จุดจบ อิหม่ามก่อการร้าย
| |
เฉดหัวมือตะขอตาเดียว “อาบู ฮัมซา” ไปรับโทษก่อการร้าย
วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555 เวลา 11:20 น.
พร้อมพวก 4 คน ไปดำเนินคดีที่สหรัฐ หากศาลสหรัฐตัดสินว่ามีความผิดจริง อาจนอนคุกตลอดชีวิต
วันนี้ ( 6 ต.ค. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษว่า
ศาลอังกฤษมีคำสั่งส่งตัวนายอาบู ฮัมซา-มาสรี
ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายชาวอียิปต์ เจ้าของฉายา “มือตะขอตาเดียว”
พร้อมพรรคพวกอีก 4 คน ไปดำเนินคดีที่สหรัฐในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว
เมื่อวันศุกร์
นางเทเรซ่า เมย์ รมว.กระทรวงมหาดไทยอังกฤษ แถลงยืนยันการเนรเทศผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ประกอบด้วย นายอาบู ฮัมซา-มาสรี นายคาห์เหล็ด อัล-ฟาววาซ นายซาเย็ด ตาห์ลา อาห์ซาน นายอาเดล อับดุล และนายบาบาร์ อาห์หมัด ซึ่งถูกนำตัวขึ้นรถท่ามกลางการคุ้มกันอย่างแน่นหนาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกจากเรือนจำลอง ลาร์ติน ในแคว้นเวิร์สเตอร์เชียร์ ไปยังสนามบินมิลเดนฮอลล์ ของกองทัพอากาศอังกฤษ ในเขตซัฟโฟล์ค แคว้นอีสต์ แองเกลีย ทางตะวันออกของประเทศ เพื่อเดินทางไปยังศูนย์กักกันเมโทรโพลิแทน คอร์เรคชั่นนอล ในนครนิวยอร์ก ของสหรัฐ สถานที่คุมขังนักโทษรายสำคัญของสหรัฐ อาทิ นายวิคเตอร์ บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซีย และนายเจเรมี แฮมมอนด์ แฮกเกอร์ชื่อดังชาวอเมริกัน
ทั้งนี้ กระบวนการส่งตัวมีขึ้นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
หลังศาลสูงอังกฤษมีคำพิพากษา
ปฏิเสธคำร้องขอยืดระยะเวลาการอยู่ในเรือนจำที่อังกฤษของผู้ต้องหาทั้งหมด
ศาลสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป ( อียู ) ที่เมืองสตราสบูร์ก ของฝรั่งเศส มีคำตัดสินเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ให้นายฮัมซา-มาสรี และพรรคพวกอีก 4 คน มีความผิดตามคำฟ้องของรัฐบาลสหรัฐในคดีก่อการร้าย 11 กระทง ในจำนวนนี้รวมถึงการลักพาตัวชาวต่างชาติ 11 คนในเยเมน เมื่อปี 2541 การให้ความสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอัล-กออิดะห์ และการลักลอบจัดตั้งค่ายฝึกกองกำลังนักรบติดอาวุธในรัฐออริกอน ของสหรัฐ และให้ส่งตัวกลับไปรับโทษที่สหรัฐทันที ซึ่งหากศาลสหรัฐตัดสินว่ามีความผิดจริง ผู้ต้องหาทั้ง 5 คนอาจต้องรับโทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิต. | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555
จุดจบ อิหม่ามก่อการร้าย
จุดจบ “ยะยา การูมอ”
จุดจบ “ยะยา การูมอ” โจรก่อการร้าย เมื่อแก่แล้วไม่มีทางไป
| |
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - คณะ กรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ เผย “นายยะยา การูมอ” เพื่อนร่วมรบกับ “สะแปอิง บาซอ” เข้ารายงานตัว หลังหลบหนีอยู่ 8 ปี เพื่อต้องการยุติบทบาทในการต่อสู้ หลังจากได้ทบทวนจนเชื่อมั่นเจ้าหน้าที่จะให้ความยุติธรรม และไม่อยากให้บุตรต้องเสียโอกาสทางการศึกษาอีก วัน ที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจยะลา ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว หัวหน้าคณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงข่าวความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และรับรายงานตัวผู้แสดงตนเพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรง 1 ราย คือ นายยะยา การูมอ อายุ 48 ปี ซึ่งได้หลบหนีและออกจากขบวนการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชาย แดนภาคใต้ นานกว่า 8 ปี เป็นการแสดงความบริสุทธิ์ และต้องการยุติบทบาทในการต่อสู้ หันมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยสันติวิธี ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ พล.ต.ชริ นทร์ อมรแก้ว หัวหน้าคณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา ได้มีการติดต่อประสานงานเพื่อเข้ามาแสดงตน ทั้งกลุ่มบุคคล และตัวบุคคลที่ต้องการยุติบทบาทการต่อสู้กับรัฐด้วยวิธีรุนแรงอย่างต่อ เนื่อง และในขณะนี้ อยู่ในระหว่างการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ และเร่งทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในหลายๆ กลุ่ม เช่น การพูดคุยกับผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ เป็นต้น และ จากการติดตามสถานการณ์ทำให้ได้ทราบว่า ผู้ที่หลงผิดหลายคนต้องการที่จะยุติความเคลื่อนไหว เพราะถูกบังคับให้ก่อเหตุร้ายรายวัน เกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ตนเองกระทำเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ในขณะนี้อยู่ในระหว่างการตัดสินใจเข้ามาแสดงตน ในส่วนของผู้ที่ออกมาแสดงตนแล้ว จะเร่งรัดดำเนินการด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างเร็วที่สุด ทางคณะทำงานมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดว่าผู้ที่รายงานตนมีปัญหาเรื่อง กฎหมายในด้านใดบ้าง เช่น มีหมาย พ.ร.ก. หรือหมาย ป.วิอาญา หรือไม่ เพราะฉะนั้น แต่ละรายต้องมีการพูดคุยอย่างละเอียด เพื่อหาวิธีการในการให้ความช่วยเหลือ โดยเป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจที่จะให้ความช่วยเหลือ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีโอกาสในการกลับมาอยู่ในสังคม และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแนวทางสันติวิธีร่วมกับภาครัฐต่อไป ใน ส่วนของการรับรายงานตัวนี้ ทราบว่า นายยะยา การูมอ เคยเป็นแกนนำขบวนการก่อความไม่สงบ เคียงคู่กับนายสะแปอิง บาซอ แกนนำก่อความไม่สงบคนสำคัญระดับสั่งการในพื้นที่ ซึ่งนายยะยา การูมอ ไม่ได้เป็นผู้ปฎิบัติการ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลไม่มีคดีการก่อเหตุร้ายรายวันในพื้นที่ หรือหมาย ป.วิอาญา แต่อย่างใด นายยะยา การูมอ ทำหน้าที่ในการวางแผน หาแนวคิดวิธีการในการก่อเหตุในพื้นที่ ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐเพื่อ แก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ส่วน สาเหตุที่ นายยะยา การูมอ เข้ามารายงานตัวในครั้งนี้ เนื่องจากรับรู้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ว่าจะมีการอำนวยความยุติธรรมให้เป็นไป ตามกระบวนการกฎหมาย ผนวกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ถูกต้อง สร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเพื่อต้องการที่จะยุติความรุนแรงด้วยสันติวิธี ด้าน นายยะยา การูมอ เปิดเผยถึงสาเหตุที่ออกมาแสดงตนเพื่อยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงว่า เหตุที่เข้ามาแสดงตนในวันนี้มีเหตุผลใหญ่ๆ 3 ประการ คือ ต้องการที่จะดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติเหมือนอดีตที่ผ่านมา, มีความเชื่อมั่นว่ารัฐจะให้ความยุติธรรมแก่ตนเองและครอบครัว และไม่อยากให้บุตรสาวต้องเสียโอกาสทางการศึกษาเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากบุตรสาวคนโต และคนที่สองได้ทุนไปเรียนต่อที่อียิปต์ แต่ตนไม่สามารถลงนามรับรองหนังสือเดินทาง จึงไม่สามารถเดินทางไปเรียนต่อได้ ในส่วนของการเข้ามาแสดงตนนั้น ตนเองใช้เวลาคิดไตร่ตรองมาหลายปีแล้วว่าจะเข้ามารายงานตัวต่อทางการอย่างไร เพราะยังไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัย แต่ครั้งนี้ ตนเองเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทางราชการให้ความยุติธรรม และโอกาสในการกลับมาใช้ชีวิตตามปกติกับครอบครัว จึงได้ถือโอกาสเข้ามาแสดงตนต่อคณะกรรมการประสานงานและรณรงค์เพื่อยุติการ ต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนเองเชื่อ และมั่นใจว่า มีผู้ร่วมขบวนการจำนวนมากที่ต้องการจะเข้ามาแสดงตน เพียงแต่ไม่รู้ว่าตนเองจะสามารถดำเนินการทางใดได้บ้าง ส่วนทัศนคติที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ตนเองยอมรับว่าแต่เดิมยังไม่ค่อยมั่นใจในการทำงานของภาครัฐมากนัก แต่ช่วงหลังได้ทราบข้อมูลจากการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ถึงผลสำเร็จในการดำเนินงานตามโครงการนำคนกลับบ้านของแม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้เกิดความมั่นใจว่า ภาครัฐจะสามารถให้ความยุติธรรมแก่ตนเองได้ จึงเกิดความมั่นใจในความยุติธรรม ทำให้ตนเองต้องการยุติบทบาทการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรง และหันมาให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาค ใต้ต่อไป | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
ญิฮาด : ความหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
ญิฮาด : ความหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
| |
ญิฮาด : ความหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
คำถาม : อัสลามูอาลัยกุม ท่านช่วยกรุณาอธิบายแนวคิดที่แท้จริงและเจตนารมณ์ ของการญิฮาดในอิสลามได้หรือไม่? ญะซากุมุลลอฮูฆอยร็อน คำตอบ : อัลลอฮฺกล่าวว่า
((وَجَاهِدُوْا فِىْ اللّٰهِ حَقَّ جِهَادِهؕ هُوَ اجْتَبٰٮكُمْ وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِىْ الدِّيْنِ
مِنْ حَرَجٍؕ مِلَّةَ اَبِيْكُمْ اِبْرٰهِيْمَؕ هُوَ سَمّٰٮكُمُ الْمُسْلِمِيْنَ ۙ مِنْ قَبْلُ وَفِىْ هٰذَا لِيَكُوْنَ الرَّسُوْلُ شَهِيْدًا عَلَيْكُمْ وَتَكُوْنُوْا شُهَدَآءَ عَلَى النَّاسِۖۚ فَاَقِيْمُوْا الصَّلٰوةَ وَاٰتُوْا الزَّكٰوةَ وَاعْتَصِمُوْا بِاللّٰهِؕ هُوَ مَوْلٰٮكُمْۚ فَنِعْمَ الْمَوْلٰى وَنِعْمَ النَّصِيْرُ)) “และ จงต่อสู้เพื่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่แท้จริงเพื่อพระองค์ พระองค์ทรงคัดเลือกพวกเจ้า และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา(ที่ไม่ ลำบาก) คือศาสนาของอิบรอฮีม บรรพบุรุษของพวกเจ้า พระองค์ทรงเรียกชื่อพวกเจ้าว่ามุสลิมีน ในคัมภีร์ก่อน ๆ และในอัล กุรอานเพื่อร่อซู้ลจะได้เป็นพยานต่อพวกเจ้า และพวกเจ้าจะได้เป็นพยานต่อมนุษย์ทั่วไป ดังนั้นพวกเจ้าจงดำรงการละหมาด และบริจาคซะกาต และจงยึดมั่นต่ออัลลอฮ์ พระองค์เป็นผู้คุ้มครองพวกเจ้า เพราะพระองค์คือผู้คุ้มครองที่ดีเลิศ และผู้ทรงช่วยเหลือที่ดีเยี่ยม” (อัลฮัจญ์ 22: 78)
การญิฮาดเป็นสิ่งที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุดและเป็นแง่มุมที่ถูกกล่าวหามากที่สุดของอิสลาม มุสลิมบางคนได้ใช้ประโยชน์และใช้แนวคิดนี้ในทางที่ผิด โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตัวเอง ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจำนวนมากซึ่งไม่เข้าใจสิ่งนี้ได้ตีความเรื่องนี้ผิดๆโดย หวังทำลายเกียรติของอิสลามและมุสลิม
การญิฮาดคืออะไร?
คำว่าญิฮาดไม่ได้แปลว่า “สงครามศักดิ์สิทธิ์” แต่หมายถึง “พยายามอย่างหนัก” หรือ “ดิ้นรนโดยสุดกำลัง” ส่วนคำว่าสงครามอัลกุรอานใช้คำว่า ฮัรบฺ หรือ กิตาล การ
ญิฮาดหมายถึง
ความจริงจังและต่อสู้อย่างบริสุทธิ์ใจในระดับตัวเองเช่นเดียวกับระดับสังคม
ญิฮาดคือความพยายามทำในสิ่งที่ดีและขจัดความอยุติธรรม,การถูกกดขี่และความ ชั่วร้ายออกจากสังคม การต่อสู้นี้ควรต่อสู้ในด้านจิตวิญญาณ เช่นเดียวกับด้านสังคม เศรษกิจ และการเมือง การญิฮาดนั้นเป็นการทำงานหนักเพื่อกระทำสิ่งที่ถูกต้อง ในอัลกุรอานคำนี้นั้นถูกนำมาใช้ในรูปแบบที่ต่างกัน 33 ครั้ง โดยมักจะมาพร้อมกับแนวคิดต่างๆของอัลกุรอาน เช่น การศรัทธา การเตาบัตตัว การงานที่ดีและการอพยพ การญิฮาดคือการปกป้องความศรัทธาและสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ การญิฮาดนั้นไม่ใช่การทำสงครามเสมอไป แม้ว่ามันสามารถทำในรูปแบบของสงคราม อิสลามป็นศาสนาแห่งสันติภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิสลามจะยอมรับการถูกกดขี่ อิสลามสอนให้เราดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างสุดความสามารถเพื่อขจัดความ ตึงเครียดและความขัดแย้ง อิสลามส่งเสริมวิธีการที่ไม่รุนแรงเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูป แท้ที่จริงแล้ว อิสลามเรียกร้องให้แต่ละคนขจัดความชั่วด้วยสันติวิธีโดยปราศจากการใช้ความ รุนแรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประวัติศาสตร์อิสลามนับจากท่านนบี(ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม)ยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน มุสลิมส่วนใหญ่ได้ต่อต้านการกดขี่และต่อสู้เพื่อเสรีภาพในวิธีที่ไม่รุนแรงและท่าทีที่สมานฉันท์ อิสลามสอนจริยธรรมที่เหมาะสมในสภาวะของสงครามอีกด้วย การทำสงครามเป็นที่อนุญาตในอิสลามก็ต่อเมื่อสันติวิธีอื่นๆ เช่น การสนทนา การเจรจาและการทำสนธิสัญญานั้นไม่เป็นผล การทำสงครามคือสิ่งสุดท้ายและควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ วัตถุประสงค์ของการญิฮาดนั้นไม่ใช่เพื่อการเปลี่ยนศาสนาคนด้วยการใช้แรง บังคับ หรือเพื่อตั้งอาณานิคม หรือเพื่อเข้ายึดครองที่ดินหรือทรัพย์สิน หรือสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง วัตถุ ประสงค์ของญิฮาดเป็นเรื่องพื้นฐานนั่นคือ ปกป้องชีวิต ทรัพย์สิน ดินแดน เกียรติยศและเสรีภาพของคนคนหนึ่ง เช่นเดียวกับการป้องกันผู้อื่นจากความอยุติธรรมและการกดขี่
กฎพื้นฐานของการทำสงครามในอิสลาม คือ
อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า :
((وَقَاتِلُوْا فِىْ سَبِيْلِ اللّٰهِ الَّذِيْنَ يُقَاتِلُوْنَكُمْ وَلَا تَعْتَدُوْاؕ اِنَّ اللّٰهَ لَا يُحِبُّ
الْمُعْتَدِيْنَ)) “และพวกเจ้าจงต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ ต่อบรรดาผู้ที่ทำร้ายพวกเจ้า และจงอย่ารุกราน แท้จริง อัลลอฮ์ไม่ทรงชอบบรรดาผู้รุกราน” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2: 190)
((الشَّهْرُ الْحَـرَامُ بِالشَّهْرِ الْحَـرَامِ وَالْحُرُمٰتُ قِصَاصٌؕ فَمَنِ اعْتَدٰى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُوْا عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدٰى عَلَيْكُمْ وَاتَّقُوْا اللّٰهَ وَاعْلَمُوْٓا اَنَّ اللّٰهَ مَعَ الْمُتَّقِيْنَ))
“เดือน
ที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม และบรรดาสิ่งจำเป็นต้องเคารพนั้น
ก็ย่อม มีการตอบโต้เยี่ยงเดียวกัน ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า
ก็จงละเมิดต่อเขา เยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเจ้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด
และจงรู้ไว้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย” ( อัลบะเกาะเราะฮฺ 2: 194)
ญิฮาดนั้นไม่ใช่การก่อการร้าย
จำเป็นต้องตอกย้ำว่าการก่อการร้ายที่กระทำต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์
ไม่ว่าจะผ่านการรุกรานหรือวิธีการพลีชีพ
สิ่งเหล่านี้นั้นไม่เป็นที่อนุญาตในอิสลาม
อิสลามส่งเสริมให้ผู้ที่กดขี่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตน และ
สั่งใช้มุสลิมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่และเผชิญความเจ็บปวด
แต่กระนั้นอิสลามไม่อนุญาต ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆก็ตาม
กระทำกับพลเรือนผู้บริสุทธิ์ การก่อการร้ายไม่ใช่การญิฮาดแต่มันคือ ฟะสาด (ความเสียหาย) เป็น
สิ่งตรงข้ามกับคำสอนของศาสนาอิสลาม
มีบางคนที่ใช้การอ้างเหตุผลที่บิดเบี้ยวเพื่อแสดงเหตุผลของการก่อการ้ายต่อ
ต้นเหตุที่มาจากพวกเขา แต่มันหาใช่เหตุผลไม่ อัลลอฮฺกล่าวว่า
((وَاِذَا قِيْلَ لَهُمْ لَا تُفْسِدُوْا فِىْ الْاَرْضِۙ قَالُوْٓا اِنَّمَا نَحْنُ مُصْلِحُوْنَ ، اَلَآ اِنَّهُمْ هُمُ الْمُفْسِدُوْنَ وَلٰـكِنْ لَّا يَشْعُرُوْنَ))
“เมื่อใดก็ตามที่ได้มีการบอกกับพวกเขาว่า จงอย่าสร้างความเสียหาย ขึ้นในแผ่นดิน พวกเขาจะตอบว่า แท้จริงแล้ว เราเป็นผู้ฟื้นฟูต่างหาก จงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริง พวกเขาเป็นผู้ก่อความเสียหาย แต่พวกเขาหาได้ตระหนักไม่” (อัลบะเกาะเราะฮฺ 2: 11-12)
อิสลามต้องการสถาปนาความเป็นระเบียบของสังคมโลก ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมสามารถดำรงชีวิตอยู่ในความยุติธรรมในสันติภาพ
ความสามัคคีและความมุ่งหมายที่ดี
อิสลามได้มอบแนวทางแก่ผู้ดำเนินตามเพื่อค้นหาความสงบสุขในการดำรงชีวิตส่วน
ตัวและสังคมของพวกเขา
แต่คำสั่งนั้นยังได้กล่าวแก่พวกเขาถึงวิธีการแผ่ขยายความตั้งใจดีบนพื้นฐาน
ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
มุสลิมทำงานภายใต้หลักการเหล่านี้มานานหลายศตวรรษ
ผู้คนที่มีศรัทธาหลากหลายอาศัยอยู่ท่ามกลางพวกเขา สังคมอิสลามเป็นที่รู้จักในเรื่องความอดทน ความเอื้อเฟื้อและมีมนุษยธรรม
ในสังคมสมัยใหม่ของเรา เราอาศัยอยู่ในหมู่สังคมโลกาภิวัฒน์ ซึ่ง
ผู้ไม่ใช่มุสลิมอยู่ร่วมกับมุสลิมในประเทศมุสลิม
และมุสลิมอยู่ร่วมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมซึ่ง
ประกอบด้วยผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นส่วนใหญ่
เป็นหน้าที่ของเราที่จะนำความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในหมู่พวกเราด้วยกัน
เอง ทำงานเพื่อสันติภาพและความยุติธรรมแก่ทุกคน และร่วมมือกับผู้อื่นในเรื่องของความดีและคุณธรรมเพื่อหยุดยั้งการก่อการร้าย ความก้าวร้าวและความรุนแรงที่กระทำต่อผู้บริสุทธิ์ นี่คือการญิฮาดของเราในวันนี้
................................... อาลี ฮาซีม ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องญิฮาด
ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข
ประเด็นที่หนึ่ง
: นิยามและความหมาย
ในด้านภาษา "ญิฮาด" เป็นภาษาอาหรับที่มาจากคำว่า "ญะฮฺดุน" ซึ่งหมายถึง "การทำอย่างยากลำบาก, การปฏิบัติย่างเต็มที่ด้วยความเหนื่อยล้า" หรือมาจากคำว่า "ญุฮฺดุน" ที่หมายถึงความพยายามอย่างจริงจังเพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ คำว่า “มุญาฮิด” หรือ “ มุญาฮิดีน “ ก็คือคนที่ดิ้นรนต่อสู้ในหนทางของพระเจ้าและทุ่มเทความพยายามที่ทำให้เขา ต้องเหนื่อยล้าเพื่อการนั้น ในด้านวิชาการ ญิฮาดหมายถึงการทุ่มเทสรรพกำลังทั้งหลายเพื่อเทิดทูนคำสั่งแห่งอัลลอฮฺ หรือการใช้ความพยายามในหนทางของอัลลอฮฺเพื่อบรรลุถึงความดี และการป้องกันความชั่ว ญิฮาดสามารถ ปฏิบัติได้ในหลายๆ ด้าน โดยวิธีการต่างๆ เช่น การต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง การต่อสู้กับมารร้าย ความยากจน การไม่รู้หนังสือ โรคภัยไข้เจ็บ และการต่อสู้กับพลังความชั่วในโลกทั้งหมด
นักวิชาการมุสลิมแบ่งการญิฮาดออกเป็น
4 ระดับด้วยกัน
1. ญิฮาดโดยหัวใจ
หมายถึง การต่อสู้กับตัณหาราคะในตัวเอง หรือการทำจิตใจของตัวเองให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
2. ญิฮาดโดยวาจา
หมาย ถึง การชักชวนคนให้หันมายอมรับแนวทางที่ถูกต้องและให้เขาหลีกเลี่ยงจากการกระทำ
ความชั่ว แบบฉบับของท่านศาสนทูตได้แสดงให้เห็นว่าท่านชอบวิธีนี้มากกว่าวิธีการใช้
กำลังหรือการบังคับ
3. ญิฮาดโดยมือ
หมายถึง การสนับสนุนความถูกต้อง และแก้ไขสิ่งที่ผิดโดยใช้กำลังทางร่างกาย
4. ญิฮาดโดยอาวุธ
ในฐานะที่สงครามเป็นวิธีการสุดท้ายในการตัดสินข้อพิพาทระหว่างมนุษย์
อิสลามจึงอนุญาตให้มุสลิมตอบโต้การกดขี่ได้
ในกรอบที่กว้างไปอีก
อาจแบ่งการญิฮาดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ :
1) ญิฮาดน้อย คือ การต่อสู้กับศัตรู และ 2) ญิฮาดใหญ่ คือ การปฏิบัติตามคำบัญชาของอัลลอฮฺ ด้วยการทำความดีและละเว้นความชั่ว
แม้กระนั้นก็ตาม
ในส่วนของญิฮาดน้อย หรือการต่อสู้กับศัตรู อัล-กุรอานก็มักจะใช้คำว่า
“กิตาล” และ “ หัรบฺ “ ซึ่ง หมายถึง การสู้รบ เพื่อบ่งบอกถึงการทำศึกสงคราม
ท่านอิบนุลก็อยยิมได้แบ่งการญิฮาดออกเป็น 5 ประเภทคือ
1. การญิฮาดกับอารมณ์ของตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการญิฮาดอื่นๆทั้งหมด มี 4 ระดับคือ
ก. ญิฮาดเพื่อการศึกษาและเรียนรู้
ข. ญิฮาดเพื่อปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนรู้
ค. ญิฮาดเพื่อเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้ยังผู้อื่น
ง. ญิฮาดเพื่อให้อดทนต่อความยากลำบากต่างๆในหนทางดังกล่าว
2. การญิฮาดกับชัยตอน
3. การญิฮาดกับผู้ปฏิเสธ
4. การญิฮาดกับมุนาฟิก
5. การญิฮาดกับมุสลิมผู้ประพฤติผิดหลักศาสนา
ในกรณีการญิฮาดกับผู้ปฏิเสธนั้นสามารถทำได้หลายระดับ
และหลายวิธี เช่น การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลาม
การตอบโต้ และชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือน การเชิญชวนด้วยวิทยปัญญา
และการทำสงครามต่อสู้กับการถูกกดขี่ข่มเหง
ประเด็นที่สอง
: ญิฮาดกับสงคราม
จาก คำอธิบายข้างต้นทำให้เห็นได้ว่าการทำสงครามเป็นรูปแบบหนึ่งในหลายรูปแบบของ การญิฮาดซึ่งมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมแห่งอัลลอฮฺใน สังคม และวิถีชีวิตมุสลิม และการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวอาจสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งการทำ สงครามแต่อย่างใด คำ ญิฮาด จึงมีความหมายกว้างกว่าสงครามมาก ญิฮาดไม่จำเป็นจะต้องเป็นสงคราม และสงครามก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นญิฮาด เพราะสงครามในอิสลามต้องอยู่ภายใต้จุดประสงค์ กฎเกณฑ์ เงื่อนไข และจรรยาบรรณอันสูงส่ง
ประเด็นที่สาม
: การบัญญัติเรื่องการทำสงคราม
ท่านนบี (ซล.) ได้เรียกร้องเชิญชวนประชาชนสู่อิสลามตลอดระยะเวลา13ปี ที่นครมักกะฮฺด้วยสันติวิธี ท่านไม่เคยตอบโต้ และไม่เคยใช้ความรุนแรงใดๆทั้งสิ้น ครั้นเมื่อท่านอพยพมายังนครมะดีนะฮฺ การทำสงครามจึงได้ถูกบัญญัติขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ทำสงครามเพื่อป้องกันการรุกรานดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า
“สำหรับบรรดาผู้ที่ถูกโจมตีนั้นได้รับอนุญาตให้ต่อสู้ได้
เพราะพวกเขาถูกข่มเหง” (22/39)
และอีกโองการหนึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสไว้
ความว่า
“จงต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺต่อบรรดาผู้ที่ต่อสู้สูเจ้า
แต่จงอย่ารุกราน เพราะอัลลอฮฺไม่ทรงรักผู้รุกราน” (2/190)
ขั้นตอนที่สอง
ทำสงครามกับศัตรู ผู้รุกรานได้ทุกเมื่อ ยกเว้นเดือนที่ฮะรอมดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า
“ครั้นเมื่อบรรดาเดือนต้องห้ามเหล่านั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ก็จงทำสงครามกับมุชริกีนเหล่านั้น ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบเขา”
(9/5)
ขั้นตอนที่สาม
ทำสงครามกับศัตรูผู้รุกรานโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า
“และ
จงประหัตประหารพวกเขา ณ
ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขา
และจงขับไล่พวกเขาออกจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออก
และการก่อความวุ่นวายนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการประหัตประหารเสียอีก”
(2/191)
ประเด็นที่สี่
:จุดประสงค์ของการทำสงคราม
สงคราม เป็นที่อนุมัติในอิสลามแต่เฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีการสันติอย่างเช่น การพูดคุย การเจรจาและการทำสัญญาได้แล้วเท่านั้น สงครามจะต้องเป็นวิธีการสุดท้ายและจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด
สงคราม
ในอิสลามมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับคนให้เปลี่ยนศาสนาหรือล่าอาณานิคม
หรือแสวงหาดินแดน ความมั่งคั่งและความยิ่งใหญ่ แต่มันมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อป้องกันชีวิต
ทรัพย์สิน ดินแดน เกียรติยศและเสรีภาพของตนเช่นเดียวกับการป้องกันคนอื่นให้พ้นจากความไม่เป็น
ธรรมและการกดขี่
การทำสงครามในอิสลามจะต้องทำเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
1. ตอบโต้ความอยุติธรรม และการรุกราน ปกป้อง และพิทักษ์ชีวิต ครอบครัว ทรัพย์สิน ศาสนา และมาตุภูมิ 2. ปกป้องเสรีภาพในด้านการศรัทธา และปฏิบัติตามหลักศาสนา ที่บรรดาผู้รุกรานพยายามใส่ร้าย หรือกีดขวางมิให้มีเสรีภาพด้านความคิด และการนับถือศาสนา 3. พิทักษ์การเผยแผ่อิสลามที่ค้ำชูความเมตตา ความสงบสันติแก่มนุษยชาติ ให้แพร่กระจายอย่างทั่วถึงแก่มนุษย์ทั้งมวล 4. ให้บทเรียนแก่ผู้ละเมิดสัญญาหรือศรัทธา หรือผู้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับคำสั่งของอัลลอฮฺ และปฏิเสธความยุติธรรม การประนีประนอม 5. ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถูกกดขี่ ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่แห่งใด ปลดปล่อย และปกป้องเขาจากการรุกรานของเหล่าผู้ถูกกดขี่
จากวัตถุประสงค์ข้างต้นนั้นสามารถแยกประเภทของสงครามในอิสลามออกเป็น
3 ประเภทด้วยกัน คือ
1) สงครามป้องกัน
ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อศัตรูของมุสลิมโจมตีศาสนา เกียรติยศ
ทรัพย์สินและดินแดน เป็นต้น
2) สงครามปลดปล่อย
ซึ่งทำเพื่อปลดปล่อยบรรดาผู้ถูกกดขี่ เช่น ทาส สงครามประเภทนี้เป็นสิ่งปกติในยุคแรกของอิสลาม
3) สงคราม
ที่เริ่มต้นบุกก่อน ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อมุสลิมรู้แน่ชัดว่ามีการทรยศต่อสัญญาสันติภาพที่ทำไว้
กับศัตรู เมื่อศัตรูมีแผนที่จะโจมตีมุสลิมอย่างจริงจัง
ประเด็นที่ห้า
:เงื่อนไขของการทำสงคราม
ญิฮาดที่หมายถึงการต่อสู้และการทำสงคราม จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ถูกกดขี่และถูกขับไล่อย่างอยุติธรรม
2. ถูกลิดรอนสิทธิด้านศาสนา
3. จะต้องญิฮาดเพื่อนำสิทธิในข้อหนึ่งและสองกลับคืน
4. จะต้องไม่ทำสงครามกับกลุ่มผู้ปฏิเสธ 3 ประเภทคือ
ก. อัลมุสตะอฺมัน
ได้แก่กลุ่มผู้ปฏิเสธที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำธุระในรัฐอิสลามชั่วคราว
เช่น นักการทูต พ่อค้า นักธุรกิจ และนักศึกษา เป็นต้น
ข. อัลมุอาฮัด
ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิเสธที่มีสัญญาสงบศึก หรือมีสัญญาผูกพันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ค. อัซซิมมี่
ได้แก่กลุ่มผู้ปฏิเสธที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม และจ่ายยิซยะฮฺให้แก่รัฐอิสลาม
5. อยู่ภายใต้จริยธรรมในการทำสงคราม
เช่น ต่อสู้กับบรรดาผู้เป็นศัตรู แต่ไม่เป็นฝ่ายเริ่มการเป็นศัตรูก่อน
แท้จริง
"อัลลอฮฺไม่ทรงรักผู้รุกราน"(ดูอัลกุรอาน
2:190)
ไม่ทำลายศพ
ไม่ฆ่าเด็กๆ คนแก่ ผู้หญิง และนักบวช ไม่ตัด หรือเผาทำลายต้นไม้ที่ออกผล
ไม่ฆ่าสัตว์ เช่น แกะ วัว หรืออูฐ นอกจากเพื่อเป็นอาหาร และปฏิบัติต่อเชลยสงครามด้วยดี
ประเด็นที่หก
: ญิฮาดกับการก่อการร้าย
เพราะฉะนั้นสงครามใดในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นที่ภาคใต้ของไทยหรือต่างประเทศ หากไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไข และกฎเกณฑ์ดังกล่าว คือการก่อการร้าย(ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐหรือผู้ก่อการ) ญิฮาดจึงมิใช่การก่อการร้าย อิสลามไม่อนุมัติการก่อการร้ายต่อพลเรือนผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะโดยการรุกรานหรือโดยวิธีการพลีชีพ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดก็ตาม อิสลามส่งเสริมผู้ถูกกดขี่ให้ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเอง และสั่งมุสลิมให้ช่วยเหลือคนที่ถูกกดขี่ และได้รับความเดือดร้อนภายใต้เงื่อนไขของการญิฮาด การก่อการร้ายมิใช่การญิฮาด มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า "ฟะซาด" การก่อความเสียหาย และความหายนะต่อสังคมโลก ซึ่งขัดกับคำสอนของอิสลาม
ประเด็นที่เจ็ด
: กฎพื้นฐานของการทำสงคราม
กฎพื้นฐานของสงครามในอิสลามมีดังนี้ :
1) จะต้องเข้มแข็งเพื่อที่ศัตรูของสูเจ้าจะได้เกรงกลัวสูเจ้าและไม่โจมตีสูเจ้า
2) จงอย่าเริ่มต้นการเป็นศัตรูก่อน
แต่จงทำงานเพื่อสันติภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
3) จงต่อสู้กับคนที่ต่อสู้สูเจ้า
ไม่มีการลงโทษแบบเหมารวม จะต้องไม่ทำร้ายคนที่ไม่ได้เข้าร่วมสงครามและจะต้องไม่ใช้อาวุธทำลายร้ายแรง
4) ยุติการเป็นศัตรูทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งมีแนวโน้มที่จะยอมรับสันติภาพ
5) รักษาสัญญาและข้อตกลงตราบใดที่ศัตรูยังปฏิบัติตามสัญญา
ประเด็นที่แปด
:การแบ่งประเภทของดินแดน
นักนิติศาสตร์อิสลามได้แบ่งดินแดนในโลกออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน 1) “แดนสันติ” หมายถึงดินแดนที่ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นมุสลิม และมีระบอบการปกครองและกฎหมายอิสลามเป็นบรรทัดฐาน 2) “แดนข้าศึก” หมายถึงดินแดนที่มีการประกาศสงครามและการต่อสู้ระหว่างมุสลิมกับศัตรู 3) “แดนสัญญาพันธไมตรี” คือ ดินแดนของรัฐที่ประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่มุสลิม แต่มีสนธิสัญญาผูกพันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
การจัดประเภทดังกล่าวไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในอิสลามตั้งแต่ต้น
แต่เกิดขึ้นจากสภาพการณ์ในสมัยนั้นเป็นปัจจัยหลัก
กล่าวคือ
ในขณะที่อาณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายออกไป โลกอิสลาม
ต้องเผชิญกับการสู้รบกับข้าศึกผู้รุกรานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ในขณะเดียวกันก็จะต้องปลดแอกดินแดนที่ประชากรได้รับการกดขี่ข่มเหงโดยผู้ใช้
อำนาจไม่เป็นธรรม ต่อเงื่อนไขดังกล่าว
เจ้าเมืองต่างๆ ที่นิยมใช้อำนาจเผด็จการ
จึงจัดเตรียมกำลังรบเพื่อทำศึกกับรัฐอิสลาม
โดยหวังจะบดขยี้อิสลามให้สิ้นไป
ทั้งนี้เป็นเพราะมุสลิมมีนโยบายที่จะปลดแอกประชากรที่ถูกกดขี่ข่มเหง
โดยจะธำรงรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพแห่งมนุษย์
และวางรากฐานแห่งความเสมอภาคระหว่างบุคคล
ซึ่งนโยบายดังกล่าวย่อมขัดกับนโยบายแสวงหาอำนาจเพื่อความยิ่งใหญ่ของบุคคล
และของนครรัฐ
ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของระเบียบโลกในยุคกลาง
บรรดาผู้ปกครองทั้งหลายในยุคนั้นจึงได้โจมตีดินแดนมุสลิมจากทุกสารทิศ
และมุสลิมก็ต้องต่อต้านป้องกันตนเองในขอบข่ายแห่งบทบัญญัติอิสลาม
อย่างไรก็ตาม
การป้องกันตัวได้เปลี่ยนไปอีกแบบหนึ่ง แทนที่ฝ่ายมุสลิมจะเป็นฝ่ายตั้งรับเฉยๆ
ก็เปลี่ยนเป็นยกกำลังออกไปปราบปรามรัฐที่ฝักใฝ่ในการขยายอำนาจแบบไม่หยุด
หย่อน ตามนัยที่นักนิติศาสตร์อิสลามได้ให้คำจำกัดความของคำว่า
“แดนสันติ” และ “แดนข้าศึก” นั้น ท่านอบูหะนีฟะฮฺ (d.150/767)
ได้ให้นิยามคำว่า “กลุ่มชนที่ไม่ใช่มุสลิม” ไว้ว่า จะต้องประกอบด้วยลักษณะ
3 ประการอย่างครบถ้วน หากยังขาดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดินแดนแห่งกลุ่มชนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็น
“แดนข้าศึก” ลักษณะดังกล่าว ได้แก่
1. มีการฝักใฝ่หมกมุ่นในพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหลักการแห่งอิสลามได้โดยเสรี
เช่น การค้าประเวณี การดื่มสุรา การพนัน และการกระทำที่ต้องห้ามอื่น
ๆ
2. มีพรมแดนติดต่อกับรัฐอิสลาม
และมีท่าทีหรือพฤติกรรมที่ส่อว่าอาจโจมตีรุกรานรัฐอิสลามได้ทุกขณะ
หรือมีการปิดกั้นทางสัญจรมิให้มุสลิมใช้ผ่าน ตามความหมายของอบุหะนีฟะฮฺ
เขตทะเลทรายที่ประชิดพรมแดนรัฐมุสลิมจะต้องเป็นแดนสงบด้วย
ในทำนองเดียวกัน น่านน้ำนอกชายฝั่งทะเลของรัฐอิสลามออกไปเท่าที่จะใช้สัญจรไปมาได้ก็จะต้อง
ไม่อยู่ใน “แดนข้าศึก” ด้วย
3. สภาพการณ์ที่ทำให้มุสลิมหรือผู้อยู่ในปกครองไม่อาจอยู่ได้โดยมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
(เว้นแต่ฝ่ายปกครองแห่งดินแดนนั้นจะให้หลักประกันความปลอดภัยอย่างเป็นทางการและเชื่อถือได้)
ลักษณะทั้ง
3 ประการจะต้องปรากฏอย่างครบถ้วน จึงจะถือว่าแดนนั้นเป็น “แดนข้าศึก”
ได้ จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไปไม่ได้ เช่นในกรณีที่รัฐใดไม่ถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์แห่งอิสลาม
แต่มิได้สั่งห้ามมุสลิมให้เปลี่ยนความศรัทธา รัฐนั้นก็ยังไม่นับว่าเป็น
“แดนข้าศึก”
อัล-กัสซานี
ได้ขยายความในข้ออธิบายของอบูหะนีฟะฮฺเกี่ยวกับคุณลักษณะดังกล่าวเพิ่มเติมว่า
ในกรณีที่จะกำหนดให้รัฐใดเป็นแดนข้าศึกนั้น
ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของความปลอดภัยต่อพลเมืองมุสลิมด้วย กล่าวคือ
หากรัฐใดที่ให้ความปลอดภัยแก่พลเมืองที่มิใช่มุสลิม
แต่ไม่ให้ความปลอดภัยแก่มุสลิม
รัฐนั้นถือว่าเป็นรัฐที่ไม่ใช่รัฐอิสลาม
ทั้งนี้โดยถือเกณฑ์แห่งความไม่ปลอดภัยและความหวาดผวาเป็นเกณฑ์สำคัญ
ไม่ใช่ถือความแตกต่างทางศาสนาแต่อย่างใด ในทางกลับ
กัน หากกรณีที่พลเมืองมุสลิมได้รับการคุ้มครอง
โดยไม่มีความหวาดกลัวใดๆ
และมีการรักษากฎหมายอย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรม
ก็ไม่ถือว่ารัฐนั้นเป็น “แดนข้าศึก” อย่างไรก็ตาม
ก็ต้องคำนึงถึงอีกว่ารัฐนั้นจะยังคงรักษาอธิปไตยไว้ให้รอดพ้นจากรัฐอันธพาล
(Rogue State)
ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกันได้มั่นคงเพียงใดด้วย
คำจำกัดความดังกล่าวได้เน้นถึงภัยจากการรุกรานข่มเหงเป็นข้อใหญ่
ทั้งนี้เป็นเพราะในดินแดนเช่นนี้ มุสลิมย่อมรู้สึกหวั่นวิตกต่อภัยที่จะเกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินอยู่ตลอดเวลา
ฉะนั้นหากมีสัมพันธไมตรีระหว่างรัฐที่จะประกันความปลอดภัยแก่พลเมืองได้เท่า
เทียมกัน ถึงแม้หลักประกันนี้จะมิได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
อบูหะนีฟะฮฺก็ไม่ถือว่ารัฐนั้นเป็นแดนข้าศึก อัล-กัสซานี ได้ย้ำถึงข้อนี้ว่า
“เพียงแต่สงสัยหรือคิดว่าอาจเป็นไปได้ ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่ารัฐนั้นเป็นแดนข้าศึก”
ดังนั้น จากคำนิยามข้างต้นพอจะสรุปความเห็นของนักนิติศาสตร์อิสลามได้เป็นสองนัย
ในกรณีที่จะวินิจฉัยว่ารัฐใดเป็นแดนข้าศึก
1. หากกฎหมายข้อบังคับต่าง
ๆ เป็นไปตามหลักการแห่งอิสลาม รัฐนั้นก็ถือเป็นแดนสันติ มิฉะนั้นก็ถือว่าไม่ใช่แดนสันติ
แม้รัฐนั้นจะเรียกตนเองว่าเป็นรัฐอิสลามก็ตาม
2. หากความเป็นมุสลิมของผู้ใดดำรงอยู่ได้ด้วยความปลอดภัยในรัฐใด
ก็ถือว่ารัฐนั้นเป็นแดนสันติ มิเช่นนั้นจะถือเป็นแดนศัตรู
อย่างไรก็ตาม
มาญิด คาดูรี นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านโลกมุสลิมได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ
สงครามและสันติภาพในอิสลาม หน้า 214 ว่า อิสลามได้เปลี่ยนแนวคิดแบบเก่าของชาวอาหรับในเรื่อง
ดารุล-ฮัรบฺ หรือ แดนข้าศึก มาเป็น ดารุล-อิสลาม หรือ แดนแห่งสันติ
แล้ว ซึ่งพยายามที่จะนำเสนอศาสนาอิสลามให้แก่ทุกคนในโลก
ความสำเร็จอันดับแรกสุดคือ
การรวมเอาชาติต่างๆ ที่ยอมรับนับถืออิสลามมาอยู่ภายในกลุ่มของตนเอง
เพื่อว่าจะได้เลิกมีสงครามกลางเมืองเสียที และยังดำเนินต่อไปเพื่อสร้างสันติภาพระหว่างประชาชาติอิสลามต่างๆ
อิสลามมุ่งที่จะนำเอาความสงบเช่นนั้นมาสู่โลก ดังนั้น ความมุ่งหมายของญิฮาด
ก็คือ สันติภาพในโลก และนั่นก็คือผลของมันในขั้นสุดท้าย
| |
http://narater2010.blogspot.com/
|
ฆ่าไม่เลือก’ -----ชายแดนใต้
ฆ่าไม่เลือกที่ชายแดนใต้
| |
ถอดรหัสปริศนา ‘ฆ่าไม่เลือก’ -----ชายแดนใต้การก่อเหตุบุกขึ้นไปบนสถานีอนามัยบ้านบราโอ ต.ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ยิงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เสียชีวิตสองคน และล่าสุดกรณียิงนายปิยะพงศ์ เพชรเงิน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เสียชีวิตระหว่างเดินทางจาก จ.ยะลากลับมายังจ.ปัตตานี สร้างความตกตะลึงไม่น้อย ด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักศึกษาเป็นเหยื่อความรุนแรงซึ่งแทบไม่ปรากฏ ให้เห็นเลย
พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 อธิบาย
ปรากฏการณ์นี้จากมุมมองของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงว่า การก่อเหตุเช่นนี้
ขบวนการใต้ดินเปลี่ยนเป้าหมาย หลังจากพ่ายแพ้ยุทธการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ ใช้
ความโหดเหี้ยม เพื่อให้เกิดกระแสข่าว เพราะหากต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ต่อไป
สื่อจะให้ความสำคัญน้อยลง จึงหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ
เช่นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักศึกษา เพื่อให้สื่อสนใจ
คำอธิบายดังกล่าว อาจทำให้ภาพสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้น่าสะพรึงกลัว
ในกรณีนี้ คำอธิบายจากมุมมองจากองค์ความรู้อื่นๆ
และจากข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อมิให้ภาพสถานการณ์ถูกลดทอนหรือขยายไปกว่าความเป็นจริง
ปัญญศักดิ์ โสภณวสุ นักวิจัยโครงการความมั่นคงศึกษา ผู้เสนองานวิจัยเรื่อง ‘สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : วาทกรรมที่มีนัยทางศาสนา' ซึ่งมาจากการศึกษาหนังสือ เบอร์ญิฮาด ดิ ปัตตานี หรือ การต่อสู้ที่ปัตตานี หนังสือซึ่งพบครั้งแรกจากศพผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ ซึ่งต่อมามีผู้เรียกหนังสือเล่มนี้ว่า ‘คัมภีร์ปฏิวัติ ของนักต่อสู้เพื่อฟื้นฟูรัฐปัตตานี'
งานวิจัยดังกล่าวของ ปัญญศักดิ์ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการ ‘ถอดรหัส' แนว
คิด วิธีการของขบวนการใต้ดิน และจากประสบการณ์ในการเฝ้าแกะรอยความคิด
ผ่านวิธีการก่อเหตุ ผู้ตกเป็นเป้าหมาย เอกสาร ใบปลิวต่างๆ ที่พบ
ทำให้เขาฟันธงในทันทีว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความสะเปะสะปะ
แต่เป็นความจงใจเลือก ‘เหยื่อ' ซึ่งมีนัยสำคัญเพื่อการส่งสาร เป็นสารที่สร้างความกลัว และรักษาอิทธิพลของกลุ่มใต้ดินเอาไว้
ปัญญศักดิ์ กล่าวอีกว่า การทำความเข้าใจแนวคิดในปฏิบัติการของขบวนการใต้ดิน
จำเป็นต้องแยกพิจารณาเป็นพื้นที่ เพราะแต่ละแห่ง แต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อม
และเงื่อนไขไม่เหมือนกันเขายกตัวอย่างการก่อเหตุหลายกรณีให้เห็นเพื่อยืนยันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ความไร้ระเบียบแบบแผน แต่ผ่านมีการเจาะจง วางแผน และกุมสภาพได้อย่างสมบูรณ์ อย่างกรณีที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มีการวางระเบิดทหาร ก็มีกลุ่มใต้ดินไปยืนอยู่ต้นทางกันเด็ก ๆ ไม่ให้ผ่านเส้นทางดังกล่าว หรือกรณีการฆ่าครู การบุกขึ้นไปยิงถึงห้องเรียน ก็มิใช่การกระทำที่ไร้เหตุผลที่จะฆ่า มีคำบอกเล่าของชาวบ้านในพื้นที่ว่า ครูบางคนวาดรูปปืนบนกระดานดำแล้วถามนักเรียนว่าเคยเห็นหรือไม่ บ้านใครมีบ้าง นี่คือสิ่งที่ทำให้กลุ่มใต้ดินตัดสินใจที่จะฆ่า
และการฆ่าในบางพื้นที่ก็มิใช่การฆ่าเพื่อสะท้อนถึงความโหดเหี้ยมเพียงอย่าง
เดียวโดยไม่คำนึงถึงหลักการ
เหตุการณ์ที่ถูกถ่ายทอดผ่านคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์พิสูจน์ว่า
หลายครั้งในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มใต้ดินเจาะจงใช้ความโหดเหี้ยมกับบางคน
บางกลุ่มเท่านั้น
"กรณีบุกเข้าไปยิงในสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลปะโด อ.มายอ จ.ปัตตานี พวกเขาไล่ผู้หญิงซึ่งอยู่ในห้องนั้น 3 คนออกไป ก่อนจะลงมือยิงเจ้าหน้าที่ อบต.ซึ่งเป็นผู้ชายตาย 4 คน หรือแม้แต่ล่าสุดกรณียิงเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านบราโอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นไทยพุทธเสียชีวิต 2 คน พวกเขาก็ไล่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นมุสลิมออกไปก่อน ดังนั้น จะกล่าวแบบเหมารวมว่า สะเปะสะปะ ไม่เลือกเป้าหมาย เพื่อแสดงถึงความโหดเหี้ยมเพียงอย่างเดียวไม่ได้" อีกกรณีหนึ่ง เขายกตัวอย่างให้เห็นกรณียิงผู้โดยสารรถตู้สายยะลา-เบตง เมื่อ ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยคนร้ายยิงผู้โดยสารซึ่งเป็นคนไทยพุทธเสียชีวิตทั้งคัน ในขณะที่คนขับซึ่งเป็นมุสลิม รอดชีวิตมาอย่างหวุดหวิด เพราะถึงแม้ว่าคนร้ายจะจ่อปืน แต่ก็เพียงยิงเฉียดหน้าผากไปเท่านั้น นักวิจัยผู้พยายามศึกษารูปแบบและวิธีการ เพื่อทำความเข้าใจแนวคิดของขบวนการใต้ดินผู้นี้ให้ความเห็นต่อว่า หากจะมองการก่อเหตุว่าเป็นการสะเปะสะปะ ให้ก่อเหตุยิงวันละ 20-30 คนก็ทำได้ หลังเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อปี 2547 อาจ จะเห็นว่ามีการก่อเหตุฆ่ารายวันโดยการยิงเป็นจำนวนมาก อาจดูเหมือนสะเปะสะปะ ไม่มีเป้าหมายอย่างกรณียิงคนขายไอติมหรือพ่อค้าเร่ แต่มีกรณีหนึ่ง คือการยิงคนขายทอง เอาทองรูปพรรณไปขายในหมู่บ้าน ไป 2-3 ครั้ง มีลูกค้าประจำ ก็ถามว่ารู้จักคนบ้านนั้น บ้านนี้ไหม พอไม่นานคนขายทองก็ถูกยิงตาย และกลุ่มใต้ดินก็ประกาศในพื้นที่ว่าเขาทำได้ทั้งหมด นี่คือการส่งสัญญาณ สื่อสารกับชาวบ้านว่า เขาต้องการคุมพื้นที่ และคุมได้จริง นอกจากสิ่งที่เขาได้รับรู้มาด้วยตนเองแล้ว ปัญญศักดิ์ ยังอ้างถึงงานวิจัยของ ผศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งระบุถึง ‘การเตือนก่อนตาย' ในฐานะผู้พยายามถอดรหัสปฏิบัติการ เพื่อศึกษาและเข้าใจถึงแนวคิดของขบวนการใต้ดิน ปัญญศักดิ์ เห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระดมผู้เชี่ยวชาญจากหลายฝ่าย หลายความรู้ ความชำนาญ เพื่อสร้างทีมวิเคราะห์ข้อมูล ป้องกันมิให้การตีความผิดพลาด ทำให้แนวทางการแก้ปัญหาเป็นไปแบบผิดทิศผิดทาง ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลาย ขยายออกไป การแก้ไขก็จะยากยิ่งขึ้นไปด้วย จาก ศูนย์เฝ้าระวังเชิงองค์ความรู้สถานการณ์ชายแดนภาคใต้ | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
ขับไล่คนไทยพุทธ
ขับไล่คนไทยพุทธ | |
ใบปลิวอ้าง “กลุ่มนักรบฟาตอนี” ว่อน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เนื้อหาชวนเชื่อ
ปฏิบัติการไล่ไทยพุทธเข้าขั้นสำเร็จ สามารถขับไล่คนไทยพุทธ ออกนอกพื้นที่
....
เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ ( 15 ก.ค. 55) ผู้สื่อข่าวได้รับแผ่นปลิวจากชาวบ้านในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ที่ระบุว่าได้มีกลุ่มวัยรุ่นหลายคน นำใบปลิวซึ่งเป็นกระดาษ เอ 4 พิมพ์ด้วยอักษรเครื่องคอมพิวเตอร์ มาแจกจ่าย
โดย
ข้อความในใบปลิว มีการกล่าวถึง แผนการปฏิบัติการของกลุ่มนักรบฟาตอนี
ซึ่งได้อ้างว่าตั้งแต่ปี 2546 จน ถึงปัจจุบัน ได้มีการขับไล่
“ชาวกาฟีรสยาม” หรือคนไทยพุทธ ให้ออกจากพื้นที่
ซึ่งมีการอ้างข้อมูลตัวเลขจำนวนประชากร 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อปี 2546
โดยแยก เป็นชาวไทยมุสลิมจำนวน 1,414,073 คน คิดเป็น 81 เปอร์เซ็นต์
ชาวไทยพุทธ 315,751 คน คิดเป็น 18.17 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ อีก 1,767 คน
คิดเป็น 0.83 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ในใบปลิว ได้มีระบุว่า หลังจากพวกเราชาวมลายูปัตตานี
ได้มีการต่อสู้และขับไล่ พวกเขาเหล่านั้น คือชาวกาฟีรสยาม (ไทยพุทธ)
ปัจจุบันมีชาวไทยพุทธ ที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แยกเป็นจังหวัด สรุปตัวเลขได้ดังนี้ คือ จังหวัดยะลา ประชากรทั้งหมด
458,312 คน มีชาวไทยพุทธอยู่เพียง 19,000 คน จังหวัดปัตตานี
มีประชากรทั้งหมด 629,691 คน เหลือชาวไทยพุทธ 17,902 คน และ
จังหวัดนราธิวาส 694,010 คน เหลือคนไทยพุทธ 13,905 คน
ซึ่งข้อมูลจำนวนตัวเลขดังกล่าว
ถูกอ้างอยู่ในใบปลิวที่พบโดยอ้างกลุ่มนักรบฟาตอนี
นอกจากนี้ ข้อความในใบปลิว ทั้ง 3 ใบ
มีการกล่าวอ้างที่จะพยายามกอบกู้เอกราชรัฐปัตตานี
และห้ามไม่ให้ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ทำการค้า ซื้อขายของกับคนไทยพุทธ
ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน รถยนต์ สินค้าที่ดิน สวนผลไม้ สวนยางพารา
หากต้องการให้ไปขอแบบได้เปล่าเท่านั้น ทั้งนี้
แหล่งข่าวความมั่นคงในพื้นที่ ก็ได้นำใบปลิวดังกล่าวไปตรวจสอบ
และลงพื้นที่หาข้อมูลว่าเป็นกลุ่มใด ซึ่งข้อมูลจำนวนประชาชน
ที่ถูกกล่าวอ้างในใบปลิว
ทางภาครัฐไม่เคยนำเสนอให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ
และมีชาวไทยพุทธในพื้นที่ อ.บันนังสตา หลายแห่งที่ทิ้งบ้านเรือน ทิ้งสวน
ทิ้งที่ดิน ย้ายถิ่นฐาน ออกนอกพื้นที่ไปก่อนหน้านี้ก็มีอยู่หลายราย
เนื่องจากถูกกลุ่มแนวร่วมกดดัน จนอาศัยอยู่ไม่ได้
แต่ภาครัฐก็ยังไม่เคยเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
| |
http://narater2010.blogspot.com/
|
เผยภาพกล้องวงจรปิด 4 โจรใต้วางบึ้มปัตตานี
เผยภาพกล้องวงจรปิด 4 โจรใต้วางบึ้มปัตตานี | |
เผยภาพกล้องวงจรปิด 4 โจรใต้วางบึ้มปัตตานีเผย ภาพกล้องวงจรปิด 4 คนร้ายกลุ่มอาร์เคเค.เก่า พารุ่นน้องฝึกก่อเหตุวางระเบิด ขณะที่ ผกก.ปัตตานี ขอหมายจับผู้ร่วมขบวนการ และตั้งชุดไล่ล่าภาพ จากกล้องวงจรปิดของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่งในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี ที่สามารถจับภาพกลุ่มแนวร่วมอาร์เคเค.ชุดเก่าที่พาสมุนแนวร่วมชุดใหม่ อายุประมาณ 20-35 ปี รวม 4 คน กำลังใช้เครื่องมือตัดโซ่กุญแจเข้าไปภายใน ซึ่ง 1 ในนั้นกอดลูกระเบิดที่ห่อด้วยถุงกระดาษเดินผ่านกล้องเห็นหน้าอย่างชัดเจน และจะเห็นได้ว่าทุกคนมีอาวุธปืนสั้นและปืนยาวมาด้วย โดยการก่อเหตุดังกล่าว เจ้าหน้าที่ระบุเป็นหนึ่งในยุทธวิธีก่อกวน และฝึกทดสอบสภาพจิตใจของแนวร่วมชุดใหม่และจะเห็นได้ว่ากลุ่มคนร้ายทั้งหมด ใช้การแต่งกายแบบเสื้อยืดคอกลม กางเกงขายาวและขาสั้นแบบธรรมดาทั่วไป โดยไม่มีการปิดปังใบหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงจุดสนใจจากเจ้าหน้าที่ และ รถที่ผ่านไปมา สำหรับ เหตุดังกล่าว เป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มคนร้ายลอบวางระเบิดสถานที่ราชการต่างๆ รวม 8 จุด ในพื้นที่ อ.เมือง อ.หนองจิก อ.ยะหริ่ง อ.ยะรัง และ อ.ปะนาเระ รวม 5 อำเภอ เหตุเกิดตลอดช่วงกลางดึกวันที่ 17 พ.ย.54 ด้าน พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก.ภ.จ.ปัตตานี เปิดเผยว่าภาพหลักฐานจากกล้องวงจรปิดสถานที่ราชการต่างๆ หลายแห่งสามารถบันทึกภาพการก่อเหตุได้อย่างชัดเจน จนชุดสืบสวนสอบสวนทราบว่าทั้งหมดเป็นใครบ้างแล้ว ล่าสุดได้ควบคุมตัวผู้ร่วมขบวนการ ทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมวางแผน รู้เห็น หรือร่วมก่อเหตุวางระเบิดจากทั้ง 8 จุด แล้ว 4 คน จากทั้งหมดคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 10 คน และกำลังขยายผล ตอนนี้เริ่มให้การซัดทอดอีกหลายราย โดยทางตำรวจได้ออกหมายจับเพิ่มเติมในขั้นต้น 6 คน และที่กำลังจะขอหมายศาลอีกจำนวนหนึ่ง รอเพียงพยานหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้สั่งจัดชุดออกไล่ล่าลากตัวทั้งหมดมาดำเนินคดีให้ได้ | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
หมู่บ้านกระสุนตก ที่ปัตตานี !!
หมู่บ้านกระสุนตก ที่ปัตตานี !! | |
.. หมู่บ้านกระสุนตก ที่ปัตตานี !! โน ลีโอนิคส์ ....... ไม่มีฝนดาวตกที่นี่ มีแต่"กระสุนตก" บ้านตุปะ ปัตตานี โนลีโอนิคส์.... .เหนื่อยครับ!!! แทบหมดแรง กว่าจะได้ออกจากสมรภูมิรบย่อยชายแดนใต้ บ้านตุปะ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เมื่อวานนี้ ก็ปาเข้าไปเกือบ5โมงเย็น ต้องกลิ้งไป กลิ้งมา เหมือนลูกขนุน!!! ไหนจะเป็นห่วงอาวุธประจำกาย หมายถึงกล้องถ่ายรูปน่ะครับ ไม่ใช่ปืน และที่สำคัญไหนจะคอยหลบวิถีกระสุน "ลูกหลง" ที่เฉี่ยวไปเฉี่ยวมา มองไม่เห็น ได้ยินแต่เสียงดังลั่นสนั่นทุ่ง ประมาณครึ่งชั่วโมงได้กว่าสงบ กลัวพลาดน่ะครับเดี๊ยวจะถูกสมน้ำหน้า ก็พี่ทหาร พี่ตำรวจ เขาอุตส่าห์ ขอร้องแกมบังคับ ให้ไปหาที่กำบังไปอยู่ในที่ปลอดภัยก็แล้วยังแอบๆ ไปหลบซุ่มอยู่ริมขอบบ่อน้ำ ใต้ต้นไม้ขนาดสองคนโอบ โดยคาดว่าแม้ลูก M79 ก็คงไม่ทะลุผ่าน ... ... ก็จะให้ทำอย่างไรได้ ช่วงเวลานั้น วิญญานช่างภาพข่าว กำลังเข้าสิงพอดี !!! แต่ขอบอกตรงๆว่าไม่ได้ประมาท นะครับ สติ สัมปชัญญะ ยังอยู่ครบ... ... เมื่อวันที่ 17พย.เวลาประมาณ 11.00 น.จากการเข้าพิสูจน์ทราบของเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน ภ.จว.ปัตตานี นำทีมโดย พ.ต.อ.จีระวัฒน์ อุดมสุต รอง.ผบก.ภ.จว.ปัตตานี ว่ามีแนวร่วมกลุ่มก่อนความไม่สงบเคลื่อนไหวในพื้นที่ และเข้าไปหลบซ่อนตัวเตรียมวางแผนก่อเหตุ อยู่ภายในบ้านเลขที่ 192/3 หมู่ที่ 5 บ้านตุปะ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี กำลังเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าวประมาณ 10 นาย จึงได้เข้าทำการปิดล้อมตรวจค้นบ้านหลังดังกล่าว พร้อมตะโกนเรียกให้คนอยู่ภายในบ้านออกมามอบตัว ประกฎว่าเงียบไม่มีเสียงตอบรับ จึงผลักประตูบ้านเข้าไป ผลคือคนร้ายที่คาดว่าอยู่ภายในบ้านประมาณ 4-6คน ได้กราดกระสุนออกมา เฉี่ยวเสื้อเกราะตำรวจผู้เป็นหัวหน้าชุด โดนโทรศัพท์มือถือแตกกระจาย เจ้าหน้าที่จึงรีบถอยร่นเข้าหน้าที่กำบัง ปิดล้อมพร้อม วิทยุขอกำลังช่วยเหลือ เพิ่มเติม ... ... จากนั้นไม่นานกำลังเจ้าหน้าที่ ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ 24 ตำรวจ ภ.จว.ปัตตานี และหน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง ได้เสริมกำลังเข้ามาปิดล้อมเพิ่มเติม และได้ประกาศทางเครื่องขยายเสียงภายในรถหุ้มเกราะ ให้คนร้ายออกมามามอบตัว พร้อมรับรองความปลอดภัย แต่ไม่เป็นผล ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดแรกที่เข้าไปปิดล้อม และอยู่ใกล้กับบ้านหลังดังกล่าวมากที่สุดในขณะนั้น เล่าให้ฟังว่า คนร้ายทั้งหมดได้ประกอบพิธีละหมาด พร้อมประกาศสู้ตาย !! เสียงดังลั่นไปทั่วบริเวณ .... ... แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่ละความพยายาม ได้เชิญ ผู้นำศาสนา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาเจรจา อีกแต่สุดท้ายยังได้รับคำตอบเดิมคือ ทุกคนพร้อมสุ้ตาย ไม่ยอมให้จับเป็นเด็ดขาด ขณะที่เสียงปืนของคนร้ายก็ยังดังออกมาจากบ้านหลังดังกล่าวเป็นระยะๆ เพื่อสกัดไม่ให้กำลังเจ้าหน้าที่คืบคลานเข้าไปถึง... ... จนกระทั่วเวลาประมาณ 15.00 น. เมื่อเห็นว่าการเจรจาไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ เจ้าหน้าที่จึงได้ประชุมวางแผนประเมินท่าทีกันใหม่ สุดท้าย พ.ท.หาญพล เพชรม่วง ผบ.ฉก.ปัตตานี ที่ 24 ได้ขอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง และ ประสานกำลังไปทาง กองพันจู่โจม หน่วยรบพิเศษ เตรียมเข้าชาร์ต เพราะหากมืดค่ำจะไม่เป็นผลดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งคนร้ายก็ได้ประกาศตัวเป็นนักรบประเจ้า !!! ชัดเจนแล้ว ไม่มีใครสามารถไปโน้มน้าวเปลี่ยนแปลง แนวความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ที่ได้รับการปลูกฝังมาของเขาได้ ... ... 16 นาฬิกาเศษ !!! ดีเดย์ ปฏิบัติการณ์จู่โจมแบบสายฟ้าแลบ ของทหารกองพันจู่โจม จึงเริ่มขึ้น และแล้ว !!! เสียงปืนยิงแก๊สน้ำตา นัดแรกถูกยิงเข้าไปภายในบ้านที่คนร้ายซุ่มอยู่ และนัดต่อๆไปก็ติดตามมา ขณะที่คนร้ายก็ยิงตอบโต้ใส่เจ้าหน้าที่ เสียงปืนดังลั่นเป็นประทัดแตก ไม่รู้ของฝ่ายไหนเพราะเสียงดังเหมือนกันหมด ขณะที่ ช่างภาพและนักข่าว รวมทั้ง"เณรรูน"ด้วย ต้องหัวซุกหัวซุนเข้าหาที่กำบัง กลัว"ลูกหลง" อย่างเดียวจากฝ่ายคนร้ายที่ยิงสวนออกมาจากภายในบ้าน แต่อีกใจหนึ่ง ก็อยากได้ภาพเด็ดๆ เพราะมาอยู่ท่ามกลางควันปืนแล้ว อย่างไรเสียต้องมีผลงานติดมือออกไป คิดอย่างนั้นจริงๆในช่วงเวลานั้น เพราะมันถือเป็น"หน้าที่" ของเรา ในฐานะ"สื่อ" ที่ต้องนำเสนอความจริง ... ... ซึ่งระหว่างการยิงปะทะ เจ้าหน้าที่ทหารถูกกระสุนปืนจากฝ่ายคนร้ายได้รับบาดเจ็บสองนายคือ ส.อ.ศรชัย บัวชมภู และ ส.อ.เฉลิมพล โพธิ์ศรี สังกัดกองพันจู่โจม หน่วยรบพิเศษ เพื่อนทหารต้องรีบนำทั้งสองขึ้นเปลสนามฝ่าดงกระสุน ไปขึ้นรถพยาบาลที่จัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน ... ... ประมาณ 30 นาที เสียงปืนจึงสงบลง!! เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ และคณะได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุภายในบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งเป็นบ้านไม้ยกพื้นหลังใหญ่ มีห้องครัวแยกออกมาจากตัวบ้าน พบคนร้ายถูกยิงระหว่างปะทะเสียชีวิตจำนวน 6 คน ทราบชื่อภายหลังคือ 1.นายมะดือราแม นะซิมะ ชื่อจัดตั้ง"ปะดอ" แกนนำฝ่ายปฏิบัติการณ์ หัวโจทย์ใหญ่ RKK ที่ก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่หลายคดี มีรายชื่อตามหมายจับ ป.วิอาญาฯจำนวนมาก 2.นายสะการียา บาแม 3.นายอับดุลเลาะ โต๊ะลาเล๊ะ 4.นายันติ มะแอ 5.นายอาซิอาลี อาเล็ง 6.นายนารูดิง ดอมะ ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวร่วม ฯ ที่ผ่านการซุมเปาะ(สาบานตน)เป็น นักรบของพระเจ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว... ... หลังเข้าเคลียร์ที่เกิดเหตุภายในบ้านหลังดังกล่าว เจ้าหน้าที่สามารถยึดอาวุธปืนของคนร้ายได้ ปืน M16 จำนวน 1 กระบอก ปืนอาก้า(ak47) จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุนเฒแม้กกาซีน ปืนพกสั้นขนาด 11มม. 1กระบอก พร้อมกระสุน 35 นัด และ ลูกระเบิด M79 จำนวน 1ลุก ขณะนี้กำลังกระจายกำลังค้นหาเครื่องยิงอยู่ ... ... บางคนตายไป คนกลุ่มหนึ่งเคียดแค้นชิงชัง สาปแช่งให้ตกนรกไม่ให้ผุดให้เกิด แต่คนอีกกลุ่ม ในมุมมองสถานการณ์เดียวกับ กลับยกย่องเขาผู้ตายเป็นดั่งวีรบุรุษ ต่างคน ต่างมอง ต่างความคิดและที่มา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม สุดท้าย"เลือดไทย"ทั้งนั้นที่ไหลนองกลบผืนแผ่นดินใต้ ... ...จาก เหตุการณ์ดังกล่าว สุดท้ายขอส่งกำลังใจ ไปให้แก่น้องทหารทั้ง 2นาย ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะในครั้งนี้ ให้หายเป็นปกติในเร็ววัน และ ขอส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ที่"ตั้งใจจริง" ในการที่จะร่วมมือกันแก้ใขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขณะนี้ แม้จะยังมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ก็ตาม... ... และนักรบพระเจ้าทั้ง 6 ที่ต้องจบชีวิต ไปพร้อมกัน ป่านนี้คงสัมฤทธิ์ผลทางด้านจิตใจที่ทุกคนตั้งไว้แต่เดิม ซึ่งหากมองในอีกแง่มุม พวกเขาก็ตายสมชายชาตินักรบเหมือนกัน "ขอคารวะด้วยใจจริง" ทั้งๆที่รู้่ว่าไม่มี ทางสู้ได้กับฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในเวลานั้น ... ... ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง นักสิทธิมนุษยชน หลายคนกำลังเพ่งมองมาที่นี่ และหลายๆคำถามต้องตามมาโดยเฉพาะประเด็น โลกแตก เป็นการกระทำ " กระทำเกินกว่าเหตุ " ไปหรือไม่ ซึ่งในฐานะเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ บอกได้คำเดียวว่า "เห็นใจ" ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และ กลุ่มก่อความไม่สงบ ในเมื่อไม่สามารถแสวงหาจุดร่วม ที่ลงตัว โดยที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สุดท้ายผลที่ออกมาก็เป็นอย่างที่เห็น ... ... และอีกครั้งกับนักฉวยโอกาส ไม่ว่าจะมาในรูปแบบ หรือ องค์กรใดก็ตาม ที่จะเข้ามาอาศัยสถานการณ์ เช่นนี้ มาสร้างผลงานหรือหาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าคนไม่กี่คน ให้มองมุมกลับ ควรระวัง หันมาทบทวนบทบาทตนเองด้วยเพราะ หลายครั้งเขาเหล่านั้นก็เป็นตัวเร่งปฏิกริยา เพิ่มรอยร้าวสร้างความแตกแยกเพิ่มมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว .. .... สวัสดีครับ..... | |
http://narater2010.blogspot.com/
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)