จากกรณีที่มีผู้วิภากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดงานวันครูที่จังหวัดที่มีนักเรียน หรือนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลา หลาย ๆ ความเห็นแสดงความกริ่งเกรงว่า จะขัดต่อหลักศาสนาอิสลามนั้น ข้าพเจ้าเองกลับมีความคิดเห็นว่า ชาวมุสลิมสามารถร่วมงานวันครูได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม และข้าพเจ้ายังมีความเห็นอีกว่าชาวมุสลิมไม่จำเป็นต้องทำลายหรือเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปออกไปจากสถานที่ืที่มีชาวมุสลิมอยู่ ข้าพเจ้ามีเหตุผลสนับสนุนดังต่อไปนี้
การที่ชาวมุสลิมต้องมีศรัทธาในพระอัลลอฮฺและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดนั้น ไม่ได้หมายความว่า ชาวมุสลิมจะต้องปฏิเสธการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในศาสนาอื่นโดยสิ้นเชิง
เนื่องจาก ศาสนาอิสลามสั่งสอนให้มนุษย์อยู่กันด้วยความเป็นมิตร ละเว้นการรบราฆ่าฟันโดยไม่มีเหตุอันควร การทะเลาะเบาะแว้ง การละเมิดและรุกรานสิทธิของผู้อื่น เน้นความอดกลั้น การให้อภัย ความเท่าเทียม และความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น
เมื่อครูคือผู้ที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอน ครูจึงต้องมีความเมตตาต่อคนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะบทบาทของครูคือบทบาทของอุละมาอฺ (ผู้รู้) ในการเผยแพร่ เป็นบทบาทเดียวกับท่านนบี (ซ.ล.) ที่ถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมมตาต่อชาวโลกทั้งมวล ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า:
ในทางปฏิบัติชาวมุสลิมในหลายประเทศก็ยังคงรักษาประเพณีของชนชาติตนเองที่มีมาก่อนที่ชนชาตินั้นจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามไว้โดยไม่มีปัญหาว่าจะขัดต่อหลักของศาสนาอิสลามแต่อย่างใด เช่น ในประเทศอิหร่านและแถบเอเชียกลาง ยังคงจัดเทศกาลโนรูส (Norooz) ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นตามหลักศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย (ชาวอิหร่าน) อยู่
ในประเทศอินโดนีเซีย การแสดงรามายณะและมหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นการแสดงเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู และชาวอินโดนีเซียยังมีวัฒนธรรมการไหว้อันเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามอยู่
ในทางปฏิบัติชาวมุสลิมในหลายประเทศไม่ได้ทำลายหรือโยกย้ายรูปเคารพของศาสนาอื่นหรือทำลายศาสนสถานของศาสนาอื่นออกไปจากดินแดนของตน เช่น ในประเทศอียิปต์ ยังคงมีพีระมิด สฟิงซ์ วิหารบูชาเทพเจ้าของชาวอียิปต์โบราณ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม) หลายแห่ง
ในประเทศตุรกี มีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเคยเป็นศาสนสถานของชาวคริสต์มาก่อน คือ ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ถ้ำที่มีภาพเขียนในทางศาสนาคริสต์ที่เกอเรเม (Churches of Göreme, Turkey) ซากวิหารและนครโบราณของชาวกรีกซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (๓)
ในประเทศอินโดนีเซีย มีวิหารในศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูอยู่มากมายหลายแห่ง ดังนี้ เป็นต้น
(ส่งผลดีต่อการศึกษาทางโบราณคดีและการท่องเที่ยว ตรงกันข้ามกับการทำลายศาสนสถานและศาสนวัตถุของศาสนาอื่นเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ และรากเหง้าของชนชาตินั้น)
การดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกับศาสนิกชนในศาสนาอื่นจะทำให้ชาวมุสลิมได้รับการยอมรับมากกว่าการแยกกลุ่ม ลองสังเกตดูได้จากพระเจ้าอักบาร์ (Akbar) แห่งราชวงศ์โมกุล ที่แม้จะทรงนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็มีนโยบายที่ผ่อนปรนต่อผู้นับถือศาสนาอื่น ทั้งในเรื่องการอนุญาตให้ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งถูกบังคับให้นับถือศาสนาอิสลามสามารถกลับไปนับถือศาสนาฮินดูได้โดยไม่ต้องโทษประหารชีวิต พระองค์เข้าปฏิบัติตามพิธีกรรมในศาสนาฮินดูหลายอย่าง เช่น การเข้าร่วมเทศกาล Diwali หรือการห้ามการกินเนื้อวัว (ซึ่งชาวฮินดูนับถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพาหนะขององค์มหาเทพศิวะ) (๔) พระองค์เข้าร่วมส่วนในการอภิปรายทางศาสนากับนักปราชญ์ในศาสนาเชนอย่างสม่ำเสมอ (๕) พระองค์จึงได้รับการสรรเสริญจากผู้ที่นับถือศาสนาอื่น
กระแสวิภาควิจารณ์ ของกลุ่มคนที่มีความคิดคับแคบ แปลกแยก และไม่สามารถดำรงชีวิตกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขกลุ่มหนึ่ง ที่กระทำการอย่างสอดประสานกับแนวคิด แบ่งแยก และแปลกแยก ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับเหตุการณ์กรณีนี้ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นตัวอย่างชัดเจน คือ
ซึ่งสามารถแปลความได้ว่าการจะอยู่ร่วมกับศาสนิกชนที่นับถือศาสนาอื่นได้อย่างฉันมิตรนั้น ชาวมุสลิมก็จะต้องให้ความเคารพต่อศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนพิธีของศาสนาอื่น การให้ความเคารพในที่นี้ไม่ได้บังคับถึงขนาดที่ว่าชาวมุสลิมจะต้องงดเว้นไม่ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอิสลาม เพียงแค่ยอมรับที่จะปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมอันดีงามของศาสนาอื่นเมื่อเข้าไปอยู่ร่วมกับศาสนิกชนของศาสนาอื่นบ้าง อนึ่ง การที่ชาวมุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้ทำความเคารพต่อพระพุทธรูป หรือรูปเคารพของศาสนาอื่นนั้น ก็ไม่มีเหตุอันใดที่ชาวมุสลิมจะต้องทำลายหรือเคลื่อนย้านพระพุทธรูปหรือรูปเคารพของศาสนาอื่น ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น
ครูคือผู้มีเมตตา... ความเมตตาเป็นคุณธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของครูที่จะขาดเสียมิได้ ครูที่สอนศิษย์ด้วยความเมตตาจะอยู่ในดวงใจของศิษย์ทุกคน และที่สำคัญคือ ครูจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺเป็นพิเศษ
ดังหลักฐานจากอัลหะดีษบทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า: " اِرْحَمْ مَنْ فِيْ اْلأَرْضِ يَرْحَمُكَ مَنْ فِيْ السَّمَاءِ "
ความว่า ท่านจงเมตตาผู้อยู่ในโลก(มนุษย์)แล้วผู้อยู่บนฟ้า (อัลลอฮฺ) จะเมตตาท่าน (บันทึกโดยติรมิซียฺ )
เมื่อครูคือผู้ที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอน ครูจึงต้องมีความเมตตาต่อคนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะบทบาทของครูคือบทบาทของอุละมาอฺ (ผู้รู้) ในการเผยแพร่ เป็นบทบาทเดียวกับท่านนบี (ซ.ล.) ที่ถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมมตาต่อชาวโลกทั้งมวล ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า:
" وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ "
ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาต่อชาวโลกทั้งมวล (21 : 107) ท่านนบี(ซ.ล.) เป็นแบบอย่างของครูผู้มีเมตตาแก่คนทุกคน ท่านเคยกล่าวว่า:
" وَلكِنْ بَعَثَنِيْ مُعَلِّمًا مُيَسِّرًا "
ความว่า แต่(อัลลอฮฺ)ได้ส่งฉันมาเป็นครู และเป็นครูที่ง่ายๆ (บันทึกโดยอะห์หมัด)
ในทางปฏิบัติชาวมุสลิมในหลายประเทศก็ยังคงรักษาประเพณีของชนชาติตนเองที่มีมาก่อนที่ชนชาตินั้นจะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามไว้โดยไม่มีปัญหาว่าจะขัดต่อหลักของศาสนาอิสลามแต่อย่างใด เช่น ในประเทศอิหร่านและแถบเอเชียกลาง ยังคงจัดเทศกาลโนรูส (Norooz) ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นตามหลักศาสนาดั้งเดิมของชาวเปอร์เซีย (ชาวอิหร่าน) อยู่
ในประเทศอินโดนีเซีย การแสดงรามายณะและมหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นการแสดงเกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู และชาวอินโดนีเซียยังมีวัฒนธรรมการไหว้อันเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามอยู่
ในทางปฏิบัติชาวมุสลิมในหลายประเทศไม่ได้ทำลายหรือโยกย้ายรูปเคารพของศาสนาอื่นหรือทำลายศาสนสถานของศาสนาอื่นออกไปจากดินแดนของตน เช่น ในประเทศอียิปต์ ยังคงมีพีระมิด สฟิงซ์ วิหารบูชาเทพเจ้าของชาวอียิปต์โบราณ (ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม) หลายแห่ง
ในประเทศตุรกี มีพิพิธภัณฑ์ซึ่งเคยเป็นศาสนสถานของชาวคริสต์มาก่อน คือ ฮาเกีย โซเฟีย (Hagia Sophia) ถ้ำที่มีภาพเขียนในทางศาสนาคริสต์ที่เกอเรเม (Churches of Göreme, Turkey) ซากวิหารและนครโบราณของชาวกรีกซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (๓)
ในประเทศอินโดนีเซีย มีวิหารในศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดูอยู่มากมายหลายแห่ง ดังนี้ เป็นต้น
(ส่งผลดีต่อการศึกษาทางโบราณคดีและการท่องเที่ยว ตรงกันข้ามกับการทำลายศาสนสถานและศาสนวัตถุของศาสนาอื่นเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ และรากเหง้าของชนชาตินั้น)
การดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกับศาสนิกชนในศาสนาอื่นจะทำให้ชาวมุสลิมได้รับการยอมรับมากกว่าการแยกกลุ่ม ลองสังเกตดูได้จากพระเจ้าอักบาร์ (Akbar) แห่งราชวงศ์โมกุล ที่แม้จะทรงนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็มีนโยบายที่ผ่อนปรนต่อผู้นับถือศาสนาอื่น ทั้งในเรื่องการอนุญาตให้ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งถูกบังคับให้นับถือศาสนาอิสลามสามารถกลับไปนับถือศาสนาฮินดูได้โดยไม่ต้องโทษประหารชีวิต พระองค์เข้าปฏิบัติตามพิธีกรรมในศาสนาฮินดูหลายอย่าง เช่น การเข้าร่วมเทศกาล Diwali หรือการห้ามการกินเนื้อวัว (ซึ่งชาวฮินดูนับถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพาหนะขององค์มหาเทพศิวะ) (๔) พระองค์เข้าร่วมส่วนในการอภิปรายทางศาสนากับนักปราชญ์ในศาสนาเชนอย่างสม่ำเสมอ (๕) พระองค์จึงได้รับการสรรเสริญจากผู้ที่นับถือศาสนาอื่น
กระแสวิภาควิจารณ์ ของกลุ่มคนที่มีความคิดคับแคบ แปลกแยก และไม่สามารถดำรงชีวิตกับผู้อื่นได้อย่างสงบสุขกลุ่มหนึ่ง ที่กระทำการอย่างสอดประสานกับแนวคิด แบ่งแยก และแปลกแยก ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนสำหรับเหตุการณ์กรณีนี้ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นตัวอย่างชัดเจน คือ
- กรณีนักศึกษา ที่แสดงความกตเวทิตา ต่อครูอาจารย์
- กรณีที่กองโจร BRN แบ่งแยกดินแดน ที่ลงมือทำร้ายครู ถึงขั้นฆ่าครู อย่างกรณี ครูจูหลิง ปงกันมูล หรือ ครูในจังหวัดภาคใต้อีกหลาย ๆ ท่านที่ต้องจบชีวิตลง เพราะน้ำมือของกลุ่มคนที่อ้างศาสนา มาทำร้ายผู้อื่น
หากให้เลือกชื่นชมแบบที่เรียกกันว่า กด Like กันในโลกโซเชียลมีเดีย ท่านเลือกกด Like ได้ตามกมลสันดาน และการอบรมขัดเกลาทางสังคมของแต่ละคนอยู่แล้วครับ
การอ้างลัทธิความเชื่อ หรืออ้างศาสนา เพื่อแบ่งแยก เพื่อทำลาย เพื่อทำร้าย ผู้มีพระคุณ กับการแสดงความดีงาม ต่อผู้มีพระคุณ สองอย่างนี้ คุณคิดว่า ควรชื่มชมใคร และควรตำหนิใคร หรือควรแสดงความเห็นอย่างไร เชิญพิจารณาตามความเหมาะสมครับ
ณัฐกานต์ ........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น