เสียงจากเวทีเสวนา ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่ ปิดท้ายงานวิชาการนานาชาติ CCPP “อยากให้การพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อ” กับคำถามและข้อเสนอแนะที่หลากหลายต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) มีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ภาคประชาสังคม “บนเส้นทางสันติภาพ: ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่” On the (Peace) Road Again: Pa(t)tani in New Conditions ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการสื่อสาร ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ: ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Communication, Conflicts and Peace Processes : Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand) หรือ CCPP
เวทีเสวนากล่าวเปิดงานโดยนายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ เลขาธิการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ส่วนผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายดอน ปาทาน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ปาตานีฟอรั่ม (Patani Forum) ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Project) นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระ นายรอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
ดำเนินรายการโดยนางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ประกาศข่าวภาคสนามรายการ “ข่าว 3 มิติ” ไทยทีวีสีช่อง 3 สรุปสังเคราะห์และกล่าวปิดการเสวนาโดย ดร.นอร์เบอร์ โรเปอร์ส นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) และผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน มีการแสดงความคิดเห็นและคำถามที่หลายหลายอย่างกว้างขวาง ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาบางส่วนจากผู้ร่วมเสวนา
ดำเนินรายการโดยนางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ประกาศข่าวภาคสนามรายการ “ข่าว 3 มิติ” ไทยทีวีสีช่อง 3 สรุปสังเคราะห์และกล่าวปิดการเสวนาโดย ดร.นอร์เบอร์ โรเปอร์ส นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) และผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน มีการแสดงความคิดเห็นและคำถามที่หลายหลายอย่างกว้างขวาง ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาบางส่วนจากผู้ร่วมเสวนา
ทิศทางการพูดคุยสันติภาพปาตานีจะเป็นอย่างไร?
การเสวนาเริ่มด้วยการตั้งคำถามจากนางสาวฐปณีย์ผู้ดำเนินรายการว่า จะมีการเริ่มต้นการพูดคุยสันติภาพปาตานีอย่างไร ทิศทางการพูดคุยสันติภาพจะเป็นอย่างไร?
การเสวนาเริ่มด้วยการตั้งคำถามจากนางสาวฐปณีย์ผู้ดำเนินรายการว่า จะมีการเริ่มต้นการพูดคุยสันติภาพปาตานีอย่างไร ทิศทางการพูดคุยสันติภาพจะเป็นอย่างไร?
พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นหนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์ในการพูดคุยสันติภาพปาตานีเมื่อรอบที่แล้ว กล่าวถึงเรื่องการพูดคุยสันติภาพมีเนื้อหา ดังนี้
“ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 7 คน แต่ความรุนแรงยังคงไม่ห่างหายไป ขณะนี้จะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์เดินทางลงมาในภาคใต้เดือนละ 2 ครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ภาคใต้
เรื่องการพูดคุยสันติภาพ ต้องเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเรื่องการพูดคุยก่อน เพราะคนมีความเข้าใจเรื่องการพูดคุยตามจุดยืนของตนเอง รัฐจะบริหารจัดการอย่างไรกับความหลากหลายทางความคิดนี้ เรื่องภาคใต้มีปัญหาเรื่องเห็นต่าง จึงต้องดูว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด ขณะนี้นโยบายของรัฐบาลที่ออกมาปี พ.ศ.2555-2557 ต้องกลับไปอ่านนโยบายให้เข้าใจก่อน
รัฐไทยควรสื่อสารกับคนทั้งประเทศว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสันติภาพที่ภาคใต้ จึงจะสามารถดำเนินการได้ ควรเปิด Road Map (แผนที่นำทาง) ให้ทราบกันทั่วไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
แจงขันตอนสันติภาพของ คสช.
ดังนั้นขั้นที่หนึ่ง คือการสร้างความเชื่อมั่น จากประกาศของ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ฉบับที่ 96 ให้ความสำคัญกับกลุ่มงานในการหาทางออกของความขัดแย้ง เป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนซึ่งมี 7 กลุ่มงานที่ทำหน้าที่โดยตรง และ ฉบับที่ 98 เป็นโครงสร้างของบูรณาการ และสร้างความเป็นเอกภาพ ชี้ให้เห็นว่า การบริหารและจัดการภาคใต้ต้องเดินหน้าต่อ เพราะปัญหาความขัดแย้งกลายเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
การเดินหน้าจากประกาศและคำสั่งต่างๆของคสช. ต้องมีการพูดคุยสันติภาพต่อ สันติภาพหรือสันติสุข ก็มีความหมายเดียวกัน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Peace เมื่อรัฐบาลที่แล้วเปิดการพุดคุยสันติภาพ เป็นแนวทางที่เห็นแสงสว่าง ทุกคนสนับสนุน แต่การทำงานเรื่องการพูดคุยสันติภาพยังติดขัด ซึ่งรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธนั้นต้องมีการหารือเพื่อแสวงหารูปแบบ และกำหนดทิศทางภายใต้ Road map ที่กำลังร่างกันอยู่
Road map นี้ค่อนข้างสมบูรณ์ครบถ้วน เนื่องจากเป็นรูปแบบสากล ที่นำตัวอย่างจาก อาเจะห์ ฟิลิปปินส์ ไอร์แลนด์เหนือ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ Model (รูปแบบตัวอย่าง) ที่ชัดเจน รัฐบาลใหม่จะนำบทเรียนการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลที่แล้วมาปรับใช้ด้วย
การปรับโครงสร้างการพูดคุยสันติภาพภายใต้ มี 2 ระดับ ดังนี้
ดังนั้นขั้นที่หนึ่ง คือการสร้างความเชื่อมั่น จากประกาศของ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ฉบับที่ 96 ให้ความสำคัญกับกลุ่มงานในการหาทางออกของความขัดแย้ง เป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนซึ่งมี 7 กลุ่มงานที่ทำหน้าที่โดยตรง และ ฉบับที่ 98 เป็นโครงสร้างของบูรณาการ และสร้างความเป็นเอกภาพ ชี้ให้เห็นว่า การบริหารและจัดการภาคใต้ต้องเดินหน้าต่อ เพราะปัญหาความขัดแย้งกลายเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
การเดินหน้าจากประกาศและคำสั่งต่างๆของคสช. ต้องมีการพูดคุยสันติภาพต่อ สันติภาพหรือสันติสุข ก็มีความหมายเดียวกัน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Peace เมื่อรัฐบาลที่แล้วเปิดการพุดคุยสันติภาพ เป็นแนวทางที่เห็นแสงสว่าง ทุกคนสนับสนุน แต่การทำงานเรื่องการพูดคุยสันติภาพยังติดขัด ซึ่งรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธนั้นต้องมีการหารือเพื่อแสวงหารูปแบบ และกำหนดทิศทางภายใต้ Road map ที่กำลังร่างกันอยู่
Road map นี้ค่อนข้างสมบูรณ์ครบถ้วน เนื่องจากเป็นรูปแบบสากล ที่นำตัวอย่างจาก อาเจะห์ ฟิลิปปินส์ ไอร์แลนด์เหนือ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ Model (รูปแบบตัวอย่าง) ที่ชัดเจน รัฐบาลใหม่จะนำบทเรียนการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลที่แล้วมาปรับใช้ด้วย
การปรับโครงสร้างการพูดคุยสันติภาพภายใต้ มี 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับนโยบาย การตัดสินใจในระดับนี้จำเป็นต้องผ่านกลไกระดับนโยบาย ซึ่งจะมีกลุ่มที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาเกี่ยวข้อง
2. ระดับขับเคลื่อน ซึ่งมีทั้งแบบปิดลับ และแบบเปิดเผย
3. ระดับพื้นที่ เป็นความรับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค 4 มีการบูรณาการของทุกภาคส่วนรวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ระดับขับเคลื่อน ซึ่งมีทั้งแบบปิดลับ และแบบเปิดเผย
3. ระดับพื้นที่ เป็นความรับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค 4 มีการบูรณาการของทุกภาคส่วนรวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ความชัดเจนของรูปแบบต่างๆเหล่านี้ ต้องรอการประกาศจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยราวๆปลายเดือนสิงหาคมปีนี้ ซึ่งแนวโน้มของการพูดคุยสันติภาพต้องมีการพูดคุยในระดับบนก่อน (Track1) จากนั้นจะมีการสื่อสารถึงกลุ่มต่างๆทันที กรอบการพูดคุยสันติภาพ จะเห็นว่ามีข้อเรียกร้องที่เกิดจากกลุ่ม BRN ยังคงกรอบเดิมอยู่ เนื่องจาก Agreement นั้นเป็นกรอบในการพูดคุยกันต่อไป
ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ทั่วโลก ตราบใดที่คนแตกต่างและหลากหลายยังคงอยู่ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ รัฐจะบริหารจัดการความขัดแย้งบนฐานของความแตกต่างอย่างไร ประวัติศาสตร์ตัดตอนสร้างความแตกแยก เรื่องบูรณาการอำนาจและบูรณาการดินแดน ต้องยอมรับว่าดินแดนไหนอ่อนแอก็อาจถูกยึดได้
ปัญหาภาคใต้จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง ต้องยุติสภาพปัญหา สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ฝ่ายข้าศึกที่สู้กับฝ่ายรัฐเราสู้ได้ แต่หากประชาชนตายหนึ่งคน ก็จะมีคนเกิดขึ้นมาสอง หน้าที่ของ กอ.รมน. คือการป้อง ปราม แก้ไข ยุทธศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขคือความปลอดภัยของประชาชน
ในการรบมีคนอยู่ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายเรา ฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายตรงกลาง หากฝ่ายใดที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายตรงกลางก็เป็นฝ่ายชนะ เพราะประชาชนคือจุดสมดุลทางยุทธศาสตร์
ฝ่ายความมั่นคงต้องดูเรื่องประเทศ เรื่องแยกหรือแตกแยกเป็นอันดับแรก การพูดคุยสันติภาพที่มีพัฒนาการและมีการสนับสนุน นโยบาย 9 ข้อที่ประกาศออกมาเป็นการหาทางออกจากความขัดแย้ง แต่หากนโยบายนี้สะดุด ทุกคนก็ด่าทหาร ทหารคือตัวรองรับ ทหารจึงต้องทำทีละขั้น 10 ปี กับ 7 รัฐบาลทำให้การแก้ปัญหาไม่ต่อเนื่องเพราะแบ่งขั้วเลือกข้าง กลุ่มเพื่อไทย กลุ่มทหาร และกลุ่มประชาธิปัตย์
ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ทั่วโลก ตราบใดที่คนแตกต่างและหลากหลายยังคงอยู่ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ รัฐจะบริหารจัดการความขัดแย้งบนฐานของความแตกต่างอย่างไร ประวัติศาสตร์ตัดตอนสร้างความแตกแยก เรื่องบูรณาการอำนาจและบูรณาการดินแดน ต้องยอมรับว่าดินแดนไหนอ่อนแอก็อาจถูกยึดได้
ปัญหาภาคใต้จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง ต้องยุติสภาพปัญหา สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ฝ่ายข้าศึกที่สู้กับฝ่ายรัฐเราสู้ได้ แต่หากประชาชนตายหนึ่งคน ก็จะมีคนเกิดขึ้นมาสอง หน้าที่ของ กอ.รมน. คือการป้อง ปราม แก้ไข ยุทธศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขคือความปลอดภัยของประชาชน
ในการรบมีคนอยู่ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายเรา ฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายตรงกลาง หากฝ่ายใดที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายตรงกลางก็เป็นฝ่ายชนะ เพราะประชาชนคือจุดสมดุลทางยุทธศาสตร์
ฝ่ายความมั่นคงต้องดูเรื่องประเทศ เรื่องแยกหรือแตกแยกเป็นอันดับแรก การพูดคุยสันติภาพที่มีพัฒนาการและมีการสนับสนุน นโยบาย 9 ข้อที่ประกาศออกมาเป็นการหาทางออกจากความขัดแย้ง แต่หากนโยบายนี้สะดุด ทุกคนก็ด่าทหาร ทหารคือตัวรองรับ ทหารจึงต้องทำทีละขั้น 10 ปี กับ 7 รัฐบาลทำให้การแก้ปัญหาไม่ต่อเนื่องเพราะแบ่งขั้วเลือกข้าง กลุ่มเพื่อไทย กลุ่มทหาร และกลุ่มประชาธิปัตย์
ศึกษาตัวอย่างต่างประเทศทำโรดแมป
การไปดูงานที่ อาเจะห์ ไอร์แลนด์เหนือ ฟิลิปปินส์ เห็นว่าการพูดคุยสันติภาพต้องมี Road map บทเรียนของรัฐในการพูดคุยคือการจัดทำ Road map ไม่ดี ขั้นแรกเราต้องพร้อมในการพูดคุย และต้องถามว่าการพูดคุยสันติภาพตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่หรือไม่ จะเห็นว่าหนึ่งปีของการพูดคุยประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม ต้องดำเนินการในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจก่อน แต่เมื่อการพูดคุยสันติภาพเริ่มต้นขึ้น การเมืองเร่งเร้า เนื่องจากอีกหนึ่งปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC
ในทางการข่าวเชื่อว่า คุณฮัสซัน ตอยิบ คือตัวจริงในการเป็นสายข่าวในต่างประเทศ ซึ่งทุกคนต้องยอมรับเพียงแต่คุณฮัสซันอาจไม่สามารถประสานกับกลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่โดยตรง เมื่อไม่มีการพูดคุยภายในเกิดการไม่ยอมรับผู้นำในการคุย นักเคลื่อนไหวกลุ่มเยาวชนก็ไม่ยอมรับการนำของฮัสซัน แตกออกมาเป็น 3 กลุ่มนั่นคือ กลุ่มเห็นด้วย กลุ่มไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่รอดูท่าที
ตอนนี้ข้อตกลงเลยมาถึงขั้นเป็น Road map ซึ่งต้องทำ 3 เรื่อง คือสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทำสัตยาบัน นำไปสู่ข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ซึ่งตอนนี้ยังขาดการสื่อสารกับประชาชน เนื่องจากการเมืองเร่งเร้า ในส่วนของคุณฮัสซัน ที่ออกในเว็บไซต์ Youtube ก็เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่อยู่ในพื้นที่ การพูดคุยสันติภาพที่มีประสิทธิภาพคือต้องรับฟังความคิดเห็นว่า ประชาชนเดือดร้อนจึงจะแก้ไขปัญหาถูกจุด
การไปดูงานที่ อาเจะห์ ไอร์แลนด์เหนือ ฟิลิปปินส์ เห็นว่าการพูดคุยสันติภาพต้องมี Road map บทเรียนของรัฐในการพูดคุยคือการจัดทำ Road map ไม่ดี ขั้นแรกเราต้องพร้อมในการพูดคุย และต้องถามว่าการพูดคุยสันติภาพตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่หรือไม่ จะเห็นว่าหนึ่งปีของการพูดคุยประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม ต้องดำเนินการในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจก่อน แต่เมื่อการพูดคุยสันติภาพเริ่มต้นขึ้น การเมืองเร่งเร้า เนื่องจากอีกหนึ่งปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC
ในทางการข่าวเชื่อว่า คุณฮัสซัน ตอยิบ คือตัวจริงในการเป็นสายข่าวในต่างประเทศ ซึ่งทุกคนต้องยอมรับเพียงแต่คุณฮัสซันอาจไม่สามารถประสานกับกลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่โดยตรง เมื่อไม่มีการพูดคุยภายในเกิดการไม่ยอมรับผู้นำในการคุย นักเคลื่อนไหวกลุ่มเยาวชนก็ไม่ยอมรับการนำของฮัสซัน แตกออกมาเป็น 3 กลุ่มนั่นคือ กลุ่มเห็นด้วย กลุ่มไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่รอดูท่าที
ตอนนี้ข้อตกลงเลยมาถึงขั้นเป็น Road map ซึ่งต้องทำ 3 เรื่อง คือสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทำสัตยาบัน นำไปสู่ข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ซึ่งตอนนี้ยังขาดการสื่อสารกับประชาชน เนื่องจากการเมืองเร่งเร้า ในส่วนของคุณฮัสซัน ที่ออกในเว็บไซต์ Youtube ก็เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่อยู่ในพื้นที่ การพูดคุยสันติภาพที่มีประสิทธิภาพคือต้องรับฟังความคิดเห็นว่า ประชาชนเดือดร้อนจึงจะแก้ไขปัญหาถูกจุด
เปิดเวทีพูดคุยและรับฟังทุกภาคส่วน
การพูดคุยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น อยากให้เชื่อมั่น ศรัทธารัฐบาล เพราะการพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา นโยบายของรัฐ 9 ข้อ เขียนเลยไปถึงการเจรจา และให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รับผิดชอบการพูดคุย ซึ่ง Agreement มีสองส่วน คือการเซ็นต์สัญญา และ TOR (กรอบข้อตกลง) ที่ต้องมีการแก้ไขเพื่อกำหนดจำนวนคนที่จะเข้ามาพูดคุย และจำนวนครั้งที่จะพูดคุย
เนื่องจากแต่ละ Track มีความต้องการที่แตกต่าง จึงต้องมีการพูดคุยและรับฟังทุกภาคส่วน ซึ่งคือสัญญาณที่สื่อออกมาว่า รัฐบาลใหม่อยากคุยต่อและจะดียิ่งขึ้นหากการพูดคุยในครั้งนี้มีผู้ที่รู้ทั้งนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป”
การพูดคุยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น อยากให้เชื่อมั่น ศรัทธารัฐบาล เพราะการพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา นโยบายของรัฐ 9 ข้อ เขียนเลยไปถึงการเจรจา และให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รับผิดชอบการพูดคุย ซึ่ง Agreement มีสองส่วน คือการเซ็นต์สัญญา และ TOR (กรอบข้อตกลง) ที่ต้องมีการแก้ไขเพื่อกำหนดจำนวนคนที่จะเข้ามาพูดคุย และจำนวนครั้งที่จะพูดคุย
เนื่องจากแต่ละ Track มีความต้องการที่แตกต่าง จึงต้องมีการพูดคุยและรับฟังทุกภาคส่วน ซึ่งคือสัญญาณที่สื่อออกมาว่า รัฐบาลใหม่อยากคุยต่อและจะดียิ่งขึ้นหากการพูดคุยในครั้งนี้มีผู้ที่รู้ทั้งนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป”
ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Project)
“กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้มีสัญญาณว่าจะเดินหน้าอยู่แล้ว แต่ตอนนี้สิ่งที่คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องทำ คือ การติดตามสถานการณ์การเมืองส่วนกลางให้มาก ทั้งในเรื่องนโยบาย ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานความมั่นคง และจับตาดูรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สิ่งที่ต้องทำในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ภายใต้สถานการณ์ใหม่นี้ คือ การดึงคนทุกภาคส่วน คือ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม กองทัพ ผู้บริสุทธิ์ และผู้สูญเสียที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมาคุยกัน ถกเถียงกันถึงเรื่องสันติภาพ เพื่อให้สันติภาพเติบโต เบิกบาน
ปัญหาที่ท้าทายกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ขณะนี้ คือ ฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ ที่เป็นคู่ขัดแย้งหลัก ต่างมีความรู้และความเชื่อในเรื่อง “ประวัติศาสตร์” คนละชุดกัน ระดับความไว้วางใจระหว่างกันจึงค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นทางออกก็คือ กระบวนการสันติภาพควรจะต้องมีพื้นที่กลางสำหรับการเปิดให้ทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน สันติภาพจะได้เบ่งบานมากขึ้น
รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
“แม้ตอนนี้กระบวนการพูดคุยสันติภาพระดับบนยังไม่ขยับ แต่ทุกวันนี้สิ่งที่เราทำก็สามารถเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในขั้นตอนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้เช่นกัน นั่นคือ การมีพื้นที่สำหรับมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในงานวิชาการนานาชาติ
การเจรจาเมื่อครั้งที่แล้วแม้จะหยุดชะงักอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็น “ระเบิดเวลา” ที่จุดประกายให้หลายฝ่ายหันหน้ามาพูดถึงเรื่อง “อนาคตปาตานี” มากขึ้น พร้อมย้ำอีกครั้งว่าย้ำ การพูดถึงเรื่องอนาคตปาตานีมันเบ่งบานขึ้นมามากจริงๆ หลังการเจรจาเมื่อปี 2556 จนกระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารปี 2557 การคาดเดาถึงอนาคตปาตานีก็เป็นสิ่งที่ยากขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังคงมีข้อถกเถียงในหลายพื้นที่และถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง
ที่มาของคำว่า Pa(t)tani โดยวงเล็บที่ปรากฏในตัว t ตัวที่สอง มันมีความหมายที่คนกลุ่มหนึ่งคือระดับรัฐไทยต้องการให้มีอยู่ ขณะที่ฝ่ายขบวนการต้องการให้ตัว t ในวงเล็บหายไป การนำตัว t มาปรากฏอยู่ในวงเล็บ มันจึงสะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับหนึ่ง หากจะนำตัว t ออก หรือลบวงเล็บออกก็ไม่มีปัญหาใด เพียงแต่การเขียนด้วยรูปแบบที่ใส่ตัว t ไว้ในวงเล็บมันสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดการ Dialog ขึ้นมา
เรื่องของสันติภาพจริงๆ แล้วมีหลายระดับ และเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ขอให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนเองให้ดีก็เป็นพอ
สิ่งที่ต้องทำในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ภายใต้สถานการณ์ใหม่นี้ คือ การดึงคนทุกภาคส่วน คือ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม กองทัพ ผู้บริสุทธิ์ และผู้สูญเสียที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมาคุยกัน ถกเถียงกันถึงเรื่องสันติภาพ เพื่อให้สันติภาพเติบโต เบิกบาน
ปัญหาที่ท้าทายกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ขณะนี้ คือ ฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ ที่เป็นคู่ขัดแย้งหลัก ต่างมีความรู้และความเชื่อในเรื่อง “ประวัติศาสตร์” คนละชุดกัน ระดับความไว้วางใจระหว่างกันจึงค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นทางออกก็คือ กระบวนการสันติภาพควรจะต้องมีพื้นที่กลางสำหรับการเปิดให้ทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน สันติภาพจะได้เบ่งบานมากขึ้น
รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
“แม้ตอนนี้กระบวนการพูดคุยสันติภาพระดับบนยังไม่ขยับ แต่ทุกวันนี้สิ่งที่เราทำก็สามารถเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในขั้นตอนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้เช่นกัน นั่นคือ การมีพื้นที่สำหรับมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในงานวิชาการนานาชาติ
การเจรจาเมื่อครั้งที่แล้วแม้จะหยุดชะงักอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็น “ระเบิดเวลา” ที่จุดประกายให้หลายฝ่ายหันหน้ามาพูดถึงเรื่อง “อนาคตปาตานี” มากขึ้น พร้อมย้ำอีกครั้งว่าย้ำ การพูดถึงเรื่องอนาคตปาตานีมันเบ่งบานขึ้นมามากจริงๆ หลังการเจรจาเมื่อปี 2556 จนกระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารปี 2557 การคาดเดาถึงอนาคตปาตานีก็เป็นสิ่งที่ยากขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังคงมีข้อถกเถียงในหลายพื้นที่และถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง
ที่มาของคำว่า Pa(t)tani โดยวงเล็บที่ปรากฏในตัว t ตัวที่สอง มันมีความหมายที่คนกลุ่มหนึ่งคือระดับรัฐไทยต้องการให้มีอยู่ ขณะที่ฝ่ายขบวนการต้องการให้ตัว t ในวงเล็บหายไป การนำตัว t มาปรากฏอยู่ในวงเล็บ มันจึงสะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับหนึ่ง หากจะนำตัว t ออก หรือลบวงเล็บออกก็ไม่มีปัญหาใด เพียงแต่การเขียนด้วยรูปแบบที่ใส่ตัว t ไว้ในวงเล็บมันสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดการ Dialog ขึ้นมา
เรื่องของสันติภาพจริงๆ แล้วมีหลายระดับ และเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ขอให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนเองให้ดีก็เป็นพอ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
“แม้ว่าหัวข้อจะพูดถึงบนเส้นทางใหม่ แต่สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎอัยการศึกซึ่งมีการบังคับใช้ที่เข้มข้นกว่าพื้นที่อื่น ๆ
การประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ต่อมามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) แต่หลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เมื่อหลายพื้นที่ได้ยกเลิกไปแล้ว แต่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงยกเว้นและประกาศใช้เรื่อยมาเป็นเวลา 7-8 ปี
ผลกระทบของการประกาศใช้กฎอัยการศึกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือ การออกหมายจับ โดยเฉพาะในอดีตที่มีการออกหมายจับบุคคลต้องสงสัยที่ง่ายมากและไม่รัดกุม แต่เมื่อมีความพยายามทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ทั้งอัยการ ศาล ตำรวจและทหารแล้ว การออกหมายจับก็ถูกตัวมากขึ้น และมีกระบวนการซักถามที่รอบคอบมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีการออกหมายจับที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้ไม่เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ความมั่นคง
“แม้ว่าหัวข้อจะพูดถึงบนเส้นทางใหม่ แต่สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎอัยการศึกซึ่งมีการบังคับใช้ที่เข้มข้นกว่าพื้นที่อื่น ๆ
การประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ต่อมามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) แต่หลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เมื่อหลายพื้นที่ได้ยกเลิกไปแล้ว แต่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงยกเว้นและประกาศใช้เรื่อยมาเป็นเวลา 7-8 ปี
ผลกระทบของการประกาศใช้กฎอัยการศึกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือ การออกหมายจับ โดยเฉพาะในอดีตที่มีการออกหมายจับบุคคลต้องสงสัยที่ง่ายมากและไม่รัดกุม แต่เมื่อมีความพยายามทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ทั้งอัยการ ศาล ตำรวจและทหารแล้ว การออกหมายจับก็ถูกตัวมากขึ้น และมีกระบวนการซักถามที่รอบคอบมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีการออกหมายจับที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้ไม่เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ความมั่นคง
เรียนรู้จากกฎอัยการศึก
หลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการประกาศใช้อัยการศึกทั่วประเทศประชาชนทุกภูมิภาคต่างก็ได้รับผลกระทบจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีหมายเรียก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยประสบกับการประกาศใช้อัยการศึกก็ไม่เข้าใจ และต้องเรียนรู้ ต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมานาน เชื่อว่าคนในพื้นที่สามารถนำกรณีศึกษาในพื้นที่ตนเองไปอธิบายบทเรียนต่างๆได้อย่างง่ายดาย
จากการเปรียบเทียบการประกาศใช้กฎอัยการศึกกับพื้นที่อื่นๆ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากในพื้นที่อื่นเมื่อชาวบ้านถูกจับหรือเจ้าหน้าที่เชิญตัวไปนั้นญาติมักไม่รู้ ซึ่งต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเชิญตัวแล้วญาติสามารถรับรู้ได้ทันที
เส้นทางสันติภาพในเงื่อนไขใหม่นี้ ขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ก็ไม่มั่นใจว่าข้อเรียกร้องนี้สามารถปฏิบัติจริงได้หรือไม่ และการเรียกร้องนี้คงไม่เฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ขอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศ ยอมรับว่าพื้นที่ชายแดนอื่นๆ ที่ยังคงมีความรุนแรงอยู่ก็คงยังไม่สามารถยกเลิกได้
หลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการประกาศใช้อัยการศึกทั่วประเทศประชาชนทุกภูมิภาคต่างก็ได้รับผลกระทบจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีหมายเรียก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยประสบกับการประกาศใช้อัยการศึกก็ไม่เข้าใจ และต้องเรียนรู้ ต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมานาน เชื่อว่าคนในพื้นที่สามารถนำกรณีศึกษาในพื้นที่ตนเองไปอธิบายบทเรียนต่างๆได้อย่างง่ายดาย
จากการเปรียบเทียบการประกาศใช้กฎอัยการศึกกับพื้นที่อื่นๆ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากในพื้นที่อื่นเมื่อชาวบ้านถูกจับหรือเจ้าหน้าที่เชิญตัวไปนั้นญาติมักไม่รู้ ซึ่งต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเชิญตัวแล้วญาติสามารถรับรู้ได้ทันที
เส้นทางสันติภาพในเงื่อนไขใหม่นี้ ขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ก็ไม่มั่นใจว่าข้อเรียกร้องนี้สามารถปฏิบัติจริงได้หรือไม่ และการเรียกร้องนี้คงไม่เฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ขอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศ ยอมรับว่าพื้นที่ชายแดนอื่นๆ ที่ยังคงมีความรุนแรงอยู่ก็คงยังไม่สามารถยกเลิกได้
ให้ความสำคัญกับคนชายขอบ
บนเส้นทางของกระบวนการสันติภาพนั้น ต้องให้เห็นความสำคัญต่อคนชายขอบไม่เฉพาะคู่กรณีของความขัดแย้งเท่านั้น แต่กลุ่มคนเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง กลุ่มอดีตผู้ต้องสงสัยที่ก่อเหตุความไม่สงบ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง กลุ่มไทยพุทธ เพราะกลุ่มดังกล่าวต่างก็ได้รับผลกระทบซึ่งคู่ขัดแย้งจำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ขอเรียกร้องให้สื่อท้องถิ่นอย่างวิทยุชุมชนได้มีอำนาจในการนำเสนอเช่นเดิม และขอร้องให้สื่อมวลชนจากส่วนกลางได้ทำหน้าที่นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนี้ตลอดไป
บนเส้นทางของกระบวนการสันติภาพนั้น ต้องให้เห็นความสำคัญต่อคนชายขอบไม่เฉพาะคู่กรณีของความขัดแย้งเท่านั้น แต่กลุ่มคนเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง กลุ่มอดีตผู้ต้องสงสัยที่ก่อเหตุความไม่สงบ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง กลุ่มไทยพุทธ เพราะกลุ่มดังกล่าวต่างก็ได้รับผลกระทบซึ่งคู่ขัดแย้งจำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ขอเรียกร้องให้สื่อท้องถิ่นอย่างวิทยุชุมชนได้มีอำนาจในการนำเสนอเช่นเดิม และขอร้องให้สื่อมวลชนจากส่วนกลางได้ทำหน้าที่นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนี้ตลอดไป
ดอน ปาทาน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ปาตานีฟอรั่ม (Patani Forum)
“การพูดคุยสันติภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การพูดคุยในครั้งใหม่นี้อาจเป็นแนวทางการปฏิบัติของอดีตรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่สำหรับทหารก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการเจรจาอย่างลับๆ มานานแล้ว ในต่างประเทศอย่างที่ประเทศลิเบีย อียิปต์ ซีเรีย เป็นต้น เพราะขบวนการในอดีตได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ
แต่ปัจจุบันคนในขบวนการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนคนปกติ ทำงาน เช่น กรีดยาง เลี้ยงไก่ เป็นต้น แล้วไปวางระเบิด เสร็จแล้วกลับบ้าน ซึ่งการต่อสู้ของรัฐไทยกับขบวนการในภาวะอย่างนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก
นอกจากนั้นขบวนการยังได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ตัวอย่างเช่น กรณีนายมะรอโซ จันทรวดี ที่มีหมายจับมาแล้ว 15 ปี แต่ลูกๆ ของเขามีอายุ 1 ขวบ 2 ขวบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านใช่หรือไม่
ตัวแทน BRN ที่มาลงนามเพื่อพูดคุยสันติภาพมีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนต่อยูแว(หมายถึงกองกำลัง)ในพื้นที่ และคนในพื้นที่รับรู้และรู้จักคนเหล่านั้นแค่ไหน เขาเห็นว่าบางครั้งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับคนที่สั่งยูแวได้ แต่ตัวแทนเหล่านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อผู้คนในพื้นที่
จะจัดการเหตุแห่งความขัดแย้งอย่างไร
แม้วันนี้รัฐไทยจัดการกับ BRN จนหมดสิ้น ก็อาจเกิดกลุ่มต่อสู้กลุ่มใหม่ขึ้นอีกในอดีต อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะเรื่องเล่าเดิมๆ ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ คำถามคือ รัฐไทยจะจัดการกับเรื่องเล่าเหล่านั้นอย่างไร
ส่วนเรื่องความจริงใจของมาเลเซีย ระหว่างรัฐไทยกับมาเลเซียเป็นความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ หากแต่ขบวนการเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ความเป็นมลายูด้วยกันอาจไม่เพียงพอที่จะให้มาเลเซียมาสนับสนุนฝ่ายขบวนการก็เป็นได้ มาเลเซียเองก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
มาเลเซียมีความจำเป็นในการเข้ามามีส่วนในเรื่องนี้ เพราะหากจะให้ขบวนการขึ้นมาเจรจาบนดินเอง พวกเขาคงไม่ขึ้นมาแน่ๆ ก็เลยจำเป็นที่จะต้องให้ขบวนการที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียเป็นตัวแทน
การเจรจาในอดีตตัวแทนเจรจาจะมาจากกลุ่ม PULO แต่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายพรรคเพื่อไทยนำตัวแทนจาก BRN มาเจรจาหรือพูดคุยสันติภาพ และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นตัวจริง สำหรับผมแล้วประเด็นนี้ยังคงเป็นที่น่าตั้งคำถามต่อไป
แม้วันนี้รัฐไทยจัดการกับ BRN จนหมดสิ้น ก็อาจเกิดกลุ่มต่อสู้กลุ่มใหม่ขึ้นอีกในอดีต อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะเรื่องเล่าเดิมๆ ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ คำถามคือ รัฐไทยจะจัดการกับเรื่องเล่าเหล่านั้นอย่างไร
ส่วนเรื่องความจริงใจของมาเลเซีย ระหว่างรัฐไทยกับมาเลเซียเป็นความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ หากแต่ขบวนการเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ความเป็นมลายูด้วยกันอาจไม่เพียงพอที่จะให้มาเลเซียมาสนับสนุนฝ่ายขบวนการก็เป็นได้ มาเลเซียเองก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
มาเลเซียมีความจำเป็นในการเข้ามามีส่วนในเรื่องนี้ เพราะหากจะให้ขบวนการขึ้นมาเจรจาบนดินเอง พวกเขาคงไม่ขึ้นมาแน่ๆ ก็เลยจำเป็นที่จะต้องให้ขบวนการที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียเป็นตัวแทน
การเจรจาในอดีตตัวแทนเจรจาจะมาจากกลุ่ม PULO แต่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายพรรคเพื่อไทยนำตัวแทนจาก BRN มาเจรจาหรือพูดคุยสันติภาพ และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นตัวจริง สำหรับผมแล้วประเด็นนี้ยังคงเป็นที่น่าตั้งคำถามต่อไป
รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระ
“จากการดำเนินการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับขบวนการ BRN ในปี 2556 ขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
“จากการดำเนินการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับขบวนการ BRN ในปี 2556 ขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
1.การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับขบวนการBRN ในปี 2556 ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างเป็นทางการครั้งแรกของรัฐบาลไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยมีการพูดคุยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีมาหลายครั้ง ดำเนินการปิดลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่มีสำคัญของประเทศไทย
2.ในเดือนกันยายน 2556 ขบวนการ BRN ได้ส่งเอกสารอธิบายข้อเสนอ 5 ข้อของขบวนการ BRN โดยผ่านผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) แก่รัฐบาลไทย ในเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน คือ ขบวนการ BRN ต้องการ เขตปกครองตนเอง ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีคำถามว่าขบวนการBRN เป็นผู้เขียนหรือเปล่า จากการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ยืนยังว่าขบวนการBRN มีส่วนร่วมในการร่างเอกสารฉบับนี้จริง โดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศมาเลเซีย แต่ก็มีคนในขบวนการ BRN เห็นด้วยและไม่บางส่วนเห็นด้วยกับเอกสารฉบับนี้
3.เป็นครั้งแรกที่ขบวนการ BRN สื่อสารต่อสาธารณชน โดยผ่านทาง Youtube ก่อนหน้านี้ขบวนการ BRN ปิดมาโดยตลอด จึงทำให้สาธารณชนรู้ว่าขบวนการ BRN เป็นขบวนการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ใช่ขบวนการยาเสพติด ดังนั้นคิดว่าอยากให้ขบวนการ BRN ต่อสู้ในแนวทางนี้มากขึ้น
4.ส่วนขบวนการBRN สามารถควบคุมแนวร่วมในพื้นที่ได้หรือเปล่า จากสถิติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนปี 2556 ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ภายหลังจากที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิงในเดือนรอมฎอนปี 2556 นั้น ช่วงแรกของเดือนรอมฎอนความรุนแรงลดลงอย่างมีนัยยะ แต่ปลายเดือนรอมฎอน เกิดเหตุยิงชาวบ้านใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เชื่อว่ามีความใกล้ชิดกับกระบวนการBRN จึงเกิดความรุนแรงอีกครั้ง ฉะนั้นตนมองว่าการพูดคุยกัน เป็นเรื่องที่ดีที่จะให้ความรุนแรงลดลง ดังนั้นอยากให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อไป
5.การที่มาเลเซียมาเป็นตัวกลางในกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับขบวนการBRN นั้น ทำให้รัฐบาลยอมรับที่จะให้บุคคลหรือองค์กรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในพื้นมาเป็นตัวกลาง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับที่จะให้ฝ่ายที่สามมาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ ดังนั้นคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดีในการที่แก้ปัญหาในพื้นที่
6.ในช่วงแรกๆของการรัฐประหารโฆษก คสช.ออกมาพูดว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพดำเนินการต่อไป แต่ไม่พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษ ไม่ทราบว่ายังเป็นนโยบายอยู่หรือเปล่า หากยังเป็นนโยบายอยู่ คิดว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีสำหรับการเริ่มต้นของกระบวนการพูดคุยสันติสุข อยากเริ่มต้นด้วยการโดยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยที่ไม่มีกรอบใดๆทั้งสิ้น
2.ในเดือนกันยายน 2556 ขบวนการ BRN ได้ส่งเอกสารอธิบายข้อเสนอ 5 ข้อของขบวนการ BRN โดยผ่านผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) แก่รัฐบาลไทย ในเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน คือ ขบวนการ BRN ต้องการ เขตปกครองตนเอง ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีคำถามว่าขบวนการBRN เป็นผู้เขียนหรือเปล่า จากการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ยืนยังว่าขบวนการBRN มีส่วนร่วมในการร่างเอกสารฉบับนี้จริง โดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศมาเลเซีย แต่ก็มีคนในขบวนการ BRN เห็นด้วยและไม่บางส่วนเห็นด้วยกับเอกสารฉบับนี้
3.เป็นครั้งแรกที่ขบวนการ BRN สื่อสารต่อสาธารณชน โดยผ่านทาง Youtube ก่อนหน้านี้ขบวนการ BRN ปิดมาโดยตลอด จึงทำให้สาธารณชนรู้ว่าขบวนการ BRN เป็นขบวนการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ใช่ขบวนการยาเสพติด ดังนั้นคิดว่าอยากให้ขบวนการ BRN ต่อสู้ในแนวทางนี้มากขึ้น
4.ส่วนขบวนการBRN สามารถควบคุมแนวร่วมในพื้นที่ได้หรือเปล่า จากสถิติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนปี 2556 ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ภายหลังจากที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิงในเดือนรอมฎอนปี 2556 นั้น ช่วงแรกของเดือนรอมฎอนความรุนแรงลดลงอย่างมีนัยยะ แต่ปลายเดือนรอมฎอน เกิดเหตุยิงชาวบ้านใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เชื่อว่ามีความใกล้ชิดกับกระบวนการBRN จึงเกิดความรุนแรงอีกครั้ง ฉะนั้นตนมองว่าการพูดคุยกัน เป็นเรื่องที่ดีที่จะให้ความรุนแรงลดลง ดังนั้นอยากให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อไป
5.การที่มาเลเซียมาเป็นตัวกลางในกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับขบวนการBRN นั้น ทำให้รัฐบาลยอมรับที่จะให้บุคคลหรือองค์กรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในพื้นมาเป็นตัวกลาง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับที่จะให้ฝ่ายที่สามมาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ ดังนั้นคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดีในการที่แก้ปัญหาในพื้นที่
6.ในช่วงแรกๆของการรัฐประหารโฆษก คสช.ออกมาพูดว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพดำเนินการต่อไป แต่ไม่พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษ ไม่ทราบว่ายังเป็นนโยบายอยู่หรือเปล่า หากยังเป็นนโยบายอยู่ คิดว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีสำหรับการเริ่มต้นของกระบวนการพูดคุยสันติสุข อยากเริ่มต้นด้วยการโดยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยที่ไม่มีกรอบใดๆทั้งสิ้น
ของฝากถึงหน่วยงานความมั่นคง
การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับกระบวนการ BRN ปี 2556 ไม่ได้เกิดเฉพาะ track 1 เท่านั้น ส่งผลให้เกิด track 2 และ track 3 มีการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการสันติภาพอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีการพูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษหรือแม้แต่เรื่องเอกราช ดังนั้นอยากฝากหน่วยงานความมั่นคง ดังนี้
การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับกระบวนการ BRN ปี 2556 ไม่ได้เกิดเฉพาะ track 1 เท่านั้น ส่งผลให้เกิด track 2 และ track 3 มีการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการสันติภาพอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีการพูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษหรือแม้แต่เรื่องเอกราช ดังนั้นอยากฝากหน่วยงานความมั่นคง ดังนี้
1.เปิดโอกาสให้คนที่อยู่ track 2 และ track 3 พูดให้มากที่สุด เพื่อที่จะรับทราบว่าประชาชนในพื้นที่ ต้องการอะไร
2.จากการพูดบนเวทีของ พล.ต.นักรบ เรื่องเขตปกครองพิเศษ เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถพูดได้ในตอนนี้ แต่มองว่าหน่วยงานความมั่นคงต้องพูดออกมาให้ชัดเจนในเรื่องเขตปกครอง ได้หรือไม่ได้ อย่างไร เพื่อสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่
3.อยากให้รักษาความต่อเนื่องของกระบวนการสันติภาพด้วยการมี หน่วยงานหรือองค์กรหนึ่งที่รับผิดชอบในเรื่องกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ เหมือนกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีสำนักงานรับผิดชอบในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย
2.จากการพูดบนเวทีของ พล.ต.นักรบ เรื่องเขตปกครองพิเศษ เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถพูดได้ในตอนนี้ แต่มองว่าหน่วยงานความมั่นคงต้องพูดออกมาให้ชัดเจนในเรื่องเขตปกครอง ได้หรือไม่ได้ อย่างไร เพื่อสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่
3.อยากให้รักษาความต่อเนื่องของกระบวนการสันติภาพด้วยการมี หน่วยงานหรือองค์กรหนึ่งที่รับผิดชอบในเรื่องกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ เหมือนกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีสำนักงานรับผิดชอบในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย
กระบวนการสันติภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของประธานาธิบดี เพื่อรับประกันว่า ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดมาบริหารประเทศ กระบวนการสันติภาพสามารถดำเนินการต่อไป”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
Jacke Lynch : ‘วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ’ คือการปฏิรูปการนำเสนอข่าวของทั่วโลก
เหตุใดยังใช้ความรุนแรง? คำถามของ ศ.ดร.Stein Tønnesson ในงานCCPP
“ไม่สามารถแยกการสื่อสารออกจากสันติภาพได้” ปาฐกถาพิเศษของ Sanjana Hattotuwa
เริ่มแล้วประชุมนานาชาติ CCPP สัมผัสองค์ปาฐกชื่อดัง ‘สันติภาพกับการสื่อสาร’
Jacke Lynch : ‘วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ’ คือการปฏิรูปการนำเสนอข่าวของทั่วโลก
เหตุใดยังใช้ความรุนแรง? คำถามของ ศ.ดร.Stein Tønnesson ในงานCCPP
“ไม่สามารถแยกการสื่อสารออกจากสันติภาพได้” ปาฐกถาพิเศษของ Sanjana Hattotuwa
เริ่มแล้วประชุมนานาชาติ CCPP สัมผัสองค์ปาฐกชื่อดัง ‘สันติภาพกับการสื่อสาร’
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น