วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โลกลืม และเป็นการสังหารหมู่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20



          กระแสโรฮิงญา กระแสมุสลิมแพร่กระจายสร้างมัสยิสในภาคเหนือ และภาคอิสาน ในโลกไซเบอร์ที่อ้างเหตุผลว่า คนบางกลุ่มไม่ใช้ผู้ก่อการร้าย ไม่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธ์มนุษย์ด้วยกัน ต้องให้ความเป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้ ต้องสงสาร ต้องเห็นใจ ต้องช่วยกัน วันนี้ผมนำเอาประวัติศาสตร์ออตโตมัน หรือตรุกรี ที่คนกลุ่มหนึ่งกระทำกับชาวอาเบเนีย โดยการสังหารหมู่  โดยการแขวนคอ โดยการตรึงบนกางเขนจนตายไปกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน เพื่อจะได้ย้ำเตือนว่า พวกมึงก็ใช้จะเป็นคนดี !

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โลกลืม และเป็นการสังหารหมู่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20

       ท่านผู้อ่านลองเปิด http://www.google.com แล้วลองค้นคำว่า ottoman empire genocide armenia จะพบความจริงที่คนบางกลุ่มแสร้งทำเป็นไม่รู้ และหรือคนบางกลุ่มเจตนาปกปิดความจริงนี้





       เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา รัฐบาลตุรกีได้เรียกตัวทูตประจำนครรัฐวาติกันกลับประเทศเพื่อประท้วงทางการทูตต่อทางวาติกัน เนื่องจาก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้ใช้คำว่า "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" กับการสังหารหมู่ชาวอาร์มีเนียโดยกองทัพออตโตมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

        นายอาห์เหม็ด ดาวูโตกลู ประธานาธิบดีตุรกี กล่าวตำหนิเหตุการณ์ดังกล่าวว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเข้าพระทัยผิด และทรงมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียน ทำให้พระองค์ตรัสอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกกาลเทศะ

        ทางตุรกีอ้างว่าความเห็นของสมเด็จพระสันตะปาปาถือเป็นความเท็จทั้งสิ้น และเป็นความเห็นที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียง ทั้งมีอคติ และบิดเบือน โดยตัดทอนเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ ที่มีประชาชนหลายกลุ่มบนคาบสมุทรอนาโตเลียที่ต้องเจ็บปวดจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้เหลือเพียงชาติพันธุ์ในกลุ่มศาสนาเดียว




       ทั้งนี้ พระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่เป็นชนวนนำความโกรธเคืองมาสู่รัฐบาลและประชาชนชาวตุรกีคือ "เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกของศตวรรษที่ 20"

      สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแสดงปาฐกถาดังกล่าวต่อหน้าศาสนิกชนในโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในกรุงวาติกัน เพื่อรำลึกการครบรอบ 100 ปี ในเหตุการณ์ที่ชาวอาร์มีเนียกว่า 1.5 ล้านคนถูกสังหารหมู่ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประมุขแห่งศาสนจักรคาทอลิกกล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวกลางโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ว่าเป็นการ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"
       ซึ่งการสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียนในปี 1915 (พศ.2458) นั้น เป็นประเด็นถกเถียงกันมายาวนาน โดยชาว อาร์เมเนียนมองว่า มีชาวคริสต์อาร์เมเนียนถูกสังหารถึง 1.5 ล้านคน โดยฝีมือของจักรวรรดิออตโตมันหรือออตโตมันเติร์ก ที่กลายมาเป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน ซึ่งเรื่องนี้ประเทศมุสลิมตุรกีก็ยอมรับ แต่ทางตุรกีโต้เถียงว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตที่กล่าวอ้างนั้นสูงเกินจริง และชนวนเหตุของการเสียชีวิตก็มาจากสงครามกลางเมือง อันเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงไม่ยอมรับตามที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

       หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯหลีกเลี่ยงที่จะเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เช่นกัน เพื่อรักษาสัมพันธ์อันดีกับตุรกี ซึ่งถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญ

        อย่างไรก็ดี หลายประเทศในยุโรปก็ถือว่า การสังหารหมู่ชาวคริสต์อาร์มีเนียนในปี 1915 เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

        โดยเฉพาะฝรั่งเศส ในปี 2555 วุฒิสภาของฝรั่งเศสได้ออกกฎหมาย ที่จะถือว่าการปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียเมื่อปี 2458 เป็นอาชญากรรม ซึ่งการกระทำของฝรั่งเศสดังกล่าวก็ทำให้ทางตุรกีเรียกทูตออกจากฝรั่งเศสเช่นกัน และยังประกาศจะแก้แค้นฝรั่งเศส เป็นการตอกลิ่มความสัมพันธ์ระหว่างทางการฝรั่งเศสและตุรกีที่มีรอยร้าวอยู่แล้ว






       เรื่องนี้ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อต้นปีนี้ ทางรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ในศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปหรือ ECHR ณ เมืองสทราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ในกรณีที่สวิตเซอร์แลนด์ยื่นอุทธรณ์ให้การปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ได้รับการรับรองถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดยเฉพาะคดีเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

      ซึ่งหากสวิตเซอร์แลนด์เป็นฝ่ายชนะคดีดังกล่าว ก็จะส่งผลโดยตรงต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอาร์เมเนียที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สมควรถูกประณาม ซึ่งประเทศที่ให้การรับรองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คือสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส โดยตรากฎหมายเอาผิดผู้ที่ปฏิเสธว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วย

      ก่อนหน้า ECHR เคยตัดสินคดีนี้ในขั้นต้นไปแล้ว โดยตัดสินให้ผู้ที่ปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไม่มีความผิด พร้อมระบุด้วยว่ากฎหมายห้ามปฏิเสธการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของสวิตเซอร์แลนด์เข้าข่ายละเมิดเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน



       การดำเนินคดีในครั้งนี้ก็คือต้องพยายามล้มล้างคำให้การของฝ่ายตรงข้าม นำโดยรัฐบาลตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกกล่าวหาว่าก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวคริสต์อาร์เมเนียดังกล่าว ซึ่งทางรัฐบาลตุรกีพยายามอ้างว่าจำนวนผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นผลมาจากภัยสงครามและความไม่สงบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม