http://pulony.blogspot.com/2015/08/blog-post_30.html
ปัญหาไฟใต้ที่เผาผลาญมานานนับสิบกว่าปี และไม่มีทีท่าว่าจะดับลงเมื่อไหร่?
อานุภาพการทำลายล้างที่เกิดจากน้ำมือของกลุ่มขบวนการโจรใต้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าได้สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภายใต้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่คิดต่างกับรัฐบาลไทย ประชาชนคือตัวประกันที่ตกเป็นเป้าและได้ถูกกระทำ มีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ทยอยอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อหลีกหนีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไปปักหลักเริ่มต้นชีวิตใหม่ในถิ่นอื่น
ปัญหาของรัฐบาลไทยที่ผ่านมาคือการติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งจากการเข้าทำการตรวจสอบและทลายฐานปฏิบัติการรวบรวมหลักฐานนำไปสู่การจับกุมตัวสมาชิกโจรใต้ โดยมีการใช้โรงเรียนสอนศาสนาและบ้านเครือญาติเป็นที่พักพิง นำตัวไปเข้าสู่ขั้นตอนดำเนินกรรมวิธีซักถามหาความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมส่งตัวฟ้องศาล สุดท้ายศาลได้ยกฟ้องปล่อยตัวให้เป็นอิสระจำนวนมาก
หากย้อนกลับไปดูข้อมูลสถิติคดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงวันที่31 พฤษภาคม 2558 พนักงานสอบสวนส่งฟ้องดำเนินคดี จำนวน1,904 คดี ชั้นอัยการส่งฟ้อง 827 คดี แต่เมื่อเข้าสู่การพิจารณาชั้นศาลได้ยกฟ้อง 431 คดี คิดเป็นร้อยละ 60.79 จะเห็นได้ว่าเกิดจากหลักฐานไม่แน่นหนาพอ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีจะได้รับการยกฟ้องซึ่งมีจำนวนสูงมากเกือบ 61% เลยทีเดียว
นั่นคือความเป็นจริงที่จะต้องยอมรับในจุดอ่อนที่จะต้องได้รับการแก้ไข แต่หากมาแจกแจงดูสถิติผลการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ก่อเหตุรุนแรง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน กลับมีข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่าศาลพิพากษาแล้ว จำนวน 18 คดี มีผู้ต้องหา 25 คน โดยศาลพิพากษาลงโทษ 15 คดี คิดเป็นร้อยละ 83.33 และยกฟ้องเพียง 3 คดี คิดเป็นร้อยละ 16.67
จะเห็นได้ว่าจากการติดตามจับกุมนำตัวผู้กระทำความผิด ส่งตัวฟ้องศาลตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ตั้งแต่ปี 56 เป็นต้นมา ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องของคดีน้อยมาก ประมาณ 17% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการยกฟ้องของศาลสถิตยุติธรรมที่ผ่านมาสูงถึง 61%
ภายใต้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่คิดต่างกับรัฐบาลไทย ประชาชนคือตัวประกันที่ตกเป็นเป้าและได้ถูกกระทำ มีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ทยอยอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อหลีกหนีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไปปักหลักเริ่มต้นชีวิตใหม่ในถิ่นอื่น
ปัญหาของรัฐบาลไทยที่ผ่านมาคือการติดตามจับกุมตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งจากการเข้าทำการตรวจสอบและทลายฐานปฏิบัติการรวบรวมหลักฐานนำไปสู่การจับกุมตัวสมาชิกโจรใต้ โดยมีการใช้โรงเรียนสอนศาสนาและบ้านเครือญาติเป็นที่พักพิง นำตัวไปเข้าสู่ขั้นตอนดำเนินกรรมวิธีซักถามหาความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ความรุนแรง เพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมส่งตัวฟ้องศาล สุดท้ายศาลได้ยกฟ้องปล่อยตัวให้เป็นอิสระจำนวนมาก
หากย้อนกลับไปดูข้อมูลสถิติคดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงวันที่31 พฤษภาคม 2558 พนักงานสอบสวนส่งฟ้องดำเนินคดี จำนวน1,904 คดี ชั้นอัยการส่งฟ้อง 827 คดี แต่เมื่อเข้าสู่การพิจารณาชั้นศาลได้ยกฟ้อง 431 คดี คิดเป็นร้อยละ 60.79 จะเห็นได้ว่าเกิดจากหลักฐานไม่แน่นหนาพอ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีจะได้รับการยกฟ้องซึ่งมีจำนวนสูงมากเกือบ 61% เลยทีเดียว
นั่นคือความเป็นจริงที่จะต้องยอมรับในจุดอ่อนที่จะต้องได้รับการแก้ไข แต่หากมาแจกแจงดูสถิติผลการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ก่อเหตุรุนแรง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบัน กลับมีข้อมูลที่น่าสนใจ พบว่าศาลพิพากษาแล้ว จำนวน 18 คดี มีผู้ต้องหา 25 คน โดยศาลพิพากษาลงโทษ 15 คดี คิดเป็นร้อยละ 83.33 และยกฟ้องเพียง 3 คดี คิดเป็นร้อยละ 16.67
จะเห็นได้ว่าจากการติดตามจับกุมนำตัวผู้กระทำความผิด ส่งตัวฟ้องศาลตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย ตั้งแต่ปี 56 เป็นต้นมา ศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องของคดีน้อยมาก ประมาณ 17% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการยกฟ้องของศาลสถิตยุติธรรมที่ผ่านมาสูงถึง 61%
จากสถิติดังกล่าวข้างต้นนั่นแสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของรัฐบาลไทย ได้ตัดสินคดีความที่มีความเที่ยงตรงเสมอภาคและมีความเท่าเทียม ไม่มีการแยกแยะ แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา การยกฟ้องเนื่องจากข้อมูลหลักฐานไม่เพียงพอ การตัดสินคดีด้วยการลงโทษของศาลนั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดต่อผู้กระทำความผิดได้
อย่างเช่นล่าสุด เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม เวลา 14.30 น. ศาลจังหวัดปัตตานี ได้อ่านคำพิพากษาตัดสิน ประหารชีวิตนายยัฟรี สารอเฮง อายุ 31 ปี อยู่บ้านเลขที่ 113 ม.3 ต.บือเร๊ะ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เลขคดีดำ 3465/57 และคดีแดง 2650/2558 เหตุเกิดพื้นที่อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี โดยนายยัฟรีฯ ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้ในพื้นที่กะพ้อ เมื่อปี 2557 ในข้อหาคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงร่วมกันฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน พยายามชิงทรัพย์และมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
ในส่วนตัวของผู้เขียนกับการที่ศาลยกฟ้องคดีน้อยลง และพิพากษาผู้กระทำความผิดให้รับโทษต้องติดคุก ติดตาราง หรือถึงขั้นประหารชีวิตสูงขึ้นนั้น มิได้เป็นการเขียนเพื่อจุดประสงค์ใด ๆ ที่มีการแอบแฝง หรือสะใจที่สมาชิกกลุ่มขบวนการต้องถูกลงโทษ แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึงการเรียกความศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมายที่มีความศักดิ์สิทธิ์ของประชาชนกลับคืนมา และเป็นการป้องปรามยับยั้งชั่งใจไม่ให้ผู้ที่คิดร้ายลงมือทำการก่อเหตุ และต้องการสื่อให้เห็นจุดจบของผู้ที่ก่อเหตุสร้างสถานการณ์คือความตายหรือติดคุกสถานเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระแสการตอบรับการสร้างสันติสุขร่วมกันของทุกภาคส่วนค่อนข้างมาแรง การประณามการกระทำที่สุดโต่งต่อต้านการก่อเหตุของ ผกร. ได้เกิดขึ้นในวงกว้างอย่างไม่เคยมีมาก่อนทุกสิ่งทุกอย่างกำลังเบนเข็มมุ่งไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นในแทบจะทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ที่สำคัญคือการอำนวยความยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมและเสมอภาค ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะสร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่
นับต่อจากนี้ไปการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐในการบังคับใช้กฎหมาย ทำการติดตามจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยจะมีความรัดกุมยิ่งขึ้น และที่สำคัญปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (DNA) มาปรับใช้เพื่อความแม่นยำในกระบวนการชั้นสอบสวนเป็นหลักฐานในการส่งตัวฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดี
การออกมากล่าวหาเจ้าหน้าที่จับผิดตัว หรือจับแพะจะไม่เกิดขึ้นอีก เนื่องจากการตรวจ DNA พิสูจน์ตัวบุคคล มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานระดับ ISO เป็นที่ยอมรับของสากล และปัญหาการยกฟ้องเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอของศาลจะหมดสิ้นไป ผู้ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับโทษ ไม่ปล่อยให้ลอยนวลหวนกลับไปทำการก่อเหตุร้ายซ้ำอีก.....