ฮิญาบ ไม่ใช่อิลาม ไม่ใช่การบังคับของพระเจ้า | |||
“ฮิญาบ” (ผ้าคลุมหน้า, คลุมศีรษะ) เป็นประเพณีการคลุมศีรษะ ไม่ใช่เป็น “หลักการของอิสลาม” และไม่มีหลักฐานอ้างอิงหรือสนับสนุนให้ต้องคลุมฮิญาบที่ได้ระบุในคัมภีร์ “อัลกุรอาน” แม้แต่น้อย ดังนั้น คำว่า“ฮิญาบ” จึงไม่ใช่ข้อบังคับการแต่งตัวของผู้หญิงมุสลิม คำว่า “ฮิญาบ” ในอัลกุรอานมีปรากฏอยู่ ๗ ครั้ง มีจำนวน ๕ ครั้งที่ใช้คำว่า “ฮิญาบ” มีอยู่ ๒ ครั้งที่ใช้คำว่า “ฮิญาบัน” จากอายาต ต่อไปนี้; วัลยัดริบนะ บิคุมุริฮินนะ อะลายุยูบิฮินนะ ว่า คำ“ฮิญาบ” ที่พบในอายัตต์เหล่านั้นไม่มีคำใดในอัลกุรอานที่ใช้ในความหมายของ “ฮิญาบ” ที่หมายถึงผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิมที่ใช้บังคับให้มุสลิมมะห์ใช้กันกันอยู่ในทุกวันนี้เลย แสดงว่าพระองอัลลอฮ์ ไม่ได้ให้บังคับใช้ “ฮิญาบ” เป็นข้อบังคับในการแต่งตัวของ “มุสลิมมะห์” ดังที่บรรดาท่านอิหม่ามทั้งหลายอ้างไว้ คำว่า "ฮิญาบ" เป็นคำที่มุสลิมะห์ทั้งหลายใช้เรียกผ้าคลุมศีรษะของเขา ทั้งนี้อาจจะรวมทั้งผ้าที่คลุมทั้งใบหน้าเว้นไว้แต่นัยน์ตาทั้งสองข้าง หรือข้างเดียว คำว่า “ฮิญาบ” ในภาษาอรับอาจจะแปลในความหมายของ “ผ้าคลุมใบหน้าตั้งแต่ส่วนจมูกถึงปลายคาง ส่วนความหมายอื่นๆอาจจะหมายถึง ม่าน, การคลุม, เสื้อคลุมไม่มีแขน, ฝากั้นชั่วคราว, การแบ่งส่วน, ผ้าม่านที่ตกแต่งประตูหน้าต่าง และเครื่องปกคลุมอื่นๆ
ในขนบธรรมเนียมของชาวยิว จะเห็นว่าการคลุมศีรษะของผู้หญิงยิวรวมทั้งผู้ชายด้วยนั้น เนื่องจากถูกบังคับจากผู้นำทางศาสนายิว จะสังเกตเห็นว่า ในปัจจุบันสุภาพสตรียิว ก็ยังใช้ “ฮิญาบ” เป็นส่วนใหญ่แทบทุกโอกาส ในโบสถ์ในการพิธีการแต่งงาน และในพิธีการทางศาสนา ในอเมริกา ตั้งแต่สมัย ๖๐ ปีที่ผ่านมา ผู้หญิงยังนิยมใช้ “ฮิญาบ” ในเวลาไปโบสถ์ และพวกศาสนาหรือชาวอามิช อเมริกันก็ใช้ “ฮิญาบ” อยู่ในทุกๆวันนี้ซึ่งจะใช้อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันผู้หญิงคริสเตียนในอเมริกา ใช้ “ฮิญาบ” ในเวลาไปโบสถ์แต่สำหรับ แคโธริคคริสเตียน “ชี” จะใช้ “ฮิญาบ” อยู่ตลอดเวลา ที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าในตะวันออกกลางชาวชาติเชื้อ อาหรับจะเป็นยิว, คริสเตียน หรือมุสลิมก็ตาม จะใส่“ฮิญาบ” เหมือนกันหมด เพราะว่ามันเป็นประเพณีของชนเชื้อชาวอาหรับมาเป็นเวลานับพันๆ ปี ดังนั้นสำหรับ มุสลิมที่ใส่“ฮิญาบ” ไม่ใช่เพราะ “อิสลาม” แต่เพราะว่าเป็นประเพณีของชาวอาหรับทั้งหญิงและชาย ในตอนเหนือของอาฟริกาบางเผ่าที่เป็นมุสลิม ผู้ชายใส่“ฮิญาบ” แทนที่จะเป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิง เราจะเห็นว่าประเพณีการใส่“ฮิญาบ” กลับเพศกัน ทั้งนี้เพราะ “ฮิญาบ” ไม่ใช่ “อิสลาม” เราจะเห็นว่าแม่ชีในคริสต์ศาสนาบางนิกายคลุม “ฮิญาบ” เช่นเดียวกับหญิงชาวอรับทั้งมุสลิม และไม่ใช่มุสลิมในตะวันออกกลางเช่นกัน ทั้งนี้พอจะสรุปได้ว่า “ฮิญาบ” เป็นเครื่องแต่งกายตามประเพณีของคนเชื้อชาติอาหรับไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอิสลาม หรือศาสนาเลย และในบางภูมิภาคของโลกเรา ในบางประเทศ ผู้ชายเป็นผู้ที่ใส่ “ฮิญาบ” ในขณะเดียวกันประเทศในภาคตะวันออกกลางผู้หญิงเท่านั้นที่ใส่ “ฮิญาบ” แล้วทำไมสุภาพสตรีมุสลิมไทยจะต้องใส่ “ฮิญาบ” ในเมื่อมุสลิมไทยไม่ใช่ อาหรับ และ “ฮิญาบ” ไม่เกี่ยวกับอิสลามเลย ขอยกตัวอย่างประเทศ “จอร์แดน” ประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และผู้นำประเทศก็เป็นมุสลิมเช่นกัน สุภาพสตรีมุสลิมจะสวม “ฮิญาบ” หรือไม่สวมก็ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องฮิญาบ สตรีทุกๆคนมีสิทธิเท่าเทียมกับชายทั้งในทางศาสนา และทางสังคม หลังจากท่านศาสดามูฮัมมัดสิ้นชีพ ผู้จดบันทึก “หนังสือฮาดีษ” ได้รวมเอา“ฮิญาบ” ซึ่งเป็นประเพณี่ดึกดำบรรพ์ มารวมไว้และอ้างว่าเป็นคำสั่งของท่านรอซูลล์ ทั้งๆ ที่เอาตัวอย่างมาจาก ยิว และคริสเตียน ทั้งนี้เพราะเรื่องการสวมใส่ “ฮิญาบ” ไม่ได้มีบัญญัติไว้ในอัลกุรอาน สำหรับมุสลิม คัมภีร์อัลกุรอานได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าสุภาพสตรีมุสลิม แต่งกายอย่างไร สำหรับ “มุสลิมมะห์ผู้มีศรัทธาในอัลลอฮ์ และอิสลาม” การกำหนดสร้างและแปลกปลอมสิ่งใดเช่น นำเอา “ฮิญาบ” (ผ้าคลุมหน้า, คลุมศีรษะ) เข้ามาใช้เป็นหลักศรัทธา “ในอิสลาม” (การยอมจำนนและสวามิภักดิ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์) ซึ่งไม่มีบัญญัติอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน ถือว่าเป็นการสร้างภาคีอย่างหนึ่ง ซึ่งขัดต่อหลักการของอิสลาม การเอาประเพณีปลอมปนเข้าไปอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานเป็นการสร้างภาคีกับอัลลอฮ์ เพราะผู้ที่ปฏิบัติตามหลักการอื่น แล้วอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของบัญญัติของอัลลอฮ์ ก็มีความผิดเท่าๆ กับผู้ที่สร้างภาคีเช่นกัน ถ้าเขาปฏิบัติเช่นนั้นไปตลอดชีวิตเขา การเพิกเฉยต่อบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์ในอัลกุรอาน แต่กลับไปตาม กฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งๆ ที่ไม่มีในอัลกุรอานเป็นการขาดความเคารพยำเกรงต่อพระองอัลลอฮ์ และท่านศาสดามูฮัมมัดที่เห็นได้อย่างชัดเจน ฉัน (มูฮัมมัด) ยังจะต้องแสวงหาผู้อื่นอีกหรือนอกจากอัลลอฮ์ เพื่อเป็นผู้ตัดสิน, เมื่อพระองค์ได้ประทานคัมภีร์ (อัลกุรอาน) ให้แก่พวกท่าน, ที่ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดสมบูรณ์? ผู้ที่เรา (อัลลอฮ์) ได้ให้คัมภีร์ แก่พวกเขามาก่อน รู้ดีว่าคัมภีร์นั้นถูกส่งมาจากพระเจ้า ของพวกเจ้าด้วยความแท้จริง, ดังนั้น(โอ มูฮัมมัด) เจ้าจงอย่าอยู่ในหมู่ของผู้ที่มีความเคลือบแคลงใจเลย และพวกเขามิได้มองดูในอำนาจทั้งหลายแห่งบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดิน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงสร้างขึ้นดอกหรือ ? และแท้จริงอาจเป็นไปได้ว่า กำหนดเวลาแห่งความตายของพวกเขานั้นได้ใกล้มาแล้ว และยังมีฮาดีษ อื่นใดเล่าที่พวกเขาจะศรัทธากันนอกจากอัล-กุรอาน(7:185) พระองค์อัลลอฮ์ ทรงเตือนให้ผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์ที่แท้จริงให้แน่ใจว่า เขาจะไม่หลงตกไปในหลุมพรางของ “พวกสร้างภาคีให้ต่อพระเจ้า” โดยยึดถือและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ “นักปราชญ์ของอิสลาม และท่านอีหม่าม” ต่างๆ แทนที่จะเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ จงดูจากบัญญัติ (9:31) “พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้า, อื่นจากอัลลอฮ์ และยึดเอาอัล-มะซีห์บุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าด้วย ทั้งๆ ที่พวกเขามิได้ถูกใช้นอกจากเพื่อเคารพสักการะผู้ทีสมควรได้รับการเคารพสักการะ, แต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น” (9:31) “เจ้าต้องไม่ยอมรับข่าวสารอันใด เว้นเสียแต่ว่าเจ้าได้ตรวจสอบด้วยตัวของเจ้าเอง, เพราะเราได้ให้แก่เจ้า การได้ยิน, การมองเห็น, และความคิด และเจ้าเองเท่านั้น ที่มีความรับผิดชอบในการใช้สิ่งเหล่านั้น” (17:36) ปัญหาฮิญาบถ้ามองดูอย่างผิวเผินแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหตุผลทางศาสนา แต่ถ้ามองดูในสังคมของประเทศใกล้เคียง (อินโดนีเซีย, ฟิลลิปปิน ฯลฯ) มุสลิมไทยเราถูกอิทธิพลของประเทศในกลุ่มอาหรับ เอาหลักการที่ไม่ใช่หลักการของศาสนามาสอดแทรก เพื่อที่จะให้มุสลิมไทย แตกต่างไปจากประชาชนในสังคมส่วนใหญ่ ทำให้ผู้นำทางศาสนา สามารถที่จะชักชวน หรือนำกลุ่มมุสลิมทำการต่อต้านรัฐบาลเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าไม่เป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ ไม่อยากให้มุสลิมไทย ตกเป็นเครื่องมือของผู้หวังผลทางการเมือง ทำให้ภาพลักษณ์ของมุสลิมเป็นภาพของบุคคลที่ใช้ความรุนแรง เป็นสังคมที่มีผู้ก่อการร้ายแอบแฝงอยู่ | |||
http://narater2010.blogspot.com/ |
วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ฮิญาบ ไม่ใช่อิลาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น