วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่องของหะยี สุหลง ปฐมเหตุของสถานการณ์ใต้?

เรื่องของหะยี สุหลง ปฐมเหตุของสถานการณ์ใต้?
“หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเดร์ มูฮัมหมัด เอล ฟาโทนิ”




         เชื่อกันว่าเมือง ปัตตานีตกอยู่ใต้อำนาจของคนไทยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีการก่อกบฏขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2106 แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และระหว่างปี 2173-2176 แผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง แต่ไม่สำเร็จทั้ง 2 ครั้ง 

        ปัตตานีมาได้ลิ้มรสแห่งอิสรภาพชั่วคราวก็ครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตกในปี 2310 แต่แล้วก็กลับมาเป็นเมืองขึ้นของคนไทยอีกในเวลาต่อมา

        ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส และสตูล อันเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “4 จังหวัดภาคใต้” ในกาลต่อมา ถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามตั้งแต่รัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทยกทัพไปตีปักษ์ใต้ในปี 2328 มีผลทำให้ได้หัวเมืองตอนใต้อย่างไทรบุรี, กลันตัน และตรังกานูเพิ่มขึ้นมาอีก

        หัวเมืองทางใต้ก็ เหมือนหัวเมืองด้านอื่น ๆ ของราชอาณาจักรสยามที่ต้องได้รับผลกระทบจากการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ใน ปี 2434 รัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การปกครองส่วนภูมิภาคถูกสร้างขึ้นเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองสู่สวนกลาง การควบคุมดูแลจากส่วนกลางเป็นไปอย่างเข้มงวด รัดกุม และบีบรัด ยังผลให้มีปฏิกิริยาตอบโต้จากผู้คนในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง พร้อม ๆ กับคำว่า “ผีบุญ” และ “ขบถ” เป็นคำที่ใช้ฟุ่มเฟือยและถี่กระชั้น

นโยบาย “แบ่งแยกแล้วปกครอง” เป็นกลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ 

       หัวเมืองส่วนนี้ถูก แบ่งออกเป็นหัวเมืองเล็ก ๆ ย่อย ๆ เรียกว่า “เจ็ดหัวเมือง” ได้แก่ สายบุรี (คอลุบัน), ปัตตานี, หนองจิก, ยุลา, ยะหริ่ง(ยามู), ระแงะ(ตันหยงมาส) และราห์มัน 

ผู้ปกครองเมืองจำนวน 2 คนถูกแต่งตั้งไปจากส่วนกลางโดยตรง

      ผู้ปกครองเมืองที่ รัฐบาลสยามตั้งขึ้นไม่ได้มีเชื้อสายเจ้ามืองเก่าตามประเพณีการปกครองที่ควร จะเป็น มิหนำซ้ำบางคนเคยเป็นคนเลี้ยงวัวมาก่อน เจ้ามืองที่ตั้งขึ้นมาใหม่ก็เลยขัดแย้งกับเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า มีการให้ร้ายป้ายสีเจ้าเมืองแท้ ๆ ของปัตตานี  นั่นเป็นยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

       หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือท่านปรีดี พนมยงค์ มันสมองของคณะราษฎร รู้ถึงปัญหาความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในดินแดน 4 จังหวัดภาคใต้ดี เมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งที่ปรึกษาเกี่ยวกับกิจการมุสลิม ขึ้นมาโดยเฉพาะ บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญนี้คือ... “แช่ม พรหมยงค์” หรือในอีกชื่อหนึ่ง “หะยีชำชุดดิน” 

       น่าเสียดายที่ปัญหาการต่อสู้ทางการเมืองหนักหนาสาหัสจนเกินไป และท่านปรีดี พนมยงค์ก็อยู่ในอำนาจสั้นจนเกินไป ปัญหา 4 จังหวัดภาคใต้จึงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

        นั่นคือจุดเล็ก ๆ ที่เป็นหนึ่งในหลายๆ ชนวนแห่งการขืนแข็ง ได้มีการแข็งเมืองหรือคบคิดกับหัวเมืองมลายูอื่น ๆ ของเจ้าครองเมืองก่อการกบฏขึ้นอีกหลายครั้ง

ระบบเทศาภิบาล” อันเป็นผลจากการปฏิรูประบบราชการในลักษณะ Centralization เมื่อ 110 ปีก่อนได้รับการตอบรับด้วยท่าทีต่าง ๆ กัน 

       เจ้าเมืองปัตตานี เต็งกู อับดุลกาเคร์ หรือพระยาวิชิตภักดี ถูกถอดยศและถูกเนรเทศไปอยู่พิษณุโลก เจ้าเมืองระแงะ ได้รับการกระทำเช่นเดียวกัน โดยถูกเนรเทศไปอยู่สงขลาเมื่อพยายามจะตอบโต้อำนาจรัฐในขณะนั้น  การตอบโต้อย่างเด็ดขาดของฝ่ายอำนาจรัฐทำให้เหตุการณ์ดูสงบลงได้บ้าง จนระบบเทศาภิบาลถูก ยกเลิกในปี 2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว แต่ระบบราชการยังไม่ได้รับการปฏิบัติด้วย กลับยิ่งรวมศูนย์อำนาจหนักยิ่งขึ้น หัวเมืองต่าง ๆ อยู่ใต้การบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยโดยตรงทางราชการ ข้าราชการคนไทยจากส่วนกลางเริ่มถูกส่งไปปกครองแทนเจ้าเมืองมลายูที่ถึงแก่ อนิจกรรมและเกษียณ พร้อมกัยยกเลิกวิธีการเลือกสรรเจ้าเมืองจากผู้นำท้องถิ่น

        หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ หรือที่รู้จักกันดีทั้งคนในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการปกครองในนาม “หะยีสุหลง” ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี เป็นชื่อนี้โดดเด่นขึ้นในใจของชาวมุสลิม 4 จังหวัดภาคใต้ในฐานะผู้นำที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐที่กดดันอย่างเอาจริงเอาจังคน หนึ่ง

หะยีสุหลงได้ต่อสู้ในรูปแบบต่าง ๆ เท่าที่รูปการจะอำนวย

และในที่สุด - เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2490 เขาได้ยื่นข้อเรียกร้อง 7 ข้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย และนายกรัฐมตรีคนใหม่ พลเรือตรีหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ 

ข้อเรียกร้องประวัติศาสตร์มีอยู่ 7 ประการ 

ดังนี้.....

  • 1. ขอให้แต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจเต็มมาปกครองใน 4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ให้มีอำนาจที่จะปลด ระงับ หรือโยกย้ายข้าราชการได้ บุคคลผู้นี้จักต้องถือกำเนิดในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งของ 4 จังหวัด และจักต้องได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนใน 4 จังหวัดนั้น
  • 2. ข้าราชการใน 4 จังหวัดจักต้องเป็นมุสลิมจำนวน 80 %
  • 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการของ 4 จังหวัด
  • 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลางของการสอนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษา
  • 5. ให้ใช้กฎหมายมุสลิมในศาลศาสนา แยกออกไปจากศาลจังหวัดซึ่งเคยมีผู้พิพากษามุสลิม (KATH) นั่งพิจารณาร่วมด้วย
  • 6. ภาษีเงินได้และภาษีทั้งปวงที่เก็บจากประชาชนใน 4 จังหวัดจักต้องใช้จ่ายเฉพาะใน 4 จังหวัดนั้น
  • 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิมมีอำนาจเต็มในการดำเนินการเกี่ยวกับคนมุสลิมทุกเรื่อง โดยให้อยู่ในอำนาจสูงสุดของผู้นำตามข้อ 1.

      ปีนั้น – ปี 2490 เดือนเมษายน – รัฐบาลพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนักหน่วงใน สภาผู้แทนราษฎร ต้องต่อสู้กับการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากพรรคประชาธิปัตย์ และเกิดกรณีสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใน 2 เดือนต่อมา เสถียรภาพของรัฐบาลและนักการเมืองกลุ่มท่านปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งพลพรรคขบวนการเสรีไทย ซวนเซอย่างหนัก กระทั่งเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490

         ระบอบเผด็จการเข้าครอบงำสังคมไทยอีกครั้ง โดยมีจอมพลป. พิบูลสงครามผู้ ริเริ่มแนวคิด “ชาตินิยม” และ “รัฐนิยม” ในช่วงปี 2482 เป็นต้นมาอยู่เบื้องหลังบัลลังก์อำนาจ ครั้งนี้รัฐตำรวจเริ่มเกิดขึ้น ภายใต้การนำของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ การกวาดล้างกลุ่มท่านปรีดี พนมยงค์เปิดฉากขึ้นอย่างเอาเป็นเอาตาย

หะยีสุหลงย่อมตกเป็นเหยื่อของระบอบเผด็จการอย่างมิพักต้องสงสัย !

        หะยีสุหลง บิน ดับดุลกาเดร์ พร้อมด้วยผู้นำคนอื่น ๆ อันได้แก่ หะยีแวะอุเซ็ง, หะยีแวะมามิน และหะยีแวะสะแมะ ถูกจับกุมอันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหว 3 เมษายน 2490 เพราะโดยเนื้อหาของ 7 ข้อเรียกร้องฉบับประวัติศาสตร์ ถูกตีความว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือการฟื้นฟูดินแดนทั้ง 4 จังหวัดให้เป็น “รัฐอิสระ” เข้าข่ายเป็นการเตรียมการแบ่งแยกดินแดนอันเป็นการทำลายอธิปไตยและบูรณภาพ แห่งราชอาณาจักร

       หะยีสุหลงถูกส่งฟ้องต่อศาลที่ปัตตานี  ต่อมาคดีถูกโอนไปพิจารณาทีศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช  ภายหลังจากที่ศาลได้ พิจารณาคดีอย่างยาวนาน ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2492 ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษเขาโดยให้จำคุก 4 ปี 8 เดือน ฐานกล่าวร้ายรัฐบาลในเอกสารที่แจกจ่ายยังประชาชนในท้องถิ่น ส่วนโทษฐานแบ่งแยกดินแดน - ศาลให้ยก ส่วนผู้นำคนอื่นได้รับโทษจำคุกคนละ 3 ปี ปี 2497 หลังจากพ้นโทษแล้ว หะยีสุหลงก็เดินทางกลับจังหวัดปัตตานี แต่แล้ว – หะยีสุหลง บิน ดับดุลกาเดร์ก็ “หายสาบสูญ” พร้อมคนสนิทและลูกชาย คือ อาห์มัด โต๊ะมีนา ในปี 2497 นั้นเอง

      แม้ ความมืดดำของการหายสาบสูญจะยังคงดำรงอยู่มาจนบัดนี้ แต่สำหรับฝ่ายผู้สูญเสียนั้น ต่างปักใจเชื่อว่าหะยีสุหลง บิน อับดุลกาเดร์และคนอื่น ๆ ถูกตำรวจจับถ่วงน้ำทะเลสาบสงขลา บริเวณหลังเกาะหนู ในเขตจังหวัดสงขลา
และนับแต่นั้นก็ไม่ปรากฏความเคลื่อนไหวในระดับเดียวกับที่มีอีกเลย 

         จนเมื่อปี 2500 อันเป็นปีที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ หะยีอามีน โต๊ะมีนา ลูกชายของหะยีสุหลงคนถัดจากอาห์มัด โต๊ะมีนา เป็นหนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในช่วงการรณรงค์หาเสียง ประเด็นจึงหนีไม่พ้นเรื่องของศาสนาและการเมือง ซึ่งประจวบเหมาะกับการที่มาเลเซียได้รับเอกสารจากอังกฤษในปีเดียวกันนั้น  ความตื่นตัวของชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้เรื่องสิทธิและเสรีภาพแห่งตนจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง

        หะยีอามีน โต๊ะมีนาได้รับเลือกให้เป็นส.ส.ปัตตานีทั้ง 2 ครั้งที่มีการเลือกตั้งซ้อน ๆ กันถึง 2 ครั้งในปี 2500 นั้น 

       เดือนเมษายน 2501 หะยีอามีน โต๊ะมีนาจัดพิมพ์หนังสือ “GUGUSAN CHAHAYA KESELAMA TAN” หรือ “รวมแสงแห่งสันติ” ผลงานเขียนของหะยีสุหลงขณะยังรับโทษอยู่ในเรือนจำ ออกเผยแพร่จำนวน 10,000 เล่ม 

       เนื้อหาในหนังสือนี้ ยังมีความเห็นขัดแย้งระหว่างเอกสารทางราชการที่ว่าหนังสือนี้ได้เน้นความจำ ในการต่อสู้เพื่อเอกราชตลอดจนความร่วมมือกันในหมู่ชาวมลายู กับคำให้สัมภาษณ์ของเด่น โต๊ะมีนา น้องชายแท้ ๆ ของหะยีอามีน โต๊ะมีนาที่เห็นว่าเป็นหนังสือขอพรพระผู้เป็นเจ้า หากทำตามหนังสือนี้แล้วก็จะปลอดภัยหรือได้รับสันติ

       หะยีอามีน โต๊ะมีนาได้เขียนคำนำให้กับหนังสือ “รวมแสงแห่งสันติ” ด้วยตัวเอง พร้อมบรรยายใต้ภาพของหะยีสุหลงในหนังสือว่า.....

      “หะยีสุหลงถูกฆ่าตายโดยเจ้าหน้าที่ที่โหดร้ายของรัฐ ขอให้พี่น้องมุสลิมจดจำเป็นเยี่ยงอย่าง” 


ชะตากรรมมาเยือนบ้านเรือนทายาทหะยีสุหลงอีกครั้ง....

     หนังสือทั้งหมดถูกเผา พร้อมๆ กับหะยีอามีน โต๊ะมีนาถูกจับในข้อหาแบ่งแยกดินแดน เอกสารของทางราชการ ระบุว่าหะยีอามีน โต๊ะมีนาได้เผยแพร่และชักจูงให้ชาวมุสลิมรื้อฟื้นความคิดของหะยีสุหลง และรำลึกถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ ดินแดน เชื้อชาติ ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างเปิดเผย และยังได้รับช่วงการดำเนินงานก่อตั้งรัฐปัตตานีตามแผนการของ “ตวนกู ยะลา นาเซร์” อีกด้วย

      ทางการจับกุมหะยีอา มีน โต๊ะมีนาพร้อมด้วยผู้นำอื่น ๆ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม 2504 และฟ้องต่อศาลทหารกรุงเทพฯ ในข้อหาสมคบกับพวกกระทำการเป็นขบถเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร, กระทำการโฆษณาโดยทางวาจาและหนังสือให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องเพื่อก่อการ ขบถ 

     แต่เมื่อพิจารณาคดีมาถึงปี 2508 ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาเพียงวันเดียว คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ถอนฟ้องหะยีอามีน โต๊ะมีนา

โดยอ้างว่าเพื่อผลทางการเมืองบางประการ !


     หะยีอามีน โต๊ะมีนาได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังระหว่างการพิจารณาของศาล และได้เดินทางกลับปัตตานี  แม้เขาจะลดบทบาทตัว เองลงอย่างมากมายหลังการปล่อยตัว แต่ในสายตาของทางการและผู้รับผิดชอบในเขต 4 จังหวัดภาคใต้แล้ว หะยีอามีน โต๊ะมีนายังคงเป็นผู้นำคนหนึ่งที่จะต้องจับตามองและบรรจุรายชื่อเข้าใน “บัญชีดำ” ชนิดถาวร

       ปี 2523 ปัญหา 4 จังหวัดภาคใต้แปรเปลี่ยนไปมาก การเคลื่อนไหวทางการเมืองจากที่เคยยึดที่ตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้นำเป็นแกนนำและ ผู้ชูธง กลับเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปของขบวนการ มีการดำเนินงานที่มีระบบและลึกซึ้งขึ้น มีการสร้างกระแสกดดันฝ่ายรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ก่อกวน เรียกค่าคุ้มครอง ข่มขู่ประชาชนและข้าราชการ  แน่นอนว่าหะยีอามีน โต๊ะมีนาผู้เคยมีบทบาทอย่างมากในอดีตจะถูกเพ่งเล่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

      เมื่อความสับสนมีมาก ขึ้น จึงเกิดกระแสข่าวว่าจะมีการเก็บบรรดาผู้นำจำนวน 5 คน คือ หะยีอามีน โต๊ะมีนา, โต๊ะครูพ่อมิ่ง หรือหะยีอับดุลเราะห์มาน,โต๊ะครูนาประดู่ หรือหะยีมูฮำหมัด และคนอื่นอีก 2 คน

       เด่น โต๊ะมีนาที่ในขณะนั้นเป็นเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมคือชวน หลีกภัย ในรัฐบาลพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ จึงพยายามตรวจสอบข่าว เมื่อเห็นเป็นเรื่องจริง จึงขอร้องชวน หลีกภัยให้พาตนเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงปัญหาและแนวทางแก้ไข เพราะเห็นว่าเรื่องละเอียดอ่อนอย่างนี้ควรจะพูดคุยเป็นการเฉพาะตัวมากกว่า การพูดในที่ประชุมที่ประกอบด้วยผู้ที่รู้พื้นฐานของปัญหาต่างกัน

        แต่แล้ว เด่น โต๊ะมีนาก็ต้องงผิดหวัง เขาได้เปิดเผยกับ “ผู้จัดการรายสัปดาห์” เมื่อ 10 ปีก่อนว่า ชวน หลีกภัยเป็นคนไม่รับผิดชอบในการแก้ปัญหา  และนั่นเป็นสาเหตุ เด่น โต๊ะมีนาตีจากพรรคประชาธิปัตย์ในที่สุด ภายหลังที่มีการประชุมของผู้นำมุสลิมที่เฝ้ารอฟังผลการเจรจา เขาบอกกับผู้นำมุสลิมในที่ประชุมว่า 

“ตัวใครตัวมัน”

นับแต่นั้น บรรดาผู้นำมุสลิมก็ทยอยกันหลบหนีออกนอกประเทศ

       หะยีอามีน โต๊ะมีนาเดินทางไปอยู่กับผู้เป็นตาและญาติพี่น้องที่รัฐกลันตัน ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง ประกอบอาชีพเบื้องต้นด้วยการแปรรูปไม้จำหน่าย ข่าวคราวเมื่อ 10 ปีก่อนยืนยันว่าเขาเลิกกิจการแล้วโดยสิ้นเชิง เพราะลูกค้าชาวมาเลย์ติดค้างชำระหนี้จนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ จึงหยุดพักเพื่อดูท่าทีและหาลู่ทางประกอบธุรกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้สมกับวัยและสังขาร

http://narater2010.blogspot.com/

ความเกี่ยวพันของโรงเรียนปอเนาะกับขบวนการโจรก่อการร้าย

ความเกี่ยวพันของโรงเรียนปอเนาะกับขบวนการโจรก่อการร้าย
http://img80.imageshack.us/img80/3569/pondok03wz1.jpg
รายการ การศึกษาเฉพาะกรณีเรื่อง "ความเกี่ยวพันของโรงเรียนปอเนาะกับขบวนการโจรก่อการร้าย" ที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยข่าวกรอง เมื่อเดือนมกราคม 2547 ซึ่งวิเคราะห์ถึงแผน 7 ขั้นตอนอย่างละเอียด
วิเคราะห์เอกสารที่ยึดจากโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา 

หน่วย ข่าวกรองได้ดำเนินกรรมวิธีแปลและวิเคราะห์เอกสารที่ จนท.ฉก.ร่วมยึดได้จากบ้านพักเลขที่ 33/1 ม.1 บ.เจาะเกาะ/ลูโบ๊ะแจเกาะ ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส และโต๊ะทำงานที่โรงเรียนสัมพันธ์วิทยา อ.เจาะไอร้อง เมื่อ 1 พ.ค. 46 มีรายการเอกสารที่สำคัญดังนี้

         1.เอกสาร บันทึกโครงสร้างสภาองค์การนำหรือ DPP(กลุ่มโจร BRN Co-ordinate) และโครงสร้างขั้นตอนสู่ความสำเร็จ(แผนการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน) ระบุสภาพปี พ.ศ.2540(ค.ศ.1997 หรือ ฮ.ศ.1417) จำนวน 1 แผ่น

         2.เอกสาร เกี่ยวกับสภาองค์การนำ(DPP : Dewan Pimpinan Pusat หรือ Dewan Pimpinan Parti) เขียนด้วยลายมือเป็นภาษามลายู อักษรยาวี เป็นแผนผังเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การนำ(DPP) ซึ่งจากฐานข่าวพอที่จะระบุได้ว่าเป็นส่วนของโครงสร้างกลุ่มโจร BRN Co-ordinate หรือ BRN(ดั้งเดิม) ประกอบด้วย ส่วนแรกเป็นสภาองค์กรนำ ส่วนที่สองเป็นประธานสภา/รองประธานสภา และส่วนที่สามเป็นฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วย ฝ่ายการต่างประเทศ/การทูต ฝ่ายการทหาร ฝ่ายเยาวชน ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนา(อูลามา/อูลามอ) และสภาเขต

          3.เอกสาร ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ เป็นแผนผังลักษณะขั้นบันได 7 ขั้น ซึ่งมีเนื้อหาเป็นแผนงานต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน(มีลักษณะเป็นข้อความเขียน ด้วยลายมือเป็นภาษามลายู อักษรยาวี และนำมาโรเนียวเพื่อทำสำเนาเอกสารสำหรับแจกจ่าย) และมีบันทึกเพิ่มเติมเขียนด้วยลายมือ คล้ายกับเป็นการอธิบายขยายความ
http://farm8.staticflickr.com/7276/8158391769_769df011be_o.jpg

  • ขั้นที่ 1 สร้างจิตสำนึกมวลชน ได้แก่ อิสลาม(ศาสนา) มลายู(เชื้อชาติ) ปัตตานี(แผ่นดินมาตุภูมิ) การถูกรุกราน/ยึดครอง และการต่อสู้

  • ขั้นที่ 2 จัดตั้งมวลชน ได้แก่ โรงเรียนสอนศาสนา โรงเรียนตาดีกา ปอเนาะ คณะกรรมการ(น่าจะหมายถึงคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด) สหกรณ์/บริษัท/ห้างหุ่นส่วน สมาคม การกีฬา

  • ขั้นที่ 3 จัดตั้งองค์การ(มีบันทึกเขียนเพิ่มเติมว่า "อยู่เบื้องหลัง")

  • ขั้นที่ 4 จัดตั้งกองกำลัง ได้แก่ การโฆษณาชวนเชื่อ/ชักชวนเยาวชนให้เป็นสมาชิกเพื่อปฏิบัติการทางทหารจำนวน 3,000 คน ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ/ชำนาญการ ผ่านการฝึก และมีจริยธรรม

  • ขั้นที่ 5 สร้างอุดมการณ์ชาตินิยม ผ่านการปฏิบัติการ/การดำเนินการด้านต่างๆ การต่อสู้ ข้าราชการ(น่าจะหมายถึงข้าราชการไทยมุสลิม) และมาเลเซีย(น่าจะหมายถึงประชาชนไทยมุสลิมที่ประกอบอาชีพหรือพำนักอยู่ใน มาเลเซีย)

  • ขั้นที่ 6 เตรียมพร้อม(จุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ น่าจะมีความหมายเดียวกับคำว่า "วันเสียงปืนแตก")

  • ขั้นที่ 7 จัดตั้งการปฏิวัติ(ก่อการปฏิวัติ) โดยอาศัยพลังของการปฏิวัติ พลังทางการเมือง พลังมวลชน พลังทางเศรษฐกิจ(พึ่งพาตนเอง) และพลังทางการทหาร(กล้าตาย)


       นอกจากนี้ยังมีข้ออื่นๆ ที่เขียนเพิ่มเติมเพื่อขยายความ เช่น การปฏิบัติการแยกเป็น เยาวชนทหาร 3,000 คน เยาวชนคอมมานโด กองกำลังประชาชน/ทหารบ้าน และวิธีการปฏิบัติ เช่น ซ่อนเร้นอำพราง วางระเบิด/ทำลาย เป็นต้น

       พิจารณา จากรูปแบบเอกสารและการบันทึก น่าจะเป็นเอกสารที่ได้มีการแจกจ่ายให้แนวร่วม/เครือข่ายโจรก่อการร้าย สำหรับใช้ประกอบการอบรม/แนะแนวทางการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน และจากบันทึกสภาพวันเดือนปีที่มีการบันทึก จะเห็นได้ว่า มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540

       บัญชีรายชื่อ ที่อยู่ของบุคคล(คาดว่าเป็น จนท./สายข่าว) จำนวน 2 แผ่น พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด ภาษาอังกฤษ และไทย มีรายชื่อบุคคล จำนวน 29 คน (ลำดับ 17-45) ซึ่งจากการตรวจสอบทราบว่า เป็นเอกสารที่ผู้ไม่หวังดีได้นำมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยการทิ้งแผ่นปลิว เอกสารดังกล่าว ในพื้นที่ จ.นราธิวาส เมื่อประมาณปี 2537 เพื่อหวังผลในการคุกคาม จนท./สายข่าวของไทย

       บัญชีรายชื่อ-ที่อยู่แกนนำของ ส.ส.(สงวนชื่อ) จำนวน 3 แผ่น รวมรายชื่อ 78 คน แบ่งตามพื้นที่ ดังนี้

          1.อะระแงะ 33 คน 
          2.อ.สุคิริน 11 คน 
          3.อ.เจาะไอร้อง 17 คน 
          4.อ.จะแนะ 17 คน


ข้อพิจารณา

1) จากการแปลและวิเคราะห์เอกสารดังกล่าว สามารถชี้ชัดได้ว่านายมะแซ อุเซ็ง เป็นผู้ที่มีอุดมการณ์/พฤติกรรมที่ฝักใฝ่การต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนตามแนว ทางของกลุ่มโจร BRN Co-ordinate โดยน่าเชื่อว่าเป็นแกนนำคนหนึ่งที่ทำงานด้านมวลชน/จัดหาสมาชิก/อยู่เบื้อง หลังการก่อเหตุร้าย 
 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEghsDT8gpOqWF54lp9Qp22_H7xN7fTLAanrz13ZqB42nsJ_exkl-fY7aTuVcKfuENFx79cEXUiu9NYFOiJAXa1H3sZj5qrE-y8TEjjtAFzfeQqooitujOJ_KIYXN7d6r9t1FFHYZA63xHLs/s1600/Slide2.JPG
โดยอาศัยบทบาท/ตำแหน่ง/หน้าที่ของตนเองในฐานะครูสอนศาสนา(มีลูกศิษย์มากมาย) ประธานชมรมตาดีกาสัมพันธ์วิทยา และเลขานุการของมูลนิธิศูนย์ตาดีกานราธิวาส(PUSAKA) เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานใต้ดิน และอาศัยความสัมพันธ์กับนักการเมือง เป็นเกราะกำบัง/อำพรางสถานะของตนเอง


2) จากเอกสารตามข้อ 1 เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงสถานภาพของกลุ่มโจร BRN Co-ordinate ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีว่า โจรกลุ่มนี้ยังมีการเคลื่อนไหวและดำเนินงานด้านการเมืองมาอย่างเงียบๆ และต่อเนื่อง สามารถสร้างเครือข่ายมวลชนกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ใน 3 จชต. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สถาบันปอเนาะ มูลนิธิ ชมรม หรือองค์กรด้านศาสนาเป็นศูนย์กลางในการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการ เมือง / ปลูกฝังแนวความคิดให้กับเยาวชนกรณีของ นายมะแซ มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับนายอับดุลกอเดร์ สาหะ ครูสอนศาสนา ร.ร.บ้านใหม่วิทยา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่งถูกจับกุมเมื่อ 3 พ.ย. 45 เชื่อว่ายังมีบุคคลที่มีพฤติกรรมเช่นเดียวกันนี้ อำพรางตัว/แฝงตัวในคราบโต๊ะครู/ครูสอนศาสนาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก


วิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ 3 ประการ (ชาติ ศาสนา มาตุภูมิ) 

  • 1.การกรรโชกทรัพย์(อ้างว่าผู้ประกอบกิจการต่างๆ อาศัยมาตุภูมิในรัฐปัตตานี เพราะฉะนั้นจึงต้องจ่ายเงินค่าคุ้มครอง)
  • 2.การ เผา/ทำลายป้ายชื่อหมู่บ้าน/ขโมยป้ายที่เป็นภาษาไทย ผู้มีอุดมการณ์มีความมุ่งหมายเพื่อให้รัฐบาลเปลี่ยนป้ายชื่อเป็นภาษามลายู และมีเป้าหมายเพื่อจะถ่ายภาพนำไปประกอบการเรียกร้องในองค์กรมุสลิมโลก และสหประชาชาติ ในการเรียกร้องเพื่อรัฐปัตตานี
  • 3.การ เรียกร้องให้เปลี่ยนสัญชาติและเชื้อชาติในบัตรประจำตัวประชาชนโดยขอเปลี่ยน จากเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เป็นเชื้อชาติมลายู สัญชาติปัตตานี
  • 4.การโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกระดมบิดเบือนประวัติศาสตร์ และ ปลุก กระแสรัฐลังกาสุกะ(ปัตตานีในอดีต) โดยปัจจุบันปรากฏการณ์จัดตั้งป้ายชื่อร้านมุสลิม ใช้ชื่อลังกาสุกะและสติกเกอร์ปิดรถยนต์จำนวนมาก (ล่าสุด พ.ศ.กลางปี2548 มีการเคลื่อนไหวโดยการเชิญสื่อมวลชนหลายแขนงเยี่ยมชม พิธีเปิดคลีนิคทันตกรรมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “คลีนิคทันตกรรมแห่งลังกาสุกะ” เพื่อใช้สื่อมวลชนไทยเป็นเครื่องมือปลุกกระแสรัฐลังกาสุกะ) และ ยัง รวมทั้งการสอนประวัติศาสตร์ปัตตานีในลักษระบิดเบือนภายในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม หรือโรงเรียนปอเนาะ เพื่อให้เยาวชนมุสลิมมีความเกลียดชังชาวไทยพุทธ
  • 5.การเผาโรงเรียนของรัฐบาล ความมุ่งหมายเพื่อไม่ต้องการให้เยาวชนมุสลิมเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนดังกล่าว แต่มีเป้าหมายให้เข้าเรียนในโรงเรียนปอเนาะ
  • 6.เมื่อ ใดก็ตามที่ จนท.ของรัฐ หรือชาวไทยพุทธ เข้าไปแตะต้องสิ่งดังกล่าวคือ ชาติ ศาสนา มาตุภูมิ รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรมแล้ว กลุ่มโจร รวมทั้งแนวร่วมจะมีการตอบโต้อย่างรุนแรงทุกครั้ง เช่น
  • -การสังหาร จนท./ผู้นำท้องถิ่นมุสลิมที่ทรยศต่อขบวนการ หรือ องค์กรการต่อสู้ปัตตานี
  • -การลอบวางระเบิดสถานที่ราชการ(อ.ส.ม.ท.ยะลา) เมื่อปี 39 เนื่องจากผู้จัดรายการได้พูดจาในลักษณะดูหมิ่นกลุ่มโจรและแนวร่วม
  • -การเผาโรงเรียนและสถานที่ราชการที่ต่อต้านการแต่งกายแบบฮีญาบของสตรีมุสลิม
  • -การชุมนุมเรียกร้องสิทธิต่างๆ
  • -การทำลายวัด และสิ่งศักดิ์ของชาวพุทธและชาวจีน กรณี เช่นเมื่อ 21 ต.ต.45 ชาวไทยพุทธในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้จัดงานเทศกาลงานชักพระ(ประเพณีชาวปักษ์ใต้ในเดือน 11) ขณะที่ขบวนแห่พระพุทธรูปและพระสงฆ์ แห่ผ่าน โรงเรียนอาซิสถาน(ปอเนาะอาซิสถาน) ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี กลุ่มโต๊ะครูและนักเรียนปอเนาะโรงเรียนดังกล่าว ได้ใช้ก้อนหินขว้างปาพระพุทธรูปและพระสงฆ์ จนทำให้เกือบเกิดการจลาจลขึ้น

http://narater2010.blogspot.com/

ตันหยงลิมอ คุณจำได้หรือไม่

เรือตรีวินัย นาคะบุตร และ จ.อ.กำธร ทองเอียด
ข่าวเก่า2นาวิกไทยตายครูจูหลิงตายNGOไปอยู่ใหนมาเลเซียคิดอะไร
        เมื่อวันที่ 21 กันยายน เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดไปทั่วประเทศ เมื่อคนร้ายสังหาร 2 นายทหารนาวิกโยธิน ซึ่งถูกชาวบ้านล้อมจับไว้เป็นตัวประกัน เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนร้ายที่ก่อเหตุใช้อาวุธสงครามยิงกราดใส่ร้าน น้ำชากลางหมู่บ้านตันหยงลิมอ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัส 
 
          โดยเหตุเกิดเมื่อเวลา 20.30 น. ของวันที่ 20 กันยายน ได้มีคนร้ายจำนวนหนึ่งนั่งรถกระบะใช้อาวุธปืนอาก้ามากราดยิงร้านน้ำชา เลขที่ 62 หมู่ 7 กลางหมู่บ้านตันหยงลิมอ ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิต 2 คน และบาดเจ็บสาหัส 4 คน หลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย เรือตรีวินัย นาคะบุตร และ จ.อ.กำธร ทองเอียด สังกัดกองพันทหารราบที่ 9 กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายจุฬาภรณ์ 5 ซึ่งรักษาการณ์ประจำอยู่ที่โครงการพระราชดำริ บ้านตันหยงลิมอ ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เข้าไปในหมู่บ้าน และรถเสียใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ ชาวบ้านจึงเข้าล้อมและควบคุมตัวไว้ โดยค้นพบอาวุธปืนเอ็ม 16 จำนวน 1 กระบอก และปืนพกสั้น 9 มม. จำนวน 1 กระบอก ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ทั้งสองอาจจะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น จึงควบคุมตัวไว้ที่ศาลาอเนกประสงค์กลางหมู่บ้าน 

        ขณะที่กลุ่มชาวบ้านควบคุมตัวทหารทั้งสองนายอยู่นั้น กำลังเจ้าหน้าที่ทั้งทหารและตำรวจ ได้เคลื่อนกำลังเข้าไปเพื่อตรวจสอบที่เกิดเหตุ แต่เมื่อทราบว่าทหารทั้งสองนายถูกชาวบ้านควบคุมตัวไว้ จึงรอดูท่าทีและตรึงกำลังไว้บริเวณรอบๆ หมู่บ้านตลอดทั้งคืน

ต่อรองผู้ว่าฯนราฯให้สื่อมาเลย์ทำข่าว

         จนกระทั่งเวลา 06.30 น. วันที่ 21 กันยายน นายประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และนายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส พรรคไทยรักไทย ได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อขอเจรจากับตัวแทนชาวบ้านที่ปิดกั้นหมู่บ้านบริเวณ สะพานไอ้แดง ห่างจากหมู่บ้านตันหยงลิมอ 200 เมตร เพื่อขอให้ปล่อยตัวหรือนำตัวส่งดำเนินคดีที่ สภ.อ.ระแงะ แต่ชาวบ้านเรียกร้องให้สื่อมวลชนเข้าทำข่าว นายประชาจึงประสานงานให้นักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และช่อง 9 เข้ามาในพื้นที่ แต่ชาวบ้านบางส่วนกลับไม่ยอมให้เข้าไปทำข่าวในหมู่บ้าน กลับเรียกร้องให้สื่อมวลชนมาเลเซียเข้ามารายงานแทน

         นายประชาจึงเดินทางกลับ เพื่อเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดงานของดีเมืองนราธิวาส โดยให้ พล.ต.พิเชษฐ์ พิสัยจร รองแม่ทัพภาคที่ 4 นายอำเภอตันหยงมัส และ น.อ.ไตรขวัญ ไกรฤกษ์ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจที่ 3 เข้ามาเจรจาต่อ ในขณะที่ฝ่ายชาวบ้านเรียกร้องให้สื่อมวลชนมาเลเซียเท่านั้นที่สามารถเข้ามา รายงานข่าวได้ 
click to view full image : 548000015809702.jpg , 40,583 bytes , 300x225 pixel

        เวลาเดียวกัน กลุ่มชาวบ้านส่วนหนึ่งได้นำท่อนไม้ขนาดใหญ่มาขวางกั้นการจราจร ปิดถนนทางเข้าออกหมู่บ้าน พร้อมตั้งเต๊นท์บริเวณสะพานไอ้แดง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 100 เมตร โดยชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่คลุมฮิญาบ และเด็กทั้งหญิงและชายราว 100 คน 
http://mblog.manager.co.th/uploads/97/images/navyskilld.gif

       จากนั้นเวลา 14.20 น. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อ.ระแงะ ที่เข้าไปเป็นตัวแทนเจรจากับกลุ่มชาวบ้านภายในหมู่บ้าน เดินออกมารายงานแก่ พล.ต.พิเชษฐ์ และพ.อ.อภิไธยที่ด้านหน้าหมู่บ้านว่า มีกลุ่มวัยรุ่นเข้าไปทำร้ายร่างกายทหารทั้งสองนายที่ถูกควบคุมอยู่ภายใน อาคารอเนกประสงค์ในหมู่บ้าน เมื่อมีคนเห็นและส่งเสียงโวยวายขึ้นวัยรุ่นกลุ่มนี้ได้หลบหนีไป 

เข้าไปช่วยพบเป็นศพถูกฆ่าแล้ว

        ถัดมาประมาณ 15 นาที กลุ่มผู้สื่อข่าวมาเลเซียจากหนังสือพิมพ์บริตา ฮารียัน อูตูซาน มาเลเซีย นิวส์ สเตรตไทม์ และสำนักข่าวเบอร์นามา จำนวน 6 คน เดินทางมาถึงบ้านตันหยงลิมอ และเตรียมจะเดินเข้าไปพบชาวบ้าน แต่ยังไม่ทันจะถึง นายมะซูดิง วามะ เลขานุการสำนักงานพรรคประชาธิปัตย์ เขต 3 จ.นราธิวาส ซึ่งเป็น 1 ในตัวแทนที่เข้าไปเจรจากับกลุ่มชาวบ้านได้เดินออกมา พร้อมเปิดเผยว่าทหารทั้ง 2 นาย เสียชีวิตแล้ว โดยสภาพของทหารทั้งสองนายสวมกางเกงขาสั้น ใส่เสื้อยืด สภาพศพถูกมัดมือไพล่หลังถูกแทงหลายแผล จากนั้นรถกระบะของพล.ต.พิเชษฐ์ออกมาจากหมู่บ้าน ด้านหลังมีศพของทหารทั้งสองนาย มีเสื่อคลุมเอาไว้ เพื่อนำศพไปตรวจพิสูจน์ที่โรงพยาบาลระแงะ 
http://www.thaisouthtoday.com/upload/pics/1_9.jpg

           นี่คงเกิดขึ้นอีกทั้งครูจูหลิงและอีกหลายๆคนคงเป็นแบบนี้อีก   แล้วทางมาเลเซียล่ะ

         
พลันที่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่หมู่บ้านตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ก็ปรากฏข่าวจากทางด้านมาเลเซียว่ากองทัพมาเลเซียได้เคลื่อนกำลังทหารจำนวนสามกองพันมาประชิดที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อป้องกันสกัดกั้นไม่ให้คนไทยข้ามแดนไปมาเลเซียโดยผิดกฎหมาย

        สื่อมวลชนไทยก็รายงานข่าวไปตามนี้คือเป็นการเคลื่อนกำลังมาเพื่อป้องกันคนไทยข้ามแดนไปมาเลเซียโดยผิดกฎหมาย

         ความหมายมันอยู่เพียงเท่านั้นจริง ๆ หรือ? ความจริงไม่อยากกล่าวถึงเรื่องนี้เพราะมีความละเอียดอ่อนอยู่มากและเกี่ยว กับความสัมพันธ์ต่างประเทศ แต่เมื่อพิเคราะห์แล้วก็เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงเรื่องนี้สักครั้ง หนึ่ง มิฉะนั้นเพื่อนร่วมชาติของเราก็จะมองข้ามหรือลืมมองเรื่องสำคัญที่อาจเป็น อันตรายร้ายแรงต่อบ้านเมือง

         คงจะจำกันได้ว่าหลังเกิดกรณีกรือเซะและตากใบแล้ว มาเลเซียได้เคลื่อนกำลังทหารขึ้นมาที่ชายแดนหลายระลอก ครั้งละสองกองพันบ้าง สามกองพันบ้าง และหลาย ๆ กองพันในแนวหลังที่พอเห็นได้ว่าพร้อมจะเป็นกำลังหนุนกำลังส่วนหน้าที่วาง กำลังอยู่ตลอดแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย

       ไม่เคยปรากฏข่าวว่ามีการถอนกำลังทหารเหล่านั้นออกไปจากชายแดนไทย และมาบัดนี้เคลื่อนกำลังเพิ่มเติมเข้ามาอีกสามกองพันพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ ทันสมัย หากประมาณคร่าว ๆ ถึงแสนยานุภาพที่เคลื่อนขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วก็เห็นจะมีกำลังร่วม
สองกองพลแล้ว

        ไม่รวมถึงแสนยานุภาพทางนาวีที่มาเลเซียเตรียมกองเรือ ดำน้ำเพ่นพ่านอยู่ในทะเลหลวง ซึ่งใช้ระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถมาถึงแนวคลองกระแถวสงขลาและไม่ช้าไม่ นานก็ถึงแนวคลองกระชั้นบน แม้กระทั่งถึงพังงาด้วยซ้ำไป

        ไม่รวมถึงแสนยานุภาพทางอากาศที่ ณ วันนี้ใครรู้ดีช่วยบอกทีเถิดว่าหากเปรียบเทียบแสนยานุภาพทางอากาศกันแล้ว ระหว่างไทยกับมาเลเซียจะเป็นประการใด?

        กองกำลังมากมายขนาดนี้ มันเป็นไปเพียงเพื่อสกัดกั้นคนไทยไม่ให้ข้ามแดนเท่านั้นหรือ? ตรงนี้แหละขอให้ช่วยกันคิดให้ดี

       ทั้งซู 30 ทั้งเรือรบและนี่ไม่ใช่หรือที่เป็นพลังแอบแฝงแล้วหนุนช่วยให้ปฏิบัติการก่อ ความไม่สงบยืดเยื้อรุนแรงอยู่จนถึงทุกวันนี้ กระทั่งบางหน่วยงานและ
บุคคลสำคัญบางคนของมาเลเซียถึงกับประกาศว่า จะต้องแยกดินแดนสามจังหวัดออกเป็นรัฐอิสระหรือเป็นเขตปกครองพิเศษ ทำให้รัฐบาลไทยต้องกระอักกระอ่วนใจตลอดมา!

        ก่อนอื่นก็ต้องขอย้ำว่าเราคัดค้านสงคราม เราต้องการสันติ เราต้องการสันติภาพ ต้องการความสงบสุข การกระทำใด ๆ ไม่ว่าของใครและของชาติใดที่เกื้อหนุนต่อการเกิดสงคราม ทำลายสันติ ขัดขวางสันติภาพ และสร้างความทุกข์ยากขึ้นแก่มนุษยชาตินั้นล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ผลประโยชน์ของประชาชาติไทยและประชาชาติใด ๆ ในภูมิภาคนี้เลย

      วันก่อนได้แย้มพรายไว้บ้างแล้วว่าเมื่อราว 2 เดือนก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีของประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ทำเรื่องร้อง เรียนไปยื่นต่อสภาผู้นำศาสนาอิสลามโลกที่กรุงเตหะราน กล่าวหาประเทศไทยอย่างหน้าด้าน ๆ ว่ากีดกันข่มเหงรังแกมุสลิม นั่นก็เพื่อบอกสัญญาณให้เพื่อนร่วมชาติได้รู้ว่ามีอันตรายซ่อนตัวอยู่ ควรที่พี่น้องร่วมชาติทุกคนจะตื่นตัวขึ้นมาเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจ ไม่คาดคิด

        ทั้งยังได้เตือนด้วยว่าควรที่นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารเรื่องนี้ให้กระจ่าง เพราะคนที่รู้เรื่องนี้ในประเทศไทยของเราก็มีอยู่

         ต้องบอกอีกว่าบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียนั้นมีคนสองสัญชาติอยู่เป็นจำนวนร่วม 300,000 คน และเป็นไปในทางมากกว่า 300,000 คน ส่วนจะเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดนั้น ถึงวันนี้ย่อมเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยจะต้องทำความกระจ่างและให้เกิด ความชัดเจนเพื่อที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องด้านความมั่นคงจะได้ใช้เป็นฐาน ข้อมูลในการปฏิบัติการ 

หรือเราต้องเสียดินแดนไปก่อนค่อยคิดใด้กัน!!!
http://narater2010.blogspot.com/

หรือว่าคุณลืมเธอกันแล้ว

จูหลิง ปงกันมูล คุณลืมเธอแล้วหรือยัง ?
        ไม่มีใครคาดคิดว่าการใช้ศาลเตี้ยจับครูสาวชาวไทยพุทธ 2 คน เป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้รัฐปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยฆ่านาวิกโยธินเสียชีวิต จะบานปลายถึงขั้นลงมือทุบตีครูจนได้รับบาดเจ็บสาหัสอย่างไม่มีเมตตาธรรม แม้จะร้องขอชีวิตจากกลุ่มชาวบ้านนับร้อยคนที่กำลังละหมาดอยู่ในมัสยิดกลับ ไม่มีใครสนใจทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 
 
       ไม่มีใครคาดคิดว่ายุทธการปิดล้อมของกองกำลังสามฝ่ายคือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ที่เข้าปฏิบัติการปิดล้อมหมู่บ้านกูจิงลือปะ หมู่ 4 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อช่วงเช้าตรู่วันที่ 19 พฤษภาคม เพื่อจับผู้ต้องหาฆ่า 2 นาวิกโยธิน จะส่งผลทำให้ครูสาวไทยพุทธ 2 คน ตกเป็นผู้รับเคราะห์แทน ด้วยฝีมือการเปิดม็อบของนางการีมะ มะสาและ ภรรยาผู้ต้องหาเพื่อต่อรองให้ปล่อยสามี 
 
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/191/29191/images/eieccebcggd6k5jcijbki.jpg

       “ฉันคุยกับครูจูหลิง ว่าพวกเราผิดที่เกิดมาเป็นครูไทยพุทธ ถึงถูกทำร้ายเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ผู้ชายมุสลิมนับร้อยคนที่ละหมาดยังไม่มีน้ำใจจะช่วยผู้หญิงที่ถูกรังแกอย่าง หมดทางสู้” 
 
http://wbns.oas.psu.ac.th/files/123456.gifน.ส.ศิรินาถ ถาวรสุข ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ เล่านาทีระทึกว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงเธอและเพื่อนครูคนอื่นๆ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เพื่อไปรับประทานอาหารที่ร้านก๋วยเตี๋ยวไม่มีชื่อ หน้าโรงเรียน ขณะกำลังรับประทานอาหารก็สังเกตเห็นว่ามีชาวบ้านซึ่งเป็นผู้หญิงแทบทั้งหมด รวมประมาณ 50 คน ออกมารวมตัวกัน ห่างจากกลุ่มครูไปประมาณ 40 เมตร

        ในขณะนั้นไม่มีใครสนใจอะไร เพราะเข้าใจว่าชาวบ้านคงมารวมตัวเพื่อละหมาดตามปกติวันศุกร์ และมาทราบที่หลังว่าการรวมตัวของชาวบ้านเกิดจากทหารเข้าไปจับชาวบ้านผู้ต้อง สงสัยคดีความมั่นคง

       กระทั่งกินก๋วยเตี๋ยวใกล้หมดชาม เพื่อนครูที่มาด้วยกัน บอกว่า ชาวบ้านพูดเป็นภาษามลายูผ่านเสียงตามสายของมัสยิดว่าให้มาร่วมตัวกันและจะ จับครูไทยพุทธเป็นตัวประกันเพื่อแลกกับผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมตัว ระหว่างนั้นเพื่อนครูได้นำผ้าคลุมศีรษะมาให้สวมเพื่อพรางตัว แต่ก็ไม่ทันเพราะเป็นจังหวะเดียวกันกับกลุ่มชาวบ้านหญิงเดินเข้ามาที่ร้าน พร้อมทั้งกระชากผ้าคลุมศีรษะออก และได้จับแขนลากออกไปนอกร้านทันที

       น.ส.ศิรินาถ บอกอีกว่า ระหว่างที่ถูกลากตัวไปนั้นบังเอิญเธอสะดุดล้มเพื่อนครูมุสลิมที่นั่งด้วยกัน ได้ออกมาช่วยขอร้องกลุ่มชาวบ้านผู้หญิงว่า อย่าทำรุนแรงค่อยพูดค่อยจากันก็ได้ ทำให้กลุ่มชาวบ้านไม่พอใจผลักเพื่อนครูมุสลิมจนล้มไปอีกคน

        ในขณะที่ตัวเธอถูกลากและตบตีด้วยมือจากผู้หญิงจำนวนมากเพื่อนำตัวขึ้นไปบน อาคารเรียนชั้น 2 เมื่อพบกับ น.ส.จูหลิง ปงกันมูล ผู้ช่วยครูซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคกระเพาะ แต่กลุ่มชาวบ้านผู้หญิงก็ไม่สนใจยังลากครูจูหลิง ลงมาชั้นล่างพร้อมกับเธอ

        น.ส.ศิรินาถ เล่าเหตุการณ์อีกว่า ขณะที่ถูกลากตัวไปนั้นชาวบ้านก็ลงมือทุบตีเราทั้งคู่ตลอดระยะทางไปมัสยิด ประจำหมู่บ้าน ที่มีชาวบ้านกว่า 100 คนกำลังละหมาดอยู่ เราได้ร้องขอความช่วยเหลือ แต่ชาวบ้านก็ยังคงก้มหน้าก้มตาละหมาดต่อไปตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

       หลังจากนั้นก็นำตัวเธอและครูจูหลิง มากักขังไว้ที่ห้องเก็บของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนประมาณ 400 เมตร ในเวลาเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้ามาล็อกกุญแจขังเธอและครูจูหลิงเอาไว้

       สภาพจิตใจตอนนั้นย่ำแย่เพราะกลัวมาก ภายในห้องมืดมากไม่เห็นอะไรเลย ทำได้อย่างเดียวคือการปลอบใจซึ่งกัน

      เธอเล่าต่ออีกว่า เมื่อถูกขังประมาณ 5 นาที มีเพื่อนครูมุสลิมเข้ามางัดหน้าต่างดู แต่ชาวบ้านผู้หญิงที่คุมอยู่บอกว่าให้คุยกันได้แค่ 2 นาที เพื่อนครูคนหนึ่งถามเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง เราตอบแต่เพียงว่าให้ช่วยชีวิตด้วย

      เวลาผ่านไป 5 นาที ก็มีชายวัยรุ่นประมาณ 10 คนงัดประตูเข้ามาในห้องโดยไม่พูดพร่ำทำเพลง ทั้งหมดใช้ไม้ที่ถือมาด้วยกระหน่ำตีเราทั้งคู่จนสะบักสะบอม ด้วยความเจ็บปวดครูจูหลิงจึงขัดขืนต่อสู้ จนถูกตีเข้าที่ศีรษะและตามลำตัวอย่างไม่ยั้งมือจนแขนหัก ที่ศีรษะมีเลือดอาบโชกไปหมด นอนหมดสติ ส่วนเธอเองถูกชายคนหนึ่งกระทืบจนล้มลงนอนงอตัวกองกับพื้น ด้วยความกลัวจึงคลานเข้าไปใต้เตียงเก่าภายในห้อง แต่ก็ถูกกลุ่มชายวัยรุ่นลากตัวออกมาตีซ้ำอีก

      ขณะที่ครูจูหลิงนอนสลบอยู่นั้น วัยรุ่นคนหนึ่งในกลุ่มพูดขึ้นว่า ต้องการจะจับครูเป็นตัวประกันเพื่อให้ปล่อยตัวชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่จับกุม ไปก่อนหน้านี้ เธอเองก็บอกว่าจะช่วยเจรจากับเจ้าหน้าที่ให้ แต่กลุ่มวัยรุ่นก็ไม่ฟังเสียง ยังคงรุมตีพวกเธอต่อ ก่อนจะแยกย้ายกันวิ่งออกไปจากห้อง

       "ฉันจับมือครูจูหลิงเพื่อปลอบ เห็นมือครูจูหลิงแสดงอาการตอบรับในขณะที่ศีรษะนั้นมีเลือดไหลออกมาเป็นลิ่มๆ ฉันจึงเอาศีรษะของครูจูหลิงมาแนบกับอกพร้อมกับพูดว่า หากผ่านวันนี้ไปอย่าลืมเหตุการณ์นี้ จงทำใจดี ๆ ไว้ เพราะไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงพรุ่งนี้หรือเปล่า" น.ศ.ศิรินาถ เล่าด้วยนำเสียงสั่นเครือ

        นายมะดารี บาเยาะกาเซะ อายุ 47 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ บอกว่า หลังทราบเรื่องได้แจ้งไปทางนายอำเภอและปลัดจังหวัด แต่ไม่มีใครมา มอบหมายให้ตนและนายอารงค์ ยูโซะ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเจรจาแทน แต่ตนก็ได้เจรจานานถึง 2 ชั่วโมง ขณะที่เจรจายังไม่รู้ว่าครูถูกทำร้ายจนกระทั่งได้ยินเสียงครูร้องขอความช่วย เหลือจึงได้นำกำลังชุด ชรบ.เข้าไปช่วยเหลือ

       เขาบอกอีกว่า ขณะเข้าไปเห็นคนร้ายประมาณ 5 คนสวมไหมพรมคลุมหน้าตาวิ่งสวนออกมา จึงได้รีบเข้าไปช่วยและนำครูทั้งสองคนส่งโรงพยาบาลทันที จนกระทั่งทหารและตำรวจเข้ามาในพื้นที่ชาวบ้านจึงสลายตัวไป ส่วนคนร้ายตนไม่มั่นใจว่าเป็นคนในหมู่บ้านหรือไม่ 
  

โฉมหน้าโจรใต้ ที่ฆ่าครูจูหลิง

โจรใต้      
ดือราพา เจ๊ะอูมา

 
        ปะทะเดือดกลางสวนทุเรียน จนท.เด็ดหัวแนวร่วมอาร์เคเค.ขณะบุกปิดล้อมแต่ถูกยิงถล่มปะทะเดือด พบประวัติสุดโชกโชน ส่วนกำลังทหาร-ตำรวจโรงพักระแงะล็อก 2 แกนนำป่วนใต้ มือปืนยิง จนท.รถไฟดับคาโบกี้ 4 ศพ- ฆ่าโหดครูจูหลิง ขณะแอบกบดานอยู่ในพื้นที่ โจรใต้ยังแสบวางระเบิด 2 ลูกซ้อนทหารชุดลาดตระเวนโชคดีไร้คนเจ็บ ด้านผู้การยะลาสั่งลูกน้องเตรียมรับมือ หลังรู้ข่าวกลุ่มคนร้ายจะบุกจู่โจม

        เมื่อ เวลา 06.00 น. วันที่ 28 ก.ค. พ.ท.เฉลิมชัย สุทธินวล ผบ.ฉก.นราธิวาส 38 พ.ต.อ.นิตินัย หลังยาหน่าย ผกก.สภ.ระแงะ จ.นราธิวาส นายประคอง คงแก้ว นายอำเภอระแงะ สนธิกำลัง 150 นาย ใช้กฎอัยการศึกเข้าปิด ล้อมตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายหมู่บ้านบาตูบือซา หมู่ 6 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ หลังสืบทราบว่ามีกลุ่มสมาชิกแนวร่วมระดับปฏิบัติการแฝงตัวแอบกบดานอยู่ใน พื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้กระจายกำลังกันปิดล้อมตรวจค้นแบบปูพรมเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง

        เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สามารถจับกุม นาย ดือราพา เจ๊ะอูมา อยู่บ้านเลขที่ 104/2 หมู่ 4 บ้านกูจิงรือปะ ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาล จ.นราธิวาส ก่อเหตุร่วมกับพวกใช้อาวุธปืนสง ครามอาก้าบุกยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานรถไฟเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บสาหัส 1 ราย บนขบวนรถไฟที่ 454 วิ่งต้นทางจากสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก-นครศรีธรรมราช และร่วมกับพวกสังหาร น.ส.จูหลิง ปงกันมูล เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 49 ที่ผ่านมา

นอก จากนี้ยังจับกุม นายรูซี บือซา ผู้ต้องหาตามหมายจับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในคดียิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 คน ไปทำการสอบสวนที่ฐานปฏิบัติการชุดเฉพาะกิจ นราธิวาส 38 เพื่อขยายผลตามขั้นตอนต่อไป
โจรใต้

         ต่อมากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารและฝ่ายปกครอง จำนวนกว่า 70 นาย ได้นำเครื่องสูบน้ำไปทำการสูบบ่อปลาร้าง จำนวน 2 บ่อ ซึ่งมีขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร และลึก 3 เมตร บริเวณหลังโรงเรียนปอเนาะยือนือเร๊ะ หมู่ 1 ต.เฉลิม อ.ระแงะ ภายหลังได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ว่า มีกองกำลังติดอาวุธนำ อาวุธปืนที่ใช้ก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานรถไฟเสียชีวิตคาโบกี้ ของขบวนรถสาย สุไหงโก-ลก-นครศรีธรรมราช มาทิ้ง ซึ่งจากการ ตรวจสอบพบกระเป๋าคาดเอวสีดำ จำนวน 1 ใบ เมื่อเปิดตรวจสอบภายในมีอาวุธปืนพกสั้นขนาด .357 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุนจำนวน 23 นัด เครื่องรางของขลัง และอุปกรณ์อาบน้ำจำนวนหนึ่ง จึงทำการยึดไว้เพื่อนำไปตรวจสอบทางหลักนิติวิทยาศาสตร์ เบื้องต้นคาดว่าเป็นอาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่ใช้ยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานรถไฟเสียชีวิต รวมทั้งนำไปเปรียบเทียบกับคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ว่าคนร้ายนำไปใช้ก่อเหตุที่ใดบ้าง

        ห่างกันเพียง 1 ชั่วโมง พ.ต.ต.เรืองศักดิ์ บัวแดง สารวัตรเวร สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายจุดชนวนระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ทหารชุด ลาดตระเวนเส้นทาง สังกัดร้อย ร.3122 ฉก.นราธิวาส 30 บนถนนในหมู่บ้านลาโละ หมู่ 5 ต.ลาโละ อ.รือเสาะ จึงรีบประสานกำลังเดินทางไปตรวจสอบ พร้อม พ.ต.อ.ทนงศักดิ์ วังสุภา ผกก.สภ.รือเสาะ พ.ท.ทรงพล ศาสตร์ เสาร์เงิน ผบ.ฉก.นราธิวาส 30 และเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดชุดเหยี่ยวดง รวมทั้งเจ้าหน้าที่กองวิทยาการ จ.นราธิวาส เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุพบหลุมระเบิดบริเวณ โคนเสาป้ายบอกเส้นทาง ลึก 6 นิ้ว กว้าง 20 นิ้ว โดยมีเศษชิ้นส่วนระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในกล่องเหล็ก หนัก 10 กิโลกรัม จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ตกกระจายเกลื่อนพื้นถนนจึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน

        ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังเก็บรวบรวมหลักฐานในที่เกิดเหตุอยู่นั้น ได้ตรวจสอบพบวัตถุระเบิดแสวง เครื่องแบบเคโม อีก 1 ลูก ซึ่งคนร้ายประกอบใส่ไว้ในกล่องเหล็ก หนัก 10 กิโลกรัม จุดชนวนด้วยโทรศัพท์มือถือ ซุกซ่อนอยู่ริมถนนฝั่งตรงข้ามจุดเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จึงได้เข้าทำการเก็บกู้เอาไว้ได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 1 คน คือ นายลาดีละห์ เจ๊ะซอ อายุ 26 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2/1 หมู่ 9 ต.ลาโละ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และจากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่ามีสารปนเปื้อนวัตถุระเบิดตาม ร่างกาย เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวไปทำการสอบสวนขยายผลในเบื้องต้นที่ฐานปฏิบัติการ ชุดเฉพาะกิจนราธิวาส 30 ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดสวนธรรม อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

        จาก การสอบสวน จ.ส.อ.ชาติชาย แสวงวิเศษ หัวหน้าชุด ร้อย ร.3122 ฉก.นราธิวาส 30 ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุได้นำกำลัง 5 นาย เดินเท้าออกจากฐานซึ่งตั้งอยู่ ต.ลาโละ เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยเส้นทางให้กับชุด รปภ. ครู เมื่อถึงที่เกิดเหตุมีคนร้ายซึ่งแฝงตัวอยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิดที่แอบวางไว้ใต้โคนเสาป้าย บอกเส้นทาง แต่ระเบิดทำงานไม่ครบวงจร จึงทำให้ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องมาทำการตรวจสอบและพิสูจน์ทราบ จนกระทั่งพบวัตถุระเบิดอีก 1 ลูก ที่คนร้ายวางไว้ฝั่งตรงข้ามถนน และสามารถเก็บกู้เอาไว้ได้ดังกล่าว

       จากนั้นเวลา 09.10 น. พ.ต.อ.จรัญ ทองสุข ผกก.สภ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส พ.ท.รุ่งโรจน์ อนันตโท ผบ.ฉก.นราธิวาส 31 ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เจาะไอร้อง กว่า 100 นาย หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายข่าวในพื้นที่ว่า พบกลุ่มต้องสงสัยคาดเป็นกลุ่มผู้ไม่หวังดีไม่น้อยกว่า 3 คน เคลื่อนไหวบริเวณกระท่อมในสวนยางหลังหมู่บ้านกือรง หมู่ 3 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง โดยเมื่อกำลังเจ้าหน้าที่ไปถึงได้กระจายกำลังเพื่อโอบล้อมแต่คนร้ายไหวตัว ทัน เปิดฉากยิงถล่มกลุ่มเจ้าหน้าที่ จนเกิดการปะทะกันนานกว่า 10 นาที เมื่อสิ้นเสียงปืน พบศพนายยามิง มูดอ อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลข ที่ 69/2 บ้านลูโบะลาเซาะ หมู่ 1 ต.ร่มไทร อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต นอนจมกองเลือดอยู่บริเวณสวนทุเรียน ห่างจากกระท่อมประมาณ 200 เมตร โดยข้างศพพบอาวุธปืนพกสั้นขนาด 11 มม. ตกอยู่ 1 กระบอก พร้อมกระสุนจำนวนหนึ่ง จากการตรวจสอบประวัติทราบว่านายยามิงเป็นสมาชิกขบวนการ อาร์เคเค ระดับ ปฏิบัติการ มีประวัติโชกโชน ส่วนคนร้าย ที่เหลือเจ้าหน้าที่ได้จัดชุดเคลื่อนที่เร็วกว่า 60 นาย พร้อมสุนัขดมกลิ่นจำนวน 2 ตัว ออกไล่ล่าและประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองที่อยู่ในเขตพื้นที่รอยต่อเพื่อสกัดกั้นเส้นทางในส่วนคนร้ายที่เหลือต่อไปแล้ว

        ด้าน พล.ต.ต.สายัณห์ กระแสแสน ผบก.ภ.จว.ยะลา ได้วิทยุด่วนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจทุก สภ.ในพื้นที่ จ.ยะลา เพื่อแจ้งเตือนให้เพิ่มความระมัดระวัง และพร้อมตอบโต้อย่างเด็ดขาด หลังมีข่าวว่ากลุ่มก่อความไม่สงบจะใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเข้าจู่โจมเจ้าหน้าที่ที่ประจำตู้ยาม จุดตรวจ และจุดสกัด เช่นเดียวกับที่ได้ปฏิบัติที่ สภ.สายบุรี จ.ปัตตานี

        ส่วนที่วัดปงสนุก ต.ปงน้อย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย นางคำมี ปงกันมูล มารดา ครูจูหลิง พร้อมด้วยชาวบ้านได้พากันมาทำบุญถวายสังฆทาน เทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับครูจูหลิง หลังจากชาวบ้านทราบข่าวว่า เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุสังหารโหดครูจูหลิงได้ ทั้งนี้นางคำมีกล่าวว่า เชื่อว่าวิญญาณลูกสาวคงจะรับรู้ว่ามีการจับกุมคนร้ายได้แล้วและคงจะสบายใจ และจะได้ไปสู่สุคติ อย่างไรก็ตามตนมองว่า เป็นเรื่องของเวรกรรม ที่คนทำผิดย่อมหนีไม่พ้น

        ขณะเดียวกันนาวาเอกเทอดเกียรติ จิตต์แก้ว รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นายอนุสรณ์ นรเอี่ยม อายุ 54 ปี นางเล็ก นรเอี่ยม อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 172/3 หมู่ที่ 13 ต.ดอนสมบูรณ์ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ได้ร่วมกันประกอบพิธีลอยอังคาร เรือตรีอาภรณ์ นรเอี่ยม บริเวณหน้าเกาะยอ อ่าวสัตหีบ โดยมีเพื่อนทหารและข้าราชการทุกหมู่เหล่าเข้าร่วม.
 
 
http://narater2010.blogspot.com/

ถอดรหัสทำไมโจรใต้ติดบ่วง 16 ศพ? กับคำเตือนเป้าหมาย ‘อ่อนแอ’ ระวัง!

ถอดรหัสทำไมโจรใต้ติดบ่วง 16 ศพ ? 
กับคำเตือนเป้าหมาย ‘อ่อนแอ’ ..........................ระวัง !
       
       โดย...ศูนย์ข่าวหาดใหญ่
       
       จันทร์เสี้ยวในคืนข้างขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ให้แสงส่องสว่างแก่พื้นที่สวนยางพาราบนแผ่นดินสุดปลายด้ามขวานของไทยได้ เพียงเล็กน้อย แต่นั่นไม่เป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการกลางท่ามกลางความมืดสลัวในดื่นดึก เนื่องเพราะมีการเตรียมความพร้อมไว้อย่างเสร็จสรรพทุกขึ้นตอน
       
       แม้ไม่มีการบันทึกเป็นภาพไว้ในห้วงเวลาปฏิบัติการไว้ให้ดูชม แต่ตามเสียงบอกเล่านั้นประมาณว่า ไม่ต่างจากฉากในหนังฮอลลีวูดเท่าใดนัก
       
       
       เริ่มจากเวลาประมาณ 01.30 น. ของคืนวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา กลุ่มคนราว 100 คนแต่งกายด้วยชุดลายพรางทหาร สวมเสื้อเกราะรัดกุม อาวุธปืนสงครามครบมือ ได้ร่วมกันบุกกรูกันเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการทหารร้อยปืนเล็กที่ 2 หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบ้านยือลอ ม.3 ต.บาเร๊ะเหนือ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส แล้วเกิดการปะทะกันนับชั่วโมง สุดท้าย ฝ่ายรุกกลับต้องกระเจิงล่าถอยกลับไป โดยทิ้งร่างผู้ร่วมขบวนการไว้ให้ดูต่างหน้า 16 ศพ
       
       โดยระหว่างหลบหนี กลุ่มคนร้ายได้ตัดต้นไม้ขวางถนน และโปรยตะปูเรือใบ รวมถึงวางกับดักที่เป็นระเบิดแสวงเครื่องประกอบใส่ไว้ในถังแก๊สหุงต้มหนัก 50 กก. จุดชนวนด้วยแบตเตอรี่แบบลากสายไฟยาวไปในป่ารกทึบริมทางไว้ด้วย เพื่อสกัดกั้นไม่ให้เจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าสนับสนุน และรุกไล่ติดตาม โดยเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง และให้การช่วยเหลือต้องใช้เวลาเคลียร์จุดต่างๆ นานนับชั่วโมง จึงสามารถเข้าไปยังฐานปฏิบัติการทหารที่เกิดเหตุได้
       
       ช่วงเช้ามีการเข้าเคลียร์ที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นสวนยางพารา พบศพคนร้ายนอนกระจายเกลื่อนกลาดรวม 16 ศพ ซึ่งแต่ละศพสวมหมวกไหมพรม มีอาวุธปืนอาก้า หรือไม่ก็เอ็ม 16 ประจำกาย สวมเสื้อเกราะ โดยส่วนใหญ่บนร่างกายมีร่องรอยลักษณะรูพรุนไปทั่ว จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นระดับแกนนำกองกำลังติดอาวุธ หรือ RKK ที่เคลื่อนไหวก่อเหตุร้ายในพื้นที่ อ.บาเจาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และ อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี
       
       
       โดยในเบื้องต้น 3 ในจำนวน 16 ศพถูกระบุว่าคือ 1.นายมะรอโซ จันทราวดี ผู้ต้องหาตามหมาย ป.วิอาญา ในคดีความมั่นคง 11 หมาย และเป็นผู้ต้องสงสัยตามหมาย พ.ร.ก.อีก 3 หมาย เคยร่วมก่อเหตุมาแล้วหลายครั้ง และเป็นผู้สั่งการบุกสังหารครูชลธี เจริญชล ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเร๊ะใต้ อ.บาเจาะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 ม.ค.ที่ผ่านมา 2.นายซาอูดี อาลี และ 3.นายซาบีรี โลตาเซะ ส่วนศพที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
      
       ห่างจากถนนทางเข้าฐานปฏิบัติการประมาณ 50 ม. เจ้าหน้าที่พบรถยนต์กระบะยี่ห้อ โตโยต้า สีบรอนซ์ ทะเบียน บค 7968 ยะลา ซึ่งเป็นของคนร้ายจอดอยู่ในสภาพถูกกระสุนปืนพรุนไปทั้งคัน และในกระบะหลังพบเป้สนาม 8 ใบ ภายในบรรจุอาวุธปืนพกสั้น ระเบิดแสวงเครื่องชนิดขว้าง โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า และเครื่องยังชีพในป่าของคนร้าย โดยสรุปสิ่งของที่เจ้าหน้าที่ยึดได้ ประกอบด้วย ปืน เอ็ม 16 12 กระบอก ปืน AK-47 3 กระบอก ปืนพก 3 กระบอก ลูกระเบิดแสวงเครื่อง 6 ลูก เลื่อยโซ่ยนต์ 1 เครื่อง รถยนต์กระบะ 1 คัน และรถจักรยานยนต์ 2 คัน
       
       ข้างต้นคือภาพที่มีรายงานผ่านสื่อต่างๆ ไปแล้ว แต่ยังมีเรื่องราวเล่าขานของคนวงในเพิ่มเติมด้วยว่า เหตุที่ผู้รุกรานปฏิบัติการไม่สำเร็จ เป็นเพราะนาวิกโยธินที่ประจำอยู่ในฐานปฏิบัติการดังกล่าวรู้ข่าวการจะถูกบุก โจมตีมาก่อน จึงจัดหนักไว้รองรับแขกผู้มาเยือนในยามวิกาลแบบสาสม และต้องจัดว่าครบเครื่องทุกกระบวนความ โดยเฉพาะการวางกับดักไว้ต้อนรับด้วยระเบิดเคโม (Claymore) พร้อมวางกำลังประจำจุดต่างๆ ไว้อย่างเสร็จสรรพ
       
       
       จากคำบอกเล่าที่เจือไปด้วยข้อสังเกตมีว่า ท่าทางของกลุ่มผู้ไปเยือนทุกคนเหมือนมากมายไปด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับปฏิบัติการเมื่อครั้งเหตุปล้นปืนค่ายปิเหล็งใน จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2547 อันเป็นเหตุการณ์ที่ถูกกำหนดให้เป็นยุคไฟใต้ปะทุขึ้นระลอกใหม่ หรือเหตุการณ์ 106 ศพกรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2547 ที่ว่ากันว่า มีการนำผู้เข้าร่วมปฏิบัติการไปผ่านพิธีซุมเปาะห์มาก่อน ซึ่งสังเกตได้จากการเข้าโจมตีเป็นไปแบบฮึกเหิม แล้วเดินเรียงหน้ากระดานเข้าไปหาฐานปฏิบัติการทหารแบบไม่หวั่นไหว จนดูเหมือนจะคิดไปว่า ไม่มีใครมองเห็นเรืองร่างของตนเองก็เป็นได้
       
       ทั้งนี้ ปฏิบัติการในคืนข้างขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 จึงเป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศ และไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นที่กังขาสำหรับชาวต่างชาติที่สนใจติดตามข่าวสารบนแผ่นดินชายแดนใต้ ด้วย
       
       แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนบทสรุปของปฏิบัติการจะเป็นที่พออกพอใจของผู้คน และในทางตรงกันข้าม ก็มีกระแสเสียงระบุว่า เป็นไปตามประสงค์ของฝ่ายที่ยังความสูญเสียด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเป็นความประสงค์ของกลุ่มคนที่อยู่หลังฉากคอยชักใยให้เกิดไฟใต้ระลอก ใหม่ขึ้นมา
       
       
       ทำไมจึงเป็นเช่นกัน ณ วันนี้อาจจะยังไม่มีคำตอบที่แจ้งชัด แต่หากประมวลจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อมูลข่าวสารในด้านความมั่นคง อย่างน้อยก็น่าจะทำให้เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
       
       โดยเหตุผลที่ทำให้ฝ่ายทหารเตรียมตัวตั้งรับการโจมตีในครั้งนี้ไว้ เป็นอย่างดีนั้น ประเด็นหนึ่งมีการเปิดเผยว่า เป็นผลจากภายหลังการวิสามัญ นายสุไฮดี ตะเห อายุ 31 ปี หนึ่งในคนร้ายที่ก่อเหตุบุกยิงครูชลธีเสียชีวิต เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดแผนผัง และเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการวางแผนบุกโจมตีฐานปฏิบัติการทหารได้ ทำให้สามารถวางแผนรับมือการแก้แค้นให้แก่นายสุไฮดีได้
       
       แต่ในทางการข่าวก็มีการระบุด้วยว่า หนึ่งในลูกศิษย์ครูชลธีที่เป็นแนวร่วมได้กลับใจนำข่าวการวางแผนโจมตีไปบอก ต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งสาเหตุที่ครูชลธีถูกยิงเสียชีวิตกลางโรงเรียนก็เพราะพยายามดึงบรรดา ศิษย์ที่หลงผิดทั้งไปติดยาเสพติด และร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดนให้หวนกลับมามีชีวิตปกติด้วยกีฬา หรือกิจกรรมต่างๆ การกระทำเช่นกันจึงเป็นเหมือนการย้อนศรระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับขบวนการนั่น เอง
       
       ทว่านั่นยังไม่น่าสนใจเท่าในทางการข่าวของหน่วยข่าวกรองระบุว่า ช่วงก่อนตรุษจีนแกนนำขบวนการแบ่งแยกดินแดนระดับสั่งการ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนปอเนาะแห่งหนึ่ง ได้เรียกสมาชิกระดับแกนนำ RKK ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 12 คนประชุมที่บ้านสมาชิกคนหนึ่งย่านตลาดเก่า เขตเทศบาลนครยะลา และได้สั่งการให้ RKK ที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ก่อเหตุรายวันอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้แต่งชุดคล้ายเจ้าหน้าที่รัฐออกปฏิบัติการเพื่อยึดอาวุธฝ่ายตรง ข้ามสะสมไว้ทำการใหญ่หลังช่วงตรุษจีน โดยปลุกระดมให้เชื่อว่าจะสามารถตั้งรัฐปัตตานีได้สำเร็จภายในปี 2558
       
       
       จากการข่าวนี้เอง ส่งผลให้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายควบคุมดูแลพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสถานที่ราชการ ย่านธุรกิจการค้า และที่สำคัญคือ ฐานปฏิบัติการ หรือค่ายกองกำลังของฝ่ายรัฐต่างๆ จึงนำไปสู่การต้อนรับแขกผู้ไปเยือนแบบจัดหนักดังกล่าว
       
       ต้องไม่ลืมว่ากว่า 9 ปีของการโชนเปลวของไฟใต้ระลอกใหม่ มีเพียงไม่กี่ครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเล่นงานกลับกลุ่มผู้ก่อความไม่ สงบได้ชนิดถูกอกถูกใจคนจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่แล้วดูเหมือนจะเป็นรอง เป็นผู้ถูกลอบกัด หรือคือผู้ถูกกระทำเสียมากกว่า ดังนี้แล้วจึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตากันใกล้ชิดต่อไปว่า นับแต่นี้ต่อไปจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นตามมา
       
       แม้จะไม่เป็นที่เอิกเกริกเปิดเผย แต่เวลานี้เสียงเตือนจากฝ่ายความมั่นคงก็ก้องกังวานในกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเชื่อว่าคือกลุ่มที่จะตกเป็นเหยื่อของการโจมตีจากขบวนการผู้ก่อการร้าย บนแผนดินปลายด้ามขวานอย่างหนักต่อไปในภายหน้านี้ โดยเฉพาะเป้าหมายที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ “อ่อนแอ” ไม่ว่าจะเป็นครู สาธารณสุข เกษตร รวมถึงข้าราชการ และพนักงานในฟากฝ่ายพลเรือนต่างๆ เป็นต้น
http://narater2010.blogspot.com/

สถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

 
สถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

 
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (ตอนที่ ๑)

 
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (ตอนที่ ๒)

 
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (ตอนที่ ๓)

 
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้(ตอนที่ ๔)
 
http://narater2010.blogspot.com/

วิเคราะห์ปัญหารากเหง้าไฟใต้

วิเคราะห์ปัญหารากเหง้าไฟใต้
มองจากข้างนอก : วิเคราะห์ปัญหารากเหง้าไฟใต้
พันเอก บุญรอด  ศรีสมบัติ
๕ มกราคม ๒๕๕๕

รูปพันเอก บุญรอด ศรีสมบัติกล่าวนำ

เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ กลุ่มก่อความไม่สงบได้บุกโจมตีที่ตั้งหน่วยกองพันพัฒนาที่ ๔ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ได้สังหารเจ้าหน้าที่ทหาร ๔ นาย ล่าถอยไปพร้อมกับอาวุธมากกว่า ๓๑๔ กระบอก ขณะเดียวกันก็ลอบเผาโรงเรียนและจุดต่าง ๆ อีก ๑๘ แห่งในคืนเดียวกัน นั่นคือจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่แห่งความรุนแรงที่ได้ปะทุขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หลังจากนั้นก็ตามด้วยการลอบวางระเบิด การลอบฆ่า และการลอบวางเพลิงตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนเมษายน๒๕๔๗ และสถานการณ์ได้พัฒนารุนแรงที่สุดถึงขั้นสุกงอมเมื่อ ๒๘ เมษายน เมื่อกลุ่มก่อความไม่สงบได้ปฏิบัติการครั้งใหญ่ ทำให้ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต ๑๐๗ คน เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจพลีชีพ    ๕ นาย ทางด้านการปฏิบัติของหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ ยังคงตอบโต้ด้วยความรุนแรง มีการใช้อำนาจเกินความจำเป็น การคอรัปชั่น การใช้เทคนิคการปราบปรามที่ผิดพลาด การขาดความเข้าใจประเด็นอ่อนไหวในพื้นที่ความขัดแย้งทางศาสนาและวัฒนธรรม กลายเป็นสิ่งชักนำให้สถานการณ์ภาคใต้ของไทยกลับขยายใหญ่โตขึ้นตามลำดับ

รัฐบาลชุด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่สามารถสนองตอบต่อสถานการณ์ความรุนแรง ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ได้ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗ นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ไม่มีหนทางยุติลงได้ง่าย จำนวนผู้บริสุทธิ์ต้องสังเวยไปมากกว่า ๑,๔๐๐ คน (เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๙) และวงจรแห่งความขัดแย้งได้หมุนวนไปอย่างไม่หยุดหย่อน เหตุการณ์ฆ่ารายวันกลายเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่สาม จังหวัดใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานีไปอย่างถนัดตา

บทความนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อวิเคราะห์ปัญหารากเหง้าของการกลับฟื้นคืนชีพของการ  ก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง โดยสนใจประเด็นความล้มเหลวในการใช้นโยบายที่แข็งกร้าวของรัฐบาลที่ผ่านมาต่อ สถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งกว่าในอดีต ซึ่งเป็นมุมมองจากข้างนอก เป็นการวิเคราะห์จากเอกสารต่างประเทศในระหว่างที่ผู้เขียนศึกษาวิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักรออสเตรเลีย (The Centre for Defence and Strategic Studies: CDSS) เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๖

ปัญหาแรงผลักดันทางประวัติศาสตร์

มุสลิมภาคใต้ของไทยส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์(Malays) ที่ใช้ภาษาพูดเป็นมาเลย์มากกว่าใช้ภาษาไทย ดินแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งในอดีตเคยปกครองและเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ปัตตานี(Independence sultanate of Patani) ปัจจุบันคือ พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานีและส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลา อาณาจักรปัตตานีเคยเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในสมัยปี ค.ศ. ๑๓๙๐ ถึง ๑๙๐๒ (พ.ศ.๑๙๓๓ – ๒๔๔๕) รัฐไทยได้พยายามใช้นโยบายผสมกลมกลืน (assimilation) คนมุสลิมมาเลย์ให้อยู่ภายใต้โครงสร้างระบบการเมืองการปกครองเดียวกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ต่อมารัฐบาลไทยประสบความสำเร็จในการสร้างความแข็งแกร่งและความเป็นปึกแผ่น ของรัฐ แต่ได้ละเลยถึงความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษาและศาสนาของชุมชนมาเลย์ท้องถิ่น อุปสรรคทางภาษา รายได้และค่าครองชีพที่แตกต่างกัน และนโยบายเลือกปฏิบัติ (discrimination) เป็นจุดอ่อนสำคัญต่อความรู้สึกที่แปลกแยก (alienation) และทำให้เกิดการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับชาวไทยมุสลิม ประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองและศาสนานักวิเคราะห์ท่านหนึ่ง กล่าวสรุปไว้อย่างน่าฟังว่า ชนกลุ่มน้อยมุสลิมมาเลย์จะแสดงการต่อต้านรัฐบาลกลาง เมื่อเขาเหล่านั้นมีทรรศนะว่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมอิสลามถูกคุกคามข่มขู่จาก อำนาจรัฐไทย

กรณีมุสลิมภาคใต้ของไทยนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้เรียกร้องโดยหลักการพื้นฐานแล้วคือ การปกครองตนเอง (Autonomy) ด้วยคณะบริหารของตน (self-administration) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของวัฒนธรรมมุสลิมมาเลย์ อย่างไรก็ตามการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรงครั้งใหม่ ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗ หามีกลุ่มก่อความไม่สงบใดกล่าวอ้างถึงข้อเรียกร้องการปกครองตนเอง อย่างชัดเจน แล้วกำหนดแผนการและขั้นตอนการนำไปสู่การปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ เหมือนกับกลุ่ม Moro Islamic Liberation Front (MILF) ของฟิลิปปินส์

โดยสรุปปัญหารากเหง้าความรุนแรง (Root of violence) ภาคใต้ของไทย ส่วนที่มีสาเหตุมาจากแรงจูงใจทางประวัติศาสตร์ (historical grievances) แล้ว สาเหตุหลักคือ การขาดการเหลียวแล การเลือกคิด เลือกปฏิบัติ และแรงกดดันจากความพยายามใช้นโยบายผสมกลมกลืนให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล มานานนับศตวรรษ อย่างไรก็ตามแรงจูงใจทางประวัติศาสตร์นั้น มิได้ให้คำอธิบายอย่างชัดเจนว่า ทำไมความรุนแรงจึงปะทุขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๗

ปัญหารากเหง้าทางการเมืองที่เป็นรอง

จากประวัติศาสตร์การที่ชนกลุ่มน้อยมาเลย์ได้รับการแบ่งแยกให้เป็นกลุ่ม บุคคลชั้นสอง(second-class status) ของประเทศนั้น เป็นปัญหารากเหง้าที่รัฐขาดการเหลียวแลมานาน ดังนั้นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนจึงได้เสนอข้อเรียกร้องความเท่าเทียมทางการเมือง มาเป็นระยะ ๆ ในประวัติศาสตร์ แม้ว่ารัฐธรรมนูญ (constitution) ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ มีบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้ในระดับสูงถึงจังหวัด และอำเภอ แต่การกระจายอำนาจการปกครองที่เกิดขึ้นนั้น กลับไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการนำไปสู่การปฏิบัติ ปัญหาทางการเมืองภาคใต้ของไทยปัจจุบันชาวไทยมุสลิมมีความรู้สึกว่า พวกเขายังถูกปกครองโดยตรง (direct rule) จากกรุงเทพฯ และด้วยความรู้สึกนี้เองที่กลายเป็นน้ำหล่อเลี้ยงความรุนแรงให้คงอยู่จนถึง ปัจจุบัน

ปัญหารากเหง้าทางด้านความยากจนและการพัฒนาที่ล้าหลัง

ปัจจัยสำคัญที่เติมเชื้อไฟให้กับสถานการณ์การก่อความไม่สงบ ส่วนหนึ่งก็คือ การขาดประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น งบประมาณความช่วยเหลือและการลงทุนส่วนใหญ่ลงไม่ถึงพื้นที่เป้าหมาย เพราะพื้นที่นั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ ทำให้เกิดเงื่อนไขยุ่งยากที่เอกชนจะเข้าไปลงทุน คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ (National Reconciliation Commission: NRC ) รายงานว่าหนึ่งในสามชั้นของปัญหาภาคใต้ คือปัญหาโครงสร้างในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดความรุนแรงขยายตัวมากยิ่งขึ้น เพราะจำนวนประชาชนยากจนสูง (คนจนมีจำนวนมาก) ส่งผลให้มีการแย่งชิงทรัพยากรเพื่อความอยู่รอด อันนำไปสู่ความยากจน (poverty) อย่างไม่มีทางเลือก ถึงกระนั้นก็ตามนักวิเคราะห์ทางสังคมกลับโต้เถียงว่า ขณะนี้เกิดความเข้าใจผิด (misconception) เหมือน ๆ กันว่า ความยากจนหรือส่วนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนเป็นสาเหตุของความรุนแรง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วแม้ความยากจนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการใช้ความรุนแรง แต่มันมิใช่ปัญหาทั้งหมด แม้ว่าพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจว่าเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุด ในประเทศ แต่ตัวมันเองมิใช่จะนำไปสู่ปัญหาความรุนแรงเสมอไป แต่เป็นความยากจนที่พิจารณาในแง่มุมของการไม่ได้รับความยุติธรรม (injustice) มากกว่า ดังนั้นหัวใจของปัญหาในการใช้ความรุนแรงมีปัจจัยขับเคลื่อนโดยธรรมชาติ คือ ปัญหารากเหง้าทางการเมือง ถึงแม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั้ง พื้นที่ภาคใต้ แต่จะไม่เกิดผลต่อการแก้ปัญหาความรุนแรงได้เลย ถ้ารัฐบาลไม่มีความริเริ่มกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาแรงจูงใจ ทางการเมือง (political grievances)

ปัญหารากเหง้าของระบบการศึกษา

ความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหาระบบการศึกษา เป็นอีกปัญหารากเหง้าหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งของการก่อความไม่สงบ ซึ่งปัญหานี้เป็นอุปสรรคต่อชาวมุสลิมมาเลย์ส่วนใหญ่ ในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งในทางโลกและทางศาสนา ระบบโรงเรียนปอเนาะ (Pondok) ของไทย ต้องเผชิญกับการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในบริบททางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจใหม่ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ บางโรงเรียนหรือบางคน เลือกเดินเส้นทางสุดขั้วโดยมีเป้าหมายการแบ่งแยกดินแดนและการทำสงคราม ศักดิ์สิทธิ์ด้วยวิธีการรุนแรง เพื่อตอบโต้รัฐบาลไทยที่เขาเชื่อว่า กดขี่ข่มเหงพวกเขาเป็นที่ชัดเจนว่า ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ ๑๙๙๐ กลุ่มพันธมิตรก่อการร้าย อันประกอบด้วยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเก่า (Former separatist) และกลุ่มทำสงครามศักดิสิทธิ์ใหม่ (newly-arrival jihadists) ได้เริ่มแทรกซึมแฝงตัวเข้าสู่ระบบการศึกษาปอเนาะ แล้วเผยแพร่อุดมการณ์ลัทธิอิสลามแบ่งแยกดินแดน (Islam – separatist ideology) เจาะลึกเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างกว้างขวางกว่าในอดีต จากรายงานของหน่วยข่าวกรองกองทัพบก ระบุว่าโรงเรียนสอนศาสนากลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสมาชิกใหม่ของกลุ่มเคลื่อนไหว ต่อสู้แบ่งแยกดินแดน และหัวหน้ากลุ่มก่อความไม่สงบระดับท้องถิ่นล้วนมีประวัติการศึกษาสำเร็จจาก ระบบโรงเรียนปอเนาะ
นอกจากนี้รัฐบาลไทยเชื่อว่า โรงเรียนสอนศาสนาปอเนาะที่มีสายสัมพันธ์กับประเทศตะวันออกกลางนั้นเป็นภัย คุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะรัฐบาลเชื่อว่า โรงเรียนเหล่านี้ เป็นเป้าหมายของการบ่มเพาะของกลุ่มก่อความไม่สงบ และขณะเดียวกันก็เป็นเป้าหมายของหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ เพื่อขจัดต้นต่อของปัญหาก่อความไม่สงบ

ความล้มเหลวเชิงนโยบายของรัฐบาลทักษิณ

มุมมองของทักษิณต่อปัญหาภาคใต้

สำหรับมุมมองของ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น เขาเชื่อว่าปัญหาการ  ก่อความไม่สงบเพื่อการแบ่งแยกดินแดนนั้น ได้รับการแก้ไขอย่างยาวนานเป็นอดีตและหมดไปแล้ว ส่วนปัญหาที่เหลือ คือ การลอบยิงและการลอบวางระเบิดนั้น เขามั่นใจว่า เป็นปัญหาของความขัดแย้งและขัดผลประโยชน์ของกลุ่มแก๊งอาชญากร (criminal gangs) ซึ่งถึงเวลาแล้วที่จะมอบโอนอำนาจการดูแลพื้นที่ให้ตำรวจเป็นฝ่ายจัดการกับ ปัญหาเหล่านี้ และในฐานะที่เป็นนายตำรวจเก่าจึงมองปัญหาความไร้เสถียรภาพ (ความมั่นคง ) รวมทั้งปัญหาอันซับซ้อนของสังคม – การเมือง(socio-political problems) ของภาคใต้ เป็นเพียงปัญหาเรื่องยาเสพติด (illicit drug uses) ธุรกิจผิดกฎหมาย ซึ่งต้องใช้การแก้ปัญหาด้วยวิธีทางกฎหมายและการจัดระเบียบสังคม ( Low and Order ) ดังนั้นภาพความคิด (mindset) ในการมองปัญหาของเขาต่อปัญหารากเหง้าของภาคใต้นั้นผิดพลาด(misplaced) มาตั้งแต่ต้น

ยิ่งกว่านั้นทักษิณเข้าบริหารประเทศ ด้วยความเชื่อที่พยายามปรับโครงสร้างการบริหารให้เป็นระบบธรรมาภิบาล (Good government) ทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้นั้นการบริหารราชการยังขาดประสิทธิภาพและ ไร้ประสิทธิผล และเขาเชื่ออีกว่าระบบโครงสร้างการบริหารภาคใต้เดิมนั้นสนับสนุนเพื่อผล ประโยชน์ของพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นกังวลว่า ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) (Southern Border Provincial Administration Centre: SBPAC) มีการปฏิบัติงานเพื่อรับใช้พรรคประชาธิปัตย์ มากกว่าตัวเขาและรัฐบาลของเขา ยุทธศาสตร์ที่เขานิยมใช้ คือการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งสำคัญๆ โดยเอาคนของตนเองบรรจุลงตำแหน่งดังกล่าว ดังนั้นเจ้าหน้าที่หลักที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขาจึงเป็นบุคคลที่มีแนวคิดและมุมมองทางด้านความมั่นคงเช่นเดียวกับเขา มีการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนบ่อยครั้ง จนกระทั่งบุคคลเหล่านั้นอยู่ภายใต้การครอบงำของเขา (personal dominance) โดยสิ้นเชิง

ทางด้านนโยบายก็เช่นเดียวกัน เขาชอบริเริ่มนโยบายด้านความมั่นคงที่แข็งกร้าวและ ท้าทายฝ่ายก่อความไม่สงบอยู่เสมอ และครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสแนะนำให้รัฐบาล เลือกใช้หนทางลดความแข็งกร้าว(Gentler approach) ในการจัดการปัญหา ศาสตราจารย์ ปิยะ กิจถาวร กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเขามีแนวทางการทำงานของเขา ซึ่งเขาคิดว่า การใช้กำลังสามารถแก้ปัญหาได้ แต่สองสามปีที่ผ่านมากลับมียอดผู้บริสุทธิ์ที่เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

การยุบเลิก ศอ.บต.และ พตท.๔๓

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างความเข้าใจและให้การศึกษาแก่ชาวไทยถึงความแตกต่างทางศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และวิถีชีวิตมุสลิมภาคใต้ของไทย และที่สำคัญ ศอ.บต. มีบทบาทสำคัญในการเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ใต้กับรัฐบาลกลาง และทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญที่ให้คำปรึกษาและแนะนำกับผู้บริหารและผู้กำหนด นโยบายจากส่วนกลาง

เมื่อ ๑ พ.ค.๒๕๔๕ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรียุบเลิก ศอ.บต. ซึ่งการออกคำสั่งดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อโครงสร้างความมั่นคง ๓ ประการ คือ  

  • ประการแรก เครือข่ายงานข่าวกรองและข่าวลับที่สำคัญๆพังทลายลงไปชั่วพริบตา  
  • ประการที่สอง เจ้าหน้าที่ ศอ.บต. ที่ได้สร้างสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับผู้นำมุสลิมในพื้นที่ และเป็นช่องทางให้ชาวมุสลิมได้แสดงความคิดเห็นข้อเรียกร้องพื้นฐานขาดสะบั้น ลง และ  
  • ประการสุดท้าย ศอ.บต. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พตท.๔๓ (Civilian-Police-Military Combined Forces ๔๓) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลระหว่างหน่วยงานความมั่นคงและหน่วยงาน ข่าวกรองในพื้นที่ภาคใต้ ดังนั้นเมื่อส่งมอบความรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงให้แก่สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติ     ดุมล้อแห่งความมั่นคงก็หลุดออกจากเบ้าของการจัดระเบียบความมั่นคงของพื้นที่ ภาคใต้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
โดยสรุปแล้วการตัดสินใจของรัฐบาลในการยุบเลิก ศอ.บต. นั้นได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่า เป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการรวบรวมและการวิเคราะห์ข่าวสาร ปัญหาใหญ่อีกเรื่องที่ตามมาก็คือการส่งมอบความรับผิดชอบให้กับตำรวจนั้น ในช่วงเปลี่ยนผ่านถ่ายเทอำนาจของทั้งสองหน่วยงาน ก่อให้เกิดสุญญากาศแห่งอำนาจ (Power vacuum) ตรงจุดนี้เองที่ทำให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเก่าและกลุ่มใหม่ที่เป็นนักรบ ศักดิ์สิทธิ์ (Jihadists) ได้รวมตัวกันมีการปรับรื้อองค์กรใหม่และมีเสรีในปฏิบัติการก่อความไม่สงบ (freedom of movement) ได้ โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้าตรวจสอบและขัดขวาง

การบริหารเกณฑ์เสี่ยงที่ไม่มีคุณภาพ

การที่รัฐบาลทักษิณล้มเหลวในการแจ้งเตือนถึงภัยคุกคามเรื่องการก่อความ ไม่สงบแต่เนิ่น ทำให้ปัญหายกระดับสูงขึ้นเป็นสถานการณ์วิกฤติเร็วขึ้น โดยที่รัฐบาลมีการตอบสนองหรือตอบโต้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจำกัดในการบังคับ ใช้กฎหมาย เพราะแทนที่รัฐบาลน่าจะมองปัญหานี้เป็นปัญหาของการก่อความไม่สงบ (Insurgency problem) ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก แต่รัฐบาลกลับตำหนิหรือให้ความสำคัญของความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพียง โจรกระจอก (gangs of organized criminal) เท่านั้น จนถึงเดือน เม.ย.๒๕๔๗ นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีเหตุการณ์การก่อความไม่สงบหรือการก่อการร้ายในประเทศไทย เขากล่าวอ้างอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้นว่า เป็นส่วนหนึ่งของแผนการชั่วร้าย (evil plot) ที่จะทำลายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้เสียโอกาสสำคัญในการผนึกกำลังประสานมาตรการตอบ โต้ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพกลับปล่อยเหตุการณ์ที่ค่อย ๆ ก่อตัวรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนบานปลาย และปัจจัยสำคัญที่โหมกระพือความโกรธแค้นเกลียดชังให้กับชาวมุสลิมภาคใต้ กล่าวคือไม่เพียงแต่รัฐบาลพยายามจะสร้างสถานการณ์ให้สับสนยิ่งขึ้น ดังกับว่าเป็นส่วนหนึ่งของน้ำเลี้ยงสถานการณ์รุนแรงภาคใต้ ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลยังไม่สามารถให้ความกระจ่างกับเหตุการณ์วันที่ ๒๘ เม.ย.๔๗ กรณีกรือเซะ และ เมื่อวันที่ ๒๕ ต.ค.๔๗ กรณีของเหตุการณ์ที่ตากใบ ที่หลายฝ่ายต่างวิจารณ์ว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เป็นต้น

การละเลยการมองปัจจัยปัญหาภายนอกประเทศ

การขยายตัวของลัทธิ Wahhabism 

ชาวมุสลิมภาคใต้ของไทยส่วนใหญ่ยึดหลักปฏิบัติศาสนาอิสลามสายกลาง และมีความสอดคล้องกับหลักธรรมของอิสลาม แบบ Sufism – Sunni ซึ่งเป็นความเชื่ออย่างสุดขั้วของมุสลิมสายกลาง ตลอดห้วงระยะเวลามากกว่าสิบปีที่ผ่านมาลัทธิความเชื่อ Salafi บริสุทธิ์ (Purist salafi ) ที่เน้นตามลัทธิ Wahhahism โดยที่หลักคำสอนและลัทธิดังกล่าวได้ถูกวางรากฐานอย่างลึกซึ้งฝังรากลึกลงตาม โรงเรียนและวิทยาลัยสอนศาสนาทั่วพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผ่านกระบวนการช่วยเหลือบริจาคจากตะวันออกกลางมานาน นับปี และมีการเผยแพร่ลัทธิมากยิ่งขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน กองทุนบริจาคหลาย ๆ กรณีเงินเหล่านี้ผ่านมาทางครูสอนศาสนา (Ustaz) ซึ่งเป็นผู้ได้รับการศึกษาจากปากีสถานและประเทศตะวันออกกลาง โรงเรียนปอเนาะบางแห่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่มี ศักยภาพในการเผยแพร่แนวคิดมุสลิมแข็งกร้าวต่อไป แต่อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายฝ่ายถกแถลงว่า การเจริญเติบโตของลัทธิ Wahhahism และการหลั่งไหลของเงินบริจาคภาคตะวันออกกลางนั้น มิได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดอุดมการณ์ Wahhahism กับลัทธินิยมความรุนแรง

สงครามต่อต้านการก่อการร้าย 

จากการที่รัฐบาลไทยสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อสหรัฐฯ ในการทำสงครามอิรักได้เพิ่มแรงกดดันระหว่างกรุงเทพฯ กับมุสลิมชนกลุ่มน้อยภาคใต้ของไทย และรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรส่งกำลังทหาร ๔๒๐ นาย เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังพันธมิตรทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในอิรัก กระทั่งต่อมาประธานาธิบดี บุช ได้ยกฐานะให้ไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต้ (Non – NATO ally status) ซึ่งการตัดสินใจของรัฐบาลทักษิณได้ก่อให้เกิดความโกรธแค้นชิงชังมากยิ่งขึ้น ใน       หมู่ชาวมุสลิมภาคใต้ของไทย

การสนับสนุนการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์สากล

ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีหลักฐานอย่างเป็นทางการแสดงว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยมีความสัมพันธ์เชื่อม โยงกับกลุ่มทำสงครามศักดิ์สิทธิ์อิสลาม โดยจากคำยืนยันของนักข่าวอาวุโสของหน่วยข่าวกรองไทยย้ำว่า ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานว่า มีกลุ่มเจมาห์   อิสลามิยาห์ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่แน่ชัดอย่างไม่ต้องสงสัยว่า กลุ่มมุสลิมนิยมลัทธิทหาร (militant Islamist organization) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ กำลังเฝ้ามองและจ้องหาจังหวะแสวงหาโอกาส  เพื่อเข้ามาใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แหล่งข่าวบางสำนักกล่าวว่า สถานการณ์ภาคใต้ของไทย ณ ปัจจุบัน ระดับความขัดแย้งยังเป็นความขัดแย้งในระดับท้องถิ่น (local conflict) (ในพื้นที่) เท่านั้น นักวิเคราะห์เสนอแนะว่า แทนที่จะเพิ่มความพยายามเพื่อการแกะรอยหาหลักฐานความสัมพันธ์ของกลุ่มทำ สงครามศักดิ์สิทธิ์นอกประเทศที่เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบของไทย สิ่งที่ดีที่สุดของรัฐบาลไทยขณะนี้ ควรค้นหาและการแก้ปัญหารากเหง้า (deep-rooted) ที่เป็นแรงจูงใจทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองจะเหมาะสมกว่าโฉมหน้าใหม่ของความขัดแย้ง

การทำความเข้าใจกับภัยคุกคามใหม่
 
สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ของไทย นั้นมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ  (new dimension) จากภาพในอดีตหลายประการ กล่าวคือ  
  • ประการแรก ไม่มีกลุ่มใดกล่าวอ้าง หรือรับผิดชอบต่อการก่อความไม่สงบครั้งใหม่ ทำให้เกิดความสงสัยต่อบทบาทในการจัดตั้งของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน  
  • ประการที่สอง ความรุนแรงครั้งใหม่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอดีต การปฏิบัติการที่มีระดับการประสานสอดคล้องอย่างสูง (sophistication) การผนึกกำลัง (coordination) อย่างสูงและผู้ปฏิบัติการมีความเป็นมืออาชีพชนิดเชี่ยวชาญอย่างไม่เคยมีมาก่อน  
  • ประการที่สาม สำหรับ การปฏิบัติการโจมตีไม่เพียงเป็นการวางแผนของกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคือ การปฏิบัติการครั้งสำคัญๆ นั้นอาจอยู่ภายใต้คำสั่งบงการของขบวนการเบอร์ซาตู (Bersatu) หรือ ปูเซก้า (Pusaka) และ 
  • ประการสุดท้าย เป้าหมายของความรุนแรงเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายที่หวังผลทางยุทธศาสตร์ไปมุ่ง กระทำต่อพระภิกษุและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้น
        ลักษณะสงครามก่อความไม่สงบเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยมีข้อพิจารณา ๕ ประการดังนี้
        ๑.   ลักษณะของการทำสงครามเปลี่ยนจากสงครามกองโจร (Guerrilla Warfare) เป็นสงครามในเมือง (Urban Terrorism) (รบในเมือง)
        ๒. เป้าหมายการโจมตีในอดีตเป็นทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เน้นหน่วยงานด้านความมั่นคงและงานข่าว แต่เป้าหมายของการโจมตีระลอกใหม่นี้ เป้าหมาย เป็นพลเรือนผู้บริสุทธิ์ที่มีการป้องกันตัวเองต่ำ และเป้าหมายเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านความมั่นคงตกเป็นเป้าหมายฆ่ารายวัน และยังมุ่งโจมตีต่อโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ส่งผลกระทบทางด้านยุทธศาสตร์ ในการกำหนดนโยบายของรัฐ เพราะเป็นเป้าหมายที่มีความอ่อนไหวต่อกระแสความคิดเห็นของสาธารณชน หรือประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงระหว่างสังคม พุทธและสังคมอิสลาม
       ๓. อดีตการปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายใช้วิธีการทางทหาร คือ การซุ่มโจมตี (Ambush) และการตีโฉบฉวย (raid) ปัจจุบันใช้ยุทธวิธีการก่อการร้าย เช่น การลอบสังหารด้วยอาวุธ (assassination) การลอบวางระเบิด (bombing) และการลอบวางเพลิง
       ๔. ลักษณะการจัดโครงสร้างองค์กรก็แตกต่างกัน ในอดีตการก่อความไม่สงบมีรูปแบบการจัดตั้งเพื่อปฏิบัติสงครามกองโจร
(Guerrilla unit)  แต่ปัจจุบันองค์กรมีการจัดที่ปิดลับ  (secret) แยกส่วน (Compartmentation) ระหว่างส่วนวางแผนกับส่วนบังคับบัญชาและส่วนปฏิบัติการอย่างเด็ดขาดและเป็น ความลับ รู้เฉพาะในส่วนที่ตนเองปฏิบัติ(need to know) และส่วนปฏิบัติการมีการแยกย่อยออกเป็นระดับเซลส์ที่มีอิสระในการปฏิบัติการ ไม่ต้องรอคำสั่ง สอดคล้องกับการจัดองค์กรของกลุ่มก่อการร้ายระดับสากล
      ๕. พื้นที่ปฏิบัติการ สงครามในอดีตรบกันในป่าและภูเขา ส่วนปัจจุบันกลุ่มก่อความไม่สงบส่วนใหญ่ได้ย้ายสนามรบมาเล่น ในหมู่บ้าน ในเมือง และในเมืองใหญ่

บทสรุป

       กล่าวโดยสรุปแล้วการต่อสู้และความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ของไทย ได้ปรับกระบวนการไปอย่างรวดเร็วจากการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดนโดยอาศัย ลัทธิชาตินิยมเป็นแกนกลาง (Nationalist – Separatist Struggle) เป็นการต่อสู้ที่ทำให้เป้าหมายเกิดความขัดแย้งทางการเมืองและศาสนา (Political – Religious Conflict) จะเห็นได้ว่า กลุ่มก่อความไม่สงบพยายามปลุกระดมในประเด็นการเมือง แล้วเรียกร้องให้เกิดการชุมชนรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้หลังอิงเป้าหมายทางศาสนาอิสลามมากกว่า มุ่งประเด็นชาตินิยม (มุสลิมนิยม) สุดท้ายก็คือ การใช้พลังอำนาจทางอุดมการณ์ศาสนาอิสลามเข้าแทนที่อุดมการณ์เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์มุสลิม (ethno-nationalism)
***************************
บรรณานุกรม
Anthony Davis, ‘No end in sight for Southern Thailand’s escalating insurgency’, March ๐๑, ๒๐๐๕, http://intranet.defence.gov.au/jrl/janes/jir๒๐๐๕/jir๐๑๐๙๓.htm, [accessed ๒๖ July ๒๐๐๖].
Anthony Davis, ‘School system forms the frontline in Thailand’s Southern unrest’, Jane’s Intelligence Review, November ๐๑, ๒๐๐๔,  http://intranet.defence.gov.au/jrl/janes/jir๒๐๐๔/jir๐๑๐๙๙.htm, [accessed ๒๖ July ๒๐๐๖].
Aurel Croissant, ‘Unrest in South Thailand: Contours, Causes, and Consequences since ๒๐๐๑’, Contemporary Southeast Asia, vol ๒๗ no ๑, ๒๐๐๕.
BBC News, Asia-Pacific, ‘Fighting Thailand’s insurgents’, September ๑๕, ๒๐๐๖, http://www.news.bbc.co.uk/go/pr/fr/-/๒/hi/asia-pacific/๔๗๗๕๖๒๓.stm, [accessed ๑๕ August ๒๐๐๖].
Duncan McCargo, ‘Rethinking Thailand’s Southern Violence’, Critical Asian Studies, vol ๓๘ no๑, ๒๐๐๖.
International Crisis Group (ICG), ‘Southern Thailand: Insurgency, not Jihad’, Asia Reported no ๙๘, May ๑๘, ๒๐๐๕.
International Crisis Group (ICG), ‘Thailand’s Emergency Decree: no solution’, Asia Report no ๑๐๕, November ๑๘, ๒๐๐๕.
Institute of Defence and Strategic Studies (IDSS) and officer of the Coordinator for Counterterrorism US department of State, ‘Terrorism in Southeast Asia: The Threat and Response’, ๑๒-๑๓ April ๒๐๐๖.
Jeseph Chinyong Liow, ‘Bangkok’s Southern Discomfort: Violence and Response in Southern Thailand, IDSS Commentaries, no ๑๔, ๒๐๐๔.
Joseph Chinyong Liew, ‘The Pondok schools of Southern Thailand: Bastion of Islamic Education or Hotbed of Militancy?’, IDSS Commentaries, no ๓๒, August ๒๕, ๒๐๐๔.
Joseph Chinyong Liow, ‘The Security Situation in Southern Thailand: Towards and Understanding of Domestic and International Dimensions’, Studies in Conflict & Terrorism, vol ๒๗ no ๖, Nov-Dec ๒๐๐๔.
Michael Vatikiotis, ‘Resolving Internal Conflict in Southeast Asia: Domestic Challenges and Regional Perspectives’, Contemporary Southeast Asia, vol ๒๕ no ๑, ๒๐๐๕.
Muhammad Haniff Hassan, ‘Trouble in Thailand’s Muslim South: What a stronger Thaksin can do’, IDSS Commentaries, no ๖, February ๗, ๒๐๐๔.
National Reconciliation Commission (NRC), ‘Overcoming violence through the power of Reconciliation’, Bangkok, ๒๐๐๕.
Norman vasu, ‘Thailand’s Restive South: Time to Acknowledge the Multiplicity of Thai-ness’, IDSS Commentaries, no ๓๕, June ๒๒, ๒๐๐๕.
Rohan Gunaratna, Arabinda Acharya and Sabrina Chua, ‘Conflict and Terrorism in Southern Thailand’, ๒๐๐๕ Marshall Cavendish International (Singapore) Private Limited, ๒๐๐๕.
S.P.Harish, ‘Conflict in Southern Thailand: Removing Education from the Security Agenda,’ IDSS Commentaries, no ๓๓, August ๒๕, ๒๐๐๔.
S.P.Harish and Sabrina Chna, ‘Carnage in Southern Thailand: Is there Resource?’, IDSS Commentaries, no ๕๖, November ๓, ๒๐๐๔.
S.P.Harish, ‘The way Forward in the Southern Thailand Conflict: A Public Peace           Process’, IDSS Commentaries, no ๖๙, October ๑๑, ๒๐๐๕.
S.P.Harish, ‘Insurgency in Southern Thailand: Ethnic or Religious Conflict?’,
IDSS Commentaries, no ๑๗, April ๑๔, ๒๐๐๕.
http://narater2010.blogspot.com/

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม