วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

จงรื้อโรงพยาบาลทิ้งซะให้หมด เพราะ “ความเจ็บป่วย” อีกหนึ่งรางวัลพิเศษจากอัลลอฮฺ..




        ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยทำให้หลายคนไม่สบายกันเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันในความเจ็บป่วยนั้นมีข้อดี

       คือ ทำให้เราได้รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่าจะรวยหรือเจอทุกคนต้องเจอบททดสอบ ความเจ็บป่วยคือสัญญาณบ่งชี้ว่า ชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจกระทำการสูงสุดซึ่งทุกชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจ ต้านทานฝ่าฝืน คือ อำนาจแห่งอัลลอฮฺเจ้าที่ดลบันดาลให้ใครก็ได้ เมื่อทรงประสงค์ เกิด เจ็บป่วย ล้มตาย คือพระองค์ผู้ทรงบันดาลให้ใครก็ได้เมื่อทรงประสงค์หายทุเลาจากอาการเจ็บป่วย จนสามารถกลับมามีสุขภาพดีดังเดิมได้เมื่อพระองค์ทรงประสงค์

สำหรับผู้ป่วยนั้นยามที่เขาเจ็บป่วย เขาจะได้รับความดี 4 ประการ

  • ประการที่ 1 ปากกาจะไม่บันทึกความผิดบาปแก่เขา (ปากกาถูกยกออกจากเขา)
  • ประการที่ 2 ผลบุญจะหลั่งไหลให้แก่เขา เสมือนหนึ่งเขาได้ปฏิบัติคุณความดีในยามที่เขามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์
  • ประการที่ 3 ทุกๆ ข้อต่อจากอวัยวะของเขาที่มีมลทินและตราบาปจะถูกลบล้างออกจนหมดสิ้น
  • ประการที่ 4 หากเขาตายไป (ในสภาพที่เขาเจ็บป่วย) แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และหากเขายังมีชีวิตอยู่ เขาก็จะได้รับการอภัยโทษจากพระองค์เช่นเดียวกัน

เล่าจากท่านมูอ๊าซ อิบนิ ญะบั้ล รอฎิยัลลอฮูอันฮู ว่า : 

          ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า : เมื่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทดสอบบ่าวของพระองค์ผู้มีศรัทธาด้วยกับโรคภัยต่างๆ แล้ว พระองค์ทรงตรัสแก่มาลาอีกะห์ที่ทำหน้าที่จดบันทึกด้านซ้ายว่า เจ้าจงยกปากกาออกจากเขาเถิด (หมายถึง ปากกาจะไม่บันทึกความผิดบาปของเขา) และพระองค์ทรงตรัสแก่มาลาอีกะห์ที่อยู่ด้านขวาว่า : เจ้าจงบันทึกไว้ในบัญชีของเขาเถิดให้แก่บ่าวของข้าซึ่งความดีงามที่ดีที่สุด ยิ่งกว่าเขาได้ปฏิบัติธรรมในขณะที่เขามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

เล่าจากท่านอุมัร รอฎิยัลลอฮูอันฮูมา ว่า : 

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : ท่านทั้งหลายอย่าได้บังคับผู้ป่วยในหมู่พวกท่านให้เขารับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม เพราะแท้ที่จริงอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้อาหารและเครื่องดื่มแก่พวกเขา (ผู้ป่วย) เอง

ได้มีรายงานหนึ่งระบุว่า : 

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : ลมหายใจของเขานั้นย่อมเป็นกุศล และการนอนของเขาเป็นอิบาดะห์ การเปลี่ยน (อิริยาบถ) จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งนั้นถือเป็นการต่อสู้ (ญีฮาด) ในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) และพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) จักทรงบันทึกคุณความดีแก่เขา ดีกว่าการปฏิบัติธรรมของเขาในสภาพที่เขามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

ได้มีรายงานหนึ่งระบุว่า : 

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : บุคคล 4 จำพวกที่การปฏิบัติธรรมของเขาเพิ่งเริ่มเปิดฉากขึ้น เสมือนหนึ่งว่าเขามีความบริสุทธิ์ผุดผ่องไร้มลทิน และตราบาป บุคคลเหล่านั้นได้แก่ :
  • 1. ผู้ป่วยเมื่อเขาได้หายจากความเจ็บป่วย
  • 2. ผู้ตั้งภาคีเมื่อเขาได้เข้ารับศรัทธาในศาสนาอิสลามแล้ว
  • 3. ผู้ที่ปฏิบัติละหมาดวันศุกร์ด้วยความศรัทธามั่นและมุ่งหวังในการตอบแทนจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)
  • 4. ผู้ที่เดินทางประกอบพิธีฮัจย์ ด้วยทรัพย์สินที่ฮาลาล

ได้มีรายงานหนึ่งระบุว่า : 

ท่านนบี (ซ.ล.)ได้กล่าวว่า : ขุมคลังแห่งความดีงามนั้นย่อมได้รับแก่บุคคล 3 จำพวกได้แก่

  • 1. ผู้ที่ประสบกับความเจ็บป่วยแล้วเขาก็มีความอดทนโดยที่เขาไม่พร่ำบ่นใด ๆ ในความเจ็บป่วยที่รุมเร้าเขา
  • 2. ผู้ที่บริจาคทานแบบลับๆ โดยไม่มีใครอื่นใดล่วงรู้นอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้น
  • 3. ผู้ที่มีความอดทนต่อภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้มาประสบกับเขา

ได้มีรายงานจากท่านนบี (ซ.ล.) ว่า : 

ในวันหนึ่งท่านนบี (ซ.ล. )ได้ไปเยี่ยมซัลมาน อัล-ฟารีซีย์ รอดิยั้ลล่อฮูอันฮู ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วย ครั้นแล้วท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : โอ้ซัลมานเอ๋ย ! เจ้ากำลังได้รับความดีงามสามประการในสภาพที่กำลังเจ็บป่วยอยู่ในขณะนี้
  • ประการที่ 1 เป็นข้อเตือนใจและบทเรียนจากองค์พระผู้อภิบาลของเจ้าแก่เจ้า
  • ประการที่ 2 ความผิดบาปต่างๆ ของเจ้าที่ผ่านมาย่อมได้รับการปลดเปลื้องและชำระจนหมดสิ้น
  • ประการที่ 3 ดุอาอฺ ของผู้ได้รับการทดสอบ (ผู้ป่วย) ย่อมเป็นที่ถูกตอบรับ (มุสตะญับ) จากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ดังนั้นท่านจงวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺเถิด เท่าที่ท่านนั้นมีความสามารถ

ดุอาอฺเยี่ยมคนป่วย

          “อัลลอฮุมมะ ร็อบบินนาซิ อัซฮิบิล บะอ์ซะ วัชฟิ อันตัชชาฟีย์ ลา ชิฟาอะ อิลลา ชิฟาอุกา ชิฟาอัน ลา ยุฆอดิรุ ซะเกาะมา”

           โอ้อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งมนุษยชาติ ขอพระองค์ทรงขจัดความเจ็บป่วยนี้ให้หายไป, ขอพระองค์ทรงโปรดให้หายป่วยด้วยเถิด (เพราะ) พระองค์ทรงเป็นผู้ทำให้หายป่วย, ไม่มีการรักษาใดๆ เว้นแต่รักษาของพระองค์เท่านั้น ซึ่งเป็นการักษาที่ไม่ลงเหลือความเจ็บป่วยไว้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม