วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อิหม่ามหญิงในประเทศจีน ถูกปลดจากพันธนาการ

อิหม่ามหญิงในประเทศจีน




           สตรีสลิมในประเทศจีนเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปอย่างเงียบๆ ในประเทศจีน เพราะพวกเธอเป็นอิหม่ามได้ด้วยนะสิ!  ผู้คนในประเทศมุสลิมทั้งหลายคงจะนึกไม่ออกหรอกว่า มีเรื่องแบบนี้ในโลกด้วย!

         อู๋จง เป็นเมืองที่มีอิหม่ามหญิงมากที่สุดในประเทศจีน คือมากกว่า 20 คน พวกเธอนำละหมาดและให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงเรื่องของศาสนาอิสลามในอู๋จง ซึ่งเป็นเมืองที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

         หวัง ซาน เคยเป็นพยาบาลมาก่อน และจนกระทั่งปีค.ศ.1985 นั่นแหละที่เธอเริ่มกระหายจะศึกษาอัล-กุรอานมากขึ้นและศึกษาเรื่องการปฏิบัติตัวตามหลักศาสนา เธอบอกว่า "ฉันไม่ได้วางแผนจะเป็นอิหม่ามหรอก ฉันต้องการแค่ศึกษาเพิ่มเติมและพัฒนาภาษาอารบิกของฉันให้ดีขึ้น แต่ต่อมาฉันก็พบว่า มีผู้หญิงมุสลิมจำนวนมากอ่านอัล-กุรอานไม่ออกและต้องการคำแนะนำในเรื่องศาสนา" หวัง ซาน สอบผ่านการเป็นอิหม่ามแล้ว และรับตำแหน่งอิหม่ามที่มัสยิดหญิงล้วนแห่งหนึ่งในอู๋จงใน ปี ค.ศ.2002

           อย่างไรก็ตาม ในประเทศอื่นๆ โอกาสแบบนี้ของผู้หญิงมุสลิมมีไม่มากนัก เพราะอิสลาม จำกัดสิทธิ์ของผู้หญิงในการเข้าอึงอัลกุรอาน เช่นในโมรอคโค เมื่อต้นเดือน มิ.ย.2006 ที่ผ่านมานี่เอง มีฟัตวาจากผู้นำศาสนาที่นั่นห้ามผู้หญิงดำรงตำแหน่งสูง ๆ และก่อนหน้านี้ที่บาห์เรน ในปีค.ศ.2004 มีรายงานว่า สตรีวัย 40 ผู้หนึ่งถูกจับกุมในข้อหาพยายามจะกล่าวคุตบะฮ์ในการละหมาดวันศุกร์ช่างต่างกันจริง ๆ กับที่ประเทศจีน ทั้ง หวัง ซาน และอิหม่ามหญิงคนอื่นๆ เช่น จิ้น เหมยฮัว ไม่พบการต่อ
ต้านจากบรรดาผู้ชายหรือผู้นำศาสนาเลย (ให้มันรู้ซ้า!!!!)" สามีฉันสนับสนุนฉันในเรื่องนี้อย่างมาก" หวัง ซาน กล่าว

         จริงๆ แล้วในเมืองจีนมีระบบอิหม่ามสตรีมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1950 แล้ว เมื่อผู้หญิงคนแรกรับตำแหน่งอิหม่ามในปีค.ศ.1951 หวัง ซาน กล่าวว่า "แต่ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-1976) มีการกดขี่ทางศาสนา ทุกศาสนาโดนกันหมดแหละ อิหม่ามหญิงเลยไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไหร่ จนเมื่อหลังจีนเปิดประเทศ เสรีภาพด้านศาสนาถึงดีขึ้น ที่อู๋จงนี่มีอิหม่ามหญิงมานานกว่า 10 ปีแล้ว"

         นอกจากนี้ แถบตะวันตกของจีนก็ยังเกิดมัสยิดหญิงล้วนขึ้นมามากมาย มัสยิดเหล่านี้แยกต่างหากจากอาคารละหมาดของผู้ชาย ซึ่งไปๆ มาๆ อาคารมัสยิดหญิงล้วนบางแห่งใหญ่พอ ๆ กับหรือบางแห่งก็ใหญ่กว่ามัสยิดชายล้วนซะอีกนี่คือข้อแตกต่างของประเพณีที่เป็นคู่ขนานกันแพร่หลายในหลายๆ ส่วนของโลก 

         บางทีในบางมัสยิดก็ไม่ยอมให้ผู้หญิงเข้าไปละหมาด หรือไม่บางมัสยิดก็มีม่านกั้นระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง"   ในสังคมมุสลิมเนี่ย บางทีก็มีการกีดกันสิทธิของผู้หญิง ซึ่งทำให้ผู้หญิงทำผิดได้ง่าย เช่น ไม่ยอมละหมาดหลังคลอดลูก บางทีผู้หญิงก็มีความรับผิดชอบมากมายอยู่ที่บ้าน นี่คือเหตุผลที่ทำไมผู้หญิงต้องการความสนใจ และต้องการคำแนะนำในด้านศาสนา 

         อิหม่ามหญิงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยเหลือในเรื่องเหล่านี้ได้" หวัง ซาน กล่าว เธอยังสำทับในตอนท้ายอีกว่า "ฉันอยากเห็นอิหม่ามผู้หญิงในโลกนี้มากกว่านี้""ฉันดีใจที่เห็นแนวโน้มของอิหม่ามผู้หญิง เพราะผู้หญิงรับผิดชอบครึ่งหนึ่งของผืนฟ้าบนหน้าแผ่นดินนี้ และพวกเธอควรมีผู้นำผู้หญิงของพวกเธอเอง" หยาง หวัน เป่า กล่าว เธอเป็นอิหม่ามหญิงอีกคนหนึ่ง มัสยิดหญิงล้วนที่เธอนำละหมาดอยู่ก็ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับมัสยิดที่นำโดย หวัง ซาน นั่นแหละ 

        นี่ในประเทศจีนนะครับ ถ้าเป็นสามจังหวัดชายแดนใต้ของเรา  แบบนี้ สงสัยจะโดนทำสงครามจีหอย แทน จีฮัด แหง๋ ๆ 

ที่มา: Women lead prayers, revolution in China. Times of India. 26 June 2006.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม