วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

โจรใต้ โดน ปปง. “ระงับธุรกรรมฐานหนุนก่อการร้าย”


โจรใต้ โดน ปปง. “ระงับธุรกรรมฐานหนุนก่อการร้าย”

           หลังจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด"ตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงผู้ก่อการร้ายทั้งในต่างประเทศและที่เป็นคนไทยเพื่อกำหนดมาตรการเข้มห้ามทำธุรกรรมทางการเงินทุกรูปแบบ

           ล่าสุด "บุคคลที่ถูกกำหนด" ในส่วนของคนไทยที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ศาลแพ่งประกาศ ล้วนเป็นผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

           นายปาตะ ลาเต๊ะ นายอาหาหมัด ดือราแม นายอับดุลฮาดี ดาหาเล็ง และ นายมะรูดี ตาเฮ ผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ร่วมก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหาร เสียชีวิต 4 น าย เหตุเกิดเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555ถนนเส้นทางสายมายอ-ปาลัส บริเวณบ้านดูวา หมู่ 3 ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

             นายราฟี มามะรอยาลี ผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องและสั่งการ และ นาย ต่วนยัสลัน นิราแม ผู้ร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิดหน้าร้านแสงไทยโลหะกิจ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เหตุเกิดเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555

            คำว่า "บุคคลที่ถูกกำหนด" มีนิยามตามกฎหมายว่า หมายถึง บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย หรือบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อที่ศาล (หมายถึงศาลไทย) ได้พิจารณาและมีคำสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ การประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายฯ เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. โดยแบ่งออกเป็น 2ส่วน ตามนิยามดังกล่าว และตามกฎหมายมาตรา 4 และมาตรา 5 กล่าวคือ

            ส่วนแรก ดำเนินการประกาศรายชื่อผู้มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายตามมติของหรือประกาศภายใต้คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. www.amlo.go.th

            ส่วนที่สอง ดำเนินการประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลนั้น

           เฉพาะในส่วนที่สองนี้ กำหนดวิธีการให้สำนักงาน ปปง.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรม (ปปง.) พิจารณาส่งรายชื่อผู้นั้นให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" ปรากฏว่า ปปง.ได้ส่งรายชื่อเสนอพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องฝ่ายเดียวให้ศาลมีคำสั่ง และศาลแพ่งได้มีคำสั่งในห้วงที่ผ่านมาที่ประกาศไปแล้วนั้น ในส่วนของผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ลงมือทำการก่อเหตุในคดีที่น่าสนใจ จำนวน ๖ คน ๒ เหตุการณ์ ด้วยกัน



          กรณีแรก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ร่วมก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 เวลา17.10 น. โดยใช้รถกระบะจำนวน 3 คัน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ขับตามประกบยิงเจ้าหน้าที่ทหารจากร้อยทหารราบที่ 15323 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 จำนวน 6 นาย ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ 3 คัน ลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ เหตุเกิดบนถนนเส้นทางสายมายอ-ปาลัส บริเวณบ้านดูวา หมู่ 3 ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 นายเหตุเกิดเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555 ศาลสั่งให้ผู้ที่ทำการก่อเหตุเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายพ.ศ.2556 จำนวน 4 ราย คือ นายปาตะ ลาเต๊ะ นาย อาหาหมัด ดือราแม นายอับดุลฮาดี ดาหาเล็ง และ นายมะรูดี ตาเฮ



            กรณีที่สอง เมื่อ 31 มีนาคม 2557 ศาลแพ่ง ได้มีคำสั่งให้ผู้ที่ร่วมก่อเหตุ นำจักรยานยนต์ซุกซ่อนระเบิดมาจอดที่หน้าร้านแสงไทยโลหะกิจ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แล้วจุดชนวนระเบิด ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารชุดสุนัขสงคราม หน่วยเฉพาะกิจยะลา 11 รวม 5 นาย ขับรถกระบะผ่านมา แรงระเบิดทำให้ทหารและชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย นอกจากนั้นแรงระเบิดยังทำให้เพลิงลุกไหม้อาคารบริเวณที่เกิดเหตุหลายคูหา เหตุเกิดเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555 ศาลสั่งให้ผู้ที่ทำการก่อเหตุเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 จำนวน 2ราย คือ นายราฟี มามะรอยาลี ผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องและสั่งการ และ นาย ต่วนยัสลัน นิมาแม ผู้ร่วมก่อเหตุ ซึ่งเป็นบุคคลตามหมายจับ ป.วิ.อาญา 1 หมาย


            ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนสมาชิกทั้งหมด 116 ประเทศทั่วโลก ที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย FINANCIAL ACTION TASK FORCE (FATF) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2532 โดยกลุ่ม G7 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และได้เริ่มดำเนินการในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2533 FATF จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานด้านการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้าย ประเทศไทยมีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ปีที่ผ่านมา



           จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 เป็นอีกก้าวหนึ่งในการสกัดกั้นแหล่งเงินทุนสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้ ของBRN โดยตรง ซึ่งบุคคลที่ศาลมีคำสั่งเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อออกมามีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุ หรือเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ FATF 40+9 มี 4 ด้านด้วยกัน คือ 
  • ด้านแรก การดำเนินคดีความผิดทางอาญา ความผิดมูลฐาน การยึด/อายัดทรัพย์สิน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมายและการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน 
  • ด้านที่สอง มาตรฐานของสถาบัน หน่วยข่าวกรองทางการเงินในการกำกับดูแล 
  • ด้านที่สาม มาตรการป้องกันสำหรับสถาบันทางการเงินและหน่วยธุรกิจที่มิใช่สถาบันทางการเงินโดยการแสงตนของลูกค้าการเก็บรักษาข้อมูล การรายงานธุรกรรม การเฝ้าติดตามบัญชีและธุรกรรมและ
  • ด้านที่สี่ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนความร่วมมือระหว่างหน่วยบังคับใช้กฎหมาย

           จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 โดยการกำกับดูแลโดย FATFสมาชิก 116 ประเทศ ซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหาหาที่ลงมือก่อเหตุได้แต่จากการประกาศรายชื่อดังกล่าวได้สร้างความสั่นคลอนต่อเส้นทางการเงินของกลุ่มขบวนการ BRN โดยตรง รวมทั้งบริวาร



           ประการสุดท้าย การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายซึ่งเป็นแรงจูงใจในอุดมการณ์ โดยแหล่งเงินบริจาคได้รับจาก ธนาคาร ธุรกิจแลกเงินตรา ตัวแทนการท่องเที่ยว ตัวแทนจองตั๋วเครื่องบิน องค์กรการกุศล และธุรกิจบังตา ในการดำเนินการก่อเหตุในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ หากปล่อยให้บุคคล องค์กร และนิติบุคคลเหล่านี้ดำเนินการฟอกเงิน และสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอยู่ โดยไม่ได้กระทำการใดๆ เลย ผลกระทบก็จะตกอยู่กับประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งการสนับสนุนทางการเงินบางส่วนมีความเชื่อมโยงธุรกิจผิดกฎหมายเป็นเงินที่ได้รับมาจากการสนับสนุนของขบวนการอาชญากรรม ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม บ่อนทำลายการแข่งขันของธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมายและที่สำคัญที่สุดมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม