วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

อาณาจักรศรีวิชัย


อาณาจักรศรีวิชัย
  

ThaiHistory Placide CarteDuRoyaumeDeSiam.png        ไฟล์:ThaiHistory SiamPlacide.jpg
          อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ เกิดในปี(พ.ศ. 1202 - ราวพุทธศตวรรษที่ 18) ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ 

         ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา
           
โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช

ประวัติ

            ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ระบุว่า ศรีวิชัยน่าจะสถาปนาในช่วงเวลาก่อนปีพ.ศ. 1225 เล็กน้อย[1] ขณะที่ เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ เลขานุการคณะอนุกรรมการตรวจสอบหลักฐานอาณาจักรศรีโพธิ์ วุฒิสภา ระบุว่า

          อาณาจักรศรีโพธิ์ (ศรีวิชัย) สถาปนาขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 1202 [2] โดยใช้หลักการทางดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ตรวจหาวันที่จากเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่อ้างอิงถึงในตำนานท้องถิ่นเกี่ยวกับการสถาปนาอาณาจักรที่ว่า
           หลังเสร็จสิ้นสงครามแย่งช้าง ต่อมาได้เกิดสุริยคราสแหวนเพชร ขึ้นในท้องที่ดังกล่าว หลังจากนั้นอีก 7 วัน มหาราชทั้งสอง ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษกที่เขาสุวรรณบรรพต แล้วขึ้นครองราชสมบัติ สถาปนาอาณาจักรศรีโพธิ์

            ส่วนที่ตั้งเมืองหลวง มีการถกเถียงกันจนปัจจุบันก็ยังไม่ได้ข้อยุติ แต่มีสองแนวคิดที่เชื่อถือกันอยู่คือ คู่เมืองไชยา-สุราษฎร์ธานี และที่เมืองปาเล็มบัง (สุมาตรา) ทั้งนี้เพราะมีหลักฐานเป็นจารึกชัดเจนว่า ปีพ.ศ. 1369 พระเจ้าศรีพลบุตร (ครองชวากลาง) พระนัดดาในพระเจ้าศรีสงครามธนัญชัย (ครองทั้งศรีวิชัยและชวากลาง) ยกทัพจากชวากลางมาตีศรีวิชัย จากพระใหญ่ (พระนัดดาอีกสายของพระเจ้าศรีสงครามฯ ที่ครองศรีวิชัย) แล้วชิงได้ราชสมบัติไป[3][2] แนวความคิดเรื่องชวากลาง (สถานที่ประดิษฐานเจดีย์บุโรพุทโธ) เป็นเมืองหลวงจึงตกไป


            มีการพบศิลาจารึกภาษมลายูโบราณเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยนี้ ทั้งที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และพบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา ระบุว่าศรีวิชัยเป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลีและพริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมากและต้นมะพร้าวจำนวนมาก 

              หลวงจีนอี้จิง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีนโดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน 11 พ.ศ. 1214 เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า ตามพรลิงก์ที่อินเดีย เพื่อสิบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า พุทธศาสนาแบบมหายานเจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย ประชาชนทางแหลมมลายูเดิมส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิม ที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน 
         

            ดังนั้นในเวลาต่อมาศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหงะ และ ปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. 1568 อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจและกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน พ.ศ. 1940 แต่มีหลักฐานจากตำนานเมืองเพชรบุรีว่า อาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะตำนานฯระบุว่า ก่อนพระพนมวังจะได้สถาปนาอาณาจักรนครศรีธรรมราชในปีพ.ศ. 1830 นครศรีธรรมราชมีสภาพเป็นเมืองร้างมาก่อน
http://narater2010.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554


เมื่อโลกตะวันตกพบตะวันออก ณ 'โรคมะเร็ง'
เมื่อโลกตะวันตกพบตะวันออก ณ 'โรคมะเร็ง' Cover Story
โดยนิรันศักดิ์ บุญจันทร์



ชาร์ล วินเซนท์ เคลลี่ ลัดฟ้าจากสหรัฐฯ มาพบหมอเทวดา


ไมเคิล แฮริสัน


 ไซมอน แอเดรียนัส









เจ้าของผมบลอนด์ทอง ตาสีน้ำข้าว ตบเท้าเดินทางมารักษาโรคร้าย ณ คลินิกแห่งนี้ อย่าถามว่ามียาอะไรดี หากเพราะมีคุณหมอที่รู้จักและใช้ใจรักษา มะเร็ง

ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่กำลังถูกโรคมะเร็งสารพัดชนิดคุกคาม จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งของกระทรวงสาธารณสุขประจำปี

2553 พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง 241,051 คน หรือมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละ 80,350 คน ...และโรคมะเร็งนี้เองที่กลายเป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย โดยปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 56,058 ราย หรือเดือนละ 4,671 ราย

ส่วนปี 2554 มีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 สำหรับโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับคนไทยมากที่สุด คือโรคมะเร็งปอด จากสถิติมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นกว่ามะเร็งชนิดอื่น และที่น่าวิตกคือพบว่าเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 13-15 ปีมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มเริ่ม

สูบบุหรี่จำนวนมากในปัจจุบัน ทำให้ภาครัฐต้องใช้งบประมาณมหาศาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรักษาโรคมะเร็ง โดยเฉลี่ยปีละ

1 หมื่น 6 พันล้านบาท โดยคนเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยเป็น เพศชาย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ตามลำดับ ส่วนในเพศหญิงพบโรคมะเร็งที่เป็นมากที่สุด คือ โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งตับและปอด...

สำหรับสถานการณ์มะเร็งทั่วโลกนั้น จากสถิติและการคาดการณ์จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ประมาณเอาไว้ว่าในปี ค.ศ.2030 จะมีผู้ป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 11.4 ล้านคน และคาดการณ์ว่าประมาณปี ค.ศ.2005-2015 จะมีผู้ป่วยตายด้วยโรคมะเร็งโดยไม่ได้รับการรักษาประมาณ 84 ล้านรายทั่วโลก และร้อยละ 40 สามารถป้องกันโรคได้

มะเร็ง : เหมือนปลาในทะเลทราย คนเป็นมะเร็ง เปรียบเสมือนปลาที่อยู่กลางทะเลทราย และต้องกระเสือกกระสนแหวกว่ายหนีตาย เพื่อแสวงหาแหล่งน้ำให้หลุดพ้นจากความตายให้ได้ ไม่ว่าแหล่งน้ำนั้นจะอยู่ ณ ที่ใดในซอกมุมโลกนี้ก็ตาม ทั้งที่เป็นคนไทย และคนอื่นๆ บนโลกใบนี้

แหล่งน้ำจึงหมายถึง หมอ หรือ นายแพทย์หรือ สถานพยาบาล ที่คนเป็นโรคมะเร็งต่างแสวงหา ราวกับปลาที่หนีตายจากท้องทะเล ทรายหมายพบแหล่งน้ำ เพื่อให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัยจากโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ ในประเทศไทยนั้น นอกเหนือจากโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนที่ให้การรักษาคนป่วยโรคมะเร็งแล้ว ยังมีคลินิก ตลอดจนแหล่งรักษาทางเลือกอีกมากมาย

แต่มีสถานที่แห่งหนึ่งที่โด่งดังและมีผู้ป่วย โรคมะเร็งทั่วทุกสารทิศ หลั่งไหลมารักษามากมาย ที่นั่นคือ คลินิก นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ หรือที่ใครๆ เรียก หมอเทวดา ซึ่งตั้งอยู่ในตัวจังหวัดสิงห์บุรี นายแพทย์แผนปัจจุบันคนนี้ อุทิศตัวศึกษาวิจัยค้นคว้าสมุนไพรไทยมานานกว่า 40 ปี เพื่อแสวงหาตัวยาสำหรับการนำมารักษาโรคมะเร็ง จนทำให้มีชื่อเสียงโด่งดัง

นพ.สมหมาย ทองประเสริฐ เป็นคนจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันอายุ 91 ปี แต่ยังแข็งแรง สามารถตรวจคนไข้ทุกวัน วันละร่วมๆ 100 กว่าคนทำงานแต่เช้าจนถึงค่ำมืด โดยมีอัศวิน ทองประเสริฐ ลูกบุญธรรมช่วยเหลืองานด้านบริหารและสืบสานกิจการทั้งหมดของคุณหมอ

คุณหมอจบการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบแพทยศาสตรบัณฑิตเหรียญทอง จากโรงพยาบาลศิริราช ในระหว่างศึกษาได้ทำงานในร้านขายยาเพื่อส่งเสียตัวเองมาโดยตลอด จนจบการศึกษาในปี 2494 นอกจากนี้ ยังเคยเป็นแพทย์ประจำตัว จอมพล ป.พิบูลสงคราม อีกด้วย

ทุกวันนี้หมอสมหมายเปิดคลินิกรักษาโรคมะเร็งอยู่ที่บ้านเกิด โดยใช้ความรู้แพทย์แผนปัจจุบันผสานกับการรักษาด้วยสมุนไพรไทยเพื่อรักษาโรค มะเร็ง โดยเริ่มทดลองใช้สมุนไพรรักษาโรคมะเร็งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2512 จนประสบความสำเร็จในปี พ.ศ.2520 จึงได้ลาออกจากราชการมาเพื่อรักษามะเร็งโดยเฉพาะ จนกระทั่งสามารถรักษาโรคมะเร็งหลายชนิดให้หายได้ ...และกลายมาเป็น บ่อน้ำ ของใครหลายคน

โลกตะวันตกมุ่งสู่ตะวันออก

ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เริ่มมีคนป่วยจากหลายชาติทั่วโลก ดั้นด้นมารักษากับคุณหมอสัญชาติไทยรายนี้น่าคิดว่า ทำไมเส้นทางของคนเป็นโรคมะเร็งจากซีกโลกตะวันตก จึงทอดยาวข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงสิงห์บุรี ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ยุคใหม่ในประเทศโลกตะวันตกนั้น ขึ้นชื่อว่าก้าวล้ำนำยุค คนไทยเองหลายคนลงทุนข้ามน้ำข้ามทะเลไปบำบัดถึงเมืองนอกเมืองนา และคำถามที่เกิดตามมาก็คือ ชาวต่างประเทศที่เริ่มหลั่งไหลมารักษามะเร็งกับคุณหมอสมหมายนั้น พวกเขารับรู้ด้วยวิธีใด

จากการสอบถามคนไข้ชาวต่างประเทศบางคน รวมทั้งข้อมูลสถิติที่ทางคลินิกเองได้รวบรวมเอาไว้ ทำให้ทราบว่าการรับรู้ของชาวต่างชาติที่มีต่อสถานรักษาโรคมะเร็งแห่งนี้มี หลายทางด้วยกัน

อันดับแรก รู้จักคนไทย ส่วนมากจะเป็นชาวต่างชาติที่มีเพื่อน หรือไม่ก็คู่ชีวิตที่เป็นคนไทย ทั้งในส่วนที่มีครอบครัวและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทย รวมถึงรายที่ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ แล้วเดินทางมาเยือนเมืองไทย

อันดับต่อมา รู้จากสื่อหลายแขนง นับตั้งแต่สื่อสิ่งพิมพ์ของต่างประเทศ ที่นำเอาเรื่องราวของคุณหมอสมหมายไปตี พิมพ์เผยแพร่รวมทั้งสื่อโทรทัศน์ทั้งไทยและเทศที่เดินทางเข้ามาถ่ายทำ

นอกจากนี้แล้ว สื่ออินเทอร์เน็ตก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ชาวต่างชาติในหลายๆ ประเทศรู้ถึงกิตติศัพท์ของ นพ. สมหมาย ทองประเสริฐในการรักษาโรคมะเร็ง และนับวันจะยิ่งกระจายในเครือข่ายสังคมออนไลน์มากขึ้นส่วนวิธีการเดินทางมาเพื่อรักษาที่ จ.สิงห์บุรีนั้น ถ้าจะแยกแยะให้เห็นถึง วิธีเพื่อสู่จุดหมายปลายทางที่คลินิกแห่งนี้แล้ว ชาวต่างชาติ

จำนวนหนึ่งรู้และมีคนไทย ซึ่งอาจจะเป็นสามีภรรยา หรือเพื่อนที่เป็นคนไทยแนะนำพร้อมพามารักษา แต่สำหรับชาวต่างชาติอีกประเภทหนึ่งนั้น ไม่เคยรู้จักประเทศไทยมาก่อน แต่พยายามเสาะแสวงหาด้วยการเดินทางมาถึงเมืองไทย และสอบถามข้อมูลต่างๆแล้วเดินทางมารักษาจนถึงที่ด้วยตนเอง โดยมีทั้งมาคนเดียวและมาพร้อมกับญาติหรือคนใกล้ชิด


เหตุจูงใจ : ฝูงปลาดิ้นหาน้ำความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ในช่วงระยะเวลา 4-5 เดือนที่ผ่านมานั้น มีชาวต่างชาติเดินทางมารักษามะเร็งมากขึ้นและมากขึ้น

สาเหตุแรก คือ โรคมะเร็งนั้น ถ้าใครเป็นแล้วไม่รักษา หรือรักษาอย่างไม่ถูกต้อง หนทางจะรอดชีวิตนั้นมีน้อยมาก...แต่เมื่อพวกเขารู้ว่าวิธีการรักษาของหมอสม หมายนั้นได้ผล และเมื่อชาวต่างชาติที่รับการรักษาแล้วได้ผล จึงมีการพูดกันปากต่อปาก...ทำให้ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติเดินทางมารักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ที่คลินิกมากขึ้นเป็นลำดับ

อัศวิน ทองประเสริฐ ผู้บริหารงานคลินิกหมอสมหมาย ทองประเสริฐได้เปิดเผยอีกว่า ความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็งนั้น มาจากการใช้ศาสตร์ของแพทย์แผนปัจจุบันและตัวยาสมุนไพรไทยที่คุณหมอคิดค้นมา นาน โดยไม่ได้รักษาแต่แผนปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น เพราะการรักษาด้วยการฉายแสง เคมีบำบัด รวมทั้งการทำคีโมเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งนั้น ส่งผลข้างเคียงกับร่างกายของคนป่วยมากมาย

แตกต่างจากการรักษาด้วยทางเลือกหรือ ใช้สูตรของยาสมุนไพรไทยมาผสมผสาน ยกเว้นมะเร็งตับระยะรุนแรง

อีกสาเหตุหนึ่งก็น่าจะมาจากการค่ารักษา ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากกับการรักษาตามโรงพยาบาลทั่วๆ ไป ที่นี่ราคาถูกกว่าเพราะตัวยาที่นำมาปรุงนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ตามท้องถิ่น

ไมเคิล แฮริสัน ชาวสกอตแลนด์ วัย 52 ปี ชายคนนี้ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่คอ และต่อมทอมซิลเขาเล่าถึงความเป็นมาก่อนจะเดินทางมารักษามะเร็งที่คลินิกหมอสมหมาย ทองประเสริฐเป็นครั้งแรกว่า ผมทราบเรื่องคุณหมอสมหมายจากเพื่อนของภรรยาแนะนำมาอีกทีหนึ่ง รู้สึกสนใจเพราะรักษามาหลายแห่ง แต่ยังไม่กระเตื้องเลยภรรยาผมจึงพามารักษาที่คลินิกคุณหมอสมหมาย มาถึงตั้งแต่สิบเอ็ดโมงเช้า เข้าคิวยาวมากและได้ตรวจตอนห้าโมงเย็น

เมื่อถามถึงการรักษาในโรงพยาบาลที่สกอตแลนด์ เขาบอกว่า การรักษาด้วยสมุนไพรที่สกอตแลนด์ก็พอมีบ้าง แต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นหมอฝังเข็ม และแม้ว่าเทคโนโลยีการแพทย์จะเจริญก้าวหน้า แต่การรักษาต้องใช้เวลานาน คิดว่าที่นี่เร็วกว่า ที่สำคัญ ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาแพง

ด้าน ชาร์ลส์ วินเซนท์ เคลลี่ ชาวอเมริกาวัย 67 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด
เขารู้จักคลินิกนี้ผ่านเพื่อนชาวต่างชาติ ซึ่งไปเจอกันเพราะรักษากับคุณหมอคนเดียวกันที่ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯโดยเพื่อนเล่าให้ฟังว่าไปรักษาที่คุณหมอสมหมายแล้ว อาการน้ำท่วมปอดหายและดี ขึ้นมาก จึงสนใจอยากลองมาหาดู ภรรยาจึงพาเดินทางจากสกลนครมาสิงห์บุรีเป็นครั้งแรก

ก่อนหน้านี้ผมเคยรับการรักษาทั้งในจังหวัดอุดรธานี และโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แต่อาการก็ยังทรงๆ ไม่ดีขึ้น และเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น ก็แพงมากๆ ภรรยาเองก็เชื่อในเรื่องประโยชน์ของสมุนไพร จึงอยากพาผมมาหาคุณหมอสมหมาย เพราะทราบว่าคุณหมอสมหมาย รักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับการรักษา ด้วยสมุนไพร

นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ไซมอน เอเดรียนนัส วัย 71 ก็มาพร้อมกับโรคมะเร็งที่ขาขวาและต่อมลูกหมากเขาเป็นอีกคนที่ดั้นด้นเดินทางรักษาโรคมะเร็งหลายแห่ง แต่ไม่ได้ผล โดยเฉพาะมะเร็งที่ขาข้างขวาของเขานั้น เป็นแผลกว้างชนิดเห็นถึงกระดูกขาวๆ เลยทีเดียว

ทำไมผมถึงมารักษาที่คลินิกนายแพทย์สมหมายงั้นหรือ...แรกทีเดียวนั้น ผมมีโอกาสได้ดูเรื่องราวเกี่ยวกับคุณหมอในทีวีรายการหนึ่ง จึงให้ผู้ช่วยหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่าคลินิกนี้อยู่ที่ไหน พอได้ข้อมูลมาแล้ว จึงได้ให้ภรรยาชาวพามาพบคุณหมอครั้งแรกเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม ปีที่แล้ว จนถึงทุกวันนี้ผมมาหาคุณหมอครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ไซมอน เล่าอีกว่าก่อนหน้านี้ได้เข้ารับการรักษา กับหมอที่ประเทศฮอลแลนด์ หมอที่นั่นวินิจฉัยโรคแล้วแนะนำว่าควรตัดขา และนัดผ่าตัดในวันที่ 28 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา

ผมทำใจไม่ได้เลย พอรู้ว่าต้องตัดขา อาการก็ทรุดลง ทานข้าวไม่ได้ น้ำหนักลด มีอาการปวด จนได้รู้ข่าวเกี่ยวกับหมอสมหมายนั่นแหละจึงตัดสินใจมาหา พอมาหาคุณหมอสมหมายบอกว่าไม่จำ เป็นต้องตัดขาถึงตัดก็ไม่แน่นอนว่าจะหาย เพราะมะเร็งได้ลามไปที่ต่อมลูกหมากแล้ว และคุณหมอบอกอีกว่าสามารถหยุดไม่ให้มะเร็งลามได้โดยการทานยา

หลังจากได้รับการรักษาจากคุณหมอและทานยาไปประมาณ 1 เดือน ความประหลาดใจเกิดแก่ไซมอนแถมกำลังใจกลับมาอีกเป็นกองเพราะอาการดีขึ้น แผลไม่บวม สามารถนอนหลับได้ตามปกติ และไม่ต้องกินยาแก้ปวด 1 เดือนผ่านไป เขากลับมาหาคุณหมออีกครั้ง มะเร็งที่ต่อมลูกหมากหายไปจึงรับยาไปทานต่อ

ชายวัย 71 กลับมาหาคุณหมออีกครั้งเมื่อปลายมิถุนายนเพราะยาหมด พร้อมกับขาที่แผลเริ่มแห้ง หายบวม กลับมาขับรถได้ตามปกติ หลังมะเร็งทำให้เขาร้างราจากพวงมาลัยมานาน

คุณรู้มั้ย...ค่ารักษาที่ฮอลแลนด์นั้นแพงมากๆ หลายแสน เคยรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองไทยสองสามแห่ง แพงเหมือนกันแต่ไม่ค่อยได้ผล เมื่อเปรียบเทียบกับค่ารักษาที่คลินิกนี้แล้วถูกมากๆ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานหน่อย เท่านั้นเอง

 บ่อน้ำ แห่งสิงห์บุรี คงมีปลาว่ายข้ามทวีปมาพักพิงอีกนับไม่ถ้วน...

Cover Story โดยนิรันศักดิ์ บุญจันทร์
http://narater2010.blogspot.com/

ดร. จากเยอรมัน เข้าพบศูนย์พิทักษ์ฯ


วันนี้ (19 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.00 น. ดร.เคนเนธ เฟลมมิง (Dr Kenneth Fleming) จากคณะประวัติศาสตร์แห่งศาสนาและพันธกิจศึกษา (History of Religions and Mission Studies) มหาวิทยาลัยไฮเด็ลเบิร์ก (University of Heidelberg) ประเทศเยอรมันนี (Germany)  http://theologie.uni-hd.de/rm/index.html ได้ขอเข้าพบผู้แทนคณะกรรมการบริหารศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย นำโดย พระเทพวิสุทธิกวี เลขาธิการ, พระมหา ดร.โชว์ ทสฺสนีโย รองเลขาธิการฝ่ายบรรพชิต, พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล รองประธาน, พล.ต.ทองขาว พ่วงรอดพันธุ์ รองเลขาธิการฝ่ายฆราวาส และ พ.อ.(พิเศษ) บุญชู ศรีเคลือบ เลขาธิการเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย

สำหรับการเข้าพบครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัยในหัวข้อ "The contemporary encounter between Buddhists and Christians in Thailand." ซึ่งการวิจัยครั้งนี่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธและชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ โดยมีการเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ดังกล่าวกับกรณีชาวพุทธ กับชาวมุสลิมใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยประเด็นที่ ดร.เคนเนธ เฟลมมิง (Dr Kenneth Fleming) ได้สอบถาม อาทิ ทำไมต้องมีการรณรงค์ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ, การทำงานขององค์กรทางพระพุทธศาสนาในเมืองไทยเป็นอย่างไร, ภัยของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันมีอะไรบ้าง, ชาวพุทธมีความคิดเห็นต่อคนที่นับถือศาสนาอื่นๆ อย่างไร และพอใจในรูปแบบการบริหารบ้านเมืองในปัจจุบันที่มีต่อพระพุทธศาสนาหรือไม่ นอกจากนั้นยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ อีกหลายประเด็น
ดร.เคนเนธ เฟลมมิง (Dr Kenneth Fleming) ได้กล่าวถึงการที่ได้เลือกเข้ามาพบกับกรรมการบริหารของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ว่า ตนได้ติดตามความเคลื่อนไหวทางศาสนาภายในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และได้เห็นถึงบทบาทที่โดเด่นของศูนย์พิทักษ์พระพุทศาสนาแห่งประเทศไทยจากสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ดังนั้นจึงใช้เวลาเข้ามาศึกษาข้อมูลต่างๆ จากทางเว็ปไซด์ www.bpct.org ซึ่งเป็นเว็ปของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย โดยใช้เวลาแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเป็นเวลานับเดือน

The contemporary encounter between Buddhists and Christians in Thailand

DFG-Research Project, running from 1.12.2010 - 30.11.2013 DFG-Research Project, running from 1.12.2010 - 30.11.2013
Thailand presents itself to the world as a country where national identity is closely linked to Theravada Buddhism. According to official statistics, 94.5% of the population is Buddhist, 4.6% Muslim, and 0.72% Christian. According to official statistics, 94.5% of the population is Buddhist, Muslim 4.6%, and 0.72% Christian.
In recent years, the relationship between Buddhism and Islam in Thailand has received international scholarly attention, mainly in relation to separatist conflicts in the South. In recent years, the relationship between Buddhism and Islam in Thailand has received international scholarly attention, mainly in relation to separatist conflicts in the South. There is, however, little documentation on the contemporary encounter between Buddhists and the small Christian minority. There is, however, little documentation on the contemporary encounter between Buddhists and the small Christian minority. The project will seek to fill this research gap. The project will seek to fill this research gap.
The focus of the project will be on the encounter between Buddhists and Protestant Christians. The focus of the project will be on the encounter between Buddhists and Protestant Christians. A number of case studies will be undertaken to examine the kinds of interaction that take place, including cases related to theological dialogue and to the daily life of the rural poor. A number of case studies will be under taken to examine the kinds of interaction that take place, including cases related to theological dialogue and to the daily life of the rural poor.
A monograph about the encounter, in English, will be written. A monograph about the encounter, in English, will be written. Its findings will contribute new insights to the wider academic field of Buddhist-Christian studies. Its findings will contribute new insights to the contrary academic field of Buddhist-Christian Studies.
ที่มา : ฝ่ายข่าวศูนย์พิทักษ์พระพุทศาสนาแห่งประเทศไทย

วันที่ 19 ก.ค. 2554
http://surasiha.blogspot.com
Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม