หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์อันตรายไฟใต้ยังร้อนแรง เมื่อชุดเก็บกู้ระเบิดคือเป้าของฮารีเมาบูเก๊ะ

สถานการณ์อันตรายไฟใต้ยังร้อนแรง 
เมื่อชุดเก็บกู้ระเบิดคือเป้าของฮารีเมาบูเก๊ะ

สถานการณ์อันตรายไฟใต้ยังร้อนแรง เมื่อชุดเก็บกู้ระเบิดคือเป้าของฮารีเมาบูเก๊ะ

2013-10-07




        เดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ อีกครั้งของ "เจ้าหน้าที่รัฐ" โดยเฉพาะตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เริ่มจากการถูกโจมตีด้วยอาวุธปืนใน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 12 และห่างกันเพียง 1 วัน คือ วันที่ 13 กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็สูญเสียเจ้าหน้าที่อีก 3 คน ในพื้นที่ จ.นราธิวาส หลังจากนั้น ทั้งทหาร และตำรวจ ก็บาดเจ็บ อีกเกือบ 10 นาย จากการซุ่มโจมตี และจากการวางกับดักด้วยระเบิด แสวงเครื่อง ทั้งใน จ.ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส

       และเหตุความรุนแรงส่งท้ายเดือนกันยายน ที่ต้องบันทึกไว้ คือ การเสียชีวิตของตำรวจ สภ.บาเจาะ จ.นราธิวาสอีก 5 นาย จากการที่เกิดอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำในขณะที่เดินทางไปช่วยเหลือ ตำรวจ ชุดเก็บกู้ระเบิด ที่ถูกกลุ่มก่อการร้าย วางระเบิดแสวงเครื่อง และซุ่มยิง จนทำให้ ตำรวจชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด บาดเจ็บสาหัส 3 นาย และมีประชาชนที่สัญจร ผ่านทาง ถูก "ลูกหลง" เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บ 1 คน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ดังนั้น เดือนกันยายน จึงเป็นเดือนแห่งความสูญเสียครั้งใหญ่ของ เจ้าหน้าที่รัฐ และแหล่งข่าวในพื้นที่ ระบุว่าเป็นฝีมือของกลุ่มก่อการร้าย ที่เรียกชื่อว่า "ฮารีเมา บูเก๊ะ" หรือ "เสือภูเขา" ซึ่งก็มักจะอ้างว่ามาจาก ผลิตผลของความ "คับแค้น" จากเหตุการณ์ "ตากใบทมิฬ"เมื่อปี 2547 

       สิ่งที่น่าสังเกตและจับตามอง จะเห็นว่า ตลอดทั้งปี 2556 จะพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดเก็บกู้ระเบิด ของจังหวัดนราธิวาส ได้กลายเป็น "เป้า" ของการซุ่มโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งนับได้ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า กลุ่มก่อการร้าย ต้องการที่จะ "ทำลาย" ชุดเก็บกู้ระเบิดทุกชุดที่มีอยู่ สาเหตุเพราะหลายครั้งที่ปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายทำไม่สำเร็จ เนื่องจากมีการเก็บกู้ระเบิดได้ทันท่วงที ทำให้ "ระเบิดแสวงเครื่อง" ของกลุ่มก่อการร้าย กลายเป็น "ระเบิดด้าน" ดังนั้น เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย คือ การ ทำลายชุดเก็บกู้ระเบิด ซึ่งถือเป็นหน่วยงาน ที่เป็น "หัวใจ" ในสนามรบ ที่สามารถลดความ สูญเสียของเจ้าหน้าที่ และชุดเก็บกู้ระเบิด เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่า และกว่าจะฝึกขึ้น มาทดแทนได้ ต้องใช้เวลา ถ้าชุดเก็บกู้ระเบิด ถูก "ละลาย" ไป จะทำให้การปฏิบัติการ "วางกับระเบิด" ของกลุ่มก่อการร้าย สัมฤทธิผล มากขึ้น

        ดังนั้น เจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้และทำลาย วัตถุระเบิดทุกชุด ไม่ว่าจะเป็นของตำรวจของทหาร และอื่นๆ ต้องมีมาตรการ "แก้ทาง" ของกลุ่มก่อการร้าย ต้องมีการปรับตัว ปรับยุทธวิธี เพิ่มการระมัดระวัง ในการเข้า ปฏิบัติการในพื้นที่ ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบัน และ ในอนาคต

         ในส่วนของสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนั้น ยังจะเกิดความรุนแรงอย่าง ต่อเนื่อง เพราะขณะนี้ขบวนการแบ่งแยก ดินแดนทุกขบวนการ ไม่ว่าจะเป็น "บีอาร์เอ็นฯ" ที่มี "ฮัสซัน ตอยิบ" เป็นตัวแทน รวมทั้ง ขบวนการพูโลเก่า พูโลใหม่, บีไอพีพี และ กลุ่มอื่นๆ ที่แยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อขบวนการเหล่านี้ ซึ่งหลายขบวนการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. อยู่ระหว่างการประสานงาน เพื่อการ "พูดคุยสันติภาพ" กับทุกกลุ่ม เพราะเห็นชัดว่า "บีอาร์เอ็นฯ" ไม่สามารถที่จะ "สั่งการ" ให้ขบวนการ และกลุ่มต่างๆ เชื่อฟังได้

          ดังนั้น ในระหว่างที่สมช.เดินสาย ประสานงาน เพื่อ "พูดคุย" และรับฟัง "เงื่อนไข" ข้อเรียกร้องของแต่ละกลุ่ม แต่ละขบวนการความรุนแรงจึงยังจะเกิดขึ้น เพื่อขบวนการ และกลุ่มต่างๆ ต้องการแสดง ให้เห็นว่า ขบวนการและกลุ่มของตนเอง ยังมี "ศักยภาพ" ในการก่อความไม่สงบ เพื่อสร้างความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่ และ ประชาชนที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อที่จะ "บีบ" ให้ สมช. เดินตาม "เกม" ที่ขบวนการ และกลุ่มก่อการร้ายต้องการ เพื่อ ความได้เปรียบในการ "ต่อรอง" ในการ "พูดคุย" หรือการ "เจรจา" 

        จริงอยู่ว่า สถานการณ์ความรุนแรงในวันนี้ ขบวนการและกลุ่มก่อการร้าย ที่ยัง ไม่เห็นด้วยกับการ "ยุติความรุนแรง" โดยการ "พูดคุยสันติภาพ" พุ่งเป้าไปยัง เจ้าหน้าที่รัฐ คือ ตำรวจ ทหาร อส. และชรบ. เป็นหลัก โดยจำนวนประชาชน ที่เคยเป็น"เหยื่อ" สถานการณ์ ซึ่งเคย "ตายรายวัน" ลดจำนวนลง ตั้งแต่เดือน "รอมฎอน" เป็นต้นมา แต่ไม่ว่าผู้ที่สูญเสียจะเป็น เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็น "ประชาชน" ต่างก็เป็น ความสูญเสียที่มีราคาเท่ากันทั้งสิ้น และสิ่งที่รัฐต้องเข้าใจคือ การสูญเสียของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้เป็นความสูญเสียของกองทัพ ของ สนง.ตำรวจแห่งชาติ หรือของกรมการปกครอง และเป็นความสูญเสียของครอบครัวผู้สูญเสียเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงประชาชนในพื้นที่ สูญเสียความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ สูญเสีย ขวัญและกำลังใจ ในการที่จะต่อสู้ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะขนาด เจ้าหน้าที่ ซึ่งมีอาวุธ มีหน้าที่ มีอำนาจ ยังต้องกลายเป็น "เหยื่อ" ของกลุ่มก่อการร้าย ดังนั้นถ้ากลุ่มก่อการร้ายหันปากกระบอกปืนมายังประชาชน แล้วประชาชนจะเอาอะไรไปต่อสู้ นอกจากย้ายหนี หรือ "ตาย" เพียงสถานเดียว

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น