ทำไม พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมจากอินเดีย
สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศอินเดียนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การเสื่อมทางด้านศีลธรรม, การแตกแยกและการขัดแย้งกันทางนิกาย, การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน, การทำลายล้างของมุสลิม เป็นต้น ในที่นี้ขอแสดงเฉพาะหัวข้อ "การทำลายล้างของมุสลิม" ก่อน เพราะเห็นว่าเหมาะสมกับสถานะการปัจจุบัน...
การทำลายล้างของมุสลิม
************************
เมื่อบรรดาเจ้าครองนครฮินดูเลิกอิจฉาริษยากันเองหันมาจับมือกัน ก็สามารถยับยั้งความบ้าเลือดของศัตรูไว้ได้เป็นเวลาถึง 3 ศตวรรษ แต่เมื่อความสงบเกิดขึ้น พวกเจ้านครฮินดูก็ตั้งตนอิจฉาริษยากันเองอีก บางองค์ถึงกับชักศึกเข้าบ้าน เช่น เจ้าครองนครกัญญากุพชะไปขอธิดาของพระเจ้าปฤฐวีราช กษัตริย์แห่งเดลฮี เมื่อถูกปฏิเสธก็เจ็บแค้น ได้ขอให้กองทัพอิสลามมาช่วงตีพระเจ้าปฤฐวีราช พวกอิสลามจึงถือโอกาสเข้ายึดเดลฮีไว้ได้ในพุทธศวรรษที่ 15
กษัตริย์อิสลามชาวอาฟกานิสถาน ชื่อ "มหหมุด" ได้กรีธาทัพไปปล้นอินเดียถึง 17 ครั้ง มหหมุดได้ประกาศคำขวัญไว้สำหรับทหารมุสลิม (ผู้นับถืออิสลาม เรียกว่ามุสลิม) ว่า "จงไปบูชาลงโทษพวกบูชารูปเคารพ จงทำลายโบสถ์วิหารของมัน จงให้มันกลับใจมานับถือพระอัลลาห์"
กองทัพอิสลามได้ยกเข้าล้อมมหาวิทยาลัยนาลันทาไว้แล้วได้ใช้ไฟเผามหาวิทยาลัยเสียเรียบ ขนเอาทรัพย์สมบัติไปมหาศาล แล้วปล้นเอาทรัพย์สมบัติตามวัดต่างๆ ฆ่าฟันพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่พบเห็น พระพุทธศาสนาซึ่งเหลือที่มั่นสำคัญแหล่งสุดท้ายอยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว ก็เลยถูกถอนรากถอนโคนไม่มีอะไรเหลืออีก พระสงฆ์ที่รอดตายได้หนีเข้าไปในเนปาลและธิเบต และไม่มีผู้ใดกล้ากับมาอินเดียอีกเลย
พระพุทธศาสนาซึ่งเกิดในอินเดีย และเจริญในอินเดียเป็นเวลา 1,700 ปีกว่า จึงถึงกาลอวสานด้วยสาเหตุหลายประการดังที่กล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดความสลดใจและความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง และเป็นบทเรียนที่มีค่ามากที่สุดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก
สาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากประเทศอินเดียนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การเสื่อมทางด้านศีลธรรม, การแตกแยกและการขัดแย้งกันทางนิกาย, การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน, การทำลายล้างของมุสลิม เป็นต้น ในที่นี้ขอแสดงเฉพาะหัวข้อ "การทำลายล้างของมุสลิม" ก่อน เพราะเห็นว่าเหมาะสมกับสถานะการปัจจุบัน...
การทำลายล้างของมุสลิม
************************
ในปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ขุนพลอิสลามชื่อ "โมฮัมหมัดเบนกาซิม" ได้ยกทัพเข้ามาทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ได้เข้าโจมตีแคว้นสินธุ์และแคว้นมลดาล แล้วเข้ายึดครองบริเวณนี้ไว้ ตั้งราชวงศ์อิสลามขึ้นเป็นเวลา 3 ศตวรรษ พระพุทธศาสนาที่อยู่ในบริเวณนี้ก็ถูกทำลายลงสิ้นบรรดาเจ้าครองนครฮินดูทั้งหลาย ได้ผนึกกำลังกันต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเพื่อไม่ให้กองทัพอิสลามล้ำเข้ามาในลุ่มแม่น้ำคงคา
วีรกรรมของชาวอินเดียผู้รักชาติเหล่านี้ จะเห็นได้จากพวก "ราชบุตร" (คือ ชนเผ่าอารยัน ปัจจุบันมีอยู่มากในแคว้นราชสถาน) เช่น ครั้งหนึ่ง ในยุทธสงครามในแคว้นราชสถานพวกราชบุตรตายในที่รบหมด ส่วนบรรดามเหสีเมื่อทราบข่าวก็ไม่ยอมตกเป็นเชลยของอิสลาม พวกนางได้ก่อไฟบนเชิงเทินแล้วกระโดดเข้ากองไฟหมดทุกคน ผู้ที่ได้รับความย่อยยับมาก คือ คณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เพราะอินเดียภาคตะวันตกมีวัดวาอารามเป็นเรือนหมื่น วัดเหล่านี้ถูกพวกอิสลามเผาพลาญหมด ปล้นสะดมเอาทรัพย์สมบัติไป พระสงฆ์ได้อพยพหนีภัยเข้าสู่แคว้นมคธและแคว้นเบงกอลเป็นจำนวนแสน
เมื่อบรรดาเจ้าครองนครฮินดูเลิกอิจฉาริษยากันเองหันมาจับมือกัน ก็สามารถยับยั้งความบ้าเลือดของศัตรูไว้ได้เป็นเวลาถึง 3 ศตวรรษ แต่เมื่อความสงบเกิดขึ้น พวกเจ้านครฮินดูก็ตั้งตนอิจฉาริษยากันเองอีก บางองค์ถึงกับชักศึกเข้าบ้าน เช่น เจ้าครองนครกัญญากุพชะไปขอธิดาของพระเจ้าปฤฐวีราช กษัตริย์แห่งเดลฮี เมื่อถูกปฏิเสธก็เจ็บแค้น ได้ขอให้กองทัพอิสลามมาช่วงตีพระเจ้าปฤฐวีราช พวกอิสลามจึงถือโอกาสเข้ายึดเดลฮีไว้ได้ในพุทธศวรรษที่ 15
กษัตริย์อิสลามชาวอาฟกานิสถาน ชื่อ "มหหมุด" ได้กรีธาทัพไปปล้นอินเดียถึง 17 ครั้ง มหหมุดได้ประกาศคำขวัญไว้สำหรับทหารมุสลิม (ผู้นับถืออิสลาม เรียกว่ามุสลิม) ว่า "จงไปบูชาลงโทษพวกบูชารูปเคารพ จงทำลายโบสถ์วิหารของมัน จงให้มันกลับใจมานับถือพระอัลลาห์"
เพราะฉะนั้นกองทัพอิสลามภายใต้การนำของมหหมุด เมื่อไปถึงไหน พระพุทธศานาและศาสนาพราหมณ์ก็ฉิบหายย่อยยับในที่นั้น ประชาชนถูกบังคับให้ยอมรับนับถือศาสนาใหม่ ที่ไม่ยอมก็ถูกประหาร ในการสงคราม 17 ครั้งของทรราชผู้นี้ในอินเดียมีอยู่ครั้งเดียวที่แพ้ คือ สงครามแคว้นแคชเมียร์ กษัตริย์แห่งแคชเมียร์ได้อาศัยภูมิประเทศอันเป็นปราการธรรมชาติสะกดทัพของอิสลามไว้ได้ แต่อีก 16 ครั้ง อิสลามเป็นฝ่ายชนะ
การฆาตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดมี 2 ครั้ง คือ เมื่อมหหมุดโจมตีเมืองกัญญากุพชะ ได้ฆ่าคนในเมืองประมาณแสนคน จับเป็นเชลย 8 หมื่นคน เชลยเหล่านี้มหหมุดเอาไปขายเป็นทาสคนหนึ่ง 2 รูปีเท่านั้น นครกาบูลในอาฟกานิสถานของมหหมุดกลายเป็นตลาดค้าทาสที่ใหญ่ที่สุดในครั้งนั้น
ในพุทธศตวรรษที่ 16 ขณะที่อินเดียภาคเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้ปกครองของพวกอิสลาม ราชวงศ์กษัตริย์ส่วนมากแม้จะยังมิได้นับถืออิสลามเลยทีเดียว แต่ก็ไม่มีราชวงศ์ใดนับถือพระพุทธศาสนา ยกเว้นราชวงศ์ปาละในมคธและเบงกอล ราชวงศ์ปาละจึงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ตั้งต้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 มาสุดเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18
ภายใต้การอุปถัมถ์ของราชวงศ์นี้ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในมครและเบงกอลหลายแห่ง คือ "นาลันทา" "วิกรมศิลา" "โสมบุรี" และ "อุทันตบุรี" จึงยังสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ในขอบเขตอันหนึ่ง ในบรรดามหาวิทยาลัยเหล่านี้ มหาวิทยาลัยนาลันทาใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด มีนักศึกษาเป็นจำนวนหมื่น มีอาจารย์บรรยาย 1,500 รูป มีห้องประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟังได้ถึง 1,000 คนขึ้นไป 8 ห้อง มีห้องเรียน 300 ห้อง นักศึกษาทั้งหมดกินอยู่ในมหาวิทยาลัย
ในรัชกาลพระเจ้ายักษปาละ เสนาบดีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ "ราวเสน" เป็นขบถ ได้ทำลายราชวงศ์ปาละลง แล้วตั้ง "ราชวงศ์เสนะ" ขึ้น พระพุทธศาสนาจึงไม่มีแคว้นใดเลยในอินเดียที่นับถือเป็นทางราชการนับแต่นั้นมา เพราะราชวงศ์เสนะเป็นฮินดู ในไม่ช้าอิสลามภายใต้การนำของขุนทัพ "บักตยาร์ ขัลจิ" ก็ยกทัพบุกทะลวงมคธในปี พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200) แล้วได้ทำลายมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา อันเป็นมหาวิทยาลัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นที่รวมของวัด 108 วัด มีอาจารย์บรรยาย 800 ท่าน มีนักศึกษาจำนวนหมื่น จดหมายเหตุของธิเบตได้กล่าวไว้ว่า "พวกอาจารย์ขลังแห่งนิกายมัตรยานในวิกรมศิลา ได้ใช้เวทมนตร์ขับไล่พวกอิสลามถอยไปหลายครั้ง แต่ข้าเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะปรากฏว่ากองทัพอิสลามเพียงจำนวน 700 คนก็สามารถทำลายวิกรมศิลาหมด พวกอาจารย์ขลังบางคนก็ถูกฆ่า บางคนหนีไปได้ รูปปฏิมาพระโพธิสัตว์ตารกะที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดก็ถูกอิสลามทำลาย"
การฆาตกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดมี 2 ครั้ง คือ เมื่อมหหมุดโจมตีเมืองกัญญากุพชะ ได้ฆ่าคนในเมืองประมาณแสนคน จับเป็นเชลย 8 หมื่นคน เชลยเหล่านี้มหหมุดเอาไปขายเป็นทาสคนหนึ่ง 2 รูปีเท่านั้น นครกาบูลในอาฟกานิสถานของมหหมุดกลายเป็นตลาดค้าทาสที่ใหญ่ที่สุดในครั้งนั้น
ในพุทธศตวรรษที่ 16 ขณะที่อินเดียภาคเหนือส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้ปกครองของพวกอิสลาม ราชวงศ์กษัตริย์ส่วนมากแม้จะยังมิได้นับถืออิสลามเลยทีเดียว แต่ก็ไม่มีราชวงศ์ใดนับถือพระพุทธศาสนา ยกเว้นราชวงศ์ปาละในมคธและเบงกอล ราชวงศ์ปาละจึงเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดียซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ราชวงศ์นี้ได้ตั้งต้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 มาสุดเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18
ภายใต้การอุปถัมถ์ของราชวงศ์นี้ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในมครและเบงกอลหลายแห่ง คือ "นาลันทา" "วิกรมศิลา" "โสมบุรี" และ "อุทันตบุรี" จึงยังสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ในขอบเขตอันหนึ่ง ในบรรดามหาวิทยาลัยเหล่านี้ มหาวิทยาลัยนาลันทาใหญ่ที่สุด เก่าแก่ที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด มีนักศึกษาเป็นจำนวนหมื่น มีอาจารย์บรรยาย 1,500 รูป มีห้องประชุมขนาดใหญ่ ซึ่งบรรจุผู้ฟังได้ถึง 1,000 คนขึ้นไป 8 ห้อง มีห้องเรียน 300 ห้อง นักศึกษาทั้งหมดกินอยู่ในมหาวิทยาลัย
ในรัชกาลพระเจ้ายักษปาละ เสนาบดีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ "ราวเสน" เป็นขบถ ได้ทำลายราชวงศ์ปาละลง แล้วตั้ง "ราชวงศ์เสนะ" ขึ้น พระพุทธศาสนาจึงไม่มีแคว้นใดเลยในอินเดียที่นับถือเป็นทางราชการนับแต่นั้นมา เพราะราชวงศ์เสนะเป็นฮินดู ในไม่ช้าอิสลามภายใต้การนำของขุนทัพ "บักตยาร์ ขัลจิ" ก็ยกทัพบุกทะลวงมคธในปี พ.ศ. 1743 (ค.ศ. 1200) แล้วได้ทำลายมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา อันเป็นมหาวิทยาลัยที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นที่รวมของวัด 108 วัด มีอาจารย์บรรยาย 800 ท่าน มีนักศึกษาจำนวนหมื่น จดหมายเหตุของธิเบตได้กล่าวไว้ว่า "พวกอาจารย์ขลังแห่งนิกายมัตรยานในวิกรมศิลา ได้ใช้เวทมนตร์ขับไล่พวกอิสลามถอยไปหลายครั้ง แต่ข้าเท็จจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะปรากฏว่ากองทัพอิสลามเพียงจำนวน 700 คนก็สามารถทำลายวิกรมศิลาหมด พวกอาจารย์ขลังบางคนก็ถูกฆ่า บางคนหนีไปได้ รูปปฏิมาพระโพธิสัตว์ตารกะที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดก็ถูกอิสลามทำลาย"
กองทัพอิสลามได้ยกเข้าล้อมมหาวิทยาลัยนาลันทาไว้แล้วได้ใช้ไฟเผามหาวิทยาลัยเสียเรียบ ขนเอาทรัพย์สมบัติไปมหาศาล แล้วปล้นเอาทรัพย์สมบัติตามวัดต่างๆ ฆ่าฟันพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปที่พบเห็น พระพุทธศาสนาซึ่งเหลือที่มั่นสำคัญแหล่งสุดท้ายอยู่ที่นี่เพียงแห่งเดียว ก็เลยถูกถอนรากถอนโคนไม่มีอะไรเหลืออีก พระสงฆ์ที่รอดตายได้หนีเข้าไปในเนปาลและธิเบต และไม่มีผู้ใดกล้ากับมาอินเดียอีกเลย
พระพุทธศาสนาซึ่งเกิดในอินเดีย และเจริญในอินเดียเป็นเวลา 1,700 ปีกว่า จึงถึงกาลอวสานด้วยสาเหตุหลายประการดังที่กล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดความสลดใจและความสะเทือนใจแก่ชาวพุทธทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง และเป็นบทเรียนที่มีค่ามากที่สุดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น