หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เรามาเรียกมันว่า โจรโอลันล้า กันดีมัั้้ย

เมื่อ “โจรใต้-ผู้ก่อการร้าย” เป็นคำต้องห้าม แล้วจะให้เรียกไงดี ?

         ชื่อนั้นสำคัญไฉน!! เมื่อ “โจรใต้-ผู้ก่อการร้าย” เป็นคำต้องห้าม แล้วจะให้เรียกไงดี ?

ทัศนะบทความ โดย : ทับ ภารณ


            อาจเป็นเพราะยังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ของการเจรจาเพื่อสันติภาพกับกลุ่ม บีอาร์เอ็น ทำให้แค่เรื่องของชื่อเรียก “กลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” กลายมาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และกำลังจะลามเข้าไปสู่ประเด็นทางการเมืองระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล

        เมื่อเร็วๆ นี้ จากการเปิดเผยของ “ร.ท. หญิง สุณิสา เลิศภควัต” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ออกมากล่าวถึงการเจรจาสันติภาพ พร้อมกับขอร้องฝ่ายค้านและสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ให้งดใช้คำเรียก “กลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ว่า “โจร”

         สำคัญอย่างไรกับเรื่องราวเล็กๆ เรื่องนี้คำเรียกขานต้องห้ามสำหรับคำว่า “โจร” หรือ “โจรใต้” จะมีผลต่อการเจรจาสันติภาพมากน้อยเพียงใด และบนคำถามสำคัญเกี่ยวกับการเจรจาสันติภาพของรัฐบาล คำจำกัดความของกลุ่มที่เจรจาอยู่กับรัฐบาล ควรจะถูกเรียกว่าอย่างไร?

          คำตอบของคำถามนี้ คงต้องลองมองย้อนกลับไปถึงปฏิบัติการที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2547 จุดเริ่มแห่งความไม่สงบที่ถูกเรียกว่า “ไฟใต้” ที่โหมกระพือขึ้นด้วยเหตุการณ์ ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด และจลาจลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และทางตอนล่างของจังหวัดสงขลา แม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เกิดนขึ้นก่อนหน้านั้นแล้วหลายปี

         แต่คำว่า “โจร” ก็ยังคงเป็นคำเรียกรวมแบบพื้นฐานโดยฝ่ายอำนาจรัฐ ที่ไม่แยกถึงอุดมการณ์ และยุทธวิธีของกลุ่มปฏิบัติการกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


         และคำว่า “โจร” ก็ถึงจุดโด่งดังสุดขีด เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ในสมัยนั้น) ออกมากล่าวถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงปี 2547 ว่า “เป็นฝีมือของโจรกระจอก”

        จากจุดเริ่มต้น ของคำว่า “โจร” จึงเริ่มพัฒนากลายมาเป็น “โจรใต้” บนโต๊ะข่าวของสื่อฯ ที่หาคำพาสดหัวที่ตรงความหมายที่สุด

           แต่ต่อมาเมื่อมีความพยายามที่จะหาแนวทางแห่งสันติ ทั้งในรัฐบาลหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และรัฐบาลต่อๆ มา การเรียกขานชื่อกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวจึงเริ่มกลายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากขึ้น มีการความพยายามที่จะหาคำจำกัดความที่เหมาะสมต่างๆ ทั้งการเรียกชื่อของขบวนการ การเรียกโดยใช้ปฏิบัติการเป็นพื้นฐาน อาทิ กลุ่มขบวนการ... กลุ่มเคลื่อนไหว กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ กองกำลังติดอาวุธ


          แต่ก็เกิดความสับสนขึ้นจนได้ เมื่อหลายๆ เหตุการณ์ หลายๆ ปฏิบัติการไม่สามารถระบุกลุ่มปฏิบัติการได้ และหลายๆ เหตุการณ์ เป็นเพียงความเข้าใจผิดระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ การจะระบุถึงชื่อของกลุ่มปฏิบัติการ จึงไม่ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่ได้รับความนิยมมากนักในเวลาต่อมา ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลในเรื่องของการสื่อสาร ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และความคลาดเคลื่อนของข่าวสาร  แต่ก็ยังมีความนิยมที่จะใช้คำว่า “โจรใต้” เป็นคำสำคัญที่สื่อความหมายกันอยู่ !!

         จวบจนกระทั่งหลายฝ่ายได้ท้วงติงถึงคำว่า “โจรใต้” ที่มีความหมายครอบคลุมเกินกว่าขอบเขตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก

       คำว่า “โจรใต้” จึงหายไปจากพาดหัวของสื่ออยู่นานหลายปี และมักไม่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งนัก ในการนำเสนอ หรือการเรียกขานของฝ่ายรัฐ รวมถึงสื่อมวลชน แต่ยังคงเป็นคำนิยมเรียกขนาจากคนทั่วไป ที่พูดถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในพื้นที่

        จนกระทั่งเกิดคำเรียกใหม่ ที่หลายต่อหลายครั้งมักใช้คำว่า “ผู้ก่อการร้าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ แต่สุดท้ายก็ถูกท้วงติงจากสังคมอีกเช่นกัน ว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นเรียกขานที่รุนแรงเกินไป

          การหลีกเลี่ยงเกี่ยวกับคำเรียกขานเหตุการณ์และผู้เคลื่อนไหวในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มักถูกฝ่ายการเมืองในแต่ละคราวที่ขึ้นมามีอำนาจ ร้องขอให้เปลี่ยนไปตามแนวคิด


         จนถึงคำที่ลงตัวที่สุดในปัจจุบัน ที่มักใช้คำว่า “กลุ่มผู้เคลื่อนไหว หรือ กลุ่มผู้เคลื่อนไหวในพื้นที่” เป็นคำเรียกขานที่ดูเหมือนจะเหมาะสมที่สุด

         เสียงเล็กๆ จาก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ท้วงติงไปถึง ฝ่ายค้าน และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับคำเรียกขานขบวนการ บีอาร์เอ็นที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าเจรจาเพื่อสันติภาพ และคำถามที่เกิดขึ้น อาจนำไปสู่การบัญญัติศัพท์ใหม่ที่จะใช้เรียกขานกลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่ขณะนี้ ที่จะถูกนับรวมทั้งในส่วนที่กำลังเจรจาสันติภาพกับรัฐบาล และกลุ่มกองกำลังที่ไม่ได้มีส่วนในการเจรจา

       และเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เมื่อคำว่า “โจรใต้ ผู้ก่อการร้าย และกลุ่มโจร” ถูกฝ่ายรัฐร้องขอไม่ให้ใช้เรียกขานในครั้งนี้ ฝ่ายรัฐจะใช้คำเรียกขานว่าอย่างไร??

        เพราะเพียงในเวทีเจรจาสันติภาพที่ประเทศมาเลเซียเที่ยวล่าสุด คำว่า “ขบวนการบีอาร์เอ็น” ถูกระบุให้เป็นคู่เจรจาอย่างเป็นทางการ ขณะที่ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด อาจไม่ได้เกิดจากกลุ่มบีอาร์เอ็นเพียงกลุ่มเดียว

         ดังนั้นก่อนที่สันติภาพจะเกิดขึ้น คำจำกัดความที่จะใช้เรียกขาน จึงเป็นอีกการบ้านสำคัญที่คงต้องช่วยกันหาคำตอบ เพราะการเจรจาสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น คงจะยังเป็นแค่เส้นทางที่ยาวไกล

         เมื่อวันนี้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังต่อสู้กับใคร เพราะแค่ชื่อเรียกขาน กับชื่อของฝ่ายตรงข้าม ยังกำหนดให้เรียกกันไม่ได้เลยด้วยซ้ำไป.... แล้วจะให้สันติภาพมาจากไหน จากใคร
         นี่อาจเป็นประเด็นเล็กๆ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า “ชื่อนั้นสำคัญไฉน” หากแม้เรียกไม่ได้แม้แต่ชื่อ จะให้คุยกันต่อไปรู้เรื่องได้อย่างไร? และนี่เป็นคำถามสำคัญที่หลายฝ่ายฝากถาม... ใครตอบได้ช่วยตอบที!!
 

  • ลุงคำต๋ามีความเห็นว่า น่าจะเรียกมันว่า 
  • ไอ้โจรโอลันล้า แบ่งแยกดินแดน 
  • ไอ้โจรมุดโสร่ง 
  • ไอ้โจร อัน....กูละเอียน
  • หรือ พ่อมหาจำเริญของเมียจ๋า.......
ให้เลขานายกเอาไปใช้ครับ เท่ห์ดี  ถ
http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น