วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กฎหมายให้โอกาสท่าน แล้วท่านเคยให้โอกาสเหยื่อหรือไม่....??

กฎหมายให้โอกาสท่าน แล้วท่านเคยให้โอกาสเหยื่อหรือไม่....??
หมายให้โอกาสท่าน แล้วท่านเคยให้โอกาสเหยื่อหรือไม่....??



         กรณีหลายๆ กรณีที่กลุ่มโจรใต้ถูกจับกุม ไม่ว่าจะเป็นแนวร่วมระดับปฏิบัติการ แกนนำ หรือแม้แต่กลุ่มสนับสนุนโจรที่มีส่วนรู้เห็นก็ตาม ความจริงคือ โอกาสที่มอบให้คนกลุ่มนี้มีอยู่มากมายในการสู้คดี บ้างก็หลุดคดี บ้างก็ได้รับการเว้นโทษ บ้างก็ได้รับการประกันตัว บ้างก็ได้รับการลดโทษ.... ไปกว่านั้นท่านได้รับฉายาใหม่ “ผู้หลงผิด” ทุกอย่างก็สิ้นสุดลงไปในพริบตา...

          เมื่อกฎหมายให้โอกาสท่านแล้ว ทำไมท่านไม่สำนึกถึงความยุติธรรมที่ศาลมอบให้...ชีวิตคนที่พวกคุณมีส่วนรู้เห็น มันมากกว่าการจำคุกเสียอีก...


     มองเขามองเรา ท่านจะเห็นเองว่าชีวิตท่านท่านรัก ชีวิตเขาเขาก็รักเช่นกัน...


          จากกระแสต่อต้านคำพิพากษาศาลเกิดขึ้น เมื่อผู้สื่อข่าวอิสระที่ชอบสร้างมวลชนต่อต้านรัฐ กลายเป็นนักโทษจำคุกเสียเอง และมันจะเป็นเช่นนั้นเสมอไปเมื่อมีการตัดสินคดีเกี่ยวกับความมั่นคง นั่นก็เพราะโจรใต้ได้สร้างมวลชนมานานแล้ว ผ่านนักข่าว ผ่านนักการเมือง ผ่านครูสอนศาสนา....

       กรณีคดีความมั่นคงนายมูฮาหมัดอัณวัร ผู้สื่อข่าวอิสระ ที่ถูกจับกุมนั้น หากไม่เกริ่นนำอาจจะมองไม่เห็นภาพว่าทำไมถึงต้องตกเป็นจำเลย...

         เหตุเกิดเมื่อเวลา 20.30 น.วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุยิง ด.ต.สัมพันธ์ อ้นยะลา อายุ 43 ปี หัวหน้าสถานียุทธศาสตร์ ตำบลสะนอ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ในหมู่บ้านบาซาเวาะเซ็ง หมู่ที่ 2 ตำบลปิตูมูดี อำเภอยะรัง มีคนร้ายบุกเข้ามาใช้อาวุธสงครามกราดยิงใส่ กระสุนเข้าลำตัว ด.ต.สัมพันธ์ หลายนัดเสียชีวิต จากนั้นคนร้ายใช้มีดปลายแหลมตัดศีรษะจนขาดแล้วนำศีรษะหลบหนีไป พร้อมกับเรือใบตลอดทางด้วย...

         เจ้าหน้าที่ได้นำกำลังไปตรวจสอบพบศพ ด.ต.สัมพันธ์ แต่ส่วนศีรษะหายไป จึงได้ออกตามหาทันที พร้อมระดมกำลังตำรวจ ทหาร และสุนัขออกไล่ล่าคนร้ายทางไปบ้านเกาะหวาย ต่อมาพบศีรษะของ ด.ต.สัมพันธ์ บริเวณมัสยิดแห่งหนึ่ง

        เหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ จำนวน 11 คน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิพากษา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 ให้จำคุกคนละ 12 ปี จำนวน 9 คน คือ


        จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คือ นายมะกอรี ดาโอ๊ะ, นายอัรฟาน บินอาแว, นายมูฮำหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ จำเลยที่ 5 นายหามะ สือแม และจำเลยที่ 11 นายอับดุลเลาะ กาโบะในความผิดก่อความมั่นคง ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร

       โดยจำเลยทุกคดีจะมีสิทธิในการร้องขอความยุติธรรมได้รวม 3 ชั้น และสิ้นสุดที่ศาลฎีกา จึงเห็นได้ว่า ศาลของประเทศไทยได้ยึดหลักสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรมในการให้โอกาสต่อทั้งจำเลย และฝ่ายผู้ฟ้อง คือ อัยการ นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ ถูกตั้งข้อกล่าวหาร่วมกับพวกอีก 11 คน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 48 จากพฤติกรรมร่วมกันซ่องสุมผู้คนทำการฝึกเพื่อต่อต้าน ทำร้ายเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงถูกตั้งข้อหาร่วมกันก่อการร้าย เป็นอั้งยี่ ซ่องโจร ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาจากหลักฐาน และพยานบุคคลแล้วพิพากษาให้ลงโทษจำคุก นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ เป็นเวลา 12 ปี

       หลังจากนั้น นายมูฮาหมัดอัณวัร และเครือญาติมีความเห็นว่า ศาลชั้นต้นมิได้ให้ความยุติธรรมเพียงพอ จึงได้ดำเนินการร้องขอความยุติธรรมผ่านศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้อง 

       ต่อมา ฝ่ายอัยการซึ่งเป็นทนายความของรัฐเห็นว่า รูปคดีของนายมูฮาหมัดอัณวัร ยังมีข้อสงสัยในพฤติกรรมอันมีผลต่อความมั่นคงสันติสุขของประชาชน ชุมชนและประเทศ จึงได้เสนอเรื่องให้พิจารณาในระดับสูงสุดคือ ศาลชั้นฎีกา ด้วยพยานหลักฐานที่ครบถ้วน และมีความชัดเจนมิอาจโต้แย้งได้ ศาลฎีกาจึงได้พิพากษายืนตามศาลขั้นต้นคือ จำคุก นายมูฮาหมัดอัณวัร หะยีเต๊ะ เป็นเวลา 12 ปี นับว่าเพียงพอต่อการให้ความยุติธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย แล้ว...

http://narater2010.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger

หน้าเว็บ

ผู้ติดตาม