โดย ‘แบดิง โกตาบารู’
เคยมีใครสงสัยหรือไม่? ว่ากลุ่มและองค์กรภาคประชาสังคมเถื่อนที่ตะเบ็งเหยงๆ เห่าหอนอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายฝูง เอาเงินทุนจากไหนมาทำการเคลื่อนไหว? รวมไปถึงการทำกิจกรรม ลงพื้นที่ นับวันยิ่งได้ใจเพราะไม่มีใครตรวจสอบ และกล้าทำอะไรได้ วันดีคืนดีองค์ภาคประชาสังคมเหล่านี้สร้างความขมขื่นหยิบยื่นให้กับสังคมไทยด้วยการแสร้งตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จไปยื่นหนังสือให้กับสถานทูตต่างชาติ หรือยื่นหนังสือไปยังองค์กร UN
นักเคลื่อนไหวบางคนเดินทางไปต่างประเทศเป็นว่าเล่น ซึ่งคนธรรมดาอย่างเราๆ ถือว่าไม่มีโอกาสบ่อยเช่นนั้น ยิ่งค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ากินค่าที่พักยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอีกไม่ใช่น้อยๆ แล้วเอาเงินมาจากไหน? ใคร? สนับสนุนให้....ทั้งที่บางคนเป็นนักศึกษา กำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่มีรายได้ ทุกเช้าจะต้องแบมือขอเงินจากพ่อจากแม่ใช้อยู่เลย..?
คำถาม?..ข้างต้นผู้เขียนคิดว่าหลายท่านอาจจะมีคำตอบอยู่แล้วในใจ อาจจะมีคำตอบที่หลากหลายกันออกไป หลายคนคิดว่าองค์เหล่านี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากต่างประเทศ บ้างก็ตอบโดยไม่ต้องยั้งคิดว่ารัฐบาลนั่นแหละตัวดีสนับสนุนเงินทุนให้
แต่มีบางคนแบบว่าเป็นจำพวกเนียน ๆ คิดวิเคราะห์เจาะลึกถึงรากเหง้าของปัญหา กลับมองว่า "ขบวนการค้ายาเสพติด ค้าน้ำมันเถื่อน สินค้าลักลอบหนีภาษี"นั่นแหละคือผู้อยู่เบื้องหลัง เป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับกลุ่มขบวนการ และองค์กรภาคประชาสังคมบางกลุ่ม
เอ๊ะ!!..แล้วใครผิดใครถูกล่ะที่กล่าวมา...เป็นอันว่าถูกต้องทั้งหมดครับ กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมากถึง 420 องค์กร ในความเป็นจริง มีทั้งองค์กร ที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป แต่ที่น่ากลัวและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อกระบวนการสร้างสันติสุขในพื้นที่คือองค์กรที่มีกลุ่มขบวนการแอบแฝงชักใยอยู่เบื้องหลัง และที่สำคัญมีกลุ่มค้ายาเสพติด น้ำมันเถื่อน สินค้าลักลอบหนีภาษีอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนเงินทุนในการเคลื่อนไหว
ผู้เขียนเคยได้ยินเรื่องราวการบริจาคเงินวันละ 1 บาท เพื่อสนับสนุนให้กับกลุ่มขบวนการ ซึ่งครั้งแรกที่ได้รับรู้เฉยๆ ไม่ได้ยินดียินร้ายอะไร? และคิดว่าอาจเป็นเรื่องเล่าแบบปากต่อปากที่หามูลความจริงแทบไม่ได้!!
ยังมีเรื่องราวอีกเยอะที่ผู้เขียนสงสัยและไม่รู้!! กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่มีเพียงสมาชิกผู้ชายเพียงอย่างเดียวหรือ!! หรือว่าจะมีกลุ่มผู้หญิงด้วยที่ทำการเคลื่อนไหวเป็นสมาชิกแนวร่วม....
และแล้วเรื่องราวสงสัยคาใจ!! ทั้งหมด ได้รับความกระจ่างเมื่อผู้เขียนได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวท่านหนึ่ง เปิดเผยว่าเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี และได้เชิญตัวเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้หญิง เนื่องจากสืบทราบว่าบ้านหลังดังกล่าวได้เกี่ยวข้องกับการค้าของผิดกฎหมาย และหลบเลี่ยงหนีภาษี โดยนำเงินไปสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
หลังจากการซักถาม ผู้ถูกควบคุมตัวได้ยอมรับว่าตนเองนั้นได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง เมื่อประมาณปี 2537 เป็นสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ฝ่ายสตรี และสมาชิกแต่ละคนจะต้องบริจาคเงินสนับสนุน (ซากาด) รายเดือนๆ ละ 100 – 200 บาท ให้กลุ่มเพื่อเป็นทุนให้กับครอบครัวสมาชิกผู้ก่อเหตุรุนแรงที่อยู่ในระหว่างหลบหนี หรือเสียชีวิต
ที่น่าสนใจคือกลุ่มดังกล่าว มีหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมทางการเมืองต่อต้านรัฐ และเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีการระดมสมาชิกภายในกลุ่มไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักศึกษา PerMAS เพื่อร่วมรับฟังการบรรยายในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และกฎหมายพิเศษที่มีการประกาศใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
การอ้างว่า“ซากาด”แต่ข้อเท็จจริง คือ“การข่มขู่”หรือขอร้องแกมบังคับให้บริจาค จะเป็นการบริจาคได้อย่างไร? ในเมื่อมีการกำหนดว่าสมาชิกจะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 100 บาท เมื่อมีการกำหนด“ขั้นต่ำ”จึงมิใช่การบริจาคโดยความสมัครใจ แต่จะเข้าข่ายเป็นการล่อลวงบังคับประชาชนใช่หรือไม่? หรือเป็นลักษณะการข่มขู่กรรโชคทรัพย์ประชาชน
กลุ่มนักศึกษา PerMAS เอาเงินที่ได้จากการขู่เข็ญชาวบ้านมาจัดโครงการอบรมเยาวชนเพื่อปลูกฝังความคิดความเชื่อที่ผิดๆ ในเรื่องประวัติศาสตร์ปัตตานี จัดเวทีปลุกกระแสเรียกร้องในการกำหนดใจตนเอง (Self-determination)
การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา PerMAS ซึ่งมีประธานเป็นผู้ขับเคลื่อนงานการเมือง นายสุไฮมิง ดูละสะ อดีตประธานที่เพิ่งพ้นวาระ หรือแม้กระทั่งประธานคนปัจจุบันอย่าง นายอารีฟีน โสะ ไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจตัวจริงในการตัดสินใจ เป็นแค่หุ่นเชิดบังหน้าให้กับ นายอาเต็ป โซ๊ะโก ซึ่งการบริหารจัดการทุกอย่างภายในองค์กร และการขอทุนในการทำโครงการของ PerMAS ได้กลายเป็นธุรกิจในครอบครัวของ นายอาเต็ป โซ๊ะโก ไปแล้ว
การจัดทำโครงการของกลุ่มนักศึกษา PerMAS มีการเขียนวัตถุประสงค์ที่หมิ่นเหม่ต่อการแบ่งแยกดินแดน เพื่อสร้าง “หมู่บ้านปกครองตนเองตัวอย่าง”
การสร้าง “หมู่บ้านปกครองตนเองตัวอย่าง” ของกลุ่มนักศึกษาPerMAS มีวัตถุประสงค์อะไร? ในทางการเมือง...
ที่กล่าวมาเป็นแค่ชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ที่ได้มีการตรวจพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรี ที่มีการรวมกลุ่มขึ้นมา เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง และสนับสนุนการขับเคลื่อนงานการเมืองของนักศึกษา PerMAS
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มี 33 อำเภอ บวกรวม 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 37 อำเภอ ในอำเภอหนึ่งมีกี่ชุมชน กี่หมู่บ้าน ลองคิดเล่นๆ กันดูนะครับ และจะมีอีกกี่กลุ่มที่รวมตัวขึ้นมาโดยอาศัยการเปิดสหกรณ์บังหน้า เพื่อระดมทุนในการสนับการก่อเหตุในพื้นที่ให้ย้อนกลับมาทำร้ายลูกหลานของพ่อแม่พี่น้องปาตานีด้วยกันเอง
นั่นคือความเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการในการต่อต้านรัฐ คอยติดตามว่าหน่วยงานความมั่นคงจะเอาจริงเอาจริงแค่ไหน? ที่สำคัญจะต้องไม่ทิ้งการสลายโครงสร้างแหล่งบ่มเพาะ และทำการตรวจสอบแหล่งเงินทุนสนับสนุนกลุ่มขบวนการที่จัดตั้งขึ้นมาในรูปแบบการรวมกลุ่มให้สิ้นซากเสียก่อน มิเช่นนั้นจะกลายเป็นหอกข้างแคร่คอยทิ่มแทงแผลเก่าให้เจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุด...และหากยังปล่อยให้มีการดำเนินการดังเช่นที่ผ่านมา อย่าหวังว่าจะเกิดสันติสุขอย่างแท้จริงในพื้นที่แห่งนี้....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น