ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา
ในอินเดีย
ในอินเดีย
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง มูลเหตุที่ทำให้ พระศาสนาเสื่อม เพราะพระสัทธรรม เลอะเลือน ดังนี้:-
1) พวกภิกษุเล่าเรียน สูตรอันถือกันมาผิด ด้วยบทพยัญชนะ และความหมาย อันคลาดเคลื่อน.
3) พวกภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวัจนะ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) แต่ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เอาใจใส่ บอกสอนใจความ แห่งสูตรทั้งหลาย แก่คนอื่นๆ
เมื่อท่านเหล่านั้น ล่วงลับดับไป สูตรทั้งหลาย ก็เลยขาด ผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป.
4) พวกภิกษุชั้นเถระ ทำการสะสมบริกขาร ประพฤติย่อหย่อน ในไตรสิกขา เป็นผู้นำ ในทางทราม ไม่เหลียวแล ในกิจแห่งวิเวก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงสิ่งที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุสิ่งที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ในสิ่งที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ผู้บวชภายหลัง ได้เห็นพวกเถระ เหล่านั้น ทำแบบแผน เช่นนั้นไว้ ก็ถือเอา เป็นแบบอย่าง.
และยังทรงย้ำเสมอๆว่า พระพุทธศาสนา จะเสื่อมสูญจนหายไปนั้น มีเหตุที่สำคัญที่สุด เกิดจากพุทธบริษัท 4 ทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา.
จึงเป็นหน้าที่ข องพุทธบริษัททุกคน ต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในการสืบทอด พระพุทธศาสนานี้ เพื่อให้ลูกหลาน ได้ยึดเป็นสรณะที่พึ่ง ที่ระลึกต่อไป.
พระราชวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวัณโณ) ได้เรียบเรียงเรื่องว่า “ทำไมพระพุทธศาสนา จึงเสื่อมไปจากอินเดีย” ดังนี้
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น และเจริญรุ่งเรือง ในประเทศอินเดีย เป็นเวลานานถึง 1500 ปี จากนั้น ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ จนมาถึง พุทธศตวรรษที่ 17 พระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ ก็สูญหายไปจาก ประเทศอินเดีย เหลืออยู่แต่เฉพาะใน ลาดัก หิมจัล อัสสัม เบงกอล และโอริสสา เท่านั้น.
ปัจจุบัน เหลือไว้แต่ปูชนียสถาน และวัตถุโบราณ ที่เป็นภาพสะท้อน ความเจริญรุ่งเรือง ในอดีตสมัยเท่านั้น.
นับตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 3 ในสมัยพระเจ้า อโศกมหาราช เป็นต้นไป พระพุทธศาสนา ได้เริ่มเผยแพร่ จากประเทศอินเดีย ไปสู่ประเทศต่างๆ เกือบทั่วทวีปเอเซีย.
แต่แล้วต่อมา ก็เกิดภัยคุกคามขึ้น ทั้งภายในและภายนอก จนทำให้ พระพุทธศาสนา ต้องเสื่อมไปจาก ประเทศต่างๆ เช่น เปอร์เซีย อาฟกานิสถาน เตอรกีสถาน ของรัสเซีย อินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จนเกือบจะหมด.
ครั้งหนึ่ง ที่พระพุทธศาสนา ในประเทศศรีลังกา และญี่ปุ่น ก็เกือบจะสูญสิ้นไป ดีแต่ว่า พุทธศาสนิกที่สำคัญ หลายท่าน ได้ช่วยกันกอบกู้ ต่อสู้กับ การรุกราน ของศาสนาอื่นๆ เอาไว้ได้.
ในขณะนี้ พระพุทธศาสนา ก็กำลังจะเสื่อมไปจาก มองโกเลีย ธิเบต จีนแผ่นดินใหญ่ เวียดนามเหนือ และเกาหลีเหนือ ส่วนในเวียดนามใต้ เขมร และลาว ก็กำลังถูกกระทบ กระเทือนอย่างหนัก.
ในปัจจุบัน แม้แต่พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย พม่า เกาหลีใต้ ลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น เนปาล ภูฐาน สิกขิม ก็กำลังถูกภัยต่างๆ คุกคามอยู่เช่นกัน.
ความเสื่อม ของพระพุทธศาสนา ในอินเดีย เกิดจากภัยใหญ่ๆ 2 ประเภท คือ
1) ภัยภายใน
2) ภัยภายนอก
ภัยภายใน เกิดขึ้นจาก พุทธบริษัททั้งสี่ โดยตรง มี 3 ประการ คือ:-
การประพฤติย่อหย่อน ในเรื่องสิกขาบทวินัย ที่พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติไว้ ซึ่งไม่เคยมีมา ในประวัติศาสตร์ พุทธศาสนายุคต้นๆเลย
แต่ในราว พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นไป จึงได้เริ่มปรากฏขึ้น ดังจดหมายเหตุ ของพระถังซัมจั๋ง (หลวงจีนเฮียงจัง) ว่า
“พระในนิกายสัมมติยะ แห่งแคว้นสินธุ (ปัจจุบัน อยู่ในปากีสถาน) ใช้ชีวิตอย่างชาวโลก และไม่ถูกต้อง ตามพระวินัยบัญญัติ.
พระเหล่านั้นเกียจคร้าน เป็นคนที่ไร้ค่า และเที่ยวเตร่ ถึงแม้ว่าพระเหล่านั้น จะห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ก็ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เลี้ยงปศุสัตว์ และมีลูก มีเมีย”
(แม้ในปัจจุบัน สถาบันพระมีเมีย ก็ยังมีปรากฏว่า นิยมกันในประเทศ เนปาล เกาหลี ธิเบต และญี่ปุ่น).
นอกจากนี้ ท่านยังได้กล่าวว่า “พระพุทธศาสนา จะบริสุทธิ์ หรือเศร้าหมอง ก็ขึ้นอยู่กับญาณทัศนะ และความสามารถ ทางด้านจิตใจ ของชาวพุทธเอง”
จดหมายเหตุ ของหลวงจีนอี้จิง ได้รำพันว่า “วัดส่วนมาก ในอินเดีย ทำไร่ เลี้ยงวัว และมีคนรับใช้ในวัด. บางวัดก็ตระหนี่ ถี่เหนียว ไม่ยอมแบ่งผลผลิต ให้ใครๆ. วัดบางวัด จะมีทรัพย์สมบัติ มากมาย มียุ้งฉาง เต็มไปด้วย ข้าวเปลือกที่เสีย (มีมาก กินไม่ทัน แต่ไม่ยอมแจกจ่าย ปล่อยทิ้งไว้จนเสีย) มีคนใช้หญิงชาย มีเงินทอง และทรัพย์สมบัต ที่เก็บเอาไว้เฉยๆ โดยไม่ใช้ประโยชน์อะไรเลย”
มีพวกขอทาน ที่ปลอมตัวเป็นพระ โดยเพียงแต่ ยอมลงทุนโกนหัว และครอง จีวรเท่านั้น ก็สามารถเข้าไป รับอาหารได้อย่างฟรีๆ.
การเข้าใจผิด ในหลักธรรม ขั้นสำคัญๆ ได้ก่อให้เกิด ความขัดแย้ง ทะเลาะโต้เถียงกัน อย่างรุนแรงมาก ในระหว่างนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนา จนทำให้ชาวพุทธ ต่างแยกกันอยู่ และต่างก็มุ่งร้ายต่อกัน จนทำลายซึ่งกันและกัน.
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 2 พระพุทธศาสนา ก็แตกแยกออกเป็น 18 นิกาย และแต่ละนิกาย ต่างก็อ้างว่า ตนเหนือกว่า ประเสริฐกว่า นิกายอื่นๆ.
นิกายมหายาน เกิดขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 6 โดยถือว่า ตนเองมีจิตใจกว้างขวาง มุ่งพระโพธิญาณ ขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร ได้มาก.
นิกายฝ่ายสาวกยาน หรือนิกายหินยาน เพราะยานนี้ ส่วนใหญ่ มุ่งอรหัตตผล มุ่งช่วยตนเอง ให้พ้นจากทุกข์ก่อน แล้วจึงจะช่วยคนอื่นทีหลัง จึงเป็นยานที่แคบ และขนสัตว์ได้น้อย ปัจจุบันฝ่ายหินยาน เหลือเพียงนิกายเดียว คือ เถรวาท.
การแตกออก เป็นนิกายต่างๆ ทำให้พระพุทธศาสนา ได้เสื่อมลงมาก เพราะการขัดแย้งกัน ทางปรัชญา ความเห็น อันแตกต่างกัน ทางหลักคำสอน ของชาวพุทธ ทำให้เกิดการโจมตี ซึ่งกันและกัน เช่น
ท่านปรัชญาคุปตะ อันเป็นคณาจารย์ ที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่ง ของนิกายสาวกยาน ได้แต่งคำประพันธ์ 700 โศลก โจมตีคัดค้านมหายาน. ส่วนท่านถังซัมจั๋ง (ท่านเฮียงจัง) เองก็ได้ประพันธ์ 1600 โศลก เพื่อแก้ความเข้าใจผิด.
ส่วนท่านสันติเทวะ ก็ได้ประพันธ์คาถา เป็นจำนวนมาก ไว้ในหนังสือ พุทธิจริยาวตาร เพื่อคัดค้านระบบอภิธรรม และ นิกายวิชญาณวาท.
ส่วนท่านจันทรกิรติ ก็โจมตีนิกายอื่นๆ ที่ไม่ใช ่นิกายมัธยมิก อย่างเผ็ดร้อน.
ส่วนท่านสันติรักษิต ก็ได้ประพันธ ์ในหนังสือ ตัตตวสังครหะ เพื่อทำลายล้าง มติคำสอนของ นิกายวาตสิปุตริยะ.
ส่วนท่านสันติรักษิต และ ท่านกามศีละประกาศว่า “พวกนิกาย ปุทคลวาทิน ไม่มีสิทธิที่จะอ้างว่า เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า”
การขัดแย้ง และทำลายกันเอง ในระหว่างต่างนิกาย ในศาสนาพุทธเดียวกันนี้ ทำให้ศาสนาเสื่อมลง ยิ่งเสียกว่า การขัดแย้ง ของระหว่างศาสนาอื่นๆ.
ความเสื่อมของ พระพุทธศาสนา ในอินเดีย เกิดจากข้อเสีย ของนิกายมหายาน มากกว่า นิกายหินยาน เพราะการที่นิกายมหายาน เจริญแพร่หลายขึ้น ในอินเดีย ก่อให้เกิดการเพิ่ม ปริมาณศาสนิก ให้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน คุณภาพของศาสนิก ก็เสื่อมลงตามลำดับด้วย.
พอถึงพุทธศตวรรษที่ 13 มหายานในอินเดีย เหลือแต่เพียงการบูชา พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย การสวดอ้อนวอน และการประกอบ พิธีกรรมอันโอ่อ่า โดยมหายาน ได้แต่งเรื่องความเชื่อเก่าๆ แต่โบราณขึ้น เป็นจำนวนมาก. ชาวพุทธมหายาน ในสมัยนั้น จึงขยับเข้าใกล้ชิด ลัทธิฮินดู เข้าไปมากขึ้นทุกทีๆ.
จนในที่สุด ได้ทำลายความแตกต่าง ระหว่างพุทธศาสนา มหายาน และลัทธิฮินดูลง.
ฆราวาสในอินเดียยุคนั้น มองไม่เห็นความแตกต่าง ในการบูชาพระพุทธเจ้า กับ พระวิษณุ และ พระอวโลกิเตศวร กับ พระศิวะ และนางตารา กับนางปารวตี (ชายาพระศิวะ). แล้วลัทธิโพธิสัตว์ยาน ก็ดูเหมือนว่า จะกำเนิดสถาบันพระมีเมียด้วย.
ลัทธิตันตระได้แตกออกมาจาก นิกายมหายาน เจริญอยู่ในอินเดีย ในระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 11-15 แล้วแพร่หลาย เข้าไปอยู่ในธิเบต.
นิกายตันตระนี้มีหลายชื่อ เช่น พุทธตันตรยาน มันตรยาน คุยหยาน สหัชชยาน วัชรยาน พระนี้ ก็ไม่ได้เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า “นักสิทธะ” และถือว่า การปฏิบัติตน ตามอำนาจของราคะ กุลบุตรผู้บำเพ็ญตน เป็นพระโพธิสัตว์ ย่อมกระทำได้.
การปรากฏ ของลัทธิตันตระนั้น ได้ทิ้งหลักธรรมแท้ๆ ของพระพุทธศาสนา ดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ ไปเกือบหมด มีแต่การยกย่อง เวทมนตร์ อาคมขลัง พิธีมหาลาภ พิธีลงเลขเสกเป่าต่างๆ. เรื่องไสยศาสตร์ และเรื่องกามศาสตร์ ของลัทธิตันตระกับฮินดูนั้น มีลักษณะที่เหมือนกัน.
หลักจริยธรรม ขั้นมูลฐาน และหลักธรรม ที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ในพระพุทธศาสนา ได้ถูกลัทธิวัชรยาน เปลี่ยนแปลงไปเสียใหม่ โดยสิ้นเชิง จนเป็นสัทธรรมปฏิรูป (พระธรรมปลอม) เช่น
ตัณหา ซึ่งถือกันว่า เป็นตัวอกุศลมูล ที่ต้องควบคุม ไม่ให้มันเกิดขึ้นนั้น. พวกวัชรยาน ถือว่าตัณหา นั้นคือสิ่งที่ดี ถูกต้อง ที่ตัวสื่อกลาง ให้เกิดความเจริญ ในจิตใจขึ้นมา,
ส่วนการปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้น จากทุกข์ ในเรื่องของ พระนิพพานนั้น ซึ่งต้องเข้าถึงโดยศีล สมาธิ ปัญญา ด้วย อริยมรรคมีองค์แปดนั้น. พวกวัชรยาน กลับกล่าวว่า เข้าถึงได้ ด้วยการเสพกาม อันศักดิ์สิทธิ์กับโยนิ และวัชรยานถือว่า เมถุนธรรมนั้นแหละ เป็นบรมสุข.
สำหรับศีล 5 ก็ไปเปลี่ยนแปลง เป็น ม. 5 ตัว ให้นักสิทธะ ควรได้รับบำรุง จากสิ่งห้า คือ 1.มัทยะ น้ำเมา, 2.มางสะ เนื้อ, 3.มัศยา ปลา, 4.มุทรา การยั่วให้กำหนัด, 5.ไมถุนธรรม เมถุนธรรม เป็นต้น.
ภัยภายนอก เกิดจากการมุ่งร้าย ของศาสนาอื่นๆ ดังนี้:-
ในขณะที่ ศาสนาพราหมณ์ ยึดมั่นในการแบ่ง ชั้นวรรณะ 4. กลับถูกท้าทายด้วย หลักคำสอน ทางพระพุทธศาสนาที่ว่า “คนจะประเสริฐได้ เพราะการกระทำ หาใช่เพราะวรรณะ ชาติตระกูลไม่”
ทำให้พวกพราหมณ์ มีความโกรธแค้น พุทธบริษัทมาก. นอกจากนี้ ยังมีหลักคำสอนอื่นๆ ของพระพุทธศาสนา ที่ไปขัดต่อ คำสอนของ พวกพราหมณ์มาก จนทำให้พวกพราหมณ์ ไม่พอใจพวกพุทธ เป็นอย่างยิ่ง จึงมองพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ด้วยความจงเกลียดจงชัง.
มีการกล่าวโจมตีต่างๆ นานา เช่น คัมภีร์อัคนิปุราณะ ประกาศว่า “โอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ ได้ใช้มายากล หลอกลวงพวกไทตยะ เพื่อให้เป็นชาวพุทธ”
ส่วนวายุปุราณะ กล่าวว่า “เพียงด้วยมีฟันขาว สำรวมตา มีหัวโล้น และมีเครื่องนุ่งห่มสีแดง พวกศูทร ก็ทำหน้าที่ ทางศาสนาได้”
ส่วนวิษณุปุราณะ กล่าวว่า “มหาโมหะ นักลวงคนให้หลง ด้วยมายากล ผู้ซึ่งอุบัติมาในโลก ก็เพื่อลวงพวกมาร ให้หลง ได้สอนหลักอหิงสา และหลักนิพพาน และชักนำประชาชน ให้ละเว้นจากการปฏิบัติ พิธีกรรมทางศาสนา ของฝ่ายพระเวท พวกสาวกของ มหาโมหะนั้น ในที่สุด จะต้องถูกเทพเจ้าทั้งหลาย ทำลาย”
ส่วนมาก นักปราชญ์ของพราหมณ์ ก็มักจะกล่าวโจมตี วิพากษ์วิจารณ์ พระพุทธศาสนา ด้วยความเคียดแค้น และริษยาอันปวดร้าว เช่น
กุมาริล นักปราชญ์คนสำคัญ ได้ต่อต้านพระพุทธศาสนา อย่างหนัก ลงในหนังสือ โศลกกวารตติก และยังได้ ยุยงให้พระเจ้าสุทธันวัน แห่งอุชเชนี ทำลาย ประหัตประหารชาวพุทธ และผู้นี้เป็นบุคคลสำคัญ คนหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมไปจากอินเดีย.
ศังกราจารย์ เป็นนักบวชฮินดู ที่มีชื่อเสียงมาก อยู่ในราว พ.ศ. 1331 เป็นผู้ที่คัดค้าน และกล่าวโจมตีคำสอน ในศาสนาพุทธ อย่างรุนแรง, แต่ตัวเขา ก็กลับนำเอาคำสอน ในพุทธศาสนา มาปฏิรูป ให้เป็นหลักธรรม คำสอนของ ศาสนาพราหมณ์ ดังที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์เวทานตะ
ซึ่งในปัจจุบัน ศาสนาฮินดู ได้นับถือตาม หลักคำสอนของศังกราจารย์นี้.
ส่วนตัวเขาเอง กลับไปอธิบาย ระบบคำสอนใน พระพุทธศาสนาว่าเป็น ไวนาสิกะ หรือ สรฺวไวนาสิกะ (คือถือว่าทุกสิ่งสูญหมด)
นอกจากนี้เขายังโจมตี ปรัชญามัธยามิก ของท่านนาคารชุน ว่าเป็นสิ่ง ไม่มีคุณค่า ควรแก่การพิจารณา (ท่านนาคารชุน เป็นนักปราชญ์ ที่สำคัญท่านหนึ่ง ของพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด นิกายสุญญวาท ในพุทธศตวรรษที่ 7 ซึ่งคำสอนเรื่อง สุญญตา หรือ ปรัชญามัธยามิก ของท่าน เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในวงการพระพุทธศาสนา)
ศังกราจารย์ ยังได้นำทัพ ทำสงครามศาสนา ต่อต้านและ ย่ำยีพระพุทธศาสนา จนทำให้ พระภิกษุสงฆ์ กระจัดกระจายสับสน ตั้งแต่ เชิงผาหิมพานต์ ลงมาจนถึง คาบมหาสมุทรอินเดีย.
พวกคณาจารย์ ของพราหมณ์ ซึ่งเห็นว่า พระพุทธศาสนา กำลังเจริญรุ่งเรือง และแผ่ขยายออกไป อย่างกว้างขวาง ทั้งภายใน และภายนอก ประเทศอินเดีย. แต่ศาสนาพราหมณ์ กลับเสื่อมโทรมลง ดังนั้น เขาจึงพยายาม ปรับปรุงคำสอน และวิธีการในศาสนา เสียใหม่.
เดิมพราหมณ์ได้นับถือ พระพรหม ว่าเป็นผู้สร้างทุกอย่าง แต่พระพรหม ไม่ใช่เพศหญิง ไม่ใช่เพศชาย ดูไม่น่าเกรงขาม หรือน่ามีอำนาจ เขาจึงไปเกณฑ์ให้ พระพรหมเป็นเพศชายเสีย แล้วมีเมียเสียด้วย จากนั้น ก็นำเทพองค์อื่นๆ ขึ้นมายกย่อง เช่น พระศิวะ มีอำนาจทำลายโลก วิษณุ มีอำนาจ ในการคุ้มครองโลก.
ในครั้งพุทธกาล หรือในพระไตรปิฎกนั้น มีกล่าวถึง แต่พระพรหมเท่านั้น ส่วนพระศิวะ และพระนารายณ์ หรือวิษณุนั้น เพิ่งจะมีขึ้นใน สมัยหลังพุทธกาล ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 3 และเมื่อมีเทพเจ้าหลายองค์ ไม่ใช่พระพรหมเท่านั้น จึงต้องเปลี่ยนชื่อศาสนา เป็นฮินดู แทนที่จะเป็น ศาสนาพราหมณ์.
พวกพราหมณ์ ได้แต่งพระคัมภีร์ต่างๆ ขึ้น เพื่อฟื้นฟู ยกย่อง และพิทักษ์ศาสนาของตน และชี้ให้เห็นว่า “พวกที่ทอดทิ้ง หลักธรรมเรื่องวรรณะ และหลักอาศรมนั้น จะต้องถูกฆ่า เช่นเดียวกับเวณะ”
แม้ว่าพระพุทธศาสนา ดูว่าได้เสื่อมไปจากอินเดียแล้ว ก็ตาม แต่เนื้อหา และหลักธรรม กลับไปปรากฏ อยู่ในศาสนาพราหมณ์ ที่ปรับปรุงใหม่ (คือฮินดู) ทั้งนี้เพราะ พระพุทธศาสนา ถูกศาสนาพราหมณ์กลืนเข้าไป และศาสนาฮินดู ได้อ้างเอาหลักธรรมสำคัญ จำนวนมาก ของพระพุทธศาสนา มาเป็นศาสนาของตนเสีย.
พวกฮินดูได้ถือ พระพุทธเจ้าว่า เป็นปางหนึ่ง ของนารายณ์อวตาร ดังปรากฏใน คัมภีร์มัตสยาปุราณะ ในพุทธศตวรรษที่ 11 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ชาวฮินดู มาฟังคำสอน ของพระพุทธเจ้า และยุยงชาวพุทธ ให้เลิกนับถือ พระพุทธองค์.
เมื่อพวกพราหมณ์ ยกเอาพระพุทธเจ้า ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา ว่าเป็นเทพเจ้า ในศาสนาของเขาเสียแล้ว ชาวพุทธทั้งหมด ก็เท่ากับว่า เป็นพราหมณ์ไปด้วย โดยไม่จำเป็น ต้องเปลี่ยนศาสนา ซึ่งวิธีนี้ เป็นการกลืน พระพุทธศาสนา อย่างแนบเนียนที่สุด.
ศังกราจารย์ ได้จัดตั้งสถาบัน ของพระฮินดูขึ้น มีวัดโดยเฉพาะ สำหรับสาวกของตน โดยลอกเลียนแบบ วัดในพระพุทธศาสนา มีความเป็นอยู่ และรูปลักษณะคล้ายกับ พระสงฆ์ของพุทธศาสนา กล่าวคือ โกนหัว โกนหนวดเครา และนุ่งห่มผ้าสีเหลืองเป็นต้น แล้วเรียกตัวเองว่า “สาธุ”
การลอกเลียนแบบนี้ เพื่อกู้ชื่อเสียง ของศาสนาของตนไว้ และเพื่อแข่งขันกับ พระพุทธศาสนา.
นอกจากนี้ ศังกราจารย์ ยังได้ใช้ศัพท์ปรัชญา โดยเฉพาะ หลักธรรมใน เรื่อง มายาและหลักไวตะ ให้เหมือนกับ การบัญญัติศัพท์ทางปรัชญา ของพระพุทธศาสนา นิกายธัมยานิก (คือนิกายสุญญวาท) ของท่านนาคารชุน เกือบทุกอย่าง. ทั้งนี้เพื่อลอกแบบหลักธรรม ในพระพุทธศาสนา ไปใช้ในศาสนาพราหมณ์ นั่นเอง.
เมื่อไม่มีกษัตริย์ หรือกองทัพเป็นผู้ปกป้อง จึงมีการฆ่าทำลายล้าง พุทธศาสนิกกันมาก เช่น ในคราวที่ถูก พวกศาสนาอื่นๆ เช่นศาสนาอิสลาม ยกทัพมาถล่มนาลันทา ในพุทธศตวรรษที่ 17 ฆ่าๆๆๆ จนพระภิกษุ ซึ่งไม่มีอาวุธ ในการป้องกันตนเอง ตายลงเกือบหมด
ส่วนที่เหลือ ต้องหนีกระจัดกระจาย ไปยังเนปาล และธิเบต เป็นต้น, จนทำให้พระภิกษ ุในพระพุทธศาสนา เกือบไม่เหลือ อยู่ในอินเดีย.
ในบางยุค กษัตริย์นอกศาสนา ได้ปฏิบัติต่อ พระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา อย่างโหดร้ายทารุณ ตลอดจน ได้ทำลาย รื้อปูชนียสถาน ทางพระพุทธศาสนาไป เป็นจำนวนมาก โดยหวังจะทำลายล้าง พระพุทธศาสนานี้ ให้หมดไป ซึ่งได้เกิดขึ้น หลายยุคหลายสมัย.
เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ครองราชย์อยู่ราว 40 ปี โอรสรัชทายาท ที่จะครองราชย์ ที่แท้จริงคือ เจ้าชายกุณาละ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์เสียก่อน.
เจ้าชายสัมปทิ ซึ่งเป็นนัดดา จึงครองราชย์แทน แต่เนื่องจาก เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ได้ยุบการปกครอง แบบพระเจ้าอโศกเสีย ไม่ทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา จึงมีพระราชาสืบต่อไปอีก 4 พระองค์เท่านั้น ก็สิ้นราชวงศ์โมริยะ.
กษัตริย์องค์สุดท้าย ของราชวงศ์โมริยะ ได้ถูกพราหมณ์ชื่อ ปุษยมิตร สำเร็จโทษ และตั้งตนเองขึ้น เป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ศุงคะ ได้เริ่มทำพิธีบูชายัญ ที่เรียกว่า “อัศวเมธ” ปล่อยม้าอุปการ พร้อมกองทัพ ใช้กำลังเข้าบังคับ เมืองต่างๆ ให้เป็นเมืองขึ้น.
ในส่วนการทำลาย พระพุทธศาสนา ได้ออกกฎหมายว่า จะให้รางวัล 100 ดินาร์ แก่ผู้ตัดศีรษะ พระภิกษุรูปหนึ่งมาให้ จนทำให้พระภิกษุ กลัวภัย พากันหนีจากแคว้นมคธ ไปอยู่ยังแคว้นคันธาระบ้าง กัษมีระบ้าง อันธระบ้าง.
พระเจ้าวิกรมาทิตย์ ทรงอิจฉาริษยา พระมโนรถ ผู้เป็นอาจารย์ของ พระวศุพันธ์ (เป็นนักปราชญ์เรืองนาม ของพระพุทธศาสนา นิกายโยคาจาร)
ที่ว่าพระมโนรถ ร่ำรวยนัก ต้องการให้ท่านได้อับอาย. จึงได้สั่งให้นักปราชญ์ นอกพุทธศาสนา 100 คน มาเผชิญหน้า โต้วาทีกับพระมโนรถ ถ้าพระ ในพุทธศาสนาแพ้ จะต้องถูกกำจัดออกไปทันที.
พระมโนรถสามารถ ชนะการโต้วาทีมาได้ 99 ครั้งแล้ว พอถึงครั้งที่ 100 ก็ถูกกลั่นแกล้ง ก่อกวนต่างๆนานา. ท่านจึงกัดลิ้น ของตนเองขาด แล้วเขียนจดหมายถึง พระวศุพันธ์ ผู้เป็นศิษย์ มีความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีความยุติธรรม ในกลุ่มคน ที่มีความลำเอียง” แล้วท่านก็มรณภาพ.
ต่อมา พระเจ้าวิกรมาทิตย์ ถูกโค่นอำนาจลง ภายใต้กษัตริย์องค์ใหม่ ที่ทรงคุณธรรม. ท่านวศุพันธ์ได้ล้างอาย ให้กับอาจารย์ โดยสามารถ เอาชนะพวกมิจฉาทิฏฐิ ต่างๆได้.
พระเจ้ามิหิรกุล เป็นกษัตริย์พวกหูณะ เป็นชนเผ่ามองโกล ที่รุกรานอินเดีย. ท่านบูชาพระศิวะ และอุปถัมภ์พราหมณ์. ท่านโกรธแค้น ที่คณะสงฆ์ได้ส่ง พระชั้นผู้น้อย ไปสอนพระพุทธศาสนา ให้แก่ท่าน จึงได้ทำลายล้าง พระพุทธศาสนา อย่างป่าเถื่อน โหดร้ายที่สุด โดยสั่งรื้อทำลาย วัดทางพระพุทธศาสนา ทั่วพระราชอาณาจักร.
แต่พระเจ้าพาลาทิตย์ แห่งแคว้นมคธ (ซึ่งเป็นพุทธมามกะ ที่เคร่งครัด) ไม่ยอม จึงเกิดสงครามกันขึ้น.
ในที่สุดพระเจ้ามิหิรกุล พ่ายแพ้ ถูกพระเจ้าพาลาทิตย์ จับขัง แล้วเนรเทศไปเสีย.
ท่านไปอยู่ที่แคชเมียร์ ไม่นานก็ชิงบัลลังก์ ตั้งตัวเป็น กษัตริย์ได้อีก แล้วสั่งทำลาย พระพุทธศาสนา ทุกรูปแบบ, สั่งให้รื้อสถูป และทำลาย สังฆารามรวม ทั้งสิ้นกว่า 1600 แห่ง, สั่งให้ฆ่าชาวพุทธ ในแคว้นนั้นเสีย เป็นจำนวนมาก ปลงพระชนม์สมเด็จ พระสังฆราชองค์ที่ 23 คือท่านสถวีรสิงหะ และทำลายบาตร ของพระพุทธองค์ ซึ่งเก็บรักษาไว้ ที่แคชเมียร์เสีย.
ในคัมภีร์ราชตรังคิณี กล่าวว่า “พระเจ้ามิหิรกุล ทรงฆ่ามนุษย์ถึง 3 โกฏ ไม่มีความปรานี แม้แต่คนของพระองค์เอง. และแล้วในที่สุด ก็ได้ปลงพระชนม์ชีพ ของพระองค์เอง โดยการกระโดด เข้าในกองไฟ”
พระเจ้าศศางกะ เป็นกษัตริย์แห่ง เกาทะ (แคว้นเบงกอล) เป็นคนวรรณะพราหมณ์ นับถือนิกายไศวะ ได้ทรยศ โดยสำเร็จโทษพระเจ้าราชยวรรธนะ แห่ง ถาเณศวร (ซึ่งเป็นพุทธมามกะ). ในจดหมายเหตุ ของพระถังซัมจั๋งบันทึกว่า
“พระเจ้าศศางกะ ได้กำจัดพระภิกษุสงฆ์ ในอาณาบริเวณ เมืองกุสินารา อันเป็นผลให้ สังฆมณฑล ในกุสินารา ได้ถูกทำลายจนหมดสิ้น”
นอกจากนั้น ยังได้โค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา จนเหลือแต่ราก แล้วเอาไฟสุม โดยหวังทำลายล้าง ให้สิ้นซาก.
จากนั้นจึงทำลาย พระพุทธรูปทิ้ง แล้วเอาศิวลึงค์ เข้าไปตั้งไว้ในวิหารแทน ทำความปวดร้าว ให้กับชาวพุทธ ผู้เดินทางไปแสวงบุญ เป็นอย่างยิ่ง.
ครั้นต่อมา ศศางกะได้กระอักเลือดตาย เพราะเสียรู้เสนาบดี ในเรื่องที่ถูกหลอกว่า ได้ทำลายพระพุทธรูป หินทรายแกะสลัก ปางมารวิชัย ในมหาเจดีย์พุทธคยา ตามคำสั่งแล้ว.
ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ขุนพลมุสลิมชื่อ โมฮัมหมัด เบนกาซิม ได้ยกทัพ เข้ามาทางด้าน ตะวันตกเฉียงเหนือ ของอินเดีย โจมตีแคว้นสินธุ และแคว้น มลตาน ได้, แล้วยึดครอง ตั้งราชวงศ์มุสลิมขึ้น.
ตลอดระยะเวลา อันยาวนานกว่า 3 ศตวรรษ ที่พระพุทธศาสนา ที่อยู่ในบริเวณนี้ ถูกพวกมุสลิม ทำลายลงจนสิ้น ซึ่งในบริเวณนี้ มีวัดวาอาราม ในพระพุทธศาสนา เป็นเรือนหมื่น ได้ถูกเผาผลาญ อย่างย่อยยับ
ปล้นสะดมภ์ เอาทรัพย์สมบัติไป ส่วนพระภิกษุสงฆ์ ต่างพากันหนีอพยพ ไปยังแคว้นมคธ และ แคว้นเบงกอล เป็นจำนวนแสน.
กษัตริย์มุสลิม ชาวอาฟกานิสถานชื่อ มหหมุด ได้ยกทัพ รุกรานอินเดีย 17 ครั้ง และได้ออกคำสั่งว่า “จงไปลงโทษ พวกที่บูชารูปเคารพ จงทำลาย โบสถ์วิหารของมัน จงให้มันกลับใจ มานับถือพระอัลลาห์”.
กองทัพมุสลิม ไปถึงที่ไหน พระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ก็ย่อยยับที่นั่น ประชาชนถูกบังคับ ให้ยอมรับนับถือ ศาสนาอิสลาม ถ้าไม่ยอม ก็ถูกประหารทิ้งสิ้น.
ฆาตกรรม ครั้งที่ใหญ่ที่สุดคือ เมื่อมหหมุดโจมตี เมืองกัญญากุพชะ ได้ฆ่าคน ในเมืองไป ประมาณแสนคน จับเอาไปเป็นเชลย 8 หมื่นคน เชลยเหล่านี้ มหหมุดสั่งให้เอาไป ขายเป็นทาส ราคาคนละ 2 รูปี เท่านั้น. นครกาบูล ในอาฟกานิสถาน ของมหหมุด จึงเป็นตลาดค้าทาส ที่ใหญ่ที่สุด.
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-17 ซึ่งในขณะนั้น ได้มีมหาวิทยาลัย พระพุทธศาสนา ในมคธ และเบงกอล หลายแห่ง คือ นาลันทา วิกรมศิลา โสมบุรี และอุทันตบุรี.
ครั้นต่อมา เมื่อมุสลิมเข้ารุกราน จนได้ยึดครองอินเดียแล้ว ก็มักจะทำลายล้าง ศาสนาอื่นๆ จนสิ้น
มีนักศึกษา เป็นจำนวนหมื่น มีพระอาจารย์ บรรยาย 1500 รูป มีห้องประชุม ขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟัง ได้ถึงพันคนขึ้นไป มี 8 ห้อง มีห้องเรียนกว่า 300 ห้อง มีหอพักนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย. พร้อมได้เผาตำราทั้งหมดทิ้ง
แล้วมุสลิม ได้ปล้นสดมภ์ ขนเอาทรัพย์ อันสมบัติอันมหาศาล ของชาวพุทธไป.
นอกจากนี้ มุสลิมยังได้ยกทัพ ทำลายมหาวิทยาลัย วิกรมศิลา ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำคงคา เป็นที่รวมของวัด 108 วัด มีอาจารย์บรรยาย 800 ท่าน มีนักศึกษาจำนวนหมื่น.
นับจาก พุทธศตวรรษที่ 17 นี้ไป พระพุทธศาสนา จึงได้เสื่อมหายไป จากประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิด ความสะเทือนใจ แก่ชาวพุทธทั้งหลาย เป็นอย่างยิ่ง และเป็นบทเรียน ที่มีค่ายิ่งสำหรับ ชาวพุทธทั่วโลก.
เหตุที่ทำให้ พระพุทธศาสนา ในอินเดียเสื่อมไปหมด เพราะ
1) ในขณะที่ พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองสูงสุด แม้ในสมัย พุทธกาลเอง ประชาชนชาวอินเดีย ก็นับถือศาสนาพราหมณ์ มั่นคงอยู่ศาสนาพราหมณ์ ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้เสื่อมไป.
2) ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีพระมหากษัตริย์ ที่เป็นองค์อุปถัมภ์ พระพุทธศาสนา เช่นพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เบียดเบียน ศาสนาอื่นๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการล้มล้าง ศาสนาพราหมณ์ หรือการใช้อำนาจ ทางการเมือง เพื่อฝังรากศาสนา ลงในใจของประชาชน ทั้งหมด.
แตกต่างจาก ศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม แผ่ไปถึงไหน ก็ใช้อำนาจครอบงำ บังคับให้วัฒนธรรมเดิม ถูกถอนราก ถอนโคนออก แล้วบังคับให้ นับถือศาสนาของตนแทน.
ส่วนพุทธศาสนา ที่แผ่ไปถึงไหน ก็อะลุ้มอะล่วย ปรองดองกับ ศาสนาถิ่นเดิม เกลือกกลั้ว ผสมผสานกันได้.
3) หลักการ ในพระพุทธศาสนา ให้เสรีภาพแก่บุคคล มิได้มีการเรียกร้อง ความภักดีพลีชีวิต เพื่อศาสนาของตน ดังเช่นศาสนาอื่นๆ ความรู้สึก ของชาวพุทธ ในเรื่องการปกป้อง รักษา พระศาสนาของตนเอง จึงมิได้รุนแรง ไม่มากพอ เหมือนศาสนา ที่รบเร้าเรื่อง ความภักดีเป็นใหญ่.
4) ความเสื่อม ภายในคณะสงฆ์เอง มีการแตกแยกออก เป็นหลายหมู่ หลายเหล่า ต่างถือพวก ถือหมู่วิวาทกัน.
5) พระสัทธรรมดั้งเดิม ได้ถูกบรรดาคณาจารย์ ของนิกายต่างๆ ทั้งมหายาน และหินยาน อรรถาธิบาย ทำให้เป็นของยากขึ้นทำให้เป็น อภิปรัชญามากขึ้น สำหรับการโต้เถียง ประเทืองปัญญา ตีโวหารกัน มากกว่า ใช้สำหรับปฏิบัติกันจริงๆ ในชีวิต.
พุทธศาสนา จึงกลายเป็นของยาก สำหรับสามัญชนไป กลายเป็นสมบัติ ของนักปราชญ์กลุ่มหนึ่ง ในกำแพงวัดเท่านั้นชาวบ้านทั่วไป ไม่รู้ว่าพุทธศาสนาคืออะไร?
และเมื่อวัดเหล่านี้ ถูกรุกรานทำลาย หรือขาดราชูปถัมภ์ ก็จะถูกทอดทิ้ง ให้เสื่อมโทรมไป แล้วพระพุทธศาสนา ก็จะเสื่อมไปด้วย.
6) ในสมัยราชวงศ์คุปตะ พวกพราหมณ์ เห็นว่าจะเอาชนะพวกพุทธ โดยตรงไม่ได้ ก็ใช้วิธี การกลืนพุทธอย่างสุขุม โดยอ้างว่า พระพุทธเจ้า เป็นนารายณ์อวตาร ผู้นับถือพุทธ ก็คือผู้นับถือฮินดูนั่นเอง ส่วนผู้ที่นับถือฮินดูอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเปลี่ยน เป็นศาสนาพุทธ ทำให้ฮินดูมีมากขึ้น ในขณะที่พุทธมีน้อยลง.
7) ชาวพุทธเองกลับยอม ลดคุณภาพของตน โดยไปเอาลัทธิฮินดู เข้ามาปฏิบัติ เกิดเป็นลัทธิมนตรยาน เป็นต้น เท่ากับเป็นการยอมแพ้ อย่างสิ้นเชิง.
8) เมื่อพ้นสมัยคุปตะแล้ว ฝ่ายฮินดู มีนักปราชญ์เก่งๆ เกิดขึ้นหลายคน ฝ่ายพุทธ ไม่มีผู้สามารถ โต้วาทีชนะได้ ฐานะของพุทธ จึงตกต่ำลงมาก.
9) ครั้นเมื่อ ศาสนาอิสลามรุกราน ได้ทำลายล้างทั้งชีวิต และทรัพย์สิน อย่างบ้าเลือดป่าเถื่อน จนไม่มีใครต้านทานได้ ต้องหลบหนี ออกจากอินเดียไปจนหมด.
10) พวกพราหมณ์ มีทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต เป็นผู้รับถ่ายทอดความรู้ ทางพระเวท จึงสามารถสืบต่อ กันไปได้นาน ส่วนพระพุทธศาสนา ความรู้ทั้งหมด ไปอยู่กับพระภิกษุเท่านั้น เมื่อสถาบันสงฆ์ ถูกทำลาย เช่นถูกห้ามไม่ให้บวช ถูกฆ่าตาย ความรู้ในทางศาสนา จึงไม่มีผู้สืบต่อ และหมดสิ้นลง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพียงไม่กี่ชั่วคน.
เหตุผลทั้งหมดนี้ จึงทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมไปจากอินเดีย.
พุทธบริษัททั้งหลาย คงจะต้องหาทาง ป้องกันพระพุทธศาสนา ไม่ให้เสื่อมสูญ ไปจากประเทศของตน และต้องช่วยกันสืบต่อ พระสัทธรรมที่แท้จริง
โดยเพียรพยายาม ทำตนให้ได้รับคุณวิเศษ บรรลุมรรคผลนิพพาน ตามครรลองแห่ง พระสัทธรรมที่แท้จริง ที่สามารถดับทุกข์ได้จริง ตามกฏแห่งอริยสัจสี่ ไม่ต้องเป็นทาสของกิเลส ไม่ต้องเป็นทาส ของปัญญาจากผู้ใด
เมื่อนั้นพระพุทธศาสนา ไม่มีวันเสื่อมสูญ ไปจากโลกนี้ โดยเด็ดขาด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น