หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อีกแนวทางหนึ่งที่คนไทยควรรู้ไว้ระหว่างคริสต์ และ อิสลาม





 ความคิดเห็นที่ 45
เป็นตุ๊ด กะเทย เกย์ ทอม ดี้ ผิดหลักศาสนาอิสลามดังนี้

1. ศาสนาอิสลามห้ามการเลียนแบบเพศตรงข้าม ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า "พระองค์ทรงสาปแช่งผู้ชายที่ทำตัวเป็นผู้หญิงและผู้หญิงที่ทำตัวเป็นผู้ชาย" (บันทึกโดยบุคอรีย์) นักวิชาการอธิบายว่า การเลียนแบบเพศตรงข้าม ไม่ว่าจะเลียนแบบทางด้านการพูด,การกระทำ หรืออื่นๆ ของเพศตรงข้ามถือว่ามีความผิด และถูกสาปแช่งจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้กระทั่งว่าผู้ชายพูดโดยลงท้ายประโยคว่า "ค่ะ" ก็ถือว่าเลียนแบบเพศตรงข้ามแล้ว

2. บทบัญญัติว่าด้วยการลงโทษพวกรักร่วมเพศมีดั่งนี้ครับ ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า "พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่งบุคคลที่มีพฤติกรรมเสมือนพฤติกรรมของกลุ่มชนของ (นบี) ลูฎ,พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่งบุคคลที่มีพฤติกรรมเสมือนพฤติกรรมของกลุ่มชนของ (นบี) ลูฎ,พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่งบุคคลที่มีพฤติกรรมเสมือนพฤติกรรมของกลุ่มชนของ (นบี) ลูฎ" (บันทึกโดยอะหฺมัด) นักวิชาการลงมติเอกฉันท์นะครับว่า โทษของผู้ที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ เช่น ผู้ชายร่วมเพศกับผู้ชายทางทวารหนัก หุกุมของศาสนาคือการประหารชีวิตเท่านั้นนะครับ, ส่วนผู้ที่เลียนแบบเพศตรงข้ามอย่างเดียวโดยยังไม่ถึงขั้นร่วมเพศกัน เช่นนี้มีความผิดในประเด็นที่พระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่งพวกเขานะครับ

3. การที่พวกรักร่วมเพศถือศีลอดหรือนมาซ ผลบุญจากการถือศีลอดหรือนมาซไม่ได้นะครับ เพียงแต่เขาพ้นฟัรฺฎูเท่านั้น (หมายถึงไม่ต้องเกาะฎอฺชดใช้นั่นเอง) เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงสาปแช่งพวกรักร่วมเพศ (ซึ่งหากประเทศนั้นใช้กฎหมายอิสลาม พวกรักร่วมเพศต้องถูกประหารชีวิตด้วย) อีกทั้งการนมาซต้องยับยั้งความชั่วและความลามก หากนมาซแล้วไม่ยับยั้งความชั่วหรือความลามกก็ไม่ถือว่าเป็นมาซ,พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ในอัลกุรฺอานว่า "แท้จริงการนมาซนั้นยับยั้งความลามกและความชั่วช้า" (สูเราะฮฺอัลอังกะบูต : 45)

4. การตักเตือนถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ฉะนั้นเรื่องการตักเตือนจึงไม่มีไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นญาติพี่น้องของเรา, การมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศนั้น หลักการแพทย์ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง หากพึ่งเริ่มต้นเป็น เช่นเริ่มจะมีพฤติกรรมเลียนแบบเพศตรงข้าม เช่นนั้นเราต้องทำให้เขารู้ถึงเพศของตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของศาสนาช่วยได้มาก เช่นหากลูกสาว หรือน้องสาวของเราดูคล้ายกับผู้ชาย เช่นนี้ต้องสอนนางให้รู้จักการคลุมฮิญาบ, สอนให้เขานมาซอยู่ในแถวของผู้หญิง, สอนจริยธรรมอิสลามว่าด้วยการการปฏิบัติตัวของผู้หญิงเป็นต้น แต่ถ้าเป็นมากแล้ว หรือเป็นมานานแล้ว เช่นนี้ต้องพึ่งจิตแพทย์แล้วละครับ เพราะอาจไม่พึ่งแพทย์แล้วการรักษาให้หายขาดนั้นค่อนข้างลำบากหน่อยครับ ซึ่งจิตแพทย์อย่างเช่น ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรมก็รับรองว่า หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีผู้ป่วยมีสิทธิหายนะครับ และดร.วัลลภเองก็เปิดคลีนิกรักษากลุ่มรักร่วมเพศนี้ด้วย ท่านบอกว่ามีโอกาสหายขาดและรักษาหายมาหลายคนแล้ว โดยเฉพาะผู้หญิงที่เลียนแบบผู้ชายซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การรักษาหายขาดมากกว่าผู้ชายที่เลียนแบบผู้หญิงนะครับ ผมเสียดายว่าไม่ทราบว่าคลีนิกของดร.วัลลภอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ให้คุณnu ลองสอบถามดูว่าคลีนิกของท่านอยู่ที่ไหนนะครับหากว่าจะได้พาน้องสาวของคุณไปปรึกษาแพทย์ก็จะเป็นการดีไม่น้อย



ศาสนาจารย์ ยูเซฟ นาดาร์คอนี ซึ่งถูกทางการอิหร่านสั่งประหารชีวิตฐานละทิ้งศาสนาอิสลาม (ภาพ: www.worthynews.com)

เอเอฟพี – สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ลงมติประณามรัฐบาลอิหร่านที่สั่งประหารชีวิตศาสนาจารย์ชาวคริสต์รายหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการละเมิด “สิทธิมนุษยชนด้านการนับถือศาสนา” วานนี้ (1)

ด้วยคะแนนโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ 418-0 เสียง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ประกาศมติเชิงสัญลักษณ์ให้อิหร่านปล่อยตัว ยูเซฟ นาดาร์คอนี ในทันที พร้อมประณามรัฐบาลเตหะรานที่สนับสนุนการข่มเหงรังแกชนกลุ่มน้อย

นาดาร์คอนี วัย 34 ปี เปลี่ยนจากศาสนาอิสลามมานับถือคริสต์ตั้งแต่อายุ 19 ปี และกลายเป็นศาสนาจารย์ประจำชุมชนชาวคริสต์กลุ่มเล็กๆ ซึ่งใช้ชื่อว่า “ศาสนจักรแห่งอิหร่าน” (Church of Iran)

ศาสนาจารย์ผู้นี้ถูกจับเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2009 และต้องโทษประหารชีวิตฐานละทิ้งศาสนาอิสลาม

ตามกฎหมายชารีอะห์ บทลงโทษดังกล่าวจะถูกยกเลิกหากผู้กระทำผิด “สำนึกตัว” และยกเลิกการเปลี่ยนศาสนา ซึ่ง นาดาร์คอนี ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น

ประเทศตะวันตก ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ, อังกฤษ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส และโปแลนด์ ต่างออกแถลงการณ์ประณามอิหร่าน และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวศาสนาจารย์รายนี้

เมื่อเดือนกันยายน ปี 2010 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษประหารนาดาร์คอนี แต่คำตัดสินดังกล่าวถูกยกเลิกโดยศาลสูงในกรุงเตหะราน ทำให้คดีถูกส่งกลับไปยังศาลชั้นต้นที่เมืองราชต์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา

รองผู้ว่าฯ เมืองราชต์ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงและการเมืองของจังหวัด ระบุว่า ความเชื่อถือศรัทธาของนาดาร์คอนี ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป และจะเอาผิดเขาในข้อหา “เป็นไซออนิสต์ เป็นคนทรยศ และกระทำอาชญากรรมด้านความมั่นคง” แทน

นักสิทธิมนุษยชนเกรงว่า ศาสนาจารย์ผู้นี้อาจถูกลงโทษประหารได้ทุกเวลา

“ทางการอิหร่านจู่โจมศาสนสถาน, กักขังผู้ศรัทธาและผู้นำศาสนา รวมถึงข่มขู่ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่นๆ บ่อยครั้งขึ้นทุกที” สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ แถลงในมติประณาม พร้อมชี้ว่า “รัฐบาลทุกประเทศมีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง และให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย”

ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติเผยว่า อิหร่านลักลอบประหารชีวิตนักโทษถึง 146 รายในปีที่แล้ว และเมื่อปี 2010 ก็มีผู้ถูกประหารไปมากกว่า 300 คน


 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น