หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตอบโจทย์..อังคณา นีละไพจิตร


ใคร?..ผิด ใคร?..ถูก ประเด็นตรวจ DNA เด็ก 5 เดือน!!!

              ยังคงเป็นประเด็นที่ผู้คนให้ความสนใจ และมีการเคลื่อนไหวทางสื่อสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์กับประเด็นเจ้าหน้าที่ทำการ DNA เด็กอายุ 5 เดือน ทายาทโจรใต้ระเบิดเมืองหาดใหญ่

           เป็นไปตามคาดกับการจุดไฟให้ลุกโชนเพื่อทำการเผาผลาญทำลายความชอบธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ กับการตรวจ DNA เชื้อไฟที่มีการสะสมพร้อมทำลายให้เป็นจุล ด้วยการสุมไม้และราดน้ำมันบนเปลวเพลิง มีการส่งต่อเป็นทอดๆ ซึ่งพอจะปะติดปะต่อการเล่นเป็นทีมของกลุ่มและองค์กรแนวร่วมพิทักษ์โจรใต้ ปัจจุบันนี้เปิดเผยตัวตนโดยไม่ต้องแอบซ่อน

        นางอังคณา นีละไพจิตร มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ/คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงกรณี จนท.เก็บ DNA ของเด็กอายุ 5 เดือน ว่า ผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และเห็นว่าการตรวจ DNA ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหามาตลอด เช่นเดียวกันกับเรื่องการตรวจโทรศัพท์มือถือของประชาชนหรือผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นสมบัติส่วนตัว ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของก่อน แต่เจ้าหน้าที่มักใช้ช่องทางความไม่รู้กฎหมายของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ

          อยากให้ท่านผู้อ่านลองเปิดใจกว้างฟังความรอบด้าน อย่าเพิ่งเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหากข้อมูลที่ได้รับการยัดเยียดเหมือนที่เคยเป็นมาหลายสิบปีจากกลุ่มและองค์กรเหล่านี้ ที่กระทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญแทบทุกเรื่อง ใช่สิลูกตาสีตาสาลุงป้าน้าอา มีการแนะนำให้ร่ำเรียนแต่วิชาศาสนา ครอบครัวผู้มีอันจะกิน ผู้มีอิทธิพลหรือแนวร่วมขบวนการส่งเสียร่ำเรียนเมืองนอก เพื่อจบกลับมาจะได้เป็นแกนนำชี้นำทางความคิด ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้  แต่อย่าลืมว่าสมัยนี้ประชาชนเค้ารู้เท่าทันไม่โง่ให้ใครมาชี้นำอีกต่อไป

         ขอแนะนำบทความให้ไปอ่านกันดูจะได้ประดับความรู้ไม่ให้กลุ่มหรือองค์พิทักษ์โจรใต้มาหลอกเราได้ เกร็ดความรู้ในแง่กฎหมายที่เห็นต่างกัน (ตอนที่ 2): เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนกับการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ จชต. หรือไม่?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น