หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้กฎหมายอิสลามในประเทศไทย


การใช้กฎหมายอิสลามในประเทศไทย

           จากการบันทึกประวัติศาสตร์ ประเทศไทยได้มีการใช้กฎหมายอิสลาม สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้เขียนเกี่ยวกับข้อยกเว้นในการใช้กฎหมายอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า    “ข้อยกเว้นนี้ตดทอดมาสจากประวัติเดิมที่มีศาลกรมท่าซ้ายพิจารณาคดีชนชาติจีน และศาลกรมท่าขวาพิจารณาคดีชนชาติแขก ศาลทั้งสองตัดสินคดีตามกฎหมายและประเพณีของชนชาตินั้นๆ แต่สำหรับชนชาติจีนไม่ปรากฏว่า มีกฎหมายหรือประเพณีผัวเมียหรือมรดกเป็นที่แน่นอน ศาลกรมท่าซ้ายจึงใช้กฎหมายไทยบังคับ แต่ชนชาติแขกนับถือศาสนาอิสลามมีกฎหมายและประเพณีแน่นอนในเรื่องผัวเมียมรดก ศาลกรมท่าขวาจึงใช้จึงใช้กฎหมายอิสลามบังคับ”  
(เด่น โต๊ะมีนา 2528 คำบรรยายกระบวนวิชากฎหมายอิสลาม, คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง หน้า 22)

         จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ประเทศไทยได้ใช้กฎหมายอิสลามลักษณะครอบครัวและมรดกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมือปี พ. ศ.2444 หรือ ค.ศ.1941 ทั้งนี้ โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระปรีชาสามารถในรัฐประศาสตร์โนบายเป็นอย่างยิ่ง ทรงหยั่งถึงจิตใจ ลัทธิประเพณี และความสงบสุขของประชาชน ผู้นับถือศาสนาอิสลาม จึงทรงโปรดให้มีกฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณ ๗ หัวเมือง ร.ศ.120 ขึ้นเป็นพิเศษ และใน ร.ศ.121 (พ.ศ.2444) ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งศาลชั้นต้น โดยมี โต๊ะกอฎี (กาลี) เป็นผู้พิพากษาชำระคดี 
(อิสมาแอ อาลี 2546, กฎหมายมรดกและพินัยกรรมอิสลาม มิตรภาพปัตตานี เล่ม 1 หน้า 8)

        ต่อมาได้มีการแปลหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และได้มีการตีพิมพ์
ซึ่งเป็นหลักกฎหมายที่ผู้พิพากษาอิสลาม(ดะโต๊ะยุติธรรม) จะต้องยึดเป็นหลักในการวินิจฉัยข้อพิพาทอรรถคดีที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก 

        ต่อมา กระทรวงยุติธรรมได้จัดตั้งคณะกรรมการแปลกฎหมายอิสลามเป็นภาษาไทยขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บังเกิดความเรียบร้อยในการพิจารณาคดี ซึ่งแปลแล้วเสร็จ และได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2484 หลังจากนั้นได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม
ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล ขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2489 ซึ่งประกอบด้วย 7 มาตรา และได้มีการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ กรกฎาคม พ.ศ.2549

         ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้ง 4 จังหวัด มีสิทธิใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยมรดกและครอบครัว แทนบทบัญญัติตรมมาตราที่เกี่ยวข้องในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และบรรพ 6 ในกรณีที่ทั้งโจทก์ และจำเลยเป็นมุสลิม หรือมุสลิมเป็นผู้เสนอคำขอในคดีที่มีข้อพิพาท นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มี

        การแต่งตั้งดะโต๊ะยุตธรรม จากชาวไทยมุสลิมให้ประจำศาลจังหวัดทั้งสี่ดังกล่าว จังหวัดละ 2 คนอีกด้วย ให้ดาโต๊ะยุตธรรมเป็นผู้พิพากษาวินิจฉัยชี้ขาด ในข้อกฎหมายอิสลามดังกล่าวข้างต้น และคำวินิจฉัยชี้ขาดของดาโต๊ะยุติธรรม

ในข้อกฎหมายอิสลามเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น

       ดาโต๊ะ ยุติธรรม เป็นตำแหน่งเทียบเท่าผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีมุสลิมเป็นจำนวนมากคือ ศาลจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จังหวัดละ 2 คน เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยและตัดสินชี้ขาด กรณีพิพาทของมุสลิม ณ ศาลชั้นต้นในเขต 4 จังหวัดนี้ ในการพิจารณาอรรถคดีตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ดะโต๊ะยุติธรรมจะทำการพิจารณาความ พร้อมด้วยผู้พิพากษา และผู้พิพากษาจะเป็นผู้เรียบเรียงคำพิพากษา ตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของดะโต๊ะยุติธรรม ผลของการตัดสินนี้ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

        ดังนั้น จึงพอสรุปสรุปได้ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับความเป็นคนเชื้อชาติมลายู นับถือศาสนาอิสลาม มาตั้งสมัยอดีตกาลแล้ว ไม่เคยก้าวกาย และรีดรอนสิทธิ การปฏิบัติศาสกิจ และความเป็นอยู่ที่เท่าเทียมกันทุกชาติพันธ์ และศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น