"น้ำมันเถื่อน" เกลื่อนภาคใต้ บนบกใช้ "รถกระบะดัดแปลง" | |
"น้ำมันเถื่อน" เกลื่อนภาคใต้ บนบกใช้ "รถกระบะดัดแปลง" ขนจากมาเลย์เที่ยวละ 1,000 ลิตร วันละ 2 เที่ยว เสียค่าน้ำร้อนน้ำชา 3 หมื่นต่อเดือน ส่วนกลางทะเลใช้เรือแทงเกอร์ขนทีละ 1 แสนลิตร มีเรือประมงไปรับ ส่วนต่างลิตรละ 3-4 บาท สถิติการสำรวจของ"หาดใหญ่โพล" ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ระบุชัดว่า คน 14 จังหวัดภาคใต้ให้ความสำคัญต่อปัญหาน้ำมันราคาแพงมากที่สุด คือ ร้อยละ 47.0 มากกว่าปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้และยาเสพติดที่ได้ร้อยละ 17.1 และ 16.7 ตามลำดับ ความเดือดร้อนของคนใต้จึงไม่ต่างจากคนทุกภาคของประเทศแต่ที่นี่มีปัจจัยเสริมที่ทำให้คนในพื้นที่แสวงหาช่องทางบรรเทาความเดือดร้อนของตัวเองได้มากกว่านั่นคือ การซื้อหา "น้ำมันเถื่อน" ซึ่งลักลอบนำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย แรงจูงใจสำคัญเกิดจากส่วนต่างราคาซึ่งต่างกันมาก ถึงลิตรละ 10-15 บาท !!! นายราฆพ ศรีศุภอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันปริมาณน้ำมันจากมาเลเซียที่มีการนำเข้ามาในทางบกมีอยู่ 2 จุด คือ ด่านปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา และด่านวังประจันทร์ จ.สตูล ประมาณ 2-3 หมื่นลิตรต่อวัน ส่วนวิธีการลักลอบนำเข้าจะมีพ่อค้ารายย่อยใช้รถยนต์ส่วนตัวและ "ดัดแปลงถังน้ำมัน" เพื่อให้สามารถเติมน้ำมันได้เพิ่มจากถังขนาดปกติที่ติดมากับรถประมาณ 100-200 ลิตร ปัจจุบันจำนวนพ่อค้ารายย่อยเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มขึ้นราว 300 - 400 ราย เพราะมีรายได้งาม...เฉลี่ยวันละ 500-1,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ เช่น นำป้ายทะเบียนปลอมมาใส่ และพ่นสีรถใหม่เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่จำได้ แนวทางแก้ปัญหาของศุลกากรคือประสานขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของฝั่งมาเลเซียให้ช่วยตรวจสอบการเข้าไปเติมน้ำมันของพ่อค้ารายย่อยจากฝั่งไทย และเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ไทยด้วย มาตรการจัดการในเรื่องนี้หากพบว่ามีการดัดแปลงถังน้ำมันจะมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
สอดคล้องกับแหล่งข่าวผู้ใช้รถในอ.สะเดา ที่ให้ข้อมูลอีกว่า ผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายย่อยในพื้นที่มีประมาณ 10 ราย แต่ละรายจะลงทุนซื้อรถป้ายแดงมาดัดแปลงถังน้ำมัน เพื่อให้เติมน้ำมันได้ครั้งละมากๆ โดยความจุจะอยู่ที่ประมาณ 900-1,000 ลิตร ปั๊มน้ำมันเถื่อนจะว่าจ้างคนขับวันละ1,500-2,000 บาท โดยจะเข้าออกวันละ 2 เที่ยวต่อวัน แล้วส่งขายพ่อค้าคนกลางและให้ปั๊มปลอดในพื้นที่ ราคาที่ส่งขายให้ปั๊มหลอดจะตกลิตรละ 24-25 บาท ส่วนราคาที่ขายให้พ่อค้าคนกลางลิตรละ 26-27 บาท จะมีการขายต่อให้ลูกค้าในราคาลิตรละ 30-31 บาท วิธีการตบตาเจ้าหน้าที่จะมีการ "ปรับแต่งเข็มวัดน้ำมัน" เพื่อรองรับการเติมน้ำมันเต็มถังที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยเข็มวัดน้ำมันจะแสดงว่ามีการเติมน้ำมันไม่เต็มถัง แม้น้ำมันจะเต็มความจุแล้ว เจ้าหน้าที่ก็มักจะปล่อยผ่าน เพราะดูจากเข็มวัดน้ำมันเป็นหลัก นอกเหนือจากการตบตาเจ้าหน้าที่ไทยแล้วพ่อค้าน้ำมันยัง "จ่ายใต้โต๊ะ" ให้แก่ปั๊มน้ำมันในฝั่งมาเลเซียเพื่อให้ปั๊มเติมน้ำมันในปริมาณเท่าไรก็ได้เพราะหากไม่จ่าย ทางปั๊มก็จะเติมให้ในอัตราถังปกติคือ แค่ 70-80 ลิตรเท่านั้น ที่น่าสนใจคือปัจจุบันจะมีการ ซื้อ "รถป้ายแดง" มาทำการขยายถังน้ำมันแทนรถมือสองเพราะหากเป็นรถยนต์ที่ซื้อมาเองจะไม่สามารถขอคืนได้ แต่ ถ้าเป็นรถป้ายแดงที่เช่าซื้อกับไฟแนนซ์หากเจ้าหน้าที่จับกุมและยึดรถ ไฟแนนซ์สามารถนำรถออกมาได้ เนื่องจากสิทธิครอบครองยังไม่ได้เป็นของผู้ซื้อ และเมื่อไฟแนนซ์ไถ่ถอนกลับมา...พ่อค้าก็สามารถนำรถมาทำธุรกิจได้อีก พ่อค้าน้ำมันรายย่อยในพื้นที่รายหนึ่งแฉด้วยว่าการนำน้ำมันออกมาจากฝั่งมาเลเซียต้องจ่าย "สินบน" ให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองประเทศ อัตราการจ่ายอยู่ที่ 3 หมื่นบาทต่อเดือน และต้องจ่ายเป็นรายครั้ง "ตามความเหมาะสม" อีกด้วย โดยรถที่จ่ายค่าน้ำร้อนน้ำชาจะสามารถวิ่งเข้าออกได้วันละ 2 เที่ยว แต่ละเที่ยวจะสามารถนำน้ำมันออกมาได้ประมาณ 900-1,000 ลิตร พ่อค้าน้ำมันรายนี้ยืนยันว่าถ้าไม่จ่ายก็จะไม่สามารถเข้าไปเติมได้ เพราะเจ้าหน้าที่มีข้อมูลรถยนต์ทุกคัน ทั้งเลขทะเบียนและรายชื่อผู้ขับขี่ นอกเหนือจากการลำเลียงทางบกแล้วทางทะเลก็เป็นอีกช่องทางที่มีการลักลอบเข้ามามาก... ข้อมูลจากแหล่งข่าวในจ.สุราษฎร์ธานีชี้ว่า จะมีเรือน้ำมันเถื่อนจากต่างประเทศมาลอยลำกลางทะเล และจะมีเรือประมงขนาดใหญ่ของไทยรับช่วงรับน้ำมันมาขายต่อในปริมาณเฉลี่ย 1 แสนลิตร ขึ้นไป เรือซอยนี้จะมีการดัดแปลงถังน้ำมันให้สามารถบรรทุกได้5-8 หมื่นลิตร และมีราคาส่วนต่างลิตรละ 3-4 บาท จุดที่มีการลักลอบมากที่สุดคือเขตต่อเนื่องในทะเลแถวๆ เกาะโลซิน ใน จ.ปัตตานี เกากระในจ.นครศรีธรรมราช เกาะพะงัน ใน จ.สุราษฎร์ธานี รวมทั้งเกาะแก่งในแถบ จ.สตูล ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งซื้อขายน้ำมันในมาเลเซียและสิงคโปร์ หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบก็จะจับกุมได้ยากเพราะเรืออยู่ในเขตต่อเนื่อง สามารถหลบเข้าเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซียได้อย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ไทยไม่มีอำนาจในการจับกุม น้ำมันส่วนใหญ่จะใช้เติมเรือประมงแต่ส่วนหนึ่งจะถูกลำเลียงขึ้นบก โดยเฉพาะช่วงที่ราคาน้ำมันมีราคาพุ่งสูงในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะอนุโลมในกรณีของเรือประมงที่มีต้นทุนสูง แต่จะเข้มงวดการลักลอบขึ้นบก เพราะทำให้รัฐสูญเสียภาษีเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งหมดนี้คือกลวิธีของขบวนการน้ำมันเถื่อนที่มีครบทั้งทางบกและทะเลที่นำความสูญเสียทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศอย่างมหาศาลแต่ก็เป็นช่องทางที่พ่อค้าน้ำมันเถื่อนยอมเสี่ยง เพราะมีผลประโยชน์อื้อซ่าจากส่วนต่างของราคาน้ำมันที่มีแต่จะถ่างกว้างขึ้นทุกขณะ "น้ำมันเถื่อน"ปนน้ำมันคลัง ลดต้นทุน-ตบตาเจ้าหน้าที่! นอกจากจะขายเฉพาะน้ำมันเถื่อนเพียวๆแล้ว ตามปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่ในภาคใต้ ยังนิยมใช้น้ำมันเถื่อนผสมปนลงไปในน้ำมันที่ซื้อมาจากคลังอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จุดประสงค์คือ มุ่งลดต้นทุน และใช้ "ใบเสร็จ" จากการซื้อน้ำมันในคลังมาตบตาเจ้าหน้าที่นั่นเอง !! น้ำมันที่มีการผสมมากที่สุดคือ "น้ำมันดีเซล" สมมติเช่น ปั๊มแห่งหนึ่งเก็บน้ำมันได้ 3 หมื่นลิตร แต่อาจซื้อน้ำมันจากคลังแค่ 1 หมื่นลิตร ส่วนอีก 2 หมื่นลิตร เป็นน้ำมันเถื่อน เป็นต้น แรงจูงใจคือ ราคาที่ต่างกันถึงลิตรละ 7 บาท นายไสววงศ์วรชาติ ผู้จัดการส่วนคลังปิโตรเลียม ปตท. สงขลา ระบุว่า ทุกวันนี้ตัวเลขการสั่งซื้อน้ำมันจากคลังลดลงถึง 20% และมีแนวโน้มว่าจะลดลงมากเรื่อยๆ สาเหตุหลักคือ ผู้ใช้รถหันมาใช้ก๊าซแอลพีจี ก๊าซเอ็นจีวีเติมรถมากขึ้น และส่วนหนึ่งยังมีการนำน้ำมันเถื่อนเข้ามาปลอมปนอีกด้วย | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
หน้าเว็บ
▼
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น