วงในยืนยัน BRN เดินหน้าพูดคุย ย้ำไม่เปลี่ยนชุดเจรจา | |
วงในยืนยัน BRN เดินหน้าพูดคุย ย้ำไม่เปลี่ยนชุดเจรจา
ยันการเจรจาสันติภาพยังคงเดินหน้า คาดมีอีกครั้ง ก.ย.นี้ ทั้งไม่เปลี่ยนชุดเจรจา ด้านที่ปรึกษา ศอ.บต.เผยข้อตกลงลดเหตุรุนแรงเดือนรอมฏอนเป็นความสำเร็จเบื้องต้นของการพูดคุยสันติภาพ ส่วนประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ย้ำการพูดคุยไม่ควรมีผลประโยชน์
เมื่อวันที่ 28 ส.ค.56 ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารเฉลิมพรเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีการเสวนาและอภิปรายร่วมในข้อหัว “ความหวัง บทเรียน และความสำเร็จต่อการเจรจาสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้” จัดโดยนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีนักศึกษาและนักเรียนและประชาชนเข้าร่วมฟังประมาณ 300 กว่าคน
เผย BRN ยืนยันการพูดคุยสันติภาพมีอีกครั้งในเดือนกันยายน
นายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานที่ปรึกษาสภาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) กล่าวระหว่างเสวนาว่าจากการพูดคุยทางเฟสบุ๊ค (Facebook) กับนายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำ BRN ได้รับการยืนยันว่าการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนของรัฐบาลกับตัวแทน BRN จะมีอีกครั้ง คาดว่าน่าจะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้ ทั้งนี้นายฮัสซัน ยืนยันมาตลอดว่าการพูดคุยสันติภาพคือแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายอาซิส กล่าวอีกว่า นายฮัสซัน ได้ยืนยันอีกว่าทางฝ่าย BRN จะยังคงใช้คณะตัวแทนในการเจรจาชุดเดิมในการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับตัวแทนของรัฐบาลไทย จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลแต่อย่างใด
นายอาซิส กล่าวต่อไปว่า การพูดคุยสันติภาพมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งจากตัวอย่างกรณีมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชาชนที่ทนไม่ไหวต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฝ่ายถืออาวุธกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ประชาชนจึงมีการเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่าย ยุติการใช้ความรุนแรง และให้มีการเจรจาต่อกัน ซึ่งหากไม่มีการเจรจาประชาชนจะลุกขึ้นต่อต้านต่อทั้ง 2 ฝ่าย
“ข้อตกลงลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ในช่วงเดือนรอมฎอน ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นความสำเร็จเบื้องต้นของการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนของรัฐบาลไทยกับตัวแทน BRN ถึงแม้ว่าในเดือนรอมฏอนที่ผ่านมา จะเกิดเหตุการณ์รุนแรงจำนวนมากก็ตาม แต่เหตุส่วนใหญ่เกิดต่อเป้าแข็งโดยเฉพาะต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ส่วนเหตุความรุนแรงต่อเป้าอ่อนน้อยมาก” นายอาซิส กล่าว
การพูดคุยสันติภาพต้องปราศจากผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย
นายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ กล่าวว่า การพูดคุยสันติภาพครั้งนี้ ไม่ควรที่จะมีผลประโยชน์ของทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ทาง BRN ต้องการเพียงแค่ได้เปรียบทางการเมือง ส่วนฝ่ายรัฐบาลไทยต้องการเพียงแค่ให้ทาง BRN ยุติบทบาทเท่านั้น การพูดคุยสันติภาพต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงใจของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อที่จะนำสันติภาพมาสู่พื้นที่อย่างถาวรและต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
นายประสิทธิ กล่าวอีกว่า การปกครองรูปแบบพิเศษในพื้นที่ มีความเป็นไปได้ 3 รูปแบบ 1.การกระจายอำนาจ 2.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองในพื้นที่ 3.ให้อำนาจเต็มที่ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการพูดคุยว่าจะทำอย่างไร เพื่อที่จะให้มีความสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
ผู้ว่าชี้ 10 ปี เยียวยาแล้ว 5,000 ล้าน
นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2547 จนถึง 27 ส.ค.56 มีผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 3,000 กว่าคนที่ได้รับรองจาก 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในพื้นที่ ในจำนวนนี้ทั้งที่เป็นมุสลิมและไทยพุทธ สิ่งที่ค้นพบคือผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ นอกจากนี้มีมุสลิมเสียชีวิตมากกว่าคนไทยพุทธเสียอีก ทั้งที่ผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ อ้างว่าต่อสู้เพื่อพี่น้องชาวมลายูในพื้นที่ แต่ทำไมพี่น้องมุสลิมในพื้นที่เสียชีวิตจำนวนมากขนาดนี้
นายเดชรัฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางกลุ่มก่อความไม่สงบอ้างว่า ต่อสู้เพราะโดนเจ้าหน้าที่รัฐกดขี่ สิ่งที่ค้นพบคือเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิตทั้งหมดระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จากการตรวจสอบเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่โดนตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่มีพฤติกรรมทำร้ายประชาชนในพื้นที่
นายเดชรัฐ กล่าวต่อไปว่า เหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 จนถึง 27 ส.ค.56 รัฐบาลได้ให้เงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่จำนวนกว่า 5,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐอยู่ในฐานะที่ต้องดูแลประชาชน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่สามารถหาผู้ที่กระทำความผิดได้
นายเดชรัฐ กล่าวด้วยว่า คิดว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองในพื้นที่จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปเป็นรูปแบบใหม่ในทันทีคงเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจจะเกิดความรุนแรงจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย แต่คิดว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากปรับเปลี่ยนเนื้อหาของโครงสร้างการปกครองที่อยู่แล้วให้มันดีขึ้นจากเดิม สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
นักวิชาการยืนยันสันติภาพต้องคู่ความยุติธรรม
อ.มัสลัน มาหะมะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กล่าวว่า สันติภาพจะเกิดขึ้นไม่ใช่อยู่ที่ประชาชนอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วย ที่จะต้องให้ความยุติธรรมต่อประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากความยุติธรรมเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประชาชนในพื้นที่
อ.มัสลัน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้รัฐจะต้องมีการกระจ่ายอำนาจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ประชาชนในพื้นทีเรียกร้องกันมานาน
| |
http://narater2010.blogspot.com/
|
วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วงในยืนยัน BRN เดินหน้าพูดคุย ย้ำไม่เปลี่ยนชุดเจรจา
สมุนโอลันล้า ทะเลากับถังขยะอีกแล้ว
สมุนโอลันล้า ทะเลากับถังขยะอีกแล้ว | |
เมื่อเวลา 18.20 น. วันที่ 24 ส.ค.เกิดเหตุระเบิดในถังขยะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ 4 แยกบุณลาภ เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.นราธิวาส 36 และชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ รวม 8 ราย ที่เกิดเหตุพบถังขยะของเทศบาลถูกอานุภาพระเบิดเสียหาย และมีขยะมูลฝอยกระจายเกลื่อน และคลุกเคล้าไปกับเศษซากชิ้นส่วนของระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ไว้ในกล่องเหล็ก หนัก 10 กก. จุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร นอกจากนี้ ยังพบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า เวฟ สีดำ ทะเบียน ขกง 206 ปัตตานี ล้มตะแคงอยู่ริมถนน โดยมีกรงนกของชาวบ้านตกหล่นอยู่ 1 กรง พร้อมด้วยกองเลือดจำนวนหนึ่ง ผู้ได้รับบาดเจ็บเจ้าหน้าที่ทหารได้ช่วยกันนำตัวส่งที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก เป็นเจ้าหน้าที่ทหารสังกัด ฉก.นราธิวาส 36 รวม 4 นาย ทราบชื่อคือ
| |
http://narater2010.blogspot.com/
|
ปัตตานี โจรใต้ใช้อาวุธสงครามยิงมุสลิมผู้บริสุทธิ์
ปัตตานี โจรใต้ใช้อาวุธสงครามยิงมุสลิมผู้บริสุทธิ์ | |
24 ส.ค. เวลา 18.00 น.เกิดเหตุคนถูกยิงเสียชีวิต 2 ราย บนถนนช่วงบริเวณบ้านบือแนปีแย ม.1 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะยี่ห้อมิตซูบิชิ รุ่นไทรทัน 4 ประตู สีดำ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน สภาพถูกยิงเป็นรูพรุน ภายในรถพบผู้เสียชีวิตนอนจมกองเลือด 2 ราย ตรวจสอบทราบชื่อ นายอับดุลเลาะ บินมามะ อายุ 33 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาสงบ บ้านกูวิง และนางรอกีเยาะ สะระโอ ภรรยา ถูกยิงเข้าที่ศีรษะ และลำตัวหลายนัด ทั้ง 2 คนอยู่บ้านเลขที่ 57/2 บ.กูวิง ม.3 ต.ไทรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ก่อนเกิดเหตุทราบว่า นายอับดุลเลาะ ผู้เป็นสามีได้ขับขี่รถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกจากบ้านพัก โดยมีภรรยานั่งไปด้วย เพื่อไปทำธุระในพื้นที่ ต.ปาลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ และขณะจอดรถยนต์เพื่อจะซื้อของบริเวณร้านขายของชำ ได้ถูกคนร้ายตามประกบ และใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงใส่ทั้ง 2 คนขณะนั่งในรถยนต์จนเสียชีวิต | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วางระเบิดถังแก๊สปิ๊กนิค ที่นราธิวาส เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 4 ราย
เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 23 ส.ค. เกืดเหตุระเบิดมี จนท.ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดบนถนนภายในหมู่บ้าน ม.6 ต.ระแว้ง ห่างจากโรงเรียนสะนอพิทยาคม ประมาณ 500 เมตร ที่เกิดเหตุ พบรถยนต์กระบะ 4 ประตู ยี่ห้อโตโยต้า วีโก้ สีบรอนซ์เทา ไม่ติดป้ายทะเบียน สภาพตกข้างทางชนต้นไม้ และถูกแรงระเบิดได้รับความเสียหาย ภายในรถมีเลือดจำนวนมาก ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำส่ง รพ.ยะรัง จำนวน 4 นาย ทราบชื่อ
- 1.จ.ส.อ.ประเวศ แสงสม บาดเจ็บสาหัสจากสะเก็ดระเบิด และแรงอัดของรถที่ชนกับต้นไม้
- 2.อส.ทพ.ศุภชัย ดาวทอง
- 3.อส.ทพ.อุเทน นิลขุนทด
- 4.อส.ทพ.รุ่งศักดิ์ โฉเฉลา อาการปลอดภัย
หลังเกิดเหตุ พ.อ.บุญ สินพาดกลาง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 22 จัดกำลังเข้าปิดล้อมตรวจค้นบริเวณที่เกิดเหตุทันทีค าดคนร้ายน่าจะเป็นแนวร่วมในพื้นที่พยายามตอบโต้ และหมายสังหารเจ้าหน้าที่เพื่อสร้างสถานการณ์
เหตุระเบิดในถังขยะ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ฉก.นราธิวาส 36 และชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
เหตุระเบิดในถังขยะ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ฉก.นราธิวาส 36 และชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
- 1.ส.ต.พินิจ คมสันต์ อายุ 29 ปี
- 2.พลฯ ผจญ ทิวาลัย อายุ 22 ปี
- 3.พลฯ ฉันฑิต วิลาพรม อายุ 22 ปี
- 4.พลฯ สิทธิชัย ลาจันทร์ อายุ 22 ปี
- 1.นายซอลีฮีน สุหลง อายุ 27 ปี
- 2.นายมะสุกรี วารี อายุ 27 ปี
- 3.นายอันวาร์ อาแซ อายุ 19 ปี
- 4.น.ส.ซำซียะห์ อุเซ อายุ 17 ปี
ยิ่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาสงบ นราธิวาส
วันที่ 24 ส.ค. เวลา 18.00 น.เกิดเหตุคนถูกยิงเสียชีวิต 2 ราย บนถนนช่วงบริเวณบ้านบือแนปีแย ม.1 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ที่เกิดเหตุพบรถยนต์กระบะยี่ห้อมิตซูบิชิ รุ่นไทรทัน 4 ประตู สีดำ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน สภาพถูกยิงเป็นรูพรุน ภายในรถพบผู้เสียชีวิตนอนจมกองเลือด 2 ราย ตรวจสอบทราบชื่อ นายอับดุลเลาะ บินมามะ อายุ 33 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาสงบ บ้านกูวิง และนางรอกีเยาะ สะระโอ ภรรยา ถูกยิงเข้าที่ศีรษะ และลำตัวหลายนัด ทั้ง 2 คนอยู่บ้านเลขที่ 57/2 บ.กูวิง ม.3 ต.ไทรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ก่อนเกิดเหตุทราบว่า นายอับดุลเลาะ ผู้เป็นสามีได้ขับขี่รถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกจากบ้านพัก โดยมีภรรยานั่งไปด้วย เพื่อไปทำธุระในพื้นที่ ต.ปาลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ และขณะจอดรถยนต์เพื่อจะซื้อของบริเวณร้านขายของชำ ได้ถูกคนร้ายตามประกบ และใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงใส่ทั้ง 2 คนขณะนั่งในรถยนต์จนเสียชีวิต
ยิงอดีต ผช.ผญบ.รามัน ดับ 3 เจ็บ 1
เมื่อเวลา 08.55 น. วันที่ 24 ส.ค. เกิดเหตุคนร้ายจำนวนหลายคนใช้รถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ ดีแมคซ์ 4 ประตู สีดำ ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ขับไปจอดหน้าร้านน้ำชาตรงข้ามมัสยิดญาแมะเวแก็งดารุสลาม บ้านแอแกง หมู่ที่ 5 ต.เกะรอ อ.รามัน จ.ยะลา แล้วใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงชาวบ้านเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ที่เกิดเหตุ มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ทราบชื่อคือ
- นายชาลี สามะโต อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.5
- นายฮะรง ตาบา สารวัตรกำนัน
- นายต่วนโซ๊ะ วาบา อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
โศกนาฏกรรมริมน้ำไนล์ เอ็มบีเอ็ม
การทำความเข้าใจสภาวะการณ์ทางการเมืองในอียิปต์ไม่สามารถทำได้ หากไม่ทำความเข้าใจความเป็นมา แนวความคิด และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังองค์กรจัดตั้งที่รู้จักกันในชื่อ “ขบวนการภราดรภาพมุสลิม”
ภราดรภาพมุสลิม หรือ มุสลิม บราเธอร์ฮูด มูฟเมนต์ (เอ็มบีเอ็ม) เรียกขานกันในภาษาอารบิกว่า “อิกห์วาน อัล มุสลีมัน” ไม่ได้ถือกำเนิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตรงกันข้ามเอ็มบีเอ็มเกิดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสังคมมุสลิมและพี่น้องชาวมุสลิม
เอ็มบีเอ็มไม่ใช่ขบวนการใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากแต่มีความเป็นมายาวนาน นานขนาดที่สามารถเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ และเป็นหนึ่งในขบวนการที่ทรงอิทธิพลและแรงบันดาลใจมากที่สุดในบรรดาขบวนการทั้งหลายในโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 20
เอ็มบีเอ็มที่มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 85 ปีแล้ว คือต้นแบบของขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมในสังคมมุสลิมทั่วโลก ที่ผสมผสานการขับเคลื่อนในทางสังคม การดำเนินงานเพื่อการกุศล เข้ากับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภราดรภาพมุสลิม ก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ.1928 ในห้วงเวลาที่ประเทศนี้ยังคงตกเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาตินักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งคือ ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา เรียกกันสั้นๆ ทั่วไปว่า ฮัสซัน อัล บานนา ซึ่งถือกันว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคนแรกของขบวนการอัล บานนา เกิดในครอบครัวปัญญาชนมุสลิมในมูห์มาดิยา พื้นที่ยากจนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงไคโร ชีค อาหมัด อัล ซาตี ผู้เป็นบิดา เป็นอิหม่ามและครูสอนศาสนาในนิกายฮันบาลีประจำมัสยิดที่นั่น พี่น้องอัล บานนา ทั้ง ฮัสซัน และ กามาล จึงถูกเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอยู่ในกรอบของศาสนาอย่างเคร่งครัด ยึดถือค่านิยมต่างๆ ตามคติของศาสนาอิสลามอย่างแนบแน่น
ภราดรภาพมุสลิมเดิมทีถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนศาสนาอิสลามให้แพร่หลาย ในเวลาเดียวกันก็ให้น้ำหนักไปที่การอุทิศตนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ “พี่น้อง” อิสลามทั้งมวล แต่ในไม่ช้าไม่นานเอ็มบีเอ็มก็ต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองควบคู่กันไปด้วย
เมื่อแหล่งที่มาของความไม่เป็นธรรม และความเดือดร้อนในสังคมยุคนั้น เกิดขึ้นจากอิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมจึงเป็นการผลักดันอังกฤษออกไปให้พ้นจากการครอบงำอียิปต์ และ “ชำระล้าง” อิทธิพลตะวันตกทั้งมวลในสังคมให้หมดไปด้วย
เนื่องเพราะการดำเนินงานหลักประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมเป็นการให้ความช่วยเหลือต่อพี่น้องมุสลิม องค์กรของขบวนการที่อัล บานนา จัดตั้งขึ้นจึงได้รับการยอมรับและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ราวทศวรรษ 1940 ภราดรภาพมุสลิมกระจายตัวออกไปทั่วอียิปต์ มีการจัดตั้งสาขาของขบวนการขึ้นทั่วประเทศ แต่ละสาขาต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ หนึ่งคือ มัสยิด เพื่อประกอบพิธีการทางศาสนา หนึ่งคือ โรงเรียนเพื่ออำนวยให้เกิดการศึกษา สุดท้ายต้องมีสโมสรเพื่อการกีฬาและออกกำลังกาย
เพียง 10 ปีเศษ จำนวนสมาชิกของขบวนการภราดรภาพมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน แนวความคิดนี้แพร่หลายได้รับความชื่นชมไปทั่วโลกอาหรับ
ในทางการเมือง ภราดรภาพมุสลิมประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า สนับสนุน “หลักการ” ต่างๆ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมขบวนการนี้ก็กำหนด “เป้าหมาย” ของตัวเองขึ้นไว้จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน
หนึ่งในจำนวน “เป้าหมาย” หลักของภราดรภาพมุสลิมคือ การรังสรรค์ “รัฐ” ที่ปกครองโดย “ชาเรีย” หรือกฎหมายอิสลามขึ้น คำขวัญที่มีชื่อเสียงที่สุด โด่งดังที่สุดในยุคนั้นของภราดรภาพมุสลิมที่ต่อมาถูกหยิบยืมมาใช้กันทั่วโลกมุสลิมก็คือ
ในยามที่ขบวนการถูกขับเคลื่อนขยายตัวออกไปทั่วประเทศ อัล บานนา เริ่มก่อตั้งกลุ่มติดอาวุธของขบวนการขึ้นมาด้วย เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือพิเศษ” ในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองนั่นคือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติอียิปต์ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
“เครื่องมือพิเศษ” ของภราดรภาพมุสลิมเคลื่อนไหวอย่างปกปิดเป็นส่วนใหญ่เพื่อก่อกวนทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการอย่าง “ลอบวางระเบิด” และ “ลอบสังหาร”
ปลายปี 1948 เกิดคดีลอบวางระเบิด ทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษและยิวในอียิปต์ขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลอียิปต์ภายใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคม ประกาศ ให้ภราดรภาพมุสลิมเป็นขบวนการนอกกฎหมาย ไม่นานหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี มาห์มูด อัล นูคราชี ก็ถูกลอบสังหาร
ฮัสซัน อัล บานนา ในฐานะผู้นำขบวนการเอ็มบีเอ็มออกแถลงการณ์ประณามการลอบสังหารดังกล่าว แต่จนแล้วจนรอดก็หนีไม่พ้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าสั่งการ ไม่นานให้หลัง อัล บานนา ก็ถูกมือปืนลึกลับผู้หนึ่งยิงเสียชีวิต เชื่อกันว่า เป็นการลงมือของหน่วยสืบราชการลับในเวลานั้น
ขบวนการภราดรภาพมุสลิมไม่ได้ตายไปพร้อมกับการเสียชีวิตของฮัสซัน อัล บานนา ผู้ก่อตั้งเพราะแม้ไม่สามารถขยายตัวอย่างเปิดเผย ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องต่อไปภายใต้การปกครองที่กำกับโดยอังกฤษ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลักๆ ในอียิปต์ กลับตกอยู่ในมือของกลุ่มทหาร โดยเฉพาะบรรดานายทหารรุ่นใหม่ของประเทศ ที่รวมตัวกันขึ้นเป็นขบวนการ “ทหารหนุ่ม” ใช้ชื่อเรียกขบวนการของตัวเองว่า “ขบวนการทหารเสรี-เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์” ที่คลี่คลายขยายตัวมาจาก “สมาคมทหารเสรี” ก่อนหน้านั้น
22 กรกฎาคม ปี 1952 เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์ ก่อการรัฐประหาร ยุติการปกครองแบบในอียิปต์ พร้อมๆ ไปกับการยุติการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ผู้วางแผนก่อรัฐประหารในครั้งนั้นคือ นายทหารหนุ่มจากเมืองอเล็กซานเดรีย ยศพันโทที่ชื่อ กามาล อับเดล นัสเซอร์ ฮุสเซน ที่รู้จักกันไปทั่วโลกหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอียิปต์ ในชื่อ กามาล อับเดล นัสเซอร์
ที่น่าสนใจก็คือ ในกระบวนการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น ภราดรภาพมุสลิมเองก็มีบทบาทร่วมอยู่ด้วยในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุน นายทหารที่ทำหน้าที่เป็น “โซ่ข้อกลาง” ระหว่าง “ฟรี ออฟฟิซเซอร์” กับ ภราดรภาพมุสลิมในห้วงเวลาสำคัญตอนนั้นชื่อ อันวาร์ อัล ซาดัต ผู้ที่กลายเป็นประธานาธิบดีอียิปต์ในปี 1970 นั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลใหม่ของอียิปต์ที่นำโดยคณะทหารกับ ภราดรภาพมุสลิมในช่วงเริ่มแรกจึงเป็นไปด้วยดี ในทิศทางของถ้อยทีถ้อยอาศัยและร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่ยิ่งนับวันความร่วมมือยิ่งถดถอย การแตกแยกทางความคิดและแนวทาง ยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที
พลเอก มูฮัมเหม็ด นากิบ “เจ้านาย” ที่ถูกนัสเซอร์เชิดขึ้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกได้เพียงไม่ช้าไม่นานก็เกิดแตกคอกับนัสเซอร์ และถูกนายทหารใต้บังคับบัญชาบีบพ้นตำแหน่งในปี 1954
ภราดรภาพมุสลิมฉกฉวยภาวะปั่นป่วนวุ่นวายพยายามยึดอำนาจด้วยการวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดีนัสเซอร์ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่ล้มเหลว
เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการทหารกับขบวนการทางศาสนาอย่างภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์กลายเป็นสองขั้วที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เด็ดขาดเท่านั้น ยังส่งผลเปลี่ยนแปลงแนวทางของภราดรภาพมุสลิมไปอีกด้านอย่างชัดเจน
เปลี่ยนแปลงผ่านแนวคิดที่เผยแพร่ผ่านหนังสือของนักคิดนักเขียนผู้หนึ่งของ ภราดรภาพมุสลิม ชื่อ “เซยิด คุทต้าบ”
“เซยิด คุทต้าบ” เป็นกวี เป็นนักเขียน เป็นนักการศึกษา เป็น “นักทฤษฎี” ของศาสนาอิสลามและที่แน่นอนเป็นสมาชิกระดับแกนนำของภราดรภาพมุสลิม คุทต้าบถูกกล่าวหาจากรัฐบาลของนัสเซอร์ว่า เป็นผู้วางแผนลอบสังหารในครั้งนั้น
คุทต้าบเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 24 เรื่อง มีทั้งที่เป็นนิยาย เป็นบทกวี เป็นความเรียงวรรณศิลป์ และที่เป็นบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ว่ากันว่าทรรศนะของคุทต้าบหลากหลายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สารัตถะที่สะท้อนออกมาชัดเจนและส่งอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้คือ ทรรศนะต่อต้านค่านิยมและวัฒนธรรมตามแบบสังคมตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่เขาเห็นว่าหลงใหลในวัตถุแบบไม่ลืมหูลืมตา เต็มไปด้วยความรุนแรงในสารพัดรูปแบบ และแสวงหาความพึงพอใจทางเพศแบบไม่ยับยั้ง
สิ่งที่สะท้อนออกมาที่น่าสนใจอีกประการในงานเขียนของคุทต้าบคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้มุสลิมใช้ “จีฮัด” (การต่อสู้ ดิ้นรน) ต่อบรรดาสังคมแห่ง “จาฮิลี” (ผู้ละเลยไม่สนใจ) ในทรรศนะของคุทต้าบสังคมทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมในแบบฉบับตะวันตก หรือสังคมตามแบบฉบับอิสลาม (ในเวลานั้น) จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูป แปลงโฉมครั้งใหญ่อย่างรุนแรง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า
งานเขียนชิ้นสำคัญ 2 ชิ้นของเซยิด คุทต้าบ คือ “มาลิม ฟี อัล ทาริก” (ไมล์สโตน) ที่เป็นการบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะเป็นบทบาทของอิสลามทั้งในทางการเมืองและทางสังคมในอนาคต กับ “ฟี ไซลัล อัลกุรอ่าน” (ในร่มเงาแห่งอัล กุรอ่าน) ความเรียงแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่เขียนต่อเนื่องยาวถึง 30 เล่ม
ผู้ที่ชื่นชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกมุสลิมยึดถือ คุทต้าบเป็นนักคิดและเป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลามคนสำคัญคนหนึ่ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยในโลกตะวันตกเชื่อว่า นักคิดอย่างคุทต้าบเป็น “ต้นแบบ” และเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เกิดขบวนการมุสลิมสุดโต่งขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิสลามิก จีฮัด” และ “อัลเคด้า”
ในปี 1965 รัฐบาลอียิปต์ตัดสินใจกวาดล้างขบวนการภราดรภาพมุสลิม จับกุมคนอย่างเซยิด คุทต้าบ ส่งขึ้นศาลพิจารณาคดี แล้วตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
เมื่อปี 1966 ภราดรภาพมุสลิมกลายเป็นขบวนการใต้ดินสมบูรณ์แบบในอียิปต์มานับแต่บัดนั้น
ในราวทศวรรษ 1980 ภราดรภาพมุสลิมพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายใต้ความร่วมมือกับพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรควอฟัด ในปี 1984 และกับพรรคแรงงานและเสรีนิยมในปี 1987
แต่ความสำเร็จในทางการเมืองในอีก 5 ปีต่อมา ที่พรรคที่ร่วมมือกับภราดรภาพมุสลิม กับผู้สมัครอิสระของขบวนการ สามารถได้ที่นั่งในสภาประชาชน (สภาล่าง) ของอียิปต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1992 สร้างความแตกตื่นให้กับ ฮอสนี่ มูบารัก ประธานาธิบดีในเวลานั้นอย่างยิ่ง
และเป็นที่มาของการ “ปฏิรูป” กฎหมายครั้งใหญ่ในอียิปต์ เพื่อ “ขจัด” ภราดรภาพมุสลิมออกไปให้ได้ ตั้งแต่การแก้รัฐธรรมนูญ ห้ามองค์กรใดๆ ที่มีภูมิหลังหรือพื้นฐานทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แก้กฎหมายห้ามผู้สมัครอิสระลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย กฎหมายความมั่นคง จัดการกับสมาชิกเอ็มบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง
พรรคฟรีดอม แอนด์ จัสทิซ ภายใต้การนำของ โมฮัมเหม็ด มอร์ซี คือพรรคการเมืองของภราดรภาพมุสลิมที่ประสบความสำเร็จทางการเมืองสูงสุด ได้ที่นั่งในสภาประชาชน เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสภาชูรา (สภาสูง) อีกราว 50 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน
น่าเสียดายที่ 85 ปี ผ่านไป ภราดรภาพมุสลิมก็ยังไม่สรุปบทเรียนของตนเอง ไม่ประนีประนอม ไม่ยินยอมเปิดทางให้ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งของสังคมได้มีส่วนกับประชาธิปไตยที่ร่วมกันต่อสู้จนได้มา ไม่ยินยอมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการกำหนดอนาคตของอียิปต์
ภราดรภาพมุสลิม หรือ มุสลิม บราเธอร์ฮูด มูฟเมนต์ (เอ็มบีเอ็ม) เรียกขานกันในภาษาอารบิกว่า “อิกห์วาน อัล มุสลีมัน” ไม่ได้ถือกำเนิดเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตรงกันข้ามเอ็มบีเอ็มเกิดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสังคมมุสลิมและพี่น้องชาวมุสลิม
ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา
เอ็มบีเอ็มไม่ใช่ขบวนการใหม่ ไม่ได้เกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากแต่มีความเป็นมายาวนาน นานขนาดที่สามารถเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่เก่าแก่ที่สุด และใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ และเป็นหนึ่งในขบวนการที่ทรงอิทธิพลและแรงบันดาลใจมากที่สุดในบรรดาขบวนการทั้งหลายในโลกมุสลิมในศตวรรษที่ 20
เอ็มบีเอ็มที่มีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 85 ปีแล้ว คือต้นแบบของขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมในสังคมมุสลิมทั่วโลก ที่ผสมผสานการขับเคลื่อนในทางสังคม การดำเนินงานเพื่อการกุศล เข้ากับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ภราดรภาพมุสลิม ก่อตั้งในอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ.1928 ในห้วงเวลาที่ประเทศนี้ยังคงตกเป็นดินแดนใต้การปกครองของชาตินักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ
ผู้ก่อตั้งคือ ชีค ฮัสซัน อาเหม็ด อับเดล ราห์มาน มูฮัมเหม็ด อัล บานนา เรียกกันสั้นๆ ทั่วไปว่า ฮัสซัน อัล บานนา ซึ่งถือกันว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคนแรกของขบวนการอัล บานนา เกิดในครอบครัวปัญญาชนมุสลิมในมูห์มาดิยา พื้นที่ยากจนทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงไคโร ชีค อาหมัด อัล ซาตี ผู้เป็นบิดา เป็นอิหม่ามและครูสอนศาสนาในนิกายฮันบาลีประจำมัสยิดที่นั่น พี่น้องอัล บานนา ทั้ง ฮัสซัน และ กามาล จึงถูกเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมาอยู่ในกรอบของศาสนาอย่างเคร่งครัด ยึดถือค่านิยมต่างๆ ตามคติของศาสนาอิสลามอย่างแนบแน่น
ภราดรภาพมุสลิมเดิมทีถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนศาสนาอิสลามให้แพร่หลาย ในเวลาเดียวกันก็ให้น้ำหนักไปที่การอุทิศตนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของ “พี่น้อง” อิสลามทั้งมวล แต่ในไม่ช้าไม่นานเอ็มบีเอ็มก็ต้องเคลื่อนไหวทางการเมืองควบคู่กันไปด้วย
เมื่อแหล่งที่มาของความไม่เป็นธรรม และความเดือดร้อนในสังคมยุคนั้น เกิดขึ้นจากอิทธิพลของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมจึงเป็นการผลักดันอังกฤษออกไปให้พ้นจากการครอบงำอียิปต์ และ “ชำระล้าง” อิทธิพลตะวันตกทั้งมวลในสังคมให้หมดไปด้วย
เนื่องเพราะการดำเนินงานหลักประการหนึ่งของภราดรภาพมุสลิมเป็นการให้ความช่วยเหลือต่อพี่น้องมุสลิม องค์กรของขบวนการที่อัล บานนา จัดตั้งขึ้นจึงได้รับการยอมรับและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว
ราวทศวรรษ 1940 ภราดรภาพมุสลิมกระจายตัวออกไปทั่วอียิปต์ มีการจัดตั้งสาขาของขบวนการขึ้นทั่วประเทศ แต่ละสาขาต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ หนึ่งคือ มัสยิด เพื่อประกอบพิธีการทางศาสนา หนึ่งคือ โรงเรียนเพื่ออำนวยให้เกิดการศึกษา สุดท้ายต้องมีสโมสรเพื่อการกีฬาและออกกำลังกาย
เพียง 10 ปีเศษ จำนวนสมาชิกของขบวนการภราดรภาพมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน แนวความคิดนี้แพร่หลายได้รับความชื่นชมไปทั่วโลกอาหรับ
ในทางการเมือง ภราดรภาพมุสลิมประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่า สนับสนุน “หลักการ” ต่างๆ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันขบวนการเคลื่อนไหวมุสลิมขบวนการนี้ก็กำหนด “เป้าหมาย” ของตัวเองขึ้นไว้จำนวนหนึ่งเช่นเดียวกัน
หนึ่งในจำนวน “เป้าหมาย” หลักของภราดรภาพมุสลิมคือ การรังสรรค์ “รัฐ” ที่ปกครองโดย “ชาเรีย” หรือกฎหมายอิสลามขึ้น คำขวัญที่มีชื่อเสียงที่สุด โด่งดังที่สุดในยุคนั้นของภราดรภาพมุสลิมที่ต่อมาถูกหยิบยืมมาใช้กันทั่วโลกมุสลิมก็คือ
“อิสลาม อิส เดอะ โซลูชั่น” อิสลามคือทางออกประการเดียวเท่านั้น!
ในยามที่ขบวนการถูกขับเคลื่อนขยายตัวออกไปทั่วประเทศ อัล บานนา เริ่มก่อตั้งกลุ่มติดอาวุธของขบวนการขึ้นมาด้วย เพื่อให้ช่วยทำหน้าที่เป็น “เครื่องมือพิเศษ” ในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองนั่นคือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติอียิปต์ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
“เครื่องมือพิเศษ” ของภราดรภาพมุสลิมเคลื่อนไหวอย่างปกปิดเป็นส่วนใหญ่เพื่อก่อกวนทำลายผลประโยชน์ของฝ่ายตรงข้าม ด้วยวิธีการอย่าง “ลอบวางระเบิด” และ “ลอบสังหาร”
ปลายปี 1948 เกิดคดีลอบวางระเบิด ทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษและยิวในอียิปต์ขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลอียิปต์ภายใต้อาณัติของเจ้าอาณานิคม ประกาศ ให้ภราดรภาพมุสลิมเป็นขบวนการนอกกฎหมาย ไม่นานหลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี มาห์มูด อัล นูคราชี ก็ถูกลอบสังหาร
ฮัสซัน อัล บานนา ในฐานะผู้นำขบวนการเอ็มบีเอ็มออกแถลงการณ์ประณามการลอบสังหารดังกล่าว แต่จนแล้วจนรอดก็หนีไม่พ้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าสั่งการ ไม่นานให้หลัง อัล บานนา ก็ถูกมือปืนลึกลับผู้หนึ่งยิงเสียชีวิต เชื่อกันว่า เป็นการลงมือของหน่วยสืบราชการลับในเวลานั้น
ขบวนการภราดรภาพมุสลิมไม่ได้ตายไปพร้อมกับการเสียชีวิตของฮัสซัน อัล บานนา ผู้ก่อตั้งเพราะแม้ไม่สามารถขยายตัวอย่างเปิดเผย ยังคงดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องต่อไปภายใต้การปกครองที่กำกับโดยอังกฤษ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองหลักๆ ในอียิปต์ กลับตกอยู่ในมือของกลุ่มทหาร โดยเฉพาะบรรดานายทหารรุ่นใหม่ของประเทศ ที่รวมตัวกันขึ้นเป็นขบวนการ “ทหารหนุ่ม” ใช้ชื่อเรียกขบวนการของตัวเองว่า “ขบวนการทหารเสรี-เดอะ ฟรี ออฟฟิซเซอร์” ที่คลี่คลายขยายตัวมาจาก “สมาคมทหารเสรี” ก่อนหน้านั้น
กามาล อับเดล นัสเซอร์ ฮุสเซน
ที่น่าสนใจก็คือ ในกระบวนการรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น ภราดรภาพมุสลิมเองก็มีบทบาทร่วมอยู่ด้วยในฐานะเป็นผู้ให้การสนับสนุน นายทหารที่ทำหน้าที่เป็น “โซ่ข้อกลาง” ระหว่าง “ฟรี ออฟฟิซเซอร์” กับ ภราดรภาพมุสลิมในห้วงเวลาสำคัญตอนนั้นชื่อ อันวาร์ อัล ซาดัต ผู้ที่กลายเป็นประธานาธิบดีอียิปต์ในปี 1970 นั่นเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลใหม่ของอียิปต์ที่นำโดยคณะทหารกับ ภราดรภาพมุสลิมในช่วงเริ่มแรกจึงเป็นไปด้วยดี ในทิศทางของถ้อยทีถ้อยอาศัยและร่วมมือซึ่งกันและกัน แต่ยิ่งนับวันความร่วมมือยิ่งถดถอย การแตกแยกทางความคิดและแนวทาง ยิ่งเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกที
พลเอก มูฮัมเหม็ด นากิบ “เจ้านาย” ที่ถูกนัสเซอร์เชิดขึ้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกได้เพียงไม่ช้าไม่นานก็เกิดแตกคอกับนัสเซอร์ และถูกนายทหารใต้บังคับบัญชาบีบพ้นตำแหน่งในปี 1954
ภราดรภาพมุสลิมฉกฉวยภาวะปั่นป่วนวุ่นวายพยายามยึดอำนาจด้วยการวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดีนัสเซอร์ที่เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่ง แต่ล้มเหลว
เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการทหารกับขบวนการทางศาสนาอย่างภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์กลายเป็นสองขั้วที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้เด็ดขาดเท่านั้น ยังส่งผลเปลี่ยนแปลงแนวทางของภราดรภาพมุสลิมไปอีกด้านอย่างชัดเจน
เปลี่ยนแปลงผ่านแนวคิดที่เผยแพร่ผ่านหนังสือของนักคิดนักเขียนผู้หนึ่งของ ภราดรภาพมุสลิม ชื่อ “เซยิด คุทต้าบ”
“เซยิด คุทต้าบ” เป็นกวี เป็นนักเขียน เป็นนักการศึกษา เป็น “นักทฤษฎี” ของศาสนาอิสลามและที่แน่นอนเป็นสมาชิกระดับแกนนำของภราดรภาพมุสลิม คุทต้าบถูกกล่าวหาจากรัฐบาลของนัสเซอร์ว่า เป็นผู้วางแผนลอบสังหารในครั้งนั้น
คุทต้าบเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 24 เรื่อง มีทั้งที่เป็นนิยาย เป็นบทกวี เป็นความเรียงวรรณศิลป์ และที่เป็นบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ว่ากันว่าทรรศนะของคุทต้าบหลากหลายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สารัตถะที่สะท้อนออกมาชัดเจนและส่งอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้คือ ทรรศนะต่อต้านค่านิยมและวัฒนธรรมตามแบบสังคมตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่เขาเห็นว่าหลงใหลในวัตถุแบบไม่ลืมหูลืมตา เต็มไปด้วยความรุนแรงในสารพัดรูปแบบ และแสวงหาความพึงพอใจทางเพศแบบไม่ยับยั้ง
สิ่งที่สะท้อนออกมาที่น่าสนใจอีกประการในงานเขียนของคุทต้าบคือ การสนับสนุนส่งเสริมให้มุสลิมใช้ “จีฮัด” (การต่อสู้ ดิ้นรน) ต่อบรรดาสังคมแห่ง “จาฮิลี” (ผู้ละเลยไม่สนใจ) ในทรรศนะของคุทต้าบสังคมทุกสังคมไม่ว่าจะเป็นสังคมในแบบฉบับตะวันตก หรือสังคมตามแบบฉบับอิสลาม (ในเวลานั้น) จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนรูป แปลงโฉมครั้งใหญ่อย่างรุนแรง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้า
งานเขียนชิ้นสำคัญ 2 ชิ้นของเซยิด คุทต้าบ คือ “มาลิม ฟี อัล ทาริก” (ไมล์สโตน) ที่เป็นการบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะเป็นบทบาทของอิสลามทั้งในทางการเมืองและทางสังคมในอนาคต กับ “ฟี ไซลัล อัลกุรอ่าน” (ในร่มเงาแห่งอัล กุรอ่าน) ความเรียงแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาในคัมภีร์อัลกุรอ่านที่เขียนต่อเนื่องยาวถึง 30 เล่ม
ผู้ที่ชื่นชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกมุสลิมยึดถือ คุทต้าบเป็นนักคิดและเป็นผู้พลีชีพเพื่ออิสลามคนสำคัญคนหนึ่ง ผู้ที่ไม่เห็นด้วยในโลกตะวันตกเชื่อว่า นักคิดอย่างคุทต้าบเป็น “ต้นแบบ” และเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้เกิดขบวนการมุสลิมสุดโต่งขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อิสลามิก จีฮัด” และ “อัลเคด้า”
ในปี 1965 รัฐบาลอียิปต์ตัดสินใจกวาดล้างขบวนการภราดรภาพมุสลิม จับกุมคนอย่างเซยิด คุทต้าบ ส่งขึ้นศาลพิจารณาคดี แล้วตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
เมื่อปี 1966 ภราดรภาพมุสลิมกลายเป็นขบวนการใต้ดินสมบูรณ์แบบในอียิปต์มานับแต่บัดนั้น
ในราวทศวรรษ 1980 ภราดรภาพมุสลิมพยายามเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ภายใต้ความร่วมมือกับพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างพรรควอฟัด ในปี 1984 และกับพรรคแรงงานและเสรีนิยมในปี 1987
แต่ความสำเร็จในทางการเมืองในอีก 5 ปีต่อมา ที่พรรคที่ร่วมมือกับภราดรภาพมุสลิม กับผู้สมัครอิสระของขบวนการ สามารถได้ที่นั่งในสภาประชาชน (สภาล่าง) ของอียิปต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 1992 สร้างความแตกตื่นให้กับ ฮอสนี่ มูบารัก ประธานาธิบดีในเวลานั้นอย่างยิ่ง
และเป็นที่มาของการ “ปฏิรูป” กฎหมายครั้งใหญ่ในอียิปต์ เพื่อ “ขจัด” ภราดรภาพมุสลิมออกไปให้ได้ ตั้งแต่การแก้รัฐธรรมนูญ ห้ามองค์กรใดๆ ที่มีภูมิหลังหรือพื้นฐานทางศาสนาเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แก้กฎหมายห้ามผู้สมัครอิสระลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย กฎหมายความมั่นคง จัดการกับสมาชิกเอ็มบีเอ็มอย่างต่อเนื่อง
พรรคฟรีดอม แอนด์ จัสทิซ ภายใต้การนำของ โมฮัมเหม็ด มอร์ซี คือพรรคการเมืองของภราดรภาพมุสลิมที่ประสบความสำเร็จทางการเมืองสูงสุด ได้ที่นั่งในสภาประชาชน เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในสภาชูรา (สภาสูง) อีกราว 50 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน
น่าเสียดายที่ 85 ปี ผ่านไป ภราดรภาพมุสลิมก็ยังไม่สรุปบทเรียนของตนเอง ไม่ประนีประนอม ไม่ยินยอมเปิดทางให้ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งของสังคมได้มีส่วนกับประชาธิปไตยที่ร่วมกันต่อสู้จนได้มา ไม่ยินยอมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการกำหนดอนาคตของอียิปต์
การครองอำนาจสูงสุดของเอ็มบีเอ็มจึงสั้นอย่างยิ่ง และนองเลือดอย่างยิ่งในเวลาต่อมา
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ชาวสวีเดนคลุม “ฮิญาบ” ก่อนโพสต์ภาพใน “เฟซบุ๊ก” เพื่อต้านกระแสชังมุสลิม
ชาวสวีเดนคลุม “ฮิญาบ” ก่อนโพสต์ภาพใน “เฟซบุ๊ก” เพื่อต้านกระแสชังมุสลิม | ||||
| ||||
http://narater2010.blogspot.com/
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)