วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แผนร้ายของไอ้ลูกหมาฟาตอนี




            เอกสารที่พบจากโต๊ะทำงานของ นาย มะแซ ระบุว่า DPP แบ่งงานออกเป็น 7 ฝ่าย ประกอบด้วย การต่างประเทศ ทหาร เยาวชน เศรษฐกิจ ปฏิบัติการจิตวิทยา/ประชาสัมพันธ์ อูลามา และคณะกรรมการเขต (ปกครอง)

          คณะกรรมการ DPP ในฝ่ายเยาวชน เศรษฐกิจ ปฏิบัติการจิตวิทยา/ประชาสัมพันธ์ อูลามา จะทำงานอยู่ในสายของ MASA ด้วย งานด้านต่างประเทศดูเหมือนจะเป็นงานเดียวที่จำกัดอยู่กับคณะกรรมการ DPP โครงสร้างการบังคับบัญชาเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ในระดับปฏิบัติการนั้น จะมีการแบ่งสายบังคับบัญชาหลักๆ สองปีก คือ 
  • ปีกการทหาร (MAY) 
  • ปีกการเมือง (MASA) หรือที่ในแผนผังนี้เรียกว่า “คณะกรรมการเขต” 
          โดยในฐานข้อมูลของหน่วยงานความมั่นคง โครงสร้างเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา มีการเปลี่ยนชื่อและปรับลดโครงสร้างในบางช่วงชั้น แผนผังด้านล่างนี้เป็นโครงสร้างที่เชื่อว่าใกล้เคียงกับการปฏิบัติการในปัจจุบันมากที่สุด

            ปีกการเมืองมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 กัส คือ 
  • กัสปัตตานี 
  • กัสยะลา 
  • กัสนราธิวาส 
       โดยกัสปัตตานีนั้นจะรวมเอาพื้นที่ในอำเภอจะนะ,เทพา,นาทวี และสะบ้าย้อย ในจังหวัดสงขลาไว้ด้วย ในโครงสร้างกัสเดิมจะมีระดับ “วิลายะ” ก่อนไปถึง “สะกอม” แต่เชื่อว่าปัจจุบันได้ยุบชั้นนี้ไป โดยกัสต่อตรงถึงระดับสะกอมเลย ซึ่งแต่ละสะกอมจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 – 3 อำเภอ เช่น สะกอม 1 ของกัสปัตตานีประกอบด้วย อ.ไม้แก่น, สายบุรี และกะพ้อ ในกัสปัตตานีมี 5 สะกอม กัสนราธิวาส 6 สะกอมและกัสยะลา 3 สะกอม

          ในแต่ละสะกอมมีการแบ่งพื้นที่ย่อยเป็น “คอมมิส” ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 อำเภอหรือเล็กกว่า ในแต่ละคอมมิสก็จะมีหน่วยระดับล่างสุดปฏิบัติการในระดับหมู่บ้านซึ่งเรียกว่า “อาเจาะ” (AJAK) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Ahli Jawatan Kampung ในภาษามลายูซึ่งแปลว่า “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ในหนึ่งอาเจาะประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ ฝ่ายเปอมูดอ ปกครอง เยาวชน เศรษฐกิจ สตรี และฝ่ายสนับสนุน (ตุรงแง) และมีทีมทำงานไม่ต่ำกว่า 12 คน

          อาเจาะ เป็นหน่วยพื้นฐานที่สุดที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานทางการเมืองของขบวนการ หน่วยนี้ทำหน้าที่เสมือนกับ “ป่า” ให้ “เสือ” อย่าง RKK ปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ RKK อาศัยความช่วยเหลือและการประสานงานจากอาเจาะซึ่งจะทำหน้าที่หาที่พักอาศัย อาหารการกิน การรายงานความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ หาที่หลบซ่อน การซ่อมอาวุธ รักษาพยาบาลและติดต่อสื่อสารกับ RKK

           อดีตสมาชิกของขบวนการระบุว่า ในทางทฤษฏี โครงสร้างการจัดกำลังของฝ่ายทหาร หน่วยที่เล็กที่สุดคือ RKK ซึ่ง RKK 2 ชุดจะรวมเป็น 1 regu (12 คน) 3 regu รวมเป็น 1 platong (36 คน) 3 platong เป็น 1 kompi (108 คน) และ 3 kompi เป็น 1 batalion (324 คน) 

         ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเชื่อว่าในกัสนราธิวาสเป็นพื้นที่ที่มีกองกำลังเข้มแข็งที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกัสปัตตานีและยะลา โดยเชื่อว่ามีกองกำลัง 4 กองพัน ในขณะที่ในกัสปัตตานีและยะลามีกัสละ 2 กองพัน โดยคนที่คุมกองกำลังในแต่ละกัสเรียกว่า penglima (เป็นภาษามลายูแปลว่า “ผู้บังคับการ”) ซึ่งจะดูแลหน่วย harimau (เสือภูเขา) และ letupan (ระเบิด) ด้วย 

           โครงสร้างการจัดตั้งนี้ ไม่ได้สมบูรณ์ตามทฤษฏีข้างต้นในทุกพื้นที่และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฝ่ายขบวนการเองก็ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและดำเนินคดีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างคนใหม่ขึ้นมาเพิ่มเติมและทดแทน คนที่เป็นอดีตสมาชิกระดับนำของฝ่าย MASA เชื่อว่าในช่วงที่การปฏิบัติการเข้มแข็งที่สุด ขบวนการน่าจะมีอาเจาะอยู่ประมาณ 700 – 800 หน่วยจากจำนวนหมู่บ้านในพื้นที่ชายแดนใต้ประมาณเกือบสองพันหมู่บ้าน ส่วนการประเมินสมาชิกในปีกการทหาร เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเชื่อว่ามีประมาณ 3,000 คน

           นอกจากนี้ สมาชิกฝ่ายการเมืองระดับกลางได้ให้ข้อมูลว่าขบวนการแบ่งแนวรบที่สำคัญเป็น 3 ด้าน คือ หนึ่ง การสร้างมวลชนเพื่อการต่อสู้ สอง การสร้างกองกำลัง และสาม การเคลื่อนไหวด้านการต่างประเทศ เขาชี้ว่า BRN – Coordinate นั้นไม่ค่อยสันทัดในเรื่องการต่างประเทศ ได้มีการตกลงกันให้กลุ่มพูโลไปช่วยเดินงานด้านการต่างประเทศ 

           ส่วนแนวทางของการต่อสู้นั้น เขาบอกว่า BRN- Coordinate มีหลักสำคัญ 5 ข้อ คือ 1 ไม่ compromise (ประนีประนอม) 2 ไม่ยอมรับ assimilation (การผสมกลมกลืน) 3 ไม่เอา autonomy (การปกครองตนเอง) 4 ไม่ต่อสู้ด้วยหนทางรัฐสภา และ 5 ไม่รับความคิดอื่นใด นอกจากความคิดของขบวนการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม