หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ความรุนแรง มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์


ความรุนแรง มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ประชาชนชาวไทยมุสลิมปฏิเสธการใช้ความรุนแรง มิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เหตุการณ์ที่ไม่เงียบสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ศาสนาอิสลามมัวหมอง

        ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา นายสะมะแอ อับดุล ลาติป ฮารี ได้กล่าวว่าผู้ก่อความ  ไม่สงบไม่ได้รับการยอมว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการตู้แบบสงครามศักดิ์สิทธิ์ หรือญีฮาด
         ประชาชนมุสลิมเชื้อสายมลายูในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย แสดงการต่อต้านการฆ่าประชาชนในท้องถิ่น แล้วอ้างว่ากระทำในนามของศาสนาอิสลาม
        ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา นายสะมะแอ อับดุล ลาติป ฮารี ได้กล่าวว่าผู้ที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ได้สร้างความมัวหมองให้แก่ภาพลักษณ์ของศาสนาอิสลามจากการที่พยายามเชื่อมโยง การต่อสู้ของพวกตนเข้ากับศาสนา
        ท่านได้กล่าวว่า การใช้ความรุนแรงมิใช่วิถีชีวิตของประชาชนมุสลิมไทย ซึ่งปรารถนาที่จะอยู่ร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชนในส่วนอื่น ๆ ประชาชนส่วนใหญ่ของพวกเรา ไม่สามารถยอมรับกิจกรรมการปฏบัติของกลุ่มหัวรุนแรงได้
         ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ก่อความไม่สงบเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ ปรากฏมีประชาชนอันประกอบด้วยพลเรือน ทหาร และพระภิกษุ มากกว่า ๔,๕๐๐ คน ถูกฆ่าจากระเบิด การยิง การฆาตกรรมในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งใน ๓ จังหวัดดังกล่าวมีประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายู และพื้นที่ได้กลายเป็นฐานการเคลื่อนไหวของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่รณรงค์ต่อสู้เพื่อการปกครองตนเอง บนพื้นฐานของพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาณาจักรของศาสนาอิสลาม และในขณะเดียวกัน กลุ่มจัดตั้งแบบทหารในพื้นที่ภาคใต้ได้กล่าวโจมตีว่า รัฐบาลมีการแบ่งแยกและทำลายสังคมชุมชนมุสลิม ซึ่งตั้งอยู่บนความเชื่อและศรัทธา
         ท่านสะมะแอฯ ได้กล่าวว่า กลุ่มก่อความไม่สงบไม่สามารถสร้างการยอมรับได้ว่าการต่อสู้ของพวกเขานั้นเป็นการต่อสู้แบบหนึ่งของญีฮาด (หรือสงครามศักดิ์สิทธิ์) โดยเฉพาะจากประชาชนผู้มีความรู้ความเข้าใจ   ในหลักการสอนของศาสนาอิสลาม
      ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า สถานการณ์ในภาคใต้มิใช่การต่อสู้แบบญีฮาด ลักษณะการกระทำก่อเหตุรุนแรงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและหลักการแห่งศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การกระทำของผู้ก่อการร้ายจะได้รับการช่วยเหลือหรือมีส่วนสัมพันธ์ก็จากกลุ่มที่มีลักษณะส่วนบุคคลซึ่งยากต่อการสืบหารายละเอียดได้     
         สำหรับชายไทยมุสลิม ญีฮาด ยังคงเป็นบทบาทหน้าที่ตามศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพันธะผูกพันของการที่จะอยู่และอาศัยตามแนวทางของชาวมุสลิมที่แท้จริง ก็คือ ความพยายามที่จะสร้างให้สังคมมิสลิมเป็นสังคมที่ดี
         ท่านได้กล่าวว่า (ที่ผ่านมาและขณะนี้) ไม่มีพื้นดินสำหรับชาวมุสลิมที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงในขณะเดียวกันที่ชาวมุสลิมล้วนมีเสรีภาพที่จะดำเนินกิจกรรมทางศาสนาใด ๆ ก็ได้
         นอกจากนี้ ท่านได้กล่าวต่อไปว่า รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนมุสลิม โดยช่วยสร้างมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาสำหรับเด็ก
         รัฐบาลไทยได้ให้ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือด้านการศึกษาให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม นายสะมะแอฯ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ประชาชนมักจะปฏิเสธที่จะพูดถึงการต่อต้านพวกก่อความไม่สงบ อันเนื่องมาจากความกลัวในเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล (เป็นเหตุผลสำคัญ)
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น