BRN มั่วได้อีกยก รธน. ไทยให้สิทธิ์ปกครองตนเอง | |
BRN มั่วได้อีก ยก รธน. ไทยให้สิทธิ์ปกครองตนเอง แต่ยังข่มเหงผู้คนทำตนเหนือกฏหมาย.. ตามเอกสาร 38 หน้าของกลุ่มกบฏ BRN ที่เรียกร้องมายังรัฐบาลไทย 5 ข้อนั้น BRN ได้ยกมาตราในรัฐธรรมนูญไทยมาอ้างอิงเพื่อให้สอดคล้องกับการที่ตนเองและพักพวกจะได้มาซึ่งอำนาจในการครอบครองประชาชนผู้ที่ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มกบฏกลุ่มนี้... มาตราที่ BRN ยกมานั้นมี 15 มาตราด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ตามข้อเรียกร้องดังนี้ ข้อเรียนร้องที่ 1 การพูดคุยสันติภาพนี้เป็นการพูดคุยระหว่างตัวแทนของนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพปาตานีซึ่งนำโดยบีอาร์เอ็น กับราชอาณาจักรไทย โดยมีเหตุผลสำคัญเพราะบีอาร์เอ็นคือ "องค์กรปลดปล่อย" เป็นตัวแทนของประชาชาติปาตานีมาเลย์ อ้างว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 32, 33, 45, 46, 63, 64 และ 65 เมื่อพลิกดูเนื้อหาในรัฐธรรมนูญพบว่า มาตรา 32 กับ 33 อยู่ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 3 ว่าด้วย "สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล" โดยมาตรา 32 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ขณะที่มาตรา 33 รับรองเสรีภาพในเคหสถานของบุคคล สำหรับมาตรา 45 กับ 46 อยู่ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยเช่นกัน แต่เป็นส่วนที่ 7 ว่าด้วย "เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน" รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นของบุคคล นอกจากนั้นเป็นบทบัญญัติรับรองเสรีภาพของสื่อมวลชน เช่น ห้ามปิดหนังสือพิมพ์ เป็นต้น ส่วนอีก 3 มาตรา คือ 63-64-65 ยังคงอยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย แต่อยู่ในส่วนย่อยที่ 11 ว่าด้วยเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม รับรองเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ, เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง และเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น (มึงยังกล้าจะมาอ้างมาตรานี้อีกนะ...) แต่รัฐก็สามารถจำกัดเสรีภาพข้อนี้ได้ (รวมตัวกันเป็นสมาคม ฯลฯ) หากเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้อเรียนร้องที่ 2 กับ 3 บีอาร์เอ็นเห็นชอบให้แต่งตั้งรัฐบาลมาเลเซียเป็นคนกลางซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ และกระบวนการพูดคุยต้องมีพยานจากผู้แทนประเทศในอาเซียน โอไอซี และเอ็นจีโอ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากทั้งสองฝ่าย ทั้งสองข้อนี้บีอาร์เอ็นอ้างว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตราเดียวกัน คือ มาตรา 82 ซึ่งอยู่ในหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ว่าด้วยแนวนโยบายด้านการต่างประเทศ แต่เมื่อเปิดดูจะบทบัญญัติจริง พบว่า มาตรา 82 ระบุให้รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ข้อเรียกร้องที่ 4 รัฐบาลไทยควรยอมรับการมีอยู่และอำนาจสูงสุดทางการปกครองของประชาชาติปาตานีมาเลย์บนแผ่นดินปาตานี ซึ่งเป็นข้อที่กล่าวถึง "เขตปกครองพิเศษภายใต้รัฐธรรมนูญ" และ "สิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง" (The right for self-determination) ข้อเรียกร้องนี้อ้างว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 26, 30, 32, 33, 39, 40, 66 และ 78 (1) (2) (3) พลิกดูมาตรา 26 อยู่ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ระบุว่าการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ขณะที่มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ห้ามการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อทางศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ฯลฯ (แล้วที่ตายไปเป็นคนต่างศาสนาและเชื้อชาติที่กลุ่มขบวนการหมายหัวล่ะ...??) สำหรับมาตรา 39 กับ 40 ว่าด้วยสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรัฐธรรมนูญระบุไว้กว้างๆ เช่น บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ หรือ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ทั้งเข้าถึง และได้รับการพิจารณาคดีอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม เป็นต้น อย่างไรก็ดี มาตราที่น่าจะเกี่ยวกับข้อเรียกร้องเรื่อง "เขตปกครองพิเศษ" คือ มาตรา 66 กับ 78 โดยมาตรา 66 เป็นเรื่องสิทธิชุมชน รับรองสิทธิให้บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน ขณะที่มาตรา 78 เป็นเรื่องแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (2) สนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัดเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ และ (3) กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง...รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น ข้อเรียกร้องที่ 5 บีอาร์เอ็นต้องการให้รัฐบาลไทยปลดปล่อยผู้ถูกคุมขังทุกคนที่ถูกคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ไทยเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง และลบล้างหมายจับทั้งหมดของนักสู้ปาตานี ข้อเรียกร้องนี้อ้างว่าสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 32, 33, 39, 40 และ 81 โดยมาตราที่ไม่ได้อ้างในข้อเรียกร้องอื่น คือ มาตรา 81 ว่าด้วยนโยบายของรัฐด้านกฎหมายและการยุติธรรม ใน (2) ระบุให้รัฐคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน... ที่มาข้อมูล: http://www.isranews.org/south-news/scoop/item/23948 ข้อสังเกต หรือ ความหน้าด้านของ BRN มาตรา 63-64-65 “....รับรองเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ....” ข้อนี้หากเอ็งทำได้แล้วค่อยมาคุยกัน... มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย..... ห้ามการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ความเชื่อทางศาสนา ....... ฯลฯ (แน่ใจหรือว่าเป็นไปได้ตามที่เอ็งกล่าวอ้าง) กลุ่มกบฏเฒ่ามั่วได้ตลอด จุดยืนไม่มี พอเห็นได้ทีเหนือกว่าก็ข่ม พอรู้ข่มไม่ได้ก็กลับคำจากรัฐอิสระเป็นเขตปกครองพิเศษ.... BRN ควรคำนึง... เรื่องการปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญไทยนั้นคนไทยมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่อย่างพวกเอ็งมันไม่ใช่คนไทย เอ็งมัน Malayism พวกนิยมมาเลย์ เจือกมาอ้างรัฐธรรมนูญไทย แต่ฆ่าคนไทยทำตัวเหนือกฎหมาย... หากคิดว่าเอ็งอยู่ใต้รัฐธรรมนูญไทย มาสิกลับมาที่ไทย... แล้วรับกรรมฐานกบฏแบ่งแยกดินแดน... | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
หน้าเว็บ
▼
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น