วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำสาบศรีวิชัย



คำสาปศรีวิชัย กับ บันทึกเศร้ากรือเซะ

narong:
.................. ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ เป็นวันที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของความหฤโหดแห่งมนุษยชาติ
อันเกี่ยวกับเรื่องฆาตกรรมหมู่ประชาชนชาวปัตตานี และอีก ๓ จังหวัดภาคใต้ ในเวลาเดียวกัน เบ็ดเสร็จจำนวน ๑๐๗ ศพ
รวมกับข้าราชการทหารตำรวจที่ต้องเสียชีวิตอีก ๕ ศพ(เฉพาะที่เปิดเผย) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีเบื้องหลัง
หมกเม็ดซ่อนเงื่อนอำพราง ที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ไม่มีการแถลงอย่างกระจ่างแจ้งชัด หรือตรงต่อความจริงแม้แต่เรื่องเดียว

...................เหตุการณ์ที่จัดว่านองเลือดที่สุดเพราะถล่มกันด้วยปืนใหญ่รถสายพาน เครื่องยิงจรวด และอาวุธนานาชนิด
กว่า 200 กระบอก ที่ถล่มเข้าไปในมัสยิส กรือเซะ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองปัตตานี อันเป็นที่ชุมชน ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้
แต่มันก็เป็นไปแล้ว ที่น่าแปลกที่สุดก็คือ บางคนยังไม่ตาย ก็ถูกจ่อยิงซ้ำที่หัวเขม่าปืนติดกะโหลก ที่มัสยิสนั้น
ปรากฏชัดเป็นหลักฐานทาง TV ว่าเจ้าหน้าที่ใช้ปืนพกขนาด ๑๑ มม. ยิงซ้ำจนหมดแม็ก ลูกเลื่อนค้าง ฯลฯ เรียกว่าไม่ให้เหลือรอด

.... เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เหมือนประวัติศาสตร์ที่หมุนกลับมาซ้ำรอยเดิม ณ ที่เดิม แต่ต่างด้วยระยะเวลา ที่มัสยิสแห่งนี้
ได้เคยถูกกองทัพ(ทหาร) ถล่มแล้วเผาด้วยปืนใหญ่มาแล้ว ผู้คนได้ตายไป ณ มัสยิสแห่งนี้นับไม่ถ้วน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้นั้น เหมือนเป็นการปลุกวิญญาณผีตายโหงซึ่งยังคงเวียนว่ายอยู่ในมัสยิดนี้ด้วยความเคียดแค้น
ซึ่งแน่นอนที่สุด มันย่อมไม่จบสิ้นเพียงเท่านี้

........... นี่คือการเริ่มต้นของความรุนแรงและเลวร้าย ที่จะต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องต่อไปอย่างไม่มีทางเลี่ยง ซึ่งสิ่งจะสามารถบอกได้ว่า
ไม่นานนักประเทศไทยส่วนนี้จะต้องถูกแบ่งออกเป็นอีกประเทศหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย แต่จะมาจากชาวต่างชาติ ที่จะเคลื่อนพลมาทางน้ำ
หรือ มีแสนยานุภาพทางน้ำ ใช้ทหารนาวิกโยธิน(Marine)เป็นกำลังหลัก และจะมาจากประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
เข้ายึดครองดินแดนส่วนนี้โดยความเห็นชอบของรัฐบาล โดยที่ชาวไทยทั้งประเทศไม่มีสิทธิที่จะป้องกันและคัดค้าน
เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์ ดังนั้นเราควรศึกษาประวัติศาสตร์เมืองปัตตานีว่ามีความเป็นมาอย่างไร ?
narong:
............ ปัตตานี เป็นชุมชนโบราณที่มีหลักฐานย้อนหลังไปถึงพุทธศตวรรษที่ ๖ และค่อยๆ พัฒนาจากชุมชนชายฝั่งทะเล
กลายเป็นรัฐที่มีความมั่งคั่งและมั่นคง เนื่องจากเป็นเมืองท่าสำคัญในเส้นทางการค้าทางทะเลโบราณ
ซึ่งมาจากทุกทิศทุกทางของโลก ตั้งแต่ยุโรป อินเดีย เปอร์เซีย จีน ญี่ปุ่น และชวา

............. จนกระทั่งกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปัตตานีก็พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ภายใต้การปกครองของอาณาจักรลังกาสุกะ
ซึ่งมีเมืองโกตามะลิฆัย (Kota Mahligai) เป็นเมืองหลวง แต่ตั้งอยู่ห่างจากฝั่งทะเล ทำให้หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ คือ "ปะตานี"
ซึ่งอยู่ติดริมชายฝั่ง มีเรือสินค้ามาจอดแวะค้าขายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นจุดที่มีลำน้ำเชื่อมต่อไปยังลังกาสุกะได้สะดวกกว่า
ทำให้เมืองโกตามะลิฆัยค่อยๆ หมดความสำคัญลง จนต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ปัตตานีแทน ไม่เพียงเท่านั้นชื่อของปัตตานี
ยังเพิ่มความสำคัญจนกระทั่งไม่มีใครพูดถึงลังกาสุกะอีกต่อไป เรื่องราวการเกิดของปัตตานีปรากฏอยู่ในตำนาน
หลายสำนวนแตกต่างกันออกไป แต่ทุกตำนานมีโครงเรื่องที่จะอธิบายที่มาของคำว่า "ปัตตานี" แทบทั้งสิ้น
narong:
ตำนานเมืองปัตตานี

.....................ตำนานเรื่องหนึ่งกล่าวถึงกษัตริย์เมืองโกตามะลิฆัย พระนามว่า พญาตู นักปา (Tu Nakpa)
เสด็จมาล่าสัตว์บริเวณป่าแถบชายทะเลปัตตานี แล้วทรงเห็นว่าเป็นที่เหมาะสมที่จะสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ที่นี่
จึงสั่งเกณฑ์ผู้คนจากโกตามะลิฆัยมาสร้างเมืองและพระราชวังขึ้น แล้วสั่งย้ายผู้คนมาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้
ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นที่อาศัยของชายชราชาวมลายูชื่อ เอนชิค ตานี (Encik Tani) แต่คนทั่วไปเรียกกันว่า ปะตานี
หรือ เจ๊ะ ตานี เมืองนี้จึงตั้งชื่อขึ้นตามชาวประมงชราผู้นี้

...................บางสำนวนก็ว่า พญาตู นักปา ติดตามรอยเท้าสัตว์มาถึงชายทะเล ผู้ติดตามทูลว่ารอยเท้าสัตว์
ได้หายไปที่หาดแห่งนี้ คำว่า " หาดแห่งนี้ " ตรงกับภาษามลายูว่า "ปะตานี" เพี้ยนมาจาก "ปันตัยอินี"

................... เรื่อง "หาดแห่งนี้" ยังปรากฏสำนวนแตกต่างออกไปอีก คือ พระองค์มหาวังษา (พระเจ้ากรุงโรม)
ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปครองเมืองต่างๆ เหลือแต่พระธิดาที่ยังหาเมืองไม่ได้ จึงเสี่ยงทายด้วยการใช้ช้างศักดิ์สิทธิ์
ขี่ไปหาเมืองใหม่ ขณะมาถึงชายหาดแห่งหนึ่งก็เห็นกระจงเผือกวิ่งผ่านหน้าแล้วหายไป พระธิดาจึงสั่งให้ทหารออกติดตาม
เมื่อทรงถามว่ากระจงหายไปทางไหน เหล่าไพร่พลก็ชี้มือไปทางชายหาด แล้วทูลพร้อมกันว่า "ปันตัยอินี" (หาดแห่งนี้)

.................... ตำนานเมืองปัตตานียังมีอีกหลายสำนวนที่ว่าด้วยที่มาของคำนี้ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานที่มาของ " ปัตตานี"
ในทางภาษาอีกหลายๆ ทาง เช่นมาจาก "ธานี" หมายถึงเมืองใหญ่ริมสมุทร "ปะฏานี" ในภาษาอาหรับ
ที่หมายถึงนักปราชญ์ " ปตานี " ในภาษาบาลี สันสกฤต หมายถึงหญิงครองเมือง และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่าอาจจะมาจากภาษามลายู "ปะตานี" หมายถึงชาวนา
narong:
..............................สาเหตุที่ภาคใต้กลายเป็นอิสลาม

...............แต่เดิมชาวปัตตานีและชาวใต้ทั้งสิ้นนั้นนับถือพุทธศาสนา สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษสมัยอาณาจักรศรีวิชัย
จนต่อมาในสมัย พญาตู นักปา จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มูลเหตุที่ชาวใต้เปลี่ยนศาสนาจากพุธเป็นอิสลาม
นั้นเริ่มจากความเห็นแก่ตัวของกษัตริย์ปัตตานี ยอมขายพระพุทธศาสนา และศาสนสถานทั้งหมดในแผ่นดิน เพื่อให้หมอมุสลิมพอใจ
จะได้รักษาโรคประจำตัวของตน บุคคลผู้นี้มีนามว่า เปพญาตู นักปา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira) ทรงพระประชวร
ป่วยเป็นโรคเรื้อนรักษาไม่หาย บรรดาหมอหลายคนมาถวายการรักษาก็ไม่เป็นผล

................ จนกระทั่ง เชค ซาฟียุดดิน (Sheikh Safiuddin) ชาวมุสลิม ซึ่งอพยพมาจากเกาะสุมาตรา อาสาที่จะถวายการรักษา
แต่มีข้อแม้ว่าหากรักษาหายแล้ว ราชาอินทิรา จะต้องเผาทำลายพุทธศาสนสถานทั้งหมด แล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม
................ แต่ปรากฏว่าเมื่อ เชค ซาฟียุดดิน สามารถรักษาจนหายได้ แต่ราชาอินทิราไม่อาจที่จะตัดพระทัย
ทำลายพุทธศาสนสถาน ที่บรรพบุรุษได้นับถือไว้มานานแสนนานนั้นได้

................ เชค ซาฟียุคดิน รออยู่ได้ทราบข่าวว่าพระราชาตูนักปา ไม่ทำตามสัญญา จึงทำกลลวงว่าจะเข้าเผ้าเพื่อเยี่ยมอาการ
แต่ได้แอบซ่อนเอาน้ำล้างเนื้อคนเป็นโรคเรื้อนติดตัวเข้ามาด้วย พระราชาทรงขอร้องว่า อย่าได้ให้ถึงกับเผาวัดหรือพุทธสถานเลย
จะเอาผืนดินทำกินตรงไหน จะยกให้ตามแต่หมอมุสลิมจะต้องการ เชค ซาฟายุคดิน หมอเจ้าเล่ห์ ครั้นได้ยินเช่นนั้นก็รู้ว่า
พระราชาเปลี่ยนใจจึงเอามีดขูดที่แผลเก่าที่กตกสะเก็ดกำลังจะหายจนเลือดออกซิบ ๆ แล้วเอาน้ำล้างเนื้อคนเป็นโรคเรื้อน
ทาซ้ำลงไปตรงรอยแผลพร้อมกับถวายน้ำล้างเนื้อคนเป็นโรคเรื้อน โดยโกหกว่า "'....ให้ทรงทาทุก ๆ ครั้งที่ทรงรู้สึกคัน..."

....... จากวันนั้นเองจึงทำให้โรคเรื้อนของพระราชากำเริบขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว เป็นไปตามแผนที่เชค ซาฟียุดดิน
หมอเจ้าเล่ห์วางไว้ทุกประการและทำเป็นว่าต้องมารักษาให้ใหม่ ซึ่งแน่นอนที่สุด พระราชาทรงยอมให้ตามที่หมอเจ้าเล่ห์ต้องการคือ
เผาทำลายวัดวาอาราม พระพุทธรูป อาคาร เสนาสนะ พร้อมจับพระภิกษุสงฆ์สึกออกไปเป็นทาสกะลาสีเรือของหมอเชค ซาฟียุดิน
ที่เกาะมะละกา ยกธรณีสงฆ์(ที่ดิน) ทั้งหมดให้เป็นสมบัติของหมอและประกาศให้ประชาชนทุกคนทำลายพระพุทธรูป สิ่งที่นับถือให้หมด
โดยเลิกนับถือพุทธศาสนา และให้มาถือศาสนาอิสลามแทน ผู้ใดขัดขืนให้ประหารเสียให้สิ้น (และนี่คือที่มาของคำสุภาษิตไทยที่ว่า
งูว่าร้ายยังไม่เท่าแขก เห็นแขกกับเห็นงู ต้องตีแขกให้ตายก่อน นั้นได้ถูกสั่งสอนกันสืบมาจนปัจจุบัน ด้วยสาเหตุนี้)

....................หลังจากนั้น เชค ซาฟียุดดิน ได้รับแต่งตั้งเป็น ดาโต๊ะซะรี รายา ฟากิฮฺ ส่วนราชาอินทิราทรงเปลี่ยนพระนามเป็น
สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ (Sultan Ismail Syah) มีการสั่งให้ทำลายพุทธสถาน พุทธรูป สิ่งสักการะทั้งหลายในพุทธศาสนา
ที่เป็นทองก็เผาหลอมออกมา ที่เป็นอัญญมณีก็เอามาใช้ประดับมัสยิดที่ถูกขึ้นทับไปบนพุทธสถานแทน

............... หากกล่าวกันตามจริงก็ถือได้ว่าสุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ พระองค์นี้คือกษัตริย์แห่งรัฐปัตตานี พระองค์แรก
ครองราชย์ระหว่างปี ๒๐๔๓-๒๐๗๓ อันเป็นเหตุให้ดินแดนแห่งอาณาจักรศรีวิชัยที่เคยเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นด้วยพุทธศาสนาก็ถึงกาลวิบัติ
เกิดศึกสงครามมิวายเว้น ผู้คนยากจนค่นแค้นแสนสาหัสสืบต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๔๗)
นับเป็นมหัตโทษแห่งการลบล้างพระบรมราชโองการสาปแช่งแห่งต้นกษัตริย์วงศ์ศรีวิชัยที่มิให้พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองเปลี่ยนแผ่นดิน
จากพระพุทธศาสนาไปนับถือศาสนาอื่น

....... และด้วยเหตุแห่งการทรยศต่อบรรพกษัตริย์ของเปพญาตู นักปา หรือ ราชาอินทิรา ในชื่อใหม่ทางอิสลามว่า
สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ นี้เองจึงทำให้มวลหมู่กษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบต่างรังเกียจ
(เนื่องจากคนยุคโบราณถือคำสัจจะ พูดคำไหนเป็นคำนั้น ยอมตายเพื่อสัตย์ได้) แต่กษัตริย์ปัตตานีองค์นี้ทรยศตระบัดสัตย์
แม้แต่คำสั่งของบรรพบุรุษ จะเชื่อถือได้อย่างไร จึงทำให้กษัตริย์ปัตตานีไม่มีพวกเพื่อนพ้องเป็นชาวสุวรรณภูมิ
ต้องไปคบแขกมะละกามุสลิมต่างภาษาเอามาเป็นพวก และพวกแขกมะละกามุสลิมนี้ ก็พาครอบครัวเข้ามาปักหลัก
อยู่ในแผ่นดินปัตตานี ซึ่งเดิมเป็นชาวพุทธก่อให้เกิดปัญหาสังคม และศึกสงครามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

............. ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาคใต้ ไม่เคยมีความร่มเย็นใด ๆ เลยนับแต่ พญาตู นักปา สั่งให้ประชาชนทั้งแผ่นดิน
เปลี่ยนจากพระพุทธศาสนาเป็นอิสลาม เป็นต้นมา และด้วยสาเหตุการเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม จึงได้รับการยุยง
จากกลุ่มอิสลามเมืองมะละกา ซึ่งขณะนั้นอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามีอำนาจครอบคลุมไปถึงมะละกา ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญ
และเป็นรัฐอิสลาม ร่วมกันฉวยโอกาสในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาติดพันสงครามทางหัวเมืองฝ่ายเหนือจึงทำการกบฏแข็งเมือง
ไม่ยอมขึ้นต่อรัฐบาลกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป ก็ด้วยอิทธิพลของการเปลี่ยนศาสนาแยกออกไปจากชาวสยามในกรุงศรีอยุธยา
ซึ่งนับถือพุทธศาสนา

..................ฝ่ายสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงมีพระบรมราชโองการให้ส่งกองทัพจากกรุงศรีอยุธยา
และเกณฑ์ทัพจากหัวเมืองปักษ์ใต้ไปตีมะละกา ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่า
"....ศักราช ๘๑๗ กุญศก แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา.." แต่การศึกครั้งนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จ
เหตุการณ์ตามพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ นี้ เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช ๑๙๙๘
ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาครองราชย์ของราชาอินทิราคือระหว่างปี ๒๐๑๒-๒๐๕๗

...................ทางด้านกองทัพมะละกา เมื่อสามารถต่อต้านกองทัพสยามได้สำเร็จ ก็ส่งกองทัพเข้าตีหัวเมืองใหญ่น้อยของสยามกลับคืน
ได้ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ไทรบุรี และรุกรานปัตตานีเข้าทำลายพระพุทธรูป และศาสนสถาน ไปจนหมดสิ้น ราชาอินทิรา
จึงต้องยอมผ่อนตามมะละกา หันมานับถือศาสนาอิสลามตั้งแต่บัดนั้น



......................................ปัตตานีกับสยาม

.............. ปัตตานีมีความสัมพันธ์กับสยามในสมัยอยุธยาในฐานะประเทศราช ซึ่งมีธรรมเนียมต้องส่ง "บุหงามัส" หรือดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
ให้ทุกๆ ปี แต่อย่างไรก็ดีอำนาจรัฐของกรุงศรีอยุธยาก็ไม่อาจแผ่ขยายไปยังหัวเมืองไกลโพ้นอย่างปัตตานีได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ครั้งใดที่กรุงศรีอยุธยาประสบปัญหาทางการเมือง หรือติดพันศึกสงคราม ประเทศราชที่มีความพร้อมทั้งทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ
อย่างปัตตานีก็จะมองหาความเป็นอิสระในทันที

................ ด้วยเหตุนี้ทำให้ปัตตานีกับสยามต้องมีเหตุให้ทำสงครามกันอยู่บ่อยครั้ง ครั้งหนึ่งสุลต่านเมืองปัตตานีถึงกับนำทหาร
บุกพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งขณะนั้นสยามกำลังติดพันศึกอยู่กับหงสาวดี
เหตุการณ์ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ดังนี้

.............. ".....(ศักราช ๙๒๕) "ครั้งนั้นพระญาศรีสุรต่านพระญาตานีมาช่วยการเศิก พระญาตานีนั้นเปนขบถ
แลคุมชาวตานีทั้งปวงเข้าในพระราชวัง ครั้นแลเข้าในพระราชวังได้เอาช้างเผือกมาขี่ยืนอยู่ ณ ท้องสนาม แล้วจึงลงช้างออกไป
ณ ทางตะแลงแกง แลชาวพระนครเอาพวนขึงไว้ต่อรบด้วยชาวตานีๆ นั้นตายมาก แลพระญาตานีนั้นลงสำเภาหนีรอดไป....."

........... ส่วนในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ลงความไว้คล้ายกัน แต่มีรายละเอียดมากกว่า

............ (ศักราช ๙๑๑) "......ขณะนั้นพระยาตานีศรีสุลต่าน ยกทัพเรือหย่าหยับสองร้อยลำเข้ามาช่วยราชการสงคราม
ถึงทอดอยู่หน้าวัดกุฏีบางกะจะ รุ่งขึ้นยกเข้ามาทอดอยู่ประตูไชย พระยาตานีศรีสุลต่านได้ทีกลับเป็นกบฎ ก็ยกเข้าในพระราชวัง
สมเด็จพระมหาจักพรรดิราชาธิราชเจ้าไม่ทันรู้ตัว เสด็จลงเรือพระที่นั่งศรีสักหลาดหนีไปเกาะมหาพราหมณ์ และเสนาบดีมุขมนตรี
พร้อมกันเข้าในพระราชวัง สะพัดไล่ชาวตานีแตกฉานลงเรือรุดหนีไป ฝ่ายมุขมนตรีทั้งปวงก็ออกไปเชิญเสด็จ
สมเด็จพระมหาจักพรรดิราชาธิราช พระเจ้าช้างเผือกเสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศมหาสถาน.........."

................ พระยาตานีคนนี้คือ สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ (Sultan Muzafar Syah) พระราชโอรสของสุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์
แต่เรื่องราวของพระองค์ในเอกสารของทางฝ่ายปัตตานีกล่าวไว้ต่างกัน คือสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ เคยเสด็จไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับสยาม
แต่ฝ่ายสยามต้อนรับไม่สมพระเกียรติ จึงเสด็จกลับปัตตานีด้วยความน้อยพระทัย ต่อมาเมื่อทราบว่าสยามติดพันสงครามอยู่กับหงสาวดี
จึงยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา บุกเข้าพระราชวังได้ แต่กษัตริย์สยามหนีออกมาทัน ไปหลบอยู่ที่เกาะมหาพราหมณ์
แล้วจึงรวบรวมกำลังเข้าตีตอบโต้กองทัพปัตตานีต้องถอยร่นออกมาถึงปากอ่าว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ สิ้นพระชนม์ขณะยกทัพกลับ
พระศพถูกฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากอ่าว สุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ พระองค์นี้มีความสำคัญคือเป็นผู้สร้างมัสยิดกรือเซะ
ซึ่งมีตำนานบางเรื่องกล่าวพาดพิงไว้ว่าเป็นฝีมือช่างคนเดียวกับที่สร้างปืนพญาตานี!



...........................................บัลลังก์เลือด

............ลำดับวงศ์ในราชวงศ์ "ศรีวังสา" มีกษัตริย์ (ชาย) มาก่อน ๕ พระองค์ ก่อนจะเข้าสู่ยุคของราชินี (กษัตริย์หญิง) อีก ๓ พระองค์

.............กษัตริย์พระองค์แรกคือ สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ ครองราชย์ระหว่างปี ๒๐๔๓-๒๐๗๓ ผู้ทรงสถาปนารัฐปัตตานีเป็นนครรัฐอิสลาม
ในชื่อว่า "ปัตตานี ดารุสสลาม" (Patani Darus Salam) อันหมายถึงนครแห่งสันติ

..............กษัตริย์พระองค์ต่อมาเป็นพระราชโอรสของสุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ คือสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ กษัตริย์ผู้โจมตีกรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์ระหว่างปี ๒๐๗๓-๒๑๐๗

..............ลำดับที่ ๓ คือสุลต่านมันโซร์ ชาฮ์ (Sultan Mansur Syah) ครองราชย์ระหว่างปี ๒๑๐๗-๒๑๑๕ โอรสองค์ที่ ๓
ของสุลต่านอิสมาเอล ชาห์ ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐา แม้ว่าสุลต่านมันโซร์ ชาฮ์ จะมีโอรสที่จะสืบราชบัลลังก์ต่อก็ตาม
แต่ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ได้ทรงสั่งเสียกับบรรดาพระราชวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ ว่าให้ยกราชสมบัติให้กับปาติก สยาม
โอรสของสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ แทนโอรสของพระองค์เอง จึงเป็นต้นเหตุแห่งบัลลังก์เลือดของปัตตานี

............สุลต่านปาติก สยาม (Sultan Patik Siam) ครองราชย์ระหว่างปี ๒๑๑๕-๒๑๑๖ ได้พระนาม "สยาม" เพื่อเป็นที่ระลึกว่า
พระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นสุลต่านปาติก สยาม ยังอยู่ในพระครรภ์ของพระมเหสี แต่สุลต่านปาติก สยาม
ซึ่งขณะครองราชย์มีพระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา ก็ถูก "พี่ชายต่างมารดา" คือราชาบามบัง (Raja Bambang)
ลอบปลงพระชนม์ด้วยเหตุริษยา ส่วนราชาบามบังเองก็ถูกล้อมจับและถูกปลงพระชนม์เช่นเดียวกัน

............ผู้สืบทอดบัลลังก์ปัตตานีองค์ต่อมาคือ สุลต่านบาฮาดูร์ ชาฮ์ (Bahadur Syah) โอรสของสุลต่านมันโซร์ ชาฮ์
ครองราชย์ระหว่างปี ๒๑๑๖-๒๑๒๗ แต่แล้วก็ถูกพระเชษฐา คือราชา บีมา (Raja Bima) โอรสของสุลต่านมันโซร์ ชาฮ์ ที่เกิดจากพระสนม
ลอบปลงพระชนม์ ส่วนราชา บีมา ก็ถูกจับ และถูกปลงพระชนม์เช่นกัน

.............ปัตตานี ดารุสสลาม นครแห่งสันติ เมื่อเกิดโศกนาฏกรรมต่อเนื่องกันเช่นนี้ ถึงกับทำให้หมดผู้สืบบัลลังก์ฝ่ายชาย
ปัตตานีในสมัยต่อจากนี้จึงถูกปกครองโดย "กษัตริยา" ต่อเนื่องกันถึง ๔ พระองค์ ในระยะเวลา ๖๗ ปี ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของปัตตานี

..................................... นางพญาตานี

............ ราชินีปัตตานี ๓ พระองค์แรกคือ ราชินีฮีเยา (Raja Hijau) ราชินีบีรู (Raja Biru) และราชินีอูรู (Raja Ungu)
ทั้ง ๓ พระองค์เป็นพี่น้องกันและสืบราชสมบัติต่อเนื่องกัน ส่วนราชินีพระองค์สุดท้ายเป็นราชธิดาของ ราชินีอูรู มีพระนามว่า
ราชินีกูนิง (Raja Kuning) เอกสารบางฉบับระบุว่า ราชินีฮีเยา บีรู และอูรู เป็นราชธิดาของสุลต่านมันโซร์ ชาฮ์
แต่บางฉบับระบุว่าเป็นราชธิดาของสุลต่านบาฮาดูร์ ชาฮ์

............แต่เอกสารจากบันทึกของบริษัทอีสต์อินเดีย ซึ่งเขียนขึ้นในปี ๒๑๖๕ ได้กล่าวถึงราชินีเมืองปัตตานีในขณะนั้นว่า

............ "......ปัตตานีเป็นอาณาจักรโบราณ แต่โดยปกติจะต้องถวายเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงสยาม
ในขณะนั้นมีสตรีผู้หนึ่งเป็นผู้ครองนคร สตรีผู้นี้เป็นราชธิดาของผู้ครองเมืองปัตตานีองค์ก่อน ผู้ครองปัตตานีได้ถึงแก่พิราลัย
ได้ประมาณ ๓๐ ปีมาแล้ว แม้ว่าผู้ครองนครจะเป็นสตรีก็ตาม แต่ก็สามารถปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ชาวต่างประเทศ
ที่เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภารอยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน........"
(บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ ๑๗ เล่ม ๑, กรมศิลปากร, ๒๕๑๒)

.............. แม้ว่าบันทึกนี้จะอยู่ในสมัยราชินีบีรู ซึ่งครองราชย์ระหว่างปี ๒๑๕๙-๒๑๖๗ แต่ "สตรี" ที่เอกสารนี้กล่าวถึง
น่าจะหมายถึง ราชินีฮีเยา ซึ่งปกครองปัตตานียาวนานถึง ๓๒ ปี คือระหว่างปี ๒๑๒๗-๒๑๕๙ ส่วน "ผู้ครองเมืองปัตตานีองค์ก่อน"
ซึ่งครองราชย์เป็นลำดับก่อนหน้าราชินีฮีเยาก็คือ สุลต่านบาฮาดูร์ ชาฮ์ ราชินีทั้ง ๓ พระองค์ก็น่าจะเป็นราชธิดาของสุลต่านองค์นี้

..............ราชินีทั้ง ๔ พระองค์ทำให้ปัตตานีแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เป็นยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
จนเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญในภูมิภาคนี้ ทำให้สยามมุ่งหวังที่จะครอบครองผลประโยชน์แห่งนี้เสมอมา ยุคนี้จึงทำให้ปัตตานี
ต้องทำสงครามกับสยามหลายครั้ง แต่กองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ไม่สามารถปราบปัตตานีได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

............. การที่ปัตตานีจำเป็นจะต้องป้องกันตัวเองจากการรุกรานของกองทัพสยามและพันธมิตร
จึงมีการก่อสร้างพระราชวังอย่างเข้มแข็งและสร้างอาวุธที่ทรงอานุภาพที่สุดในเวลานั้น คือปืนใหญ่
ซึ่งมีจำนวนมากพอที่จะยันกองทัพสยามไว้ได้ หลักฐานชิ้นสำคัญของปืนใหญ่อานุภาพสูงก็คือ
ปืนพญาตานี เป็นปืนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งตั้งแสดงอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน


..................."พญาตานี" ปืนใหญ่ใส่อดีตอันรุ่งเรืองของ กษัตริยาแห่งปัตตานี

..........."พญาตานี" ปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และตั้งแสดงในตำแหน่งประธานของกลุ่มปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม
มีอายุเก่าแก่ราว ๔๐๐ ปี เป็นภาพสะท้อนความรุ่งเรืองของรัฐปัตตานีในอดีต ที่ครั้งหนึ่งถูกปกครองโดยราชินี
ผู้หญิงที่สามารถนำบ้านเมืองต่อต้านการรุกรานจากอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้
และยังสามารถนำพารัฐเปิดประตูการค้ากับนานาประเทศได้ไม่แพ้กรุงศรีอยุธยา

............ตำนานการสร้างปืนใหญ่พญาตานี มีประวัติความเป็นมาที่คลุมเครือ ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
มีการกล่าวถึงประวัติการสร้างไว้หลายสำนวน สำนวนหนึ่งได้กล่าวถึงพญาอินทิราเป็นผู้สร้าง

............ ".............หนังสือสยาเราะห์เมืองตานี ของนายหะยีหวันหะซัน กล่าวถึงเหตุที่พญาอินทิราสร้างปืนว่า
นายเรือสำเภาจีนได้นำปืนและกระสุนปืนมาถวาย ทำให้สุลต่านเกิดความละอายต่อชาวจีนผู้นั้น
เนื่องจากพระองค์มีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองนคร แต่หาได้มีอาวุธปืนไว้สำหรับป้องกันบ้านเมือง เหมือนนายเรือมีไว้ป้องกันตนและสำเภา
ต่อไปจะเป็นที่ดูหมิ่นแก่ชาวต่างประเทศจึงเรียกประชุมมุขมนตรี ให้จัดหาช่างและทองเหลืองมาหล่อปืนให้ได้ภายในระยะเวลา ๓ ปี
และให้ทำประกาศห้ามพ่อค้านำทองเหลืองออกนอกเมือง......."

....... เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึงผู้สร้างว่าเป็นชาวโรมัน ต่างจากตำนานเรื่องอื่นๆ ที่อ้างว่าเป็นชาวจีน

............."............เมื่อได้ทองเหลืองพอเพียงแก่การหล่อแล้ว พญาอินทิราได้ให้นายช่างชาวโรมัน ชื่ออับดุลซามัค
มาเป็นผู้ทำการหล่อปืน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนรอมดอน ปีชวดนักษัตร์ ฮิจยาเราะห์ ๗๘.........."
(แลหลังเมืองตานี, อนันต์ วัฒนานิกร, ๒๕๒๘)

............ เรื่องเกี่ยวกับ "ชาวโรมัน" ซึ่งมีชื่อเป็น "แขก" นี้เคยปรากฏอยู่ในตำนานปัตตานี คือเรื่องพระองค์มหาวังษา
พระเจ้ากรุงโรม ซึ่งโรมหรือโรมันนี้ไม่ได้หมายถึงกรุงโรมในอิตาลี แต่หมายถึง เมืองหรุ่ม

............ "...............เมืองโรม ตรงกับเมืองหรุ่ม ที่ตั้งเมืองเรียกลังกาซูก คำนี้ดูจะตรงกับลังกาสุกะ
ถ้าถือตามนี้ก็แปลว่าลังกาสุกะ กับเกดะห์ อยู่ที่เดียวกัน....." (ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์ เล่ม ๓, กาญจนาคพันธุ์, ๒๕๑๘)

............ ดังนั้นช่างชาวโรม "อับดุลซามัค" ที่มาหล่อปืนนี้ อาจจะหมายถึงช่างจากที่ใดที่หนึ่งในอาณาจักรลังกาสุกะ
ซึ่งปัจจุบันยังไม่ยุติว่าลังกาสุกะตั้งอยู่ที่ใดแน่ แต่ก็อยู่ไม่ไกลจากปัตตานีนั่นเอง (ต่อมาบาดหลวงโรมันคาทอลิก
ได้อ่านเอกสารประวัติศาสตร์พบคำว่า ชาว "โรม" เลยเหมาเอาว่า ปราสาทหินนครวัด เป็นพวกชาวโรมันมาสร้างไว้
และเขียนตำราออกเผยแพร่ปรากฏเป็นหลักฐานพิสูจน์ความโง่เง่าตราบเท่าทุกวันนี้)

............. ตำนานอีกเรื่องหนึ่งกล่าวถึง "นางพญาปัตตานี" เป็นผู้สร้าง แต่ปัญหาคือไม่ได้ระบุว่าเป็นนางพญาคนไหน
ตำนานเรื่องนี้กล่าวถึง ผู้ที่หล่อปืนพญาตานีว่าเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน แซ่ลิ้ม หรือหลิม ชื่อเคี่ยม เดินทางมาจากเมืองจีน
แล้วมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านกะเสะ ปัตตานี ต่อมาได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวปัตตานี แล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม
ชาวปัตตานีเรียกว่า "ลิ้มโต๊ะเคี่ยม" โต๊ะ หรือ ดาโต๊ะ หมายถึง ผู้อาวุโส

.............. ลิ้มโต๊ะเคี่ยมอาศัยอยู่ปัตตานีได้หลายปี จนน้องสาวคือ ลิ้มกอเหนี่ยว เดินทางมาจากเมืองจีน
เพื่อจะตามพี่ชายให้กลับบ้านไปดูแลพ่อแม่และให้เลิกนับถือศาสนาอิสลาม ลิ้มกอเหนี่ยวอ้อนวอนอยู่หลายปีก็ไม่สำเร็จ
ก็ผิดหวังอย่างมากตัดสินใจผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ

...............บางตำนานเล่าว่าเหตุที่ ลิ้มกอเหนี่ยวเลือกมาผูกคอตายใกล้กับมัสยิดแห่งนี้ ก็เพราะต้องการจะประชดพี่ชาย
ซึ่งเป็นนายช่างก่อสร้างมัสยิดกรือเซะ มัสยิดแห่งนี้จึงเหมือนต้องคำสาปทำให้ก่อสร้างไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมพยายาม
สร้างหลังคาโดมหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็เกิดฟ้าผ่าพังลงมาทุกครั้ง

............มัสยิดกรือเซะก็มีตำนานที่หาข้อยุติได้ยากว่าใครเป็นผู้สร้าง และสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีหลักฐานชิ้นหนึ่ง
ที่ทำให้เรื่องปืนพญาตานีและมัสยิดกรือเซะมาสอดคล้องกันพอดี ก็คือสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ สั่งให้สร้างมัสยิดขึ้น ๒ แห่ง
คือมัสยิดกรือเซะ และมัสยิดตันหยง ดาโต๊ะ และใช้ช่างชาวจีน

............ บันทึกของชาวฮอลันดา ในปี ๒๑๔๓ ตรงกับรัชสมัยของราชินีฮีเยา กล่าวถึงผู้สร้างมัสยิดที่เป็นคนจีนว่า

............. ".................. โบสถ์ของชาวมุสลิม หรือที่เรียกว่ามัสยิด เป็นตึกสง่างาม โอ่โถง สร้างด้วยอิฐสีแดง
โดยช่างชาวจีน ด้านในเคลือบอย่างหรูหรามาก และประดับประดาด้วยเสาที่มีรูปสลักอย่างวิจิตรพิสดาร ด้านที่ติดกับผนังสลัก
และเคลือบปิดทองทั่วทั้งหมด........." (ปัตตานี การค้า และการเมืองการปกครองในอดีต, ครองชัย หัตถา, ๒๕๔๑)

............. หากนำตำนานและบันทึกฉบับนี้มาผูกเข้าด้วยกัน ก็เป็นไปได้ว่าผู้สั่งสร้างปืนพญาตานี
อาจจะเป็นสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ หรือราชินีฮีเยา สั่งให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมนายช่างผู้สร้างมัสยิดกรือเซะเป็นผู้หล่อปืนขึ้น
แต่ยังไม่มีหลักฐานใดที่พูดถึงสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ ในฐานะผู้สร้างปืนพญาตานีกระบอกนี้

............ ส่วนราชินีฮีเยาขึ้นครองราชย์ห่างจากปีสวรรคตของสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์ เพียง ๒๐ ปี และสุลต่านพระองค์ต่างๆ
ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างผู้ครองปัตตานีทั้ง ๒ องค์นี้ ก็อยู่ในภาวะการเมืองที่ไม่สงบ และไม่มีหลักฐานใดๆ พอจะบ่งชี้ว่า
เป็นผู้สร้างปืนพญาปัตตานี

............ ยังมีผู้สันนิษฐานว่าปืนพญาตานีน่าจะสร้างในสมัยราชินีฮีเยา โดยคำนวณจากช่วงเวลา และอายุปืน คือ

............. "...........ลิ้มโต๊ะเคี่ยมอพยพมาจากเมืองจีนในปี พ.ศ. ๒๑๒๑ ตรงกับสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสวยราชสมบัติ
(พ.ศ. ๒๑๒๑-พ.ศ. ๒๑๓๖) หรือปลายรัชสมัยพระเจ้าธรรมราชา ลิ้มโต๊ะเคี่ยมมาอยู่ได้ระยะหนึ่งจนกระทั่งแต่งงานกับชาวปัตตานี
และน้องสาวมาตามกลับบ้าน ได้อ้อนวอนพี่ชายอยู่หลายปี ฉะนั้นการสร้างปืนคงสร้างหลังจากน้องสาวถึงแก่กรรมแล้ว
เพราะว่าหลังจากสร้างปืนเสร็จแล้วในการทดลองยิงปืนกระบอกที่สามลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เสียชีวิตในวันนั้น........"
(ปืนพญาตานี, สำราญ วังศพ่าห์, เมืองโบราณ, ๒๕๒๒)

............. ข้อสันนิษฐานนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องปี ๒๑๒๑ ที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมมาถึงสยาม เพราะสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์
ผู้สร้างมัสยิดกรือเซะ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๑๐๗ ก่อนที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะมาถึงสยาม ทำให้ไม่สอดคล้องกับตำนานผู้สั่งให้สร้างมัสยิด
และบันทึกของฮอลันดา แต่ไม่ว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะมาก่อนปี ๒๑๐๗ หรือหลังจากนั้น ประกอบกับไม่มีหลักฐานว่าสุลต่านมุซาฟาร์ ชาฮ์
เป็นผู้สั่งให้สร้างปืนพญาปัตตานี ระยะเวลาที่เหมาะสมลงตัวที่สุดคือในรัชสมัยของราชินีฮีเยา

............... นอกจากนี้ในสมัยของราชินีฮีเยา ซึ่งครองราชย์ยาวนานถึง ๓๒ ปี ก็เป็นยุคทองของปัตตานี
ถึงกับมีหลักฐานว่าเป็นศูนย์กลางการค้าอาวุธให้กับสยามและญี่ปุ่นในเวลานั้น

.................ปัญหาของผู้สร้างปืนพญาปัตตานียังไม่จบลงแค่นั้น ยังมีหลักฐานอื่นชี้ว่า ราชินีบีรู ซึ่งครองราชย์ต่อจากราชินีฮีเยา
เป็นผู้สั่งให้หล่อปืนพญาปัตตานีขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีกระแสข่าวมาตลอดเวลาว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามตระเตรียมกำลัง
เพื่อยกมาตีปัตตานีจึงสั่งการให้เตรียมตัวป้องกันภัยสงคราม แล้วให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นนายช่างหล่อปืนใหญ่ไว้จำนวน ๓ กระบอก คือ
นางพญาตานี ศรีนัครี และมหาเลลา

.............. บริเวณที่หล่อปืนนี้อยู่ไม่ห่างจากมัสยิดกรือเซะ ปัจจุบันยังปรากฏเป็นพื้นที่เตียนโล่ง เนิน ๔ เหลี่ยม
กว้างยาวประมาณ ๔ เมตร ไม่มีต้นหญ้า หรือต้นไม้ขึ้น เพราะดินบริเวณนั้นถูกเผาจนสุกกลายเป็นอิฐจนหมด

............... ขณะที่หล่อปืนเสร็จไปแล้ว ๒ กระบอก พอถึงกระบอกที่ ๓ กลับเททองไม่ลง เมื่อได้มีการเซ่นไหว้บวงสรวงแล้ว
ก็ยังเททองไม่ลงอีก ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงกล่าวคำปฏิญาณว่า หากเททองสำเร็จลงได้จะขอเอาชีวิตเป็นเครื่องเซ่น
จึงสามารถเททองได้สำเร็จ

............... ครั้นเมื่อหล่อปืนทั้ง ๓ กระบอกเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็ได้ทำการทดลองยิงปืนกระบอกที่ ๑ และ ๒ จนถึงกระบอกที่ ๓
ลิ้มโต๊ะเคี่ยมก็ได้ทำตามสัญญาที่ได้ปฏิญาณไว้ จึงไปยืนอยู่หน้าปากกระบอกปืน

.............. "...............แล้วกล่าวคำว่าที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้ปฏิญาณไว้ ถ้าปืนกระบอกนี้เทลงดีแล้ว จะเอาชีวิตเป็นเครื่องเซ่นไหว้ปืน
ครั้งนี้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้ปลงใจยอมดังที่ปฏิญาณไว้แต่ก่อน แล้วก็บอกให้คนจุดปืน พอปืนลั่นออกแรงดินหอบพาลิ้มโต๊ะเคี่ยม
สูญหายไปในเวลานั้น........." (พงศาวดารเมืองปัตตานี, ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓, ก้าวหน้า, ๒๕๐๗)

.............ปืนพญาตานีนี้มีขนาดที่บันทึกไว้ในเอกสารว่า ยาว ๓ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้วครึ่ง ปากกระบอกกว้าง ๑๑ นิ้ว
ภายหลังสำรวจใหม่เทียบกับมาตราปัจจุบัน เส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้อง ๒๔ เซนติเมตร ยาว ๖.๘๒ เมตร
ขอบปากลำกล้องหนา ๑๐ เซนติเมตร หล่อด้วยสำริด ลำกล้องเรียบ บรรจุกระสุนทางปากกระบอก มีหูระวิง
และห่วงคล้องสำหรับยก ๒ คู่ ท้ายปืนหล่อตันเป็นรูปสังข์ เพลาสลักรูปราชสีห์ มีคำจารึก "พญาตานี" และขนาดดินดำที่ใช้บรรจุเพื่อยิง

............... สรุปว่ามีข้อสันนิษฐานเรื่องผู้สร้างปืนพญาตานีไว้ ๓ พระองค์ คือ สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์ (๒๐๔๓-๒๐๗๓)
สร้างโดยช่างชาว "โรมัน" ชื่ออับดุลซามัค อีก ๒ พระองค์ที่เป็นไปได้คือ ราชินีฮีเยา (๒๑๒๗-๒๑๕๙) ราชินีบีรู (๒๑๕๙-๒๑๖๗)
สร้างโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ชาวจีน ช่างหล่อปืนทั้ง ๒ คนนี้เป็นชาวพื้นเมือง ซึ่งสอดคล้องกับเทคนิคการหล่อปืนพญาตานีว่า
เป็นฝีมือของช่างชาวพื้นเมือง ไม่ใช่เป็นปืนนำเข้าจากที่อื่น
narong:
....................................ปืนพญาตานีเข้ากรุงเทพฯ

.............ในปี ๒๓๒๙ พม่ายกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ ได้นครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกทัพหลวงลงมาปราบปราม เมื่อตีทัพพม่าแตกพ่ายไปแล้ว
หัวเมืองที่เคยแข็งขืนแต่ก่อนก็ให้มาอ่อนน้อมดังแต่ก่อน มีพระยาไทรบุรี พระยาตรังกานู ก็ปรากฏว่าพระยาปัตตานียังแข็งขืน
ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อสยาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปตีเมืองปัตตานี จนยึดเมืองได้สำเร็จ

..............ระหว่างนั้นกรมพระราชวังบวรฯ ทรงรับแจ้งว่าพบปืนใหญ่ ๒ กระบอก จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำปืนทั้ง ๒ กระบอก
กลับกรุงเทพฯ เพื่อตัดรอนไม่ให้ปัตตานีแข็งขืนได้อีก

".............แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกกองทัพเข็นปืนทองเหลืองใหญ่ในเมืองปัตตานี ๒ กระบอกลงเรือรบ
แต่ปืนกระบอกหนึ่งตกน้ำเสียที่ท่า หน้าเมืองปัตตานี ได้ไปแต่กระบอกเดียว คือปืนนางพระยาปัตตานีเดี๋ยวนี้........."
(พงศาวดารเมืองสงขลา, ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓, ก้าวหน้า, ๒๕๐๗)

............ปืนกระบอกที่ ๒ คือ ศรีนัครี นั้นในพงศาวดารเมืองปัตตานีกล่าวไว้แตกต่างกัน คือไม่ได้ตกน้ำหายไป แต่จมหายทั้งเรือ

............."............ปืนกระบอกที่ ๑ ชื่อนางปัตตานีนั้น ออกไปถึงเรือหลวงก่อน ได้ยกปืนขึ้นบนเรือหลวงเสร็จแล้ว
เรือที่บรรทุกปืนกระบอกที่ ๒ ซึ่งชื่อ ศรีนัครี ตกอยู่ข้างหลัง เกิดพายุ เรือที่บรรทุกปืนกระบอกที่ ๒ ชื่อ ศรีนัครี ล่มลง
ปืนก็จมสูญหายไปด้วย"

.............ส่วนปืนกระบอกที่ ๓ นั้น ที่ชื่อ มหาเลลา นั้น ไม่มีหลักฐานใดๆ กล่าวถึง หายสาบสูญไปเฉยๆ เอกสารบางฉบับอ้างว่า
ปืนแตกขณะทำการรบกับกองทัพของปลัดจะนะ ทัพหน้าของกรมพระราชวังบวรฯ

............เมื่อปืนพญาตานีมาถึงกรุงเทพฯ ในปี ๒๓๒๙ กรมพระราชวังบวรฯ กราบบังคมทูลถวายปืนใหญ่
แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พร้อมทั้งกราบทูลถวายครัวแขก พม่าเชลย และเครื่องศาสตราวุธต่างๆ

............"........ปืนบอกใหญ่ที่ได้มาแต่เมืองตานีนั้น ก็โปรดให้แก้ไขตกแต่งลวดลายท้ายสังข์ขัดสีเสียใหม่
ให้จารึกนามลงไว้กับบอกปืนว่า "พญาตาณี" แล้วให้ทำโรงไว้ที่ข้างหน้าศาลาลูกขุนในฝ่ายขวา......"
(พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑, เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, กรมศิลปากร, ๒๕๓๑)

..............จากนั้นก็โปรดให้หล่อปืนขึ้นคู่กับปืนพญาตานีอีกกระบอกหนึ่ง ที่โรงหล่อริมถนน ประตูวิเศษไชยศรี
พระราชทานชื่อว่า "นารายณ์สังหาร" และให้หล่อปืนขึ้นอีก ๖ กระบอก ทำโรงขึ้นไว้เป็นคู่ๆ กันข้างประตูวิเศษไชยศรี
ภายหลังจึงย้ายมาไว้ที่หน้ากระทรวงกลาโหมอย่างในปัจจุบัน ทุกวันนี้จังหวัดปัตตานียังใช้สัญลักษณ์ปืนพญาตานี
เป็นตราประจำจังหวัดอยู่

.............. ในคราวที่นำปืนพญาตานีมากรุงเทพฯ นี้ ก็ยังมีครัวแขกพ่วงมาด้วย บุคคลที่มีชื่อเสียงในกลุ่มครัวแขกครั้งนี้คือ
นางประแดะ มเหสีของท้าวประดู่

..........................นางก็ไร้ญาติวงศ์พงศา หมายพึ่งบาทาพระโฉมศรี
..........................โคตรพ่อโคตรแม่ก็ไม่มี อยู่ถึงเมืองตานีเขาตีมา

.............ตำนานปืนพญาตานีได้นำไปสู่เรื่องราวของ "กษัตริยา" ผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขับเคี่ยวกับอาณาจักรใหญ่อย่างกรุงศรีอยุธยาได้
ปืนกระบอกนี้จึงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่อาวุธสงคราม แต่ยังบอกเรื่องราวในอดีตของ การเมือง เศรษฐกิจ
สัมพันธภาพระหว่างสยามกับปัตตานี และเป็นอนุสรณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของปัตตานีได้เป็นอย่างดี
narong:
..................... .............. ตำนานที่ถูกต้อง ของ มัสยิสกรือเซะ

........ ตำนานมัสยิดกรือเซะ ที่กรือเซะ-บานา เป็นเรื่องราวที่ได้สร้างความอัปยศให้กับสังคมมุสลิม
นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์อิสลามเกิดขึ้นมาในปัตตานี เริ่มจากรัชสมัยของพระยาอินทิรา แห่งราชวงศ์ RAJA WANGSA
ซึ่งพระองค์ได้ยอมรับศาสนาอิสลามเป็นวิถีแห่งชีวิต และทรงมีพระนามว่า สุลต่าน อิสมาแอล ชาห์

............ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว มัสยิดกรือเซะ หรือมัสยิดญาเมี๊ยะอ์ ประจำมหาราชวังโกตามะลิฆัย ไม่ได้ถูกสร้างโดยลิ้มโต๊ะเคียม
เหมือนดังตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่บอกเล่าต่อๆ กันมา หรือตามตำนานที่ได้ถูกเขียนไว้ในวารสาร อสท.
ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ฉบับที่ยังไม่ได้ปรับปรุง) และมัสยิดกรือเซะไม่ได้ถูกฟ้าผ่า เนื่องจากคำสาปแช่ง
ของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือหลิมกัวเนี่ยว ที่ผูกคอตายที่ใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ริมชายหาดตันหยงลูโล๊ะ
ดั่งตำนานได้บอกกล่าวว่าไว้ ที่ว่า "เมื่อนางไม่สามารถชวน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน ผู้เป็นพี่ชายกลับเมืองจีน
เพื่อไปดูแลแม่ที่แก่ชราได้ นางจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ จึงตัดสินใจผูกคอตายกับกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์
พร้อมอาฆาตพยาบาทต่อมัสยิดกรือเซะ

อันเป็นต้นเหตุให้พี่ชายไม่สามารถกลับเมืองจีนพร้อมกับนางได้ นางจึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า
ขอให้มัสยิดหลังนี้มีอันเป็นไปในทุกๆครั้งที่มีการก่อสร้าง จากนั้นก็ได้มีฟ้าคะนองพร้อมกับได้มีอสนีบาตฟาดลงมา
บนโดมมัสยิดจนพังพินาศเสียหาย ชาวมุสลิมต่างเกรงกลัวต่ออิทธิฤทธิ์ของนางไม่กล้าที่จะกลับมาสร้างหรือกลับมาบูรณะอีกต่อไป
แหละเมื่อใดก็ตามที่คิดชาวมุสลิมคิดจะที่บูรณะมัสยิดหลังนี้ เมื่อทำการบูรณะเสร็จก็จะโดนฟ้าผ่าเสียทุกครั้งไป
จนชาวมุสลิมไม่กล้าบูรณะมัสยิดหลังนี้อีกต่อไป ปล่อยทิ้งให้มัสยิดรกร้างว่างเปล่าตั้งแต่นั้นมา
เพราะความเกรงกลัวต่ออำนาจอิทธิฤทธิ์ของนางสาวลิ้มกอเหนี่ยว หรือที่ถูกเรียกขานว่า เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในปัจจุบัน"

..............แต่ในทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ไทยเองที่ถูกพบบางส่วน หรือประวัติศาสตร์ของชาวมลายู
ที่ได้ถูกบันทึกไว้ เขียนไว้ว่า…สาเหตุที่มัสยิดกรือเซ๊ะเสียหาย ก็เพราะโดนกองทัพจากกรุงสยามเข้าตีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
หรือเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2328 เมื่อครั้งที่กองทัพสยามได้เข้ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ ทหารสยามได้ระดมยิงปืนใหญ่จนเมือง
และพระราชวังตลอดจนมัสยิดเกิดความเสียหาย และเมื่อทหารสยามรบชนะก็ได้ทำการเผามัสยิดเพื่อลอกเอาเนื้อทองคำบริสุทธิ์
ที่ห่อหุ้มบนโดมมัสยิด และได้แกะพลอยที่ประดับประดาอยู่ที่ฝามัสยิดกรือเซ๊ะกลับไปกรุงสยาม

.............ในสมัยที่กองทหารสยามเข้ายึดเมืองปัตตานีและหัวเมืองปักษ์ใต้ หรือหัวเมืองมลายู
กองทัพสยามได้ทำการกวาดต้อนเชลยศึกและริบทรัพย์สินในสงคราม ตอนที่กองทัพถอยทัพกลับนั้นทหารเรือ
ต้องเดินทางเปล่ากลับกรุงเทพมหานครฯ ด้วยเพราะทรัพย์สินที่ยึดได้นั้นมีมากจนเรือลำหนึ่งที่บรรทุกปืนใหญ่ชื่อ "ศรีนะฆะรา"
และสมบัติของเชลยศึกที่ยึดได้ จมล้มในอ่าวปัตตานีเพราะบรรทุกทรัพย์สินจนเกินที่น้ำหนักของเรือจะรับไว้ได้เพราะมากเกินไป
จนเรือสำเภอลำดังกล่าวจมลงในอ่าวปัตตานี ปืนใหญ่ที่ชื่อ "นางพญาตานี" ถูกนำขึ้นกรุงเทพมหานครฯในสมัยนี้นี่เอง

.............ปัตตานี กลันตัน ตรังกานู เคดะห์ และปีนัง ถูกกองทัพสยามโจมตีและยึดครองและในปี พ.ศ.2329
กองทัพสยามได้ขนปืนใหญ่นางพญาตานี ขึ้นไปกรุงเทพฯ พร้อมกับได้ทำการกวาดต้นเชลยศึกมลายูขึ้นไปจำนวนหลายสิบหมื่นคน
เพื่อไปเป็นโลห์มนุษย์และทำการขุดคลองจนได้ชื่อว่าคลองแสนแสบในปัจจุบัน สถานที่ๆ เชลยศึกและทาสมลายู
ถูกปล่อยเป็นกลุ่มก้อนมากที่สุดก็คือแถวคลองตัน พระโขนง มีนบุรี หนองจอก ทุ่งครุ แถวคลองตะเคียน ริมวัดลอดช่อง อยุธยา
นครนายก ปทุมธานีและแปดริ้ว( อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเฉิงเทรา ปัจจุบัน)

.............. มัสยิดกรือเซะ หรือมัสยิดญาเมี๊ยะ หรืออีกนามหนึ่งคือมัสยิดปินตูกรือบัง ซึ่งมัสยิดหลังดังกล่าว
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ได้ถูกฟ้าผ่าดั่งเรื่องราวคำบอกเล่าตามตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ได้เล่าขานเอาไว้
แต่มัสยิดกรือเซะโดนเผาเมื่อตอนที่สมัยกองทัพสยามได้เข้ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ แม่ทัพบางคนที่คุมทัพรัตนโกสินทร์ครั้งนั้น
อย่างเช่นพระยาราชบังสัน ซึ่งเป็นมุสลิมเสียใจต่อการกระทำครั้งนี้ของกองทัพสยามอย่างมาก แต่สงครามก็คือสงคราม
ผู้ชนะย่อมต้องทำลายเมืองและศาสนสถานหรือบ้านเรือนของผู้แพ้ตลอดจนกวาดต้อนเชลยศึกนำไปเป็นทาส
เพื่อไม่ตั้งตัวเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินในอนาคตได้ ซึ่งเรื่องในทำนองนี้ กองทัพพม่าได้เคยกระทำต่อกรุงศรีอยุธยาฉันใด
กองทัพสยามก็ได้ทำต่อปัตตานีฉันนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกมันเป็นเหตุผลของสงคราม มันเป็นความชอบธรรมสำหรับผู้ชนะ
เพราะความชอบธรรมในโลกนี้ แล้วแต่ใครจะเป็นคนเขียน แล้วใครจะเป็นคนบัญญัติ
ผู้ชนะย่อมเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ ผู้ชนะย่อมเป็นผู้สร้างตำนาน

............ มัสยิดกรือเซะ หรือมัสยิดปินตูกรือบัง ได้ถูกกรมศิลปกรตีทะเบียนเป็นโบราณสถานและทำการบูรณะ
เมื่อปี พ.ศ.2478 และได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 ได้ทำการบูรณะอีกครั้ง
เนื่องในโอกาสสมโภชน์ กรุงรัตนโกสินทร์

............. ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือ หลิมเต้าเคียน เข้ามาในปัตตานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2119 ในสมัยแผ่นดินสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์
โดยได้นำเรือสำเภามาจอดเทียบท่าที่ท่าเทียบเรือตันหยงลูโล๊ะ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน
ได้อภิเษกสมรสเจ้าหญิงองค์ใดเลย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหญิงฮิเยาว์ เจ้าหญิงบีรู เจ้าหญิงอูงู หรือราชินีกูนิง
เพราะฉะนั้นตามตำนานได้เล่าต่อๆ กันมาว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้แต่งงานกับบุตรีของเจ้าเมืองปัตตานี น่าจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
เพราะในประวัติศาสตร์อิสลามปัตตานี นับตั้งแต่พระยาอินทิราเข้ารับอิสลามมาจนถึงการปกครองของสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์
ซึ่งอยู่ในระหว่างปี พ.ศ.2043-2127 ไม่ปรากฏว่าบุตรีของสุลต่านองค์ใดแต่งงานกับลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียนเลย
และมัสยิดกรือเซะไม่ได้ถูกสร้างในสมัยสุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ แต่น่าจะสร้างในรัชสมัยของสุลต่านอิสมาแอล ชาห์ หรือพระยาอินทิรา
ภายหลังจากที่พระองค์ได้เข้ารีตศาสนาอิสลาม และสิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือ ศีลปะของมัสยิดกรือ เป็นศิลปะแบบเปอร์เซีย
ไม่ว่าจะเป็นซุ้มประตูโค้ง และเมี๊ยะรอบ ล้วนแล้วแต่เป็นทรงและศีลปกรรมแบบเปอร์เซียทั้งสิ้น
มัสยิดกรือเซะมีอะไรหลายอย่างที่เหมือนศิลปะโมกุล เหมือนที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดราชบุรี
หรือเหมือนวัดกุฎีดาว ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งศิลปะการลงยาราชาวดีเป็นเทคนิคของนายช่างชาวมุสลิม
เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะสร้างมัสยิดหลังนี้ เหมือนดั่งที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเล่าต่อๆ กันมา
เพราะถ้าเราได้ไปดูมัสยิดในเมืองจีนที่สร้างเมื่อ 400-500 ปีที่แล้ว เราเห็นได้ว่า มัสยิดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีรูปทรง
หรือศิลปะแบบจีน(หรือเหมือนวัดจีน)ทั้งสิ้น ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะเอาศีลปกรรมแบบเปอร์เซียมาสร้างมัสยิดมาจากไหน
สิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ก็คือว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม อาจจะเข้ามาช่วยอาสาบูรณะมัสยิดภายหลังจากเกิดความเสียหายจากสงครามก็เป็นได้
อีกอย่างลิ้มโต๊ะเคี่ยมไม่ได้สมรสกับบุตรีของสุลต่านปัตตานีดั่งที่ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวว่ากล่าวไว้
แต่อาจจะสมรสกับเครือญาติของสุลต่านก็เป็นได้ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเป็นผู้ที่อาสาต่อเติมมัสยิดให้เสร็จสิ้น
หลังจากที่กองทัพอยุธยาได้เข้ามาโจมตี

........... สิ่งที่น่าสังเกตก็คือในสมัยเจ้าหญิงฮิเยา เจ้าหญิงบีรู เจ้าหญิงอูงู และเจ้าหญิงกูนิงครองเมืองปัตตานี
ระหว่างปี พ.ศ.2127-2230 มัสยิดกรือเซะก็ยังไม่ถูกทำลาย มัสยิดกรือเซะยังคงถูกบันทึกว่าเป็นมัสยิดที่งดงาม
ภายในมัสยิดมีลวดลายอันวิจิตร บนยอดโดมของมัสยิดกรือเซะหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์ ฝาผนังประดับด้วยพลอยและทับทิม
เพราะในรัชสมัยของราชินีฮิเยา เคยเกิดสงครามครั้งหนึ่งที่เป็นเหตุทำให้มัสยิดเสียหาย คือในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ได้ส่งกองทัพเรือเข้ามาตีเมืองปัตตานี โดยมีออกญาเดโช เป็นผู้นำทัพ โดยมาขึ้นที่ปากอ่าวเมืองปัตตานีและบุกเข้าประชิดตัวเมือง
ราชินีฮิเยาได้นำทหารหาญของเมืองปัตตานีออกมาต่อต้านกองทัพอยุธยาอย่างเต็มกำลังสามารถ โดยใช้ปืนใหญ่ออกมายิงต่อสู้
จนกองทัพสยามต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด และในศึกสงครามครั้งนี้ทำให้มัสยิดกรือเซะหรือมัสยิดปินตูกรือบังเสียหาย ลิ้มโต๊ะเคี่ยม
ซึ่งรับราชการอยู่จึงรับอาสาช่วยบูรณะซ่อมมัสยิดกรือเซะ และเป็นเวลาเดียวกับที่นางหรือนางสาวลิ้มกอเหนี่ยว
(สมัยนั้นยังไม่ได้รับฉายาเป็นเจ้าแม่) มาตามพี่ชาย แต่พี่ชายไม่ยอมกลับเพราะยังบูรณะมัสยิดไม่เสร็จ
และอาจเป็นไปได้ว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมมีความตั้งใจแล้วว่าจะไม่กลับไปแผ่นดินจีนอีกเพราะ

1.ต้องการบูรณะมัสยิดให้เสร็จ 2.ต้องต้องการที่จะตั้งรกรากใหม่ที่นี่เพราะมีลูกมีเมียแล้ว 3.เพราะตนเข้ารับอิสลามและเป็นมุสลิม

.............. นางสาวลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อได้รับการปฏิเสธจากพี่ชายก็เลยเสียใจ เพราะได้รับปากกับทางบ้านแล้วว่าจะนำพี่ชาย
ไปยังบ้านเกิดให้จงได้ ถึงแม้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจะอธิบายเหตุผลและความจำเป็นของภารกิจอย่างไรก็ตาม ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่ยอมฟัง
เมื่อไม่สามารถโน้มน้าวจิตใจพี่ชายให้คล้อยตามนางได้ นางจึงเสียใจเป็นสุดกำลัง เพราะนางไม่สามารถบากหน้ากลับไปหาแม่ที่เมืองจีน
โดยปราศจากพี่ชายของนางได้ นางจึงได้ตัดสินใจผูกคอตายโดยใช้ผ้าหรือเชือกผูกกับกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่ริมชายหาดตันหยงลูโละ
ส่วนนางจะสาปแช่งให้ฟ้าผ่ามัสยิดหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้

............ และเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ถ้าหากนางสาปแช่งมัสยิดกรือเซะจริง แล้วใครเป็นคนได้ยิน แล้วหากมีคนได้ยิน
ตอนที่นางสาปแช่ง ทำไมไม่ช่วยกันห้าม การผูกคอตายครั้งนี้เป็นไปเพราะน้อยใจพี่ชายเท่านั้น หรือหากนางอาฆาตพยาบาท
ต่อมัสยิดกรือเซะ ก็คงไม่ใช่เพราะแรงอาฆาตพยาบาทหรือแรงอธิษฐานของนางหรอกที่ดลบันดาลให้ฟ้าผ่ามัสยิดกรือเซะ
เพราะหากมีฟ้าผ่ามัสยิดกรือบ้างก็เพียงเพราะเหตุที่โดมสัมยิดกรือหุ้มด้วยทองคำต่างหาก เพราะมัสยิดกรือเซะในสมัยนั้นไม่มีสายล่อฟ้า
และในความเป็นจริงมัสยิดกรือเซะก็ไม่ได้เสียหายเพราะถูกฟ้าผ่า

.............ผู้ชนะย่อมสามารถเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาเองได้ แต่การจะเขียนว่า "มัสยิดกรือเซะโดนนางสาวหรือนางลิ้มกอเหนี่ยว
สาปแช่งไว้จนถูกฟ้าผ่านั้น" มันขัดกับความจริงที่เกิดขึ้น "จึงอุปโลกตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นมาเพราะต้องการปกปิดความจริงบางอย่าง"
ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้องปกปิดเลย เพราะอดีตก็คืออดีต อดีตมีเพื่อเรียนรู้ไว้เป็นบทเรียน สิ่งที่ดีจากการเรียนรู้ในอดีต
เราก็สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องจดจำไว้เป็นอุทาหรณ์เพื่อช่วยกันป้องกันแก้ไขอย่าให้เกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า
narong:
.................... การบิดเบือนประวัติศาสตร์กรณีมัสยิดกรือเซะ ............

................. ปัจจุบันชาวจีนและชาวไทย พยายามปั้นแต่งเรื่องนางลิ่มกอเหนี่ยว ผสมผสานกับนิยายเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวของไต้หวัน
ซึ่งเป็นที่บูชาของชาวจีนก่อนที่จะมีการอุปโลกน์ศาลเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยวที่ปัตตานี ชาวจีนได้สร้างสุสานปลอมขึ้น
ทางทิศตะวันตกของมัสยิด อันที่จริงสุสานของนางสิ่มกอเหนี่ยวนั้น แต่ก่อนอยู่ในสวนมะพร้าวริมทะเล แต่พอถูกน้ำทะเลเซาะเข้า
ก็ทำให้สุสานเก่าจมอยู่ใต้น้ำ ชาวจีนจึงอุปโลกน์สร้างสุสานใหม่ขึ้นมา ตามจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็ง เล่มที่ 323 เรื่อง ประวัติเมืองกีลุ่ง
คือไต้หวันในปัจจุบัน กล่าวว่าเมื่อปลายปีเกี่ยเจ็ง ตรงกับปี พ.ศ. 2109 แม่ทัพเช็กกีกวงได้ทำการปราบปรามพวกโจรสลัดญี่ปุ่น
จนราบคาบแล้ว หลิมเต้าเคียนกับพวกได้หลบหนีไปอาศัยอยู่ที่เกาะไต้หวัน ส่วนจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็งเรื่อง ประวัติเมืองลูซอน
บันทึกว่า

เมื่อปีบวนเละที่ 4 ตรงกับปี พ.ศ. 2119 หากหลิมเต้าเคียนมาอยู่ที่นครปาตานีในช่วงที่ลงยูนุสขึ้นครองราชย์
นั่นคือ ปี 1725 (พ.ศ.2268) ต่างกับเรื่องแรกถึง 150 ปีกว่า แสดงว่า ต้องไม่ใช่หลิมเต้าเคียนเดียวกัน อันที่จริง
หลิมเต้าเคียนเป็นนิยายหรือตำนานนักเดินเรือทะเล และลิ่มกอเหนี่ยวก็เป็นเจ้าแม่ที่ชาวไต้หวันกราบไหว้บูชามาช้านาน
เมื่อมาเจอสุสานจีนดังกล่าว ก็ฉวยโอกาสสร้างเรื่องราวให้สมจริงสมจัง

...............ต่อมาพระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย ต้นสกุล คณานุรักษ์ ) ซึ่งเป็นหัวหน้าชาวจีนในปัตตานีในอดีต
เห็นว่าศาลที่ประดิษฐ์องค์เจ้าแม่อยู่ที่หมู่บ้านกรือเซะห่างไกลจากตัวเมือง ไม่สะดวกแก่แก่การประกอบพิธีต่าง ๆ
จึงเอารูปเจว็ดนางกอเหนี่ยวมาตั้งไว้ในศาลเจ้าเล่งจูเกียง ในเมืองปัตตานี

............ มัสยิดกรือเซะไม่ได้ร้างเพราะสร้างไม่เสร็จตามคำสาปของหญิงที่น้อยใจจนฆ่าตัวตาย
แต่เพราะถูกกองทัพของพระยากลาโหมเสนาและพระยาจ่าแสนยากรเผาทำลาย อนึ่งก่อนหน้านั้น มัสยิดนี้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
มีรูปแบบงดงามเป็นที่สรรเสริญของนานาชาติ กษัตริย์ลงยูนุสทรงประสงค์ที่จะบูรณะ แต่สิ้นพระชนม์เสียก่อน
ไม่ได้หมายความว่ามัสยิดสร้างไม่เสร็จเช่นกัน อันปรากฏเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสืบค้น กรณีมัสยิสกรือเซะ ดังนี้


ข้อมูลราชวงศ์ ศรีวังศา
สุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ ระหว่างปี พ.ศ.2092-2106
สุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ ได้เข้าเจริญสัมพันธไมตรีกับกับสยามในสมัยแผ่นดินของพระมหาจักรพรรดิ์ ถูกกักตัวอยู่ในอยุธยา 2 เดือน
แต่ถูกอยุธยาลบหลู่พระเกียรติ จึงเคืองแค้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์

ราชาศรีวังสา หรือ พญาท้าวนภา ก่อนปี พ.ศ.2043
พระยาอินทิรา หรือสุลต่านอิสมาแอล ชาห์ ระหว่างปี พ.ศ.2043-2073
สุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ ระหว่างปี พ.ศ.2073-2107
สุลต่านมันโซร์ ชาห์ ระหว่างปี พ.ศ.2107-2115
สุลต่านปาเตะเซียม (ข้าของสยาม) ระหว่างปี พ.ศ.2115-2117
สุลต่านปาเตะเซียม เป็นราชโอรสของสุลต่านมูซัฟฟาร์ ชาห์ หรือพระยาตานีศรีสุลต่าน
สุลต่านบาฮาดูร์ ชาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2117-2127
เจ้าหญิงฮิเยา (เจ้าหญิงเขียว) ครองราชย์เมืองปัตตานีดารุสสาลาม ระหว่างปี พ.ศ.2127-2159
เจ้าหญิงบีรู(เจ้าหญิงน้ำเงิน) ครองราชย์เมืองปัตตานีดารุสสาลาม ระหว่างปี พ.ศ.2159-2183
เจ้าหญิงอูงู (เจ้าหญิงม่วง) ครองราชย์เมืองปัตตานีดารุสสาลาม ระหว่างปี พ.ศ.2183-2200
เจ้าหญิงอูงูเป็นน้องสาวของเจ้าหญิงบีรู
เจ้าหญิงกูนิง (เจ้าหญิงเหลือง) ครองราชย์เมืองปัตตานีดารุสสาลาม ระหว่าง ปี พ.ศ.2200-2230
เจ้าหญิงกูนิง หรือราชินีกูนิง เป็นราชธิดาของสุลต่านปาหังกับเจ้าหญิงอูงู เจ้าหญิงบีรูเป็นผู้จัดอภิเษกสมรสเจ้าหญิงกูนิง
กับออกญาเดโชขุนนางสยามเพื่อหวังความเป็นปึกแผ่นกับแผ่นดินสยาม (อีกประวัติศาสตร์หนึ่งบอกว่าอภิเษกสมรสกับพระยารามเมศวร
หรือพระยารามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช) และเมื่อราชินีอูงูขึ้นครองราชย์ออกญาเดโช ได้ขอลากลับไปอยุธยา

.............. ซึ่งในปี 2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ส่งกองทัพเรือเข้ามาตีเมืองปัตตานี โดยมีออกญาเดโช เป็นผู้นำทัพ
โดยมาขึ้นที่ปากอ่าวเมืองปัตตานีและบุกเข้าประชิดตัวเมือง ราชินีฮิเยาว์ได้นำทหารหาญของเมืองปัตตานีออกมาต่อต้าน
กองทัพอยุธยาอย่างเต็มกำลังสามารถ โดยใช้ปืนใหญ่ออกมายิงต่อสู้จนกองทัพสยามต้องถอยทัพกลับไปในที่สุด
หลายปีต่อมาพระแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งราชทูตมายังเมืองปัตตานีเพื่อขอซื้อปืนใหญ่จากปัตตานี
เพราะสมัยนั้นปัตตานีเป็นศูนย์ของการค้าอาวุธต่างๆ รวมทั้งปืนใหญ่ แม้กระทั้งจักรพรรดิญี่ปุ่นในสมัยนั้น
ก็ยังทรงสั่งซื้อปืนใหญ่จากปัตตานี เพราะปัตตานีมีโรงงานหล่อปืนใหญ่ที่เป็นที่เลื่องลือในกิตติศัพย์
และสมรรถนะของปืนที่ผลิตจากปัตตานี สถานที่ผลิตปืนของปัตตานี คือที่บ้านกรือเซะ-บานา

............. มัสยิดกรือเซะ ในพระราชวังไพลินโกตามะลิฆัย (อิสตานานีลัม)

............นักเดินทางชาวฮอลลันดาได้วาดภาพมัสยิดกรือเซะ ในปี 1601 อาคารที่อยู่หน้ามัสยิดคือพระราชวังไพลิน
ที่ประทับของพระมหาราชินีฮิเยา ในปัจจุบัน ไม่มีหอคอยและโดมหลงเหลืออยู่ มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบันดัร
(แปลว่าท่าเรือในภาษาเปอร์เซีย) หรือรู้จักกันในนามบ้านบานา อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีราว 7 กม.
ในอดีตเป็นสถานที่ตั้งของพระมหาราชวังไพลินโกตามะลิฆัย (อิสตานานีลัม) อันเป็นที่พระที่นั่งของเหล่าพระมหากษัตริย์
และพระมหาราชินีปาตานี (นางพญาตานี) ทั้ง 4 พระองค์ พระมหาราชินีฮิเญาทรงขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ.1584
และทรงประทับอยู่ ณ พระที่นั่งอิสตานานีลัม

.............. JACOB VAN NECK ได้คุมเรือ 2 ลำ ชื่อ AMSTERDAM และ GOUDA มาถึงปาตานี
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1601 ถึงแม้ว่าฮอลันดาจะถูกกีดขวางจากพ่อค้าชาติอื่นๆที่อยู่ในปาตานีมาก่อน
เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น และจีน แต่ VAN NECK ก็ได้รับอนุญาติจากพระมหาราชินีฮิเญา
ให้ตั้งสถานีการค้าที่พระนครปาตานีได้ โดยให้ DANIEL VAN DER LECK รับหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีการค้าที่ปาตานี
และให้ PIETER WALICKSZ เป็นผู้ช่วย ปาตานีจึงเป็นสาขาที่ทำการติดต่อค้าขายกับสำนักงานใหญ่ ของบริษัท
THE NETHERLAND UNITED EAST INDIA Co. หรือ V.O.C. ในชวา

.............ชาวเยอรมันผู้หนึ่งชื่อ MANDEL SLOHE มาถึงปาตานีในสมัยนั้นได้บันทึกไว้ว่า
"เมื่องปาตานีเป็นเมืองที่บริบูรณ์ ชาวปาตานี สามารถรับประทานผลไม้หลายชนิดในทุก ๆ เดือน ไก่ที่นี่ออกไข่วันละ 2 ครั้ง
มีข้าวมาก มีเนื้อหลายชนิด เช่น เนื้อวัว แพะ ห่าน เป็ด ไก่ ไก่ตอน นกยูง เนื้อกวางแห้ง กระจง นกต่าง ๆ
และผลไม้เป็นร้อย ๆ ชนิด" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปาตานีในสมัยนั้นมีความเจริญมากน้อยเพียงใด

............... ในปี ค.ศ.1603 (พ.ศ.2146 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวร) กองทัพสยามจากอยุธยาได้มุ่งสู่ปาตานี
แต่ชาวปาตานีได้ต้านทาน เอาไว้ได้ ชาวต่างชาติที่อยู่ในปาตานีขณะนั้น ได้ช่วยเหลือด้านอาวุธแก่ชาวปาตานีเป็นอย่างดี
โดยสอนวิธีการสร้างปืนใหญ่ ทำให้กองทัพสยามเสียหายเป็นอันมาก และต้องถอย กลับไปอยุธยาอย่างสิ้นหวัง
ต่อมาภายหลังสยามได้ส่งคนมาซื้อปืนใหญ่ที่ปาตานี แม้แต่ญี่ปุ่นที่สั่งซื้อปืนจากสยามในขณะนั้น ก็ปรากฏว่า เป็นปืนที่สยาม
ซื้อจากปาตานีเช่นเดียวกัน ตามประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นระบุว่า ในปีค.ศ.1606(พ.ศ.2149) โชกุน อิเอยะสึ
ได้มีพระราชสาส์นถวาย พระเจ้ากรุงสยามเพื่อขอความช่วยเหลือให้ซื้อปืน

............ ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นก็ได้ติดต่อค้าขายกับปาตานีมาแล้ว คือ ขณะที่ PINTO มาถึงปาตานีในปี ค.ศ. 1538 (พ.ศ.2081) นั้น
มีชาวญี่ปุ่นอยู่ในปาตานีแล้ว แต่ชนชั้นปกครองของญี่ปุ่นในขณะนั้นคงไม่ได้เอาใจใส่มากนัก เพิ่งจะได้มีการติดต่อเป็นทางการ
ในสมัยพระมหาราชินีฮิเญานี่เอง ในจดหมายเหตุของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในกองบรรณาสาร
กระทรวงการทหารเรือของญี่ปุ่น ได้ระบุว่า ในปี ค.ศ.1592 (พ.ศ.2135) มีเรือลำหนึ่งนำสาส์นและเครื่องบรรณาการ
จากโชกุนมาถวายพระมหาราชินีปาตานี และขออนุญาตเปิดสถานีการค้าที่ปาตานี หลังจากนั้นอีก 7 ปี (ค.ศ.1599, พ.ศ.2142)
พระมหาราชินีปาตานีได้ทรงส่งราชฑูตไปญี่ปุ่น เพื่อกระชับความสัมพันธ์ไมตนรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
พระมหาราชินีฮิเญาส่งฑูตไปญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1606 (พ.ศ.2149) หลังจากนั้น
เรือสินค้าก็กางใบแล่นไปมาระหว่างเมืองทั้งสองอยู่เสมอ ในปี ค.ศ.1605 (พ.ศ.2148) เรือสเปญได้มาถึงปาตานี
แต่อยู่ได้ไม่นาน สเปญก็ย้ายศูนย์การค้าไปตั้งที่ฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ.1606 (พ.ศ.2149) ความเกลียดชังของชาวญี่ปุ่น
ที่มีต่อฮอลันดาก็ได้ระเบิดขึ้น ญี่ปุ่นได้ทำลายสินค้าของชาวฮอลันดา และเผาโรงเก็บสินค้า
แต่ฮอลันดาก็ยังคงทนอยู่ต่อไป ค.ศ.1611 (พ.ศ.2154) อังกฤษได้มาถึง และตั้งบริษัท อินเดียตะวันออก ที่ปาตานี

............วันที่ 5 มกราคม ค.ศ.1611 เรือ THE GLOBE ออกจากท่าเรือลอนดอนภายใต้การนำของกัปตัน ANTHONY HIPPON
ได้ขนสินค้ามามากมาย เรือ THE GLOBE มาถึงปาตานีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1611 หนึ่งเดือนหลังจากนั้นอังกฤษก็สามารถ
สร้างโรงพักสินค้าได้ พ่อค้าชาวอังกฤษคนหนึ่งที่มากับเรือ THE GLOBE ชื่อ PETER FLORIS ได้บันทึกการเดินทางของพวกเขา
ในจดหมายเหตุและกล่าวถึงพระมหาราชวังของพระมหาราชินีฮิเญาว่ามีความงดงาม

............. ในสมัยของพระมหาราชินีฮิเญานี้ ลำน้ำที่อยู่ใกล้พระราชฐานเกิดมีน้ำทะเลไหลบ่าเข้าสู่ลำคลองซึ่งตื้นเขินกว่าเดิม
ทำให้ราษฎรไม่สามารถ ใช้น้ำ ดื่ม อาบ ได้เช่นเคย พระนางจึงเสด็จออกไปเกณฑ์ผู้คนและทรงควบคุมการขุดคลองที่บ้านตัมบังงัน
(ปัจจุบันอยู่ระหว่างตำบลเมาะมาวี กับตำบลปรีกี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) เพื่อระบายน้ำในแม่น้ำปัตตานี
ให้ไหลลงสู่คลองที่ขุดขึ้นใหม่จากบ้านตัมบังงันถึงบ้านกรือเซะ ออกสู่อ่าว "กัวลารา" (ที่ตำบลตันหยงลูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี)
ยังผลให้ราษฎรมีน้ำดื่ม น้ำใช้ และประกอบการเกษตรได้ผลดีอีกด้วย

............... พระมหาราชินีฮิเยาทรงครองราชย์ถึงปี ค.ศ.1616( พ.ศ.2159) ก็สวรรคต ชาวปัตตานีรุ่นหลังขนานนามพระนางว่า
"มัรฮูม ตัมบังงัน" เนื่องจากพระนางเป็นผู้ทรงให้ขุดคลองจากบ้านกรือเซะไปยังบ้านตัมบังงัน พ่อค้าชาวอังกฤษคนหนึ่งที่มาค้าขาย
กับบริษัท EAST INDIA ได้บันทึกไว้ว่า ราชินีฮิเยาทรงประชวรในเดือน มิถุนายน ค.ศ.1616 และสวรรคตในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน
ส่วนพ่อค้าชาวฮอลันดาซึ่งอยู่ที่ปาตานีในปี ค.ศ.1616 ชื่อ HENDRIK JANSSEN บันทึกว่า ราชินีฮิเยา
สวรรคตเมื่อ วันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ.1616 หลังจากครองราชย์ได้ 32 ปี

............... หลังจากนั้นพระมหาราชินีบีรูก็ขึ้นครองราชย์ต่อ ในสมัยราชินีองค์นี้ สุลต่านอับดุลเฆาะฟูร์สิ้นพระชนม์
ราชินีบีรูจึงส่งคนไปรับเจ้าหญิงอูงูกลับมาปาตานีพร้อมกับพระธิดาที่กำเนิดจากสุลต่านปาหัง ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงกูนิง

............... หลังจากที่ราชินีบีรู ขึ้นครองราชย์ได้ 3 ปี (ค.ศ.1619) คลองตัมบังงันที่ราชินีฮิเยาขุดได้ถูกกระแสน้ำในแม่น้ำปัตตานี
ไหลบ่าท่วมเซาะตลิ่งพัง ขยายลำน้ำให้กว้าง ขวางยิ่งขึ้น สายน้ำได้ไหลเซาะตีนสพานตลาดปินตูฆาเยาะห์ (ประตูช้าง)
ซึ่งอยู่ใกล้กำแพงเมืองมาทุกปี พระมหาราชินีบีรูทรงเกรงว่ากำแพงเมืองจะพังทลาย จึงมีรับสั่งให้ขุนนางเกณฑ์ราษฎรจัดทำ
ทำนบกั้นน้ำในลำคลองไว้ ในสมัยราชินีบีรูนั้น ความเกลียดชังและการชิงดีชิงเด่นระหว่างพ่อค้าต่างชาติที่อยู่ในปาตานี
ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ จนถึงกับทำลายซึ่งกันและกัน

.............. วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1619 เรืออังกฤษ 2 ลำชื่อ SAMSON และ HOUND ภายใต้การบัญชาของ JOHN JOURDIAN
ได้ปะทะกับเรือของฮอลันดาชื่อ BLACK LION ที่อ่าวปตานี ฮอลันดาจึงส่งเรือมาเพิ่มและทยอยเข้าโจมตีเรือของอังกฤษ
อังกฤษมีกำลังน้อยกว่า จึงพ่ายแพ้แก่ฮอลันดา กัปตัน JOURDIANถูกกระสุนปืนเสียชีวิตในการต่อสู้ครั้งนี้
นอกจากนี้ฮอลันดายังบุกรุกสถานีการค้าของอังกฤษที่ปาตานีอีกด้วย หลังจากนั้นพ่อค้าอังกฤษก็ค่อย ๆ ทยอยออกไปจากปาตานี
จนถึง ค.ศ.1623 (พ.ศ.2166) พ่อค้าชาวอังกฤษก็ไม่มีเหลืออยู่ในปาตานีอีกเลย

............. ในสมัยที่ราชินีบีรูทรงปกครองปตานีนั้น ได้ข่าวคราวเสมอว่า กองทัพสยามจะโจมตีปาตานีอีกครั้ง เพื่อกู้หน้าที่พ่ายแพ้
ในการโจมตีในสมัยราชินีฮิเญา พระนางจึงได้เตรียมอาวุธและสั่งให้มีการหล่อปืนใหญ่หลายกระบอก ที่ใหญ่ที่สุดมี 3 กระบอก
ชื่อ "ศรีนาฆารา" "ศรีปาตานี" ยาว 3 วา 1 ศอก 1 คืบ 2 นิ้ว และ "มหาเลลา" ยาว 5 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว

.........ในปี ค.ศ.1624 ราชินีบีรูสิ้นพระชนม์ และราชินีอูงูทรงขึ้นครองปาตานีต่อ

..........ในสมัยของพระมหาราชินีอูงูนี้ ข่าวเกี่ยวกับสยามจะโจมตีปาตานียิ่งหนาหูขึ้น พระนางจึงส่งกองทัพไปโจมตีเมืองพัทลุง
และนครศรีธรรมราช ใน ค.ศ.1630 (พ.ศ.2173) เพื่อตัดกำลังของทัพสยาม

............ค.ศ.1632 (พ.ศ.2175) YANG DI PERTUWAN MUDA เจ้าชายแห่งเมืองโยโฮร์ พร้อมไพร่พลจำนวน 3,000 คน
มาถึงปตานี เพื่อสมรส กับเจ้าหญิงกูนิง พระธิดาของราชินีอูงู แต่ขณะนั้นพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ส่งกองทัพ
มาตีเมืองปตานี กองทัพปตานีจึงรวมกับกองทัพของ เมืองโยโฮร์ต้านกองทัพสยามและสามารถขับไล่กองทัพสยามจนถอยกลับไปได้
เมื่อทัพสยามเลิกทัพแล้ว ราชินีอูงูจึงจัดพิธีอภิเษกเจ้าหญิงกูนิงกับยัง ดี เปอร์ตูวัน มูดา อย่างใหญ่โต หลังจากที่อภิเษกแล้ว
พระสวามีของเจ้าหญิงกูนิงก็อยู่ช่วยราชการที่เมืองปตานี ชาวอังกฤษคนหนึ่งชื่อ แฮมิลตัน (AIEXANDER HAMILTON)
มาเยือนปตานีในสมัยนั้นได้เขียนบันทึกว่า "เมืองปตานีมี 42 แคว้น รวมถึงตรังกานูและกลันตัน

แต่เมื่อโอรสของสุลต่านโยโฮร์ได้สมรสกับบุตรีของราชินีปตานี เมืองตรังกานูก็เข้าไปอยู่ ภายใต้การปกครองของโยโฮร์
สุลต่านโยโฮร์ได้ส่งขุนนางคนหนึ่งไปปกครองที่นั้น ปตานีจึงเหลือ 41 แคว้น ปตานีมีเมืองท่า 2 แห่งคือ กวาลาปาตานี
(ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า กวาลารอ หรือ กวาลาโต๊ะอาโก๊ะ) และกวาลาบือเก๊าะฮ์ (ปากน้ำปัตตานีปัจจุบัน)
พลเมืองปาตานีในขณะนั้นมีผู้ชายที่อายุเกิน 16 ปีรวมทั้งสิ้น 150,000 คน นครปาตานีมีผู้คนหนาแน่น เต็มไปด้วยบ้านเรือน
นับเป็นเมืองใหญ่แห่งหนึ่ง จากประตูราชวัง ถึงบ้านบานามีบ้านเรือนไม่ขาดสาย ถ้าหากแมวตัวหนึ่งเดินบนหลังคาบ้านเหล่านั้น
จากพระราชวังจนถึงปลายสุด มันจะเดินได้ตลอด โดยไม่จำเป็นต้องเดินบนพื้นดินเลย...."

...........การพ่ายแพ้ครั้งที่ 2 ของกองทัพสยามนั้นสร้างความเจ็บแค้นแก่สยามมากยิ่งขึ้น
เมื่อสยามเห็นว่าลำพังกองทัพของตนจะเอาชนะปาตานีไม่ได้ จึงส่งฑูตไปเจรจากับฮอลันดามาช่วยในการโจมตีปาตานี
โดยที่ฮอลันดาขอที่จะผูกขาดการค้าไม้ฝางและหนังกวางในสยาม ฮอลันดาจึงตกลงที่จะส่งเรือจำนวน 6 ลำ
พร้อมทหารและอาวุธสมัยใหม่ พระเจ้าปราสาททองทรงสัญญาว่าจะให้ตามคำขอถ้าได้รับการช่วยเหลือจากฮอลันดา
เมื่อตกลงกันแล้ว สยามก็ยกทัพใหญ่ โจมตีปาตานีทันที เมื่อกองทัพสยามมาถึงปาตานี ปรากฏว่าฮอลันดาไม่มาช่วย
กองทัพสยามจึงรบกับปาตานีตามลำพัง และประกอบกับขาดแคลนเสบียง ในที่สุดก็ไม่สามารถตีเมืองปตานีได้
เช่นเดียวกับคราวก่อน

.............เมื่อพระเจ้าปราสาททองทราบเรื่องนี้จึงกริ้วฮอลันดามาก พระองค์สั่งให้กักพวกฮอลันดาที่อยุธยาไว้
และห้าม ชาวสยามพูดหรือค้าขายกับชาวฮอลันดา ต่อมาก็ทรงอภัยโทษแก่ฮอลันดา เมื่อทรงทราบว่าฮอลันดามาช่วยเช่นกัน
แต่มาช้าเกินไป คือเมื่อเรือฮอลันดามาถึงปาตานี ปรากฏว่ากองทัพสยามถอยกลับไปแล้ว เรือฮอลันดาทั้ง 6 ลำจึงถอยกลับไปเช่นกัน
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1634 (พ.ศ.2177) กองทัพสยามที่ยกทัพมาปตานีในครั้งนั้น เป็นกองทัพผสม
เป็นทหารจากอยุธยา 30,000 คน นอกจากนั้นเกณฑ์มาจาก นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาและไทรบุรี
ส่วนปาตานีได้รับความช่วยเหลือจากเมืองมลายูอื่นๆรวมผู้คน 5,000 คน จากยะโฮร์และปาหัง ซึ่งมากับเรือ 50 ลำ

............ใน ค.ศ.1635 (พ.ศ.2178) ราชินีอูงูสิ้นพระชนม์ พระมหาราชินีกูนิงทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชินีอูงู
ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1635 (พ.ศ.2178) สยามได้ส่งทูตเจรจาสันติภาพกับปาตานี และในเดือน มีนาคม ค.ศ.1636 (พ.ศ.2179)
พระมหาราชินีกูนิงก็ได้ทรงส่งราชทูตไปยังอยุธยา เดือน มีนาคม ค.ศ.1636 (พ.ศ.2179) พระนางก็ได้ส่งผู้แทนนำเครื่องราชบรรณาการ
ดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปยังอยุธยา ซึ่ง VAN VLIET ได้บันทึกว่า "การส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองครั้งนี้
พระเจ้ากรุงสยามได้ยอมรับด้วยความยินดียิ่ง" และในปี ค.ศ.1641 (พ.ศ.2184) ราชินีกูนิงได้เสด็จไปอยุธยา ด้วยพระองค์เอง
เพื่อ"ฟื้นฟูสันติภาพ"ระหว่างประเทศทั้งสอง

............... ปี 1725 (พ.ศ.2268) ลงยูนุสขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงมีบัญชาให้เหล่านายช่าง ทำการบูรณะมัสยิดหลวง
(มัสยิดกรือเซะ) ที่สร้างในต้นรัชกาลพระมหาราชินีฮิเยา ซึ่งมีอายุมากกว่า 130 ปี ได้สึกหรอลงกับการเวลา โดยให้รักษารูปแบบเดิมไว้
ทว่า 11 เดือนต่อมาก็ถูกปลงพระชนม์ พระองค์จึงมิทรงสามารถที่จะบูรณะมัสยิดกรือเซะให้แล้วเสร็จได้ดั่งหวัง

...............ปี ค.ศ.1785 (พ.ศ.2328) พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่ายกทัพใหญ่เพื่อตีสยามอีก (ที่เรียกว่า"ศึกเก้าทัพ")
จนสามารถยึดเมืองนครศรีธรรมราชได้ สมเด็จกรมพระราชบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) เสด็จยกทัพหลวงไปปราบปรามพม่า
จนกองทัพพม่าแตกพ่ายไปและเสด็จต่อมายังเมืองสงขลาและส่งกองทัพ มาประชิดแดนปาตานี
กองทัพสยามภายใต้การนำของพระยากลาโหมเสนาและพระยาจ่าแสนยากร แม่ทัพหน้า คุมกองทัพยกมาตีปาตานี
กองทัพปตานีไม่สามารถต้านทานได้ประกอบกับสุลต่านมุฮัมมัดถูกกระสุนปืนสิ้นพระชนม์ในสนามรบ
ทำให้พระนครปาตานีถูกกองทัพสยามตีแตก พระมหาราชวังอันวิจิตรนั้นถูกเหล่าทหารเผาจนเสียหาย เหลือแต่ซากปรักหักพัง
ส่วนมัสยิดนั้นก็ถูกเผาเช่นกัน จนกระทั่งหอคอยอาซานทั้งสี่ทิศ และโดมพังทลายลงมา เหลือแต่ตัวอาคารหลัก

........ และทั้งหมดนี้คือประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของมัสยิสกรือเซะ ซึ่งได้ก่อสร้างทับไปบนพุทธศาสนาสถานยุคศรีวิชัย
ตั้งแต่เมื่อครั้งกษัตริย์เปพญาตู นักปา หรือ ราชาอินทิรา (Raja Intira) ผู้ละเมิดสัจจะแห่งบรรพกษัตริย์ บังคับเข่นฆ่า
บังคับให้ประชาชนปัตตานีเผาทำลายพุทธศาสนสถานแล้วหันมานับถือศาสนาอิสลาม ความกลียุค และความอดอยากยากจน
จึงเกิดขึ้นกับชนบนผืนแผ่นดินนี้ไม่มีวันจะเจริญได้ แม้แต่มัสยิดกรือเซะแม้จะสร้างต่อเนื่องมาเกือบพันปี ก็ไม่มีวันสำเร็จได้
เรื่องเศร้า เลือด ชีวิต และน้ำตา ได้สังเวยให้กับพื้นที่แห่งนี้อันมีนามว่ากรือเซะ จนกลายเป็นบันทึกเศร้าที่เกิดขึ้นจริง
ตามคำสาปของกษัตริย์พุทธแห่งศรีวิชัยผู้ครองปัตตานีทุกประการ และยังยืนยงคงความศักสิทธิ์แห่งคำสาปไว้
ให้คนในยุคปัจจุบันได้เห็นภาพที่เกิดขึ้น ณ มัสยิสกรือเซะแห่งนี้เป็นประจักษ์พยาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 นั่นเอง

"ค้างคาวผี" เรียบเรียงจาก
นี่ครับสำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์ปัตตานี
..ของ.....ปรามินทร์ เครือทอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม