บทบาทและแนวทาง(มัสฮับ)ที่อันตราย
ในการทำลายอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ | |
บทบาทและแนวทาง(มัสฮับ)ที่อันตราย
ในการทำลายอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ
โดย ...สุดารัตน์ สาดและ
แนวทางชีอะฮฺ ศัตรูอันเลวร้ายของอิสลาม
ผู้จ้องทำลายอัลกุรอานและฮะดีษ
เมื่อหมดยุคซอฮาบะฮฺ
ตาบีอีนก็เขามาแทนที่ ในการรักษาสิ่งสองสิ่งที่รอซูล
บอกว่าตามแล้วจะไม่หลงทาง คือกีตาบบุลลอฮและซุนนะฮฺ ตาบีอีนเดินไปหาซอฮาบะ
เพื่อฟังการรายงานฮาดิษจากปากของซอฮาบะฮฺเอง
สาเหตุของการออกเดินทางหาฮาดิษจากบรรดาซอฮาบะฮฺ เนื่องจากว่า
1.) เกิดการปลอมแปลงฮาดิษ
โดยฝีมือของกลุ่มเบี่ยงเบนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มรอวาฟิฏ (ชีอะห์)
กลุ่มคอวาริจ กลุ่มมุรญิอะห์ และกลุ่มญะมียะห์ มีการแอบอ้างฮาดิษต่าง ๆ
เพื่อใช้เป็นสื่อเรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้ศรัทธา
และเชื่อหลักการและแนวคิดของตน เมื่อเป็นดังนั้น
นักรายงานฮาดิษในยุคต่อมาจึงได้กระตือรือร้นในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของฮาดิษ โดยการเดินทางเพื่อหาสายสืบ และแหล่งที่มาที่ถูกต้อง
2.) การสืบหาสายสืบที่อาลี
หมายถึง สายสืบที่มีผู้รายงานน้อย เมื่อเทียบกับอีกสายสืบหนึ่ง
ที่รายงานฮาดิษบทเดียวกัน กล่าวคือ นักรายงานฮาดิษในยุคนี้
จะพยายามค้นหาสายสืบที่ฮาดิษที่อาลี ไม่ว่าสายสืบนั้นจะอยู่กับใครและอยู่ที่ใด เนื่องจากนักฮาดิษมีหลักการพิจารณาว่า ฮาดิษที่มีสายสืบอาลี
มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ฮาดิษที่มีสายสืบไม่อาลี ด้วยเหตุผลว่า
ผู้รายงานที่น้อย ความผิดพลาดย่อมน้อยเป็นเงาตามตัว
ท่านอีมามอะห์หมัด อิบนิ
ฮัมบัลได้กล่าวไว้ว่า "การแสวงหาอิสนาดที่ อาลี
นั้นเป็นวิถีที่ได้มาจากคนยุคก่อน" (อูลูมุลฮาดิษ : อิบนุศศอลาห์ หน้า
231)
3.)
การรวบรวมสายสืบฮาดิษหลาย ๆ สายของฮาดิษบทเดียว กล่าวคือ
นักรายงานฮาดิษในยุคนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะตัวบทฮาดิษ
เพียงอย่างเดียว แต่ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก
ต่อการรวบรวมสายสืบของตัวบทฮาดิษ คนเหล่านี้ต้องเดินทางไปยังหัวเมืองต่าง ๆ
ด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ได้มาซึ่งสายสืบใหม่ ๆ ของฮาดิษ
เนื่องจากสายสืบต่าง ๆ นั้น จะเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาตัวบทของฮาดิษว่า
อยู่ในสถานะที่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้หรือไม่
ตัวอย่างที่โดดเด่นของนักรายงานในกลุ่มนี้ คือ ท่านอิมามอะห์หมัด อิบนุ
ฮัมบัล (241 ฮ.ศ.) อิสหากอิบนุ รอหะวัยฮ์ (238 ฮ.ศ.) อะลีย์ อิบนุล
มาดีนีย์ (234 ฮ.ศ.) ยะหฺยา อิบนุ มะอีน (233 ฮ.ศ . ) อิมามอัลบุคอรีย์
(256 ฮ.ศ.) อิมามมุสลิม (261 ฮ.ศ.) อบูซุรอะห์ (327 ฮ.ศ.) และ อบูฮาติม
(277 ฮ.ศ.) และอื่น ๆ อีกมากมาย
4.) ท่านรอซูล ได้กำชับ และเตือนถึงโทษอันมหันต์ ของการแอบอ้าง หรืออุปโลกน์ ซึ่งปรากฏในหลายฮาดิษ เช่น
ก. ผู้ใดโกหกต่อฉัน (หมายถึงนำฉันไปแอบอ้าง) เขาจงเตรียมที่นั่งของเขาในไฟนรก (ซอเฮี๊ยะบุคอรีย์ หมายเลขฮาดิษ 107)
ข. เป็นการโกหกพอแล้วที่คน ๆ
หนึ่งเล่า (รายงาน) ทุกสิ่งที่เขาได้ฟังมาโดยไม่จำแนก
(โดยมุสลิมในคำนำของหนังสือซอเฮี๊ยะ ฮาดิษหมายเลข 5)
ค. ผู้ใดเล่าฮาดิษหนึ่งจากฉัน
ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องโกหก เขาก็เป็นคนหนึ่งจากนักโกหก (โดยมุสลิมในคำนำ
ของหนังสือซอเฮี๊ยะ ฮาดิษหมายเลข 1)
จากคำสั่งข้างต้นของท่านรอซูล ทำให้นักรายงานฮาดิษ
มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้พวกเขาระมัดระวัง
ต่อสิ่งที่ถ่ายทอด นักรายงานฮาดิษในยุคซอฮาบะห์ จึงพิถีพิถันในการรายงาน
กล่าวคือ จะไม่รายงาน จนกว่าจะแน่ใจในความเที่ยงตรง
และความถูกต้องจากท่านรอซูล สำหรับนักรายงานในยุคต่อมา
จึงได้วางระบบสายสืบ (อิสนาด) อย่างละเอียดและแยบยล พวกเขาจะไม่รายงาน
นอกจากจะต้องมีสายสืบ ที่สามารถตรวจสอบความถูกต้อง
และความน่าเชื่อถือได้เท่านั้น การเดินทางของนักรายงานฮาดิษ
เพื่อสืบหาฮาดิษ ได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ ที่สำคัญนานัปการ
ต่อวิชาการฮาดิษ เช่น ทำให้ฮาดิษแพร่หลาย และทำให้สายรายงานของฮาดิษ
มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มจำนวนของสายรายงาน
นับเป็นประโยชน์ของการพิจารณาฮาดิษ ในหลายด้าน
ในการเผยแผ่ศาสนา
ของเหล่าบรรดาซอฮาบะฮฺนั้น มีความเหนื่อยยากลำบากมากมาย อีกทั้งการรวบรวม
ปกปักษ์รักษาอัลกุรอาน และอัลฮะดีษ ก็นับเป็นการธำรงคำสอนแห่งอัลอิสลาม
ที่มาจากพระเจ้าให้บริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งใดมาแปดเปื้อน
แต่ชีอะฮฺกลับทำในสิ่งตรงกันข้าม
นอกจากพวกเขาจะไม่รักษาอัลกุรอานและอัลฮะดีษ
เหมือนดังที่เหล่าซอฮาบะฮฺได้กระทำแล้ว พวกเขากลับเป็นผู้ทำลายอัลกรุอาน
และฮะดีษเสียเอง ด้วยการบิดเบือนหรือ แม้แต่การปฏิเสธอายะฮฺกุรอาน
และฮะดีษ ที่บรรดาซอฮาบะฮฺ ต่างเสียสละปกป้องด้วยชีวิต
เราในฐานะชนรุ่นหลัง
ผู้แบกรับภารกิจ ในการเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ บนหน้าแผ่นดิน
เมื่อแนวทางชีอะฮฺได้กระทำการจาบจ้วงอัลกุรอาน อันเป็นคำพูดของอัลลอฮฺ
และหยามหมิ่นฮะดีษ อันเป็นจริยวัตรของรอซูลของพระองค์ ตัวแทนของอัลลอฮฺ
บนหน้าแผ่นดินอย่างเรา ยังจะนิ่งเฉย และมองว่าชีอะฮฺ
เป็นสำนักคิดหนึ่งของอิสลามอยู่กระนั้นหรือ !
ไม่ใช่เลย !
แนวทางชีอะฮฺเป็นศัตรูของอิสลามต่างหาก และเราในฐานะตัวแทนของอัลลอฮฺ
บนหน้าแผ่นดิน จักต้องกระทำทุกวิถีทาง ในการขัดขวางแนวทางนี้
ไม่ให้สร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดินของอัลลอฮฺ อีกต่อไป
| |
http://narater2010.blogspot.com/
|
วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บทบาทและแนวทาง(มัสฮับ)ที่อันตราย ในการทำลายอัล-กรุอานและอัล-หะดีษ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น