ปมลึกปลด "พิเชษฐ สถิรชวาล" และเรื่องวุ่นๆ ใน กก.กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
มติคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเมื่อวันพุธที่ 29 ก.ย.2553 กลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ต้องบันทึกไว้ เพราะเป็นมติที่ปลดเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ จนต้องตกจากเก้าอี้ และนับจากนี้ย่อมหนีเรื่องวุ่นๆ โดยเฉพาะ “การเมือง” ไม่พ้นเป็นแน่
ที่ประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ก.ย.มีมติปลดทุกตำแหน่งในคณะกรรมการฯ คงเหลือไว้แต่ประธาน คือ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลางอิสลามฯโดยตำแหน่งอยู่แล้วเพียงคนเดียวเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในคณะกรรมการกลางอิสลามฯเที่ยวนี้ รวมไปถึงตำแหน่งใหญ่ที่สุดคือ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯอย่าง นายพิเชษฐ สถิรชวาล ด้วย และที่ประชุมได้แต่งตั้ง พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตข้าราชการตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง วัย 62 ปี เข้ารักษาการแทน
เส้นทาง “พิเชษฐ สถิรชวาล”
สำหรับ นายพิเชษฐ นั้น เพิ่งแสดงบทบาทออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ซึ่งทำให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียไม่พอใจ และส่งผลถึงการขอวีซ่าของพี่น้องมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย กระทั่งสุดท้าย พล.ต.ท.สมคิด ต้องยอมเสียสละ ประกาศไม่รับตำแหน่ง และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต้องจัดประชุมเพื่อพิจารณาตำแหน่งใหม่ โดยโยก พล.ต.ท.สมคิด ไปดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแทน
ในช่วงที่เมืองไทยกำลังฝุ่นตลบจากปมแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด นายพิเชษฐ เป็นหัวหอกผู้ออกมาให้ข่าวว่า รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเตรียมตัดสินใจปิดสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย และกดดันให้องค์การการประชุมอิสลาม หรือโอไอซี บอยคอตประเทศไทย หากรัฐบาลไทยยังไม่ยอมแก้ไขปัญหาการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีอุ้มฆ่า นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจเชื้อพระวงศ์ซาอุอาระเบีย
เส้นทางชีวิตก่อนดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นายพิเชษฐ เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในโควตาพรรคความหวังใหม่ เมื่อปี 2544 และต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคความหวังใหม่ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย รวมทั้งมีการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2545 นายพิเชษฐ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ในปลายปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายพิเชษฐ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ รวมถึงห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ทำให้นายพิเชษฐผันตัวเองมาทำงานในองค์กรศาสนาอิสลาม ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ได้เป็นมุสลิมโดยกำเนิด แต่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามภรรยา (นางสุรีย์ สถิรชวาล สกุลเดิม นภากร เป็นน้องสาวของ นายทวี นภากร อิหม่ามศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย)
นายพิเชษฐ สมัครเข้าเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรี และได้รับเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรี จากนั้นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรีได้เลือกให้นายพิเชษฐเป็นผู้แทนในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กระทั่งกรรมการเสียงส่วนใหญ่มีมติให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในปี 2549 ในยุคที่ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นจุฬาราชมนตรี
ตลอดกว่า 4 ปีที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ นายพิเชษฐมีบทบาทอย่างสูงและดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ต่างๆ มากมาย เช่น ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮิจเราะห์ศักราช 1427 ประธานสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย และหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการไทย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน นายพิเชษฐ ยังเป็นผู้สนับสนุนพรรคสันติภาพไทยที่หวังกวาดเก้าอี้ ส.ส.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่พรรคการเมืองดังกล่าวไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง
การเมือง “ลาม” กรรมการอิสลามฯ
เสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการปลดนายพิเชษฐ หนีไม่พ้นเรื่องการเมือง และตัว นายพิเชษฐ เองก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องการเมืองเช่นกัน ทั้งการเมืองภายในคณะกรรมการกลางอิสลามฯเอง และการเมืองในระดับรัฐบาล
นายพิเชษฐ แถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 ก.ย. หลังจากถูกปลดได้ 1 วันว่า สาเหตุของการถูกปลดน่าจะเกี่ยวข้องกับการที่เขาตรวจพบการทุจริตในฝ่ายกิจการฮาลาล ซึ่งมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาและผู้ตรวจการ แต่กลับไม่เคยเดินทางไปตรวจสอบโรงงาน ซ้ำยังปลอมแปลงเอกสารเพื่อนำมาเบิกเงินด้วย
นอกจากนั้นยังพบการแอบเปิดบัญชีเพิ่มเติมโดยใช้ชื่อคณะกรรมการกลางฯ โดยมีเงินอยู่ในบัญชีถึง 4 ล้านบาท ทั้งๆ ที่การเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อคณะกรรมการกลางฯนั้น ต้องมีเพียงบัญชีเดียว
"แทนที่ที่ประชุมเมื่อวันที่ 29 ก.ย.จะหารือกันเรื่องการทุจริตที่ผมได้ออกมาเปิดเผย แต่กลับมีการใช้เสียงส่วนใหญ่โละทุกตำแหน่งของคณะกรรมการกลางฯชุดนี้แทน" นายพิเชษฐ ระบุ
นายพิเชษฐ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำไม่ถูกต้อง อาจผิดระเบียบ เพราะที่ผ่านมาเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่เคยมีใครถูกปลดโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ ทุกคนจะอยู่ครบวาระ 6 ปี แต่ขณะนี้เขายังเหลือวาระอยู่อีกเกือบ 2 ปี ฉะนั้นคณะกรรมการกลางฯชุดเก่าที่ถูกปลดจึงได้หารือกันและลงความเห็นว่าควรจะต้องไปลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
"ผมได้ไปลงบันทึกประจำไว้แล้วที่ สน.ลำหิน เขตหนองจอก เมื่อวันที่ 29 ก.ย. และในวันที่ 5 ต.ค.ผมจะให้ทนายความไปยื่นเรื่องต่อกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งจะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอให้ตีความด้วย" นายพิเชษฐ ระบุ
นายพิเชษฐ ยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ทำให้เขาถูกปลดมีอยู่ 3 ประการ คือ 1.การไปตรวจสอบพบปัญหาทุจริต 2.การออกมาพูดให้ทบทวนการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ซึ่งทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ จนต้องกลับไปทบทวน และ 3.พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.สงขลา และเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์
"พล.ต.ต.สุรินทร์ เพิ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นกรรมการกลางอิสลามฯเมื่อวันที่ 17 ก.ย. แต่วันที่ 29 ก.ย.กลับได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯทันทีโดยไม่เคยผ่านงานมาก่อนเลย ถือเป็นความต้องการจะยึดองค์กรและนำการเมืองเข้ามาแทรก" นายพิเชษฐ กล่าว
ปชป.โต้กลับ “พิเชษฐ” ตัวดีจุ้นการเมือง
คำกล่าวของ นายพิเชษฐ สอดรับกับการวิเคราะห์ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคน ที่เชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นการเอาคืนจากรัฐบาล หลังจากที่นายพิเชษฐออกมาแสดงท่าทีต่อต้านการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด ซึ่งกระทบถึงการขอวีซ่าฮัจญ์ ขณะที่เสียงโหวตในคณะกรรมการกลางอิสลามฯส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่คณะกรรมการกลางอิสลามฯมีมติปลดนายพิเชษฐ น่าจะเกิดจากการที่นายพิเชษฐออกมาพูดเรื่องการออกวีซ่าให้กับชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปนครเมกกะ เพราะเป็นการนำองค์กรด้านกิจการศาสนาไปเกี่ยวพันกับการเมือง จนอาจทำให้ผู้นำศาสนาไม่พอใจได้ เพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการกลางอิสลามฯไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย
แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายพิเชษฐชอบนำองค์กรไปเกี่ยวพันกับการเมือง ซ้ำยังไม่ยอมแยกบทบาทของตนเองกับการเมือง เพราะปัจจุบันยังไปเป็นผู้คัดสรรผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และที่ผ่านมาก็เป็นผู้สนับสนุนพรรคสันติภาพไทย
"สุรินทร์ ปาลาเร่" อ้างระเบียบ “พิเชษฐ” พ้นวาระ
ด้าน พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปลดนายพิเชษฐไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง รวมถึงไม่เกี่ยวกับการวิพาษ์วิจารณ์เรื่อง พล.ต.ท.สมคิด ด้วย เพราะเป็นการปรับโครงสร้างตามปกติของคณะกรรมการกลางอิสลามฯ
"ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯนั้น ตามระเบียบประกอบพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 กำหนดให้มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี แต่นายพิเชษฐอยู่ในตำแหน่งมาเกือบ 5 ปี เพราะที่ผ่านมาไม่มีผู้ใดลงสมัครในตำแหน่งนี้ เมื่อผมได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงแจ้งความประสงค์ลงสมัครในการประชุมคณะกรรมการกลางฯเมื่อวันที่ 29 ก.ย. และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนนายพิเชษฐ์ด้วยคะแนนเสียง 37 เสียง จาก 51 เสียงของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม" พล.ต.ต.สุรินทร์ ระบุ
พล.ต.ต.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า ข่าวรัฐบาลซาอุดิอาระเบียจะปิดสถานทูตในประเทศไทยและไม่ออกวีซ่าให้ผู้แสวงบุญก็ไม่เป็นความจริง เพราะกรณีนี้เขาและ ส.ส.มุสลิมหลายคนเคยเข้าพบอุปทูตซาอุดิอาระเบีย ได้รับการยืนยันว่าหากจะมีการปิดสถานทูตจริง คงปิดไปตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ทูตซาอุฯถูกฆาตกรรมและนักธุรกิจถูกอุ้มแล้ว
ขณะที่ นายปรีดา เชื้อผู้ดี ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี ในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภายในคณะกรรมการกลางฯ ปกติจะต้องปรับทุกๆ 2 ปี แต่เหตุที่นายพิเชษฐดำรงตำแหน่งมานานถึง 5 ปี เป็นเพราะที่ผ่านมาอดีตจุฬาราชมนตรีป่วย ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ และเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่ จึงต้องปรับเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ และตามมารยาท
ส่วนของประเด็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตภายในนั้น นายปรีดา กล่าวว่า จุฬาราชมนตรีมีคำสั่งชัดเจนว่าหากมีการทุจริตจริงให้ดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งกรรมการทุกท่านมีความบริสุทธิ์และพร้อมให้มีการตรวจสอบ แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุของการปลดเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯ
นายปรีชา อนุรักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นายพิเชษฐถูกถอดออกจากตำแหน่งเลขาธิการเท่านั้น แต่ยังเป็นกรรมการอยู่ ซึ่งที่ผ่านมากรรมการส่วนใหญ่มองว่าบทบาทของนายพิเชษฐมีความพยายามนำองค์กรศาสนาไปเกี่ยวข้องกับการเมืองมากเกินไป
ปมลึกปลด “พิเชษฐ”
แหล่งข่าวในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เผยว่า ภายในคณะกรรมการกลางฯ มีความคิดเห็นแตกต่างกันมานานแล้ว โดยเฉพาะกรรมการส่วนหนึ่งกับนายพิเชษฐ แต่ความขัดแย้งมาปรากฏชัดเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่
“ที่ผ่านมาจุฬาราชมนตรีท่านเก่ามีปัญหาด้านสุขภาพตลอด คุณพิเชษฐจึงเข้าไปทำการแทนในหลายเรื่อง และดำรงตำแหน่งสำคัญๆ จำนวนมาก เช่น ประธานจัดงานเมาลิดกลาง แล้วก็มีปัญหาขัดแย้งกับกรรมการท่านอื่นๆ พอสมควร ต่อมาเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่ และท่านต้องการปรับโครงสร้างการทำงานภายในคณะกรรมการกลางอิสลามฯ ทำให้คุณพิเชษฐไม่พอใจ ถึงกับมีการใช้คำพูดรุนแรงในบางครั้ง จนกรรมการท่านอื่นรับไม่ได้ และกลายเป็นเหตุผลในการปลดคุณพิเชษฐในที่สุด” แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามฯ 1 วัน มีการเคลื่อนไหวของกรรมการกลุ่มหนึ่งนัดหารือกันนอกรอบ และเช็คเสียงสนับสนุน เมื่อมั่นใจว่ามีเสียงมากกว่านายพิเชษฐ จึงเดินเกมประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามฯ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ซึ่งมีกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุม 51 คน จากกรรมการทั้งหมด 53 คน (ผู้แทนจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 39 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวมเป็น 39 คน บวกกับกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอีก 13 คน) และมี นายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นประธาน แต่ช่วงที่มีการพิจารณาวาระปรับโครงสร้างคณะกรรมการกลางฯใหม่นั้น นายอาศิสไม่อยู่ในห้องประชุม เพราะต้องออกไปต้อนรับและพบปะแขกคนสำคัญ (พอดี)
ทุกอย่างจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีการเตรียมการกันมาอย่างดี และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ร่วมวางหมากและเดินเกม
พลิกกฎหมาย กก.กลางอิสลาม
ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 หมวด 3 ระบุถึงคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเอาไว้ดังนี้
มาตรา 16 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง
การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
มาตรา 18 คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(4) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
(5) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(6) ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้
(7) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามมาตรา 41
(8) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
(9) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
(10) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
(11) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
(12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 19 กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้มีการคัดเลือกเพื่อดำเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันครบกำหนดตามวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่
มาตรา 20 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 19 กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17
----------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ : ภาพประกอบจาก www.publicthaionline.com และหนังสือพิมพ์พับลิกโพสต์
ที่ประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ก.ย.มีมติปลดทุกตำแหน่งในคณะกรรมการฯ คงเหลือไว้แต่ประธาน คือ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลางอิสลามฯโดยตำแหน่งอยู่แล้วเพียงคนเดียวเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในคณะกรรมการกลางอิสลามฯเที่ยวนี้ รวมไปถึงตำแหน่งใหญ่ที่สุดคือ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯอย่าง นายพิเชษฐ สถิรชวาล ด้วย และที่ประชุมได้แต่งตั้ง พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตข้าราชการตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง วัย 62 ปี เข้ารักษาการแทน
เส้นทาง “พิเชษฐ สถิรชวาล”
สำหรับ นายพิเชษฐ นั้น เพิ่งแสดงบทบาทออกมาให้สัมภาษณ์โจมตีรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ เกี่ยวกับการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 (ผบช.ภ.5) ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ซึ่งทำให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียไม่พอใจ และส่งผลถึงการขอวีซ่าของพี่น้องมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย กระทั่งสุดท้าย พล.ต.ท.สมคิด ต้องยอมเสียสละ ประกาศไม่รับตำแหน่ง และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ต้องจัดประชุมเพื่อพิจารณาตำแหน่งใหม่ โดยโยก พล.ต.ท.สมคิด ไปดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแทน
ในช่วงที่เมืองไทยกำลังฝุ่นตลบจากปมแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด นายพิเชษฐ เป็นหัวหอกผู้ออกมาให้ข่าวว่า รัฐบาลซาอุดิอาระเบียเตรียมตัดสินใจปิดสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย และกดดันให้องค์การการประชุมอิสลาม หรือโอไอซี บอยคอตประเทศไทย หากรัฐบาลไทยยังไม่ยอมแก้ไขปัญหาการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด ซึ่งตกเป็นจำเลยในคดีอุ้มฆ่า นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจเชื้อพระวงศ์ซาอุอาระเบีย
เส้นทางชีวิตก่อนดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นายพิเชษฐ เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในโควตาพรรคความหวังใหม่ เมื่อปี 2544 และต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคความหวังใหม่ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย รวมทั้งมีการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2545 นายพิเชษฐ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ในปลายปี 2546 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายพิเชษฐ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากจงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ รวมถึงห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ทำให้นายพิเชษฐผันตัวเองมาทำงานในองค์กรศาสนาอิสลาม ทั้งๆ ที่ตนเองไม่ได้เป็นมุสลิมโดยกำเนิด แต่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตามภรรยา (นางสุรีย์ สถิรชวาล สกุลเดิม นภากร เป็นน้องสาวของ นายทวี นภากร อิหม่ามศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย)
นายพิเชษฐ สมัครเข้าเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรี และได้รับเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรี จากนั้นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบุรีได้เลือกให้นายพิเชษฐเป็นผู้แทนในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กระทั่งกรรมการเสียงส่วนใหญ่มีมติให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในปี 2549 ในยุคที่ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ เป็นจุฬาราชมนตรี
ตลอดกว่า 4 ปีที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ นายพิเชษฐมีบทบาทอย่างสูงและดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ต่างๆ มากมาย เช่น ประธานจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮิจเราะห์ศักราช 1427 ประธานสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย และหัวหน้าคณะผู้แทนฮัจญ์ทางการไทย เป็นต้น
ขณะเดียวกัน นายพิเชษฐ ยังเป็นผู้สนับสนุนพรรคสันติภาพไทยที่หวังกวาดเก้าอี้ ส.ส.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่พรรคการเมืองดังกล่าวไม่เคยได้รับการเลือกตั้ง
การเมือง “ลาม” กรรมการอิสลามฯ
เสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการปลดนายพิเชษฐ หนีไม่พ้นเรื่องการเมือง และตัว นายพิเชษฐ เองก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องการเมืองเช่นกัน ทั้งการเมืองภายในคณะกรรมการกลางอิสลามฯเอง และการเมืองในระดับรัฐบาล
นายพิเชษฐ แถลงข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 ก.ย. หลังจากถูกปลดได้ 1 วันว่า สาเหตุของการถูกปลดน่าจะเกี่ยวข้องกับการที่เขาตรวจพบการทุจริตในฝ่ายกิจการฮาลาล ซึ่งมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาและผู้ตรวจการ แต่กลับไม่เคยเดินทางไปตรวจสอบโรงงาน ซ้ำยังปลอมแปลงเอกสารเพื่อนำมาเบิกเงินด้วย
นอกจากนั้นยังพบการแอบเปิดบัญชีเพิ่มเติมโดยใช้ชื่อคณะกรรมการกลางฯ โดยมีเงินอยู่ในบัญชีถึง 4 ล้านบาท ทั้งๆ ที่การเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อคณะกรรมการกลางฯนั้น ต้องมีเพียงบัญชีเดียว
"แทนที่ที่ประชุมเมื่อวันที่ 29 ก.ย.จะหารือกันเรื่องการทุจริตที่ผมได้ออกมาเปิดเผย แต่กลับมีการใช้เสียงส่วนใหญ่โละทุกตำแหน่งของคณะกรรมการกลางฯชุดนี้แทน" นายพิเชษฐ ระบุ
นายพิเชษฐ กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำไม่ถูกต้อง อาจผิดระเบียบ เพราะที่ผ่านมาเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยไม่เคยมีใครถูกปลดโดยใช้เสียงส่วนใหญ่ ทุกคนจะอยู่ครบวาระ 6 ปี แต่ขณะนี้เขายังเหลือวาระอยู่อีกเกือบ 2 ปี ฉะนั้นคณะกรรมการกลางฯชุดเก่าที่ถูกปลดจึงได้หารือกันและลงความเห็นว่าควรจะต้องไปลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานที่ถูกต้อง
"ผมได้ไปลงบันทึกประจำไว้แล้วที่ สน.ลำหิน เขตหนองจอก เมื่อวันที่ 29 ก.ย. และในวันที่ 5 ต.ค.ผมจะให้ทนายความไปยื่นเรื่องต่อกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งจะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอให้ตีความด้วย" นายพิเชษฐ ระบุ
นายพิเชษฐ ยังกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ทำให้เขาถูกปลดมีอยู่ 3 ประการ คือ 1.การไปตรวจสอบพบปัญหาทุจริต 2.การออกมาพูดให้ทบทวนการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ซึ่งทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ จนต้องกลับไปทบทวน และ 3.พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.สงขลา และเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์
"พล.ต.ต.สุรินทร์ เพิ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นกรรมการกลางอิสลามฯเมื่อวันที่ 17 ก.ย. แต่วันที่ 29 ก.ย.กลับได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯทันทีโดยไม่เคยผ่านงานมาก่อนเลย ถือเป็นความต้องการจะยึดองค์กรและนำการเมืองเข้ามาแทรก" นายพิเชษฐ กล่าว
ปชป.โต้กลับ “พิเชษฐ” ตัวดีจุ้นการเมือง
คำกล่าวของ นายพิเชษฐ สอดรับกับการวิเคราะห์ของ ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคน ที่เชื่อว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นการเอาคืนจากรัฐบาล หลังจากที่นายพิเชษฐออกมาแสดงท่าทีต่อต้านการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด ซึ่งกระทบถึงการขอวีซ่าฮัจญ์ ขณะที่เสียงโหวตในคณะกรรมการกลางอิสลามฯส่วนใหญ่เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์
นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่คณะกรรมการกลางอิสลามฯมีมติปลดนายพิเชษฐ น่าจะเกิดจากการที่นายพิเชษฐออกมาพูดเรื่องการออกวีซ่าให้กับชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปนครเมกกะ เพราะเป็นการนำองค์กรด้านกิจการศาสนาไปเกี่ยวพันกับการเมือง จนอาจทำให้ผู้นำศาสนาไม่พอใจได้ เพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการกลางอิสลามฯไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย
แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นายพิเชษฐชอบนำองค์กรไปเกี่ยวพันกับการเมือง ซ้ำยังไม่ยอมแยกบทบาทของตนเองกับการเมือง เพราะปัจจุบันยังไปเป็นผู้คัดสรรผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และที่ผ่านมาก็เป็นผู้สนับสนุนพรรคสันติภาพไทย
"สุรินทร์ ปาลาเร่" อ้างระเบียบ “พิเชษฐ” พ้นวาระ
ด้าน พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปลดนายพิเชษฐไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง รวมถึงไม่เกี่ยวกับการวิพาษ์วิจารณ์เรื่อง พล.ต.ท.สมคิด ด้วย เพราะเป็นการปรับโครงสร้างตามปกติของคณะกรรมการกลางอิสลามฯ
"ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯนั้น ตามระเบียบประกอบพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 กำหนดให้มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี แต่นายพิเชษฐอยู่ในตำแหน่งมาเกือบ 5 ปี เพราะที่ผ่านมาไม่มีผู้ใดลงสมัครในตำแหน่งนี้ เมื่อผมได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงแจ้งความประสงค์ลงสมัครในการประชุมคณะกรรมการกลางฯเมื่อวันที่ 29 ก.ย. และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งแทนนายพิเชษฐ์ด้วยคะแนนเสียง 37 เสียง จาก 51 เสียงของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม" พล.ต.ต.สุรินทร์ ระบุ
พล.ต.ต.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า ข่าวรัฐบาลซาอุดิอาระเบียจะปิดสถานทูตในประเทศไทยและไม่ออกวีซ่าให้ผู้แสวงบุญก็ไม่เป็นความจริง เพราะกรณีนี้เขาและ ส.ส.มุสลิมหลายคนเคยเข้าพบอุปทูตซาอุดิอาระเบีย ได้รับการยืนยันว่าหากจะมีการปิดสถานทูตจริง คงปิดไปตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ทูตซาอุฯถูกฆาตกรรมและนักธุรกิจถูกอุ้มแล้ว
ขณะที่ นายปรีดา เชื้อผู้ดี ที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี ในฐานะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภายในคณะกรรมการกลางฯ ปกติจะต้องปรับทุกๆ 2 ปี แต่เหตุที่นายพิเชษฐดำรงตำแหน่งมานานถึง 5 ปี เป็นเพราะที่ผ่านมาอดีตจุฬาราชมนตรีป่วย ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ และเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่ จึงต้องปรับเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ และตามมารยาท
ส่วนของประเด็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตภายในนั้น นายปรีดา กล่าวว่า จุฬาราชมนตรีมีคำสั่งชัดเจนว่าหากมีการทุจริตจริงให้ดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งกรรมการทุกท่านมีความบริสุทธิ์และพร้อมให้มีการตรวจสอบ แต่ไม่ใช่เป็นสาเหตุของการปลดเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯ
นายปรีชา อนุรักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นายพิเชษฐถูกถอดออกจากตำแหน่งเลขาธิการเท่านั้น แต่ยังเป็นกรรมการอยู่ ซึ่งที่ผ่านมากรรมการส่วนใหญ่มองว่าบทบาทของนายพิเชษฐมีความพยายามนำองค์กรศาสนาไปเกี่ยวข้องกับการเมืองมากเกินไป
ปมลึกปลด “พิเชษฐ”
แหล่งข่าวในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เผยว่า ภายในคณะกรรมการกลางฯ มีความคิดเห็นแตกต่างกันมานานแล้ว โดยเฉพาะกรรมการส่วนหนึ่งกับนายพิเชษฐ แต่ความขัดแย้งมาปรากฏชัดเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่
“ที่ผ่านมาจุฬาราชมนตรีท่านเก่ามีปัญหาด้านสุขภาพตลอด คุณพิเชษฐจึงเข้าไปทำการแทนในหลายเรื่อง และดำรงตำแหน่งสำคัญๆ จำนวนมาก เช่น ประธานจัดงานเมาลิดกลาง แล้วก็มีปัญหาขัดแย้งกับกรรมการท่านอื่นๆ พอสมควร ต่อมาเมื่อมีจุฬาราชมนตรีคนใหม่ และท่านต้องการปรับโครงสร้างการทำงานภายในคณะกรรมการกลางอิสลามฯ ทำให้คุณพิเชษฐไม่พอใจ ถึงกับมีการใช้คำพูดรุนแรงในบางครั้ง จนกรรมการท่านอื่นรับไม่ได้ และกลายเป็นเหตุผลในการปลดคุณพิเชษฐในที่สุด” แหล่งข่าว ระบุ
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามฯ 1 วัน มีการเคลื่อนไหวของกรรมการกลุ่มหนึ่งนัดหารือกันนอกรอบ และเช็คเสียงสนับสนุน เมื่อมั่นใจว่ามีเสียงมากกว่านายพิเชษฐ จึงเดินเกมประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามฯ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. ซึ่งมีกรรมการฝ่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุม 51 คน จากกรรมการทั้งหมด 53 คน (ผู้แทนจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 39 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวมเป็น 39 คน บวกกับกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดอีก 13 คน) และมี นายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นประธาน แต่ช่วงที่มีการพิจารณาวาระปรับโครงสร้างคณะกรรมการกลางฯใหม่นั้น นายอาศิสไม่อยู่ในห้องประชุม เพราะต้องออกไปต้อนรับและพบปะแขกคนสำคัญ (พอดี)
ทุกอย่างจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีการเตรียมการกันมาอย่างดี และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ร่วมวางหมากและเดินเกม
พลิกกฎหมาย กก.กลางอิสลาม
ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 หมวด 3 ระบุถึงคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเอาไว้ดังนี้
มาตรา 16 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ถ้ามีเศษให้ปัดทิ้ง
การคัดเลือกผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และการคัดเลือกกรรมการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็น
มาตรา 18 คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(4) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
(5) ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(6) ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้
(7) พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านตามมาตรา 41
(8) จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
(9) ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
(10) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
(11) ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
(12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 19 กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้มีการคัดเลือกเพื่อดำเนินการแต่งตั้งใหม่ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันครบกำหนดตามวาระ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปก่อนจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการใหม่
มาตรา 20 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 19 กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17
----------------------------------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ : ภาพประกอบจาก www.publicthaionline.com และหนังสือพิมพ์พับลิกโพสต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น