วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อิสลามกับสันติภาพ : ข้อควรรู้

อิสลามกับสันติภาพ : ข้อควรรู้ 

อิสลามกับสันติภาพ : ข้อควรรู้ 

         ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เรียกร้องความสันติสุขและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสมานฉันท์บนพื้นฐานความรัก ความเอื้ออาทร ความถูกต้อง และความเป็นธรรม

ปัญหาที่ 1 การญิฮาต (การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ.)
         1.1 สาเหตุคนบางส่วนเชื่อว่า การใช้อาวุธต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ. (ญิฮาด) เป็นบทบัญญัติหนึ่งของอิสลาม

        1.2 ข้อพิจารณาการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ. (ซ.บ.) การญิฮาด มิได้มีเฉพาะการต่อสู้โดยใช้อาวุธเพียงอย่างเดียว อิบนิก้อยยิม ได้อธิบายการญิฮาด ว่ามี 13 ประเภท อาทิ การต่อสู้กับศัตรู อารมณ์ ซาตานมารร้าย ซาตานมารร้าย ซาตานมารร้าย ซาตานมารร้าย ซาตานมารร้าย ซาตาน มารร้าย กาเฟร มุนาฟิก พวกฉ้อฉล คดโคง พวกนอกลู่นอกทาง พวกที่มีพฤติกรรมชั่วร้าย การใช้กำลังอาวุธประหัตประหารกัน ต้องได้รับการตัดสินชี้ขาดด้วยการฟัตวา จากผู้มีหน้าที่แก้ไขปัญหาโดยตรงหรือจากการประกาศของผู้ที่เป็นผู้นำ “วาลียุลอัมร.”

การญิฮาดสามารุกระทำได้ภายใต้เงื่อนไข 
  • 1. การถูกกดขี่และถูกขับไล่อย่างอยุติธรรม
  • 2. การถูกลิตรอนสิทธิด้านศาสนา
  • 3. ญิฮาดเพื่อนำสิทธิในข้อ 1 และ 2 คืนมา
  • 4. การญิฮาดจะต้องอยู่ภายใต้จริยธรรมในการ ทำสงคราม “ต่อสู้กับบรรดาผู้เป็นศัตรู แต่อย่าเริ่มเป็นศัตรูก่อน.... แท้จริงอัลลอฮ.ไม่ทรงรักผู้รุกราน 
  • 5. ไม่ทำลายศพ ฆ่าเด็ก สตรี คนชรา พลเรือนผู้บริสุทธิ์ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญญาสงบศึก ไม่ทำลายทรัพย์สิน ไม่ตัดโค่นหรือเผาทำลายต้นไม้ที่ออกผล ไม่ฆ่าสัตว์นอกจากเพื่อเป็นอาหาร ให้ความเมตตาและการเอาใจใส่ หรือการบริการทางการแพทย์ หรือพยาบาลต่อเชลยศึกญิฮาดไม่ใช่เครื่องมือการทำสงครามต่อผู้บริสุทธิ์ มิใช่นำไปรังแกคนอ่อนแอ และผู้ถูกกดขี่


ปัญหาที่ 2 ผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบโดยเฉพาะผู้ก่อเหตุ ถือว่าเป็นชะฮีด(เสียชีวิตจากการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ.)

      2.1 สาเหตุคนบางส่วนเชื่อว่า ผู้ที่เสียชีวิตจาการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่พวกเขาฟัตวา (วินิจฉัย) ว่าเป็นการฟิรหรือมุนาฟิกจะได้รับชะฮีด (การพลีชีพในหนทางของอัลลอฮ.) และได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮ.) (ซ.บ.) คือ สวนสวรรค

      2.2 ข้อพิจารณาการเป็นชะฮีด ที่แท้จริง หากพิจารณษถึงเหล่าบรรดาชุฮาดาฮ.ในอดีต ฮัมซะฮ. อิบนิอับดุลมุฏอลลิบ วีรบุรุษผู้ยิ่ใหญ่ของอิสลามซะฮีดแห่งสมรภูมิอุฮูด พลีชีพต่อสู้เพื่อปกป้องสัจธรรมแห่งอิสลาม หลั่งเลือดเพื่อศาสนาของอัลลอฮ. (ซ.บ.) ตำแหน่งที่ได้รับคือ ชุฮีดอย่างแท้จริงการที่จะได้รับชะฮีด ขึ้นอยู่กับการญิฮาดของเขาว่าสมบูรณ์ด้วยเงื่อนไขที่อัลลอฮ. (ซ.บ.) ได้วางไว้หรือไม่ การฆ่าผู้บริสุทธิ์ การละเมิดกฎเกณฑ์ที่อัลลอฮ. (ซ.บ.) ได้วางไว้จึงมิใช่การญิฮาด และไม่สามารถนำไปสู่ตำแหน่งชะฮีดได้

ปัญหาที่ 3 การไม่อาบน้ำศพผู้ที่เสียชีวิตเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ

        3.1 สาเหตุ คนบางส่วนเชื่อว่าผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ เป็นการเสียชีวิตเพราะการต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮ. (ชะฮีด) จึงไม่ต้องอาบน้ำศพ

        3.2 ข้อพิจารณา การเป็นชะฮีดขึ้นอยู่กับความสมบรูณ์ของการญิฮาดและเป็นการชะฮีด ซึ่งเกี่ยวข้องกัยการอาบน้ำศพนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเงื่อนไขของการญิฮาดและชะฮีด เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถ้วนถี่ ดังตัวอย่างกรณีดังต่อไปนี้ คอลีฟะฮ. อูมัร เสียชีวิตเพราะถูกแทงเป็นชะฮีด แต่มีการอาบน้ำศพ คอลีฟะฮ.อุซมาน ถูกฆาตรกรรม เป็นชะฮีด แต่มีการอาบน้ำศพ คอลีฟะฮ. อาลี ถูกฟันถึงแก่ชีวิต เป็นชะฮีด แต่มีการอาบน้ำศพ การเป็นชะฮีดที่ปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม และไม่ต้องอาบน้ำศพ คือผู้ที่เป็นชะฮีด เนื่องจากการสู้รบในสมรภูมิรบเท่านั้น เช่น กรณี ฮัมซะฮ.อิบนิอับดุลมุฏอลลิบ ซึ่งเสียชีวิตจากการสู้ในสมรภุมิอุฮุด

ปัญหาที่ 4 การชุความเป็นเชื้อชาติมลายูและการต่อสู้เพื่อขอแบ่งแยกดินแดนเป็นการต่อสู้ในศาสนา

         4.1 สาเหตุคนบางส่วนไดรับการปลูกฝัง สร้างความรู้สึกและมีความเข้าใจในเรื่องกลุ่ม ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ และความเป็นเชื้อชาตินิยม อันนำไปสู่การเรียกร้องและต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดน

         4.2 ข้อพิจารณาการเรียกร้องและการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมนั้น เป็นที่อนุญาตตามหลักการของอิสลาม แต่การต่อสู้และเรียกร้องด้วยเงื่อนไขของ
การเชิดชูความเป็นเชื้อชาตินิยม เผ่าพันธุ์นิยมนั้น เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการของอิสลาม เพราะลัทธิชาตินิยมนั้นเป็นแนวคิดที่พยายามจะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมโลก หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ความเข้าใจ รักใคร่ ที่มีต่อเชื้อชาติ จนกลายมาเป็นความศรัทธา ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อล ฯ) กล่าวไว้ในเรื่องนี้ความว่า“ใครก็ตามที่เรียกร้องไปสู่อัซซอบียะฮ์ (การคลั่งชาติ เผ่าพันธุ์ หลงตระกูล ถือพวกพ้อง) คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกฉัน ใครก็ตามต่อสู้เพื่อัซซอบบียะฮ์ คนผู้นั้นมิไดเป็นพวกฉัน และใครก็ตาม ที่ตายไปเพราะสนับสนุนอัซซอบียะฮ์ คนผู้นั้นมิได้เป็นพวกเดียวกับฉัน” รายงานโดยมุสลิมอาบูดาวุด และนาซาอีย์

ปัญหาที่ 5 การไม่ยอมรับการอยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างศาสนิก

          5.1 สาเหตุ คนบางส่วนเชื่อว่า มุสลิมหรือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ไม่อนุญาตให้อยู่ภายใต้การปกครองของชนต่างศาสนา (กาฟิร) มีการปลูก
ฝังแนวติดนี้สู่ประชาชนจนกลายเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม

          5.2 ข้อพิจารณา การที่มุสลิมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่มิใช่มุสลิมนั้น มิได้เป็นข้อต้องห้ามตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามแต่ประการใด ไม่เพียงเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ศาสนิกอื่นก็เช่นกัน ถ้ารัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความอธรรม กดขี่ลิดรอนสิทธิทางศาสนา ก็เป็นสิทธิที่เขาเหล่านั้นจะลุกขึ้นต่อสู้กับคามอธรรมและการกดขี่ในประวัติศาสตร์อิสลาม ตามรายงานของมุฮัมหมัด อิบนิอิสฮาก ในหนังสือซีรอตุรอซูลลุลอฮ. บันทึกไว้ว่า “เมื่อบรรดาสาวกของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อล ฯ) ได้รับการกดขี่ ซึ่งศาสดาไม่สามารถปกป้องทุกคนได้ ท่านจึงได้สั่งให้สาวกของท่านจำนวนหนึ่ง อพยพไปยังอบิสสิเนีย (ฮาบาซะฮ์ หรือเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ซึ่งกษัตริย์อัลบายาซีร์ แห่งอบิสสิเนียเป็นชนต่างศาสนิก แต่เป็นกษัตริย์ที่มีคุณธรรมสูง นับเป็นการอพยพครั้งแรกของมุสลิมที่มีขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่ 5 กษัตริย์อัลบายาซีร์ แห่งอบิสสิเนียได้ให้การต้อนรับยรรดามุสลิมและทรงประทานที่พำนักให้ ผู้อพยพเหล่านั้นต่างมีความสุข ที่ได้อยู่กับสันติภาพ ความมั่นคง และเสรีภาพในการนับถือศาสนา และในปี ฮ.ศ. ที่ 6 มีการอพยพมุสลิมไปยังอบิสสิเนียอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้ มุชรีกีนจากมักกะฮ์ ได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับกษัตริย์อัลบายาซีร์แห่งอบิสสิเนีย ขอรับผู้อพยพทั้งหมดกับมักกะฮ์ เพื่อรับโทษ และเมื่อได้มีการซักถามได้ความอย่างชัดแจ้งแล้ว กษัตริย์อัลบายาซีร์แห่งอบิสสิเนียได้ตรัสว่า บรรดามุสลิมมีอิสระที่จะอยู่อาศัยในราชอาณาจักรของพระองค์ได้ตราบที่พวกเขาต้องการ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับมุชรีกีน มักกะฮ์เป็นอย่างมาก นั้นเป็นการชี้ให้เห็นว่า มุสลิมสามารถที่จะอยู่ที่ใดก็ได้ ที่มีผู้ปกครองที่มีคุณธรรมเฉกเช่นที่ศาสดาได้ส่งสาวกของท่านไปยังอบิสสิเนีย

ปัญหาที่ 6 การอยู่ร่วมกับศาสนิกอื่น

          6.1 สาเหตุ คนส่วนหนึ่งถูกสอนให้เชื่อว่า การคบค้าสมาคมกับคนต่างศาสนาเป็นบาป ไม่สามารถอยู่ร่วมกับกาฟิร และผู้ที่ไม่เป็นมุสลิมบางส่วนก็มีแนวคิดนี้
เช่นกัน

          6.2 ข้อพิจารณา ศาสนาอิสลามเรียกร้องสันติภาพและยึดมั่นในหลักการแห่งความเข้าใจ ความรักและเอื้ออาทรระหว่างมนุษย์ด้วยกันอิสลามปฏิเสธความคิดพฤติกรรมสุดโต่งและความรุนแรงโดยสิ้นเชิง การประชุมใหญ่ระดับโลก เรื่องมุสลิมกับเพื่อนต่างศาสนิก (we & the other) ซึ่งจัดโดยกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามร่วมกับสภาสูงสุดเพื่อการธำรงสายกลาง ณ โรงแรมเชอราตัน ประเทศคูเวต เมื่อ 6 – 8 มีนาคม 2549 ที่ประชุมมีมติร่วมกัน พอสรุปได้ดังนี้

       ความหลากหลายทางศาสนา ภาษาและเผ่าพันธุ์ ถือเป็นพื้นฐานทางธรรมชาติ และข้อเท็จจริงของสังคมมนุษย์ โดยที่ความหลากหลายในเรื่องดังกล่าว ไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างที่จะสร้างความบาดหมางและเป็นศัตรูระหว่างกันและขอประกาศเจตนารมณ์แห่งการยึดหลักสายกลางและต่อต้านพฤติกรรมอันนำไปสู่ความรุนแรงและความบาดหมางระหว่างผู้คนในสังคม
  • 1. อิสลามเป็นศาสนาที่เรียกร้องสู่การสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือระหว่างคนต่างศาสนิกภายใต้หลักการของความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และยึดมั่นในหลักการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยสันติและมีความยืดหยุ่น สามารถนำไปปฏิบัติในโลกแห่งความเป็นจริง เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนต่างศาสนิกได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
  • 2. การศึกษาอิสลามที่มีนัยแอบแฝงและมัวัตถุประสงค์ที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความมีอคติ การใส่ร้ายและบิดเบือน เป็นสิ่งที่ต้องประณาม การเสวนากับเพื่อน พี่น้องต่างศาสนิก มิได้หมายถึงความพยายามที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในสารัตถะของศาสนา หากแต่มีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องระหว่างเพื่อนร่วมโลก ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสู่การจรรโลงสังคมใฝ่สันติ
  • 3. ที่ประชุมตระหนักในความสำคัญและบทบาทของการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนต่างศาสนิก และยืนยันว่าทุกประชาชาติมีสิทธิเสรีภาพในการยึดมั่นศาสนาตามความเชื่อแห่งตน การใช้ชีวิตร่วมกันกับพี่น้องต่างศาสนิก ถือเป็นข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ และความจำเป็นของสังคมมนุษย์ ภายใต้บริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม สิทธิเสรีภาพควรตั้งมั่นบนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ใช่เป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งสิ ทธิเสรีภาพจนเกินขอบเขตหรือล้ำเส้น กรอบวิถีการดำเนินชีวิตอันปกติสุขของสังคมอื่นอนึ่ง ในประวัติศาสตร์อิสลามเอง ก็ปรากฏความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมทั้งผู้ที่มิใช่มุสลิมด้วยเช่นเดียวกัน เช่น พบว่าการใช้บ่อน้ำร่วมกันระหว่างศาสดาและขอฮาบะฮ์กับยะฮูดีย์ ขณะอยู่ที่มาดีนะฮ์ เมื่อท่านศาสดาวาฟัต พบว่า อุปกรณ์การทำสงครามของ ท่านศาสดาได้ถูกจำนองไว้กับยะฮูดีย์ นี่ก็เป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงแบบอย่างความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับผู้ที่มิใช่มุสลิม ที่ให้ไว้โดยท่านรอซูล (ศ็อล ฯ)

ปัญหาที่ 7 การใช้ผ้ายันต์ เครื่องรางและของขลัง เพื่ออยู่ยงคงกระพัน 

          7.1 สาเหตุ คนบางส่วนถูกสอนแนะนำให้เชื่อว่าการใช้ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง การท่องจำถ้อยคำเพื่อเป็นคาถาอาคม จะเกิดผลดีต่อตนเอง เช่น ศัตรูมองไม่
เห็นตัว หรือจะอยู่ยงคงกระพัน ตีรัน ฟันแทงไม่เข้า

          7.2 ข้อพิจารณา ศาสนาอิสลามสอนมิให้มุสลิมกระทำการใด ๆ การบูชาหรือเชื่อมั่นในสิ่งที่ ถูกสร้าง ผ้ายันต์ เครื่องราง ของขลัง เวทมนต์ คาถาอาคม หรือการกระทำอื่นใดที่สื่อหรือส่อไปในทางการตั้งภาคี (หรือที่เรียกกันว่าชิริก) ต่อ อัลเลาะฮ. (ซ.บ.) ในทัศนะของอิสลามถือว่า พฤติกรรมในการทำชิริก เป็นการก่อบาปใหญ่ และบุคคลเหล่านี้หลุดพ้นจากสถานะความเป็นมุสลิมเพราะอิสลสมสอนให้เชื่อมั้นในเอกภาพของอัลลอฮ. (ซ.บ.) และการกำหนดสภาวะของอัลลอฮ. (กอฎอ-กอฏาร) ไม่ใช่เครื่องราง ของขลัง

ปัญหาที่ 8 การสาบาน (ซูเปาะห์ หรือ ซุมเปาะห์) และการถอนคำสาบาน

        8.1 สาเหตุ การปรากฏของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกร้องให้เยาวชนลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจของรัฐ มีการฝึกอาวุธ และมีการซูเปาะห์ หรือซุมเปาะห์ (สาบาน)
หากละเมิดคำสาบาน ชีวิตของผู้ละเมิดนั้นชอบธรรมที่จะต้องถูกฆ่า

        8.2 ข้อพิจารณา การซูเปาะห์ ซุมเปาะห์ หรือการสาบานนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ที่กล่าวถ้อยคำสาบานว่ามีเจตนาเช่นไร คัมภีร์อัลกรุอานได้บัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องดัง
กล่าวไว้อย่างชัดเจน ในหลายโองการด้วยกัน และฮาดิษหลายบทได้กล่าวรองรับเช่นกัน “พวกเขาได้ถือเอาคำสาบาน (พล่อย ฯ) ของพวกเขามาเป็นโล่ป้องกันตนเอง แต่แล้วพวกเขาก็ขัดขวางจากวิถีทางของอัลลอฮ. แท้จริงพวกเขานั้นมีพฤติกรรม  อันเลวร้ายยิ่ง” “อัลลอฮ.จะไม่ทรงเอาโทษแก่พวกเจ้าในการสาบานที่ไม่จงใจ แต่พระองค์ทรงเอาผิดด้วยสิ่งที่พวกเจ้าผูกพันการสาบานดังนั้นการไถ่ความผิดของมัน คือการให้อาหารแก่คนอนาถา 10 คน จากระดับปานกลางของอาหารที่พวกเจ้าให้แก่ครอบครัวของพวกเจ้า หรือไม่ก็เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา 10 คน หรือไม่ก็ไถ่ทาส 1 คน ให้เป็นอิสระ แต่ถ้าไม่ได้ให้ถือศีลอด 3 วัน นั่นเป็นการไถ่ความผิด “อิบนุอุมิ้ร กล่าวว่า บิดาของฉันเคยสาบาน แต่แล้วท่านนบี (ศอล ฯ) ได้ห้ามโดยกล่าวว่า ผู้ใดที่สาบานกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ. (ซ.บ.) แล้ว ก็เท่ากับเขาผู้นั้นเป็นผู้ตั้งภาคีกับ อัลลอฮ.(ซ.บ.) (รายงานโดยอะห์อิบนิฮัมบัล) และศาสดาได้กล่าวว่า บุคคลใดยังคงแข็งใจสาบานทั้ง ๆ ที่คำสาบานนั้นเป็นอันตรายต่อครอบครัว การกระทำของบุคคลดังกล่าวถือเป็นบาปที่ใหญ่ ณ อัลลอฮ. (ซ.บ.)

ปัญหาที่ 9 การลอบฆ่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกาฟิร (ต่างศาสนิก) และมุนาฟิก (ผู้กลับกลอก)

          9.1 สาเหตุ คนบางส่วนถูกเสี้ยมสอนให้มีความเชื่อว่า การฆ่ากาฟิร (ต่างศาสนิก) และ มุนาฟิก (ผู้กลับกลอก) เป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม ผู้ฆ่าจะได้ผลบุญ และหากพลาดท่าเสียที ผู้ฆ่ากลายเป็นผู้ถูกฆ่า เขาก็จะได้รับสวรรค์เป็นการตอบแทน

          9.2 ข้อพิจารณา กาฟิร ความหมายโดยรากศัพท์ทางภาษา แปลว่า ผู้ปฏิเสธ ผู้ดื้อดึง ผู้ฝ่าฝืน ความหมายทางศาสนา หมายถึง ผู้ปฏิเสธศรัทธาต่อศาสนาอิสลามกาฟิรจำแนกได้ 3 ประเภทด้วยกัน

         1. กาฟิรฮัรบีย์ คือ คนต่างศาสนิกที่เป็นคู่สงคราม คนต่างศาสนิกที่เป็นศัตรูและพยายามที่จะทำลายล้างอิสลาม

         2. กาฟิรซิมมีย์ คือ คนต่างศาสนิกที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม ซึ่งรัฐจะต้องดูแลพวกเขาด้วยความยุติธรรม และพวกเขาต้องจ่ายภาษีแก่รัฐอิสลาม

        3. กาฟิรมูอาฮัด คือ คนต่างศาสนิกที่ได้ทำสัญญา และมีพันธสัญญาที่ไม่รุกรานและไม่ละเมิดซึ่งกันและกัน มุนาฟิก หมายถึง คนที่มีลักษณะกลับกลอด หรือสับปลับ ปากกับใจไม่ตรงกัน เป็นคำใช้เรียกบุคคลที่แสร้งทำเป็นศรัทธาในอิสลาม แต่ใจจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ซ้ำร้ายยังคอยมุ่งทำร้ายมุสลิมและอิสลามตลอดเวลามุนาฟิกด้านความประพฤติ หรือด้านอากีดะฮ (พฤติกรรมเน้นมุสลิมแต่จิตใจยึดมั่นในสิ่งอื่น) คือบุคคลที่แสดงออกโดยรูปภายนอกอย่างหนึ่ง แต่ความประพฤติกรรม เสแสร้งซึ่งตรงข้ามกับจิตใจที่แท้จริงของเขา มุนาฟิดด้านวาจา คือ บุคคลที่มักเรียกกันว่าลิ้นสองแฉก เป็นคุณสมบัติของบุคคลที่สรรเสริญ ยกยอ ยกย่องผู้คนต่อหน้า แต่กลับปฏิเสธและใส่ร้ายผู้คนเมื่ออยู่ลับหลังฮาดิษหนึ่งกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศอล ฯ) ได้ตำหนิอุซามะฮ์ อิบนุชซัยด์ (ร.ฏ.) กรณีที่อุซามะฮ์ สังหารชายผู้หนึ่งระหว่างสงคราม แม้ผู้ชายผู้นั้นจะกล่าวปฏิญาณตนยอมรับอิสลามแล้วก็ตามเหตุผลของอุซามะฮ์ คือ ชายผู้นั้นถูกสังหาร แต่ท่านศาสดามิได้ยอมรับเหตุผลดังกล่าว ท่านศาสดาได้ถามอุซามะฮ์ว่า “เจ้าสามารถฝ่าอกของเขาเพื่อดูว่า ที่เขาพูดนั้นจริงหรือไม่กระนั้นหรือ”สมัยที่ท่านรอซูล มีผู้ที่เป็นมุนาฟิดหลายคน แต่ท่านรอซูลไม่เคยอนุญาตให้ฆ่ามุนาฟิกแม้แต่คนเดียวความคิดของผู้ที่ปลุกปั่นยุยงเยาวชนว่า คนที่เห็นต่างจากตน เป็นกาฟิร หรือมุนาฟิกและต้องฆ่าเสียให้หมดจึงเป็นความคิดสุดโต่ง ที่ห่างไกลจากหลักธรรมคำสอนของอิสลามอย่างที่สุด ดำรัสแห่งอัลลอฮ. (ซ.บ.) ในซูเราะห์ฮฺ อัลบากอเราะฮ. ความว่า “ไม่มีการบังคับใด ๆ ในการนับถือศาสนา (อิสลาม)......” ของศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ของโลก กล่าวไว้ความว่า “เลือดของบุคคลที่ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก
อัลลอฮ. และอันเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ. (ซ.บ.) จุไม่เป็นที่อนุญาต (ให้ผู้ใดล่วงละเมิด)....” ในอัลกุรอานไม่ปรากฏที่ใดเลยที่สั่งใช้ให้ฆ่ามุนาฟิด และในสมัยท่าน
ศาสดา ท่านก็ไม่เคยอนุญาตให้ฆ่ามุนาฟิดแม้แต่คนเดียวทั้ง ๆ ที่เป็นที่ชัดเจนว่าในสมัยของท่านนั้นมี มุนาฟิกอยู่ด้วย

ปัญหาที่ 10 การเคารพและเชื่อฟังบิดามารดา

          10.1 สาเหตุ เอกสาร เบอร์จีฮาด ดิ ปัตตานี (การต่อสู้ที่ปัตตานี) ซึ่งเป็นเอกสารที่บิดเบือนคำสอนของอิสลาม มุ่งปลุกอารมณ์ ความรู้สึกมากกว่าการศรัทธาอย่างมีเหตุผล มีข้อความที่รุ่นแรงปรากฏ กล่าวคือ หากผู้ใดไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้ แม้จะเป็นบิดา มารดา ก็ถือว่า เขาเหล่านี้ไม่ใช้ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจึงมีความชอบธรรมที่จะฆ่าพวกเขาได้ ดังข้อความที่ว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงอย่าได้เอาบิดาและพี่น้องของพวกเจ้าในฐานะผู้นำถ้าพวกเขาเอนเอียงไปในแนวทางที่หลงผิดรูปธรรมเท่านั้นที่พวกเขาเป็นบิดาและพี่น้องเราแต่นามธรรมที่แท้จริงนั้น พวกเขาไม่ได้เป็นกลุ่มของฝ่ายเราอีกต่อไป ดังนั้นหากเป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาเป็นผู้ทรยศจงฆ่าพวกเขาเสีย…..”

        10.2 ข้อพิจารณา ในสมัยท่านรอซูล มีบิดามารดาของสาวกท่านรอซูลหลายคน เป็นกาฟิรและต่อสู้ขัดขวางอิสลาม แต่ในบริบทปัจจุบันมีเงื่อนไขต่างกัน การที่พ่อแม่เป็นมุสลิมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเรา (ลูก) ไม่ได้ หมายถึง เขาจะเป็นมุนาฟิก หรือเราสามารถที่จะว่าท่านได้ การอ้างข้อความข้างต้นจึงเป็นการกล่าวอ้างที่ผิด.ในสมัยที่นบีพระราชดำรัสแห่ง อัลลอฮ. (ซ.บ.) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกรุอ่าน ซูเราฮ. อัลกังกะบูต ความว่า “และเราได้สั่งแก่มวลมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา และแม้เขาทั้งสองบังคับเคี่ยวเข็ญเจ้าเพื่อให้ตั้งภาคีต่อข้า ในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ ก็จงอย่าปฏิบัติตามเขาทั้งสอง.....” ดำรัสแห่งอัลลอฮ. (ซ.บ.) ทรงสัจจะยิ่งทัศนะของอิสลามนั้น บิดามารดาเป็นต้นเหตุแห่งการปรากฏของลูก ดังนั้นหน้าที่ลูกต่อบิดามารดา คือ การทำดีไม่ว่าบิดามารดาจะนับถือศาสนาใดอิสลามเน้นอย่างยิ่งไม่ให้เนรคุณสต่อบิดา มารดา แต่บิดา มารดา จะมากำหนดไม่ให้ลูกชื่อและศรัทธาต่ออัลลอฮ. (ซ.บ.) ได้กำชับให้กระทำความดี ความว่า “และจงคอยอยู่ ดูแลปรนนิบัติท่านทั้งสอง (หมายถึงบิดามารดาที่ไม่ได้เป็นมุสลิมยามที่ทั้งสองมีชีวิต) บนโลกนี้ให้ดี.....”

ปัญหาที่ 11 เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น เป็นการ ญีฮาด(ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ.) หรือฟะซาด(การก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน)

        11.1 สาเหตุ การถูกปลุกปั่น ยุยง ปลุกเร้ามวลชนโดยอ้างอิงหลักศาสนาที่ถูกบิดเบือน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหลักคำสอนของศาสนาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่ง
การญีฮาด ทั้งที่จริงแล้วการกระทำเหล่านั้นคือ ฟะฮาด (การก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน)

         11.2 ข้อพิจารณา การก่อการทุกชนิดที่ไม่ถูกต้องตามหลักการของอิสลามแล้ว ถือเป็นการก่อ ความหายนะ (ฟะซาด) ให้กับสังคมทั้งสิ้นเพราะฟะซาดเป็นการกระทำที่ตรงกับข้ากับญีฮาด และเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขของการญีฮาด การบิดเบือนคำสอนของอิสลามโดยการขับเคลื่อนผ่านบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่รู้สึกตนเองว่ากำลังถูกนำทางความติด และปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความรุนแรงไม่อาจนำมาสร้างความชอบธรรมใด ๆ ในการก่อความเสียหายให้สังคม อิสลามต่อต้านการใช้ความรุนแรงในทุกมิติ อิสลาม คือ ศาสนาแห่งความรักและสันติภาพ อัลลอฮ. (ซ.บ.) ตรัสไว้ในอัลกรุอาน ความว่า “....และอย่าได้ให้การเกลียดชังของพวกเจ้าต่อหมู่ชนใดหมู่ชนหนึ่ง ทำให้พวกเจ้าขาดความยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด เพราะมันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า...”

ปัญหาที่ 12 การทำลายศพ การทำให้ศพเสียโฉม

         12.1 สาเหตุ เยาวชนและบุคคลกลุ่มหนึ่งถูกชักจูง จูงใจโดยบิดเบือนหลักศาสนา ให้เกิดความเชื่อว่า การต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนเป็นการต่อสู้ในหน
ทางของศาสนา เป็นที่อนุมัติในอิสลามให้ฆ่าคนกาฟิร มุนาฟิก และการตัดศีรษะ เผาศพอำพราง เป็นการแสดงถึงพลังของอิสลาม

         12.2 ข้อพิจารณา อิสลามเป็นศาสนาที่ปฏิเสธความรุนแรง การละเมิด การคว่ำชีวิตมนุษย์และการรุกรานทุกรูปแบบ เป็นศาสนาที่กระจายสันติภาพ และกำชัยให้เกิดความยุติธรรม การกระทำความดี ห้ามปรามความชั่ว การให้อภัย ดังดำรัสแห่งอัลลอฮ. (ซ.บ.) ที่บัญญ้ติไว้ในคัมภีร์อัลกรุอานหลายโองการ“.....ผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่ง โดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากการบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่ว่าเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล.....” “และผู้ใดที่ฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนา (และโดยมิชอบ) แน่นอนผลตอบแทนของเขาคือทัณฑ์ทรมานในขุมนรกตลอดกาล.....”
  • “ห้ามการแย่งชิงและการทำให้ศพเสียโฉม” (อัลฮาดิษ)
  • “จงบริจาคทานและจงอย่าทำให้ศพเสียโฉม” (อัลฮาดิษ)
  • “พวกท่านไม่ทราบหรือว่า ข้าพเจ้าสาปแช่งผู้ที่ใช้เหล็กเผาไฟนาบสัตว์ที่ใบหน้าของมัน หรือตีมันที่หน้า” (อัลฮาดิษ)
  • “ไม่มีการบังคับ ๆ ในการนับถือศาสนา(อิสลาม)”
  • “ผู้ใดสงเคราะห์ความดีหนึ่งแก่ผู้อื่น เขาย่อมมีส่วนได้จากความดีนั้นด้วย และผู้ใดสงเคราะห์ความเลวหนึ่งแก่ผู้อื่น เขาก็ต้องรองรับความผิดจากความ
  • เลวนั้นด้วย และอัลลอฮ.ทรงอานุภาพเหนือทุก ๆ สิ่ง”“อัลลอฮ.มิได้ทางห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ไม่ได้ต่อต้านเจ้าในเรื่องศาสนาและพวกเขามิได้ไล
  • ่เจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้ากระทำความดีแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ.ทรงรักผู้มีรวามยุติธรรม”
  • “อย่าให้มีการกระทำที่เป็นภัยต่อตัวเองและการกระทำที่เป็นภัยต่อผู้อื่น” (อัลฮาดิษ)

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม