วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทเรียนการล่มสลาย

 กลยุทธปิดล้อมพุทธ (เปิดศึกด้านเดียว)


             ตามหลักการทางศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือในศาสนาที่ได้รับประทานคัมภีร์จากพระเจ้าไม่ต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม ดังนั้นในอินเดียหลังการรุกรานของกองทัพมุสลิมศาสนาพุทธจึงหมดไป เพราะ

  •      ศาสนาพุทธไม่มีพระเจ้า 
  •      ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาหลักของชนชั้นปกครองในประเทศอินเดีย
  •      กระแสความนิยมของศาสนาฮินดูแผ่ไปโดยกว้าง
  •      กองทัพมุสลิมผู้ยึดครองอินเดีย ตีความชาวฮินดูเป็น ซิมมี( Zimmi ) ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา แต่ต้องจ่ายภาษีญิซยะ กับทั้งชาวมุสลิมผู้ยึดครองต้องการภาษีเป็นเงินมากกว่า จึงไม่เร่งรัดเปลี่ยนให้คนหันมานับถือศาสนอิสลาม
 แต่ชาวซิมมีจำเป็นต้องยอมรับข้อบังคับ 20 ข้อ ต่อไปนี้

  1. ห้ามสร้างศาสนสถานและรูปบูชาขึ้นใหม่
  2. ศาสนสถานเก่าถ้าพังแล้วห้ามสร้างใหม่ (กรณีวัดพุทธศาสนาที่พังไปแล้ว และส่วนมากก็ถูกทำให้พังทั้งจากฮินดูและมุสลิมจึงถูกทิ้งร่างและพินาศจนหมดสิ้นในที่สุด)
  3. ต้องยอมให้ผู้เดินทางชาวมุสลิมพักอาศัยในศาสนาสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพบูชาได้
  4. หากมุสลิมปราถนาจะอยู่ต่อ ต้องยอมให้พักอยู่ได้อย่างแขกของบ้านเป็นเวลา 3 วัน
  5. ห้ามประพฤติตนเป็นผู้สอดแนม หรือช่วยเหลือผู้สอดแนม
  6. หากผู้ใดปราถนาจะนับถือศาสนาอิสลาม พวกซิมมีไม่มีสิทธิห้าม
  7. ต้องให้ความเคารพต่อชาวมุสลิม
  8. ถ้าซิมมีกำลังประชุมกัน หากมุสลิมปรากฏตัวต้องยินยอมให้มุสลิมเข้าประชุมด้วย
  9. ห้ามซิมมีตั้งชื่อเป็นมุสลิม
  10. ห้ามซิมมีแต่งกายแบบมุสลิม
  11. ห้ามขี่ม้าที่มีอานและบังเหียน
  12. ห้ามพกดาบและลูกศร
  13. ห้ามสวมแหวนตรา หรือตราประทับที่นิ้ว
  14. ห้ามขายดื่มเครื่องเมาอย่างเปิดเผย
  15. ห้ามเลิกใช้เสื้อผ้าที่แสดงความเขา ทั้งนี้เพื่อแยกให้เห็นความแตกต่างจากมุสลิม
  16. ห้ามสั่งสอนเผยแผ่ความเชื่อพระเจ้าหลายองค์ให้กับมุสลิม
  17. ห้ามสร้างบ้านในถิ่นอาศัยของมุสลิม
  18. ห้ามเข้าใกล้สุสานของชาวมุสลิม
  19. ห้ามแสดงความเสร้าโศกอาลัยแก่ผู้ตายด้วยเสียงอันดัง
  20. ห้ามซื้อหาทาสที่เป็นชาวมุสลิม 

             ชาวพุทธที่เหลืออยู่น้อยนิดทางตอนเหนือของอินเดีย ก็เป็นพุทธมหายาน (ตันตระ) ที่ถือว่าเป็นพุทธที่เสื่อม ชาวพุทธเหล่านั้นเห็นความแตกต่างของศาสนาเดิมของตนที่เหลวไร มัวเมาในไสยศาสตร์ กับทั้งการไม่ยอมรับในฐานะความเป็นซิมมีของชาวมุสลิมต่อชาวพุทธ เหล่านีจึงทำให้ชาวพุทธในภาคเหนือของอินเดียเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ในปากีสถาน อาฟฆานิสถาน แคชเมียร์ ฯลฯ ดังนี้แล

จากเฟสต์บุ๊ค ศาสนา..............
  http://narater2010.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี


ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี
พระเมธีรัตนดิลก คณะพุทธศาสตร์ 

บทนำ


           “สังคายนา” หรือ “สังคีติ” คือการจัดระเบียบหลักคำสอนไว้เป็นหมวดหมู่ สะดวกแก่การจดจำนำไปอ้างอิงนั้น มีมาตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่แล้ว ปรากฏหลักฐานในปาสาทิกสูตรและสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีใจความสรุปได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นรปาวาของเจ้ามัลละ พร้อมด้วยพระสงฆ์ประมาณห้าร้อยรูป นิครนถ์นาฏบุตร หรือเป็นที่รู้จักกันว่า มหาวีระ สาสดาของศาสนาเชนได้ดับขันธ์ลงที่เมืองปาวานั้น พวกสาวกนิครนถ์ เกิดความแตกแยกทะเลาะวิวาทโจมตีกันเอง ด้วยเหตุที่ยึดถือปฎิบัติและแปลความธรรมวินัยของศาสดาที่เพิ่งจะล่วงลับไม่ตรงกัน


ปาสาทิกสูตรเล่าว่า ท่านพระจุนทะปรึกษากับพระอานนท์ แล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน


ส่วนในสังคีติสูตรบันทึกไว้ว่า ท่านพระสารีบุตรก็ได้ปรารภเหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดใจครั้งนี้ จึงพูดกับพระสงฆ์ให้ดูเป็นบทเรียน และว่าควรสังคายนาจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่อให้พระสาสนาไม่วิปริตและดำรงอยู่ได้นานแม้องค์พระศาสดาจะปรินิพพานแล้วท่านได้แสดงไว้ให้ดูเป็ฯอตัวอย่าง โดยเริ่มตั้งแต่ธรรมที่มีองค์ประกอบเดียว (สงฺคีติเอกก) ได้แก่การที่สัตว์ทั้งหลายดำรงชีพอยู่ได้ด้วยอาหาร จนถึงธรรมที่มีองค์ประกอบ ๑๐ (สงฺคีติทสก) เช่น อเสกขธรรม ๑๐ คือ อเสกฺขา สมฺมาทิฏฺฐิ ฯลฯ สมฺมาญาณํ อเสกฺขา สมฺมาวิมุตฺติ เป็นต้น ความทราบถึงพระบรมศาสดา ก็ทรงเห็นชอบด้วย และทรงอนุโมทนาสาธุการ นับได้ว่า เป็นต้นแบบแห่งการสังคายนาพระธรรมวินัย

ปฐมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑ 


 มีความเป็นมาในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยโดยสรุปว่า ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ ๒๑ วัน คือเสร็จจากวันถวายพระเพลิงพุทธสรีะแล้ว พระมหากัสสปะได้ประชุมพระสงฆ์จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูป ที่มาร่วมถวายพระเพลิงที่เมืองกุสินารา โดยปรารภถึงถ้อยคำดูหมิ่มพระบรมศาสดาและพระธรรมวินัยของพระสุภัททะซึ่งบวชเมื่อแก่ ได้กล่าวห้ามปรามพระสงฆ์ปุถุชนที่เศร้าโศกเมื่อพระศาสดาปรินิพพานว่า อย่าได้เศร้าโศกเสียใจกันไปเลย บัดนี้พวกเราพ้นจากพระมหาสมณะพระองค์นั้นแล้ว แต่ก่อนพวกเราถูกพระองค์เบียดเบียนว่ากล่าว


ห้ามปรามเสมอว่า นี้ควรแก่เธอ นี้ไม่ควรแก่เธอ ที่นี้พวกเราทำได้ตามใจปรารถนาแล้ว


พระเถระมีความสังเวชว่า พระศาสดาเพิ่งปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีภิกษุอลัชชีมากล่าวย่ำยีพระธรรมวินัยได้ถึงปานนี้ หากไม่รีบแก้ไขสืบไปภายหน้าเมื่ออธรรมวาที วินยวาที มีพวกมากขึ้น ก็จะมีกำลังทำลายพระพุทธศาสนาให้เสื่อมลงโดยเร็ว พระมหากัสสปะจึงชักชวนพระสงฆ์เหล่านั้นให้ช่วยกันสังคายนาพระธรรมวินัย มีวัตถุประสงค์โดยสรุป คือ


๑. ป้องกันพวกอลัชชี มาย่ำยีพระศาสนาด้วยเข้าใจว่า ปาพจน์ย่อมสิ้นไปพร้อมกับองค์พระศาสดา
 ๒. ประกาศให้ทราบว่า พระศาสนายังดำรงอยู่ตราบเท่าที่พระธรรมวินัยยังมีผู้ศึกษา และถือปฏิบัติอยู่ ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ถือพระธรรมวินัยแทนองค์พระศาสดา
๓. ป้องกันพวกอธรรมวาที อวินยวาที ได้พรรคพวกแล้ว มีกำลังเบียดเบียนพวกธรรม วาที วินยวาทีในอนาคต


ที่ประชุมสงฆ์ได้เห็นชอบด้วย แล้วมอบหมายให้พระมหากัสสปะเถระคัดเลือกพระอรหันตขีณาสพ ผู้มีอภิญญาเพียบพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนมากพระผู้มีพระภาคทรงตั้งไว้ในตำแหน่าเอตทัคคะ จำนวน ๔๙๙ รูป หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้รูปหนึ่ง เพื่อให้โอกาสแก่พระอานนท์ เพราะเล็งเห็นว่าการสังคายนาครั้งนั้นเว้นพระอานนท์เสีย ก็จะทำให้ขาดความสมบูรณ์ เพราะท่านเป็นดุจคลังแห่งสัทธรรม ทรงจำคำสอนของพระศาสดาไว้มากแต่หากจะเลือกท่านเข้าในจำนวนพระสังคีติการก ๕๐๐ รูป ในขณะนั้นก็ยังขาดคุณสมบัติที่สำคัญ คือท่านยังเป็นพระเสขบุคคลยังมิได้บรรลุอรหัตผล ที่ประชุมจึงมีมติให้หย่อนจำนวน ๕๐๐ ไว้ ๑ รูป เพื่อรอให้พระอานนท์เป็นพระอริยบุคคลโดยสมบูรณ์ แล้วเข้าร่วมเป็นพระสังคีติกาจารย์ด้วย


เมื่อที่ประชุมสงฆ์ได้ตกลงกันที่จะทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์ เพราะสมบูรณ์ด้วยน้ำและโคจรคาม พระมหากัสสปะจึงสวดญัตติทุติยกรรมวาจาประกาศห้ามพระสงฆ์นอกจากที่ได้รับเลือกเข้าทำสังคายนามิให้เข้าจำพรรษา ณ พระนครนั้น เพื่อเกียจกันมิให้วิสภาคบุคคลเข้าไปขัดขวางให้เสียพิธี ครั้นแล้วพระมหากัสสปเถระและพระอนุรุทธเถระได้พาพระสงฆ์จำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ได้รับเลือกเป็นพระสังคีติกาจารย์เดินทางไปยังพระนคราชคฤห์ ส่วนพระอานนท์พุทธอนุชาได้นำบาตจีวรพุทธบริโภคเดินทางไปยังพระเชตวัน กรุงสาวัตถี ที่ประทับเดิม เพื่อชำระปรับปรุงพระคันธกุฎีดุจดังเวลาที่ยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อได้เวลาจะเข้าพรรษาจึงเดินทางมาพระนครราชคฤห์


ที่กรุงราชคฤห์มหานคร คณะสงฆ์ได้เข้าเฝ้าถวายพระพรขออุปถัมภ์ในการสังคายนาจากพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งก็ได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านอาณาจักรอย่างสมบูรณ์โดยทรงปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ (มหาวิหาร) ๑๘ แห่งในพระนครราชคฤห์ และทรงให้สร้างมณฑปสำหรับทำสังคีติกรรม ณ ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงเขาเวภารบรรพตถวาย ครั้นถึงกาลกำหนดจะทำสังคายนา พระสงฆ์ทั้ง ๔๙๙ รูป ได้ประชุมกัน ณ มณฑปศาลาแล้ว กล่าวกันว่า พระอานนท์ได้บรรลุอรหันตผลในคืนก่อนถึงกำหนดการสังคายนา และเพื่อประกาศให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบว่า ท่านเป็นอเสขบุคคล ทรงอภิญญาจึงแสดงอภิญญาดำดินมาโผล่ตรงอาสนะที่จัดไว้สำหรับท่าน ที่ประชุมได้ตกลงกันมอบหมายให้พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ทำหน้าที่สอบถามพระธรรมวินัย ให้พระอุบาลีเถระผู้เป็นเอตทัคคะในด้านพระวินัย ทำหน้าที่วิสัชนาในเรื่องที่เกี่ยวกับพระวินัย ให้พระอานนท์พุทธอนุชาผู้ได้ชื่อว่าเป็นคลังแห่งพระสัทธรรม เพราะทรงจำคำสอนของพระศาสดาไว้ได้มาก เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ทั้งพระสูตร และพระปรมัตถาภิธรรม และตกลงให้สังคายนาพระวินัยก่อนเป็นอันดับแรก เพราะพระวินัยเป็นแก่นหรือเป็นรากแก้วของพระศาสนา แล้วจึงสังคายนาพระสุตตาภิธรรม เมื่อสังคายนาแต่ละปิฎกจบลง พระสงฆ์สังคีติภาณกาจารย์ได้ท่องจำและสังวัธยายปิฎกนั้น ๆ โดย มุขปาฐะ การสังคายนาครั้งนั้น ได้กระทำด้วยวิธีนี้ เป็นเวลา ๗ เดือน จึงจบสิ้น

ผลแห่งการสังคายนา
 คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยได้บรรยายว่า พระสังคีติภาณกาจารย์ได้จัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยออกเป็น ๓ หมวดใหญ่ เรียกว่า “ปิฎก” คือ
๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนวินัย
๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนพระสูตร
๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์ส่วนพระปรมัตถ์
๑. พระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็นภาคใหญ่ ๆเรียกว่า “ วิภังค์ “ คือ
- ภิกขุวิภังค์ ข้อบัญญัติเกี่ยวกับพระภิกษุ
- ภิกขุณีวิภังค์ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับภิกษุณี


ภิกขุวิภังค์ แบ่งออกเป็นตอนๆ เรียกว่า กัณฑ์ ได้ ๘ กัณฑ์คือ

๑. ปาราชิกกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติปาราชิก
สิกขาบท
๒. เตรสกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
๑๓
สิกขาบท
๓. อนิยตกัณฑ์ตอนว่าด้วยอนิยต
สิกขาบท
๔. นิสัคคียกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์
๓๐
สิกขาบท
๕. ปาจิตตียกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์
๙๒
สิกขาบท
๖. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
สิกขาบท
๗. อธิกรณสมถกัณฑ์ตอนว่าด้วยอธิกรณสมถะ
สิกขาบท
รวมเป็น
๒๒๗
สิกขาบท

ภิกขุณีวิภังค์ แบ่งออกเป็น ๗ กัณฑ์ คือ
๑. คัมภีร์อาทิกรรมตอนว่าด้วยอาบัติปาราชิก
สิกขาบท
๒. สัตตรสกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
๑๗
สิกขาบท
๓. นิสสัคคียกัณฑ์ตอนว่าด้วยนิสัคคียปาจิตตีย์
๓๐
สิกขาบท
๔. ปาจิตตียกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์
๑๖๖
สิกขาบท
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์ตอนว่าด้วยอาบัติปาฏิเทสนีย
สิกขาบท
๖. ขิยกัณฑ์ตอนว่าด้วยเสขิยวัตร
๗๕
สิกขาบท
๗. อธิกรณสมถกัณฑ์ตอนว่าด้วยอธิกรณสมถะ
สิกขาบท
รวมเป็น
๓๑๑
สิกขาบท
นอกจากอุภโตวิภังค์ คือ ภิกขุวิภังค์ และภิกขุณีวิภังค์ทั้งสองนี้ พระวินัยปิฎกยังจัดเป็นภาคได้เป็น ๕ ภาคคือ



๑. คัมภีร์อาทิกรรมว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้นบัญญัติ ในสิกขาบทต่าง ๆ
๒. คัมภีร์ปาจิตตีย์ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งถือว่าเป็นอาบัติเบา
๓. คัมภีร์มหาวรรคว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทางพระวินัย
๔. จุลวรรคว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา
๕. ปริวารวรรคว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย

๒. พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็น หมวดใหญ่ ๆ เรียกว่า นิกาย ได้ ๕ นิกาย คือ

๑. ทีฆนิกายประมวลพระสูตรขนาดยาวจำนวน ๓๔ พระสูตร
๒. มัชฌิมนิกายประมวลพระสูตรขนาดปานกลางจำนวน
๓. สังยุตตนิกายประมวลพระสูตรที่จัดหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตต์ มีชื่อตามเนื้หา เช่นเกี่ยวกับแคว้นโกศล เรียกว่า “โกสลสังยุตต์” เกี่ยวกับมรรคเรียกว่า “มรรคสังยุตต์” มีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร
๔. ขุททกนิกายประมวลหลักคำสอนภาษิตเบ็ดเตล็ด ประวัตินิทานต่าง ๆ
 นอกเหนือจากที่จัดไว้ในนิกายทั้ง ๔ ข้างต้น ได้แบ่งออกเป็นหมวดได้ ๑๕ หมวด คือ
๑. ขุททกนิกปาฐะบทสวดเล็กๆ น้อย ๆ โดยมากเป็นบทสวดสั้น ๆ
๒. ธรรมบทคาถาพุทธภาษิต ประมาณ ๓๐๐ คาถา
๓. อุทานพระพุทธดำรัสเปล่งอุทานเป็นภาษิต มีเนื้อเรื่องประกอบบ้าง
๔. อิติวุตตกคำอ้างอิงว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้
๕. สุตตนิบาตรวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดไว้ด้วยกัน
๖. วิมานวัตถุเรื่องราวของผู้ได้วิมานแสดงเหตุดีที่ได้วิมานไว้ด้วย
๗. เปตวัตถุเรื่องราวของเปรตที่ได้ทำบาปกรรมไว้
๘. เถรคาถาภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันต์สาวก
๙. เถรีคาถาภาษิตต่าง ๆ ของพระอรหันต์สาวิกา
๑๐. ชาตกประมวลคาถาธรรมภาษิตเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
๑๑. นิทเทสแบ่งเป็นมหานิเทส และจุลนิเทสเชื่อกันว่าเป็นคำอธิบายของพระสารีบุตร
๑๒. ปฏิสัมภิทามรรคแปลว่าทางแห่งปัญญาแตกฉาน เชื่อว่าเป็นผลงานของพระสารีบุตรด้วย
๑๓. อปทานอัตตชีวประวัติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก และอรหันตสาวิกา
๑๔. พุทธวงศ์แสดงประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
๑๕. จริยาปิฎกแสดงเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า

๓. พระอภิธรรมปิฎก แบ่งออกเป็นคัมภีร์ได้ ๗ คัมภีร์ คือ

๑. ธัมมสังคณีว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้เป็นหมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า “กัณฑ์” มี ๔ กัณฑ์ คือ
๑) จิตตวิภัตติกัณฑ์จำแนกจิตและเจตสิกเป็นต้น
๒) รูปวิภัตติกัณฑ์จำแนกรูปเป็นต้น
๓) นิกเขปราสิกัณฑ์จำแนกธรรมในบทมาติกานั้นๆ
๔) อัตถุทธารกัณฑ์จำแนกเนื้อความของแต่ละข้อ
๒. วิภังค์จำแนกธรรมออกเป็นข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่นแนกขันธ์ เรียกว่า “ขันธวิภังค์”
๓. ธาตุกถาว่าด้วยการจัดหมวดหมู่ธรรมโดยถือธาตุเป็นหลัก
๔. ปุคคลบัญญัติว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการ และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
๕. กถาวัตถุว่าด้วยคำถามคำตอบของพระสกวาทีและปรวาที ประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย (คัมภีร์นี้เกิดในสมัยสังคายนาครั้งที่ ๓ )
๖. ยมกว่าด้วยธรรมะเป็นคู่ ๆ
๗. ปัฏฐานว่าด้วยปัจจัยคือสิ่งที่สนับสนุนเกื้อกูล ๒๔ อย่าง


ทุติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๒


 เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี ภิกษุวัชชีบุตรเมืองไพศาลีได้บัญญัติและประพฤติตามวัตถุ ๑๐ ประการ ซึ่งขัดต่อพุทธบัญญัติคือ



๑. กปฺปติ สิงฺคิโลณกปฺโปเกลือที่เก็บไว้ในเขนงควรฉันได้
๒. กปฺปติ ทฺวงฺคุลกปฺโปเมื่อพระอาทิตย์ทอดเงาเกินเที่ยงไป ๒ องคุลี ควรฉันภัตตาหารได้
๓. กปฺปติ คามนฺตรกปฺโปเมื่อจะเข้าละแวกบ้าน ควรฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้
๔. กปฺปติ อาวาสกปฺโปอาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถคนละเวลาก็ได
๕. กปฺปติ อนุมติกปฺโปทำอุโบสถโดยไม่ได้รับอนุมัติจากภิกษุผู้ควรนำฉันทะมาก็ได้
๖. กปฺปติ อาจณฺณกปฺโปประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ผู้ปฏิบัติผิดก็ควร
๗. กปฺปติ อมถิตกปฺโปนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้ม ไม่ต้องทำวินัยกรรมก็ฉันได้
๘. กปฺปติ ชโลคึ ปาตุน้ำเมาอย่างอ่อนภิกษุควรฉันได้
๙. กปฺปติ อทสกํ นิสีทนํผ้านิสีทนะไม่มีชายก็ใช้ได้
๑๐. กปฺปติ ชาตรูปรชตํ

เงินทองเป็นของควรแก่สมณะ
พระยสกากัณฑบุตร เป็นพระขีณาสพผู้บรรลุอภิญญา ๖ ทราบเข้าจึงใช้ความพยายามจะระงับความเห็นผิดปฏิบัติผิดจากวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตนั้นหลายวิธี แต่ไม่สำเร็จจึงเดินทางไปยังนครโกสัมพี แจ้งข่าวแก่ภิกษุชาวเมืองปาวาและอวันตีให้ทราบ และเดินทางต่อมาถึงอโธตังคบรรพต แจ้งให้พระสัมภูตเถระ ผู้ฉลาดในพระไตรปิฎก และพระสาฬหเถระ แห่งสหชาตินคร ซึ่งทั้งสองรูปเป็นสัทธิวิหาริกของพระอานนท์

ฝ่ายพวกภิกษุวัชชีบุตร เมื่อพยายามนิมนต์พระเรวตเถระ และพระสาฬหเถระเข้าเป็นพวกไม่สำเร็จ จึงพากันไปเฝ้าพระเจ้ากาลาโศกราช แห่งนครปาตลีบุตร ทูลล่อลวงว่า พวกตนชำระพระคันธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดาในมหาวันวิหาร แคว้นวัชชี มาบัดนี้พวกภิกษุคามวาสีจะมาชิงเอาเสียจึงทูลขอบรมราชูปถัมภ์ไห้ทรงห้าม ซึ่งทรงหลงเชื่อจึงรับสั่งอำมาตย์ห้ไปห้ามภิกษุอื่นมิให้อยู่ในวิหาร นอกจากพวกภิกษุวัชชีบุตร ในยามค่ำคืนพระองค์ทรงสุบินว่านายนิรยบาลจับพระองค์ทอดในกระทะทองแดง ทรงตกพระทัยมาก พระนางนันทาเถรี ภกษุณีซึ่งเป็นพระขณษฐา เป็นพระขีณาสพทรงอภิญญา ทรงทราบว่า พระเขนิษฐาทรงเห็นผิดเป็นชอบ ด้วยทรงเข้าเป็นฝักฝ่ายพวกภิกษุวัชชีบุตร จะทำให้อลัชชีมีกำลังแล้วเป็นเสี้ยนหนามพระศาสนา จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรพระเชษฐาว่า พระสุบินนิมิตรนี้เลวร้ายยิ่งนัก เพราะพระองค์ทรงเชื่อถ้อยคำของพวกภิกษุผู้ไม่ละอายแก่บาป ขอพระองค์จงทรงกลับพระทัยและอุปถัมภ์พระภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีและวินยวาที ทำนุบำรุงพระศาสนา และขอขมาเสียเถิด


พระเจ้ากาลาโศกราชเกิดความสังเวชพระหฤทัย เพราะสดับเรื่องราวจากนางนันทาเถรี จึงเสด็จไปมหาวิหารพร้อมด้วยเสนามาตย์ราชบริพาร ทรงให้อาราธนาพระสงฆ์ที่จะระงับอธิกรณ์มาประชุมกัน เมื่อพระองค์ทรงฟังความทั้ง ๒ ฝ่าย ก็ทรงวินิจฉัยว่า พวกภิกษุวัชชีบุตรเป็นอลัชชี ถือผิดพระวินัยบัญญัติ จึงทรงขอให้พระสงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีอดโทษแล้วพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ในการระงับอธิกรณ์และสังคายนาพระธรรมวินัย


พระสงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีประชุมกันแล้ว พระเรวตเถระได้สวดสมมุติพระขีณาสพฝ่ายปาจินกะ ๔ รูป ฝ่ายเมืองปาวา ๔ รูป และภิกษุผู้ปูอาสนะ ๑ รูป



ฝ่ายปาจีนกะ ๔ รูป คือ
๑. พระสัพพกามีศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๒. พระสาฬหเถระศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๓. พระขุชชโสภิตเถระศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๔. พระวาสภคามีเถระศิษย์พระอนุรุทธทันเห็นพระพุทธเจ้า
ฝ่ายปาวา ๔ รูป คือ
๑. พระเรวตเถระศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๒. พระสาณสัมภูตเถระศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๓. พระยสเถระศิษย์พระอานนท์ทันเห็นพระพุทธเจ้า
๔. พระสุมนเถระศิษย์พระอนุรุทธทันเห็นพระพุทธเจ้า

ภิกษุผู้ปูอาสนะ คือ พระอชิตภิกษุ สวดสมมุติเสร็จแล้ว ได้พากันเดินทางไปวาลุการาม เมืองไพศาลี โดยให้พระสงฆ์ฝ่ายปาวาโดยพระเรวตเถระเป็นผู้ทำหน้าที่ถาม ฝ่ายปาจินกภิกษุโดยพระสัพพกามีมหาเถระสังฆวุฑฒาจารย์ พรรษา ๑๒๐ เป็นผู้แทนทำหน้าที่ตอบในที่ประชุมสงฆ์เพื่อระงับอธิกรณ์ จำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ รูป


เสร็จจากการระงับอธิกรณ์แล้ว พระเรวตเถระจึงปรึกษาสงฆ์ซึ่งได้ตกลงกันจะทำสังคายนาและคัดเลือกพระขีณาสพปฏิสัมภิทา ๗๐๐ รูป เป็นพระสังคีติการก มีพระเรวตเถระเป็นประธาน มีพระเจ้ากาลาโศกราชทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภก


ทุติยสังคายนานี้ คณะพระสังคีติการกทั้ง ๗๐๐ รูป ได้มอบหมายให้พระเรวตเถระเป็นผู้ไตร่สวนพระธรรมวินัย และพระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชชนา ทำที่วาลุการาม เมืองไพศาลี ในพระบรมรูปถัมภ์พระเจ้ากาลาโศกราช ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี

ข้อสังเกต
การสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่๒ นี้ มีเรื่องราวปรากฎในพระไตรปิฎก จุลวรรคแห่งวินัยปิฎก ซึ่งนักปราชญ์สันนิษฐานว่า คงใส่เพิ่มเข้าไว้เมื่อสังคายนาครั้งที่ ๓ อนึ่งในหนังสือชั้นคัมภีร์บาลีพระไตรปิฎก ในสังคายนาครั้งที่ ๑ และที่ ๒ ไม่มีคำว่า “ปิฎก” เลย ใช้คำว่าสังคายนาพระธรรมวินัย หรือวินยวิสัชนา ธรรมวิสัชนา แต่มี่คำอธิบายรายละเอียดในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก

ตติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๓


 หลังจากทุติยสังคายนา ๑๑๘ ปี คือหลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงครองอิศวริยาธิปัตย์ทั่วสากลชมพูทวีป ณ พระนครปาตลีบุตร ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจตุปัจจัย ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์มหาวิหารมากมาย ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา จนพวกเดียรถีย์ขาดแคลนปัจจัยเครื่องยังชีพบางพวกเข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศาสนาแล้วไม่เลิกละลัทธิของตน พากันประพฤติสับสนวิปริตผิดพุทธบัญญัติ เป็นจำนวนมากจนยากจะแยกแยะออกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด พวกภิกษุภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันระอารังเกียจ งดการทำสังฆกรรมร่วมเป็นเวลานานถึง ๗ ปี


พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งอำมาตย์ให้ไประงับอธิกรณ์ อำมาตย์ ผู้ไม่หนักในเหตุผลก็ถือพระบรมราชโองการไปสั่งให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกันเสีย หาไม่จะลงโทษประหาร พระสงฆ์ผู้หนักในพระธรรมวินัยไม่ยอมร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับพวกอลัชชี อำมาตย์ได้ให้ประหารเสีย ๒-๓ รูป เพราะถือว่าขัดรับสั่ง พระติสสเถระพระราชอนุชาเห็นเหตุเช่นนั้น ท่านจึงลุกมานั่งคั่นพระสงฆ์อื่นในที่ใกล้อำมาตย์ อำมาตย์จำท่านได้ก็สั่งหยุดการประหารแล้วกลักไปกราบทูลให้ทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด ได้สดับเรื่องราวแล้วทรงร้อนพระทัยกลัวปาป เที่ยวทรงถามพระสงฆ์ว่ากรณีเช่นนี้บาปจะตกแก่อำมาตย์หรือพระองค์ พระสงฆ์ทั้งปลอมและจริงก็ตอบตามลัทธิของตน ไม่ลงเป็นแนวเดียวกัน ทำให้ทรงสงสัยยิ่งขึ้น จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาเพื่อขจัดความสงสัย ท่านได้ถวายพระพรว่า ในกรณีนี้บาปตกแก่อำมาตย์ผู้สั่งประหาร เพราะพระองค์มิได้ทรงมีเจตนาจะทไปาณาติบาตแต่ประการใด ท่านไถวายเทศนาให้ทรงเข้าใจในลัทธิพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องอีกเป็นเวลา ๗ วัน


เมื่อทรงทราบอธิกรณ์แล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้พระสงฆ์ทั่วชมพูทวีปมาประชุมที่อโศการามแล้วประทับนั่งภายในม่านพร้อมกับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรับสั่งให้เรียกพวกภิกษุที่ถือลัทธิเดียวกันนั่งเป็นกลุ่ม ๆ ตรัสถามและทรงวินิจฉัยตามคำแนะนำของพระโมคคัลีบุตรติสสเถระว่า พวกใดเป็นมิจฉาทฏฐิ พวกใดเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ทรงขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในครั้งนั้นเสียประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป เมื่อทรงชำระอธิกรณ์แล้ว จึงทรงอาราธนาให้พระวิสุทธิสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำอุโบสถสัฆกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน
เมื่อทรงชำระอธิกรณ์เสร็จแล้ว พระโมคัลลีบุตรติสสเถระจึงเลือกพระอรหันตขีณาสพทรงอภิญญาได้ ๑,๐๐๐ รูป เป็นตัวแทนของพระสงฆ์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อประชุมกันทำสังคายนา ตติยสังคายนาครั้งนี้ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน ที่อโศการาม พระนครปาตลีบุตรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘

จตุตถสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๔


 หลังตติยสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งพระธรรมทูต ๙ สาย ออกไปประกาศพระศาสนาในต่างแดนนอกพระราชอาณาเขต ดินแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ลังกาทวีปซึ่งพระมหินทเถระพระราชโอรสของพระองค์นำคณะพระธรรมทูตไป สามารถกลับพระทัยพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ไห้ทรงหันมาเป็นพุทธมามกะ นับถือพระพุทธศาสนาแล้วทรงมีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากสร้างพระสถูป แล้วอาราธนาให้สุมนสามเณรหลานพระมหินทเถระ เที่ยวแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุสถูปสำหรับทรงสักการะบูชา


ต่อมา สมเด็จพระอนุฬาราชเทวี อัครมเหสีของท้าวมหานาค มหาอุปราชผู้ทรงเป็นพระอนุชาธิราชแห่งพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะพร้อมด้วยหญิงบริวาร ๑,๐๐๐ คน สมาทานศีล ๑๐ ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ แสดงความปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี พระมหินทเถระจึงถวายพระพรให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงส่งทูตไปยังราชสำนักแห่งกรุงปาตลีบุตร เพื่อทูลขอกิ่งพระมหาโพธิ์เพื่อปลูกในลังกาทวีป และพระนางเจ้าสังฆมิตตาเถรี เพื่อมาให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณีแด่พระอนุฬาเทวีและหญิงบริการ ซึ่งคณะทุตนำโดยอริฏฐอำมาตย์ได้ทูลพระราชสาสน์ และประสบความสำเร็จด้วยดี พระนางสังฆมิตตาเถรีนำกิ่งมหาโพธิ์เสด็จมาลังกาทวีปเมื่อพระนางอนุฬาราชเทวีกับขัตติยนารี และอันเตปุริกราชนารีจำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณีบรรลุพระอรหัตผลทั้งสิ้นแล้ว พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะตรัสถามพระมหินทเถระว่า ขณะนี้ พระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าตั้งมั่นในลังกาทวีปแล้วหรือหาไม่ พระมหินทเถระถวายพระพรว่า พระไตรรัตน์สมบูรณ์แล้ว ยังบกพร่องอยู่ก็แต่รากแก้วแห่งพระพุทธศาสนา จึงทรงมีพระประสงค์จะทรงจำทำสังคายนา


สังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ประชุมสงฆ์อรหันต์จำนวน ๖๘,๐๐๐ รูป กระทำ ณ ถูปาราม เมืองอนุราธบุรี เมื่อ พ.ศ. ๑๒๘ พระมหินทเถระทำหน้าที่ปุจฉา พระอริฏฐมหาเถระราชภาคิไนยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นผู้วิสัชนา ทำอยู่เป็นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ


การทำสังคายนาครั้งนี้ บางมติไม่ยอมรับเพราะสาเหตุไม่ชัดเจน และเวลาห่างจากการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในอินเดียเพียง ๒ ปีเท่านั้น

ปัญจมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๕


สังคายนาครั้งที่ ๕ มีความเป็นมาพอสรุปได้ดังนี้ เมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทิวงคตแล้ว มีกษัตริย์สิงหลและกษัตริย์ทมิฬครองราชสมบัติในลังกาสืบมาอีก ๑๐ กว่าพระองค์ จนถึง พ.ศ. ๔๓๓ พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้ราชสมบัติ พวกภิกษุผู้มีปัญญาพิจารณาเห็นความผันผวนของเหตุการณ์บ้านเมืองแล้วลงความเห็นว่า สืบไปภายหน้ากุลบุตรคงมีศรัทธาน้อยลง และปัญญาที่จะทรงจำพระธรรมวินัยสืบอายุพระศาสนาคงน้อยลงด้วย ควรที่พระสงฆ์จะสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว จดจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงถวายพระพรขอพระบรมราชูปถัมภ์


พระเจ้าวัฏฏคามิณีมีพระราชศรัทธาให้ทรงสร้างมณฑปไว้ในท่ามกลางติสสมหาวิหาร อาราธนาพระสงฆ์องค์อรหันต์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ให้ประชุมกันสังคายนา ณ ที่นั้น มีพระพุทธทัตตเถระเป็นประธาน พระติสสมหาเถระเป็นผู้วิสัชนาทั้งสามปิฎก ทำอยู่เป็นเวลา ๑ ปี จบแล้วได้จารึกเป็นอักษรลงในใบลานไว้เป็นหลักฐานต่อมา

ฉัฏฐสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๖


หลังการสังคายนาครั้ง ที่ ๕ ซึ่งมีการจารพระไตรปิฎกในใบลานแล้ว อีก ๕๒๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ ในรัชกาลของพระเจ้ามหานาม มีพระมหาเถระปราชญ์สำคัญชาวชมพูทวีปรูปหนึ่ง ชื่อ พุทธโฆสะ เดินทางไปยังเกาะลังกาด้วยความประสงค์จะแปลอรรถกถาพระไตรปิฎกภาษาสิงหลในลังกาทวีปกลับเป็นภาษามคธ ท่านได้เข้าพบพระมหาเถระประธานสงฆ์ในสำนักมหาวิหาร บอกความประสงค์และขออนุญาตแปลอรรถกถา พระเถระเจ้าถิ่นผู้รักษาคัมภีร์ได้ทดสอบความรู้ด้วยการให้คาถา ๑ คาถา ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ให้พระพุทธโฆสะแต่งขยายความแล้วขอตรวจสอบความรู้ คาถากระทู้นั้นคือ



สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญจิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุโส อิมํ วิชฏเย ชฎํ
ท่านพระพุทธโฆสะได้ใช้กระทู้นี้แต่งบรรยายเป็นหนังสือ ชื่อ ปกรณ์พิเศษวิสุทธิมรรค ซึ่งบัดนี้ใช้เป็นหลักสูตร ชั้นประโยค ป.ธ. ๘ และ ป.ธ. ๙ ของสนามหลวงแผนกบาลีในประเทศไทยผลงานของท่านพระพุทธโฆสะเป็นที่พอใจของพระมหาเถระแห่งมหาวิหารมาก ท่านจึงได้รับอนุญาตให้แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธได้

อรรถกถาเดิมภาษาสิงหลที่สำคัญปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักมี ๓ คัมภีร์ คือ



๑. มหาอรรถกถาเป็นปรัมปราภตเถรวาทอธิบายพระสูตรที่พระมหินทเถระนำมายังลังกา แล้วแปลสู่ภาษาสิงหล
๒. มหาปัจจริยัตถกถาอรรถกถาอภิธรรมปิฎก มีชื่อตามแพที่พระเถระนั่งประชุมกันทำอรรถกถานี้
๓. กุรุนทีอรรถกถาอรรถกถาวินัยปิฎก มีชื่อตามตำบลซึ่งวิหารที่พระสงฆ์ประชุมกันทำอรรถกถานี้ตั้งอยู่

พระพุทธโฆสะได้ใช้ข้อมูลจากกุรุนทีอรรถกถาแต่งคัมภีร์ อรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา ใช้ข้อมูลจากมหาอรรถกถาแต่งคัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกตามลำดับนิกาย คือ


- สุมังคลวิลาสินีอรรถกถาทีฆนิกาย
- ปปัญจสูทนีอรรถกถามัชฌิมนิกาย
- สารัตถปกาสินีอรรถกถาสังยุตตนิกาย
- มโนรถปูรณีอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ฯลฯ
ใช้ข้อมูลจากอรรถกถามหาปัจจรี แต่งคัมภีร์อรรถกถาอภิธรรมปิฎก คือ
- อัตถสาลินอรรถกถา ธัมมสังคณี
- สัมโมหวิโนทนีอรรถกถา วิภังค์
- ปรมัตถทีปนีอรรถกถา ปัญจปกรณ์แห่งอภิธรรมปิฎก

กล่าวกันว่า พระพุทธโฆสะใช้เวลาเพียง ๑ ปี เพื่อแปลอรรถกถาเหล่านี้ ซึ่งทางประเทศลังกาถือเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๖

สังคายนาครั้งนี้มีบันทึกไว้ในหนังสือสังคีติยวงศ์ บางมิตไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา เพราะไม่มีอธิกรณ์ หรือการชำระพระไตรปิฎก

สัตตมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๗


ใน พ.ศ. ๑๕๘๗ ในรัชกาลพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช พระมหากัสสปเถระได้รับอาราธนา และพระบรมราชูปถัมภ์ให้จัดทำสังคายนา จึงประชุมพระสงฆ์พันกว่ารูปประชุมกันจัดทำคำอธิบายอรรถกถา คือคัมภีร์ฎีกาแห่งพระไตรปิฎก เป็นเวลา ๑ ปีคัมภีร์ฎีกาที่กล่าวได้ในหนังสือสังคีติยวงศ์ คือ



๑. สารัตถทีปนีฎีกาสมันตปาสาทิกาอรรถกถาวินัยปิฎก
๒. ปฐมสารัตถมัญชุสาฎีกาสุมังคลวิลาสินีอรรถกถาทีฆนิกาย
๓. ทุติยสารัตถมัญชุสาฎีกาปปัญจสูทนอรรถกถามัชฌิมนิกาย
๔. ตติยสารัตถมัญชุสาฎีกาสารัตถปกาสีนอรรถกถาสังยุตตนิกาย
๕. จตุตถสารัตถมัญชุสาฎีกามโนรถปูรณอรรถกถาอังคุตตรนิกาย
๖. ปฐมปรมัตถัปปกาสินีฎีกาอัตถสาลินีอรรถกถาอรรมสังคณี
๗. ทุติยปรมัตถัปปกาสนีฎีกาสัมโมหวิโนทนีอรรถกถาวิภังคปกรณ์
๘. ตติยปรมัตถัปปกาสินีฎีกาปรมัตถทีปนีอรรถกถาปัญจปกรณ์แห่งอภิธรรมปิฎก
เช่นเดียวกับครั้งที่ ๖ บางมติไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา เพราะเหตุผลเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งที่แล้ว

อัฏฐสังคายนาฮ : สังคายนาครั้งที่ ๘


เมื่อศักราชได้ ๘๔๕ พ.ศ. ๒๐๒๐ พระเจ้าสิริธรรมจักรวรรติดิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) ได้อาราธนาพระภิกษุทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป ให้ชำระอักขระในพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม (วัดเจดีย์เจ็ดยอม) เชียงใหม เป็นเวลา ๑ ปี สำเร็จแล้วพระองค์ทรงสร้างพระมณเฑียร คือหอไตรไว้ในวัดโพธารามนั้น สำหรับปดิษฐานพระไตรปิฎก และประกอบพิธีสมโพชเป็นมหกรรม

นวมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๙


เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ภายหลังจากทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์สำเร็จลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชศรัทธาจะประดิษฐานการพระศาสนาให้ถาวรสืบไป จึงทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ๑๐๐ รูป มารับพระราชทานฉันแล้ว มีพระราชปุจฉาถึงสถานะความถูกต้องแห่งพระไตรปิฎก เมื่อสมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะถวายพระพรว่า ยังมีผิดพลาดคลาดเคลื่อนด้วยคัดลอกกันสืบเป็นเวลานาน กับทั้งบางครั้งบางคราวบ้านเมืองเกิดกลียุคเป็นเหตุให้คัมภีร์สูญหายเป็นอันตรายไปบ้าง จึงได้ทรงอาราธนาให้คณะสงฆ์ดำเนินการสังคายนาชำระพระไตรปิฎก คณะสงฆ์มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน คัดเลือกได้พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนได้ จำนวน ๒๑๘ รูป และราชบัณฑิตอุบางสกได้ ๓๒ คน ให้สังคายนาชำระพระไตรปิฎก ซึ่งได้แบ่งออกเป็น ๔ กอง สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก พระวันรุตเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎก พระพุฒาจารย์เป็นแม่กองชำระคัมภีร์สัททาวิเสสประชุมกันทำ ณ วัดนิพพานราม ซึ่งเปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดศรีสรรเพชญ์ คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ปัจจุบัน เพราะวัดนี้เป็นมหาวิหารระหว่างพระบรมราชวังและพระราชวังบวร


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จพระอนุชาธิราชเสด็จทรงอังคาสพระสงฆ์ ณ พระอารามนี้วันละ ๒ เวลาทุกเช้าค่ำ คณะสงฆ์และราชบัณฑิตชำระพระไตรปิฎกอยู่เป็นเวลา ๕ เดือนจึงสำเร็จ แล้วมีพระราชศรัทธาทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นอันมากจ้างช่างจารึกลงในใบลาน โปรดให้ปิดทองทึบปกหน้า ปกหลัง และกรอบทั้งสิ้นเรียกว่า ฉบับทอง ห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึก และฉลากทอเป็นอักษรบอกชื่อคัมภีร์ทุกคัมภีร์ ใน่ตู้มุกเก็บรักษาไว้ที่หอพระมนเทียรธรรมบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ทสมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑๐
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาจะสังคายนาชำระพระไตรปิฎก และคัดลอกตีพิมพ์เป็นอักษรไทยเป็นเล่มหนังสือ เพื่อให้คัมภีร์พระไตรปิฎกมั่นคงยั่งยืนแพร่หลายสืบไป เป็ฯการฉลองสิริราชสมบัติในรัชกาลที่ ๕ ครบ ๒๕ ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เผดียงพระเถรานุเถระที่ชำนาญในพระไตรปิฎก อันมีสมณศักดิ์ ๑๑๐ รูป โดยมีพระเจ้าบรมวงษ์เธอกรมพระปวเรศร์วริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธานาธิบดีในการตรวจแบบฉบับพระไตรปิฎก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรสและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นรองอธิบดีทำหน้าที่จัดการทั้งปวง มีแม่กอง ๘ กอง คือกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นแม่กองตรวจพระวินัย แม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก ๕ กอง มีพระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร พระพรมมุนี พระธรรมไตรโลกย์ พระธรรมราชา และพระเทพโมลีเป็นแม่กองตรวจพระอภิธรรมปิฎก ๒ กอง มีพระพิมลธรรมและพระธรรมวโรดมเป็นแม่กอง


มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายฝ่ายคฤหัสถ์เป็นกรรมสัมปาทิกสภา ทำหน้าที่อ่านรายการพิมพ์พระไตรปิฎก คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช เป็นสภานายก พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าประภากร พระยาภาสกรวงษ์ที่เกษตราธิบดี พระยาศรีสุนทรโวหาร


การตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งนี้แล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระไตรปิฎกบาลีอักษรไทย ๓๕ เล่ม ชุด ตีพิมพ์จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด สิ้นพระราชทรัพย์ประมาณ ๒,๐๐๐ ชั่ง (๑๖๐,๐๐๐ บาท) นับเป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุดในประเทศสยามและโลก

เอกาทสมสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๑๑


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการและคณะสงฆ์มีเจตจำนงจะสร้างพระไตรปิฎกเป็นอนุสรณ์เชิดชูพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ด้วยพระราชทรัพย์และเงินโดยเสด็จพระราชกุศลจากพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชนโดยทั่วไป


พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการชำระ พระราชาคณะอีก ๘ รูป ได้แบ่งกันรับหน้าที่ผู้ชำระ คือ



๑. พระญาณวราภรณ์ (สุจิตฺโต)วัดบวรนิเวศวิหาร
๒. พระสาสนโสภณ (ญาณวโร)วัดเทพศิรินทราวาส
๓. พระธรรมปาโมกข์ (จตฺตสลฺโล)วัดมกุฏกษัตริยาราม
๔. พระธรรมดิลก (สุมนนาโค)วัดอรุณราชวราราม
๕. พระธรรมโกศาจารย์ (อุตฺตโม)วัดราชาธิวาส
๖. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เขมจารี)วัดมหาธาตุ
๗. พระธรรมปิฎก (ติสฺสทตฺโต)วัดพระเชตุพน
๘. พระเทพมุนี (กิตฺติโสภโณ)วัดเบญจมบพิตร

การจัดทำต้นฉบับใช้ฉบับพิมพ์สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหลัก ส่วนที่ฉบับรัชกาลที่ ๕ ขาดหายไป ใช้ฉบับลานทองของหลวงเป็นหลัก แก้คำผิดเฉพาะที่ปรากฏว่าคัดลอกผิด เปลี่ยนใช้เครื่องหมายพินทุแทนวัญชการและยามักการ จัดวางระยะวรรคตอนหนังสือใหม่ใช้เครื่องหมายประกอบเป็นอย่างเดียวกัน ตามแบบฉบับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานไว้ในการพิมพ์อรรถกถา ซึ่งจัดทำก่อนหน้านี้ เพิ่มเติมและจัดเล่มใหม่เป็น ๔๕ เล่ม ชุด ตั้งชื่อว่า “สยามรฎฺฐสฺส เตปิฏกํ” พิมพ์จำนวน ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานแก่พระอารามหลวงในพระราชอาณาจักร ๒,๐๐๐ จบ พระราชทานไปนานาประเทศ ๔๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ และขอรับหนังสือพระไตรปิฎก จบละ ๔๕๐ บาท อีกประมาณ ๘๐๐ จบ เหลืออีกประมาณ ๕๐ จบ

ในการนี้ตามรายงานการสร้างพระไตรปิฎกของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เมื่อวันที่ ๒๒ ก.พ. ๒๔๗๐ ว่าจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๗๐ ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๕๐๗,๘๐๘ บาท จ่าย ๓ ประเภท คือ (๑) จ่ายถวายในการบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานถวายพระบรมศพพระบาทาสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕๗๓๖ บาท ( ๒) ประมาณการสร้างรักษา และจัดส่งพระไตรปิฎก ๒๐๓,๘๖๕ บาทและ (๓) ประมาณการจ่ายในการสมโพชพระไตรปิฎก ๑๐,๔๐๐ บาท รวมรายจ่ายทั้งสิ้น ๓ รายการเป็นเงิน ๒๒๐,๒๐๐ บาท หักแล้วคงเหลือ ๓๔๗,๘๐๘ บาท ได้มีการนำเงินที่เหลือไปซื้อใบกู้ต่างประเทศของรัฐบาลสยาม ปีค.ศ. ๑๙๐๗ มีดอกเบี้ยร้อยละ ๔.๕ ต่อปี ไว้ ๒๗,๙๐๐ บาท ดอกผลและส่วนที่เหลือรวมตลอดทั้งส่วนบริจาคเพิ่มเติม ตั้งเป็นกองทุนสำหรับบูรณพระไตรปิฎก ที่พิมพ์ในครั้งนั้น หรือการจัดพิมพ์อรรถกถาหรือฎีกาสืบไป และให้กรรมการฝ่ายคฤหัสถ์ของมหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายเงินนี้ 



การสังคายนาในพม่า
ในประเทศพม่ามีประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี ๒ ครั้ง พม่าถือว่าการเป็นสังคายนาครั้งที่๕ และครั้งที่๖ โดยยอมรับเพียงการสังคายนาในอินเดีย ๓ ครั้ง การสังคายนาในลังกาครั้งแรกเมื่อพระมหินทเถระไปถีงลังกาใหม่ ๆ พม่าไม่ยอมรับ แต่ยอมรับการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกาโดยถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๔ และนับการสังคายนา ๒ ครั้งของตนว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๕ และครั้งที่ ๖ การสังคายนาในลังกาและประเทศไทยครั้งต่อ ๆ มา พม่าก็ไม่รับรองด้วย

การสังคายนาในพม่าครั้งที่ ๑
พม่าถือว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๕ ต่อจากการที่ลังกาจารพระไตรปิฎกลงในใบลาน การสังคายนาครั้งนี้ทำที่เมืองมันดาเล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ มีพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนประชุมกัน ๒,๔๐๐ รูป ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง (Min – don – min) โดยพระมหาเถระ ๓ รูป คือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิชะ และพระสุมังคลสามี ผลัดกันเป็นประธาน ชำระบาลีพระไตรปิฎกแล้วจารึกลงบนแผ่นหินอ่อนจำนวน ๗๒๙ แผ่น ประชุมทำกันอยู่เป็นเวลา ๕ เดือน

การสังคายนาในพม่าครั้งที่ ๒
พม่าถือว่าการสังคายนาครั้งที่ ๖ (ฉัฏฐสังคายนา) ทำพิธีเปิดงานเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ จนถึงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงทำพิธีปิดการสังคายนา (พม่านั้นพุทธศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี จึงตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๗ - ๒๔๙๙ ของไทย) เป็นการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษอย่างยิ่งใหญ่ของพม่าด้วย ในการสังคายนาครั้งนี้ พม่าได้ก่อสร้างคูหาจำลองขนาดใหญ่โตมากมีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ ๒๐๐ ไร่เศษ ที่กรุงย่างกุ้ง และได้เชิญพุทธศาสนิกชนในประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมด้วย โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ลังกา ไทย ลาว และเขมร ถือว่าเป็นประเทศสำคัญสำกรับการสังคายนาครั้งนี้ เพราะถือพระไตรปิฎกบาลีเช่นเดียวกัน จัดให้มีสมัยประชุมของแต่ละประเทศ โดยให้ประมุขหรือผู้แทนประเทศนั้น ๆ เป็ฯประธานของแต่ละสมัยประชุม เสร็จแล้วได้พิมพ์พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับอักษรพม่าแจกจ่ายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก



การสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
ในวโรกาสทรงพระเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบพระนักษัตร
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐


เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธ ได้มีลิขิตไปถึงอธิบดีกรมการศาสนา ให้นัดประชุมมหาเถรสามาคมพิเศษเพื่อปรึกษาและขอทราบความเห็นในการสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎก มหาเถรสมาคมได้ประชุมเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ มีมติให้ตั้งคณะทำงานคณะหนึ่งขึ้นพิจารณาเรื่องนี้เสนอมหาเถรสมาคม และรัฐบาลได้บรรจุโครงการสังคายนาพระธรรมวินัยไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ ห้า (พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙) โดยมีหลักการให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีฉลองพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบพระนักษัตร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้ทรงมีพระบัญชา ที่ ๑/๒๕๒๗ ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย โดยการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ทั้งภาษามคธและภาษาไทยขึ้นถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบพระนักษัตร ต่อมาเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐบาลได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๑/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานที่ปรึกษา พระมหาเถระ ๒๐ รูปเป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานอำนวยการ รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ มีกรรมการ ๑๗ คน อธิบดีกรมการศาสนาเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคมและผู้อำนวยการกองแผนงาน กรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่อำนวยการและแก้ไขอุปสรรคในการดำเนินงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกตลอดจนมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อให้การสังคายนาแล้วเสร็จทำกำหนดเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ ๕ รอบพระนักษัตร 

ครั้นวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘ สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาจำนวน ๗ ฉบับ คือ 


พระบัญชาที่ ๑/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งสังคีติการกสงฆ์ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระญาณสังวร และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธรมหาเถร) เป็นรองประธานกรรมการ มีพระสังคีติการกะ จำนวน ๑๘๒ รูป มีหน้าที่ประชุมรับรองการตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวงทั้งภาษามคธและภาษาไทย ที่คณะกรรมการปาลิวิโสธกะ ทั้ง ๓ คณะได้จัดทำแล้วเสร็จเป็นคราว ๆ ไป 


พระบัญชาที่ ๒/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก มีสมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถระ) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระวินัยปิฎก พระเทพวราภรณ์ (กมฺพุวณฺณเถระ) เป็นประธานกรรมการ พระราชกิตติโสภณ (โชติมนฺโต) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๒๕ รูป มีหน้าที่ตรวจชำระพระวินัยปิฎกทั้งภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยกับอักษรอื่นๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไชคำแปลให้ถูกต้อง ในการนี้ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย


พระบัญชาที่ ๓/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระสุตตันตปิฎก โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธรมหาเถร) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระสุตตันตปิฎก พระราชวรมุนี (ปยุตฺเถร) เป็นประธานกรรมการ พระราชเวที (พฺรหฺมวํสเถร) และพระเมธีสุทธิพงศ์ (วชิรญาณเถร) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๗๗ รูป ทำหน้าที่ตรวจชำระพระสุตตันตปิฎก ทั้งภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยและอักษรอื่น ๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไขแปลภาษาไทยให้ถูกต้อง ในการนี้ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระไตรปิฎกและอภิธรรมปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย


พระบัญชาที่ ๔/๒๕๒ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการปาลิวิโสธกะพระอภิธรรมปิฎฏ โดยมีพระพิมลธรรม (อาสภเถร) เป็นสังฆปาโมกข์ฝ่ายพระอภิธรรมปิฎก พระเทพสิทธิมุนี (ญาณสิทฺธิเถร) เป็นประธานกรรมการ พระปิฎกโกศล (อริยปญฺญเถระ) เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๓๗ รูป มีหน้าที่ตรวจชำระพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ภาษามคธและภาษาไทย โดยสอบทานกับพระตรปิฎกฉบับอักษรไทยและอักษรอื่น ๆ และสอบทานกับอรรถกถา ฎีกา โยชนา สัททาวิเสส และปกรณ์วิเสส พร้อมทั้งตรวจสอบแก้ไขคำแปลให้ถูกต้อง ในการนี้ ให้มีหน้าที่รับรองการตรวจชำระพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎกสำหรับกองอื่นด้วย


พระบัญชาที่ ๕/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งกรรมาธิการแห่งสังคีติการกสงฆ์ โดยมีกรรมาธิการ ๑๕ รูป มีหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ตรวจชำระพระไตรปิฎกให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และสอดคล้องเป็นแนวเดียวกัน และให้ฉันทานุมัติในการที่จะนำพระไตรปิฎกเล่มที่ชำระแล้วเข้ารับรองจากสังคีติการกสงฆ์ โดยให้กรรมาธิการเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการ องค์ละ ๑ รูป 


พระบัญชาที่ ๖/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศาสนบัณฑิตสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก โดยมีพระภิกษุ ๓๖ รูป ฝ่ายคฤหัสถ์ ๔๓ คน มีหน้าที่ช่วยเหลือทางวิชาการและอำนวจความสะดวกแก่คณะกรรมการปาลิวิโสธกะทั้ง ๓ คณะ คำเนินการตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวงทั้งภาษามคธและภาษาไทยให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายด้วยความเรียบร้อยถูกต้องสมบูรณ์ 


และพระบัญชาที่ ๗/๒๕๒๘ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์เป็นที่ปรึกษา ๘ รูป นายมงคล ศรีไพรวรรณ อธิบดีกรมกาศาสนา เป็นประธานกรรมการ นายเลย จันจักร รองอธิบดีกรมการศาสนา เป็นรองประธานกรรมการ มีกรรมการ ๑๕ คน มีหน้าที่ดำเนินการประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ทั้งภาษามคธและภาษาไทย


พระมหาเถรานุเถระคณะกรรมการ มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ได้ประชุมเป็นมหาสันนิบาต ในพิธีประกาศพระบรมราชโองการ ให้สังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะกรรมการปาลิวิโสธกะได้เริ่มทำการตรวจชำระพระไตรปิฎกภาษาบาลีและภาษาไทย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๒๘ ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร และเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ คณะสงฆ์ได้ทำพิธีมอบต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ชำระแล้วแก่รัฐบาล เพื่อจัดพิมพ์ในรัฐพิธีที่จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


พระไตรปิฎกฉบับนี้ ภาษามคธมีชื่อว่า “ทยฺยรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ ๒๕๓๐ พุทฺธวสฺเส” พิมพ์จำนวน ๕๐๐ ชุด ภาษาไทยมีชื่อว่า “พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ในพระบรมราชูปถัมภ์” จำนวนพิมพ์ ๒๕๓๐ ชุด พระราชทานแด่พระอารามหลวงทุกวัด กระทรวงทบวงกรมทุกแห่ง สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่เหลือจากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสร้างถวายตามวัดวาอาราม และมีไว้เป็นสมบัติส่วนตน ตามประสงค์ 
http://narater2010.blogspot.com/

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม