หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

เผย 5 พิธีกรรมฆ่าสัตว์บูชายัญ เทศกาลสังเวยชีวิตจากทั่วโลก




          การฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญ เป็นพิธีกรรมที่มีมาแต่โบราณ ผูกพันอยู่กับเรื่องความเชื่อตลอดจนศาสนา นัยว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อเทพเจ้า หรือสิ่งที่ตนนับถือ แม้ในยุคนี้การบูชาด้วยการฆ่าสัตว์สังเวยชีวิตจะลดน้อยลงอย่างมากแล้ว แต่ในหลาย ๆ พื้นที่ พิธีกรรมนี้ก็ยังถูกสืบสานต่อมา ลองมาดูรวม 5 การฆ่าสัตว์บูชายัญ พิธีกรรมสังเวยชีวิตจากทั่วโลก ที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันวันนี้

1. บูชาเจ้าแม่กาธิมัย ที่เนปาล

           พิธีกรรมฆ่าสัตว์บูชาเจ้าแม่กาธิมัย ที่ประเทศเนปาล เป็นการพิธีบูชายัญของศาสนาฮินดู ซึ่งเชื่อว่าการบูชาเจ้าแม่กาธิมัยเช่นนี้จะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และนำมาซึ่งโชคลาภได้ พิธีกรรมนี้ถูกจัดขึ้นทุก ๆ 5 ปี ที่วิหารเจ้าแม่กาธิมัย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ และนับเป็นพิธีกรรมฆ่าสัตว์บูชายัญที่มีใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของจำนวนสัตว์ ที่ถูกสังหาร โดยมีการประมาณกันว่าจำนวนสัตว์ที่ถูกสังเวยในพิธีกรรมนี้มากถึง 250,000 ตัว ส่วนใหญ่เป็นควาย แต่ก็มีการสังเวยด้วยแพะ หมู ไก่ หนู รวมถึงนกพิราบ ด้วยเช่นกัน

        ควายจำนวนมากที่ถูกสังหารด้วยวิธีการตัดคอ เพื่อบูชายัญต่อเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเขตบาราทางตอนใต้ของกรุงกาฏมา ณฑุ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวานนี้ (24) ตามประเพณี ซึ่งเชื่อว่า จะช่วยนำโชคลาภและความเจริญมั่งคั่งมาให้

        พิธีบูชายัญดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล “คาธิไม” ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 5 ปี ที่ศาสนสถานคาธิไม ห่างจากกรุงกาฏมาณฑุ เมืองหลวงประมาณ 150 กิโลเมตร โดยในแต่ละครั้งจะต้องสังเวยด้วยชีวิต ควาย แพะ ไก่ และนกพิราบ กว่า 200,000 ตัว

        คณะกรรมการการจัดงาน เผยว่า มีควายถูกฆ่าบูชายัญไปแล้วกว่า 15,000 ตัวเมื่อวานนี้ แต่ แพะ ไก่ นกพิราบ ที่ถูกฆ่าสังเวยชีวิตในวันนี้ (25) มากมายจนนับจำนวนไม่ได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนความเชื่อต่อเทพเจ้าคาธิไม เทพเจ้าแห่งอำนาจ ตามความเชื่อของชาวเนปาล ซึ่งร้อยละ 80 จากประชากร 27 ล้านคนเป็นชาวฮินดู

       พิธีกรรมดังกล่าวถูกนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนป ระณามอย่างหนัก รวมถึง บริชิตต์ บาร์โดต์ นักแสดงชาวฝรั่งเศส ซึ่งเรียกร้องให้ชาวเนปาลยุติประเพณีที่สืบทอดกันมานานนับร้อยปีนี้



2. บูชาเจ้าแม่กาลี ที่อินเดีย

          การบูชาเจ้าแม่กาลี หรือ พระนางอุมาเทวี ถูกจัดขึ้นที่วิหารเจ้าแม่กาวี ในเมืองกัลกัตตา ของประเทศอินเดีย เพื่อขอดลบันดาลให้เกิดความสงบ ปัดเป่าความชั่วร้าย โดยจะฆ่าแพะเพื่อนำเลือดสด ๆ มาบูชาพระนาง



3. พิธีกุรบานของชาวมุสลิม

         พิธีกุรบานของชาวมุสลิม คือการฆ่าสัตว์ในช่วงเทศกาลอีดิลอัฎฮา หลังจากการไปแสดงบุญประกอบพิธีฮัจญ์ ที่นครเมกกะ ซาอุดีอารเบีย 

          ประวัติที่มาของการทำกุรบาน : ตามประวัติศาสตร์อิสลามที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์กุรอาน อัลลอฮฺทรงต้องการ ที่จะทดสอบความศรัทธาของนบีอิบรอฮีม (หรืออับราฮัม) 

          ดังนั้น คืนหนึ่ง อัลลอฮฺจึงได้ทรงทำให้นบีอิบรอฮีม ฝันว่าพระองค์ทรงมีบัญชาให้ท่านเชือดอิสมาอีล ลูกชายของท่านเป็นการพลีถวายให้แก่พระองค์ ในวันรุ่งขึ้น นบีอิบรอฮีม จึงได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้อิสมาอีลฟัง อิสมาอีลมิได้ตกใจกลัวต่อคำบอกเล่าดังกล่าวแต่ประการใด ซ้ำยังบอกแกนบีอิบรอฮีมผู้เป็นพ่อว่า "หากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าแล้วก็ขอให้พ่อปฏิบัติตามและ พ่อจะพบว่าฉันเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้อดทน" (ดูกุรอาน 37:102)

          ดังนั้น นบีอิบรอฮีมจึงได้นำอิสมาอีลไปยังสถานที่แห่งหนึ่งเพื่อทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ในระหว่างทาง อิบรอฮีมได้ถูกมารร้ายล่อลวงมิให้ท่านทำตามคำสั่งถึงสามครั้งในที่ต่าง ๆ กัน แต่ท่านก็สามารถที่จะเอาชนะ การล่อลวงของมารร้ายและใช้หินขว้างขับไล่มันไปในที่สุด 

         เมื่อมาถึงสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งนบีอิบรอฮีม จะใช้เป็นที่เชือดบุตรและเตรียมจะลงมือเชือด อัลลอฮฺก็ทรงเห็นว่านบีอิบรอฮีมเป็นผู้ศรัทธาที่พร้อมจะ ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์จริง พระองค์จึงได้มีบัญชาให้นบีอิบรอฮีมเชือดแกะหรือแพะแทน ลูกชายของท่าน 

        การเชือดสัตว์พลีจึงเป็นที่ปฏิบัติอย่างหนึ่งในการประกอบพิธีฮัจญ์ ทั่งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มุสลิมได้รำลึกถึงวีรประวัติแห่งความศรัทธาต่อพระเจ้าและการเสียสละ อันสูงส่งของนบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีล

        หลังจากสมัยนบีอิบรอฮีม การกุรบานได้ผิดไปจากเจตนารมณ์และการปฏิบัติดั้งเดิม กล่าวคือพวกชาวอาหรับ ก่อนหน้าสมัยท่านนบีมุฮัมมัด บางพวกได้เชือดสัตว์พลีของจริงอยู่ แต่เจตนาในการเชือดนั้นเพื่อเป็นการ เซ่นสรวงเทวรูปที่พวกตนเคารพสักการะและเอาเลือดของสัตว์ที่ตนเชือดนั้นสาดไปที่กำแพงก๊ะอฺบ๊ะฮฺ ส่วนเนื้อก็แจกให้คนจนเอาไปกิน 

         มาถึงสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด หลังจากที่ได้ยึดนครมักก๊ะฮฺ และทำลายเทวรูปบูชารอบก๊ะอฺบ๊ะฮฺลงจนหมดสิ้น แล้วท่านก็ได้ปฏิรูปการทำฮัจญ์ให้กลับสู่แนวทาง ที่ถูกต้อง การทำกุรบานซึ่งเป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติของการทำฮัจญ์ ก็ได้ถูกปฏิรูปให้กลับเข้าสู่เจตนาเดิมและวิธีการ ปฏิบัติที่แท้จริงของมัน นั่นคือ การอุทิศให้แก่อัลลอฮฺ

        จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า “ไม่มีการงานใดสำหรับลูกหลานอาดัมในวันแห่งการเชือด (คือวันอีดอัฎฮา) ซึ่งเป็นที่รักยิ่ง ณ พระองค์ ดียิ่งไปกว่าการหลั่งเลือด (หมายถึงการเชือด กรฺบาน

         แท้จริงมัน (สัตว์ที่ถูกเชือด) จำนำเขา, ขน และกลีบเท้าจองมันมาในวันกิยามะฮฺ และ เลือด (ของสัตว์ที่ถูกเชือด) จะถึงยังพระองค์อัลลอฮฺก่อนที่จะหลั่งลงพื้นดิน (เป็นการเปรียบเทียบถึงการรับผลบุญที่รวดเร็ว) ดังนั้นพวกท่านจงดีใจต่อสิ่งดังกล่าว (หมายถึงดีใจต่อการได้รับภาคผลในการทำกุรฺบาน)” 



4. พิธีฆ่าควายบูชายัญของชาวโทราจา ที่อินโดนีเซีย

        โทราจา เป็นชนเผ่าพื้นเมืองาทงตอนใต้ของเกาะสุลาเวสี ชาวโทราจาจะจัดงานล้มควายเมื่อมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิต โดยจำนวนควายที่ถูกฆ่าจะแปรผันความเกียรติศักดิ์ของผู้ตาย ยิ่งเป็นคนมีชื่อเสียงมากก็จะยิ่งฆ่าควายหลายตัว ทั้งเพื่อเป็นการแสดงความเคารพอาลัยครั้งสุดท้าย และเพื่อน้ำเนื้อที่ได้มาทำอาหารจัดเลี้ยงผู้ที่มาร่วมงาน




5. พิธีบูชายัญ Matagh ที่อาร์เมเนีย

        Matagh เป็นการบูชายัญของชาวอาร์เมเนียน โดยจะฆ่าไก่ตัวผู้หรือแกะ สังเวยต่อเทพเจ้าพื้นบ้านของตน ทั้งเพื่อแสดงความสำนึกผิด ส่วนใหญ่เพื่อแสดงความขอบคุณต่อเทพเจ้าที่ช่วยให้แคล้วคลาดจากเคราะห์ภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น