วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภัยแทรกซ้อนเชื่อมโยงปัญหาไฟใต้



الحركة الإيضافي يواصل المشكلة الأحداث لغيرالأمن في ولايات الجنوبية.

ภัยแทรกซ้อนเชื่อมโยงปัญหาไฟใต้
لانؤمن عندرجال القوات المسلحة والأمن.هم يشاركون في جلّ المشكلة الإيضافية التي تشّبت مع الشعوب في ولايات الجنوبية منذزمان طويل.حتي بعضهم يشعرونها جزء من حياتهم اليومية.لأن عندمايطبّق ويستطيع القبض مع الحسى ماحرم بعددكشير.سواءكانت الأشجارحرامة والأشجارممنوعة.وإناءحديدليملأ البترول.ويفتش السفينة الحلة البترول الحرام 5 سفينة.


ومهمة قدلقي إناءللإطفاءالناروشقب الحديد والأجزاء الحديدمقياسه وصورته كالصندوف المربع مشل القنبلة التي استخدمتها جمعية الإنفصالية التي وضعتهافي بِضْعِ المناطق في محفطة مغاغ فتاني في 24 فرسفاكوم 2557 مع الأدوات في استخدمها على قطع وغنةالحديد.
في التاريغ 5 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قدتشارك القوات في التفتيشى ويستطيعون الجسى اللوري الرقم 82,0431  سؤرأتاني.التي حملت


الأشجارجملة 21 قطعة.والقبض حوالى مكتب الكهربائية المرحلية بمدينة جالا.في التاريغ 9 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قديفتشون اللوري التي مرّت نحومكان التفتيشى فولوبلاغا ويستطيعون القبض والحبس الأشجارلايعرف جنسها بجملة 44 قطعة.طوالها 6 ميتر.وقبض على الجانَين ومعهمالورَىين والأشجاربجملة 40 قطعة.مقياسها 2.4 ميتر 1.3 ميتر طوالها 1.50 ميتر.يجمع كلها 30 تَنْ واللوري 18 عجلات.

وفي التاريغ 11 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن قديفتسشون ماعندالمصنع فنسَق برقم 148/20 سأتيغ نوك مغاغ بولاية جالا.قدلقيوالأشجار وليس لهاالإذن.ليأخذهاالغائدة والجس على الأوراق ليفتشون بجملة 5 برنامجا.


وفي التاريغ 12 ميئتؤنايون 2557 الموظفون الذين يعملون في نكّ وحّل الأجنطارالإيضافية.ومع موظفي الذين مسؤولين يفتبشون في قرية بودي سأتيغ نوك مغاغ بولاية جالا ووجدواجملة الأشجاركشيرة.
وفي التاريغ 13ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن يفتشون المصنع سهأ فن تاوي للتجارة الأشجار.برقم 39/103 بانا مغاغ ولايةفتاني. يفتشون الاشجاركشيرة.ووجدواالأشجارممنوعة كشيرة مشل كالاشجارجاغا.ووجدواالأحدادالمربعةكبيرة يبلغ 35,000 ليتر.بجملة 3 حديدامُرّبعا.يظّن في استخدام في السفينة ويحمل بهاالبترول الحرام رجال القوات المسلحة والأمن يدخلون ويفتشون سفينة صيدالسمك التي تحاول لحملة البترول الحرام.بجملة 5 سُفن في مينأ بانا.ويظّنون في استخدام التجارة البترول الحرام.ومهمة في التفيشى هذه المرة.قدوجدت في مصنع الأشجارسهأ سب تاوي للتجارة الأشجار.إناءلإطفاءالنار والحريدالمريع والأجزاء التي شاكها وصورتها ستساوِيابالإناء الحديدالتي يملأالقنبلة التي انفجرت في مناطق مغاغ بولاية فتاني في التاريغ 24 فرسفاكوم 2557 الماضي.ومع ذلك وجدالآت للقطع الحديدوماغيرذلك.


وفي التاريغ 18 ميئتؤنايون 2557 رجال القوات المسلحة والأمن مع هؤلأعلى المسؤولية يفتشون مضنع الأشجارسهأسب تاوي للتجارة ووجدواالآت الختم للدخول والخروج الحدودبين البلد.الحدودفي مدينةسوغيكولق.والحدود مؤداحان والحدودنوغكاي.والحدودبوغكان على كل الحدود ورقتين وبعدذلك وجدواالفلوس – النقود – تايلند,والفلوس بلادالآخربعدكشير.وجدواالأوراق للإرشادات في تطبيق لفيردفع الرسوم والتفتيش والقبض حتى لايفتش من جهة موظفي الحكومة.
وقبضواعلى صاحب المصنع وهوسهأخي خيياسومسين,وسومفيت فونسنام ويقدمان للموظفي للسؤال عليهما.
الخطرالإيضافي في منطقةثلاث ولايات الجنوبية.ظهرت منذزمان طويل حتى أصبحت مكان وميدان في طلب المعيشة للأهل السياسيةوالظالم الفلوس – النقود – الخري يحصل على طريقة التجارة الحرامة بالقانون.
وهناك يوجدالعلامة بالجمعيةالإنفصالية بي.أر.عين,والجمعيات الآخرى.الذين يتحركون ويناقصنون ويستخدموت القوات المسلحة نحورجال القوات المسلحةوالأمن الحكومةالقايلندية.


والبينات من كل ناحية يقول:أن التجارة الحرامة.والتجارة الأشجارالحرامة والبترول وبضائع التجارة بدون الدفع الرسوم.وجمعيات المخدرات.هؤلاء هم الذين المساعدون بالنسبةالعُددوالفلوس للجمعية الإنفصالية.واستخدم الفلوس لشراءالأسلحة وغيرهامن أدوات استخدام لُتكّون القنبلةالتي الشعوب فتاني هم المأساة.
المصنع الذي يُتاجرماحرم بالقانون يجعل ويحاول الأجزاء ليتكّون القنبلة مشل بعد يُفتّسش مصنع التجارة الأشجارسهأسب تاوي للتجارة.قدوجدوافيه إناءللإطفاء.والحديدالمربع.والأجزام الحديرةكشيرة.الشكل والصورة قريبةمشل الصندوق الحديرالذي يستخدمه في تفجيرالقنبلةبعّده مكان في مغاغ فتاني في التاريغ 24 فرسفاكوم 2557 الماضي.




يحاول لأخذالعقاب على من الذي في وراءالأحداث لغيرالأمن.أوجب على رجال القوات المسلحةوالأمن كل فروع يساعدون ويحاولون بجّرة.لإعدادةالأمن والسلام لولايات الجنوبية.لانري دموع الشعوب فتاني يسيل بسب أهل السياسيةالفاجر.والظالم فرعون في استخدام مشكلةلغيرالأمن في ولايات الجنوبية.جعلت فرصةلهم في التجارةماحرم القانون بلادالتايلندية.لذا...لابّدلناأن نساعدكي الخطرالإيضافي هذاضياع من هذ

นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์ DNA จับกุมโจรใต้


แบมะ ฟาตอนี

          ความเจริญด้านเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ในยุคปัจจุบันนี้ส่งผลให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น มีพัฒนาการทุกๆ ด้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งการปลูกถ่ายพันธุกรรม หรือสิ่งอื่นๆ ที่เราคาดไม่ถึงว่ามนุษย์สามารถกระทำได้ เช่นเดียวกันในการเก็บรวบรวมหลักฐานวัตถุพยานของคนร้ายในคดีสำคัญต่างๆ “นิติวิทยาศาสตร์” ได้เข้ามามีบทบาทส่วนช่วยในการระบุตัวตน ยืนยันตัวบุคคลที่ลงมือทำการก่อเหตุ นำไปสู่การจับกุมตัวมาลงโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย



          นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) คือ “การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขามาประยุกต์ใช้ เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีความเพื่อผลในการบังคับใช้กฎหมายและการลงโทษ” ซึ่งครอบคลุมขอบข่ายงาน ดังนี้

  • - การตรวจสถานที่เกิดเหตุ และการถ่ายรูป (Crime Scene Investigation and Forensic)
  • - การตรวจลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า (Fingerprint, Palmprint, Footprint)
  • - การตรวจเอกสาร (Document) เช่น ตรวจลายเซ็น ลายมือเขียน
  • - การตรวจอาวุธปืน และกระสุนปืนของกลาง (Forensic Ballistics)
  • - การตรวจทางเคมี (Forensic Chemistry) เช่น ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ
  • - การตรวจทางฟิสิกส์ (Forensic Physics) เช่น ตรวจร่องรอยการเฉี่ยวชนรถ
  • - การตรวจทางชีววิทยา (Biological Trace Evidence) เช่น ตรวจเส้นผม เลือด อสุจิ
  • - การตรวจทางนิติเวช (Forensic Medicine) ได้แก่ งานนิติพยาธิ งานนิติวิทยา งานชีวเคมี
  • - งานพิสูจน์บุคคล งานภาพการแพทย์

เหตุการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงก็เช่นเดียวกันหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมหลักฐาน วัตถุพยานในพื้นที่เกิดเหตุมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะควานหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทในการดำเนินกรรมวิธีดังกล่าว คือ หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์



          ผลของการใช้หน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ ทำการตรวจวัตถุพยาน ชิ้นส่วนและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในสถานที่เกิดเหตุ เมื่อมีการตรวจสารพันธุกรรม มีการพบ DNA ที่สามารถยืนยันตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ลงมือก่อเหตุนำไปสู่การจับกุมตัวคนร้ายมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมเข้าสู่ชั้นศาลซึ่งมีส่วนช่วยงานสอบสวนสืบสวนได้เป็นอย่างมากและมีความเที่ยงตรง ชัดเจน



            ล่าสุดหน่วยงานด้านความมั่นคง ร่วมกับ ผู้ชำนาญการด้านนิติวิทยาศาสตร์ ได้มีการเปิดเผยถึงผลการตรวจสารพันธุกรรมจากเหตุการณ์ที่สำคัญ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน ซึ่งผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง มีการตรวจพบ DNA สามารถติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีได้หลายราย และมีบางส่วนยังคงหลบหนีการจับกุม แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้

  • เหตุการณ์แรก ผู้ก่อเหตุรุนแรงร่วมกันก่อเหตุโดยใช้อาวุธสงครามบุกเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการชุดพัฒนาสันติ 42-1 และฐานปฏิบัติการทหารพรานที่ 4213 ในพื้นที่หมู่ 1 ต.เกาะแลหนัง อ.เทพา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 โดยที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวกลุ่มแนวร่วมผู้ก่อเหตุดังกล่าวไว้ได้แล้วจำนวน 8 คน และในส่วนของการตรวจ DNA จำนวน 6 คน สามารถติดตามจับกุมตัวได้แล้วทั้ง 6 คน แต่ในเวลาต่อมาได้หลบหนีประกัน จำนวน 1 คน คือ นายเภาซี ยีหมะ
  • เหตุการณ์ที่สอง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 และ 43 ได้เข้าทำการตรวจยึดฐานปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงบนเทือกเขาตะเว พื้นที่ บ้านบือแจง ม.4 ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส พบกลุ่มก่อเหตุรุนแรงจนเกิดการปะทะนานกว่า 30นาที หลังสิ้นเสียงปืนเจ้าหน้าที่ได้เข้าพิสูจน์ทราบพบฐานใหญ่ ที่คาดว่าจะมีคนร้ายอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 30 คน โดยฐานนี้เป็นฐานที่ใช้เป็นแหล่งประกอบระเบิด เพื่อก่อเหตุในพื้นที่ จ.นราธิวาสพบที่พักของคนร้ายกว่า 10 หลัง ตั้งอยู่ริมธารน้ำตก โดยสามารถตรวจยึดอุปกรณ์ประกอบวัตถุระเบิด วงจรอิเล็กทรอนิคส์ สารประกอบระเบิด และป้ายผ้า 
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=-cpvVaVtPoY


           ข้อสรุปหลังการตรวจสอบวัตถุพยานในที่เกิดเหตุพบ DNA ยืนยันตัวบุคคลได้ จำนวน 20 คน ซึ่งศาลได้ออกหมาย ป.วิ.อาญา แล้ว จำนวน 3 คน และสามารถดำเนินจับกุมตัวได้ทั้ง 3 คน เสียชีวิตไปแล้ว จำนวน 2 คน และยังคงหลบหนีอยู่ จำนวน 15 คน นอกจากนี้ยังพบ Profile DNAบุคคลที่ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลและตัวตนได้อีก ประมาณ 40 คน

  • เหตุการณ์ที่สาม หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 32 เข้าตรวจค้นเป้าหมายบ้านพักต้องสงสัยหลังโรงเรียนดาราศาสตร์วิทยา ซึ่งตั้งอยู่ ม.1 ต.บาเร๊ะใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส หลังสืบทราบมีกองกำลังติดอาวุธได้แฝงตัวเคลื่อนไหวเพื่อประชุมวางแผนก่อเหตุร้าย พบชายฉกรรจ์ จำนวน 4 คน ได้วิ่งออกมาจากบ้านพักหลังหนึ่งไม่มีเลขที่ โดยวิ่งหลบหนี พรางใช้อาวุธปืนสงครามยิงเบิกทาง จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่เป็นละลอกๆ และคนร้ายอาศัยความชำนาญพื้นที่หลบหนีไปได้


           จากการตรวจสอบที่บริเวณขนำเจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดของกลางได้หลายรายการ อาทิ อาวุธปืน M-16 จำนวน 1 กระบอก เป้สนาม เป้ใส่เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ รองเท้า เวชภัณฑ์ พร้อมด้วยเครื่องยังชีพในป่า เจ้าหน้าที่จึงได้ขอสนับสนุนกองพิสูจน์หลักฐาน จ.นราธิวาส เข้าตรวจสอบเพื่อเก็บลายนิ้วมือแฝงและคราบ DNA และในเวลาต่อมาสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ จำนวน 8 คน และได้จับกุมตัวแล้ว จำนวน 1 คน คือ นายมาหะมะ มะเด็ง แต่ยังคงหลบหนีอยู่ จำนวน 7 คน ซึ่งผู้ที่ยังคงหลบหนีทั้งหมดหน่วยในพื้นที่ยังคงติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง



           ในเมื่อกลุ่มผู้ก่อเหตุแฝงกาย ซ่อนเร้นปิดบังอำพราง หน่วยงานภาครัฐก็จำเป็นต้องหาวิธีการ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เพื่อหาหลักฐานจากการเก็บวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุเพื่อนำไปสู่การพิสูจน์ DNA หาตัวคนร้ายหรือตัวผู้กระทำการก่อเหตุมาลงโทษดำเนินคดี มิฉะนั้นกลุ่มโจรใต้กลุ่มนี้ยังคงได้ใจกระทำความผิดแล้วผิดอีกโดยไม่ย่ำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งเป็นผลลบด้านสังคมจิตวิทยา เมื่อมีการใช้นิติวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยและส่งผลให้มีการจับกุมตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ จะส่งผลให้กลุ่มแนวร่วมในขบวนการเกิดความลังเลหากจะคิดทำการก่อเหตุ สักวันหนึ่งหากไม่โดนจับตายเสียก่อน พันธุกรรมของกลุ่มโจรใต้เหล่านี้จะมีการเก็บตัวอย่างอยู่ในสารบบแฟ้มข้อมูล และเปรียบเทียบ DNA ศาลออกหมายจับเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ต้องหนีหัวซุกหัวซุนไม่มีโอกาสอยู่กับครอบครัว หมดความสุขไม่มีอิสระไปเลยตลอดชีวิต

*******************************

กระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข (สันติภาพ)




แบมะ ฟาตอนี

              กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (peace dialogue) ระหว่างรัฐบาลไทย กับกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งของผู้ที่เห็นต่าง มีการลงนามกระบวนการสันติภาพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งได้มีการดำเนินการมาแล้ว 7 ครั้งด้วยกันก่อนที่ได้ห่างหายไปเนื่องจากปัญหาภายในของประเทศไทยเอง

           เมื่อปัญหาการเมืองภายในของประเทศไทยนิ่ง หน่วยงานความมั่นคง โดย กอ.รมน. จึงคิดริเริ่มสานต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพขึ้นมาใหม่ แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุข” แทน  และเริ่มมีกระแสการโจมตีจากขาประจำผู้ที่ไม่เห็นด้วย ต่างดาหน้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนักวิชาการอิสระ สื่อแนวร่วมโจรใต้ พร้อมเปิดประเด็นในสื่อสังคมออนไลน์ถึงการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการยังไม่ทันได้กำหนดวันดีเดย์ในการพูดคุย

            กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) เป็นความพยายามของรัฐบาลไทย ที่ต้องการตอบสนององค์การระหว่างประเทศ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนภายในประเทศ และข้อเสนอของนักวิชาการให้หาแนวทางพูดคุยเจรจากับกลุ่มผู้มีความเห็นต่างจากรัฐ เพื่อยุติความรุนแรงทั้งสิ้นทั้งปวง


             ท่าทีของแนวร่วมปฏิวัติประชาชาติมลายูปัตตานี (BRN) กับกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่ผ่านมา  จากการลงนามกระบวนการสันติภาพเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2556 และมีการดำเนินการพูดคุยไปแล้ว 7 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ทราบว่าความคิดเห็นในสภาBRN กลุ่มทหารยังไม่เห็นด้วยในการพูดคุย รวมไปถึงหน่วยปฏิบัติการ RKK ในพื้นที่ แต่สภาBRN ยังมีมติเห็นชอบให้ นายฮาซัน ตอยิบ ดำเนินการพูดคุยเนื่องจากเห็นแก่ประเทศมาเลเซีย (โดนบีบบังคับ) โดยให้ดำเนินการในลักษณะใช้งานการเมืองพูดคุย แต่ยังคงให้ทางทหาร ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องเพื่อชิงความได้เปรียบ



            สภา BRN มีความกลัวว่า กลุ่มปฏิบัติที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นนักรบรุ่นใหม่จะทำการปฏิวัติเนื่องจากไม่เห็นด้วย จึงใช้วิธีเรียกร้องนอกเวทีด้วยการออกแถลงการณ์เรียกร้อง 5 ข้อ 7 ข้อ ในห้วงเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นหลักประกันในการเห็นชอบร่วมกัน การดำเนินการของBRN มีระเบียบแบบแผน ซึ่งเดินตาม Road Map ที่สภา BRN ได้เขียนขึ้นมา การปฏิบัติการพูดคุยจะดำเนินการเป็นจังหวะ เป็นขั้นตอน มีการปฏิบัติการข่าวสาร ใช้เล่ห์เหลี่ยมชิงความได้เปรียบเป็นฝ่ายรุกตลอดเวลา

               การพูดคุยทุกครั้งจะไม่มีการเปลี่ยนตัวบุคคล หรือจัดหาคนมาเพิ่ม ยังคงใช้ชุดเดิม ซึ่งเป็นหลักการ “ไม่เปิดเผยตัวตน” แต่ฝ่าย BRN สามารถรวมกลุ่ม BRN-CONGRESS, BIPP และPULO บางส่วนได้แค่กลุ่ม กาแบ ยูโซ๊ะ แต่ไม่สามารถรวมกับกลุ่ม PULO กลุ่มนายซัมซูดิง คาน และกลุ่มนายกัสตูรี มะโกตา ได้เนื่องจากยังขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์

ท่าทีของกลุ่มผู้เห็นต่างอื่นๆ ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ




           กลุ่ม PULO กลุ่มนายซัมซูดิง คาน และกลุ่มนายกัสตูรี มะโกตาต่างมีความพยายามที่จะเข้าร่วมการพูดคุยสันติภาพกับผู้แทนรัฐบาลไทย เนื่องจากไม่อยากตกกระบวนรถไฟสันติภาพที่อาจจะมีการแบ่งสันปันส่วนร่วมกันของผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐ แต่กลับโดนฝ่าย BRN กีดกันไม่ให้เข้าร่วมด้วย เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ยังไม่ลงตัว

           กลุ่มสหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี (PerMAS:Persekutuan Mahasiswa Pelajar dan Muda Mudi Se Patani) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองของ BRNยังคงเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นด้วยการจัดเวทีเสวนา Bicara Patani ทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และต่างประเทศ เพื่อปลุกกระแสนิยมความเป็นปาตานี ต้องการให้ประชาชนชาวมลายูปาตานีรับรู้ถึงสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และปลุกกระแสให้ทุกคนออกมากำหนดชะตากรรมของตนเองด้วยการลงประชามติขอแยกดินแดนออกจากประเทศไทย



            องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งรับทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่กลับถูกแทรกซึมและจัดตั้งโดยขบวนการ BRN มีการเคลื่อนไหวทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายความมั่นคงในประเด็นสิทธิมนุษยชน การกำหนดใจตนเองเพื่อลงประชามติขอแยกตัวเป็นเอกราชในอนาคต รูปแบบการขับเคลื่อนใช้ลักษณะไม่ใช้ความรุนแรง (Non Violent) โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเคลื่อนไหว เพื่อให้เป็นประเด็นเกิดการลุกฮือของประชาชนมลายู และเรียกร้องสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Right of Self-Determination)

ท่าทีของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้





           จากการสำรวจข้อมูลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลับพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ เห็นด้วยกับการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดนเป็นเอกราช อัตราส่วนของประชาชนที่สนับสนุน การแบ่งแยกดินแดนเป็นเอกราช เพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น แต่ผู้มีความเห็นต่างจากรัฐได้พยายามยุยง ปลุกปั่นประชาชนในพื้นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อต้านรัฐบาล โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิในการกำหนดใจตนเอง (Self-Determination) เพื่อการปลดปล่อยดั่งเช่นกรณีของประเทศล่าอาณานิคม ไม่ให้อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย

บทเรียนจากกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ 7 ครั้ง

           ก็ต้องยอมรับความจริงว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับ BRNผ่านผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย สรุปได้ว่า “ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร” เนื่องจากขาด“ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน” อีกทั้งยังไม่มีกรอบการพูดคุยที่ชัดเจน เป็นการพูดคุยโดยการบีบบังคับBRN โดยมาเลเซียตั้งแต่ในครั้งแรก ในเมื่อจุดเริ่มไม่ได้มาจากการพูดคุยกันในระดับล่าง และไม่มีความต่อเนื่อง ฝ่าย BRN มีการประกาศเจตนารมณ์ที่สูงสุด เพื่อไมให้กลุ่มปฏิบัติในพื้นที่เกิดการปฏิวัติ การพูดคุยมีการเรียกร้องในข้อเสนอที่ไม่สามารถกระทำได้เพื่อทำการถ่วงเวลาไปเรื่อยๆ พร้อมทั้งยังสั่งการหน่วยในพื้นที่ปฏิบัติการทางทหารเพื่อชิงความได้เปรียบไปด้วย ในส่วนของการลดการก่อเหตุรุนแรงในห้วงเดือนรอมฎอน เป็นภาวะจำยอมของ BRN เนื่องจากทางมาเลเซียได้บีบบังคับเพื่อนำเสนอให้ OIC ทราบ ซึ่งหาก BRN ไม่ดำเนินการจะมีผลเสียทางยุทธศาสตร์ ความพยายามของ BRN มีการยกระดับการพูดคุยนำไปสู่การเจรจา การขอให้มาเลเซียเป็นแค่ตัวกลางไกล่เกลี่ย (Mediator) และขอให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาร่วมเป็นสักขีพยานในการพูดคุย ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ได้สอดรับกับข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เลย

แนวทางการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 
(กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ)




          รัฐบาลไทยมุ่งเน้นส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 1 “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้” การอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลาย พหุวัฒนธรรม มีสภาวะแวดล้อมที่พร้อมและเอื้อต่อการแสวงหาทางออกของความขัดแย้งโดยสันติวิธี พร้อมทั้งสร้างหลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุข

          ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรูปแบบของการกระจายอำนาจที่เหมาะสมบนพื้นฐานความเป็นพหุสังคมจังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นหลักสากลที่ยอมรับได้ ไม่ใช่เงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน ประชาชนทุกคนมีความปลอดภัยในเสรีภาพต่อการแสดงความคิดเห็น



           สร้างความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็น และอุดมการณ์ที่แตกต่างจากรัฐ ที่มีการเลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีเอกภาพ และเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ หรือองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนกระบวนการพูดคุยดังกล่าว

แนวทางสร้างสันติสุขแสงแห่งความหวังประชาชนชายแดนใต้




           นับเป็นความหวังของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง ที่ยังมีแสงแห่งความหวังที่จะได้เห็นสันติภาพ สันติสุขเกิดขึ้น ณ ดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชื่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ หรือกระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติสุขก็ตามที จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายคือการคืนความสุขความสันติสุขให้กับสังคมและประชาชนให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเห็นด้วยกับกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่ผ่านมาระหว่างรัฐบาลไทยกับขบวนการ BRN โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก อีกไม่นานเมื่อมีการเอาจริงเอาจังและได้ดำเนินการพูดคุยเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อนั้นความสันติสุขจะกลับคืนมา ณ ดินแดนปลายด้ามขวานแห่งนี้


*****************************

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

“หลากข้อเสนอ เดินหน้าพูดคุยสันติภาพ” เสียงปิดท้ายจากเวทีวิชาการ CCPP

เสียงจากเวทีเสวนา ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่ ปิดท้ายงานวิชาการนานาชาติ CCPP “อยากให้การพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อ” กับคำถามและข้อเสนอแนะที่หลากหลายต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 22 สิงหาคม 2557 ที่คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) มีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ภาคประชาสังคม “บนเส้นทางสันติภาพ: ชายแดนใต้/ปาตานีในสถานการณ์ใหม่” On the (Peace) Road Again: Pa(t)tani in New Conditions ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการสื่อสาร ความขัดแย้ง และกระบวนการสันติภาพ: ภูมิทัศน์ความรู้จากเอเชียและจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Communication, Conflicts and Peace Processes : Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand) หรือ CCPP
เวทีเสวนากล่าวเปิดงานโดยนายสิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ เลขาธิการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ส่วนผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายดอน ปาทาน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ปาตานีฟอรั่ม (Patani Forum) ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Project) นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระ นายรอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
ดำเนินรายการโดยนางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ประกาศข่าวภาคสนามรายการ “ข่าว 3 มิติ” ไทยทีวีสีช่อง 3 สรุปสังเคราะห์และกล่าวปิดการเสวนาโดย ดร.นอร์เบอร์ โรเปอร์ส นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) และผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 300 คน มีการแสดงความคิดเห็นและคำถามที่หลายหลายอย่างกว้างขวาง ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาบางส่วนจากผู้ร่วมเสวนา
ทิศทางการพูดคุยสันติภาพปาตานีจะเป็นอย่างไร?

การเสวนาเริ่มด้วยการตั้งคำถามจากนางสาวฐปณีย์ผู้ดำเนินรายการว่า จะมีการเริ่มต้นการพูดคุยสันติภาพปาตานีอย่างไร ทิศทางการพูดคุยสันติภาพจะเป็นอย่างไร?

พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นหนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์ในการพูดคุยสันติภาพปาตานีเมื่อรอบที่แล้ว กล่าวถึงเรื่องการพูดคุยสันติภาพมีเนื้อหา ดังนี้

“ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 7 คน แต่ความรุนแรงยังคงไม่ห่างหายไป ขณะนี้จะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์เดินทางลงมาในภาคใต้เดือนละ 2 ครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ภาคใต้

เรื่องการพูดคุยสันติภาพ ต้องเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเรื่องการพูดคุยก่อน เพราะคนมีความเข้าใจเรื่องการพูดคุยตามจุดยืนของตนเอง รัฐจะบริหารจัดการอย่างไรกับความหลากหลายทางความคิดนี้ เรื่องภาคใต้มีปัญหาเรื่องเห็นต่าง จึงต้องดูว่าควรแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด ขณะนี้นโยบายของรัฐบาลที่ออกมาปี พ.ศ.2555-2557 ต้องกลับไปอ่านนโยบายให้เข้าใจก่อน

รัฐไทยควรสื่อสารกับคนทั้งประเทศว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกระบวนการสันติภาพที่ภาคใต้ จึงจะสามารถดำเนินการได้ ควรเปิด Road Map (แผนที่นำทาง) ให้ทราบกันทั่วไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่น
แจงขันตอนสันติภาพของ คสช.

ดังนั้นขั้นที่หนึ่ง คือการสร้างความเชื่อมั่น จากประกาศของ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ฉบับที่ 96 ให้ความสำคัญกับกลุ่มงานในการหาทางออกของความขัดแย้ง เป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนซึ่งมี 7 กลุ่มงานที่ทำหน้าที่โดยตรง และ ฉบับที่ 98 เป็นโครงสร้างของบูรณาการ และสร้างความเป็นเอกภาพ ชี้ให้เห็นว่า การบริหารและจัดการภาคใต้ต้องเดินหน้าต่อ เพราะปัญหาความขัดแย้งกลายเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง

การเดินหน้าจากประกาศและคำสั่งต่างๆของคสช. ต้องมีการพูดคุยสันติภาพต่อ สันติภาพหรือสันติสุข ก็มีความหมายเดียวกัน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Peace เมื่อรัฐบาลที่แล้วเปิดการพุดคุยสันติภาพ เป็นแนวทางที่เห็นแสงสว่าง ทุกคนสนับสนุน แต่การทำงานเรื่องการพูดคุยสันติภาพยังติดขัด ซึ่งรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธนั้นต้องมีการหารือเพื่อแสวงหารูปแบบ และกำหนดทิศทางภายใต้ Road map ที่กำลังร่างกันอยู่

Road map นี้ค่อนข้างสมบูรณ์ครบถ้วน เนื่องจากเป็นรูปแบบสากล ที่นำตัวอย่างจาก อาเจะห์ ฟิลิปปินส์ ไอร์แลนด์เหนือ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ Model (รูปแบบตัวอย่าง) ที่ชัดเจน รัฐบาลใหม่จะนำบทเรียนการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลที่แล้วมาปรับใช้ด้วย

การปรับโครงสร้างการพูดคุยสันติภาพภายใต้ มี 2 ระดับ ดังนี้
1. ระดับนโยบาย การตัดสินใจในระดับนี้จำเป็นต้องผ่านกลไกระดับนโยบาย ซึ่งจะมีกลุ่มที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาเกี่ยวข้อง

2. ระดับขับเคลื่อน ซึ่งมีทั้งแบบปิดลับ และแบบเปิดเผย

3. ระดับพื้นที่ เป็นความรับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค 4 มีการบูรณาการของทุกภาคส่วนรวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ความชัดเจนของรูปแบบต่างๆเหล่านี้ ต้องรอการประกาศจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยราวๆปลายเดือนสิงหาคมปีนี้ ซึ่งแนวโน้มของการพูดคุยสันติภาพต้องมีการพูดคุยในระดับบนก่อน (Track1) จากนั้นจะมีการสื่อสารถึงกลุ่มต่างๆทันที กรอบการพูดคุยสันติภาพ จะเห็นว่ามีข้อเรียกร้องที่เกิดจากกลุ่ม BRN ยังคงกรอบเดิมอยู่ เนื่องจาก Agreement นั้นเป็นกรอบในการพูดคุยกันต่อไป

ความขัดแย้งนั้นมีอยู่ทั่วโลก ตราบใดที่คนแตกต่างและหลากหลายยังคงอยู่ร่วมกัน สิ่งสำคัญคือ รัฐจะบริหารจัดการความขัดแย้งบนฐานของความแตกต่างอย่างไร ประวัติศาสตร์ตัดตอนสร้างความแตกแยก เรื่องบูรณาการอำนาจและบูรณาการดินแดน ต้องยอมรับว่าดินแดนไหนอ่อนแอก็อาจถูกยึดได้

ปัญหาภาคใต้จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเมือง ต้องยุติสภาพปัญหา สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ฝ่ายข้าศึกที่สู้กับฝ่ายรัฐเราสู้ได้ แต่หากประชาชนตายหนึ่งคน ก็จะมีคนเกิดขึ้นมาสอง หน้าที่ของ กอ.รมน. คือการป้อง ปราม แก้ไข ยุทธศาสตร์ที่ทำให้เกิดความสงบสุขคือความปลอดภัยของประชาชน

ในการรบมีคนอยู่ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายเรา ฝ่ายตรงข้าม และฝ่ายตรงกลาง หากฝ่ายใดที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายตรงกลางก็เป็นฝ่ายชนะ เพราะประชาชนคือจุดสมดุลทางยุทธศาสตร์

ฝ่ายความมั่นคงต้องดูเรื่องประเทศ เรื่องแยกหรือแตกแยกเป็นอันดับแรก การพูดคุยสันติภาพที่มีพัฒนาการและมีการสนับสนุน นโยบาย 9 ข้อที่ประกาศออกมาเป็นการหาทางออกจากความขัดแย้ง แต่หากนโยบายนี้สะดุด ทุกคนก็ด่าทหาร ทหารคือตัวรองรับ ทหารจึงต้องทำทีละขั้น 10 ปี กับ 7 รัฐบาลทำให้การแก้ปัญหาไม่ต่อเนื่องเพราะแบ่งขั้วเลือกข้าง กลุ่มเพื่อไทย กลุ่มทหาร และกลุ่มประชาธิปัตย์
ศึกษาตัวอย่างต่างประเทศทำโรดแมป

การไปดูงานที่ อาเจะห์ ไอร์แลนด์เหนือ ฟิลิปปินส์ เห็นว่าการพูดคุยสันติภาพต้องมี Road map บทเรียนของรัฐในการพูดคุยคือการจัดทำ Road map ไม่ดี ขั้นแรกเราต้องพร้อมในการพูดคุย และต้องถามว่าการพูดคุยสันติภาพตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่หรือไม่ จะเห็นว่าหนึ่งปีของการพูดคุยประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม ต้องดำเนินการในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจก่อน แต่เมื่อการพูดคุยสันติภาพเริ่มต้นขึ้น การเมืองเร่งเร้า เนื่องจากอีกหนึ่งปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC

ในทางการข่าวเชื่อว่า คุณฮัสซัน ตอยิบ คือตัวจริงในการเป็นสายข่าวในต่างประเทศ ซึ่งทุกคนต้องยอมรับเพียงแต่คุณฮัสซันอาจไม่สามารถประสานกับกลุ่มเคลื่อนไหวในพื้นที่โดยตรง เมื่อไม่มีการพูดคุยภายในเกิดการไม่ยอมรับผู้นำในการคุย นักเคลื่อนไหวกลุ่มเยาวชนก็ไม่ยอมรับการนำของฮัสซัน แตกออกมาเป็น 3 กลุ่มนั่นคือ กลุ่มเห็นด้วย กลุ่มไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่รอดูท่าที

ตอนนี้ข้อตกลงเลยมาถึงขั้นเป็น Road map ซึ่งต้องทำ 3 เรื่อง คือสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ การทำสัตยาบัน นำไปสู่ข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย ซึ่งตอนนี้ยังขาดการสื่อสารกับประชาชน เนื่องจากการเมืองเร่งเร้า ในส่วนของคุณฮัสซัน ที่ออกในเว็บไซต์ Youtube ก็เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่อยู่ในพื้นที่ การพูดคุยสันติภาพที่มีประสิทธิภาพคือต้องรับฟังความคิดเห็นว่า ประชาชนเดือดร้อนจึงจะแก้ไขปัญหาถูกจุด
เปิดเวทีพูดคุยและรับฟังทุกภาคส่วน

การพูดคุยที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น อยากให้เชื่อมั่น ศรัทธารัฐบาล เพราะการพูดคุยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา นโยบายของรัฐ 9 ข้อ เขียนเลยไปถึงการเจรจา และให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รับผิดชอบการพูดคุย ซึ่ง Agreement มีสองส่วน คือการเซ็นต์สัญญา และ TOR (กรอบข้อตกลง) ที่ต้องมีการแก้ไขเพื่อกำหนดจำนวนคนที่จะเข้ามาพูดคุย และจำนวนครั้งที่จะพูดคุย
เนื่องจากแต่ละ Track มีความต้องการที่แตกต่าง จึงต้องมีการพูดคุยและรับฟังทุกภาคส่วน ซึ่งคือสัญญาณที่สื่อออกมาว่า รัฐบาลใหม่อยากคุยต่อและจะดียิ่งขึ้นหากการพูดคุยในครั้งนี้มีผู้ที่รู้ทั้งนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ต่อไป”

ผศ.ดร.บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในภาคใต้ของประเทศไทย (STEP Project)
“กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้มีสัญญาณว่าจะเดินหน้าอยู่แล้ว แต่ตอนนี้สิ่งที่คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องทำ คือ การติดตามสถานการณ์การเมืองส่วนกลางให้มาก ทั้งในเรื่องนโยบาย ความเคลื่อนไหวของหน่วยงานความมั่นคง และจับตาดูรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

สิ่งที่ต้องทำในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ภายใต้สถานการณ์ใหม่นี้ คือ การดึงคนทุกภาคส่วน คือ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม กองทัพ ผู้บริสุทธิ์ และผู้สูญเสียที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งมาคุยกัน ถกเถียงกันถึงเรื่องสันติภาพ เพื่อให้สันติภาพเติบโต เบิกบาน

ปัญหาที่ท้าทายกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ขณะนี้ คือ ฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการ  ที่เป็นคู่ขัดแย้งหลัก ต่างมีความรู้และความเชื่อในเรื่อง “ประวัติศาสตร์” คนละชุดกัน ระดับความไว้วางใจระหว่างกันจึงค่อนข้างต่ำ ฉะนั้นทางออกก็คือ กระบวนการสันติภาพควรจะต้องมีพื้นที่กลางสำหรับการเปิดให้ทุกฝ่ายได้พูดคุยกัน สันติภาพจะได้เบ่งบานมากขึ้น

รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

“แม้ตอนนี้กระบวนการพูดคุยสันติภาพระดับบนยังไม่ขยับ แต่ทุกวันนี้สิ่งที่เราทำก็สามารถเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในขั้นตอนกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้เช่นกัน นั่นคือ การมีพื้นที่สำหรับมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ในงานวิชาการนานาชาติ

การเจรจาเมื่อครั้งที่แล้วแม้จะหยุดชะงักอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็น “ระเบิดเวลา” ที่จุดประกายให้หลายฝ่ายหันหน้ามาพูดถึงเรื่อง “อนาคตปาตานี” มากขึ้น พร้อมย้ำอีกครั้งว่าย้ำ การพูดถึงเรื่องอนาคตปาตานีมันเบ่งบานขึ้นมามากจริงๆ หลังการเจรจาเมื่อปี 2556 จนกระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารปี 2557 การคาดเดาถึงอนาคตปาตานีก็เป็นสิ่งที่ยากขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังคงมีข้อถกเถียงในหลายพื้นที่และถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง

ที่มาของคำว่า Pa(t)tani โดยวงเล็บที่ปรากฏในตัว t ตัวที่สอง มันมีความหมายที่คนกลุ่มหนึ่งคือระดับรัฐไทยต้องการให้มีอยู่ ขณะที่ฝ่ายขบวนการต้องการให้ตัว t ในวงเล็บหายไป การนำตัว t มาปรากฏอยู่ในวงเล็บ มันจึงสะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้งของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับหนึ่ง หากจะนำตัว t ออก หรือลบวงเล็บออกก็ไม่มีปัญหาใด เพียงแต่การเขียนด้วยรูปแบบที่ใส่ตัว t ไว้ในวงเล็บมันสำคัญในแง่ที่ทำให้เกิดการ Dialog ขึ้นมา

เรื่องของสันติภาพจริงๆ แล้วมีหลายระดับ และเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ขอให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนเองให้ดีก็เป็นพอ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

“แม้ว่าหัวข้อจะพูดถึงบนเส้นทางใหม่ แต่สถานการณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎอัยการศึกซึ่งมีการบังคับใช้ที่เข้มข้นกว่าพื้นที่อื่น ๆ

การประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มประกาศใช้หลังจากเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ต่อมามีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) แต่หลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เมื่อหลายพื้นที่ได้ยกเลิกไปแล้ว แต่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงยกเว้นและประกาศใช้เรื่อยมาเป็นเวลา 7-8 ปี

ผลกระทบของการประกาศใช้กฎอัยการศึกเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนคือ การออกหมายจับ โดยเฉพาะในอดีตที่มีการออกหมายจับบุคคลต้องสงสัยที่ง่ายมากและไม่รัดกุม แต่เมื่อมีความพยายามทำความเข้าใจกับฝ่ายต่างๆ ทั้งอัยการ ศาล ตำรวจและทหารแล้ว การออกหมายจับก็ถูกตัวมากขึ้น และมีกระบวนการซักถามที่รอบคอบมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีการออกหมายจับที่ซ้ำซ้อนซึ่งทำให้ไม่เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ความมั่นคง
เรียนรู้จากกฎอัยการศึก

หลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีการประกาศใช้อัยการศึกทั่วประเทศประชาชนทุกภูมิภาคต่างก็ได้รับผลกระทบจากเหตุความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีหมายเรียก ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เคยประสบกับการประกาศใช้อัยการศึกก็ไม่เข้าใจ และต้องเรียนรู้ ต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมานาน เชื่อว่าคนในพื้นที่สามารถนำกรณีศึกษาในพื้นที่ตนเองไปอธิบายบทเรียนต่างๆได้อย่างง่ายดาย

จากการเปรียบเทียบการประกาศใช้กฎอัยการศึกกับพื้นที่อื่นๆ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากในพื้นที่อื่นเมื่อชาวบ้านถูกจับหรือเจ้าหน้าที่เชิญตัวไปนั้นญาติมักไม่รู้ ซึ่งต่างกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเชิญตัวแล้วญาติสามารถรับรู้ได้ทันที

เส้นทางสันติภาพในเงื่อนไขใหม่นี้ ขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ก็ไม่มั่นใจว่าข้อเรียกร้องนี้สามารถปฏิบัติจริงได้หรือไม่ และการเรียกร้องนี้คงไม่เฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่ขอให้ยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วประเทศ ยอมรับว่าพื้นที่ชายแดนอื่นๆ ที่ยังคงมีความรุนแรงอยู่ก็คงยังไม่สามารถยกเลิกได้
ให้ความสำคัญกับคนชายขอบ

บนเส้นทางของกระบวนการสันติภาพนั้น ต้องให้เห็นความสำคัญต่อคนชายขอบไม่เฉพาะคู่กรณีของความขัดแย้งเท่านั้น แต่กลุ่มคนเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง กลุ่มอดีตผู้ต้องสงสัยที่ก่อเหตุความไม่สงบ ผู้ต้องขังคดีความมั่นคง กลุ่มไทยพุทธ เพราะกลุ่มดังกล่าวต่างก็ได้รับผลกระทบซึ่งคู่ขัดแย้งจำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขอเรียกร้องให้สื่อท้องถิ่นอย่างวิทยุชุมชนได้มีอำนาจในการนำเสนอเช่นเดิม และขอร้องให้สื่อมวลชนจากส่วนกลางได้ทำหน้าที่นำเสนอ และเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนี้ตลอดไป

ดอน ปาทาน ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ ปาตานีฟอรั่ม (Patani Forum)

“การพูดคุยสันติภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การพูดคุยในครั้งใหม่นี้อาจเป็นแนวทางการปฏิบัติของอดีตรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่สำหรับทหารก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการเจรจาอย่างลับๆ มานานแล้ว ในต่างประเทศอย่างที่ประเทศลิเบีย อียิปต์ ซีเรีย เป็นต้น เพราะขบวนการในอดีตได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ

แต่ปัจจุบันคนในขบวนการใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนคนปกติ ทำงาน เช่น กรีดยาง เลี้ยงไก่ เป็นต้น แล้วไปวางระเบิด เสร็จแล้วกลับบ้าน ซึ่งการต่อสู้ของรัฐไทยกับขบวนการในภาวะอย่างนี้เป็นสิ่งที่ยากมาก

นอกจากนั้นขบวนการยังได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ตัวอย่างเช่น กรณีนายมะรอโซ จันทรวดี ที่มีหมายจับมาแล้ว 15 ปี แต่ลูกๆ ของเขามีอายุ 1 ขวบ 2 ขวบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านใช่หรือไม่

ตัวแทน BRN ที่มาลงนามเพื่อพูดคุยสันติภาพมีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหนต่อยูแว(หมายถึงกองกำลัง)ในพื้นที่ และคนในพื้นที่รับรู้และรู้จักคนเหล่านั้นแค่ไหน เขาเห็นว่าบางครั้งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับคนที่สั่งยูแวได้ แต่ตัวแทนเหล่านั้นจะต้องมีอิทธิพลต่อผู้คนในพื้นที่
จะจัดการเหตุแห่งความขัดแย้งอย่างไร

แม้วันนี้รัฐไทยจัดการกับ BRN จนหมดสิ้น ก็อาจเกิดกลุ่มต่อสู้กลุ่มใหม่ขึ้นอีกในอดีต อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะเรื่องเล่าเดิมๆ ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ คำถามคือ รัฐไทยจะจัดการกับเรื่องเล่าเหล่านั้นอย่างไร

ส่วนเรื่องความจริงใจของมาเลเซีย ระหว่างรัฐไทยกับมาเลเซียเป็นความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ หากแต่ขบวนการเป็นตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ความเป็นมลายูด้วยกันอาจไม่เพียงพอที่จะให้มาเลเซียมาสนับสนุนฝ่ายขบวนการก็เป็นได้ มาเลเซียเองก็ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

มาเลเซียมีความจำเป็นในการเข้ามามีส่วนในเรื่องนี้ เพราะหากจะให้ขบวนการขึ้นมาเจรจาบนดินเอง พวกเขาคงไม่ขึ้นมาแน่ๆ ก็เลยจำเป็นที่จะต้องให้ขบวนการที่อาศัยอยู่ในมาเลเซียเป็นตัวแทน

การเจรจาในอดีตตัวแทนเจรจาจะมาจากกลุ่ม PULO แต่เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปีที่ผ่านมา ฝ่ายพรรคเพื่อไทยนำตัวแทนจาก BRN มาเจรจาหรือพูดคุยสันติภาพ และคนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นตัวจริง สำหรับผมแล้วประเด็นนี้ยังคงเป็นที่น่าตั้งคำถามต่อไป
รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิจัยอิสระ 

“จากการดำเนินการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับขบวนการ BRN ในปี 2556 ขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
1.การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับขบวนการBRN ในปี 2556 ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างเป็นทางการครั้งแรกของรัฐบาลไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยมีการพูดคุยกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีมาหลายครั้ง ดำเนินการปิดลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่มีสำคัญของประเทศไทย

2.ในเดือนกันยายน 2556 ขบวนการ BRN ได้ส่งเอกสารอธิบายข้อเสนอ 5 ข้อของขบวนการ BRN โดยผ่านผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) แก่รัฐบาลไทย ในเอกสารฉบับนี้ได้อธิบายถึงในเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน คือ ขบวนการ BRN ต้องการ เขตปกครองตนเอง ไม่ได้ต้องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีคำถามว่าขบวนการBRN เป็นผู้เขียนหรือเปล่า จากการพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ยืนยังว่าขบวนการBRN มีส่วนร่วมในการร่างเอกสารฉบับนี้จริง โดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศมาเลเซีย แต่ก็มีคนในขบวนการ BRN เห็นด้วยและไม่บางส่วนเห็นด้วยกับเอกสารฉบับนี้

3.เป็นครั้งแรกที่ขบวนการ BRN สื่อสารต่อสาธารณชน โดยผ่านทาง Youtube ก่อนหน้านี้ขบวนการ BRN ปิดมาโดยตลอด จึงทำให้สาธารณชนรู้ว่าขบวนการ BRN เป็นขบวนการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ใช่ขบวนการยาเสพติด ดังนั้นคิดว่าอยากให้ขบวนการ BRN ต่อสู้ในแนวทางนี้มากขึ้น

4.ส่วนขบวนการBRN สามารถควบคุมแนวร่วมในพื้นที่ได้หรือเปล่า จากสถิติความรุนแรงในเดือนรอมฎอนปี 2556 ของศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ภายหลังจากที่มีการเซ็นสัญญาหยุดยิงในเดือนรอมฎอนปี 2556 นั้น ช่วงแรกของเดือนรอมฎอนความรุนแรงลดลงอย่างมีนัยยะ แต่ปลายเดือนรอมฎอน เกิดเหตุยิงชาวบ้านใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เชื่อว่ามีความใกล้ชิดกับกระบวนการBRN จึงเกิดความรุนแรงอีกครั้ง ฉะนั้นตนมองว่าการพูดคุยกัน เป็นเรื่องที่ดีที่จะให้ความรุนแรงลดลง ดังนั้นอยากให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพเดินหน้าต่อไป

5.การที่มาเลเซียมาเป็นตัวกลางในกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับขบวนการBRN นั้น ทำให้รัฐบาลยอมรับที่จะให้บุคคลหรือองค์กรที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในพื้นมาเป็นตัวกลาง ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยไม่ยอมรับที่จะให้ฝ่ายที่สามมาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ ดังนั้นคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดีในการที่แก้ปัญหาในพื้นที่

6.ในช่วงแรกๆของการรัฐประหารโฆษก คสช.ออกมาพูดว่ากระบวนการพูดคุยสันติภาพดำเนินการต่อไป แต่ไม่พูดเรื่องเขตปกครองพิเศษ ไม่ทราบว่ายังเป็นนโยบายอยู่หรือเปล่า หากยังเป็นนโยบายอยู่ คิดว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีสำหรับการเริ่มต้นของกระบวนการพูดคุยสันติสุข อยากเริ่มต้นด้วยการโดยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยที่ไม่มีกรอบใดๆทั้งสิ้น
ของฝากถึงหน่วยงานความมั่นคง
การพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐกับกระบวนการ BRN ปี 2556 ไม่ได้เกิดเฉพาะ track 1 เท่านั้น ส่งผลให้เกิด track 2 และ track 3 มีการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการสันติภาพอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีการพูดถึงเรื่องเขตปกครองพิเศษหรือแม้แต่เรื่องเอกราช ดังนั้นอยากฝากหน่วยงานความมั่นคง ดังนี้
1.เปิดโอกาสให้คนที่อยู่ track 2 และ track 3 พูดให้มากที่สุด เพื่อที่จะรับทราบว่าประชาชนในพื้นที่ ต้องการอะไร
2.จากการพูดบนเวทีของ พล.ต.นักรบ เรื่องเขตปกครองพิเศษ เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถพูดได้ในตอนนี้ แต่มองว่าหน่วยงานความมั่นคงต้องพูดออกมาให้ชัดเจนในเรื่องเขตปกครอง ได้หรือไม่ได้ อย่างไร เพื่อสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่
3.อยากให้รักษาความต่อเนื่องของกระบวนการสันติภาพด้วยการมี หน่วยงานหรือองค์กรหนึ่งที่รับผิดชอบในเรื่องกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ เหมือนกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีสำนักงานรับผิดชอบในเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วย
กระบวนการสันติภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของประธานาธิบดี เพื่อรับประกันว่า ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดมาบริหารประเทศ กระบวนการสันติภาพสามารถดำเนินการต่อไป”
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
Jacke Lynch : ‘วารสารศาสตร์เพื่อสันติภาพ’ คือการปฏิรูปการนำเสนอข่าวของทั่วโลก
เหตุใดยังใช้ความรุนแรง? คำถามของ ศ.ดร.Stein Tønnesson ในงานCCPP
“ไม่สามารถแยกการสื่อสารออกจากสันติภาพได้” ปาฐกถาพิเศษของ Sanjana Hattotuwa
เริ่มแล้วประชุมนานาชาติ CCPP สัมผัสองค์ปาฐกชื่อดัง ‘สันติภาพกับการสื่อสาร’

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รวบโจรใต้สายบุรี พร้อมอาวุธ-กระสุน-อุปกรณ์ประกอบระเบิด

แบมะ ฟาตอนี



จับแกนนำ 3 โจรใต้ ยึดของกลางเพียบหากทำระเบิดได้ 10 ลูก

            เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 สิงหาคม 2557 เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่ายร่วมแถลงข่าวผลการจับกุมแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบ ประกอบด้วย 

  • นายอาสมาล เจะบา อายุ33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 7 หมาย 
  • นายอาฟันดี กาพา อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 2หมาย และ 
  • นายสุกรี สาแม อายุ 35 ปี 
           พร้อมของกลางที่ยึดมาได้จำนวนมาก อาทิเช่น อาวุธปืนยาว เอชเค ปืนยาว .22 ปืนสั้นขนาด .357 และขนาด 9 ม.ม. รวม 5 กระบอก กระสุนปืน เอ็ม 16กว่า 500 นัด กระสุนปืน 9 ม.ม.และ .357 กว่า 100 นัด วิทยุสื่อสารพร้อมอุปกรณ์และที่ประกอบเป็นตัวจุดชนวนระเบิดแล้วรวมกว่า 10 เครื่อง เชื้อปะทุระเบิด 11 อัน ดินระเบิดหนักประมาณ20 กิโลกรัม ถังแก๊สปิกนิคดัดแปลงทำระเบิด 1 ถัง อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ใช้ประกอบระเบิด จำนวนมาก โทรศัพท์มือถือและรถจักรยานยนต์ จำนวน 2 คัน



          นายอาสมาล เจะบา และนายอาฟันดี กาพา ถือเป็นผู้ต้องหารายสำคัญที่ทางการต้องการจับกุมอย่างมาก มีหมายจับเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดและลอบยิงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอีกหลายคดียังอยู่ในระหว่างรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งในการจับกุมครั้งนี้ผู้ต้องหาให้ความร่วมมือไม่ขัดขืนอีกทั้งยังนำเจ้าน้าที่ไปชี้จุดซุกซ้อนของกลางบริเวณที่เกิดเหตุจำนวนมาก ส่วนหลักฐานโดยเฉพาะอาวุธปืนต้องส่งไปตรวจเปรียบเทียบกับวัตถุพยาน ดีเอ็นเอ ว่าเคยนำไปก่อเหตุใดมาบ้าง รวมไปถึงกระสุนปืน ซึ่งมีสภาพใหม่ต้องนำไปตรวจให้ชัดเจนเพื่อหาที่มาที่ไป ซึ่งของกลางที่ยึดมาได้ครั้งนี้หากนำไปประกอบระเบิดจะได้ประมาณ 10ลูกโดยของกลางทั้งหมดถือเป็นหลักสำคัญที่จะสามารถเชื่อมโยงกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในการก่อเหตุในพื้นที่



            เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านความมั่นคงได้เข้าทำการบุกค้นร้านจำหน่ายวิทยุสื่อสารย่านสันติสุข จำนวน 8 แห่ง ถนนนิพัทธุ์อุทิศ 2 และ 3 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พบว่ามีการจำหน่ายวิทยุสื่อสาร ให้กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนำไปประกอบวัตถุระเบิดทำการก่อเหตุในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอ จ.สงขลา เจ้าหน้าที่ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบสต๊อกสินค้าว่า ได้จำหน่ายออกไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ พร้อมเชิญตัวผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปทำการสอบสวน ว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับแนวร่วมโจรใต้ทั้ง 3 คน ที่ถูกจับกุมได้ในพื้นที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานีด้วยหรือไม่อย่างไร

           การจับกุมแกนนำโจรใต้ทั้ง 3 ราย ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม อุปกรณ์ขั้นต้นที่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดได้หากนำไปประกอบเป็นวัตถุระเบิดได้ถึง 10 ลูกด้วยกัน ลองคิดเล่นๆ ดู เกิดอะไรขึ้นหากมีการนำระเบิดที่โจรใต้เหล่านี้ประกอบเสร็จแล้วไปวางยังสถานที่ต่างๆ เพื่อทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์ ผลกระทบที่ตามมาเกิดหายนะต่อชีวิต อาคารบ้านเรือนพังพินาศ ทำลายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าการลงทุนไม่กล้าที่จะมาเปิดสถานประกอบการ หากปล่อยให้คนชั่วเหล่านี้มีอิสระในการเคลื่อนไหวทำการก่อเหตุแล้วเมื่อไหร่พื้นที่ปักษ์ใต้ปลายด้ามขวานแห่งนี้จะเกิดสันติสุข และมีความเจริญเทียบเท่าภูมิภาคอื่นๆ

*****************************

ซุลกิฟลี คอซู แนวร่วมโจรใต้เปิดโปงขบวนการสั่งยิงประชาชนในมัสยิด


            สถานการณ์ชายแดนใต้ในปัจจุบันนี้ได้แปรเปลี่ยนไป เนื่องจากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงมีความกล้าที่จะเสี่ยง มีความกล้าที่จะลงทุนถึงแม้ว่าจะเข่นฆ่าพี่น้องร่วมศาสนาเดียวกันก็จำเป็นต้องทำ จุดประสงค์เพียงเพื่อโยนความผิดให้กับเจ้าหน้าที่ว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุ พร้อมๆ กับมีการโฆษณาชวนเชื่อ ปล่อยข่าวลือ เพื่อเป็นข่าวให้สื่อมวลชนนำเสนอเป็นที่สนใจของคนทั่วไป อย่างเช่นเหตุการณ์ลอบยิงประชาชนเสียชีวิตในมัสยิดในห้วงที่ผ่านมามีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง



          การกระทำซ้ำๆ ซากๆ ตอกย้ำความรู้สึกครั้งแล้วครั้งเล่า หน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่มีโอกาสจับกุมตัวผู้ที่ลงมือก่อเหตุได้สักทีหนึ่ง กลุ่มขบวนการแนวร่วมยังคงบิดเบือนข่าวสาร เดินหน้าท้าทายหน่วยงานภาครัฐว่าให้การสนับสนุนชายลึกลับลอบยิงชาวไทยมุสลิมไม่เว้นแม้กระทั่งในมัสยิด สถานที่ประกอบศาสนกิจของพี่น้องมุสลิม

เมื่อความจริงปรากฏ

          จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา ความงึมครึมสงสัยของใครหลายคนก็ถึงบางอ้อ และได้ทำลายกำแพง ความคิด ความเชื่อของคนบางกลุ่มที่โดนกลุ่มขบวนการครอบงำ ให้เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายตน เมื่อสมาชิกแนวร่วมโดนจับกุมตัว ความจริงก็ได้หลุดออกมาจากปากของ นาย ซุลกิฟลี  คอซู



           นายซุลกิฟลี คอซู เป็นสมาชิกแนวร่วมผู้ก่อเหตุรุนแรงรุ่นใหม่ จากแหล่งข่าวได้เปิดเผยว่านายซุลกิฟลีฯ ได้ให้การยอมรับว่าตนเองได้เข้าร่วมกับกลุ่มขบวนการเมื่อปี พ.ศ.2551 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษาวิทยา ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

เข้าสู่ขั้นตอนการซูมเปาะ

          เมื่อมีการชักชวนให้เข้าสู่ขบวนการ และในเวลาต่อมาได้เข้าสู่พิธีสาบานตน หรือ ซูมเปาะ จาก นายฮูมัยดี มูซอ ซึ่งเป็นครูประจำชั้นที่นายซุลกิฟลีฯ กำลังศึกษาอยู่ และนายฮูมัยดี มูซอ ได้เสียชีวิตเนื่องจากถูกลอบยิง เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 ตนเองได้ผ่านการฝึกทดสอบสมรรถภาพร่างกายขั้นวาตอน โดยมีนายมัครุสลาน สะอุ ผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับรือกู เป็นครูฝึก และยังเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ RKK ของตนเองด้วย ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

เข้าสู่ปฏิบัติการก่อเหตุ และแขวนป้ายผ้าป่วนเมือง

           เคยเข้าร่วมก่อเหตุรุนแรงมาแล้ว 3 ครั้งด้วยกัน รวมทั้งการปิดป้ายผ้าในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา โดยตนเองมีหน้าที่ในการสำรวจเป้าหมายและดำเนินการติดป้ายผ้า บริเวณถนนสายเส้น 418 พื้นที่อำเภอหนองจิก เพื่อทำการต่อต้านเลขาศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้คนปัจจุบัน คือ นายภาณุ อุทัยรัตน์

เตรียมการก่อเหตุยิงประชาชนในมัสยิดวันฮารีรายอโยนผิดให้เจ้าหน้าที่

           การเตรียมการก่อเหตุครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นวันฮารีรายอของพี่น้องมุสลิม นายซุลกิฟลี ได้รับคำสั่งจากนายมัครุสลานฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ RKK ให้ไปทำการก่อเหตุลอบยิงประชาชนคนหนึ่งซึ่งมาละหมาดในมัสยิดบ้านค่าย ตำบลปุโล๊ะปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยได้รับการกำชับจากนายมัครุสลานฯ ว่าจะต้องลอบยิงให้เสียชีวิตในบริเวณมัสยิดเท่านั้น หลังจากมีการละหมาดเสร็จในช่วงเช้า หากตนเองดำเนินการเสร็จจะส่งเข้าทำการฝึกหลักสูตร RKKหรือไปปอเนาะให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่การปฏิบัติการล้มเหลวไม่สำเร็จตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ซึ่งตนเองไม่รู้จัก ได้ออกมานอกมัสยิดเสียก่อนจะได้ทำการลงมือก่อเหตุหลังจากมีการละหมาดเสร็จ

           สำหรับการเตรียมการก่อเหตุลอบยิงผู้บริสุทธิ์ภายในมัสยิดในวันฮารีรายอ เพื่อใส่ร้ายเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ นายมัครุสลานฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการ RKK ได้เป็นคนจัดหาอาวุธปืนพก และรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการก่อเหตุ และให้ตนเองกับสมาชิก ผกร.ใหม่ เข้าไปละหมาดปะปนกับชาวบ้านคนอื่นๆ นี่คือคำสารภาพจากปากของแนวร่วมขบวนการโจรใต้เองที่ได้ออกมาแฉแผนชั่ว เดชะบุญที่การก่อเหตุไม่ประสบผลสำเร็จ มิฉะนั้นการใส่ร้าย โยนความผิดให้เจ้าหน้าที่คงจะเกิดขึ้นและสมบูรณ์แบบ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการดีที่พี่น้องชาวปาตานีจะได้ล่วงรู้ความจริงของแผนการชั่วฆ่าพี่น้องมุสลิมด้วยกันเองในมัสยิด เพราะที่ผ่านมาหลายต่อหลายเหตุการณ์เจ้าหน้าที่โดนใส่ร้ายมาตลอด วันนี้เมื่อมีการออกมาแฉความจริงแล้วจะได้รู้ฆาตรกรตัวจริงคือใคร? มิเช่นนั้นประชาชนก็ยังคงหลงเชื่อตามที่มีการปล่อยข่าวลือของกลุ่มขบวนการไม่มีวันสิ้นสุด

*****************************

เปลี่ยนโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามเป็นซ่องโจร คลังอาวุธ ระเบิดป่วนใต้


จับโจรใต้ฟาตอนีได้พร้อมอาวุธสงครามคาโรงเรียนตาดีกา

           เมื่อวันที่ 18 ส.ค.57 เวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่ได้สนธิกำลังเข้าทำการตรวจสอบผู้ต้องสงสัย บริเวณโรงเรียนตาดีกา ในพื้นที่ บ.ตันหยง ม.3 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี



             เจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการตรวจสอบพบผู้ต้องสงสัย จำนวน 2 ราย ในบริเวณโรงเรียนตาดีกาบ้านตันหยง และสามารถควบคุมตัวและทราบชื่อในเวลาต่อมา ชื่อ นายมะรอมลี ราแดง ภูมิลำเนาบ้านเลขที่ 88/2 ม.3 ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี และนาย ดือนัง สะยีเต๊ะ และในการนี้ได้ทำการตรวจพบอาวุธปืน ปลย. AK-47 หมายเลข 95105 จำนวน 1 กระบอก ซองกระสุนและกระสุน ขนาด 7.62 มม. จำนวนหนึ่งอีกด้วย

            จากการซักถามเบื้องต้นทราบว่า นายรอมือลี ลาแดง เป็นผู้จัดหาอาวุธปืนซึ่งใช้ยิงกำนันตำบลม่วงเตี้ย ซึ่งมีบ้านพักอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 ก่อนหน้านี้ยังเคยใช้ปืนขนาด 11มม. ยิงกำนันคนดังกล่าวมาแล้ว 3 ครั้งด้วยกันแต่ไม่เป็นผล ส่วนนายดือนัง สะยีเต๊ะ เป็นคนเฝ้าอาวุธปืน ปลย.AK-47 ที่นำมาซุกซ่อนไว้ในโรงเรียนตาดีกาบ้านตันหยง



               หลายเหตุการณ์ด้วยกันที่กลุ่มขบวนการโจรใต้ได้ใช้สถานศึกษาเป็นที่ซ่องสุมกำลัง บ้างใช้เป็นที่ประกอบวัตถุระเบิด เป็นที่หลบซ่อนตัวของกลุ่มผู้ก่อเหตุ และล่าสุดใช้เป็นที่หลบซ่อนอาวุธสงคราม ต้องยอมรับความจริงว่าการที่โรงเรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการ ย่อมส่งผลให้มีการตรวจสอบ ที่ตามมาก็คือมีการสั่งปิดการดำเนินกิจการของโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อครู อาจารย์ และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องรับผิดชอบหมั่นตรวจสอบและไม่ให้กลุ่มขบวนการโจรใต้เหล่านี้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเป็นแหล่งบ่มเพาะ หลบซ่อนตัว ซ่องสุมกำลังและอาวุธ หากให้ความร่วมมือกับกลุ่มขบวนการ 

              เหตุการณ์ซ้ำรอยดังที่มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในการสั่งปิดโรงเรียนปอเนาะก่อนหน้านี้ ดั่งเช่นการสั่งปิดโรงเรียนญิฮาดวิทยา หรือปอเนาะญิฮาด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 และ “ปอเนาะสะปอม” หรือ “โรงเรียนอิสลามบูรพา” หมู่ที่ 5 ตำบล กะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2550

            หากโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนตาดีกา หรือโรงเรียนสอนศาสนายังคงให้การสนับสนุนกับกลุ่มขบวนการโจรใต้อยู่ จะส่งผลเสียต่อสถาบันโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอื่นๆ อย่าให้คนภายนอกเหมารวมมองว่าโรงเรียนเหล่านี้เป็นแหล่งบ่มเพาะและใช้เป็นสถานที่ฝึกปรือทางยุทธวิธี รวมทั้งเป็นสถานที่ในการประกอบวัตถุระเบิดของกลุ่มขบวนการ BRN

            หลายปีมาแล้วที่คนทั่วไปตั้งข้อสงสัยต่อโรงเรียนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เนื่องจากรูปแบบโดยทั่วไปของโรงเรียนสอนศาสนาเป็นแบบโรงเรียนกินนอน มีที่พักอยู่ในบริเวณโรงเรียน จึงง่ายต่อการมั่วสุม การชักจูงของผู้ไม่หวังดีให้นักเรียน และเยาวชนเหล่านั้นหลงผิด ด้วยการกล่อมเกลาจิตใจ ฝังความคิดความเชื่อผิดๆ เข้าไป มีการถ่ายทอดวิธีการชั่วร้ายหลอกให้ทำการก่อเหตุ
แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีผลได้ ผลเสียกับผลประโยชน์ ต่างดาหน้าออกมาไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการตรวจสอบ โรงเรียนสอนศาสนาเอกชนได้กลายเป็นดินแดนต้องห้าม แตะต้องไม่ได้ เมื่อมีการติดตามคนร้ายเข้าไปและมีการตรวจค้นก็จะออกมากล่าวหาเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ ไม่ให้เกียรติต่อสถานที่ นี่คือสิ่งที่เป็นมาตลอดระยะเวลาร่วม 10 กว่าปี ที่ผ่านมา มีการตอบโต้และออกมาให้ข่าวเชิงลบแทบจะทุกครั้งที่มีการดำเนินการกับโรงเรียนสอนศาสนาที่เข้าข่ายให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการโจรใต้ บุคคลเหล่านั้นไม่เคยคำนึงถึงความผิดถูก ชั่วดี อยู่ในสมองอันน้อยนิดเลย มุ่งปกป้องคนของกลุ่มขบวนการให้พ้นผิดโดยใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือในการหลบซ่อน หรือว่าผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าของโรงเรียนเป็นสมาชิกแนวร่วมขบวนการอยู่ด้วย น่าคิดนะ...

           หากไม่มีข้อมูล ว่าบุคลากรของโรงเรียน ครู อาจารย์ หรือนักเรียน เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงก็มิอาจบุกรุกเข้าไปทำการตรวจสอบสร้างความเสื่อมเสียให้กับทางโรงเรียนได้ กระทรวงศึกษาธิการก็ไม่สามารสั่งปิดการดำเนินกิจการของโรงเรียนอย่าลืมว่าโรงเรียนเอกชนต่างๆ ในปัจจุบันนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐต่อหัว ต่อคน โรงเรียนเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีจำนวนหลายพันโรง แน่นอนเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการเหล่านี้ต่างมีรายได้เป็นล่ำเป็นสัน เราประชาชนคนหนึ่งผู้ที่เสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐ รัฐนำเงินภาษีมาสนับสนุนให้กับโรงเรียนเอกชนของคุณ ในเมื่อมีการกระทำที่ไม่ถูกไม่ควร หรือหากต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจก็จะต้องเต็มใจให้มีการตรวจสอบว่าโรงเรียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขบวนการโจรใต้ นี่คือความจริงที่มิอาจบิดเบือน คนที่ทำดีย่อมได้รับแต่ในสิ่งที่ดี หากใครคิดชั่ว ย่อมได้รับจากผลกระทำความชั่วนั้นๆ หากยังคิดให้การสนับสนุนกลุ่มขบวนการ ให้แหล่งพักพิง ให้เป็นที่ซ่องสุมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการก่อเหตุ..สักวันโรงเรียนของท่านอาจจะโดนเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบและมีการสั่งปิดดำเนินการเรียนการสอนเข้าสักวัน


*****************************

ปะทะโจรใต้ แก๊งส์วางระเบิดส่งไปเฝ้าพระเจ้า 3 ตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 1 นายทหารบาดเจ็บ 1 นาย


             เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 28 ก.ค. 57 เกิดเหตุคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาดยิง ส.ต.ต.อัสมิง ยูโซ๊ะ ตร.สภ. โกตาบารู จว.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส ซึ่งกลับบ้านไปรายอที่บ้านที่ อ.รือเสาะ จว.นราธิวาส เบื้องต้น ทหารได้เข้ามาช่วยและยิงตอบโต้ทำให้โจรตาย 3 คน เกิดเหตุคนร้ายดักซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โกตาบารู จ.ยะลา เหตุเกิดบนถนนเขตรอยต่อบ้านซาตอ กับบ้านสโลว์ ม.7 ต.รือเสาะ หลังเกิดเหตุได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสนับสนุนจึงได้เกิดปะทะกับกลุ่มคนร้าย ทำให้คนร้ายเสียชีวิต 3 คน เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 นาย ที่เกิดเหตุ พบศพผู้เสียชีวิต จำนวน 3 คน นอนจมกองเลือดอยู่ โดยศพแรกนอนอยู่บนถนนห่างจากสถานีรถไฟสโลว์บูกิตยือแร ประมาณ 300 เมตร ทราบชื่อคือ 
  • 1.นายซัฟวาน สาและ ซึ่งเป็นมือประกอบระเบิด 
  • ศพที่ 2 นอนจมกองเลือดอยู่ภายในตรอกทางเข้าบ้านของชาวบ้าน ทราบชื่อคือ นายอับดุลเลาะ ยูนุ๊ ซึ่งเป็นแกนนำระดับสั่งการในพื้นที่ และมีอาวุธปืนกลอูซี่ จำนวน 1 กระบอก ตกอยู่ข้างกาย 
  • ศพที่ 3 อยู่ห่างจากศพที่ 2 ประมาณ 2 เมตร ทราบชื่อคือ นายอับดุลรอพะ สาและรู ซึ่งมีอาวุธปืนพกสั้นขนาด 11 มม.ตกอยู่ข้างกาย 1 กระบอก 
            ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 1 นาย คือ จ.ส.อ.ชัยณรงค์ วงษารัตน์ ซึ่งเสียชีวิตหลังจากเพื่อนทหารนำส่งโรงพยาบาล ห่างไปประมาณ 60 เมตร พบรถยนต์เก๋งยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีออส สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน ขง 6392 สงขลา ซึ่งเป็นรถของ ส.ต.ต.อัสมิง โดยอยู่ในสภาพถูกกระสุนปืนของคนร้ายที่บริเวณกระจกหน้าแตก และตัวถังด้านคนขับเป็นรูพรุน ซึ่งจอดเสียหลักชนกับรถจักรยานยนต์ของชาวบ้านที่จอดอยู่ ก่อนเกิดเหตุทราบว่า ร.ต.นครินทร์ สุขุมราช หน.ชุด ร้อย ร.15133 ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นจำนวนหลายนัด ซึ่งห่างจากฐานประมาณ 200 เมตร จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองร้อยทหารพรานที่ 4910 กรมทหารพรานที่ 49 ซึ่งอาศัยอยู่ในฐานเดียวกัน รวม 2 ชุดปฏิบัติการออกไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ และได้พบกับคนร้ายจึงได้เปิดฉากยิงปะทะกับคนร้ายเป็นเวลานานกว่า 5 นาที เมื่อเสียงปืนสงบลงจึงได้กระจายกำลังกันเคลียร์พื้นที่







ขับสามล้อซุกระเบิดหนัก 30 กิโลกรัม.จอดหน้า รพ.มายอ บาดเจ็บ 3 ราย


           เมื่อเวลา 09.10 น.วันที่ 10 ส.ค. เกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณหน้า โรงพยาบาลมายอ ม.1 ต.มายอ จ.ปัตตานี ที่เกิดเหตุ บริเวณทางเข้าออกโรงพยาบาลมายอ พบซากรถ จักรยานยนต์พ่วงข้าง ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟสีแดงดำ ที่คนร้ายซุกระเบิดได้รับความเสียหาย และมีชิ้นส่วนถังแก๊สปิกนิค และชิ้นส่วนระเบิดกระจายไปทั่วบริเวณ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย พลเมืองดีช่วยนำส่งโรงพยาบาลมายอ ทราบชื่อ
  • 1.นางรอซีดะห์ ตาเยะ อายุ 25 ปี 
  • 2.ด.ช.ฟาฎิล แวโต อายุ 3 ปี ทั้งสองเป็นแม่ลูกกัน 
  • 3.นายนิเห๊าะ ดอเลาะ อายุ 29 ปี เป็นเจ้าหน้าที่เอ็กซ์เรย์โรงพยาบาลมายอ 
            ทั้งสามถูกสะเก็ดระเบิดที่ลำตัวบาดเจ็บเล็กน้อย ก่อนเกิดเหตุมีคนร้ายเป็นชายแต่งกายคล้ายคนขายปลาขับขี่รถจักรยานยนต์พ่วงข้างมาจอดไว้ที่เกิดเหตุ แล้วรีบเดินขึ้นรถจักรยานยนต์อีกคันที่มารับหลบหนีไป เห็นผิดสังเกตจึงแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ แต่ไม่ถึง 10 นาทีก็เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่น ซึ่งระหว่างนั้นแม่ลูกได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านมาถูกสะเก็ดระเบิดได้รับบาดเจ็บ ส่วนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลยืนอยู่ที่หน้าโรงพยาบาลได้รับบาดเจ็บไปด้วย










ป่วนใต้ยังรุนแรงหลังธารโตเสียแกนนำ



ภาพจาก http://www.isranews.org

สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมาปั่นป่วนอีกครั้ง วันอาทิตย์ที่ 3 ส.ค.57 มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนออกตระเวนสร้างสถานการณ์ด้วยการพ่นสีสเปรย์เป็นตัว หนังสือภาษาอังกฤษสีแดง ข้อความว่า PATANI MERDEKA ซึ่งแปลว่าเอกราชปาตานี หรือ ปาตานีเอกราช นอกจากนั้นยังเผายางรถยนต์บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ช่วง ต.ธารโต และ ต.บ้านแหร อ.ธารโต ด้วย

จุดเกิดเหตุ มี 6 จุด ได้แก่ 1.พ่นสีสเปรย์ในท้องที่บ้านหน้าเกษตร หมู่ 2 ต.ธารโต 2.พ่นสีสเปรย์และเผายางรถยนต์ในท้องที่บ้านธารโต หมู่ 1 ต.ธารโต 3.พ่นสีสเปรย์และเผายางรถยนต์บนถนนหน้ามัสยิดบ้านธารโต หมู่ 1 ต.ธารโต 4.พ่นสีสเปรย์บนสะพานบ้านแหร หมู่ 1 ต.บ้านแหร 5.พ่นสีสเปรย์บนถนนถนนหน้ามัสยิดบ้านบูโล๊ะสนีแย หมู่ 4 ต.บ้านแหร และ 6.เผายางรถยนต์บนถนนหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร หมู่ 1 ต.บ้านแหร เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่

ต่อมาวันเดียวกัน พล.ต.ต.ทรงเกียรติ วาทะกุล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา (ผบก.ภ.จว.ยะลา) ได้มีคำสั่งผ่านวิทยุสื่อสาร กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ โดยให้เพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะฐานที่ตั้งของทหาร ตำรวจ ทหารพราน อาสารักษาดินแดน (อส.) ย่านชุมชน ร้านค้า ร้านน้ำชา ทั้งของพี่น้องไทยพุทธและมุสลิม

พล.ต.ต.ทรง เกียรติ สั่งการให้ทุกหน่วยติดตามสถานการณ์ในห้วงนี้เป็นพิเศษ หลังพบความเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเตรียมการก่อเหตุประกอบ กับเมื่อช่วงเย็นของวันเสาร์ที่ 2 ส.ค.57 ชุดปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) ยะลา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 ค่ายวังพญา อ.รามัน จ.ยะลา เข้าตรวจสอบบริเวณกุโบร์บ้านสาคอ หมู่ 4 ต.ท่าสาป อ.เมืองยะลา และสามารถควบคุมตัวนายอิสมาแอ มูซอ ซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยกรณีลอบวางระเบิดหลายจุดในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 6-7 เม.ย.ที่ผ่านมาได้ด้วย

โดยนายอิสมาแอ ถูกซัดทอดจาก นายซาพูดิง สาและ ว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปรับนายนัชดาล ยะลาแป ซึ่งเชื่อว่าเป็นมือกดระเบิด และหลังเกิดเหตุได้หลบหนีไป กระทั่งมาถูกจับกุมได้กุโบร์บ้านสาคอดังกล่าว จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายอิสมาแอ พร้อมพี่ชาย ไปตรวจค้นที่บ้านเลขที่ 86/2 หมู่ 4 ต.ท่าสาป อ.เมืองยะลา แต่ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย จึงได้คุมตัวไปซักถามที่ค่ายวังพญาอ.รามัน จ.ยะลา

ทั้งนี้การจับกุม ตัว นายอิสมาแอ ที่กุโบร์ หรือสุสาน (สถานที่ฝังศพของพี่น้องมุสลิม) ที่บ้านสาคอ หมู่ 4 ต.ท่าสาป อ.เมืองยะลานั้น มีรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงบางหน่วยว่า อาจเกี่ยวโยงกับพิธีฝังศพ นายการียา ยะลาแป อดีตอุสตาซโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ คนสนิทของนายสะแปอิง บาซอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนเดียวกัน ซึ่งถูกฝ่ายความมั่นคง ระบุว่าเป็นแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นที่ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากรัฐไทย

"นาย การียา เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจที่ประเทศมาเลเซีย และญาติได้เคลื่อนศพกลับมาทำพิธีฝังที่บ้านเกิด เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นก็มีข่าวการจับกุมนายอิสมาแอตามมา ที่กุโบร์บ้านสาคอ"

เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยังประเมินสถานการณ์ว่า การสูญเสียนายการียา ซึ่งถือว่าเป็นแกนนำระดับสูงของบีอาร์เอ็น และเป็นมือขวาของนายสะแปอิง รวมทั้งการที่นายอิสมาแอ ผู้ต้องสงสัยลอบวางระเบิดในเขตเทศบาลนครยะลาถูกจับกุม จะทำให้มีการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงตอบโต้ และเหตุป่วนที่ อ.ธารโต น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการดังกล่าว จึงมีการสั่งการให้เพิ่มความเข้มงวดเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัย

ประกอบกับในวันจันทร์ที่ 4 ส.ค.พี่น้องมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการเฉลิมฉลองในวันรายอแน หรือ “รายอหก” จากการถือศีลอดต่อเนื่องจากเดือนรอมฎอนครบ 6 วัน ซึ่งจะเป็นเทศกาลเดินทางเยี่ยมญาติ และไปดูแลทำความสะอาดกูโบร์ต่างๆ

ด้าน ความคืบหน้ากรณีมีการเผยแพร่ภาพปริศนาที่อ้างว่าถ่ายในพื้นที่ป่าเขาของสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นภาพชายฉกรรจ์แต่งกายทะมัดทะแมง 5 คน โพกศีรษะปิดบังใบหน้า กำลังนั่งล้อมวงคล้ายประชุมกันบนโขดหินแห่งหนึ่งในป่า กับภาพชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธสงครามครบมือนับสิบคนแต่งกายด้วยชุดลำลอง นั่งฟังบรรยายอยู่ในป่าโปร่ง โดยด้านหลังมีการแขวนป้ายสีดำ คล้ายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม

ภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ในแอพพลิเคชันไลน์ ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนถูกแชร์ต่อจนแพร่หลายในวงกว้าง พร้อมคำเตือนว่าจะมีการสร้างสถานการณ์รุนแรงขนาดใหญ่ในห้วงเดือน ส.ค. ซึ่งต่อมามีผลวิเคราะห์จากหน่วยงานความมั่นคงว่า ภาพแรกอาจถ่ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเสื้อยืดที่ชายฉกรรจ์บางคนสวมใส่มีสัญลักษณ์ของกลุ่ม "พีแอลเอ"หรือ Patani Liberation Army ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มพูโลใหม่ ภายใต้การนำของ นายซัมซูดิง คาน ส่วนอีกภาพหนึ่งน่าจะไม่เกี่ยวข้องกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะน่าจะเป็นภาพของขบวนการเจไอที่เคลื่อนไหวในอินโดนีเซียและมาเลเซียนั้น

ล่าสุด เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านการข่าวหน่วยหนึ่งที่สามารถติดต่อกับ นายซัมซูดิง คาน ให้ข้อมูลว่า ได้ประสานไปยังนายซัมซูดิง เกี่ยวกับภาพปริศนาที่ปรากฏออกมา โดยนายซัมซูดิง ยอมรับว่า สัญลักษณ์ “รูปนก” บนเสื้อยืดที่ชายฉกรรจ์ในภาพสวมใส่นั้น เป็นสัญลักษณ์ของกองกำลังพีแอลเอ ซึ่งเขาจัดตั้งขึ้นจริง และชายฉกรรจ์บางคนในภาพก็เป็นสมาชิกในกลุ่มของเขา แต่นายซัมซูดิง ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในต่างประเทศ ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลว่าภาพดังกล่าวถ่ายในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทย

อย่างไร ก็ตาม กองกำลังพีแอลเอไม่ใช่กองกำลังใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อก่อเหตุรุนแรง สร้างอำนาจต่อรองกับรัฐบาลไทยเพื่อให้ดึงเข้าร่วมโต๊ะพูดคุยสันติภาพระหว่าง รัฐบาลไทยกับแกนนำบีอาร์เอ็น กลุ่มของนายฮัสซัน ตอยิบ เมื่อปีที่แล้ว ตามที่มีปรากฏเป็นข่าวทางสื่อบางแขนง แต่กองกำลังพีแอลเอได้รับการจัดตั้งขึ้นนานหลายปีแล้ว โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มพูโลใหม่กับกลุ่มจีเอ็มไอพี (มูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี) ซึ่งมีนายเจ๊ะกูแม กูเต๊ะ เป็นแกนนำ โดยเมื่อครั้งเปิดตัวกลุ่มพีแอลเอ ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างพูโลสายนายซัมซูดิง กับกลุ่มจีเอ็มไอพีด้วย

สถานการณ์ดังกล่าวส่อแววว่ายังไม่มีคความสงบมีแต่จะเกิดความรุนแรงอีกครั้งปลายสุดด้ามขวาน

วางระเบิดในรถจักรยานยนต์ ทหารพรานนราธิวาสเจ็บ 2 เสียชีวิต 1


              วันที่ 15 ส.ค. เมื่อเวลา 10.30 น. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่ริมถนนข้างป้ายบอกทางเข้าโครงการฟาร์มตัวอย่างพระราชดำริฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายตากใบ - นราธิวาส ช่วงบริเวณบ้านใหม่ ม.5 ต.กะลุวอเหนือ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารพราน กรมทหารพรานที่ 11ได้รับบาดเจ็บ 3 นาย ที่เกิดเหตุ พบซากชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นเวฟ สีน้ำเงิน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ซึ่งคนร้ายใช้ประกอบเป็นระเบิดจักรยานยนต์บอมบ์ น้ำหนักประมาณ 10 กก.จุดชนวนด้วยวิทยุสื่อสาร ตกกระจายเกลื่อนพื้นถนน และพงหญ้ารกทึบริมทาง ห่างไปประมาณ 70 เมตร พบรถยนต์ 6 ล้อ ยี่ห้อฮีโน่ สีเขียวขี้ม้า ทะเบียนตรากงจักร 11231 ของกรมทหารพรานที่ 11 ซึ่งได้บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงใส่ถัง 200 ลิตรเต็มคันรถ ถูกอานุภาพของระเบิด ทำให้ล้อหน้าทั้ง 2 ข้างแตก แถมประตูหน้าด้านตรงข้ามคนขับถูกอานุภาพระเบิดจนได้รับความเสียหายยับ นอกจากนี้ ยังทำให้กระจกหน้า และด้านข้างของประตูซ้าย และขวาแตกอีกด้วย พร้อมด้วยกองเลือดจำนวนหนึ่งตกอยู่ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 3 นาย ได้นำตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ทราบชื่อ 

  • 1.จ.ส.อสัญญา พรหมเพชรนิล หัวหน้าชุด ซึ่งถูกแรงอัดระเบิดมีอาการแน่นหน้าอก และหูอื้อ 
  • 2.อส.ทพ.ไชยเชษฐ์ หลังคำ ซึ่งถูกสะเก็ดระเบิดที่บริเวณขา 
  • 3.อส.ทพ.สิริ เจียรนัย ซึ่งถูกสะเก็ดระเบิดที่บริเวณลำตัว และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา 

            ก่อนเกิดเหตุทราบว่า ได้นำกำลังรวม 3 นาย นั่งรถยนต์ 6 ล้อของสังกัดมารับน้ำมันเชื้อเพลิงที่กองบังคับการเฉพาะกิจนราธิวาส และในระหว่างขับรถกลับไปยังฐานซึ่งตั้งอยู่ อ.แว้ง เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ ได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนแฝงตัวอยู่ในละแวกจุดเกิดเหตุ ได้ใช้วิทยุสื่อสารจุดชนวนระเบิดที่ลอบนำไปใส่ไว้ในรถจักรยานยนต์บอมบ์ที่จอดทิ้งไว้ริมถนนใกล้ป้ายบอกเส้นทางเข้าไปยังโครงการฟาร์มตัวอย่าง จนเกิดระเบิดขึ้นในขณะที่รถยนต์กระบะ 6 ล้อผ่านมา ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บดังกล่าว










Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม