จดหมาย จาำกหัวหน้าสายฟ้า ๐๖ ถึงน้อง ฉบับที่ ๑ | |
พี่มีเอกสารฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นแค่หน้าเดียวของเอกสารทั้งฉบับที่ได้จากการตรวจยึดบ้านต้องสงสัยในพื้นที่ปฏิบัติการ อยากให้น้องได้ดู ถ้าใครเล่นทหารหน่อยจะรู้ แล้วเข้าใจที่พี่พยายามจะสื่อถึงน้อง ๆ ทันที คีย์เวิร์ด ของเอกสารฉบับข้างบนอยู่ที่คำว่า เปรียบเทียบความเสียเปรียบได้เปรียบของเราและฝ่ายตรงข้าม เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท และหลัก ๕ ประการ ได้แก่ หลักปกครอง, ดินฟ้าอากาศ, ภูมิประเทศ, แม่ทัพนายกอง, ระเบียบวินัย และ อีกวรรคหนึ่ง “อันการสงครามนั้น เป็นเรื่องใหญ่ของรัฐ คือวิถีแห่งการคงอยู่หรือล่มสลายของประเทศชาติ เกี่ยวพันถึงชีวิตของไพร่พลและราษฎร จะไม่พินิจพิเคราะห์หาได้ไม่ เพราะฉะนั้น เราต้องคำนึงถึงปัญหาพื้นฐานห้าประการเป็นปฐม แล้วเปรียบเทียบสภาพของเรากับข้าศึก เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะในสงคราม ปัญหาพื้นฐานห้าประการ ได้แก่ หนึ่ง มรรค (เต้า), สอง ฟ้า (เทียน), สาม ดิน (ตี้), สี่ แม่ทัพ (เจียง), ห้า กฎ (ฝ่า)”
เท่านี้น้องคงรู้แล้วว่าโจรใต้เปิดหนังสือเล่มไหนสู้กับเรา ? พิชัยสงครามซุนวู ART OF WAR เป็นตำราที่ทางสากลยอมรับว่า เป็น THE BEST DOCTRINE กล่าวคือ หลักนิยมที่ดีที่สุดในโลก หลักการนี้ เหมาเจ๋อตุงก็เคยใช้ในการต่อสู้กับเจียงไคเช็ก(ซึ่งอเมริกาหนุนหลังท่านเจียง)ปฏิวัติประเทศจีน ได้สำเร็จ ,โฮจิมิน ลอกโผเหมาเจ๋อตุง สามารถบุกเวียดนามใต้ได้สำเร็จ ขับไล่กองทัพฝรั่งเศส และกองทัพ อเมริกาได้ หลักกรสงครามนั้นคือ Unconventional Warfare (สงครามนอกแบบ) ซึ่งประกอบด้วย สงครามกองโจร การเล็ดลอดหลบหนี การก่อความไม่สงบ การก่อวินาศกรรม และการปฏิบัติโดยตรง เราฝ่ายเราเปิดตำราเล่มไหนสู้กับโจรใต้ ? พอน้องเรียนจบ เลือกลงกองพันทหารราบ น้องอาจมีประสบการณ์ได้ลงมาปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จชต. หนังสือเล่มแรกที่น้อง ๆ ต้องถูกบังคับอ่าน คือ รส.(คู่มือราชการสนาม) ๑๐๐-๒๐ ว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ รส.เล่มนี้มาจากไหน พี่ก็จะตอบน้องตรง ๆ ว่า แปลมาจาก FM( Field Manual) 100-20 “ COUNTERINSURGENCY” (ลอกโผเขามา) แล้ว เคยมีใครอยากรู้บ้างไหมว่า ไอ้ FM ที่เราลอกเค้ามาเค้าเอามาจากไหน ? สมัยสงครามเวียดนามอเมริกาไม่รู้จะทำอย่างไรที่จะต่อสู้กับ Unconventional Warfare จึงสู้ด้วย Counterinsurgency นี่แหละ จุดกำเนิดของมัน แล้วมีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยปรับปรุงจากบทเรียนจาก อิรัก และอัฟกานิสถาน ซึ่ง ถามว่า ตำรานี้ใช้ครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ใครชนะสงคราม? แล้วปัจจุบันอเมริการบชนะ อิรักหรืออัฟกานิสถาน ชนะแล้วหรือยัง? หากเราจะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง พี่จะแนะนำน้องว่า น้องจงอ่านหนังสืออย่างมีสติ หากลอกโผอเมริกามาแก้ปัญหา ๓ จชต. น้อง ๆ ก็น่าจะรู้ผลว่าเราจะชนะหรือแพ้ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะศึกษาบทเรียนจากการรบในพื้นที่จริง แล้วเขียนหลักนิยมของเราเอง อย่าทำตัวเหมือนรุ่นพี่ ๆบางคนที่เรียกว่า “รส. เดินได้” ตอบตามตำรา ปฏิบัติตามตำรา (โผจากอเมริกา) พี่ขอแนะนำว่า “จงอ่านตำรา แต่อย่าติดตำรา” พี่เองสมัยเป็นนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ ๑ คิดแค่ว่า อยากผ่านไปวัน ๆ เรียนแบบพอผ่าน ๆ แล้วออกไปใช้ชีวิตเสาร์อาทิตย์ที่มีความสุขนอกโรงเรียน พอพี่เป็นนักเรียนชั้น ๑ ปลายปี พี่ได้ถูกพี่ชั้นปีที่ ๔ บังคับอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนั้นชื่อ ๓๖ กลยุทธ์สำหรับการเอาชนะทุกปริมลทล เขียนโดย บุญญศักดิ์ แสงระวี หนังสือเล่มนั้นจุดประกายให้พี่เป็นคนเล่นทหาร อ่านทุกอย่างที่เกี่ยวกับทหาร เช่น ประวัติศาสตร์สงคราม คัมภีร์พิชัยสงครามซุนวู ตลอดจน Field Manual ของ สหรัฐ (จนรู้ว่า ร.ส. (คู่มือราชการสนาม)ของเรา ลอกอเมริกามาทั้งดุ้น) โจรใต้อ่านหนังสือมาอย่างดีมาสู้กับทหาร ซึ่งมีผู้หมวดก็คือ น้อง ๆ ของพี่ ทีนี้น้อง ๆ ของพี่ น้อง ๆ ล่ะ เคยอ่านอะไรมาบ้างที่จะเป็นพื้นฐานลงมาต่อสู้เพื่อประเทศไทยของเรา คติประจำตัวพี่เมื่อก่อน คือ “กูไม่กลัว กูมีแรง” แต่ เดี๋ยวนี้พี่ว่า....มีสมองบ้างก็ดีนะน้อง สุดท้ายนี้ฝากข้อคิดดี ๆ ว่า หากไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน จงคิดอย่างโจร ว่า หากเราเป็นโจรเราจะโจมตีฐานที่ตั้งของเรา หรือ ขบวนยานพาหนะของเรา อย่างไร แล้วน้องจะเห็นจุดอ่อนตัวเอง จากนั้นมาดูว่าโจรมีพื้นฐานอะไร (ปฏิบัติอย่างไร หรือเลียนแบบจากอะไร) หวังว่า อีกไม่นานพวกน้อง ๆ จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญญาหาประเทศชาติ | |
http://narater2010.blogspot.com/ |
วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555
จดหมาย จาำกหัวหน้าสายฟ้า ๐๖
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น