หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คนร้ายลอบบึ้มเสาไฟแขวนป้ายผ้า หวังสร้างสถานการณ์ ก่อนเดือนรอมฎอน



          วันนี้ (5 พ.ค.) พ.ต.ท.ศราวุธ เจี้ยงเต็ม รอง ผกก.สอบสวน สภ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ได้รับแจ้งมีเหตุลอบวางระเบิดเสาไฟฟ้า และแขวนป้ายบริเวณสะพานจึงรีบไปตรวจสอบพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สะบ้าย้อย และได้ประสานงานกับปลัดอำเภอสะบ้าย้อย เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดของ ฉก.ตชด.43(EOD) ไปตรวจสอบ





         ที่เกิดเหตุพบเสาไฟฟ้าจำนวน 1 เสา ถูกวางระเบิดตัดขาดที่โคนเสา แต่ยังไม่ล้ม เนื่องจากเสายึดติดกับเสาอีกต้นที่อยู่ติดกัน และไม่ถูกแรงระเบิด บริเวณบ้านดารู ต.ธารคีรี อ.สะบ้าย้อย ส่วนอีกพื้นที่มีการแขวนป้ายผ้าบริเวณสะพานคลองน้ำขุ่น รอยต่อ ม.5 ต.จะแหน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา




          จากการตรวจสอบพบเศษวัตถุระเบิดที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ พบว่าเป็นระเบิดแบบแสวงเครื่องที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้นำมาวางไว้ คาดว่าน่าจะเป็นการสร้างสถานการณ์ ก่อนเดือนรอมฎอนที่จะมาถึงนี้







วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ผกร.หมดมุก ทำกันเองโยนผิดให้เจ้าหน้าที่



         จากกรณี เพจ Suara Patani ได้โพสต์ภาพและข้อความเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 กล่าวหาเจ้าหน้าที่ความมั่นคงว่ามีใบสั่งให้ทีมสังหารคนในพื้นที่ มีใจความว่า

        "ทีมงูเต๊ะ" เป็นคำศัพท์ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งปาตานี โดยความหมายของคำนี้คือ "ทีมเก็บเงียบ" หรือ "ทีมสังหาร" เป็นมือมืดที่ชาวปาตานีหวาดกลัว "ทีมงูเต๊ะ" เป็นอีกหนึ่งปริศนาในพื้นที่ปาตานีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

        *ช่วงนี้ (ตั้งแต่วันนี้จนถึงเดือนรอมฎอน) ขอเตือนให้ทุกคนระวังทีมงูเต๊ะ

       จากข้อความข้างต้น ขอบอกเลย ผกร. หมดมุกแล้วจริงๆ เพราะใครๆ ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว BRN และ เพจ Suara Patani สองหัวตัวเดียวกัน เพจ Suara Patani เป็นเพจเฟสบุ๊คของแนวร่วมสนับสนุนกลุ่มขบวนการ BRN มีการปลุกระดมก่อให้เกิดความเกลียดชังในเรื่องของเชื้อชาติและศาสนา สร้างความขัดแย้งในแนวความคิด ทำให้พี่น้องในพื้นที่ชายแดนใต้เกิดความแตกแยก เกิดความหวาดระแวงในการดำเนินชีวิตต่อกันอย่างร้ายแรง 

        โดยที่ผ่านมา เพจ Suara Patani จะมุ่งบิดเบือนข้อมูลความจริงกล่าวหาใส่ร้ายโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานมาโดยตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผู้ที่ไม่รู้ความจริงหลงเชื่อ เกิดการเข้าใจผิด เกลียดชังเจ้าหน้าที่รัฐว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านทำมาหากิน ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วชาวบ้านในพื้นที่ต่างรู้กันดีว่า เจ้าหน้าที่ทำงานหลักคือปกป้องดูแลชีวิตและทรัพย์สินให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่



         เมื่อดูรูปที่ เพจ Suara Patani นำมาบิดเบือนมองแล้วเป็นการใช้มุกเก่าๆ เดิมๆ ได้มีการผลิตภาพพร้อมข้อความซึ่งไม่สามารถตรวจหาที่มาที่ไปได้ กล่าวหาใส่ร้ายโยนความผิดให้กับเจ้าหน้าที่ว่าจัดชุดทีมงูเต๊ะ (ทีมเก็บเงียบ หรือ ทีมสังหาร) ล่าสังหารชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งความเป็นจริงแล้วเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นที่ต่างรู้กันดีว่าเป็นการกระทำของกลุ่มขบวนการเอง โดยการหักหลังกันเองที่ทำงานพลาดรวมถึงการหักหลังผลประโยชน์จากการค้ายาเสพติดพร้อมกับ ผกร.หลายคนในพื้นที่มีความเบื่อหน่ายจากกลุ่มขบวนการต้องการออกจากกลุ่มแนวร่วมพร้อมกับการให้ข่าวกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเหตุนี้เองกลุ่มขบวนการจึงต้องล่าสังหารคนของตัวเอง เพื่อเป็นการปิดปากและโยนความผิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อหวังว่าจะยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ท่านลองคิดดูสมมุติเจ้าหน้าที่รัฐกระทำจริงป่านนี้คงไม่มานั่งแหกปากกันหรอก และจะมีโครงการพาโจรกลับบ้านไปทำไม เจ้าหน้าที่เก็บเองไม่ดีกว่าหรือ และสิ่งที่เลวร้ายที่สุด เพจ Suara Patani ได้กระทำการตัดต่อภาพโดยการโพสต์ภาพและข้อความในเชิงหมิ่นสถาบันเบื้องสูงอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่เข้าข่ายหมิ่นสถาบันเบื้องสูง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงเว็บไซต์บางสำนักได้มีการเอาข้อมูลมาเผยแพร่โดยไร้การตรวจสอบข้อเท็จจริงอาจนำไปสู่ความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อีกด้วย


          เพจ Suara Patani เคยนำข้อมูลมาบิดเบือนหลายครั้ง เช่น กรณีการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โพสต์เมื่อ 27 เมษายน 2560 (เข้าไปดูเอง) , กรณีชาวบ้านทุ่งยางแดงโมเดลโวย!!!ทหารเต็มพรึ่บในสวนยาง!!! โพสต์เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2560 โดยกล่าวหาเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปในสวนยาง สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวนยางที่จะทำการกรีดยาง ซึ่งจาการตรวจสอบความจริงแล้ว เป็นรูปของกองร้อยทหารพรานที่ 4713 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 47 ได้ทำการโพสต์ภาพนิ่ง และเป็นคลิปวีดีโอทำการเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2554 เป็นรูปการฝึกของกองร้อยทหารพราน ไม่ได้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชน และไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี ตามที่เพจ Suara Patani กล่าวอ้างแต่อย่างใด มาครั้งนี้ก็ยังคงใช้แนวทางเดิมๆ ในการบิดเบือนข้อมูลสร้างความเท็จใส่ร้ายเจ้าหน้าที่ตามจิตสำนึกต่ำๆ ที่เคยทำตามเคย


         ความร่วมมือของ BRN ที่ฆ่าเพราะหักหลังกันเองภายในกลุ่มแล้วโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ โดยให้เพจ Suara Patani เป็นผู้ลงมือโจมตีนั้นเป็นการกระทำของพวกไร้ศาสนาทำเพื่อหวังผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเท่านั้น ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ดีขอให้พี่น้องประชาชนอย่าหลงเชื่อการกระทำที่บิดเบือนความจริงเหล่านี้ และขอให้ร่วมมือกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้


        ด้วยการช่วยกันรายงานเฟสบุ๊คที่มีชื่อผู้ใช่ว่า “Suara atani”https://www.facebook.com/Suara-Patani-234450210066094/…หรือ ส่งข้อมูลไปถึงกระทรวง ICT เพื่อปิดเฟสบุ๊คที่สร้างความแตกแยก บิดเบือนข้อมูล โฆษณาชวนเชื่อ ทำลายความสุขของพี่น้องประชาชน และป้องกันสถานการณ์รุนแรงความเข้าใจผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนำสันติสุขกลับคืนสู่ชายแดนใต้

ฟังเค้าบ้างก็ดี

ต้องอย่าเชื่อ “แม่ทัพนายกอง-เสนาบดีเอี้ยๆ” และเลิกเสียการกระทำ “เข้าทางโจรใต้” / ไชยยงค์ มณีพิลึก



ต้องอย่าเชื่อ “แม่ทัพนายกอง-เสนาบดีเอี้ยๆ” และเลิกเสียการกระทำ “เข้าทางโจรใต้” / ไชยยงค์ มณีพิลึก
พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ลงพื้นที่ จ.ปัตตานี ร่วมประชุมกับหน่วยงานความมั่นคงชายแดนใต้เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2560
       
       คอลัมน์  :  จุดคบไฟใต้
       โดย...ไชยยงค์  มณีพิลึก
       -------------------------------------
     
     
       คงจะไม่ช้าสำหรับการที่จะแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ 6 ทหารพราน “ผู้พลีชีพ จากน้ำมือ “โจรใต้” ในคราบ “นักรบ” ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน “บีอาร์เอ็นฯ” ในพื้นที่ ต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาส
     
       ในวันที่เมียขาดผู้เป็น “เสาหลัก” และลูกต้องกลายเป็น “กำพร้า” สิ่งที่สื่อมวลชนเล็กๆ คนหนึ่งสามารถทำได้คือ “เสียใจ” และหวังว่ากองทัพ ซึ่งหมายรวมถึงรัฐบาลด้วย ต้องทำหน้าที่ “ดูแลครบครัวทหารกล้า” ทั้ง 6 นายให้ดีกว่าการดูแล และ “เยียวยา” ครอบครัวของโจรใต้ ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ที่ “เห็นต่าง” หรือ “หลงผิด” อย่างที่รัฐพยายามเรียกร้อง เพื่อสร้าง “ความพึงใจ” ให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดน หรือที่ชัดเจนคือ “โจร” นั่นเอง
     
       แน่นอนว่าความสูญเสียเช่นนี้ยังต้องเกิดขึ้นต่อไป “หญิงหม้าย” และ “เด็กกำพร้า” ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง รวมถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในภูมิภาคอื่นๆ ที่มีการส่งทหารเข้าไปทำหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หากสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่มีหนทางที่จะ “ยุติ”
     
       โดยเฉพาะเมื่อ “กองทัพภาคที่ 4” หรือ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ยังไม่สามารถเอาชนะ “ทางทหาร” กับขบวนการบีอาร์เอ็น หรือบรรดากลุ่มโจรใต้ในพื้นที่ได้
     
       ความจริงการเอาชนะทางการทหารไม่ยากเหมือนกับการเอาชนะ “ทางการเมือง” เพราะ “สงครามประชาชน” ที่เกิดขึ้นระลอกใหม่ และดำรงอยู่ต่อเนื่องมา 13 ปีนั้น ถึงวันนี้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า รู้แผนปฏิบัติการของบีอาร์เอ็น หรือกลุ่มโจรใต้ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กับ 4 อำเภอของ จ.สงขลาได้แก่ เทพา นาทวี สะบ้านย้อย และจะนะ ได้แบบกระจ่างแล้ว
     
       รวมทั้งยังรู้ถึงการสร้าง “เครือข่าย ของบีอาร์เอ็นในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนว่ามีอยู่ในพื้นที่ไหนบ้าง จนวันนี้กองทัพภาคที่ 4 ถึงกับมีการกำหนด “แผนพิทักษ์ส่วนหลัง เพื่อที่จะรับมือต่อการก่อการร้ายของบรรดาโจรใต้ในจังหวัดภาคใต้ตอนบนแล้วด้วย
     
       ซึ่งการที่จะเอาชนะบีอาร์เอ็น หรือกลุ่มโจรใต้ ต้องเอาชนะทางการทหารด้วยการ “ควบคุมพื้นที่” โดยเฉพาะพื้นที่ที่กองกำลังของบีอาร์เอ็นเข้มแข็ง โดยทั้งทหาร และตำรวจในพื้นที่เหล่านั้นต้องทำให้ “กองกำลังจรยุทธ์” ของบีอาร์เอ็น ซึ่งมีอยู่หมู่บ้านละ 25 คน เคลื่อนไหวไม่ได้ รวมทั้งต้องมีการ “ไล่ต้อน กองกำลังจรยุทธ์เหล่านั้นให้จมมุม ถ้าจับไม่ได้ ก็ต้องอยู่ในพื้นที่ไม่ได้เช่นกัน
     
       แต่ที่ผ่านมา “ยุทธวิธี” ของกำลังรบของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังขาด “แผนยุทธการ” ที่ดี นั่นก็คงเป็นเหตุเป็นผลของ “ผู้บังคับบัญชา” ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งก็ต้องมีการทำความเข้าใจในสถานการณ์ให้ตรงกัน โดยต้องมี “ชุดความจริง” ชุดเดียวกัน และที่สำคัญต้องฟังคำสั่งจาก “ผู้บังคับบัญชาระดับสูง” เพียงคนเดียว
     
       เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วได้เห็น พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสารท ผบ.ทบ. เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามสถานการณ์แบบ “ค้างคืน มีการตรวจจุดตรวจ และจุดสกัดในพื้นที่หลายจุด และมีการให้นโยบายต่อกำลังพล โดยให้มี “แผนรุกทางการทหาร” และ “แผนรุกทางการเมือง” พร้อมให้มีการ “ลาดตระเวนในเวลากลางคืน” และให้มีการ “ตั้งด่านลอย”
     
       นั่นแสดงให้เห็นว่า ผบ.ทบ.รู้ว่า “ศัตรู” ของแผ่นดินปลายด้ามขวานคือ บีอาร์เอ็น หาใช้เป็นเรื่องของ “ภัยแทรกซ้อน” และนโยบายที่ ผบ.ทบ.ให้แก่กำลังในพื้นที่คือ การรุกทางการทหารเพื่อควบคุมพื้นที่ ควบคุมความเคลื่อนไหวของโจรใต้ และหากต่อสู้ก็หมายถึงการ “วิสามัญ” เพราะไม่มีกองทัพประเทศไหนในโลกนี้ที่จะปล่อยให้โจรทำร้าย และมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่รัฐ
     
       นโยบายให้กองกำลังในพื้นที่ออกปฏิบัติการในเวลากลางคืน เป็นวิธีการที่ถูกต้อง เพราะที่โจรใต้ย่ามใจจนสามารถปฏิบัติการในเวลากลางคืนอย่างได้ผล มาจากการที่โจรใต้รู้ความเคลื่อนไหวของกำลังเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และรู้ว่าในเวลากลางคืนเจ้าหน้าที่จะไม่ออกจากฐานปฏิบัติการ เพราะกลัวความสูญเสีย
     
       จนชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถึงกับกล่าวกันว่า “พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น กลางวันเป็นเวลาของเจ้าหน้าที่ ส่วนกลางคืนเป็นเวลาของโจร” แต่สุดท้ายแล้ว แม้แต่เวลา “กลางวัน โจรใต้ก็ยังสามารถปฏิบัติการฆ่าเจ้าหน้าที่รัฐได้อย่างสะดวกสบาย อย่างเช่นกรณี 6 ศพทหารพรานที่ ต.ผดุงมาตร อ.จะแนะ จ.นราธิวาสนั่นไง
     
       ต้องยอมรับว่า ยุทธวิธีในการเดินทาง “ลาดตระเวน ของเจ้าหน้าที่ยังไม่มี “ความรัดกุม ยานพาหนะที่ใช้ก็ยังไม่ “เซฟตี้ ซึ่งเวลานี้วิธีการยังเหมือนกับการเดินทางใน “พื้นที่ปกติ ทั้งที่พื้นที่ตรงนั้นเป็น “พื้นที่สู้รบ ที่เห็นชัดเจนคือ ไม่มีการแบ่งกำลังเพื่อช่วยกันและกันในยามถูกซุ่มยิง หรือถูกลอบวางระเบิด
        
       ที่สำคัญเวลาเดินทางในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรายังเห็นกองกำลังในพื้นที่ “ขาดความใสใจ” กับสิ่งรอบข้าง กับยานพาหนะ และบุคคลที่ผ่านไป-มา ดูได้จากส่วนหนึ่ง “นั่งเล่นไลน์-เล่นเฟซบุ๊ก” และที่สำคัญที่เห็น และรู้จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วก็คือ การ “จัดฉาก” ตั้งด่านตรวจ แล้ว “ถ่ายรูป” ส่งไลน์ไปให้ “นาย” เห็นว่ามีการปฏิบัติหน้าที่แล้ว แต่หลังจากนั้นทั้งจุดตรวจ และจุดสกัดก็ถูกยกเลิก
        
       โดยเฉพาะวิธีการนี้หน่วยงานที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “อาสาสมัคร” นิยมชมชอบมากที่สุด
         
ต้องอย่าเชื่อ “แม่ทัพนายกอง-เสนาบดีเอี้ยๆ” และเลิกเสียการกระทำ “เข้าทางโจรใต้” / ไชยยงค์ มณีพิลึก
พล.อ.ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ลงพื้นที่ จ.ปัตตานี ร่วมประชุมกับหน่วยงานความมั่นคงชายแดนใต้เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2560
       
       ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้เดินทางมายังพื้นที่ จ.ปัตตานี เพื่อร่วมประชุมกับคณะ “คปต.” หรือที่มักเรียกกันว่า “ครม.ส่วนหน้า” พร้อมๆ กับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งถือเป็นการลงมาเพื่อ “ติวเข้ม” ในการแก้ปัญหาความไม่สงบที่เห็นถึงความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     
       แน่นอนว่าต้องรวมถึงการมองเห็นการเคลื่อนไหวของ “ไทยพุทธ ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับ “นโยบายดับไฟใต้”  ทั้งในเรื่องของการ “พาคนกลับบ้าน” และการ “พูดคุยสันติสุข” ตลอดจนการออกมาเรียกร้อง “ความเท่าเทียม” ในสิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับคนในพื้นที่ ซึ่งเวลานี้ “มุสลิม” ได้รับได้รับมากกว่า รวมทั้งการดูแลด้าน “ความปลอดภัยคนไทยพุทธ” ที่ต้องตกเป็นเหยื่อสถานการณ์ จนปัจจุบันมีจำนวน “ร่อยหรอ” ลงเรื่อยๆ
     
       ณ วันนี้เหลือคนไทยพุทธในพื้นที่อยู่เพียงประมาณ 60,000 ชีวิต” จากที่ก่อนปี 2547 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคนไทยพุทธอยู่มากกว่า 200,000 ชีวิต”
        
       เรื่องนี้เป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงที่สุดหาก พล.อ.ประวิตร ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือได้ข้อมูลจากบรรดา “แม่ทัพนายกอง” หรือ “เสนาบดี” เอี้ยๆ ในพื้นที่ที่ต้องการ “ปกปิดความจริง” เพราะมีการนั่ง “ทับอึ” เอาไว้มากมาย การแก้ปัญหาไฟใต้แทนที่จะถูกต้อง ถูกจุด ก็จะถูก “เบี่ยงเบน” เพื่อประโยชน์ส่วนตน และพรรคพวก จนลืมประโยชน์ของประเทศชาติไปเสีย
     
       ซึ่งคนในปลายด้ามขวานจะต้องช่วยกันติดตามอย่างใกล้ชิดว่า หลังการลงมาของคนระดับรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงและ รมว.กลาโหม รวมทั้ง ผบ.ทบ.จะทำให้ “นโยบาย” และ “ยุทธวิธี” ของกองกำลังในพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่  “เป็นประโยชน์” โดยเฉพาะเป็นไปเพื่อการ “ทำลายโจรใต้” ได้หรือไม่
     
       เพราะเราต้องผจญกับโจรใต้ หรือบีอาร์เอ็นมาแล้วถึง 13 ปี น่าจะเพียงพอแล้วต่อวิธีการ “เอาใจโจร” ในทุกรูปแบบ วันนี้ควรจะถึงเวลา “แตกหัก” ของการทำ “สงครามประชาชน” ได้แล้ว  ถึงวันนี้เป็นเวลาที่เราสามารถแยกแยะ “คนดี” กับ “คนชั่ว” ออกจากกันได้แล้ว กลุ่มไหน หรือใครที่พูดคุย “รู้เรื่อง” ก็พูดคุยกันไป คนไหนที่ยัง “ถอนชิฟ” ได้ก็ถอนกันไป
        
       แต่กลุ่มไหน หรือคนไหนไม่ว่าจะเป็น “กองกำลังติดอาวุธ” หรือเล่นบท “ลูกคู่-หางเครื่อง” ที่อยู่ในคราบขององค์กรโน้น นู้น นี่ นั่น ถ้ายัง “ตีสองหน้า” ยัง “แทงข้างหลัง” ก็ต้องใช้วิธีการ “สุดท้าย” ในการจัดการเพื่อให้พื้นที่ตรงนี้มีความสงบ ส่วนเรื่อง “สันติภาพ” มันเป็นเรื่องใหญ่ และ “เพ้อฝัน” สำหรับคนบางกลุ่ม หรือบางพวกเท่านั้น
     
       และไม่ว่าจะใช้นโยบายแบบไหน หรือใช้ยุทธการอย่างไร สิ่งที่หน่วยงานทุกหน่วยต้องคิดให้ตรงกันคือ ประเทศเราเป็น “รัฐพุทธ ดังนั้น “คนไทยพุทธ ต้องได้รับความคุ้มครอง และส่งเสริมที่เท่าเทียมกับคนในศาสนาอื่นๆ
     
       โดยเราต้องเห็นด้วยต่อนโยบายดับไฟใต้ที่จะต้อง “ล้างความคิดที่ผิด” จาก “คนที่หลงผิด” โดยจะไม่ “ทำลายชีวิตของคนที่คิดผิด” ยกเว้นคนเหล่านั้น “หมดหนทางเยียวยา” แล้วก็ย่อมปล่อยให้เป็น “เสี้ยนหนามแผ่นดิน” ต่อไปไม่ได้
     
       แต่เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วรู้สึกผิดหวังกับ “เวทีไทยพุทธ” ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเวทีของ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” หรือของ “ศอ.บต.” เพราะพบว่าวันนี้คนไทยพุทธยัง “ไม่มีเอกภาพ” ในการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะในการ “สร้างเครือข่าย”
     
       เนื่องเพราะคนที่เป็น “หลัก” เป็น “แกนนำ ได้ปฏิเสธที่จะไปร่วมแก้ปัญหา หรือเสนอแนวทางในการแก้ปัญหากับรัฐ แต่ถนัดในการที่จะเป็น “กองเชียร์ ทางไลน์ ทางเฟซบุ๊ก ส่วนคนที่ไม่ร่วมเวทีส่วนหนึ่งยังเป็นพวก “มวยวัด” หรือ “มวยทะเล ที่สุดท้ายแล้วยังหา “ความเป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ได้
     
       และที่สำคัญวันนี้เรามีแต่ “นักสู้ผมขาว” ส่วนหนุ่มสาวเยาวชนที่ควรจะเป็นอนาคตของปลายด้ามขวานกลับยังหาไม่เจอ นี่คือ “โจทย์ ใหญ่สำหรับคนไทยพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะต้องเร่งทำการแก้ไขโดยด่วน
     
       เพราะเห็นเวทีของคนมุสลิมหลายเวที ต้องนับเป็นเวทีที่มีนักคิด นักการศาสนา เยาวชนคนหนุ่มสาวเป็น “พลัง” หรือเป็น “กำลังหลัก” ในการขับเคลื่อนสิ่งที่เขาเรียกร้อง เขารู้จัก “สร้างเครือข่าย” เพื่อให้ “เสียงของเขาก้องดัง” ทั้งในระดับประเทศ และสังคมโลก
     
       ในขณะที่ไทยพุทธเราที่ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายรัฐอาจจะต้อง “จ้าง คนไทยพุทธให้อยู่ในพื้นที่ พวกเรายังทำตัวเป็น “ไก่ในเข่งวันตรุษจีน ที่รู้วันตายว่าพรุ่งนี้จะถูกเชือดคอไหว้เจ้า แทนที่จะช่วยกัน “ทลายเข่ง” ออกมา แต่เรากลับ “จิกตีกันเอง” เพราะแก่งแย่งความเป็นที่หนึ่ง มากกว่าที่จะเห็นความสำคัญของประเทศชาติ
     
       แน่นอนว่า “ความไม่เป็นเอกภาพ” ของคนไทยพุทธในพื้นที่ คือสิ่งที่บีอาร์เอ็นต้องการที่จะเห็น และต้อการให้เกิดมากขึ้นๆ เพราะนี่คือ “ตัวแปร” ที่สำคัญที่สุดของการแบ่งแยกดินแดน เพราะถ้าคนไทยพุทธอ่อนแอ และร่อยหรอลงเรื่อยๆ แผ่นดินปลายด้ามขวานมีปัญหาแน่นอน เพราะ “คนอยู่ แผ่นดินยัง” แต่ถ้าคนหมด แผ่นดินก็หมดไปด้วย
     
       วันนี้คนไทยพุทธต้อง “คิดให้ได้-คิดให้เป็น” ต้องเป็นกำลังหลักของรัฐ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนรัฐแก้ปัญหา ในส่วนที่รัฐทำไม่ถูก โกง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนก็ว่ากันไปตามกระบวนการของการตรวจสอบ แต่ไม่ควรที่จะ “ปฏิเสธ” และมองหน่วยของรัฐเป็น “ศัตรู ด้วยการไม่ร่วม “สังฆกรรม” เพราะนี่คือสิ่งที่บีอาร์เอ็นอยากให้เกิด เพื่อที่เขาจะได้ชัยชนะเร็วขึ้น
     
       เพราะฉะนั้นการที่ “สงครามประชาชนระลอกใหม่” ที่ปลายด้ามขวานยังคงเป็น “สงครามยืดเยื้อ” เรายังไม่รู้แพ้ ไม่รู้ชนะ ทั้งที่ต่อสู้กันมาแล้วถึง 13 ปี นั่นอาจจะเป็นเพราะทั้งหน่วยงานของรัฐ และประชาชนในพื้นที่ต่างทำในสิ่งที่เรียกว่า “เข้าทางโจร” ด้วยกันทั้งนั้น

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รองนายกรัฐมนตรีและคณะ ลงใต้ประชุมติดตามการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้





              เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (1 พ.ค.2560) ที่ห้องประชุม 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ประธาน คปต.) พร้อมด้วยพลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล, พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก, พลตำรวจเอกจักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และคณะเดินทางลงพื้นที่ เพื่อเข้าประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะผู้แทนพิเศษรัฐบาล พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4, พลตำรวจโทรณศิลป์ ภู่สาระ ผู้บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ พลเรือนและทหารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้



            ทั้งนี้ เพื่อติดตามการขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ คปต. ปีงบประมาณ 2560 และการดำเนินงานเพื่อระวังป้องกันการก่อเหตุในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานการณ์ด้านการข่าว และการเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการข่าวในพื้นที่ รวมทั้งความก้าวหน้าการดำเนินโครงการบูรณาการระบบกล้อง CCTV ในพื้นที่


           นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรียังได้ติดตามรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความสอดคล้องกับแผนงานปฎิบัติการ ทั้งกลุ่มงานภารกิจงาน ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และ road map ของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้แก่ เมืองต้นแบบสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


            โดยโครงการนี้มุ่งการพัฒนาที่ ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานที่สามารถเชื่อมต่อได้ทุกภาคส่วน และร่วมกันพัฒนาตามแนวทาง “ห่วง โซ่คุณค่า” (Value of Chain) เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม


           พลเอก อุดมเดช หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ได้เน้นย้ำว่า ไม่ว่าจะเป็นงานด้านความมั่นคง หรือด้านการพัฒนา สิ่งสำคัญอย่างมากในการทำงาน คือ การมี ส่วนร่วมของประชาชน เพราะสิ่งนี้จะสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งรัฐจำเป็นต้อง ตอบสนองและให้การสนับสนุนต่อไป



‘ประเด็นญีฮาด จชต.’ เมื่อผู้นำศาสนาลงพื้นที่รับรู้ความจริง




"Ibrahim"

             เมื่อวันที่ 5-7 เมษายน 2560 “แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม” (The Grand Mufti of Egypt) หรือผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย – อียิปต์ รวมถึงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมลงพื้นที่สัมผัสวิถีชีวิตพุทธ-มุสลิม




         และล่าสุดเมื่อ 25 เมษายน 2560 ฮาบีบ อาลี หรือ Habib Ali Zainal Abidin Al-Kaff ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซีย เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนศาสนา และเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติศาสนา และประชาสัมพันธ์บอกกล่าวผ่านคำบรรยายให้กับกลุ่มประเทศมุสลิม ได้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ทั้งนี้ ฮาบีบ อาลี ชื่นชมไทยใช้หลักศาสนาแก้ปัญหาเยาวชน


        การเดินทางมาของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลาม คณะ OIC ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ หรือแม้กระทั่งผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) ในหลายโอกาสที่คณะเหล่านั้นได้ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเรา ได้รับรู้ปัญหาและสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด กลับพบว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขทั้งชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน




         ซึ่งจากการเดินทางมาของ“แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม”ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ ได้นำปรัชญาและหลักคำสอนมาเผยแพร่ให้กับพี่น้องผู้นับถือศาสนาอิสลาม ในพื้นที่ จชต.ตามหลักคำสอนศาสนาอิสลามที่ถูกต้องดั้งเดิม และแนวคิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ (peaceful coexistence)


         “แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม”ได้กล่าวเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ“มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อีกทั้งยังมั่นใจรัฐบาลไทยต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เดินมาถูกทางแล้ว 




           ในส่วนของท่าน ฮาบีบ อาลี หรือ Habib Ali Zainal Abidin Al-Kaff ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซีย กล่าวชื่นชมไทยที่ใช้หลักศาสนาแก้ปัญหาเยาวชน เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนร่วมกันสร้างชุมชนศรัทธา (กำปงตักวา) ตามแนวทางของศาสดา ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง อีกทั้งมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้




          รวมทั้งรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการศึกษาทั้งทางด้านศาสนา และวิชาสามัญควบคู่กันไป ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน ประชาชน ให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญการที่รัฐบาลไทยส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข นับเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจะช่วยให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ซึ่งในสมัยท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด ซ.ล. บางกลุ่มที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามก็ยังอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข และอยู่ด้วยกันด้วยความเคารพ ให้ความปลอดภัยต่อศาสนานั้นด้วย โดยทุกศาสนาจะเท่าเทียมกัน เคารพซึ่งกันและกัน






            ทุกครั้งที่บุคคลสำคัญทางศาสนาอิสลามได้มาเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับรู้สถานการณ์ที่แท้จริง ได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ ต่างได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่ารัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญ และความเท่าเทียมของผู้คน ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติและศาสนา


         โดยเฉพาะต่อพี่น้องประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม รัฐบาลมิได้ขัดขวางหรือกีดกันในการประกอบศาสนกิจแต่อย่างใด มีแต่สนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาไม่ว่าการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรือการทำอุมเราะห์ แถมยังส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาดีกว่าประเทศอิสลามบางประเทศด้วยซ้ำ


        จากการโฆษณาชวนเชื่อของบุคคลบางกลุ่มได้การกล่าวหารัฐบาลไทยกีดกันการนับถือศาสนา และ ไม่ได้รับความเท่าเทียมในสังคม มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม นำประเด็นในเรื่องศาสนาซึ่งมีความละเอียดอ่อนต่อความคิดความเชื่อเป็นเครื่องมือ ปลุกกระแสให้ลุกขึ้นต่อสู้ด้วยการทำญีฮาด ซึ่งจากการที่ “แกรนด์ ดร.ชัคกี อัลแลม” ผู้ตัดสินชี้ขาดสูงสุดทางศาสนาอิสลามประเทศอียิปต์ และฮาบีฟหนุ่ม ผู้สืบเชื้อสายท่านศาสดา นบี มูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากประเทศอินโดนีเซียที่มาเยือน จชต.กลับพบว่าแท้จริงแล้วรัฐบาลไทย ไม่ได้ขัดขวางพี่น้องมุสลิมในการนับถือศาสนาด้วยซ้ำ และไม่เข้าเงื่อนไขการปลุกกระแสให้ให้มีการญีฮาดแต่ประการใด.


----------------------------

บุกรวบตัวผู้ต้องหา “คาร์บอมบ์เบตง”




        เมื่อ 29 เม.ย. 60 พ.อ.ธนุตม์ พิศาลสิทธิวัฒน์ รองผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจยะลา , พ.อ.สิทธิศักดิ์ เจนบรรจง ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 , พ.อ.ณรงค์ชัย เจริญชัย ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 33 , พ.ต.อ.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน ผู้กำกับการ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา สนธิกำลังทำการปิดล้อมตรวจค้นติดตามจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา หลังทราบข่าวในพื้นที่แจ้งว่า พบบุคคลเป้าหมายตามหมายจับคดีความมั่นคง เข้ามาหลบซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่

           หลังจากเจ้าหน้าที่เข้าปิดล้อมบ้านเป้าหมายในพื้นที่หมู่ 9 บ้านตาเนาะปูเต๊ะใน ต.ตาเนาะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา  ได้ควบคุมตัว นายอารีดิน สิแล อายุ 35 ปี ที่อยู่ 205 ม.9 ต.ตาเน๊าะปูเต๊ะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา บุคคลตามหมายจับ ป.วิอาญา เลขที่ จ.440 /2557 ลงวันที่ 4 ธ.ค.57 ในข้อหาความผิดฐานปล้นทรัพย์ มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำการด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ร่วมกันก่อการร้าย สนับสนุนหรือกระทำความผิดใดๆ อันเป็นแผนเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการก่อการร้าย หรือรู้ว่ามีผู้จะก่อการร้ายและกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้เป็นอั้งยี่ และซ่องโจร




         การจับกุมในครั้งนี้ เนื่องจากกรณีเหตุคนร้ายปล้นรถตู้สายยะลา-หาดใหญ่ พื้นที่บ้านปาโจ ม.2 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา นำไปก่อเหตุลอบวางระเบิดในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2557 เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ก่อนที่คนร้ายจะนำรถตู้มาจอดทิ้งไว้ริมทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) รอยต่อ อ.ธารโต จ.ยะลา



         นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้ใช้กฎอัยการศึก เชิญตัว นายบูดีมัน สิแล อายุ30 ปี ซึ่งเป็นน้องชายของ นายอารีดิน สิแล เข้ากระบวนการซักถามขั้นต้นที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 33อ.บันนังสตา จ.ยะลา พร้อมนำตัวไปลงบันทึกประจำวันที่ สภ.บันนังสตา และนำตัวส่งหน่วยซักถามที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 ต.วังพญา อ.รามัน จ.ยะลา

ดับไฟใต้..ด้วยแนวทาง‘สันติวิธี’





             ความไม่สงบในภาคใต้นั้นมีรากเหง้าความเป็นมาจากอดีตที่สั่งสมสืบทอดกันมานับศตวรรษ แต่นั่นก็ ไม่สำคัญเท่ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งสร้างความทุกข์ยากและความอึดอัดคับข้องใจด้วยสาเหตุทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา อำนาจรัฐที่รวมศูนย์และไม่สามารถให้ความยุติธรรมตลอดจนสวัสดิภาพ แก่ประชาชนก็ดี วัฒนธรรมจากส่วนกลางที่นิยามความเป็นไทยอย่างคับแคบจนปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็ดี กลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพลที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐในการแย่งชิงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐสูญเสียความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็ขยายแนวร่วมให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น พร้อมกันนั้นอำนาจรัฐที่ถดถอยก็เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลสามารถเคลื่อนไหวและสร้างสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
         การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีหมายถึงการสลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ และดียิ่งกว่านั้นก็คือ ดึงประชาชนเหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมของรัฐแทน จะทำเช่นนั้นได้การทำงานกับมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการฝึกฝนให้พูดภาษามลายูท้องถิ่น เข้าใจพื้นฐานของศาสนาอิสลามและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ โดยเฉพาะในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน อาทิ จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนามาร่วมเป็นกรรมการ ทั้งในระดับจังหวัดลงไปถึงระดับตำบล โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ อบต. หรือคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ซึ่งทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน สร้างความสมานฉันท์ในชุมชน รวมทั้งดูแลรักษา ความปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านหรือตำบลไปจนถึงระดับจังหวัด
         ขณะเดียวกัน การให้หลักประกันทางด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนก็จะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่กระทำด้วยการออกคำสั่งหรือเอ่ยปาก “กำชับ” เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น มาตรการที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม คณะกรรมการติดตามการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่มีเงื่อนงำ คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิประชาชน ศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้สูญหายหรือถูกสันนิษฐานว่าถูกอุ้มฆ่า ทั้งนี้โดยประกอบด้วยบุคคลในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ในความซื่อสัตย์สุจริต มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
          สันติวิธีจะได้ผลต้องอาศัยความอดทนเพราะมักไม่ให้ผลทันทีทันใด เนื่องจากไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ให้ผลในระยะยาวและยั่งยืนกว่า ในขณะที่วิธีรุนแรงนั้นดูเหมือนให้ผลทันใจ เพราะเห็น “ผู้ร้าย” ตายไปต่อหน้าต่อตา แต่ปัญหาหาได้หมดไปไม่ ความรุนแรงยังคงอยู่ต่อไปและ “ผู้ร้าย” ก็ยังเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะรากเหง้ายังคงอยู่ วิธีรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ปัญหาสงบลงอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามมักสงบลงช้ากว่าการแก้ด้วยสันติวิธีเสียอีก และในที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาขึ้นโต๊ะเจรจาแทน เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนไม่น้อยมีความอดทนอย่างยิ่ง และพร้อมใช้สันติวิธีเพื่อเอาชนะใจประชาชน นี้คือต้นทุนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะใช้สันติวิธีเพียงใด และกล้าคิดนอกกรอบหรือไม่ ถ้าหากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นและกล้าคิดกล้าทำนอกกรอบ ขณะเดียวกันประชาชนทั่ว ทั้งประเทศก็สนับสนุน การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีย่อมเป็นอันหวังได้อย่างแน่นอน
          ความไม่สงบในภาคใต้นั้นมีรากเหง้าความเป็นมาจากอดีตที่สั่งสมสืบทอดกันมานับศตวรรษ แต่นั่นก็ ไม่สำคัญเท่ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันซึ่งสร้างความทุกข์ยากและความอึดอัดคับข้องใจด้วยสาเหตุทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษา อำนาจรัฐที่รวมศูนย์และไม่สามารถให้ความยุติธรรมตลอดจนสวัสดิภาพ แก่ประชาชนก็ดี วัฒนธรรมจากส่วนกลางที่นิยามความเป็นไทยอย่างคับแคบจนปฏิเสธวัฒนธรรมท้องถิ่น ก็ดี กลุ่มทุนและธุรกิจอิทธิพลที่ร่วมกับหน่วยงานรัฐในการแย่งชิงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานรัฐสูญเสียความสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็ขยายแนวร่วมให้แก่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมากขึ้น พร้อมกันนั้นอำนาจรัฐที่ถดถอยก็เปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลสามารถเคลื่อนไหวและสร้างสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น
          การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีหมายถึงการสลายแนวร่วมของผู้ก่อความไม่สงบ และดียิ่งกว่านั้นก็คือ ดึงประชาชนเหล่านั้นมาเป็นแนวร่วมของรัฐแทน จะทำเช่นนั้นได้การทำงานกับมวลชนเป็นสิ่งสำคัญ เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องได้รับการฝึกฝนให้พูดภาษามลายูท้องถิ่น เข้าใจพื้นฐานของศาสนาอิสลามและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน สามารถดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐ ตั้งแต่ระดับการตัดสินใจ โดยเฉพาะในสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน อาทิ จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจสังคมโดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำศาสนามาร่วมเป็นกรรมการ ทั้งในระดับจังหวัดลงไปถึงระดับตำบล โดยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ อบต. หรือคณะกรรมการสันติสุขชุมชน ซึ่งทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน สร้างความสมานฉันท์ในชุมชน รวมทั้งดูแลรักษา ความปลอดภัยร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านหรือตำบลไปจนถึงระดับจังหวัด
           ขณะเดียวกัน การให้หลักประกันทางด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนก็จะต้องมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่กระทำด้วยการออกคำสั่งหรือเอ่ยปาก “กำชับ” เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น มาตรการที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม คณะกรรมการติดตามการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ที่มีเงื่อนงำ คณะกรรมการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิประชาชน ศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้สูญหายหรือถูกสันนิษฐานว่าถูกอุ้มฆ่า ทั้งนี้โดยประกอบด้วยบุคคลในพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับ ในความซื่อสัตย์สุจริต มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเสนอรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น สันติวิธีจะได้ผลต้องอาศัยความอดทนเพราะมักไม่ให้ผลทันทีทันใด เนื่องจากไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ให้ผลในระยะยาวและยั่งยืนกว่า ในขณะที่วิธีรุนแรงนั้นดูเหมือนให้ผลทันใจ เพราะเห็น “ผู้ร้าย” ตายไปต่อหน้าต่อตา แต่ปัญหาหาได้หมดไปไม่ ความรุนแรงยังคงอยู่ต่อไปและ “ผู้ร้าย” ก็ยังเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ เพราะรากเหง้ายังคงอยู่ วิธีรุนแรงไม่ได้ช่วยให้ปัญหาสงบลงอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามมักสงบลงช้ากว่าการแก้ด้วยสันติวิธีเสียอีก
        และในที่สุดก็หนีไม่พ้นที่ทุกฝ่ายจะต้องหันมาขึ้นโต๊ะเจรจาแทน เจ้าหน้าที่รัฐจำนวนไม่น้อยมีความอดทนอย่างยิ่ง และพร้อมใช้สันติวิธีเพื่อเอาชนะใจประชาชน นี้คือต้นทุนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะใช้สันติวิธีเพียงใด และกล้าคิดนอกกรอบหรือไม่ ถ้าหากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นและกล้าคิดกล้าทำนอกกรอบ ขณะเดียวกันประชาชนทั่ว ทั้งประเทศก็สนับสนุน การดับไฟใต้ด้วยสันติวิธีย่อมเป็นความหวังได้อย่างแน่นอน.