วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

นักศึกษา PerMAS กับการเรียกร้องสิทธิให้โจรใต้...



             นาย อารีฟิน โสะ ประธานสหพันธ์นิสิต นักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี หรือ PerMAS ได้รวมตัวนักศึกษาที่ตลาดหน้าค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 เพื่อแสดงท่าทีเกี่ยวกับการควบคุมตัว นายอับดุลรอฮิม รอยะ นักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ 31 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา คดีวางระเบิดดักสังหารเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเส้นทางให้กับคณะครู สังกัดกองร้อยปืนเล็กที่ 3 ฉก.นราธิวาส 33 บนถนนสายมะนังตายอ - บ้านโคกสุมุ อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ในขณะที่ นายอับดุลรอฮิม รอยะ ยังอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่อย่างปกติสุข ญาติๆ เข้าเยี่ยมได้ตลอดเวลา
กลุ่ม PerMAS สนใจนักศึกษาเพื่อนตนเองที่ถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง 



แต่ไม่สนใจเพื่อนนักศึกษาสาวอีกคนที่ถูกโจรใต้ยิงเสียชีวิต น้องสุธิดา ตั้งใจ นักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ถูกยิงเสียชีวิตโดยฝีมือโจรใต้ เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557 ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ไปกับเพื่อน บนถนนสายนราธิวาส – เจาะไอร้อง โดยไม่ออกมาเรียกร้องอะไรเลย หรือ PerMAS คิดว่าคุณค่าความเป็นมนุษย์มันไม่เท่ากัน


          กลุ่ม PerMAS ได้สร้างความน่าอับอายให้กับกลุ่มมาแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งหนึ่งที่ทุกคนล้วนแต่จดจำผลงานชิ้นนี้ PerMAS ได้ปลุกเร้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์ อีกทั้งให้กลุ่มนักศึกษาสถาบันต่างๆ กลุ่มองค์กรต่างๆ เคลื่อนไหว เพื่อกดดันในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ปรากฏว่าทุกอย่างคือการลวงโลก หลอกลวงประชาชน เหตุการณ์ที่ทุกคนต้องจดจำคือ

        เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้ก่อเหตุรุนแรงได้ทำการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องในพื้นที่ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส บริเวณถนน ณ นคร แรงระเบิดได้สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก ต่อมาวันที่ 2 และ 3 เมษายน 2558 หน่วยงานความมั่นคง ได้สนธิกำลังร่วม 3 ฝ่ายทำการติดตามจับกุม ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย 13 คน เป็นนักศึกษา 4 คน
          ส่งตัวบุคคลต้องสงสัยทั้งหมดไปดำเนินกรรมวิธีซักถามขยายผลหาตัวผู้กระทำผิด PerMAS ได้รีบออกแถลงการณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคุกคามเยาวชนนักศึกษา ปลุกเร้าในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง



         ต่อมาผลการซักถาม นาย อัมรีย์ วรรณมาตร ให้การรับสารภาพว่าตนเองถูกชักชวนให้เข้าร่วมขบวนการ และให้การต่อไปอีกว่าตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ โดยมีผู้ร่วมก่อเหตุที่จำได้คือ นายซุลกิปลี มะสะ เป็นผู้สั่งการ, นายรีดวน สุหลง เป็นผู้นำรถจักรยานยนต์ซุกซ่อนระเบิดแสวงเครื่องเข้าไปก่อเหตุ, นายอิสมะแอ เจ๊ะโซะ เป็นผู้ดูต้นทางร่วมกับตนเอง

         ผลจากการให้การรับสารภาพทำให้กลุ่ม PerMAS และองค์กรต่างๆ ที่คิดว่านี่เป็นการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องเพื่อสิทธิมนุษยชน ต้องหน้าฉีกกันไปเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะสำนึกกันบ้างหรือเปล่า

      อะไรที่ทำให้ PerMAS แสดงออกมาแบบนี้ ความยุติธรรม นักสิทธิมนุษยชน ก็ไม่ใช่หรือว่ามีผลประโยชน์แอบแฝง หรือว่าเขาคือกลุ่มหนึ่งที่พยายามปลุกระดมสร้างความแตกแยกในแผ่นดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม