หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มัชปาหิต - เมลายุ - พราหมณ์ - พุทธ ........ ที่ถูกคนบางพวกฉ้อฉล


 

ตำนานโบราณของชวาเล่าขานกันมาว่า ...

เมื่อประมาณ 500 ปีก่อน ไม่นานก่อนที่อาณาจักมัชปาหิตจะถึงกาลสิ้่นสุด พระเจ้าบราวิชัย ที่ 4 หรือพระเจ้าภเร กัรตะภูมิ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งมัชปาหิต ทรงถูกบีบคั้นจากพระโอรสให้รับศาสนาอิสลาม จนพระองค์ต้องยอมเปลี่ยนศาสนา แต่ปุโรหิตของพระองค์คือ สัปดา โปโลน กับ นายาเกิงกอง ไม่ยินยอมเปลี่ยนความเชื่อ

สัปดา โปโลน ถึงกับลั่นวาจาว่า นับแต่นี้เขากับพระเจ้าบราวิชัยหมดสิ้นไมตรีกัน และตัวเขาจะอยู่คอยรับ ใช้อนุชนของเจ้าแผ่นดินชวาที่แท้จริง ซึ่งนับถือศาสนาดั้งเดิม และยังสาปไว้ด้วยว่า อีก 500 ปีต่อจากนี้ ในวันที่ภูเขาไฟมะราปีพ้นเถ้าถ่านธารหินไฟ เขาจะกลับมาฟื้นฟูศาสนาดั้งเดิมของชาวชวา

ส่วนพระบรมวงศ์มัชปาหิตที่ไม่ยอมรับอิสลาม พากันอพยพไปเกาะบาหลี บ้างก็หลบซ่อนบนเกาะชวากลายเป็นชาวเตงเกร์ แถบภูเขาไฟโบรโม ซึ่งยังนับถือศาสนาพรามหณ์-พุทธจนถึงทุกวันนี้ บางส่วนรับอิสลามแต่ยังปฏิบัติพิธีกรรมแบบพราหมมณ์-พุทธ ส่วนใหญ่เป็นอนุชนชาวมัชปาหิต และอาศัยอยู่ในชวานั่นเอง คนเหล่านี้ถือศาสนาโบราณของชวาอย่างลับๆ


ยุคของกษัตริย์ชาวพรามหณ์-พุทธแห่งอาณาจักรมัชปาหิตคนสุดท้ายสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1478 ชวาผ่านยุคสมัยต่างๆ 4 ยุค คือยุคอิสลาม ยุคอาณานิคมวิลันดา ยุคเอกราช ยุคซูการ์โน ซึ่งพุทธศาสนาเริ่มฟื้นคืนอีกครั้งจากความพยายามของชาวอินโดนีเซียเชื้อสาย จีน กระทั่งในปีค.ศ. 1978 รัฐบาลรองรับศาสนาพุทธอย่างเป็นทางการ ในปีเดียวกันนั้น ชาวพราหมณ์และพุทธในอินโดนีเซียจัดพิธีทางศาสนาร่วมกัน ในวันนั้นเองภูเขาไฟมะราปีประทุขึ้น


จากปี 1478 ถึงปี 1978 เป็นเวลา 500 ปีพอดี ตามที่ปุโรหิต สัปดา โปโลน ลั่นวาจาไว้
------------------------------------------------
*ภาพ จากหนังสือ Java; brahmanische, buddhistische und eigenlebige Architektur und Plastik auf Java
1. พระอมิตาภพุทธเจ้า จากพระสถูปจันดิ เมนดุต เกาะชวา
2. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร จากพระสถูปจันดิ เมนดุต
3. พระโพธิสัตว์ศรีอาริยะเมตไตรย จากวิหารปลาวสัน เกาะชวา
4. พระปรัชญาปารมิตา จากจันดิ สิงหะส่าหรี เกาะชวา
ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://archive.org/details/javabrahmanische00withuoft
------------------------------------------------
*อ้างอิงจาก
-The Sabdopalon Prophecy, Is It Happening Soon? โดย watatita
-The revival of the theravada higher learning institutions in Indonesia โดย Eko Legowo,
-PRESENT SITUATION OF INDONESIAN BUDDHISM: IN MEMORY OF BHIKKHU ASHIN JINARAKKHIT A MAHASTHAVIRA โดย Bunki KIMURA
-Buddhism in Indonesia, Past and Present โดย Ven. Ditthisampanna

เครดิต ‪#‎Kornkit‬ Disthan

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น