่อิลาม


ฮิญาบ ไม่ใช่อิลาม ไม่ใช่การบังคับของพระเจ้า

      ฮิญาบ” (ผ้าคลุมหน้า, คลุมศีรษะ) เป็นประเพณีการคลุมศีรษะ ไม่ใช่เป็น “หลักการของอิสลามและไม่มีหลักฐานอ้างอิงหรือสนับสนุนให้ต้องคลุมฮิญาบที่ได้ระบุในคัมภีร์ อัลกุรอานแม้แต่น้อย ดังนั้น คำว่าฮิญาบจึงไม่ใช่ข้อบังคับการแต่งตัวของผู้หญิงมุสลิม
          คำว่า ฮิญาบในอัลกุรอานมีปรากฏอยู่ ๗ ครั้ง มีจำนวน ๕ ครั้งที่ใช้คำว่า ฮิญาบมีอยู่ ๒ ครั้งที่ใช้คำว่า ฮิญาบันจากอายาต ต่อไปนี้;
          วัลยัดริบนะ บิคุมุริฮินนะ อะลายุยูบิฮินนะ ว่า คำฮิญาบที่พบในอายัตต์เหล่านั้นไม่มีคำใดในอัลกุรอานที่ใช้ในความหมายของ ฮิญาบที่หมายถึงผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิมที่ใช้บังคับให้มุสลิมมะห์ใช้กันกันอยู่ในทุกวันนี้เลย แสดงว่าพระองอัลลอฮ์ ไม่ได้ให้บังคับใช้ ฮิญาบเป็นข้อบังคับในการแต่งตัวของ มุสลิมมะห์ังที่บรรดาท่านอิหม่ามทั้งหลายอ้างไว
          คำว่า "ฮิญาบ" เป็นคำที่มุสลิมะห์ทั้งหลายใช้เรียกผ้าคลุมศีรษะของเขา ทั้งนี้อาจจะรวมทั้งผ้าที่คลุมทั้งใบหน้าเว้นไว้แต่นัยน์ตาทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว คำว่า ฮิญาบในภาษาอรับอาจจะแปลในความหมายของ ผ้าคลุมใบหน้าตั้งแต่ส่วนจมูกถึงปลายคาง ส่วนความหมายอื่นๆอาจจะหมายถึง ม่าน, การคลุม, เสื้อคลุมไม่มีแขน, ฝากั้นชั่วคราว, การแบ่งส่วน, ผ้าม่านที่ตกแต่งประตูหน้าต่าง และเครื่องปกคลุมอื่นๆ

          ฮิญาบหรือผ้าคลุมหน้านี้มีมานานก่อนศาสนาอิสลาม มีมาตั้งแต่เริ่มยุคของความศิวิไลซ์ เราจะเห็นได้ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรก และระยะหลังๆ ของศิลปะกรีก และโรมัน ได้มีหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในเครื่องปั้นดินเผา, รูปภาพและศิลปต่างๆ รวมทั้ง การจดบันทึกของกฎหมายในสมัยนั้น แสดงให้เห็นว่าประเพณีของกรีกและโรมัน ใช้ผ้าคลุมศีรษะ ฮิญาบเป็นเครื่องแต่งตัวในการประกอบกิจในทางศาสนา ดังนั้นประเพณีการแต่งตัวของผู้ชายที่ใช้ผ้าคลุมศีรษะ และผู้หญิงใช้ ฮิญาบนั้น ก็ถูกนำเข้ามาใช้ในชาวยิวซึ่งปรากฏหลักฐานอยู่ใน หนังสือที่ใช้อธิบายประกอบคัมภีร์ของชาวยิว (เทียบเท่ากับหนังสือฮาดีษของยิว) และคริสต์เตียนก็นำ ฮิญาบเข้ามาเป็นประเพณีทางศาสนาเช่นกัน
          มีผู้นำศาสนา ยิวกล่าวว่า เราไม่เคยเห็นคำสอนในตอราฮ์ ที่พระเจ้าบังคับให้ผู้หญิงคลุมศีรษะ แต่เราทราบว่ามันเป็นประเพณีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานับพันๆปีนี่แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่เคยกำหนดให้ผู้หญิงใช้ ฮิญาบแต่การแต่งตัวของหญิงที่ใส่ ฮิญาบนั้น เป็นประเพณีซึ่งไม่ได้อยู่ในหลักการของศาสนาอิสลาม
          ในขนบธรรมเนียมของชาวยิว จะเห็นว่าการคลุมศีรษะของผู้หญิงยิวรวมทั้งผู้ชายด้วยนั้น เนื่องจากถูกบังคับจากผู้นำทางศาสนายิว จะสังเกตเห็นว่า ในปัจจุบันสุภาพสตรียิว ก็ยังใช้ ฮิญาบเป็นส่วนใหญ่แทบทุกโอกาส ในโบสถ์ในการพิธีการแต่งงาน และในพิธีการทางศาสนา
          ในอเมริกา ตั้งแต่สมัย ๖๐ ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงยังนิยมใช้ ฮิญาบในเวลาไปโบสถ์ และพวกศาสนาหรือชาวอามิช อเมริกันก็ใช้ ฮิญาบอยู่ในทุกๆวันนี้ซึ่งจะใช้อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันผู้หญิงคริสเตียนในอเมริกา ใช้ ฮิญาบในเวลาไปโบสถ์แต่สำหรับ แคโธริคคริสเตียน ชีจะใช้ ฮิญาบอยู่ตลอดเวลา ที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าในตะวันออกกลางชาวชาติเชื้อ อาหรับจะเป็นยิว, คริสเตียน หรือมุสลิมก็ตาม จะใส่ฮิญาบเหมือนกันหมด เพราะว่ามันเป็นประเพณีของชนเชื้อชาวอาหรับมาเป็นเวลานับพันๆ ปี ดังนั้นสำหรับ มุสลิมที่ใส่ฮิญาบไม่ใช่เพราะ อิสลามแต่เพราะว่าเป็นประเพณีของชาวอาหรับทั้งหญิงและชาย ในตอนเหนือของอาฟริกาบางเผ่าที่เป็นมุสลิม ผู้ชายใส่ฮิญาบแทนที่จะเป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง เราจะเห็นว่าประเพณีการใส่ฮิญาบกลับเพศกัน ทั้งนี้เพราะ ฮิญาบไม่ใช่ อิสลามเราจะเห็นว่าแม่ชีในคริสต์ศาสนาบางนิกายคลุม ฮิญาบเช่นเดียวกับหญิงชาวอรับทั้งมุสลิม และไม่ใช่มุสลิมในตะวันออกกลางเช่นกัน
          ทั้งนี้พอจะสรุปได้ว่า ฮิญาบเป็นเครื่องแต่งกายตามประเพณีของคนเชื้อชาติอาหรับไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอิสลาม หรือศาสนาเลย และในบางภูมิภาคของโลกเรา ในบางประเทศ ผู้ชายเป็นผู้ที่ใส่ ฮิญาบในขณะเดียวกันประเทศในภาคตะวันออกกลางผู้หญิงเท่านั้นที่ใส่ ฮิญาบแล้วทำไมสุภาพสตรีมุสลิมไทยจะต้องใสฮิญาบ” ในเมื่อมุสลิมไทยไม่ใช่ อาหรับ และ ฮิญาบไม่เกี่ยวกับอิสลามเลย
          ขอยกตัวอย่างประเทศ จอร์แดน” ประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และผู้นำประเทศก็เป็นมุสลิมเช่นกัน สุภาพสตรีมุสลิมจะสวม ฮิญาบหรือไม่สวมก็ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องฮิญาบ สตรีทุกๆคนมีสิทธิเท่าเทียมกับชายทั้งในทางศาสนา และทางสังคม
          หลังจากท่านศาสดามูฮัมมัดสิ้นชีพ ผู้จดบันทึก หนังสือฮาดีษได้รวมเอาฮิญาบซึ่งเป็นประเพณี่ดึกดำบรรพ์ มารวมไว้และอ้างว่าเป็นคำสั่งของท่านรอซูลล์ ทั้งๆ ที่เอาตัวอย่างมาจาก ยิว และคริสเตียน ทั้งนี้เพราะเรื่องการสวมใส่ ฮิญาบไม่ได้มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน

สำหรับมุสลิม
          คัมภีร์อัลกุรอานได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าสุภาพสตรีมุสลิม แต่งกายอย่างไร สำหรับ มุสลิมมะห์ผู้มีศรัทธาในอัลลอฮ์ และอิสลามการกำหนดสร้างและแปลกปลอมสิ่งใดเช่น นำเอา ฮิญาบ” (ผ้าคลุมหน้า, คลุมศีรษะ) เข้ามาใช้เป็นหลักศรัทธา “ในอิสลาม” (การยอมจำนนและสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์) ซึ่งไม่มีบัญญัติอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน ถือว่าเป็นการสร้างภาคีอย่างหนึ่ง ซึ่งขัดต่อหลักการของอิสลาม
          การเอาประเพณีปลอมปนเข้าไปอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานเป็นการสร้างภาคีกับอัลลอฮ์ เพราะผู้ที่ปฏิบัติตามหลักการอื่น แล้วอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของบัญญัติของอัลลอฮ์ ก็มีความผิดเท่าๆ กับผู้ที่สร้างภาคีเช่นกัน ถ้าเขาปฏิบัติเช่นนั้นไปตลอดชีวิตเขา การเพิกเฉยต่อบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์ในอัลกุรอาน แต่กลับไปตาม กฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีในอัลกุรอานเป็นการขาดความเคารพยำเกรงต่อพระองอัลลอฮ์ และท่านศาสดามูฮัมมัดที่เห็นได้อย่างชัดเจน
          ฉัน (มูฮัมมัด) ยังจะต้องแสวงหาผู้อื่นอีกหรือนอกจากอัลลอฮ์ เพื่อเป็นผู้ตัดสิน, เมื่อพระองค์ได้ประทานคัมภีร์ (อัลกุรอาน) ให้แก่พวกท่าน, ที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดสมบูรณ์? ผู้ที่เรา (อัลลอฮ์) ได้ให้คัมภีร์ แก่พวกเขามาก่อน รู้ดีว่าคัมภีร์นั้นถูกส่งมาจากพระเจ้า ของพวกเจ้าด้วยความแท้จริง, ดังนั้น(โอ มูฮัมมัด) เจ้าจงอย่าอยู่ในหมู่ของผู้ที่มีความเคลือบแคลงใจเลย และพวกเขามิได้มองดูในอำนาจทั้งหลายแห่งบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างขึ้นดอกหรือ ? และแท้จริงอาจเป็นไปได้ว่า กำหนดเวลาแห่งความตายของพวกเขานั้นได้ใกล้มาแล้ว และยังมีฮาดีษ อื่นใดเล่าที่พวกเขาจะศรัทธากันนอกจากอัล-กุรอาน(7:185)
          พระองค์อัลลอฮ์ ทรงเตือนให้ผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์ที่แท้จริงให้แน่ใจว่า เขาจะไม่หลงตกไปในหลุมพรางของ พวกสร้างภาคีให้ต่อพระเจ้าโดยยึดถือและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ นักปราชญ์ของอิสลาม และท่านอีหม่ามต่างๆ แทนที่จะเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ จงดูจากบัญญัติ (9:31)
พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้า, อื่นจากอัลลอฮ์ และยึดเอาอัล-มะซีห์บุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าด้วย ทั้งๆ ที่พวกเขามิได้ถูกใช้นอกจากเพื่อเคารพสักการะผู้ทีสมควรได้รับการเคารพสักการะ, แต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น” (9:31)
          เจ้าต้องไม่ยอมรับข่าวสารอันใด เว้นเสียแต่ว่าเจ้าได้ตรวจสอบด้วยตัวของเจ้าเอง, เพราะเราได้ให้แก่เจ้า การได้ยิน, การมองเห็น, และความคิด และเจ้าเองเท่านั้น ที่มีความรับผิดชอบในการใช้สิ่งเหล่านั้น” (17:36)
ปัญหาฮิญาบ เป็นปัญหาทางการเมืองแอบแผง
          ปัญหาฮิญาบถ้ามองดูอย่างผิวเผินแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหตุผลทางศาสนา แต่ถ้ามองดูในสังคมของประเทศใกล้เคียง (อินโดนีเซีย, ฟิลลิปปิน ฯลฯ) มุสลิมไทยเราถูกอิทธิพลของประเทศในกลุ่มอาหรับ เอาหลักการที่ไม่ใช่หลักการของศาสนามาสอดแทรก เพื่อที่จะให้มุสลิมไทย แตกต่างไปจากประชาชนในสังคมส่วนใหญ่ ทำให้ผู้นำทางศาสนา สามารถที่จะชักชวน หรือนำกลุ่มมุสลิมทำการต่อต้านรัฐบาลเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าไม่เป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ
          ไม่อยากให้มุสลิมไทย ตกเป็นเครื่องมือของผู้หวังผลทางการเมือง ทำให้ภาพลักษณ์ของมุสลิมเป็นภาพของบุคคลที่ใช้ความรุนแรง เป็นสังคมที่มีผู้ก่อการร้ายแอบแฝงอยู่

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น