หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ต้นกำเนิดมุสลิมในประเทศไทย


ต้นกำเนิดมุสลิมในประเทศไทย

ชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู
ชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายู
ประเทศไทยหรือสยามประเทศสมัยก่อน มีการค้าขายติดต่อประเทศโลกอิสลามมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยด้วยซ้ำแต่ในช่วงนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เมื่อสมัยสุโขทัย หลักฐานได้บันทึกว่ามีชนชาติที่เก่งกาจทางด้านการเดินเรือเข้ามาบรรทุก สินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศตนและในขณะนั้นก็ไม่ได้มีรายงานว่าเป็นชาว ยุโรป เพราะฉะนั้นเราจึงได้คาดกันว่าเป็นชาวมุสลิม
ซึ่งเป็นพ่อค้าจากเปอร์เซียนี่ เองที่เข้ามาติดต่อซื้อขาย
ในสมัยกรุงสุโขทัย สยามก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปจนถึงใต้แหลมมลายู มีรายงานว่าผู้คนในสมัยนั้นมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่แล้ว? ทั้งผู้เป็นใหญ่และขุนนางในกรุงสุโขทัยก็ไม่ถือเป็นข้อแตกต่าง และได้อยู่รวมกันอย่างสันติสุขเป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่เคยมีข้อบาดหมางระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามเลย เป็นความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกันระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิมในการบริหาร บ้านเมือง ต่อต้านอริราชศัตรูมาด้วยกัน ก็นับเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุก พระองค์ ทุกราชวงศ์ที่ได้ทรงอุปถัมภ์ ค้ำชูแก่ศาสนาอิสลามมาโดยตลอด
ส่วนทางตอนใต้ของประเทศไทยคาดกันว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ส่วนเมืองปัตตานีก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสยามประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมืองเอกทางตอนใต้ของสยามคือ นครศรีธรรมราชโดยเขตปกครองของนครศรีธรรมราชก็กินพื้นที่ไปจนสุดปลายแหลม มลายู สิงคโปร์ มะละกา เป็นเมืองประเทศราชของไทยทั้งหมด วีธีการปกครองในสมัยนั้น ส่วนมากก็ไม่ได้ส่งคนเข้าไปปกครองมีแต่ให้เมืองประเทศราชเหล่านี้ส่งดอกไม้ เงินดอกไม้ทอง 3 ปีต่อครั้งเป็นการสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าเมืองปัตตานีขึ้นอยู่กับประเทศไทย อยู่ในความดูแลของนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเหมือนประเทศอื่นๆ เช่น เขมร เป็นต้น

มุสลิมในประเทศไทยมี6กลุ่ม

  1. ป็นมุสลิมกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีบรรพบุรุษมาจากชาวมลายูในหนังสือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยมุสลิมของ อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด ได้กล่าวว่า เนื่องจากชนพื้นเมืองทางตอนใต้ในสมัยก่อนนับถือศาสนาอิสลามอยู่แล้ว ในสมัยสุโขทัย เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ก็เกิดการแข็งเมือง ไม่ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ฉะนั้นรัชกาลที่ 1 จึงทรงโปรดให้กรมพระราชวังยกทัพไปปราบพม่า ทางตอนใต้ และเลยไปตีเมืองปัตตานี ทำให้ชาวมุสลิมบางส่วนถูกกวาดต้อนเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ถ้าหากเป็นเชื้อพระวงศ์ของทางปัตตานีก็จะมาอยู่ที่สี่แยกบ้านแขก ส่วนชาวเมืองทั่วไปก็จะอยู่ตามแถบถนนตก บ้านอูฐ ประตูน้ำ สามแยกท่าไข่ หรือถ้ามาไม่ถึงกรุงเทพก็จะไปอยู่แถบจังหวัดเพชรบุรี นครนายก ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันได้ขยายตัวออกไปอยู่แถบจังหวัดชลบุรีบ้าง ส่วนที่มาเป็นเชลยก็แยกไปอยู่หลายแห่งส่วนใหญ่จะเป็นแถวชานกรุง เช่น ธนบุรี ทุ่งครุ พระประแดง บางคอแหลม มหานาค พระโขนง คลองตัน มีนบุรี หนองจอก และจะมีอยู่แถบอำเภอท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรีอีกด้วยวัตถุประสงค์ในการเอาเชลยปัตตานีขึ้นมาด้วยก็เพื่อต้องการเพิ่มพลังพลเมือง? เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การก่อสร้างกรุงเทพยังไม่มีความมั่นคงนัก พลเมืองมีไม่มากพอต่อความต้องการของบ้านเมืองและต้องประสบปัญหาภัยสงคราม อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น มีการอพยพเชลยชาวปัตตานีถึง 2 ครั้งในปี 2329 และปี 2334 เพื่อต้องการให้กำลังพลเพิ่มขึ้นในเมืองหลวงและให้ปัตตานีนั้นมีกำลังน้อยลง เพื่อไม่ให้ทำสงครามก่อกบฏต่อไทยอีกสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เกิดความไม่สงบอีก ทำให้มุสลิมจากไทรบุรี ปัตตานีถูกกวาดต้อนขึ้นมาบริเวณนครศรีธรรมราช? กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงอีกครั้ง ส่วนมุสลิมในคลอง 22 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกนั้นเป็นมุสลิมจากไทรบุรี เปอร์ลิส กลันตัน ปีนัง และเกดะห์ ตอนแรกมาอยู่กันที่คลองแสนแสบ และแถบมีนบุรีด้วย แต่เมื่อคนที่มาจากเมืองดังกล่าวเสียชีวิตกันหมด เหลือแต่ลูกหลานและไม่คิดที่จะย้อนกลับไปอีก จึงชวนกันไปตั้งหลักแหล่งกันใหม่ ทำให้มุสลิมส่วนหนึ่งจากถนนตกทรายกองดิน มาอยู่ที่คลอง 22 แทน ส่วนหนึ่งก็ไปอยู่ที่คลอง 17 คลอง 20 และคลอง 21 บางส่วนก็ถูกชักชวนไปอยู่ที่อำเภอท่าอิฐบ้าง? ทำให้มุสลิมกระจัดกระจายอยู่บริเวณภาคกลางก็เพราะผลเนื่องมาจากสงครามและการ สู้รบตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั่นเอง
  2. มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวอาหรับเปอร์เซียดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าคนอาหรับเปอร์เซียส่วนมากเดินเรือ ทำมาค้าขาย จนมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทยในกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ทางตอนใต้ ก็มีการไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นด้วย เพราะฉะนั้นชาวมุสลิมในทางภาคใต้จึงมีบรรพบุรุษที่มาจากอาหรับเปอร์เซีย ที่มีทั้งนิกายสุหนี่และนิกายชีอะห์ สำหรับนิกายชีอะห์นั้นส่วนหนึ่งเผยแพร่สู่ประเทศไทยโดยชาวอิหร่านที่มาทำการ ค้าขายปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์อยู่จำนวนหนึ่ง ที่มีอยู่มากคือในแถบเจริญพาศน์ กรุงเทพฯ และอิทธิพลอย่างหนึ่งของบรรดาชาวเปอร์เซียที่มาอยู่คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในศิลาจารึกมีบอกว่า มีตลาดประสาน หมายถึงตลาดขายของแห้งนักวิชาการหลายท่านก็เชื่อกันว่ามาจาก “บาซา” หรือตลาดบาซานั่นเอง? เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163 มีเชคอะหมัด ได้เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพาณิชย์ ช่วยปรับปรุงงานราชการด้านกรมท่าขวาและได้เป็นจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าเข้าออก ดูแลเรือและการระหว่างประเทศ ดูแลกิจการงานศาสนาอิสลามในประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมมาตลอดจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและ รัตนโกสินทร์ เราจะพบว่ามีผู้คนเข้ารับราชการในสมัยนั้นเป็นมุสลิมสายเปอร์เซียทั้งหมด ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังที่กล่าวมาแล้วว่าที่เรียกว่า “แขกเทศ” หรือ “แขกแพ” เพราะพวกเขาชอบสร้างแพตามริมฝั่งแม่น้ำเพื่อทำการค้าขาย เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากแขกแพเป็นนักเดินเรือ ลูกหลานสุลต่านสุไลมาน จึงมีชาติตระกูลดี เพราะได้รับโปรดเกล้าให้รับราชการกันหลายสกุล เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้กับชาวพม่า ชาวมุสลิมที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ก็ยังใช้แพเป็นที่ค้าขายและใช้มัสยิดบางกอกใหญ่หรือมัสยิดต้นสนเป็นที่ ประกอบศาสนกิจ ปัจจุบันชาวมุสลิมเปอร์เซียกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่แถวมัสยิดผดุงธรรม ซอยกุฎีจีน และเจริญพาศน์แถวฝั่งธนบุรี
  3. คนไทยที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่มาทางนักบุญหรือผู้เผยแพร่ศาสนา และการเข้ามาของบรรดาพ่อค้า ซึ่งเป็นการเผยแพร่ศาสนาอย่างหนึ่ง ส่วนในประเทศไทยนี้พบหลักฐานว่าคนไทยได้ติดต่อสัมผัสกับชาวมุสลิมตั้งแต่ยุคสุโขทัย และช่วงกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา โดยชาวมุสลิมบางคนเป็นถึงขุนนางในราชสำนัก
  4. มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากจาม หรือเขมร ในอดีตจามมีประเทศเป็นของตัวเอง ปัจจุบันเป็นเผ่าพันธุ์ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อขาดแคลนทหารก็ได้มีทหารอาสามาแทนทหารไทย มาจากจาม กัมพูชาที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกกันว่า “แขกครัว” เพราะอพยพกันมาเป็นครอบครัว สาเหตุที่เข้ามาก็เนื่องจาก ถูกเวียดนามรุกราน เมื่ออาณาจักรจามปาพ่ายแพ้ให้กับเวียดนาม ชาวจามส่วนหนึ่ง ก็หลบออกมาจากประเทศและเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ชาวจามบางคนก็ถูกจับเป็นเชลยด้วย บางคนก็เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่คลองแสนแสบ ที่เรียกว่า เจริญผล
  5. กลุ่มมุสลิมที่มีเชื้อสายมาจากเอเชียใต้ มีหลักฐานกล่าวว่า สมัยอยุธยามีชาวอินเดียที่เข้ามาค้าขายแล้วเกิดความมั่งคั่ง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการทำสนธิสัญญากับมหาอำนาจต่างๆ มีมุสลิมจากอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน มาตั้งถิ่นฐานในไทยมากขึ้น โดยยึดถืออาชีพค้าขาย เมื่อมาอยู่ในเมืองไทยก็ขอเป็นคนในบังคับต่างชาติ เพื่อจะได้ประกอบอาชีพสะดวกขึ้นเพราะมหาอำนาจได้ทำสนธิสัญญาไว้กับไทย ทำให้คนเหล่านี้ได้ไปตั้งถิ่นฐานในแหล่งสำคัญ อาทิ บางรัก ราชวงศ์ เยาวราช วรจักร สีลม พวกมุสลิมที่มาจากเอเชียใต้เหล่านี้ มักชอบสร้างเรือนในแถบที่มีมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่แล้ว ที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง อาทิ ในแถบสัมพันธวงศ์ วัดตึก ฝั่งธนบุรี เป็นต้น และบางท่านก็ได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองด้วย
  6. กลุ่มสุดท้าย เป็นมุสลิมที่มาจากเชื้อสายจีน ชาวจีนได้เข้ามาประเทศไทยทางภาคเหนือที่ติดกับไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และที่อื่นๆ และมักจะเรียกมุสลิมเหล่านี้ว่า “มุสลิมจีนฮ่อ” ซึ่งอพยพมาจากจีนทางตอนใต้หรือยูนนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง นายพลเจียง ไค เชค ต้องอพยพรัฐบาลของตนไปอยู่เกาะไต้หวันและเมื่อจีนถูกยึดครองโดย เหมาเจ๋อตุง กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปและไม่อนุญาตให้นับถือศาสนาใดเลย มีกองพลที่ 93 ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้เป็นทหารของจีนก๊กมินตั๋ง เป็นมุสลิม ไม่อาจอยู่ในประเทศจีนได้อีกต่อไป จึงย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่แถวอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทหารจีนจากกองพล 93 ส่วนมากเป็นมุสลิมเช่นเดียวกับจีนฮ่อที่อยู่เมืองไทยมาช้านานแล้ว ก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบภาคเหนือ เช่น มุสลิมที่ปาย? แม่ฮ่องสอน มีสถาปัตยกรรมมัสยิดที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ทางภาคใต้ของประเทศไทยเคยค้าขายกับนักเดินเรือช่าวจีน(เจิ้งเหอ)ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ก็มีจำนวนไม่น้อย จะเห็นได้ว่า ชาวไทยมุสลิมชาติพันธุ์ต่างๆในแผ่นดินไทย มีมิติที่กว้างขวางทั้งด้านชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ สังคม อารยธรรม ศิลปวัฒนธรรมและภาษา ชาวมุสลิมก็คือคนไทยส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกับสังคมไทยมาช้านาน มีบูรณาการร่วมกัน ที่เรียกว่า ความเป็นไทยอย่างกลมกลืนจนกระทั่งไม่สามารถแยกความเป็นมุสลิมออกไปได้ในสังคมไทย
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น