หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

NO OIC !

NO OIC !
NO OIC !
พระพม่าประท้วงมุสลิม ไม่ให้ตั้งสำนักงาน OIC
ประธานาธิบดีออกโรง "หนุนพระ"
 
       อา..แบบนี้สิที่เรียกว่า "เมืองพุทธ" ไม่ใช่ "พุทธแต่ปาก" เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อพระศาสนามีปัญหา ผู้นำบ้านเมืองต้องออกมาดูแล แต่ที่เวียงป่าเป้านั้น มุสลิมเอาสุเหร่ามาสร้างติดวัด รัฐบาลเอย มหาเถรสมาคมเอย สำนักพุทธฯเอย นั่งเป่าสากกันเป็นแถวๆ คงรอให้เขาขึ้นไปสร้างบนภูเขาทองเสียก่อนมั๊ง

      ตะทีตำแหน่งว่า พ่อรีบยัดคนของตัวเองเข้าไปกินก่อนเพื่อน เวลามีงานกลับโยนให้คนอื่นทำ ปากก็บอก "เพื่อพระศาสนาๆๆ" แต่จะว่าพระไทยไม่สนใจการเมืองก็ว่าไม่ได้นะ เดี๋ยวนี้พระไทยไปไกลถึงกับ "ประจบนักการเมือง" แล้ว หลายรูปขึ้นเวทีการเมืองทั้งผ้าเหลือง บางรูปได้เจ้าคุณมาเพราะการเมือง "จริงไม่จริง" ไปถามพระวัดสระเกศดูสิ ว่าปีที่แล้วกันโควต้าให้ "พรรคการเมือง" ไหนไปบ้าง ?
 
 
 
        เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีสหภาพพม่า มีบทบาทเด่นในเอเชียขึ้นมาทันตา ไม่ว่าด้านการเศรษฐกิจ การเมือง หรือแม้แต่การศาสนา ในอดีตนั้นพม่าเคยโดดเด่นเป็นต่อไทยหลายขุม แต่หลังจากเกิดปัญหาทางการเมืองก็อ่อนล้าลงตามลำดับ แต่ปัจจุบันผู้นำของพม่าเริ่มจับทิศทางได้แล้ว เพียงแค่ปรับทัศนคตินิดหน่อย ภาพพจน์ของพม่าก็ลอยข้ามประเทศไทยไปถึงสหรัฐอเมริกา นับว่าน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
 

 
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. เอเอฟพีรายงานความคืบหน้าสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธและอิสลามในพม่า จากกรณีองค์กรความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี ขอเข้ามาตั้งสำนักงานในนครย่างกุ้ง เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงยา ชนกลุ่มน้อยในรัฐยะไข่ ทางตะวันออกของพม่า ซึ่งมีเรื่องขัดแย้งกับชาวพุทธในท้องที่จนเกิดเป็นจลาจลร้ายแรง มีผู้เสียชีวิตกว่า 80 ราย และอีกหลายหมื่นคนต้องอพยพหนีตาย ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ว่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ประกาศไม่อนุญาตให้ โอไอซีเข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศ โดยให้เหตุผลว่าขัดแย้งกับความต้องการของประชาชนพม่า


ถ้อยแถลงของผู้นำพม่ามีขึ้นหลังจากพระสงฆ์พม่ากว่า 3,000 รูป เดินขบวนในหลายเมืองทั้งนครย่างกุ้ง เมืองปะก๊อกกู เขตมาเกว และเมืองมัณฑะเลย์ เพื่อประท้วงต่อต้านโอไอซี โดยพระโอตตมะธาราแกนนำเดินขบวนในเมืองมัณฑะเลย์กล่าวว่า ไม่ยอมรับแผนจัดตั้งสำนักงานโอไอซีในพม่า แม้ว่าโอไอซียืนยันเมื่อสัปดาห์ก่อนว่ารัฐบาลพม่าลงนามอนุญาตให้เข้ามาตั้งสำนักงานได้แล้ว


ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ก.ย. สมาชิกโอไอซี 57 คน เดินทางไปตรวจเยี่ยมชาวโรฮิงยาในรัฐยะไข่ มาแล้ว เพราะกังวลในความปลอดภัยของชาวโรฮิงยา และการถูกเลือกปฏิบัติ หลังมีรายงานว่าทหารพม่ายิงชาวโรฮิงยาในพื้นที่ ซึ่งครั้งนั้นพระสงฆ์พม่าออกมาเดินขบวนขับไล่เช่นกัน


สำหรับพระสงฆ์พม่ามีบทบาททางการเมืองในพม่าอย่างชัดเจน ตั้งแต่นำการประท้วงต่อต้านอดีตรัฐบาลทหาร และเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2550 อย่างไรก็ตาม ระยะหลังพระสงฆ์พม่ากลับมีบทบาทในการประท้วงต่อต้านด้านศาสนาหลายครั้ง จนทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกว่าจะทำให้ปัญหาลุกลามบานปลาย
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น