วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

“ยิงพ่อ สังหารลูก”เล่ห์เหลี่ยมโจรใต้ที่จะต้องรู้เท่าทัน

“ยิงพ่อ สังหารลูก”เล่ห์เหลี่ยมโจรใต้ที่จะต้องรู้เท่าทัน

แบมะ ฟาตอนี




            เมื่อวันที่ 17 เม.ย.2557 เวลา 19.00 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบยิงนายมุกตาร์ อาลีมามะ อายุ 32 ปีและบุตร เด็กชายลุกมาน อภิบาลแบ อายุ 6 ปี 2 เดือน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ได้มาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลบันนังสตา อยู่บ้านเลขที่ 66/2 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตาเหตุเกิดที่ บ้านอูเป ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งนายมุกตาร์ อาลีมามะ เป็นสมาชิกผู้ก่อเหตุรุนแรงระดับสั่งการ มีหมายจับ ป.วิ.อาญาหลายหมาย

พฤติกรรมนายมุกตาร์ อาลีมามะ

           "นายมุกตาร์ อาลีมามะ มีหมายจับคดี ป.วิ.อาญา หลายหมาย มือสังหารผู้กองแคน-ธรนิศ/จ่าเพียร เป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องการตัวมาก เนื่องจากทางการเชื่อว่านายมุขตาร์ อาลีมามะ เป็นนักรบและหัวหน้าขบวนการปลดแอกเอกราชปาตานี ในพื้นที่อำเภอบันนังสตา"

             นายมุกตาร์ อาลีมามะ เป็นแกนนำก่อเหตุรุนแรงระดับสั่งการ รับผิดชอบในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา มีหมายจับในคดีความมั่นคงรวม 6 หมายจับ แยกเป็น ที่ สภ.บันนังสตา จำนวน 5 หมาย สภ.ธารโต 1หมาย โดยคดีสำคัญ คือ ยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารพราน ภายในโรงเรียนบ้านเขื่อนบางลาง ทหารพรานเสียชีวิต 1นาย และปล้นปืน AK 47 ของทหารพรานหลบหนีไปจำนวน 6 กระบอกด้วยกัน เมื่อปี 2550 รวมทั้งร่วมกับพวกซุ่มยิง ร.ต.อ.ธรนิศ ศรีสุข หรือผู้กองแคน เสียชีวิต ที่ควนนวรัตน์ บ้านสายสุราษฎร์ ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2550 และเหตุลอบวางระเบิด พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีต ผกก.สภ.บันนังสตา เสียชีวิตที่หมู่ 9 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ เมื่อตอนต้นปี 2553

เสียงสะท้อนจากชาวบ้านหลังเกิดเหตุ

            จากการสอบถามชาวบ้านบริเวณดังกล่าว ชาวบ้านได้ยินเสียงปืน 30 กว่านัด หลังจากสิ้นเสียงปืนชาวบ้านจึงรวมตัวกันขึ้นไปดูเหตุการณ์ ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนจำนวนมากและพบศพของนายมุขตาร์ กับ ลูกชาย บริเวณนั้นมีรอยกระสุนที่รถจักรยานยนต์ของนายมุกตาร์ อีกด้วย ชาวบ้านจึงได้นำศพลงมาจากสวนยางบนภูเขา อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับจากชาวบ้านที่มีความน่าสนใจต่อการเสียชีวิตของสองพ่อลูก

  • ประเด็นแรก เป็นการหักหลังกันเองในกลุ่ม RKK เนื่องจากนายมุขตาร์ เป็นแกนนำระดับสั่งการในกลุ่มอาร์เคเค เคยวางแผนร่วมกับนายมะแอ อภิบาลแบ อดีตแกนนำระดับสูง ที่ถูกวิสามัญเมื่อกลางปี 2554 นำระเบิดแสวงเครื่องน้ำหนักร่วม 100 กก.ไปลอบวางระเบิด พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีต ผกก.สภ.บันนังสตา เสียชีวิตที่หมู่ 9 ต.ตาเนาะปูเต๊ะเมื่อตอนต้นปี 2553 หลังจากนั้น นายมุกตาร์ก็รับช่วงเป็นแกนนำระดับสั่งการต่อ แต่ภายหลังมีกระแสว่า เกิดความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่ม ประเด็นที่สอง เนื่องจากนายมุขตาร์ อาลีมามะเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มค้ายาเสพติดในพื้นที่ รวมทั้งกลุ่มผู้มีอิทธิพลเกี่ยวข้องการทำไม้เถื่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะเกิดจากความขัดแย้งกันเองภายในกลุ่ม อาจเป็นชนวนนำไปสู่ความตายเนื่องจากขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ไม่ลงตัว




“ฆ่าพ่อสังหารลูก”เล่ห์เหลี่ยมโจรใต้ที่ต้องรู้เท่าทัน



         สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่ได้ลดความรุนแรงลงอย่างที่หลายฝ่ายต้องการที่จะเห็น ความสูญเสียยังเกิดขึ้นรายวัน และโจทย์ก็ยังเป็นโจทย์เดิมๆ รูปแบบการก่อเหตุความรุนแรงกลุ่มคนร้ายยังคงนำรูปแบบเดิมๆ วนเวียนมาเล่นใหม่ อย่างเช่นแผนชั่วโจรใต้ “ฆ่าพ่อสังหารลูก” 

         ข้อสังเกต กรณีการนำศพของเด็กชายลุกมาน อภิบาลแบ มาส่งที่โรงพยาบาลบันนังสตานั้น รับทราบขั้นต้นแค่เพียงว่าเป็นคนตัดไม้ที่อยู่ในพื้นที่ แต่แนวโน้มไม่น่าเป็นไปได้เนื่องจากเมื่อส่งเด็กเข้าโรงพยาบาลแล้วรีบหลบออกจากโรงพยาบาลโดยทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่จำรถและทะเบียนไม่ได้ โดยลำดับขั้นตอนมีการวางแผนมาเป็นอย่างดี ในการโฆษณาชวนเชื่อ เพียงเพื่อหวังโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐ หลังจากนั้นสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มขบวนการ ด้วยการลงมือเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเช่นเหมือนเหตุการณ์ต่อหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมา จากการก่อเหตุนำไปสู่การเคลื่อนไหวโดยองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) และสื่อแนวร่วมซึ่งเป็นปีกของขบวนการ BRN ทำการโฆษณาชวนเชื่อขยายผลตามแผนที่ได้วางไว้


  • ผลประการแรก เนื่องจากเป็นการสังหารผู้ที่มีประวัติเป็น ผกร. ผู้ที่วางแผนต้องการให้กลุ่มสหพันธ์นิสิต นักเรียนนักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) และนักสิทธิมนุษยชนออกมาเคลื่อนไหวประโคมข่าวสร้างกระแสปลุกปั่นกล่าวหาเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

  •  ประการที่สอง เป็นการฆ่าตัดตอนกันเองภายในองค์กร เนื่องจากผู้ตายเป็น ผกร. ระดับสั่งการกุมความลับไว้มากมาย ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ได้จับกุมนายอับดุลเล๊าะ ปูลา ผกร.ในเครือข่ายของผู้ตาย เมื่อวันที่ 30 มี.ค.56 นำไปสู่การขยายผลโครงข่าย ผกร.ในพื้นที่ ซึ่งโดยทั่วไป ผกร. ระดับปฏิบัติการจะรับรู้เพียงบุคคล หรือแผนการในเครือข่ายเท่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐ สามารถตรวจสอบเชิงลึกขยายผลไปยังกลุ่มอื่นได้ มีเพียง ผกร. ระดับแกนนำเท่านั้นที่สามารถติดต่อประสานงานกับส่วนอื่น เป็นไปได้ว่าการสังหารนายมุกตาร์ คือการฆ่าตัดตอนเพื่อไม่ให้สามารถขยายผลไปสู่เครือข่ายในพื้นที่อื่นๆ
  • ประการที่สาม เป็นการวางแผนสร้างสถานการณ์ของกลุ่มขบวนการ ด้วยการสร้างความชอบธรรมในการเข่นฆ่าพระ ครู ประชาชนชาวไทยพุทธในพื้นที่เพื่อสร้างความหวาดกลัวโดยอ้างเพื่อล้างแค้นให้แก่พี่น้องมุสลิมเหมือนที่เคยปฏิบัติที่ผ่านมา หากจำกันได้เมื่อเร็วๆ นี้เกิดเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายได้ลงมือก่อเหตุเข่นฆ่าเป้าหมายอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็น พระ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ผู้หญิง และครู แล้วลงมือจุดไฟเผา โดยอ้างว่าเป็นการแก้แค้นให้กับเด็กมุสลิม 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของนายเจ๊ะมุ มะมัน ที่โดนคนร้ายฆ่าตายที่บาเจาะ

“เหตุบันนังกูแว” คือแนวทางการเดินเกมส์




          จากเหตุคนร้าย “กราดยิงเด็ก 3 ศพ บุตรของนายเจ๊ะมุ มะมัน ที่บาเจาะ” ต่อเนื่องมาถึงเหตุ 2 ศพ ผัว-เมีย “บันนังกูแว” สหพันธ์นิสิต นักเรียนนักศึกษา และเยาวชนปาตานี (PerMAS) และนักสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มได้ออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะนายสุไฮมี ดูละสะ ประธานกลุ่มPerMAS ที่ได้แสดงตัวชัดเจนในการลงพื้นที่เกิดเหตุเพื่อรวบรวมข้อมูลในการดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อบิดเบือนกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ



           ความเคลื่อนไหวล่าสุด สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐไทยยอมรับว่าที่นี้คือสงครามที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นตัวขับเคลื่อนและควรเปิดพื้นที่ให้องค์กรสิทธิมนุษยชน (NGOs) ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนที่ประชาชนไว้ใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่ละเมิดหลักมนุษยธรรม รัฐไทยควรเอาจริงเอาจังกับยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการสร้างสันติภาพแก่ประชาชนที่แท้จริง และที่สำคัญที่สุดรัฐไทยควรถอดถอนทหารออกจากพื้นที่ให้หมดเพราะพิสูจน์แล้วว่าตลอดระยะเวลาสิบกว่าปีมีทหารเต็มพื้นที่ก็ไม่สามารถรักษาความสงบสุขแก่ประชาชนได้รังแต่สร้างความคลางแคลงสงสัยตลอดจนสร้างเงื่อนไขใหม่เพิ่มเติมตลอดเวลา

สื่อแนวร่วมนำเสนอข่าวกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐ

           สำนักสื่อ WARTANI สื่อแนวร่วมขบวนการโจรใต้ ได้นำเสนอข่าวบิดเบือนความจริงตามที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในเว็บไซต์ deepsouthwatch.org ซึ่งไม่ได้เป็นที่แปลกใจเท่าไหร่นัก อาจจะเหมือนเป็นเรื่องปกติที่สื่อเหล่านี้ได้ปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว โดยมีการกล่าวแอบอ้างว่า “เสียงสะท้อนจากชาวบ้านต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีลูกชายนายมุขตาร์เสียชีวิตอยู่ด้วย ชาวบ้านต่างแสดงความไม่พอใจกับการกระทำต่อเด็กอย่างทารุณ และชาวบ้านเชื่ออีกว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้ามาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้สองวัน” พร้อมทั้งจั่วหัวข่าวในการนำเสนอ “เหตุยิงพ่อลูกที่บันนังสตา ชาวบ้านเชื่อเจ้าหน้าที่เป็นคนทำ”


 

           เพจ : Patani Darussalam News ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ ของฝ่ายตรงข้ามที่ได้เคลื่อนไหวบิดเบือนข้อมูลข่าวสารมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ข่าวสารทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการปิดล้อมตรวจค้น รวมทั้งมีการนำเสนอข่าวของนายมุกตาร์ อาลีมามะแนวร่วมโจรใต้ที่เสียชีวิต “เจ้าหน้าที่รัฐมีแต่คอยจ่ายเงินชดเชยครอบครัวของเหยื่อ แต่ไม่มีความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลย เรียกร้องสิทธิในการดำเนินตามแนวทางของตนเอง สิทธิที่มนุษยชนสมควรจะได้รับให้กับสังคมมลายูปาตานี”
สันดานโจรใต้ไม่เคยเปลี่ยน

          เมื่อความจริงปรากฏจากคดีความมั่นคงที่ผ่านมา นำไปสู่การจับกุมตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมาย เหตุสังหารมาจากเรื่องส่วนตัว ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ ยาเสพติด น้ำมันเถื่อน รวมไปถึงการสร้างสถานการณ์โดยโจรใต้เอง ได้ลงมือก่อเหตุฆ่าลูกหลานชาวมุสลิมปาตานี "มุสลิมฆ่ามุสลิม" แต่สันดานเถื่อนถ่อย กลับกลายเป็นการสร้างเงื่อนไขที่โจรใต้เขียนขึ้นมากับมือ ด้วยการประกาศกร้าวตั้งเป้าลงมือฆ่าล้างแค้นคนไทยพุทธกลุ่มน้อยในพื้นที่แห่งนี้ให้เกิดความหวาดกลัว มันส่อถึง “สันดานโจรใต้ไม่เคยเปลี่ยน”

            แสดงให้เห็นว่าธาตุแท้โจรชั่วไร้ศาสนาเหล่านี้ไม่เคยมีเลยแม้อุดมการณ์ผุๆ ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นจากการกระทำของกลุ่มขบวนการที่สั่งการโดยระดับแกนนำ ให้ RKK ในพื้นที่ลงมือก่อเหตุสร้างสถานการณ์แล้วโยนผิดให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ อย่าดูถูกประชาชนชาวปาตานีอีกต่อไปเลย กับการสร้างเรื่องบิดเบือนข้อเท็จจริง เดี่ยวนี้ประชาชนเค้าหูตาสว่างสามารถแยกแยะ วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและเลือกเสพสื่อที่นำเสนอความจริงเท่านั้น “10 ปี ที่ขมขื่น” คงจะเพียงพอสำหรับความจริงใจของขบวนการ BRN ที่แสดงละครตบตาประชาชนมาโดยตลอด

http://narater2010.blogspot.com/

“บันนังกูแวเลือด”ฆ่าล้างครัว “ดาราเซะ”

“บันนังกูแวเลือด”ฆ่าล้างครัว “ดาราเซะ”
แบมะ ฟาตอนี



          เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 15.25 น. คนร้ายไม่ทราบจำนวน ได้ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิด และขนาด ยิงราษฎรเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ขณะขับรถยนต์กระบะอยู่บนถนนสาย 410 บ้านบันนังกูแว หมู่ 4 ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งมีผู้ที่เสียชีวิต จำนวน 3 ราย ได้แก่ นายดอรอแม ดาราเซะ อายุ 54 ปี นางอาอีเสาะ เฮงดาดา อายุ 49 ปี และ เด็กหญิงนูรอีมาน ดาราเซะ อายุ 2 ปี 8 เดือน ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บคือ เด็กชายสุไลมาน ขอสวัสดิ์ อายุ 12 ปี 2 เดือน ซึ่งเป็นครอบครัวของนายอับดุลฮากิม ดาราเซะ อดีตอาสาสมัครรักษาดินแดน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ปมความขัดแย้ง ครอบครัว “ผดุง - ดาราเซะ”



            นายอับดุลฮากิม ดาราเซะ เป็นอดีตสมาชิกอาสาสมัครรักษาดินแดน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีความขัดแย้งกับตระกูล “ผดุง” โดยมาจากสาเหตุที่ นายอาแซ ผดุง บุตรชาย นายดอเลาะ ผดุง ตกเป็นผู้ต้องสงสัยลอบวางระเบิด 2 ครั้ง ด้วยกัน และปมสำคัญนำไปสู่ความขัดแย้งเริ่มต้นจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดนายอับดุลฮากิม ดาราเซะ กับพวกในพื้นที่บ้านบันนังกูแว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2557 โดยนายอับดุลฮากิมฯ ให้การยืนยันชัดเจนว่า นายอาแซ ผดุง มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดในครั้งนั้น และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 ได้เกิดเหตุคนร้ายกราดยิง นายดอเลาะ ผดุง และนางมารีแย ผดุง สองสามีภรรยาเสียชีวิต ฝ่ายญาติๆ และครอบครัว “ผดุง”ปักใจเชื่อว่าเป็นการกระทำของนายอับดุลฮากิม ดาราเซะ

           เหตุ อับดุลฮากิม ดาราเซะ หันหลังให้กับขบวนการ นำมาซึ่งความตายของครอบครัว

           นายอับดุลฮากิม ดาราเซะ เคยเข้าร่วมขบวนการแต่ในภายหลังได้ถอนตัวออกมามอบตัวกับทางการ ส่วนสาเหตุที่นายอับดุลฮากิมฯ ได้ออกมามอบตัวเป็นเพราะพ่อกับแม่ไม่เห็นด้วยที่นายอับดุลฮากิมฯ เข้าร่วมขบวนการเพื่อทำการก่อเหตุรุนแรง เลยตัดสินใจหันหลังให้กับขบวนการ

          แต่เมื่อระดับแกนนำสั่งการรู้เรื่องเข้า นำมาซึ่งความไม่พอใจ ได้นำอาวุธมามอบให้กับนายอับดุลฮากิมฯ เพื่อยิงพ่อแม่ของตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนี้เลยตัดสินใจยุติบทบาทการเคลื่อนไหวโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งได้ติดต่อเข้ามอบตัวกับทางการ หลังแสดงความบริสุทธิ์ใจพร้อมกับสมัครเข้าเป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน ประจำการที่อำเภอบันนังสตา

          เหตุการณ์หลังจากนั้นทุกครั้งที่เกิดเหตุขึ้นในพื้นที่ อำเภอบันนังสตา โดยเฉพาะบ้านบันนังกูแว มีผู้เสียชีวิตหรือไม่เสียชีวิตก็ตามทีก็มักจะระบุว่าเป็นฝีมือของนายอับดุลฮากิมฯ เป็นผู้ลงมือก่อเหตุ โดยมีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เช่นกันผู้ก่อเหตุรุนแรงกระทำการก่อเหตุครั้งใดก็จะทิ้งใบปลิวที่อ้างความโกรธแค้นต่อนายอับดุลฮากิมฯ

           อย่างเช่นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 เหตุปาระเบิด M-26A1 ร้านก๋วยจั๊บ หน้าโรงเรียนผดุงประชาพาณิชยการ มีการทิ้งใบปลิวข้อความว่า “โทษฐานที่มึงปล่อยให้หมาอับดุลฮากิม ดาราเซะ อส.อ.บันนังสตา ระรานชาวบ้านบันนังกูแว” ในที่สุดความขัดแย้ง ความหวาดระแวงที่มีต่อกันนำมาซึ่งความสูญเสียของครอบครัว “ดาราเซะ” และครอบครัว “ผดุง”โดยไม่รู้ว่าเป็นฝีมือใคร หรือจะเป็นมือที่สามที่รับจ้างก่อเหตุ

         เมื่อความขัดแย้งส่วนตัว PerMAS กลับสร้างเรื่องกล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ



           มาถึงวันนี้เมื่อทำการปะติดปะต่อจิ๊กซอของความสูญเสียนำมาสู่ “บันนังกูแวเลือด”ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเกิดจากปัญหาความขัดแย้งของคนสองตระกูลที่ห้ำหั่นเข่นฆ่าล้างแค้นกันโดยไม่กลัวเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง แต่ยังมีองค์กรบางกลุ่มที่อาศัยสถานการณ์ความไม่สงบเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้อเล่นกับความเป็นความตายของประชาชนมาแต่งเติมเสริมแต่ง เพิ่มปัญหาชี้นำทางความคิด บิดเบือนความจริง กล่าวหาว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐมาโดยตลอดเวลา โดยเฉพาะแมลงร้ายอย่าง PerMAS กับการเข้าไปยุ่งเกี่ยวเสียทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ แต่เมื่อความจริงปรากฏไม่เคยรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นกับผลของการกระทำในการโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเกิดความแตกแยกทางความคิด ทำลายการอยู่ร่วมกันอย่างพหุสังคม สร้างความหวาดระแวงที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับประชาชน ประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยก่อนหน้านี้
ประชาชนปาตานี คือผู้กำหนดทิศทางสันติภาพ นำพาสันติสุข



          ประชาชนปาตานี ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ทุกคน คือผู้ที่จะกำหนดทิศทาง ความต้องการในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขให้กลับคืนมาอย่างแท้จริง อย่าตกเป็นเครื่องมือของกลุ่ม หรือองค์กร ที่แสวงผลประโยชน์ โดยเฉพาะขบวนการ BRN และกลุ่มสหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ที่ชอบแอบอ้างเป็นตัวแทนประชาชนมุสลิมปาตานี แต่กลับคอยยุแหย่ เสี้ยมสอน ชี้นำทางความคิด บิดเบือนความจริง บิดเบือนประวัติศาสตร์ เอาเรื่องราวในอดีตมาเล่าใหม่สร้างความโกรธแค้น เกลียดชังไม่มีที่สิ้นสุด ประชาชนในฐานะผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับเสียงระเบิด ควันปืน และกลิ่นคาวเลือดไม่เว้นวัน

           ถึงเวลาแล้วที่จะต้องก้าวผ่านความขัดแย้งทั้งปวง เพื่อแสวงหาทางออกของปัญหาร่วมกัน ต่อต้านการกระทำที่ส่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม การก่อเหตุสร้างความรุนแรงทุกรูปแบบของผู้ที่ไม่หวังดี ผนึกกำลังกันนำพาสันติสุขกลับคืนมาเพื่อลูกหลานชาวปาตานี ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างปกติสุขเหมือนประชาชนภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ เพราะ“ประชาชนปาตานี คือผู้กำหนดทิศทางสันติภาพ นำพาสันติสุข”กลับคืนมาอย่างแท้จริง

http://narater2010.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

ผ่าคดีความมั่นคงชายแดนใต้

ผ่าคดีความมั่นคงชายแดนใต้

นักรัก ปัตตานี

           นับตั้งแต่ได้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นเมื่อปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ยอดคดีความมั่นคงจากการรวบรวมสูงถึง 9,563 คดี ความสูญเสียยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ยังมีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติการก่อเหตุร้ายได้ตลอดเวลาต้องการสร้างความแตกแยกและความสูญเสียขึ้นในประเทศ ด้วยวิถีทางแห่งความรุนแรง โดยมีเป้าหมายสุดท้าย (End state) เพื่อยกระดับปัญหาความรุนแรงภายในประเทศให้ไปสู่เวทีสากล



                กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงใช้ประวัติศาสตร์รัฐปาตานี ความแตกต่างด้านชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรมและมีการบิดเบือนหลักคําสอนศาสนามาเป็นเงื่อนไขในการปลุกระดม ปลุกเร้าด้านความคิด ความเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่หลงผิด ถูกชักจูงโดยกลุ่มชี้นําทางความคิดหรือนักปราชญ์ให้ความร่วมมือ หรือตกอยู่ในภาวะจํายอมต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของแกนนําผู้ก่อความไม่สงบ หรือนิ่งเฉยเพื่อความอยู่รอด เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นกองกําลัง (RKK) หรือผู้กระทําผิดได้ในโอกาสต่อไป โดยทำการคัดเลือกมาจากเยาวชนที่มีความประพฤติดี เรียนหนังสือเก่ง เคร่งครัด ศาสนา เป็นที่รักของบิดา-มารดา และกลุ่มเพื่อน

           ผลของการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างสุดขั้วในรูปของการตรวจค้นและจับกุม เมื่อพลิกดูข้อมูลคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบปัญหาหลักๆ 2 ประการด้วยกัน กล่าวคือ


  • หนึ่ง คือ ความล่าช้าในกระบวนพิจารณา ซึ่งบางคดีเฉพาะในศาลชั้นต้นใช้เวลานานถึง 3-5 ปี
  • สอง คือ คดีความมั่นคงจำนวนมาก ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามได้นำผลดังกล่าวมากล่าวหาโจมตีการใช้กฎหมายพิเศษ และเรียกร้องให้มีการยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายทั้งหมดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สถิตข้อมูล คดีความมั่นคงตั้งแต่ปี 2547 – ปัจจุบัน



ที่มา: สำนักบังคับใช้กฎหมายและสิทธิมนุษยชนฯ


จำนวนผู้ต้องขังคดีความมั่นคงแยกตามเรือนจำแต่ละจังหวัด




ที่มา: สำนักบังคับใช้กฎหมายและสิทธิมนุษยชนฯ

            จากสถิติคดีความมั่นคงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547จนถึงปัจจุบันพบมีมากถึง 9,563 คดี ไม่รู้ตัวคนร้าย 7,343 คดี ที่รู้ตัวคนร้ายในการก่อเหตุ 2,220คดี ไม่สามารถดำเนินจับกุมตัวคนร้ายได้ 614 คดี ดำเนินการจับกุมได้ จำนวน 1,606 คดี



              เป็นที่น่าสังเกตว่าเมื่อพนักงานอัยการนำคดีพิจารณาในชั้นศาลแค่ 697 คดีเท่านั้น จากคดีทั้งหมด 9,563 คดี ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อศาลได้ตัดสินอ่านคำพิพากษาแล้วสั่งลงโทษผู้ที่กระทำความผิดได้แค่ 269 คดี ที่ศาลสั่งยกฟ้องเนื่องจากเอกสารหลักฐานไม่เพียงพอมีถึง 428 คดี

             จากคำพิพากษาของศาลที่ตัดสินคดีความมั่นคงที่เกี่ยวข้องการก่อเหตุรุนแรง หลายคดีศาลได้สั่งยกฟ้องเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ จึงเปิดช่องให้กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี หรือกลุ่ม PerMAS รวมทั้งมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MUSLIM ATTORNEY CENTRE FOUNDATION) ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษทั้งหมดที่บังคับใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) โดยนำเงื่อนไขของการยกฟ้องของศาลมาทำการปลุกระดมเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้ต้องหาคดีความมั่นคงทั้งหมด



             กลุ่มขบวนการ BRN ได้ฉกฉวยโอกาสและใช้ประโยชน์จากเวทีการพูดคุยสันติภาพด้วยการนำเสนอข้อเรียกร้อง 5 ข้อต่อรัฐไทย (ข้อ 5 เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษที่ถูกคุมขังด้วยเหตุผลทางการเมือง และยกเลิกหมายจับทั้งหมด) ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากข้อเรียกร้องดังกล่าว ขบวนการ BRN ให้ความสำคัญกับ RKK ซึ่งเป็นกองกำลังของตัวเองที่โดนจับกุมดำเนินคดีไม่ให้มีความผิด และลบล้างความผิดทั้งหมดที่กลุ่มโจรใต้เหล่านี้ได้กระทำมา



                สงสารประชาชนผู้ที่จะต้องทนแบกรับกับชะตากรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อ เด็กกำพร้า หญิงหม้าย อีกหลายชีวิตที่จะต้องหมดอนาคต สูญสิ้นความหวังร่างกายพิการจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะน้ำมือจากการกระทำของโจรใต้ BRN เหล่านี้ แต่กลับมาเรียกร้องสร้างความชอบธรรมในการฆ่าคนให้กับตัวเอง เป็นพวกโจรไร้อุดมการณ์ ไร้ศาสนา และสุดโต่ง

              ก่อนที่ทุกอย่างมันจะสายเกินแก้ และจะยิ่งทำให้อุณหภูมิของไฟใต้ในพื้นที่ร้อนระอุเพิ่มขึ้นไปอีก หน่วยงานด้านความมั่นคงที่รับผิดชอบแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นจะต้องใช้ขบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ การเก็บรวบรวมหลักฐาน พยานวัตถุในที่เกิดเหตุ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการสืบสวนสอบสวน การเขียนสำนวนส่งฟ้องศาลจะต้องมีความรัดกุมเพิ่มขึ้น เพื่อส่งผลในการพิจารณาคดีความของศาลจะได้ไม่ต้องพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากสำนวนอ่อน ขาดหลักฐาน สร้างความเชื่อมั่นของกระบวนการยุติธรรมของศาลไทยกลับคืนมา และนำตัวผู้กระทำความผิด ผู้ที่มีภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มาลงโทษตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
http://narater2010.blogspot.com/

กฎหมายพิเศษเพื่อประชาชน

กฎหมายพิเศษเพื่อประชาชน
โดย....ชบาสีขาว



             ตราบใดที่ผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงยังคงอาศัยมวลชนเป็นเกราะกำบังซึ่งยากต่อการแยกแยะว่าใครคือผู้ก่อเหตุรุนแรงยากต่อการดำเนินการสืบหาตามจับกุมเพื่อนำตัวมาดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย ตราบใดที่ผู้ก่อเหตุรุนแรงยังคงไม่เข้าสู่กระบวนการตามนโยบายของฝ่ายความมั่นคงที่เปิดโอกาสให้ผู้หลงผิด หรือผู้มีความเห็นต่างจากรัฐเข้าพูดคุยเข้าต่อสู้ตามขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมาย นั้นหมายถึงความจำเป็นที่ต้องใช้กฎหมายพิเศษเข้าใช้แก้ไขปัญหา ซึ่งเชื่อว่าฝ่ายความมั่นคงเองก็ไม่ปรารถนาที่จะใช้กฎหมายพิเศษนั้นเท่าไรนัก


             ประเทศไทยได้มีบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงที่ตราเป็นพระราชบัญญัติพระราชกําหนด และประมวลกฎหมายทั้งสิ้น จํานวน 75 ฉบับ และมีการแบ่งระดับของความรุนแรงของสถานการณ์เป็น 3 ระดับ คือ สถานการณ์ปกติ สถานการณ์ในภาวะคับขัน และสถานการณ์สงคราม หากมีสถานการณ์หรือพฤติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง จะใช้บทบัญญัติของกฎหมายที่แตกต่างกันตามสถานการณ์เช่น ในกรณีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทั่วไปอยู่ในภาวะปกติกฎหมายที่นํามาใช้บังคับ คือ กฎหมายที่มีโทษทางอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศและเป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชนทําลายหรือทําให้เสียหายแก่ชีวิตร่างกายทรัพย์สินของประชาชนหรือรัฐ กฎหมายที่นํามาใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551และเมื่อปรากฏเหตุการณ์ขยายตัวลุกลามเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงหรืออาจทําให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ไม่สามารถควบคุมได้กฎหมายที่นํามาใช้บังคับ คือ พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรจนกลายเป็นภาวะสงคราม หรือจลาจลกฎหมายที่นํามาใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457


                จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของขบวนการ BRN. และพฤติกรรมของกลุ่มองค์กรที่แสวงประโยชน์จากเหตุการณ์ ปลุกระดมบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปลุกกระแสต่อต้านรัฐสนับสนุนการก่อเหตุรุนแรงของขบวนการ BRN. ซึ่งเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันคือกลุ่มนักศึกษาที่พยายามสร้างความมึนงงให้กับประชาชนทั้งที่เป็นมุสลิมและพุทธ นั่นคือกลุ่ม PerMAS ที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ณ ปัจจุบันหากจะถามว่าพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จําเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีกฎหมายความมั่นคง คําตอบที่สามารถตอบได้ทันทีคือ จําเป็นต้องมีกฎหมายความมั่นคง แม้แต่รัฐอื่นๆ ในโลกปัจจุบันก็ยังมีความจําเป็นต้องมีกฎหมายในลักษณะนี้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม นานาอารยประเทศที่ใช้กฎหมายในการปกครองประเทศต่างก็มีกฎหมายความมั่นคงบังคับใช้ในระบบกฎหมายของประเทศตนเอง



               ปัจจุบันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคภาคใต้ กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) รวมทั้งกลุ่มPerMAS ได้รณรงค์ปลุกกระแสให้ยกเลิกการใช้กฏหมายพิเศษในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ตามที่ปรากฏบนภาพข่าวทั้งบนเว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ และการจัดประชุมเสวนาโดยองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องรวมทั้งมีความพยายามในการนำเข้าไปสู่การเขียนรายงานประเทศไทย นำเสนอต่อองค์การสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศซึ่งเนื้อหาเป็นการนำข้อมูลในแง่ลบบางด้านโดยไม่ครอบคลุมถึงความถูกต้องสมบูรณ์ ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่บวก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นในมุมกลับแล้วจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม ผู้ก่อเหตุรุนแรงโดยไม่รู้ตัว ซึ่งก็ไม่ทราบว่า กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs)กำลังคิดอะไรอยู่ แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ สร้างผลกระทบต่อความพยายามในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล และของฝ่ายความมั่นคงอย่างกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ปฏิบัติงานในพื้นที่


           กฏหมายพิเศษที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ปัจจุบันเท่าที่ศึกษา จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ใช้อยู่ด้วยกัน 3 ฉบับ คือ

  • ฉบับที่ 1 พระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พุทธศักราช 2457 เป็นกฏหมายที่เน้นความรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้สงบโดยเร็ว 
  • ฉบับที่ 2 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 เป็นกฏหมายที่เน้นการป้องกันและปรับเปลี่ยนทัศนคติให้กับผู้หลงผิด ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการขยายผล ให้ข้อมูลกลุ่ม เครือข่ายและแนวร่วม ผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ และที่สำคัญจะเป็นกฏหมายที่มีความยุติธรรมโดยให้อำนาจทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร และอยู่ในอำนาจการควบคุมของศาลยุติธรรม และ
  • ฉบับที่ 3 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2551 เป็นกฏหมายที่เน้นการเปิดโอกาสให้คนที่กระทำความผิดสามารถกลับตัวกลับใจเข้ามาร่วมพัฒนาประเทศได้ ซึ่งกฏหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในการนำมาใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่พิเศษที่ต้องใช้การผสมผสานกฏหมายทั้งข้อดีและข้อเสียเข้าด้วยกัน

              รัฐบาลไทยมีนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ด้วยสันติวิธีอย่างชัดเจน และในห้วงที่ผ่านมา หน่วยงานในจังหวัดชายแดนใต้ ได้ใช้กฏหมายความมั่นคงอย่างระมัดระวังและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฏหมายนั้นๆ รวมทั้งเลือกใช้เฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ประโยชน์ต่อการสร้างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่เป็นหลัก การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่นั้นจะมีการตรวจสอบโดยศาล หากผู้ใดเห็นว่า มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ เจ้าหน้าที่จะถูกดำเนินการตามกฏหมายได้



           เห็นด้วยกับการใช้กฏหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนับว่าเกิดประโยชน์อย่างมาก โดยสามารถรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างดี สำหรับในด้านการใช้นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นกฎหมายพิเศษก็ตาม แต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อพี่น้องประชาชนจะไม่ต่างกับกฏหมายปกติเลย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางการประกอบอาชีพ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตประจำวันก็ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่เพียงกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ จะสังเกตได้จากการปิดล้อมตรวจค้นจะสามารถจับกุมกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือแนวร่วมได้เกือบทุกครั้ง ผลจากการใช้กฏหมายพิเศษทำให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว แน่นอน และไม่ผิดตัว

           ที่กล่าวมาทั้งหมด เราลองมาวิเคราะห์กันอย่างจริงจังสิว่า การใช้กฏหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใครได้รับผลประโยชน์หรือใครเสียผลประโยชน์ จากคำตอบของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “ประชาชนได้ประโยชน์” แน่นอน แต่ผู้เสียผลโยชน์และเดือดร้อนที่เห็นชัดเจนคือขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรง
http://narater2010.blogspot.com/

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

โจรใต้ โดน ปปง. “ระงับธุรกรรมฐานหนุนก่อการร้าย”


โจรใต้ โดน ปปง. “ระงับธุรกรรมฐานหนุนก่อการร้าย”

           หลังจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด"ตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงผู้ก่อการร้ายทั้งในต่างประเทศและที่เป็นคนไทยเพื่อกำหนดมาตรการเข้มห้ามทำธุรกรรมทางการเงินทุกรูปแบบ

           ล่าสุด "บุคคลที่ถูกกำหนด" ในส่วนของคนไทยที่ตกเป็นผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ศาลแพ่งประกาศ ล้วนเป็นผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

           นายปาตะ ลาเต๊ะ นายอาหาหมัด ดือราแม นายอับดุลฮาดี ดาหาเล็ง และ นายมะรูดี ตาเฮ ผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ร่วมก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหาร เสียชีวิต 4 น าย เหตุเกิดเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555ถนนเส้นทางสายมายอ-ปาลัส บริเวณบ้านดูวา หมู่ 3 ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

             นายราฟี มามะรอยาลี ผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องและสั่งการ และ นาย ต่วนยัสลัน นิราแม ผู้ร่วมก่อเหตุลอบวางระเบิดหน้าร้านแสงไทยโลหะกิจ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เหตุเกิดเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555

            คำว่า "บุคคลที่ถูกกำหนด" มีนิยามตามกฎหมายว่า หมายถึง บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นผู้ที่มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย หรือบุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรตามรายชื่อที่ศาล (หมายถึงศาลไทย) ได้พิจารณาและมีคำสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ การประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายฯ เป็นหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. โดยแบ่งออกเป็น 2ส่วน ตามนิยามดังกล่าว และตามกฎหมายมาตรา 4 และมาตรา 5 กล่าวคือ

            ส่วนแรก ดำเนินการประกาศรายชื่อผู้มีการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายตามมติของหรือประกาศภายใต้คณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ทางเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. www.amlo.go.th

            ส่วนที่สอง ดำเนินการประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ใดมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือดำเนินการแทนหรือตามคำสั่งหรือภายใต้การควบคุมของบุคคลนั้น

           เฉพาะในส่วนที่สองนี้ กำหนดวิธีการให้สำนักงาน ปปง.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรม (ปปง.) พิจารณาส่งรายชื่อผู้นั้นให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" ปรากฏว่า ปปง.ได้ส่งรายชื่อเสนอพนักงานอัยการเพื่อยื่นคำร้องฝ่ายเดียวให้ศาลมีคำสั่ง และศาลแพ่งได้มีคำสั่งในห้วงที่ผ่านมาที่ประกาศไปแล้วนั้น ในส่วนของผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ลงมือทำการก่อเหตุในคดีที่น่าสนใจ จำนวน ๖ คน ๒ เหตุการณ์ ด้วยกัน



          กรณีแรก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2557 ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ร่วมก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 เวลา17.10 น. โดยใช้รถกระบะจำนวน 3 คัน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ขับตามประกบยิงเจ้าหน้าที่ทหารจากร้อยทหารราบที่ 15323 หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี 25 จำนวน 6 นาย ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ 3 คัน ลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ เหตุเกิดบนถนนเส้นทางสายมายอ-ปาลัส บริเวณบ้านดูวา หมู่ 3 ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 4 นายเหตุเกิดเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555 ศาลสั่งให้ผู้ที่ทำการก่อเหตุเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายพ.ศ.2556 จำนวน 4 ราย คือ นายปาตะ ลาเต๊ะ นาย อาหาหมัด ดือราแม นายอับดุลฮาดี ดาหาเล็ง และ นายมะรูดี ตาเฮ



            กรณีที่สอง เมื่อ 31 มีนาคม 2557 ศาลแพ่ง ได้มีคำสั่งให้ผู้ที่ร่วมก่อเหตุ นำจักรยานยนต์ซุกซ่อนระเบิดมาจอดที่หน้าร้านแสงไทยโลหะกิจ ถนนสิโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แล้วจุดชนวนระเบิด ในขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารชุดสุนัขสงคราม หน่วยเฉพาะกิจยะลา 11 รวม 5 นาย ขับรถกระบะผ่านมา แรงระเบิดทำให้ทหารและชาวบ้านได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย นอกจากนั้นแรงระเบิดยังทำให้เพลิงลุกไหม้อาคารบริเวณที่เกิดเหตุหลายคูหา เหตุเกิดเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555 ศาลสั่งให้ผู้ที่ทำการก่อเหตุเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 จำนวน 2ราย คือ นายราฟี มามะรอยาลี ผู้ต้องสงสัยเกี่ยวข้องและสั่งการ และ นาย ต่วนยัสลัน นิมาแม ผู้ร่วมก่อเหตุ ซึ่งเป็นบุคคลตามหมายจับ ป.วิ.อาญา 1 หมาย


            ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนสมาชิกทั้งหมด 116 ประเทศทั่วโลก ที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย FINANCIAL ACTION TASK FORCE (FATF) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2532 โดยกลุ่ม G7 มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และได้เริ่มดำเนินการในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2533 FATF จะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานด้านการป้องกันการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้าย ประเทศไทยมีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ปีที่ผ่านมา



           จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 เป็นอีกก้าวหนึ่งในการสกัดกั้นแหล่งเงินทุนสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้ ของBRN โดยตรง ซึ่งบุคคลที่ศาลมีคำสั่งเป็น "บุคคลที่ถูกกำหนด" สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อออกมามีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อเหตุ หรือเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ FATF 40+9 มี 4 ด้านด้วยกัน คือ 
  • ด้านแรก การดำเนินคดีความผิดทางอาญา ความผิดมูลฐาน การยึด/อายัดทรัพย์สิน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมายและการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน 
  • ด้านที่สอง มาตรฐานของสถาบัน หน่วยข่าวกรองทางการเงินในการกำกับดูแล 
  • ด้านที่สาม มาตรการป้องกันสำหรับสถาบันทางการเงินและหน่วยธุรกิจที่มิใช่สถาบันทางการเงินโดยการแสงตนของลูกค้าการเก็บรักษาข้อมูล การรายงานธุรกรรม การเฝ้าติดตามบัญชีและธุรกรรมและ
  • ด้านที่สี่ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางกฎหมายการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนความร่วมมือระหว่างหน่วยบังคับใช้กฎหมาย

           จากข้อมูลที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 โดยการกำกับดูแลโดย FATFสมาชิก 116 ประเทศ ซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้เริ่มทยอยประกาศรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ตามกฎหมาย ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามจับกุมตัวผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหาหาที่ลงมือก่อเหตุได้แต่จากการประกาศรายชื่อดังกล่าวได้สร้างความสั่นคลอนต่อเส้นทางการเงินของกลุ่มขบวนการ BRN โดยตรง รวมทั้งบริวาร



           ประการสุดท้าย การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายซึ่งเป็นแรงจูงใจในอุดมการณ์ โดยแหล่งเงินบริจาคได้รับจาก ธนาคาร ธุรกิจแลกเงินตรา ตัวแทนการท่องเที่ยว ตัวแทนจองตั๋วเครื่องบิน องค์กรการกุศล และธุรกิจบังตา ในการดำเนินการก่อเหตุในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ หากปล่อยให้บุคคล องค์กร และนิติบุคคลเหล่านี้ดำเนินการฟอกเงิน และสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอยู่ โดยไม่ได้กระทำการใดๆ เลย ผลกระทบก็จะตกอยู่กับประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งการสนับสนุนทางการเงินบางส่วนมีความเชื่อมโยงธุรกิจผิดกฎหมายเป็นเงินที่ได้รับมาจากการสนับสนุนของขบวนการอาชญากรรม ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม บ่อนทำลายการแข่งขันของธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมายและที่สำคัญที่สุดมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

จดหมายจากครูใต้ตอบคณะกรรมการสมานฉันท์

จดหมายจากครูใต้ตอบคณะกรรมการสมานฉันท์

โดย เสียงจากแผ่นดินแม่ เมื่อ 5 ธันวาคม 2012 เวลา 22:40 น.

จดหมายจากครูใต้ตอบคณะกรรมการสมานฉันท์ เรื่อง ขอยืนยันทำงานในพื...้นที่ 3 จังหวัดนี้ต่อไป

            ดิฉันเป็นคนไทยธรรมดาๆ คนหนึ่งที่เคยชื่นชมนับถือแนวความคิดของคุณและติดตามการทำงานของคุณมาช้านานดิฉันเชื่อในความตั้งใจดีของคุณ นานมาแล้วที่ดิฉันบอกใครๆ ว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีสุด เหมาะสมที่สุด และยังคิดเช่นนั้นอยู่แต่วันนี้ดิฉันและคุณมีความเชื่อในสถานการณ์ภาคใต้ที่ต่างกันดิฉันไม่เคยมีอคติกับใครรวมทั้งคุณ ดิฉันถือว่า เราต่างคนต่างมีความเชื่อเลยขอเรียนว่า ทำไมถึงมีความเชื่อที่ต่างจากคุณ ที่เห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นความผิดความเลวของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ (คงต้องรวมถึงดิฉันที่เป็นข้าราชการครูด้วย) ดิฉันขอเริ่มจากสิ่งที่ตัวเองเห็นเมื่อเป็นครูภาคใต้มา 35 ปี

  • 1. ชาวบ้านแท้ เป็นคนซื่อแต่เชื่อผู้นำอย่างหูหนวกตาบอดผู้หญิงขยันและอดทนอย่างเหลือเชื่อ ( เคยถามคนที่ไม่เคยคลุมหัวฮิญาบว่าทำไมเดี๋ยวนี้ต้องคลุม เธอบอกว่า ผัวได้บุญ) ในขณะที่ผู้ชาย...ขี้เกียจอ้างศาสนา เพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์ (มีลูกกี่คนก็ได้ ยิ่งมากยิ่งดีเพราะถือว่าเป็นของขวัญจากพระเจ้า) เชื่อในชีวิตหน้าชีวิตนี้จะลำบากแค่ไหนก็ได้ (ตายก็ได้ถ้าผู้นำชี้แนะ ขนาดที่มีลูกสาวสวยผู้นำจะชี้เอาเป็นเมียก็ต้องให้)
  • 2. ผู้นำที่เลว ใช้ศาสนาทำให้ชาวบ้านอยู่ในระบบปิด ไม่พูดภาษาไทยไม่คิดว่า ตัวเองเป็นคนไทย ไม่รับรู้โลกภายนอกเพื่อให้ตัวเองเป็นคนสำคัญและมีอำนาจเหนือชาวบ้าน (ผู้ปกครองนักเรียนแอบมาเล่าว่า อยากให้ลูกเรียนสูง ๆ บ้าง ทีลูกผู้นำเขาส่งเรียนสูง ๆ แต่ลูกเรา เขาบอกให้เรียนปอเนาะได้บุญ) เขาขอให้ครูช่วยหาทางให้ลูกเขาได้เรียนด้วย ครูก็ช่วยแล้วมาน้ำตาตกทีหลัง เมื่อมาพบว่า เด็กมาเรียนจนจบปริญญาแล้วเขาไม่รู้จักเรา แถมบางคนทำท่าเหมือนเรามาอาศัยแผ่นดินเขาอยู่)
  • 3. โดยนิสัยคนพื้นเมืองที่มีความรู้และได้เป็นใหญ่ จะเห็นแก่ตัวไม่ช่วยพัฒนาคนระดับล่างให้มีความรู้ ไม่รู้จักบุญคุณคนโดยเฉพาะคนนอกศาสนา ถ้าใครให้ เขาจะรับ แต่ไม่ให้ตอบเพราะบาปนักการเมืองรุ่นเก่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้นำศาสนาและชาวบ้าน (เพื่อคะแนนเสียง) โดยยอมรับเรื่องที่ผู้นำปิดโลกของคนพื้นเมืองจากโลกภายนอกทำให้คนพื้นเมืองอยู่ไปวันๆ อย่างไม่มีอนาคตในโลกนี้เพราะโลกหน้าต่างหากที่เป็นของจริงเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขายากจนก็เป็นความผิดของรัฐบาลที่ไม่เข้าไปดูแลเมื่อเขาพูดไทยไม่ได้และไม่รู้ว่าที่นี่คือประเทศไทย...เขาก็ต้องฟังผู้นำ
         ในอนาคตพวกเขาจะเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ในพื้นที่เพราะมีลูกมากและคนไทยอพยพหนีตายจากนั้นก็เรียกร้องขอแผ่นดินที่มีแต่พวกเขา...เรื่องนี้เล่นไม่ยากในเวทีโลกไม่ใช่หรือ ?

  • 4. ระยะหลัง เริ่มมีขบวนการแบ่งแยกเชื้อชาติและส่งเสริมให้ขับไล่ซือแย(ไทยพุทธ) ออกจากแผ่นดินรุนแรงขึ้น เนื่องจากได้เงินสนับสนุน(จากไหนบ้างคุณน่าจะรู้) ได้ความฮึกเหิมของชาวอิสลามที่ร่ำรวยขึ้นและการปลูกฝังว่าอิสลามว่าเป็นพี่น้องกันทั้งโลก(แต่อยู่ร่วมกับใครไม่ได้) เรื่องอย่างนี้ เหมือนน้ำท่วมปากแต่ไม่มีใครกล้าพูดดังๆ ให้พวกคุณฟัง เพราะเรากลัวตายการฆ่ารายวันเกิดขึ้นได้ เพราะผู้ร้ายไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เรื่องที่พูดมานี้เพื่อจะบอกคุณว่า...ในเมื่อคนพื้นเมืองถูกครอบงำให้คิดว่า พวกเขาไม่ใช่คนไทยแผ่นดินนี้เป็นของเขาทุกสิ่งที่ เราให้ เขารับแต่เขาขอบคุณพระเจ้าที่บันดาลให้ เราให้จึงไม่มีบุญคุณต่อคนนอกศาสนา ดิฉันเจ็บใจเวลาที่เห็นพวกคุณแสดงความเห็นใจคนพวกนี้และว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของคนไทยคุณรู้กันบ้างไหมว่า ทุกสิ่งที่เราทำ เราไม่เคยมีความคิดว่าเรื่องนี้ทำให้เฉพาะคนไทย เพราะเราทุกคนเป็นคนไทย

            ในจังหวัดที่ดิฉันเป็นครูมา 30 ปีดิฉันไม่เคยเห็นส่วนข้าราชการไหนที่แบ่งเขาแบ่งเรา มีแต่เขานั่นแหละที่ทำตัวผิดแปลกแตกแยกมากขึ้นทุกวันถ้าคุณอยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นแผ่นดินไทย...คุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเขาเรียกร้องเอาโน่นเอานี่มากขึ้นทุกวัน ฉันจะต้องแต่งตัวอย่างนี้ฉันจะต้องหยุดวันนี้ ฉันจะไม่ไหว้ครูร่วมกันคนพุทธ ฉันจะไม่เรียนวิชานี้ฯลฯ ด้วยข้ออ้างว่า เพราะขัดกับหลักศาสนา แล้วเราก็ยอมเขาทุกเรื่องและให้เห็นความแตกแยกชัดเจนขึ้นทุกวัน นักการเมืองที่เป็นพวกเขาก็พูดเอาแต่ได้ และการเอาแต่ได้ของเขาโดยอ้างศาสนาก็กดคนของเขาให้หูหนวกตาบอด ให้ขี้เกียจ ให้ไม่มีความรู้เพื่อเขาจะได้ใช้คนพวกนี้เป็นฐานโดยมีกลุ่มคนที่มองภาพรวมในเรื่องความไม่เท่าเทียมที่คนในสังคมชนบทได้รับ (อย่างพวกสิทธิมนุษยชน) เป็นเครื่องมือ ใจคอคุณจะให้ยอมจนกระทั่งคนไทยที่อยู่ใน3จังหวัดต้องพูดภาษาถิ่นที่โลกนี้เขาไม่พูดกัน เพื่อเข้าใจเขาแต่เขาไม่ต้องหัดพูดภาษาไทย เพื่ออยู่ในโลกปัจจุบันได้กระนั้นหรือ?( แต่ครั้นก็ยังช่วยอะไรไม่ได้หรอก เพราะเขาถูกสอนว่า เราเป็นคนนอกศาสนานอกเชื้อชาติเขา)ทำไมคนไทยที่มีภาษาถิ่นในภาคอื่น เขาไม่ทำกันอย่างนี้บ้างทำไมเขาถึงยอมพูดภาษากลางที่เป็นภาษาราชการ เพราะเขาคิดว่า เป็นคนไทย

             แต่คนพวกนั้นไม่เคยคิดใช่ไหมแล้วเราจะยอมให้เขาคิดต่อไป หรือให้เขาเลิกคิดกันเสียทีให้เขาได้หลุดพ้นจากการครอบงำของคนที่หาประโยชน์จากความไม่รู้ของพวกเขาจะดีกว่าไหมถ้าหวังดีกับคนพื้นเมืองจริงๆ ดิฉันแปลกใจที่คนในกลุ่ม คุณอานันต์ (ประธานกอส.)พร่ำพูดแต่เรื่องกรือเซะ เรื่องตากใบ ทำไมไม่เคยพูดถึงผลที่มาจากเหตุคุณตัดตอนมาแต่ความผิดของเจ้าหน้าที่ได้อย่างไรทำไมคุณไม่พูดบ้างว่า คนที่พาคนพวกนี้มาตายมีความผิดไหมบ้านเมืองมีกฏเกณฑ์กติกาในการอยู่ร่วมกันอย่างไรคนระดับคุณไม่เข้าใจพวกบ้าคลั่งลัทธิเชียวหรือ ทำไมต้องดูแลเอาใจคนพวกนี้ให้ฮึกเหิมว่ามีคนดีๆ ในสังคม อย่างพวกคุณคอยหนุนหลังอยู่เขาใช้ประโยชน์จากพวกคุณ (ที่พวกดิฉันแอบเรียกว่าพวกซื่อบริสุทธิ์)เพื่อสร้างภาพว่า เขาเป็นฝ่ายถูก ทั้งที่เขาก่อเหตุร้ายขึ้นในแผ่นดิน

         ถ้าคุณเป็นครูมานาน เท่าดิฉันที่เป็นคนภาคกลาง แต่ไปอยู่ที่นั่นคุณจะรู้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัวขนาดไหน

           ดิฉันเคยไปไหนมาไหนในจังหวัดอย่างคนที่เป็นครูเจอลูกศิษย์ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เจอผู้คนที่มีอัธยาศัยแม่ค้าในตลาดพูดกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้บ้างแต่ต่างฝ่ายต่างพยายามสื่อสารกัน จนดิฉันเชื่อว่าจะใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่นี่ได้ แต่สิบปีที่ผ่านมานี้ สถานการณ์เริ่มเลวร้ายลงจากการเรียกร้องของผู้ที่อ้างศาสนาทุกวันนี้เราต้องอยู่ท่ามกลางการไม่ไว้ใจกัน ทุกอย่างเห็นชัดว่า เลวร้ายมากขึ้นจากการแยกตัวของพวกเขาที่เข้มงวดเรื่องการแต่งกาย เรื่องภาษา เรื่องศาสนาและจากเด็กที่เกิดเป็นจำนวนมากจนน่าตกใจ เขาเชื่อว่า ลูกคือของขวัญจากพระเจ้า ยิ่งมีมากยิ่งดีแต่ไม่สนใจว่าจะเลี้ยงให้มีคุณภาพได้อย่างไร...(รัฐบาลดูแลแก้ไขไปซิ)สังคมของเขาปัจจุบันนี้ ผู้ชายก็ยังแสดงโวหารตามร้านน้ำชา ทำงานอืดๆเอื่อย ๆ นึกจะพักก็พักนึกจะเลิกก็เลิก...(อันนี้ผู้พิมพ์เห็นด้วยกับครูผู้เขียน)  เพราะเพื่อนไปทำถนนที่ปัตตานี ต้องเอาคนงานอีสานไปเพราะคนที่โน่นไม่อดทนทำงาน (ดีแต่เรียกร้อง)ไม่มีเงินก็ตั้งวงด่าว่าสังคมไม่เป็นธรรมใครจะทำธุรกิจก็มีใบปลิวมาขอค่าคุ้มครอง แล้วใครจะอยากมาลงทุนเขาพร่ำสอนกันว่า พวกคนเจ๊ก คนไทย เอาเปรียบเขา ทั้งที่มาอาศัยแผ่นดินเขาอยู่คนที่เคยเป็นมิตรกัน ก็มองกันอย่างไม่ไว้ใจ ไม่ทักทายปราศรัยกันเหมือนเดิมครูอิสลามบางคน ที่ไม่ใช่คนที่นี่บอกว่า คงอยู่ไม่ได้เพราะเขาไม่คลุมหัวก็โดนมองแปลกๆ จากพวกศาสนาเดียวกันแต่พวกที่ไม่ใช่อิสลามก็มองเขาอย่างไม่ไว้วางใจ

            ดิฉันเชื่อว่า ในคณะกรรมการสมานฉันท์ที่เป็นฝ่ายอิสลามจะต้องแสดงความคับแค้นนานับประการที่ได้รับจากบ้านเมือง...ช่วยถามเขาด้วยนะคะ ว่าทุกวันนี้ เขาโดนกดขี่จากใครเขาทำตัวกดขี่คนระดับล่างของเขาเองหรือใครทำ ?มีเรื่องอะไรบ้างที่ภาครัฐปิดโอกาสเขา ไม่ให้ได้รับ แล้วให้แต่ซือแย(ไทยพุทธ) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน

           เคยบ้างไหมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าจะทรงคิดว่าเขาเป็นคนอื่น ท่านทรงมีเมตตากับทุกคน ทุกหมู่เหล่าอย่างไม่เคยเลือกที่รักมักที่ชังอย่างนี้แล้วข้าราชการของท่านจะทำเช่นนั้นได้อย่างไร แผ่นดินนี้ ประเทศนี้ ให้ชีวิตกับเขาได้เจริญก้าวหน้ากว่าคนศาสนาเดียวกัน เขาควรสำนึกในบุญคุณของแผ่นดินและช่วยพัฒนาคนของเขา แต่เขากลับเลือกใช้ความกลัวความไม่รู้ของชนชาติเดียวกับเขา เป็นฐานให้เขาได้เป็นใหญ่ต่อไปเขาทำลายผู้อื่น เพื่อให้ได้สิ่งที่เขาต้องการเขาคิดว่าทำถูกต้องแล้วหรือแล้วพวกคุณก็พลอยเห็นดีเห็นงาม สนับสนุนเขาไปด้วยทั้งที่คุณรู้เห็นอยู่เต็มตาว่า ประเทศที่ผู้นำแตกแยกเป็นก๊ก เป็นเหล่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนแค่ไหน

           ดิฉันขอประณามและสาปแช่งผู้อยู่เบื้องหลังความไม่สงบจงประสบแต่ความวิบัติในชีวิต และขอให้บาปทั้งมวลสืบต่อไปถึงลูกหลานให้เป็นผู้ที่ไม่มีแผ่นดินอยู่อาศัยสมกับที่บรรพบุรุษได้เนรคุณต่อแผ่นดินเกิดขออย่าให้ได้รู้จักกับความสุขสงบเมื่อมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และเมื่อล่วงลับไปสู่โลกหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสรวงสวรรค์ย่อมรับรู้ในบาปชั่วไม่รับวิญญาณขึ้นไปอยู่กับพระองค์ ต้องตกนรกหมกไหม้จนชั่วนิรันดร์เพื่อชดใช้ความผิดอันเลวร้ายที่ทำต่อมนุษย์ผู้บริสุทธิ์และแผ่นดินที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

หนึ่งในครูภาคใต้

ภัยแทรกซ้อนผลประโยชน์มหาศาลของ BRN


ภัยแทรกซ้อนผลประโยชน์มหาศาลของ BRN


            นับตั้งแต่ปี 2547เป็นต้นมาที่กลุ่ม BRN ได้ปล้นปืนกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายปิเหล็ง ไฟใต้ได้ลุกโชนมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงทุกรูปแบบที่กลุ่ม BRN ได้สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินของทางราชการและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องล้มตายลงแทบไม่เว้นแต่ละวัน แม้ว่ารัฐบาลโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่พยายามทุกวิถีทางที่จะดับไฟใต้ด้วยนโยบายต่าง ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ไฟใต้ได้ดับลงโดยเร็วที่สุดแล้วก็ตาม จนกระทั่งล่าสุดก็คือการพูดคุยตกลงกับกลุ่ม BRN ก็ต้องล้มคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่าแล้วปัญหาที่แท้จริงนั้นคืออะไร

          สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีปัญหาภัยแทรกซ้อนที่แฝงตัวอยู่ในรูปของผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่ม BRN เช่น สินค้าหนีภาษี น้ำมันเถื่อน ยาเสพติด และการค้าแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงท่อใหญ่อย่างดีให้กับกลุ่ม BRN ในการก่อความรุนแรงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นได้เชื่อมโยงไปถึงแหล่งที่มาของท่อน้ำเลี้ยงที่ให้การสนับสนุนการก่อเหตุความรุนแรงแต่ละครั้ง ดังเช่นเหตุการณ์ที่กลุ่ม BRN ได้เข้าโจมตีฐานร้อย.ร.15121(ฐานพระองค์ดำ) เมื่อวันที่ 19 มกราคม2554ที่ผ่านมาก็เนื่องจากหน่วยนี้เป็นจุดที่ตั้งด่านตรวจเพื่อสกัดกั้นภัยแทรกซ้อนดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการสิ่งผิดกฎหมายที่ใช้เส้นทางนี้ในการลักลอบขนส่ง โดยเฉพาะน้ำมันเถื่อนไม่พอใจเพราะได้มีการจับกุมน้ำมันเถื่อนได้หลายครั้งสร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการมีมูลค่ามหาศาล ผู้ประกอบการจึงมีการระดมทุนที่เรียกว่าลงขันประมาณ 1 ล้านบาทเพื่อใช้ในการเข้าตีฐานแห่งนี้


         การปราบปรามน้ำมันเถื่อนได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้จับกุมวันละประมาณ 60 คัน พอเริ่มจับกุมในที่พื้นที่จังหวัดยะลาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 ก็เริ่มมีระเบิดที่ จังหวัดยะลา แต่ระเบิดครั้งนี้มันแตกต่างจากระเบิดครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมาก็คือมันเกิดเปลวเพลิงขนาดใหญ่เผาผลาญตึกแถวในตัวเมืองยะลาไป 11 คูหา ก็ขยายผลปราบปรามหนักขึ้นไปอีกไปตรวจค้นโกดังน้ำมันเถื่อนที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส แล้วก็มีระเบิดอีกครั้งที่ร้านคาราโอเกะ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาสจนกระทั่งมีเหตุระเบิดอีกครั้งในจังหวัดยะลา จากการเข้าตรวจค้นจับกุมรายใหญ่ทุกครั้ง ประมาณ 1-2 วัน ก็จะมีเหตุระเบิดตามมาทุกครั้ง จนตรวจค้นไปถึงโกดังของเจ้าพ่อรายใหญ่ในพื้นที่และมีการตรวจค้นโกดังหลายแห่งจับกุมน้ำมันได้หลายหมื่นลิตร


         จากการตรวจค้นโกดังของ นาย นูซันตารา แวดือราแม หรือผู้ใหญ่ตารา ในพื้นที่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก็ยอมรับว่าได้ค้าน้ำมันเถื่อนจริง ได้มีการส่งรถน้ำมันไปในพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส วันละประมาณ 20,000 ลิตร ผู้ใหญ่ตาราฯ เป็นผู้ค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่รายหนึ่ง มีเรือบรรทุกน้ำมันถึง 30 กว่าลำ แล้วก็ขยายจากผู้ใหญ่ตาราฯ ไปยังพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบโกดังขนาดใหญ่ มีแท้งค์ขนาด 30,000 ลิตร อยู่จำนวน 6-7 ถัง พบหลักฐานการนำน้ำมันเถื่อนปลอมปนกับน้ำมันพฤติกรรมก็คือ ไปซื้อน้ำมันมาจำนวน 10,000 ลิตร แล้วนำน้ำมันเถื่อนผสมลงไปอีก 30,000 ลิตรแล้วนำไปส่งที่ปั๊มต่างๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้


         สำหรับรายนี้ก็จะมีเครือข่ายอยู่จำนวน 14 แห่ง ยังพบหลักฐานสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เอกสารการเบิกถอนเงินของชมรมอิหม่ามรือเสาะ จากการตรวจสอบพบว่ามีการถอนเงินจากสหกรณ์ อิพนูอัฟฟาน จำนวน 3 บัญชี ในวันที่19 และ 20มกราคม 2554จำนวน 1,015,000บาท โดยเจ้าของคือนายมนัส ตาฮี

           จากข้อมูลนั้นพบความเชื่อมโยงของนายมนัส - ตาฮี กับเครือข่ายของนายอับดุลฮาเล็ง ยามาสกา แกนนำพื้นที่ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และมีความเชื่อมโยงไปถึง นายซูฟียัน ยะกูมอ ซึ่งเป็นชุดปฏิบัติการที่เข้าโจมตีฐาน ร้อย.ร.15121 จากการตรวจสอบมีข้อมูลว่าเดือนพฤศจิกายน2553 นายมนัส ตาฮี ได้จ่ายเงินให้กับเครือข่ายของนายซูฟียันฯ จำนวน 400,000 บาท โดยจ่ายเงินผ่านนางซูกีนา ยามาสกา ลูกสาวของนายอับดุลฮาเล็งฯ


             ต่อมาได้มีการขยายผลจากพื้นที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ไปยังพื้นที่จังหวัดยะลา เข้าตรวจค้นแหล่งสะสมน้ำมันหลังมัรกัสจังหวัดยะลา สามารถตรวจยึดบุหรี่หนีภาษีได้จำนวน20,000 กว่าคอตตอน มูลค่าประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งมี นายสุไฮมิง อาลีมามะเป็นเจ้าของและตรวจสอบเอกสารก็พบหลักฐานว่ามีการจ่ายเงินจากเครือข่ายสินค้าหนีภาษี และน้ำมันเถื่อน ไปยังสถานที่โรงเรียนตาดีกาตันหยงนากอ ซึ่งเป็นเครือข่ายฝ่ายเศรษฐกิจของนายอาหมัด ตือง๊ะ ที่ อำเภอบันนังสตา และ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาตรวจพบบัญชีที่มียอดเงินประมาณ8,000,000 บาท จากการตรวจสอบเลขบัญชี และเอกสารต่างๆ พบพฤติกรรม คือจะมีการโอนเงินทุกคืน ในห้วงเวลา 22.00– 24.00นาฬิกา คืนละประมาณ 200,000– 300,000 บาท มากที่สุด800,000 บาท รวมแล้วสัปดาห์ละ 2-5 ล้านบาท หนึ่งเดือนก็ประมาณ 20 ล้านบาท


           จากการติดตามตรวจสอบบัญชีพบโอนมาที่บัญชีนายมาหามะ โครมัส/ลาลา โกลก ที่ทำธุรกิจเรื่องการค้าผ้ามือสองบังหน้าอยู่ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ก็พบบัญชีที่มีวงเงินจำนวนมากเดือนละหลายสิบล้านบาท โดยมีการโอนมาจากจังหวัดอยุธยา, กรุงเทพ, สมุทรปราการ, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ยะลา. และ ในพื้นที่ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยมีพฤติการณ์หิ้วขนเงินสดวันละประมาณ 3 - 5 ล้านบาท นำไปฝากเข้าธนาคารในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเชีย แล้วพบการโอนเงินไปใน ประเทศมาเลเชีย,อินโดนีเซีย,ซาอุดิอาระเบีย, ปากีสถาน และ อัฟกานิสถานและยังพบโฉนดที่ดินจำนวนมาก รวมแล้วมีจำนวน 189 แปลง เป็นที่ดิน 184 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินในเขตเมืองที่มีมูลค่าสูง รวมมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท

           ข้อมูลที่ได้เชื่อมโยงข้ามประเทศ มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายของชมรมสมาคมไทย –ปากีสถาน ซึ่งมีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่าอีกไม่นานแผ่นดินนี้ก็จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะเป็นพลเมืองของประเทศใหม่ ก็สามารถลงหลักปักฐานทำมาหากินและทำธุรกิจได้ จึงให้นายมาหามะ โครมัส เป็นตัวแทนนายหน้าในการถือครองที่ดิน


 

            ท่านผู้อ่านครับ นี่เป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งเท่านั้นเอง ยังมีความเชื่อมโยงให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตัวตนที่แท้จริงของกลุ่ม BRN อีกมากมาย เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วพอจะมองภาพออกแล้วซินะครับว่า “ทำไม”สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงดูเหมือนกับว่าไม่มีวี่แววจะสงบลงได้ง่าย ๆถ้าเป็นเพียงแต่คำกล่าวอ้างจากกลุ่ม perMAS ซึ่งเป็นองค์กรบังหน้าโดยใช้เยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษาที่ถูกครอบงำทางความคิดผิด ๆ ในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และอัตลักษณ์ โดยฝังรากมาตั้งแต่โรงเรียนตาดีกาหรือปอเนาะแล้วนั้นมันคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ 

            แต่ปัญหาภัยแทรกซ้อนเหล่านี้คือผลประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่ม BRNที่เชื่อมโยงไปถึงเครือข่ายภายนอกประเทศที่มีผลประโยชน์ร่วมกันและมีการวางแผนกันอย่างเป็นระบบ ที่ทำให้การแก้ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความยากลำบากในการแก้ปัญหาซึ่งในระดับรัฐบาลต้องประสานการปฏิบัติในการแก้ปัญหาเหล่านี้ให้สอดคล้องร่วมกัน และที่สำคัญพี่น้องประชาชนทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันทำให้แผ่นดินนี้ไม่ให้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างของชมรมสมาคมไทย – ปากีสถาน ที่มีการไปประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศว่า“อีกไม่นานแผ่นดินนี้ก็จะเป็นประเทศเกิดใหม่ ฉะนั้นถ้าใครมาถือครองที่ดินไว้ที่นี่ก็จะเป็นพลเมืองของประเทศใหม่” เราจึงจะสามารถก้าวพ้นปัญหาเหล่านี้ไปได้ มิฉะนั้นการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ดูเหมือนว่าจะถึงทางตัน หรือมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เลย

แหวะอก BRN

BRN กับความรับผิดชอบ “เหตุระเบิดยะลา”


BRN กับความรับผิดชอบ “เหตุระเบิดยะลา”

แบมะ ฟาตอนี

                ศูนย์ปฏิบัติการเยียวยาฯ สรุปยอดความเสียหายคาร์บอมบ์กลางเมือง 2 ครั้ง สูญเงินกว่า154 ล้าน สำนักข่าวแทบทุกฉบับได้ฉั่วหัวข่าวรายงานความเสียหายเหตุคนร้ายคาร์บอมบ์ใจกลางเมืองยะลา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 และ 7 เมษายน 2557








           เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2557 คนร้ายได้นำระเบิดบรรจุในถังแก๊สน้ำหนักประมาณ 100กิโลกรัม ซุกในรถยนต์กระบะมาสด้า บีที 50 สีขาว มาจอดที่หน้าร้านราชาเฟอร์นิเจอร์ ถนนสิโรรส อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แล้วจุดชนวนระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บจำนวน 28 ราย นอกจากนั้นคนร้ายยังได้นำระเบิดซุกในรถจักรยานยนต์แบบพ่วงข้าง มาจอดที่ร้านฟ้าใส ถนนสิโรรส แล้วจุดชนวนระเบิด แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งยังได้นำระเบิดมาวางอีก 2 จุด และในวันที่ 7 เมษายน 2557 คนร้ายยังได้ลอบวางระเบิดร้านสะดวกซื้อ กศน.ยะลา และโกดังศรีสมัย ทำให้ได้รับความเสียหายมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ตามข่าวที่สื่อได้นำเสนอไปแล้วนั้น

              "ระเบิดชนิดแสวงเครื่อง" หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Improvised Explosive Device (IED) เป็นวัตถุระเบิดที่ประกอบขึ้นจากวัสดุที่หาได้ทั่วๆ ไป แต่ที่น่าสะพรึงกลัวคือ "วิธีจุดระเบิด" ที่มีหลายวิธี เช่น ตั้งเวลา ดึง สะดุด หรือใช้รีโมทคอนโทรล โดยถูกใช้มากในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มีระเบิดเกิดขึ้นจำนวน 2,889 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นระเบิดแสวงเครื่องเกือบทั้งสิ้น เช่นเดียวกับเหตุระเบิดใจกลางเมืองยะลาในครั้งนี้


            เหตุระเบิดครั้งใหญ่สุดที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 เวลา11.50 น. เหตุเกิดบริเวณถนนสายรวมมิตร ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจสร้างความเสียหายให้กับผู้ประกอบการร้านค้ากันถ้วนหน้า เป็นวันเดียวกับเหตุคาร์บอมบ์ที่โรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกกระทั่งเลขาธิการสหประชาชาติถึงกับออกแถลงการณ์ประณามผู้ก่อเหตุรุนแรง ทุกวันนี้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวต่างจดจำภาพแห่งการสูญเสียในวันนั้นได้เป็นอย่างดี ความรู้สึกไม่ทันจะจางหาย เหตุการณ์ร้ายได้กลับมาตอกลิ่มซ้ำเติมเข้าไปอีก

               ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ สิ่งที่ตามมาคือความสูญเสีย โจรใต้ BRN เหล่านี้ได้พรากชีวิตบุคคลอันเป็นที่รักไปจากครอบครัวอย่างไม่มีวันกลับ ความเสียหายของทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน ร้านค้าสามารถเยียวยากันได้ แต่การเยียวยาด้านจิตใจให้กลับมาเหมือนดั่งเดิมเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง



              เช่นเดียวกับการก่อเหตุรุนแรงของโจรใต้ BRN ในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 6 และ 7เมษายน 2557 ที่ผ่านมา จากรายชื่อผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะเห็นได้ว่าโจรใต้ BRN ทำการก่อเหตุโดยไม่เลือกเป้า โดยเฉพาะเด็กและสตรีพี่น้องมุสลิมที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนหลายราย ซึ่งตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของกลุ่มขบวนการBRN ที่ได้เคยกล่าวอ้างมาโดยตลอดว่าเป็นตัวแทนของประชาชนชาวปาตานีที่ จะทำการต่อสู้เพื่อประชาชนขาวปาตานี ต้องการปลดปล่อยจากการครอบครองของรัฐไทยให้เป็นเอกราช แต่ได้แสดงธาตุแท้ให้เห็นว่าโจรใต้เหล่านี้สุดโต่ง ไร้อุดมการณ์ และเป็นมุนาฟิกอย่างแท้จริง ที่ได้กระทำต่อพี่น้องศาสนิกเดียวกันเอง

            เคยมีสักครั้งมั๊ย? ที่แกนนำขบวนการ BRN กล้ายืดอกแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างชายชาตินักรบ ที่มีการเรียกขานตัวเองว่าเป็นนักรบปาตานี หรือจะเป็นได้แค่โจรใต้ (กระโปรง) ที่มักแต่งกายคล้ายหญิงลงมือก่อเหตุ หลายต่อหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาคงจะจำกันได้ดี โจรใต้เหล่านี้ไม่กล้าที่จะแสดงความรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น แต่กลับโยนความผิดกล่าวหาบิดเบือนว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐมาโดยตลอด

               ประชาชนต่างเอือมระอาต่อพฤติกรรม และการกระทำที่โฉดชั่วของโจรใต้ BRNเต็มที ทุกวันนี้ทุกคนต่างอยู่อย่างผวา โดนคุกคามข่มขู่ฆ่า ถูกปิดปากห้ามแสดงความคิดเห็น หรือให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเด็ดขาด สร้างความหวาดกลัวจนกระทั่งนำไปสู่การอยู่นิ่งเฉยไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้ไม่เห็นกับการกระทำอันสุดโต่งของโจรใต้ ผลลัพธ์คือโจรชั่วมีอิสระในการเคลื่อนไหวลงมือก่อเหตุ เพราะไม่มีผู้ใดที่จะกล้าแจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายสุดท้ายคือการแสดงศักยภาพ การแสดงอำนาจให้คนทั้งประเทศ และต่างประเทศได้รับรู้ อีกทั้งโจรใต้ BRN สร้างความเกรงกลัวให้กับพ่อค้ายาเสพติด ผู้ลักลอบสินค้าหนีภาษี น้ำมันเถื่อน และกลุ่มขบวนการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนจำนวนมหาศาลในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้



          ผลลัพธ์สุดท้ายประชาชนชาวปาตานีที่ยังไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม เพอุบายของโจรใต้ BRNก็จะตกเป็นเหยื่อโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง ลูกหลานถูกมอมเมาจากยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในหมู่บ้าน ซึ่งจำหน่ายโดยพ่อค้ายาที่ได้รับการสนับสนุนจากขบวนการ BRN อยู่เบื้องหลัง และที่สำคัญที่สุดเมื่อพ่อค้ายา หรือกลุ่มที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเหล่านี้เป็นเครือข่ายของขบวนการ BRN แล้ว ก็จะเป็นแหล่งเงินทุน ท่อน้ำเลี้ยงส่งเสบียงให้กับกลุ่มขบวนการในการจัดหาอาวุธ และสารประกอบระเบิด เพื่อกลับมาทำลายเศรษฐกิจ ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ บ่อนทำลายการอยู่ร่วมกันอย่างพหุวัฒนธรรม ทำลายชีวิตประชาชนผู้บริสุทธิ์แม้กระทั่งพี่น้องประชาชนชาวไทยมุสลิมที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกันกับโจรใต้เหล่านี้ก็ไม่เว้น แล้วความสันติสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร??

ผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่







ทำไมต้องมีกฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต.


ทำไมต้องมีกฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต.


โดย..บินหลา ปัตตานี



             บ้านก็มีกฎบ้าน เมืองก็มีกฎเมือง เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมมนุษย์ เมื่อมีการรวมกลุ่มกัน ไม่ว่ากลุ่มเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องมีกฎของชุมชนหรือรัฐเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้คนส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข ซึ่งกฎที่กำหนดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่,อีกทั้งความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ชื่อที่เรียกแต่ละรัฐจะแตกต่างกัน แต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายเหมือนกันคือ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย บังคับ และลงโทษผู้ที่ละเมิดต่อกฎที่กำหนด สำหรับประเทศไทย มีการปรับปรุงแก้ไขตามยุคสมัยและห้วงเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ณ เวลานั้นๆ ปัจจุบันประเทศไทย มีการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ อาทิ กฎหมายรัฐธรรมนูญฯประมวลกฎหมายแพ่งและอาญาและกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก พ.ศ.2547, พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551, พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548



           กฎหมายพิเศษ จะมีการประกาศใช้ตามความจำเป็นและความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในภาพรวมแล้วจะอำนวยความสะดวกให้กับจนท.ในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งแต่ละฉบับจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนและแตกต่างกันไปบ้างใน จชต. มีการบังคับใช้กฎหมายเหมือนพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย แต่เพิ่มกฎหมายพิเศษอีก จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งมีผู้ไม่หวังดีพยายามบิดเบือน สร้างกระแสเพื่อให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวโดยอ้างว่าละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ผู้เขียนขอยกตัวอย่างบุคคลและองค์กรที่ออกมาต่อต้านพอสังเขปดังนี้



          มูลนิธิ ศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) อ้างว่ากฎหมายพิเศษคือสิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง
สันติภาพใน 3 จชต.ประชาชนใน จชต. และ 4 อำเภอของจำหวัดสงขลาถูกบังคับด้วยกฎหมายพิเศษ 2 ฉบับ ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติทั้งที่ยังไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องหา


           สมาคมผู้หญิงปาตานี ในการจัดเสวนา 100 ปี กฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานีกับการบังคับให้สูญหายของเสียงเรียกร้อง ที่ มอ.ปัตตานีกล่าวว่า รัฐไทย ได้ใช้กฎหมายพิเศษต่อประชาชนปาตานีไปในเชิงลบ สามารถบุกรุกค้นหาในบ้านยามวิกาล และกระทำผิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานมีผลกระทบโดยตรง ต่อผู้เสียหายเวลา 10 ปี รัฐบาลไม่เคยทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษใน จชต. ไม่เคยสอบถามประชาชน ในพื้นที่ และนายกริยา มูซอ อดีตเลขาธิการ Rec Mas ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี การใช้กฎหมายพิเศษของรัฐบาลไทยใน จชต. นั้นเพื่อต้องการข่มขู่ประชาชน

       นาย ชินทาโร่ ฯ กล่าวว่า การประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทำให้ จนท.รัฐ มีอำนาจที่เกินขอบเขต จนท.รัฐ ใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิมนุษยชน

         ก่อนที่จะให้ทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ จชต. ผู้เขียนขอแนะนำให้รู้จักข้อกำหนด และขอบเขตของกฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับพอสังเขปดังนี้

  • พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.๒2547 ประกาศใช้เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น เช่นสงคราม, จลาจล ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นไม่ต่ำกว่าระดับกองพันมีอำนาจในการประกาศใช้ จนท.ฝ่ายทหารจะมีอำนาจเหนือ จนท. ฝ่ายพลเรือน จนท.ฝ่ายทหาร มีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, เกณฑ์, ห้าม, ยึด, เข้าพักอาศัย, ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, ขับไล่ และกักตัวไว้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งฝ่ายทหารมีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงลำพังในการแก้ปัญหา ทำให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ นายกรัฐมนตรี โดย ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบังคับใช้ ทั่วราชอาณาจักรหรือบางเขตพื้นที่โดยบังคับใช้ ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน สามารถประกาศขยายเวลาออกไปได้คราวละไม่เกิน 3 เดือน มีข้อกำหนด ห้ามมิให้บุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด, ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน, ห้ามการเสนอข่าว, การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือสิ่งพิมพ์ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ, ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ, ห้ามการใช้อาคารหรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใด
  • พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ประกาศใช้เพื่อป้องกัน, ควบคุมแก้ไข และฟื้นฟูสถานการณ์ใดๆ ที่เป็นภัยหรืออาจเป็นภัยอันเกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สงบสุข ทำลาย หรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ ให้กลับสู่สภาวะปกติ มีอำนาจออกข้อกำหนด, ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด, ห้ามเข้าหรือให้ออกจากบริเวณพื้นที่อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด, ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน, ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ, ให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
         กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ อาจแยกประกาศพื้นที่ละฉบับ หรือพื้นที่หนึ่งทั้งสองฉบับก็ได้ เช่นใน 3 จชต. เว้น อ.แม่ลาน ประกาศกฎอัยการศึกคู่กับ พ.ร.ก. พ.ศ.2548

         ทำไมต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เพื่ออะไร และมันกดขี่ข่มเหงประชาชนที่เขากล่าวกันจริงหรือเป็นสิ่งที่หลายคนคิดและใคร่ที่จะรู้



            มูลเหตุที่ต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษใน จชต.สืบเนื่องมาจาก การก่อเหตุรุนแรงของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนเมื่อมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กฎหมายปกติไม่สามารถบังคับใช้อย่างได้ผล เช่นการติดตามจับกุมผู้กระทำผิด จริงอยู่ จนท. ตำรวจสามารถปฏิบัติได้ แต่ไม่สะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ เนื่องจากติดขัดในอำนาจของกฎหมายที่พึงปฏิบัติได้ เช่น การตรวจค้นต้องมีหมายค้นเป็นต้น สามารถควบคุมตัวเพื่อสอบสวนได้อย่างจำกัด สำหรับ จนท.อื่นๆ เช่น ฝ่ายปกครอง ทหารไม่มีอำนาจ หน้าที่ในการปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุหรือภัยที่เกิดขึ้นเกินกำลังที่ตำรวจ จะ




             ดำเนินการได้ จึงจำเป็นต้องประกาศใช้กฎหมายพิเศษ เช่นกฎอัยการศึก ทำให้ จนท.ทหารมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติช่วยเหลือตำรวจในการแก้ปัญหา เช่น การติดตาม จับกุม และตรวจค้นได้ โดยไม่ต้องขอหมายค้นทำให้สะดวกรวดเร็วในการแก้ปัญหา และระงับเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติของจนท.อีกหลายๆเรื่องตามที่กำหนดจึงเป็นการ เติมเต็มช่องว่างกฎหมายปกติให้มีความสมบูรณ์มากขึ้นโดยประกาศใช้ในพื้นที่ จว.ป.น., จว.ย.ล. และ จว.น.ธ. ยกเว้น อ.แม่ลาน จว.ป.น.


              สำหรับ พ.ร.ก. พ.ศ.2548 เป็นข้อกำหนดที่อำนวยความสะดวกให้กับ จนท. ในเรื่องการห้ามปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้สะดวกในการแยกระหว่างคนดี และคนร้าย และเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน และเสริมกฎอัยการศึก ในเรื่องการกักตัวเพิ่มขึ้นอีก 30 วัน ทำให้ จนท. มีระยะเวลาในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย หรือผู้กระทำผิดได้มากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะว่าเมื่อครบ 7 วัน ตามอำนาจของกฎอัยการศึก ถ้าหาหลักฐานความผิดไม่ได้ จะต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือผู้ร้ายไป เมื่อปล่อยแล้วคนร้ายก็จะหลบหนี และกลับมาก่อเหตุสร้างสถานการณ์อีก ใน จชต. ประกาศใช้ใน พื้นที่ จว.ป.น., จว.ย.ล. และ จว.น.ธ. ยกเว้น อ.แม่ลาน จว.ป.น.



  • พ.ร.บ.2551 ให้ประกาศในพื้นที่ที่เกิดเหตุไม่รุนแรงมากนักใน จชต. ได้แก่ 4 อำเภอของ จว.ส.ข. และ อ.แม่ลาน จว.ป.น. ซึ่งจะมีข้อห้ามต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นเพื่ออำนวยความสะดวกและเกื้อกูลในการปฏิบัติของ จนท. ในการป้องกันการก่อความไม่สงบ และที่สำคัญคือเปิดโอกาสให้ผู้ที่กระทำผิดได้เข้าแสดงตนเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อกลับออกมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขกับครอบครัวต่อไป และมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของ จนท. ที่นอกเหนือจากกฎหมายปกติที่ได้กำหนดไว้ด้วย

             กฎหมายพิเศษทั้ง 3 ฉบับ ถ้าดูอย่าผิวเผินแล้ว จะเห็นว่ากฎหมายให้อำนาจ จนท. ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกดขี่ข่มเหงประชาชน แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีการปฏิบัติที่อ่อนตัว จนท.ใช้ดุลยพินิจในการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และห้วงเวลานั้นๆ ไม่ได้ใช้อำนาจเต็มตามข้อกำหนดตลอด โดยให้กระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของประชาชนน้อยที่สุด ข้อห้ามต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ปกติ จนท.จะไม่ห้ามโดยให้ประชาชนปฏิบัติตามปกติ และมีอิสระในการปฏิบัติ จะห้ามก็ต่อเมื่อเห็นว่าไม่ปลอดภัย ซึ่งในห้วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เช่นเหตุระเบิดที่ อ.เมืองยะลา ก็จะห้ามใช้เส้นทางที่ผ่านจุดเกิดเหตุเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มความสะดวกต่อ จนท.ในการระงับเหตุหรือช่วยเหลือ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายก็จะให้ประชาชนปฏิบัติตามปกติ ดังนั้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั่วๆไป และประพฤติโดยสุจริต จะไม่รู้สึกเดือดร้อนกับการประกาศใช้กฎหมายพิเศษนอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับความเสียหายเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ จนท. ตามกฎหมายพิเศษได้ด้วย




            กฎหมาย คือ ข้อกำหนดให้ปฏิบัติและห้ามปฏิบัติเป็นธรรมดาที่บางคนหรือบางกลุ่มไม่พอใจโดยเฉพาะกลุ่ม ผกร. และกลุ่มที่ทำผิดกฎหมาย เพราะไปขัดขวางการปฏิบัติที่ไม่ดีของพวกเขา จึงพยายามทุกวิถีทางให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษเพื่อจะได้ก่อเหตุและทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายได้โดยสะดวกกฎหมายพิเศษอาจจะจำกัดเสรีภาพบางประการ แต่เพื่อความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ผู้เขียนคิดว่าประชาชนที่คิดดีทำดีซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่น่าจะเข้าใจและยอมรับได้

           ท้ายนี้ ผู้เขียนใคร่ขอวิงวอนองค์กรทุกภาคส่วนอย่าได้สร้างความแตกแยกในสังคม ซึ่งไม่เกิดผลดีอันใดเลย ทุกคนคงไม่อยากเห็นการบาดเจ็บ และล้มตายเป็นอยู่อย่างนี้อีกต่อไป ไม่ว่าฝ่ายใดก็เป็นคนไทยด้วยกันทั้งนั้น มาช่วยกันสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นจะดีกว่า 

หวังว่า อีกไม่นานคงจะได้เห็นวันนั้น……
“ วันที่ทุกคนรอคอย ”
Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม